ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




กิจการของสามีภริยาซึ่งได้จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด

   -ปรึกษากฎหมาย นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

     โทร.085-9604258

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

กิจการของสามีภริยาซึ่งได้จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด

ทรัพย์สินของนิติบุคคลแยกต่างหากจากคู่สมรสซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น

กิจการปั้มน้ำมันเป็นทรัพย์สินที่สามีภริยาทำมาหาได้ร่วมกัน แต่ได้มีการจดทะเบียนในรูปบริษัทจำกัด โดยมีบุคคลอื่นเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ด้วย จึงถือว่าบุคคลอื่นนั้นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยในกิจการปั้มน้ำมันนั้น การที่ภรรยาไม่มีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ในบริษัทดังกล่าว ภรรยาจึงไม่อาจขอให้สามีแบ่งกิจการและผลประโยชน์ของบริษัทได้ เนื่องจากเป็นทรัพย์สินของบริษัทซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากสามีซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นแต่ชอบที่จะฟ้องของแบ่งเอาส่วนจากหุ้นที่สามีถืออยู่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  10274/2551

   คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทและบ้านเลขที่ 58 จึงมีประเด็นว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยกับพวกหรือไม่ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งที่ดินพิพาทและบ้านเลขที่ 58 และทรัพย์สินอื่นที่โจทก์และจำเลยทำมาหาได้ร่วมกันในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา ประเด็นจึงมีว่า โจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทและบ้านเลขที่ 58 กับทรัพย์สินอื่นตามฟ้องและมีสิทธิขอแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวจากจำเลยกึ่งหนึ่งหรือไม่ ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยคดีทั้งสองมิได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

    แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า คดีโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากถูกแย่งการครอบครองเกิน 1 ปี แต่คดีก็ไม่มีประเด็นเรื่องการแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 เพราะจำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทและบ้านเลขที่ 58 เป็นของจำเลย จำเลยมิได้แย่งการครอบครองไปจากโจทก์ ซึ่งการแย่งการครอบครองนั้น จำเลยต้องยอมรับก่อนว่าที่ดินพิพาทและบ้านเลขที่ 58 เป็นของโจทก์ แต่จำเลยแย่งการครอบครอง การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 246 เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

    ศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทและบ้านเลขที่ 58 เป็นของโจทก์และจำเลยร่วมกันโดยเหตุผลว่า ศาลชั้นต้นในคดีก่อนวินิจฉัยแล้วว่า เป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยทำมาหาได้ร่วมกันในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา โจทก์และจำเลยจึงเป็นเจ้าของร่วมกัน ผลของคำพิพากษาคดีก่อนย่อมผูกพันจำเลยมิให้โต้เถียงสิทธิในที่ดินพิพาทอีก ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 จำเลยไม่ได้ฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ว่าไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องอย่างไร กลับฎีกาว่าที่ดินพิพาทและบ้านเลขที่ 58 เป็นของจำเลยโดยอ้างพยานและเหตุผลอื่น ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

    สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยทำมาหาได้ร่วมกันในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา โจทก์และจำเลยจึงเป็นเจ้าของร่วมกัน แต่เมื่อกิจการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงมีการจดทะเบียนในรูปบริษัทจำกัด ใช้ชื่อว่าบริษัท ท. จึงมีสถานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากโจทก์และจำเลย นับแต่วันที่มีการจดทะเบียนบริษัท แม้จำเลยจะเป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัท ก็เป็นเพียงผู้บริหารในนามบริษัทไม่ใช่บริหารเป็นการส่วนตัว ทั้งมีบุคคลอื่นเป็นผู้ถือหุ้นซึ่งมีส่วนแห่งความเป็นเจ้าของในบริษัท ท. ด้วย การที่ไม่ปรากฏว่า มีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้น แล้วโจทก์มาฟ้องขอให้จำเลยแบ่งสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงของบริษัท ท. จึงเป็นคำขอที่ไม่อาจบังคับได้ โจทก์ชอบที่จะไปฟ้องเรียกเอาส่วนของโจทก์จากหุ้นที่จำเลยถืออยู่ในบริษัท ท. เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก ส่วนที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยแบ่งผลกำไรจากสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงนั้น กิจการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นของบริษัท ท. มิใช่ของจำเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งผลกำไรของบริษัท ท. ทั้งสองกรณีเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย และแก้ไขให้ถูกต้องได้

  โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งทรัพย์สินจำนวน 6 รายการ ตามฟ้องแก่โจทก์กึ่งหนึ่ง หากไม่ยอมแบ่งปันให้ชดใช้เงินแก่โจทก์ จำนวน 1,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ หากไม่สามารถแบ่งได้ให้นำทรัพย์สินทั้งหมดหรือบางส่วนออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งกันคนละกึ่งหนึ่ง และให้จำเลยแบ่งกันรายได้จากการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงแก่โจทก์ในอัตราเดือนละ 12,500 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะแบ่งทรัพย์สินแก่โจทก์เสร็จสิ้น

          จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าให้จำเลยแบ่งที่ดินพร้อมทรัพย์สินคือ บ้านเลขที่ 58 และสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง บริษัททสพรบริการ จำกัด ซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททุ่งสงวนเลี้ยงสัตว์ เนื้อที่ 2 ไร่ แก่โจทก์กึ่งหนึ่ง หากตกลงกันไม่ได้ให้นำทรัพย์สินดังกล่าวออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งกัน และให้จำเลยชำระเงิน จำนวน 129,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้อง (9 สิงหาคม 2544) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ และให้ชำระเงินเดือนละ 3,500 บาท ให้แก่โจทก์ นับแต่เดือนสิงหาคม 2544 เป็นต้นไปจนกว่าจะแบ่งกิจการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงเสร็จสิ้น กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความให้ 5,000 บาท
          จำเลยอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืน ให้จำเลยใช้ค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์ 1,500 บาท แทนโจทก์
          จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรกว่า ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 202/2544 ของศาลชั้นต้นหรือไม่ เห็นว่า ในคดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทและบ้านเลขที่ 58 ประเด็นในคดีก่อนจึงมีว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยกับพวกหรือไม่ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งที่ดินพิพาทและบ้านเลขที่ 58 และทรัพย์สินอื่นซึ่งเป็นทรัพย์สินที่โจทก์จำเลยทำมาหาได้ร่วมกันในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยาให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่ง ประเด็นจึงมีว่าโจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทและบ้านเลขที่ 58 กับทรัพย์สินอื่นตามฟ้องและมีสิทธิขอแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวจากจำเลยกึ่งหนึ่งหรือไม่ ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในคดีทั้งสองจึงมิได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

          ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการต่อไปมีว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ เห็นว่า แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นพิพาทว่า คดีโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์ถูกแย่งการครอบครองเกิน 1 ปี แต่คดีก็ไม่มีประเด็นเรื่องแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 เพราะจำเลยไม่ได้การต่อสู้ไว้โดยจำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทและบ้านเลขที่ 58 เป็นของจำเลยมาตั้งแต่แรก จำเลยมิได้แย่งการครอบครองไปจากโจทก์ การแย่งการครอบครองจำเลยต้องยอมรับก่อนว่า ที่พิพาทและบ้านเลขที่ 58 เป็นของโจทก์ แต่จำเลยแย่งการครอบครอง เมื่อคดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการแย่งการครอบครองดังที่กล่าวมาข้างต้น การที่ศาลล่างทั้งสองหยิบประเด็นดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัยจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 246 เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

          ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการต่อไปมีว่า ที่ดินพิพาทและบ้านเลขที่ 58 กับสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงบริษัททสพรบริการ จำกัด เป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยทำมาหาได้ร่วมกันในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยาหรือไม่ เห็นว่า สำหรับที่ดินพิพาทและบ้านเลขที่ 58 นั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยว่าเป็นของโจทก์และจำเลยร่วมกันโดยเหตุผลว่า ศาลชั้นต้นในคดีก่อนวินิจฉัยแล้วว่าเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยทำมาได้ร่วมกันในระหว่างเป็นสามีภริยา โจทก์และจำเลยจึงเป็นเจ้าของร่วมกัน ฉะนั้น ผลของคำพิพากษาในคดีดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยมิให้โต้เถียงสิทธิในที่ดินพิพาทและบ้านเลขที่ 58 อีก ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 จำเลยมิได้ฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ที่วินิจฉัยดังกล่าวว่าไม่ถูกต้องอย่างไร กลับฎีกาว่าที่ดินพิพาทและบ้านเลขที่ 58 เป็นของจำเลยโดยอ้างพยานหลักฐานและเหตุผลอื่น ดังนี้ ฎีกาของจำเลยที่มิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ในส่วนนี้ว่าไม่ชอบหรือผิดพลาดอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คดีคงมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยเฉพาะสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ในปัญหานี้...แม้โจทก์และจำเลยจะมีพยานของแต่ละฝ่ายมาเบิกความสนับสนุนก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงก่อสร้างขึ้นบนที่ดินพิพาทซึ่งฟังได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยทำมาหาได้ในระหว่างที่อยู่กินร่วมกัน และการสร้างสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นไม่ว่าจะสร้างในปี 2535 ตามที่จำเลยอ้าง หรือสร้างในปี 2540 ตามที่โจทก์อ้างและใครเป็นผู้สร้าง แต่ก็ยังอยู่ในระหว่างที่โจทก์และจำเลยยังอยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยา ฉะนั้น สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงจึงเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยทำมาหาได้ร่วมกันในระหว่างที่อยู่กินฉันสามีภริยา โจทก์และจำเลยจึงเป็นเจ้าของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงและกิจการร่วมกัน แต่อย่างไรก็ดี ข้อเท็จจริงที่โจทก์และจำเลยนำสืบรับกันฟังได้ว่า กิจการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงมีการจดทะเบียนในรูปบริษัทจำกัด ใช้ชื่อว่า บริษัททสพรบริการ จำกัด จึงมีสถานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากโจทก์และจำเลย นับแต่วันที่มีการจดทะเบียนบริษัทซึ่งตามหนังสือรับรอง ระบุว่าจดทะเบียนเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2540 สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงจึงเป็นทรัพย์สินของบริษัททสพรบริการ จำกัด แล้วได้ดำเนินกิจการตลอดมาแม้จำเลยจะเป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัท ก็เป็นเพียงผู้บริหารในนามของบริษัทไม่ใช่บริหารเป็นการส่วนตัว ทั้งโจทก์ไม่ได้นำสืบว่า มีบุคคลใดเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัททสพรบริการ จำกัด คงได้ความจากพยานจำเลยว่า จำเลยเป็นผู้ถือหุ้น 40,000 หุ้น นายภิรมย์ ซึ่งเป็นบุคคลหนึ่งในผู้เริ่มก่อการตั้งบริษัทจำกัด เป็นผู้ถือหุ้น 20,000 หุ้น จึงฟังได้ว่า มีบุคคลอื่นที่มีส่วนแห่งความเป็นเจ้าของในบริษัททสพรบริการ จำกัด ด้วย การที่ไม่ปรากฏว่า มีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือหุ้น แล้วโจทก์มาฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงของบริษัททสพรบริการ จำกัด จึงเป็นคำขอที่ไม่อาจบังคับได้ โจทก์ชอบที่จะไปฟ้องเรียกเอาส่วนของโจทก์จากหุ้นที่จำเลยถืออยู่ในบริษัททสพรบริการ จำกัด เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก ส่วนที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยแบ่งผลกำไรจากสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงนั้น เห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่ากิจการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นของบริษัททสพรบริการ จำกัด มิใช่ของจำเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งผลกำไรของบริษัททสพรบริการ จำกัด ทั้งสองกรณีเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย และแก้ไขให้ถูกต้องได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้แบ่งสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงและผลกำไรที่ได้จากสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงของบริษัททสพรบริการ จำกัด ให้แก่โจทก์นั้นเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย

        พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกคำขอแบ่งสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงและผลกำไรของบริษัททสพรบริการ จำกัด โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องเรียกเอาส่วนของโจทก์จากหุ้นของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งจำเลยถืออยู่ในบริษัททสพรบริการ จำกัด ภายในอายุความ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ.

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1015 ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทเมื่อได้จดทะเบียนตามบัญญัติ แห่งลักษณะนี้แล้ว ท่านจัดว่าเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นทั้งหลายซึ่งรวมเข้ากันเป็นหุ้นส่วน หรือบริษัทนั้น

 




เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วน บริษัท

กรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคลไม่ผูกพันรับผิดเป็นส่วนตัว
ทนายความมีอำนาจดำเนินคดีแม้เลิกบริษัทแล้ว
หนี้เงินค่าหุ้นที่ยังไม่ได้ส่งใช้ของผู้ถือหุ้นที่ถึงแก่ความตายแล้ว
ผู้ถือหุ้นฟ้องร้องกรรมการบริษัท
อำนาจกระทำการของผู้แทนนิติบุคคล
เป็นการกระทำนอกขอบวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลจึงไม่ผูกพันบริษัท