ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




หลักเกณฑ์การนัดประชุมสมาคม, กฎข้อบังคับสมาคมและการเพิกถอนมติ,

ท นาย อาสา ฟรี

เพิ่มเพื่อนไลน์แชทกับทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

ปรึกษากฎหมายทางแชทไลน์

1.การประชุมใหญ่สมาคมตามกฎหมาย

2.ป.พ.พ. มาตรา 85

3.หลักเกณฑ์การนัดประชุมสมาคม

4.คำพิพากษาศาลฎีกา 909/2567

5.การจดทะเบียนกรรมการสมาคม

6.มาตรา 95 วรรคหนึ่ง การส่งหนังสือนัดประชุม

7. กฎข้อบังคับสมาคมและการเพิกถอนมติ

สรุปย่อ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 909/2567 ได้ดังนี้

การจดทะเบียนกรรมการของสมาคมต้องตรวจสอบฐานะและความประพฤติของกรรมการก่อนจดทะเบียนตาม ป.พ.พ. มาตรา 85 เพื่อควบคุมสมาคมให้ทราบผู้บริหารจากหลักฐานทางทะเบียน การประชุมคณะกรรมการของสมาคม ผู้คัดค้าน มีองค์ประชุมและมติให้จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562 เป็นไปตามข้อบังคับ

ผู้ร้องขอเพิกถอนมติการประชุมใหญ่สามัญปี 2562 โดยอ้างว่าการนัดประชุมไม่ถูกต้อง ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์สั่งให้เพิกถอนมติ แต่ศาลฎีกาพิพากษากลับ เห็นว่าผู้คัดค้านส่งหนังสือนัดประชุมและเอกสารก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วันตามกฎหมาย แม้มีสมาชิกบางคนได้รับหนังสือน้อยกว่านั้นแต่ไม่ส่งผลกระทบต่อมติ การประชุมมีสมาชิกผู้มีสิทธิออกเสียงครบองค์ประชุม ศาลฎีกาจึงเห็นว่าไม่มีเหตุเพิกถอนมติ และให้ยกคำร้อง

หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 85 และมาตรา 95 วรรคหนึ่ง มีดังนี้:

1.มาตรา 85:

oวรรคหนึ่ง: บัญญัติให้การแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการของสมาคมต้องทำตามข้อบังคับของสมาคม และต้องนำไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ภายใน 30 วันนับจากวันที่มีการแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลง

oวรรคสอง: กำหนดให้นายทะเบียนมีอำนาจไม่รับจดทะเบียนกรรมการของสมาคม หากเห็นว่ากรรมการมีฐานะหรือความประพฤติที่ไม่เหมาะสมในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสมาคม ซึ่งเป็นกลไกควบคุมเพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลที่ไม่เหมาะสมมาบริหารสมาคมและสร้างความเสียหาย

มาตรานี้มีความสำคัญในการรับรองให้การแต่งตั้งกรรมการของสมาคมเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับ เพื่อสร้างความโปร่งใสในการบริหารและคุ้มครองบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องกับสมาคม

2.มาตรา 95 วรรคหนึ่ง:

oกำหนดว่าคณะกรรมการของสมาคมต้องส่งหนังสือนัดประชุมใหญ่ไปยังสมาชิกที่มีชื่อในทะเบียนของสมาคมล่วงหน้าก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน หรือให้ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์อย่างน้อยสองครั้งก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เพื่อให้สมาชิกทราบล่วงหน้าและมีเวลาเพียงพอในการเตรียมตัวเข้าร่วมประชุม

หลักการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความไม่โปร่งใสและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมในการจัดประชุม และเพื่อให้สมาชิกทุกคนมีโอกาสเข้าร่วมและใช้สิทธิในการตัดสินใจอย่างเสมอภาค

หลักกฎหมายเหล่านี้ทำให้การบริหารงานของสมาคมต้องเป็นไปตามข้อบังคับและกระบวนการที่ชัดเจน เพื่อคุ้มครองสิทธิของสมาชิกและสร้างความโปร่งใสในการดำเนินงานของสมาคม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 909/2567

การจดทะเบียนกรรมการของสมาคมตาม ป.พ.พ. มาตรา 85 นั้น การตรวจสอบฐานะและความประพฤติของกรรมการก่อนจดทะเบียนเป็นสาระสำคัญในการควบคุมสมาคมเพื่อให้ทราบบุคคลผู้บริหารกิจการสมาคมได้จากหลักฐานทางทะเบียน ผู้คัดค้านจึงมีคณะกรรมการตามจำนวนที่จดทะเบียนไว้ เมื่อกรรมการของผู้คัดค้านเข้าร่วมประชุมครบองค์ประชุม การประชุมและลงมติให้จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปีจึงเป็นไปตามข้อบังคับของผู้คัดค้าน

*ในการเรียกประชุมใหญ่ผู้คัดค้านส่งหนังสือนัดประชุมและเอกสารที่เกี่ยวข้องไปยังสมาชิกที่มีชื่อในทะเบียนของผู้คัดค้านก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวันชอบด้วยข้อบังคับของผู้คัดค้านและ ป.พ.พ. มาตรา 95 วรรคหนึ่งแล้ว แม้มีสมาชิกของผู้คัดค้านได้รับหนังสือนัดประชุมก่อนวันนัดน้อยกว่าเจ็ดวัน หรือสมาชิกบางคนไม่ได้รับหนังสือนัดประชุมหากมีจำนวนน้อยมิได้ถึงขนาดที่มีนัยสำคัญต่อผลการลงมติสำคัญใด ๆ ก็ไม่ทำให้การส่งหนังสือนัดประชุมดังกล่าวเป็นการไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนข้อบังคับของผู้คัดค้านหรือกฎหมาย ในวันประชุมมีสมาชิกผู้มีสิทธิออกเสียงมาประชุมครบเป็นองค์ประชุมและมีการลงมติโดยชอบแล้ว ย่อมไม่มีเหตุเพิกถอนมติในการประชุมใหญ่ดังกล่าว

*****ผู้ร้องยื่นคำร้องขอและแก้ไขคำร้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562 เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 ของผู้คัดค้าน

ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้องขอ

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562 ของผู้คัดค้าน ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

ผู้คัดค้านอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

ผู้คัดค้านฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้เถียงกันในชั้นนี้รับฟังเป็นยุติว่า ผู้คัดค้านเป็นนิติบุคคลประเภทสมาคม ขณะเกิดข้อพิพาทมีนางชนิดา เป็นนายกสมาคม นายเกียรติศักดิ์ เป็นอุปนายกและเหรัญญิก นางเสาวคนธ์ และนางชนิศา เป็นอุปนายก นางสาวดวงพร นางสาวศันสนีย์ และนางสาวลัดดา เป็นกรรมการ นายวิรัช เป็นกรรมการและฝ่ายปฏิคม นายสรสิทธิ์ เป็นกรรมการและนายทะเบียน นายสมบูรณ์ เป็นกรรมการและเลขาธิการ และนายณัฐพงศ์ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ รวม 11 คน และจะครบวาระในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562 ผู้คัดค้านมีสมาชิกแบบตลอดชีพ 158 คน และแบบรายปี 38 คน รวม 196 คน และมีข้อบังคับที่ได้จดทะเบียนต่อนายทะเบียนแล้ว เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2562 มีการประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 1/2562 มีคณะกรรมการเข้าร่วมประชุม 7 คน ได้แก่ นางชนิดา นายเกียรติศักดิ์ นางเสาวคนธ์ นางชนิศา นางสาวศันสนีย์ นางสาวลัดดา และนายสมบูรณ์ โดยมีมติให้นัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562 ในวันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 9 ถึง 12 นาฬิกา และให้สมาชิกที่ประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้งเป็นคณะกรรมการบริหารของสมาคมผู้คัดค้านส่งใบสมัครและชำระค่าสมัคร 10,000 บาท ภายในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2562 นายสมบูรณ์ในฐานะเลขาธิการสมาคมมีหนังสือลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 นัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562 และแจ้งสมาชิกที่สนใจสมัครเข้ารับเลือกตั้งเป็นคณะกรรมการของสมาคม ต่อมาวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 มีการจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562 ครั้งที่ 42 มีสมาชิกเข้าร่วมประชุม 64 คน และที่ประชุมดังกล่าวดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระที่ 1 ประธานกล่าวเปิดประชุม วาระที่ 2 รายงานผลการดำเนินงานของกรรมการบริหารสมาคมปี 2561 วาระที่ 3 พิจารณารับรองรายงานการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2561 วาระที่ 4 พิจารณารับรองงบการเงินของสมาคมประจำปี 2561 และแต่งตั้งผู้สอบบัญชีปี 2562 และวาระที่ 5 เลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสมาคม มีผู้ใช้สิทธิเลือกกรรมการ 38 เสียง มีผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการ 25 คน ในกรรมการที่ได้รับเลือกดังกล่าวได้เลือกกรรมการบริหาร 19 คน

ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านมีว่า มีเหตุให้เพิกถอนมติในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562 ของผู้คัดค้านเพราะมีการนัดประชุมโดยไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนข้อบังคับหรือบทบัญญัติของกฎหมายหรือไม่ ในเบื้องต้นเห็นได้ว่าปัญหาข้อพิพาทระหว่างสมาชิกของสมาคม มีสาเหตุสำคัญจากความไม่ชัดเจนของระเบียบข้อบังคับของสมาคมกับความเห็นและมูลเหตุจูงใจที่แตกต่างกันของสมาชิก การแสวงหาข้อยุติเพื่อลดความขัดแย้งข้อพิพาท และสร้างความมั่นคงขององค์กรในระยะยาว จึงจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขระเบียบข้อบังคับให้สอดคล้องกับกฎหมายและความต้องการของสมาชิกส่วนใหญ่เป็นสำคัญ สำหรับข้อพิพาทในชั้นนี้ ศาลจำต้องอาศัยบทบัญญัติของกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของสมาคมที่มีอยู่ประกอบวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมและควบคุมกำกับการทำงานของสมาคมเพื่อประโยชน์ของสมาชิกและการคุ้มครองสาธารณชนที่เกี่ยวข้อง กรณีการประชุมใหญ่ของสมาคมนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 93 บัญญัติให้คณะกรรมการของสมาคมต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปีอย่างน้อยปีละครั้ง และมาตรา 95 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในการเรียกประชุมใหญ่ คณะกรรมการของสมาคมต้องส่งหนังสือนัดประชุมไปยังสมาชิกทุกคนซึ่งมีชื่อในทะเบียนของสมาคมก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวันหรือลงพิมพ์โฆษณาอย่างน้อยสองคราวในหนังสือพิมพ์ที่แพร่หลายในท้องที่ฉบับหนึ่งก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน และวรรคสองบัญญัติให้การเรียกประชุมใหญ่ต้องระบุสถานที่ วัน เวลา และระเบียบวาระการประชุมและจัดส่งรายละเอียดและเอกสารที่เกี่ยวข้องตามควรไปพร้อมกันด้วย ทั้งตามข้อบังคับของผู้คัดค้าน ข้อ 16 ข้อ ก. ถึง ง. กำหนดให้มีการนัดประชุมใหญ่ทุกปีเพื่อพิจารณารายงานกิจการของคณะกรรมการบริหารเกี่ยวกับกิจการของสมาคม ซึ่งคณะกรรมการนั้นได้บริหารมา เพื่อพิจารณาและอนุมัติบัญชีงบดุลสำหรับปีที่ล่วงมาแล้ว เพื่อเลือกตั้งผู้ตรวจสอบบัญชี และเพื่อปรึกษาพิจารณาเรื่องอื่น ๆ ตามลำดับ การจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปีจึงเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการที่ต้องดำเนินการไปตามกฎหมายและข้อบังคับของผู้คัดค้าน สำหรับปัญหาว่า คณะกรรมการของสมาคมผู้คัดค้านได้ร่วมประชุมคณะกรรมการโดยชอบและมีมติให้นัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562 ของผู้คัดค้านโดยชอบหรือไม่ นั้น ผู้ร้องทั้งหกมีนายสมชาติ ผู้รับมอบอำนาจของผู้ร้องทั้งหก และนายชวินทร์ เป็นพยานเบิกความทำนองเดียวกันว่า คณะกรรมการของผู้คัดค้านที่ได้รับเลือกจากสมาชิกในที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2560 มี 40 คน โดยสมาชิกซึ่งเข้าร่วมประชุมใหญ่เสนอรายชื่อต่อที่ประชุมและให้สมาชิกที่เข้าประชุมลงคะแนนเลือกแล้วนับคะแนนจากมากไปหาน้อยเหลือเพียง 40 คน แล้วจึงถามความสมัครใจของผู้ที่ได้รับเลือก หากไม่สมัครใจก็จะเลื่อนผู้ที่ได้รับคะแนนถัดไปขึ้นมาจนครบ 40 คน แล้วคณะกรรมการ 40 คน ดังกล่าวลงคะแนนเลือกนายกสมาคมโดยนายกสมาคมจะแต่งตั้งคณะทำงาน หลังจากนั้นผู้คัดค้านจะนำรายชื่อคณะกรรมการที่ได้รับเลือกไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียน แต่เพื่อความสะดวกของผู้คัดค้านและตามธรรมเนียมประเพณีของผู้คัดค้านมีการจดทะเบียนแต่งตั้งคณะกรรมการของผู้คัดค้านเพียง 11 คน คณะกรรมการของสมาคมผู้คัดค้านจึงมีจำนวน 40 คน มิใช่เพียง 11 คน ที่ได้จดทะเบียน การนัดประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 1/2562 ที่ส่งหนังสือนัดประชุมให้แก่คณะกรรมการที่ได้จดทะเบียนเพียง 11 คน และมีคณะกรรมการมาประชุม 7 คน และกรรมการ 2 คน ที่มาประชุม คือนางสาวศันสนีย์และนางสาวลัดดาเป็นสมาชิกที่ขาดคุณสมบัติ จึงเป็นการประชุมที่ไม่ครบองค์ประชุมตามข้อบังคับของผู้คัดค้าน ส่วนผู้คัดค้านมีนายสมบูรณ์เลขาธิการสมาคมผู้คัดค้านเป็นพยานเบิกความว่า ตามข้อบังคับ ข้อ 9 ระบุว่า ให้มีกรรมการ 2 ประเภท คือ กรรมการบริหารและกรรมการที่ปรึกษา โดยให้มีกรรมการบริหารไม่น้อยกว่า 5 คน ซึ่งสมาชิกได้เลือกมาจำนวน 40 คน แต่สมาคมผู้คัดค้านจดทะเบียนกรรมการบริหารเพียง 11 คน เป็นผู้มีสิทธิออกเสียงลงมติและกระทำการผูกพันบุคคลภายนอก ส่วนกรรมการที่ได้รับเลือกจากสมาชิกที่เหลือ คงมีสิทธิเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการและเสนอความเห็น แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงมติ และตามข้อบังคับหมวดที่ 4 คณะกรรมการ ข้อ 10 ง. ระบุว่า การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการบริหารมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวน จึงเป็นองค์ประชุมได้ พยานจึงส่งหนังสือนัดประชุมคณะกรรมการบริหารให้แก่คณะกรรมการบริหารที่ได้จดทะเบียน 11 คน ส่วนกรรมการที่เหลือที่ไม่ใช่กรรมการบริหารได้แจ้งให้ทราบทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในวันประชุมมีคณะกรรมการเข้าร่วมประชุม 7 คน จึงถือว่าเกินกึ่งจำนวน ครบเป็นองค์ประชุม สำหรับนางสาวศันสนีย์และนางสาวลัดดาเป็นกรรมการที่ได้รับความเห็นชอบให้เป็นสมาชิกในวาระที่นายชวินทร์เป็นนายกสมาคม และได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการบริหารตามมติที่ประชุมใหญ่ปี 2560 ซึ่งไม่มีสมาชิกยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ดังกล่าว เห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 85 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้การแต่งตั้งกรรมการของสมาคมขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือการเปลี่ยนแปลงของสมาคมกระทำตามข้อบังคับของสมาคม และสมาคมต้องนำไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ของสมาคมตั้งอยู่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการของสมาคม และวรรคสองบัญญัติว่า ถ้านายทะเบียนเห็นว่ากรรมการของสมาคมตามวรรคหนึ่งผู้ใด มีฐานะหรือความประพฤติไม่เหมาะสมในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสมาคม นายทะเบียนจะไม่รับจดทะเบียนกรรมการของสมาคมผู้นั้นก็ได้ การตรวจสอบฐานะและความประพฤติของกรรมการก่อนจดทะเบียนกรรมการของสมาคมจึงเป็นสาระสำคัญในการควบคุมสมาคมและเพื่อให้บุคคลภายนอกทราบตัวบุคคลผู้บริหารกิจการสมาคมได้จากหลักฐานทางทะเบียน ที่ผู้ร้องทั้งหกนำสืบว่าคณะกรรมการของสมาคมผู้คัดค้านมีจำนวน 40 คน มิใช่เพียง 11 คน ที่ได้จดทะเบียนจึงขัดต่อเจตจำนงของกฎหมายเพราะย่อมเป็นการเปิดช่องให้คณะกรรมการคนอื่น ๆ ของผู้คัดค้านสามารถครอบงำที่ประชุมคณะกรรมการโดยที่นายทะเบียนไม่สามารถตรวจสอบได้ ประกอบกับข้อบังคับของผู้คัดค้านกำหนดให้คณะกรรมการของผู้คัดค้านประกอบด้วยกรรมการบริหารและกรรมการที่ปรึกษา โดยกรรมการบริหารประกอบด้วยกรรมการไม่น้อยกว่า 5 คน ซึ่งที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งจากสมาชิกสามัญที่ยังดำรงสมาชิกภาพอยู่ และให้คณะกรรมการบริหารเลือกตั้งกันเองทำหน้าที่ นายก อุปนายก เลขาธิการ เหรัญญิก นายทะเบียน ปฏิคม และตำแหน่งอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นแก่การบริหารของสมาคม การแต่งตั้งกรรมการในตำแหน่งอื่น ๆ จึงมีการเลือกและแต่งตั้งกันในวันประชุมใหญ่สามัญและนำชื่อไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ดังที่ได้ความจากนายสมบูรณ์พยานผู้คัดค้าน กรรมการที่ได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ซึ่งมิได้นำไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ย่อมมิใช่กรรมการบริหารของผู้คัดค้าน สำหรับนางสาวศันสนีย์และนางสาวลัดดาที่ผู้ร้องทั้งหกอ้างว่าขาดคุณสมบัติเป็นกรรมการบริหารเพราะมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีหรือกฎหมาย นอกจากไม่ปรากฏจากพยานหลักฐานของผู้ร้องทั้งหกว่าในเวลาดังกล่าวนางสาวศันสนีย์และนางสาวลัดดาพ้นจากการเป็นสมาชิกสามัญตามข้อบังคับของผู้คัดค้าน นายสมชาติและนายชวินทร์ยังเบิกความตอบทนายผู้คัดค้านถามค้านเจือสมกับนายสมบูรณ์พยานผู้คัดค้านว่า ไม่มีสมาชิกของผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ที่แต่งตั้งนางสาวศันสนีย์และนางสาวลัดดาเป็นกรรมการของผู้คัดค้าน ข้ออ้างของผู้ร้องทั้งหกในเรื่องนี้จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง ในขณะเกิดข้อพิพาทคดีนี้ผู้คัดค้านจึงมีคณะกรรมการบริหาร 11 คน การประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 1/2562 ซึ่งมีกรรมการเข้าร่วมประชุม 7 คน จึงมีกรรมการบริหารมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวน ครบเป็นองค์ประชุม ทั้งได้ความว่าคณะกรรมการของผู้คัดค้านจะครบวาระในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562 และตามข้อบังคับของผู้คัดค้าน ข้อ 17 กำหนดให้มีการประชุมใหญ่เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการใหม่ทุก 2 ปี ภายในเดือนเมษายนของปีถัดไป การที่นายสมบูรณ์มีหนังสือนัดประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 1/2562 โดยกำหนดระเบียบวาระเพื่อจัดเตรียมประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562 และคณะกรรมการของผู้คัดค้านได้พิจารณาในเรื่องดังกล่าวโดยมีมติให้จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปีในวันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 และให้ส่งใบสมัครเป็นกรรมการบริหารไปพร้อมจดหมายเชิญประชุมใหญ่สามัญประจำปีแจ้งให้ทราบว่า หากสนใจสมัครเข้ารับเลือกตั้งเป็นคณะกรรมการบริหารของผู้คัดค้าน ให้ชำระเงินค่าสมัครคนละ 10,000 บาท พร้อมแจ้งชื่อและชื่อสกุล พร้อมกับส่งสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนไปยังสมาคมผู้คัดค้านภายในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2562 จึงเป็นการนัดประชุมและลงมติของคณะกรรมการตามข้อบังคับของสมาคมผู้คัดค้านโดยถูกต้อง ส่วนที่ผู้ร้องทั้งหกนำสืบว่า มีสมาชิกได้รับหนังสือนัดประชุมก่อนวันประชุมน้อยกว่า 7 วัน และมีสมาชิกของผู้คัดค้านคือ นายวิชาญ ไม่ได้รับหนังสือนัดประชุมและเอกสารดังกล่าว จึงไม่ได้เข้าร่วมประชุม นั้น เห็นว่า ข้อบังคับของผู้คัดค้าน ข้อ 19 กำหนดไว้สอดคล้องกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 95 วรรคหนึ่ง ว่าในการเรียกประชุมใหญ่ คณะกรรมการของสมาคมต้องส่งหนังสือนัดประชุมไปยังสมาชิกทุกคนซึ่งมีชื่อในทะเบียนของสมาคมก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน โดยผู้คัดค้านมีนายสมบูรณ์และนางสาวชนิกานต์ เจ้าหน้าที่ของผู้คัดค้านเป็นพยานเบิกความว่า นางสาวชนิกานต์ส่งหนังสือนัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562 ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 และหนังสือเรื่องขอเรียนเชิญสมาชิกสมัครเป็นกรรมการของสมาคม ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 ให้แก่สมาชิกของผู้คัดค้านที่มีชื่อในทะเบียนของผู้คัดค้านทางไปรษณีย์เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2562 โดยนางสาวชนิกานต์ซื้อไปรษณียากรเพิ่ม 576 บาท จึงเป็นการส่งหนังสือนัดประชุมและเอกสารที่เกี่ยวข้องไปยังสมาชิกที่มีชื่อในทะเบียนของผู้คัดค้านก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน แม้มีสมาชิกของผู้คัดค้านได้รับหนังสือนัดประชุมก่อนวันนัดน้อยกว่าเจ็ดวันหรือสมาชิกบางคนไม่ได้รับหนังสือนัดประชุมหากมีจำนวนน้อยมิได้ถึงขนาดที่มีนัยสำคัญต่อผลของการลงมติสำคัญใด ๆ ก็ไม่ทำให้การส่งหนังสือนัดประชุมดังกล่าวเป็นการไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนข้อบังคับของผู้คัดค้านหรือกฎหมาย ทั้งได้ความว่าในวันดังกล่าวมีสมาชิกผู้มีสิทธิออกเสียงมาประชุม 64 คน จึงมีสมาชิกผู้มีสิทธิออกเสียงมาประชุมไม่น้อยกว่า 20 คน ตามข้อบังคับข้อ 20 ครบเป็นองค์ประชุมและมีการลงมติโดยชอบแล้ว ย่อมไม่มีเหตุที่จะให้เพิกถอนมติในการประชุมใหญ่ดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของผู้คัดค้านฟังขึ้น

พิพากษากลับ ให้ยกคำร้องขอ ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ


ตัวอย่างร่างคำฟ้องคดีแพ่งตามรูปแบบกฎหมายไทยที่อิงจากข้อเท็จจริงในคำพิพากษาศาลฎีกา สามารถใช้เป็นแนวทางได้ดังนี้:

คำฟ้องคดีแพ่ง

คดีหมายเลขดำที่ .../...

ระหว่าง โจทก์: นาย ก. จำเลย: สมาคม X

บรรยายฟ้อง

ข้อ 1: โจทก์เป็นสมาชิกของสมาคม X ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทสมาคม มีข้อบังคับในการดำเนินงานและการประชุมตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของสมาคม

ข้อ 2: เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 สมาคม X ได้จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562 ซึ่งมีการส่งหนังสือนัดประชุมให้สมาชิกภายในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2562 อย่างไรก็ตาม มีสมาชิกบางส่วนได้รับหนังสือนัดประชุมก่อนวันประชุมน้อยกว่า 7 วัน และบางคนไม่ได้รับหนังสือดังกล่าวเลย

ข้อ 3: โจทก์เห็นว่าการจัดการประชุมดังกล่าวไม่เป็นไปตามข้อบังคับของสมาคมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 95 วรรคหนึ่ง ที่กำหนดให้การเรียกประชุมใหญ่ต้องส่งหนังสือนัดประชุมล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน จึงเป็นการจัดประชุมที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายและทำให้การลงมติในการประชุมดังกล่าวไม่สมบูรณ์

คำขอท้ายฟ้อง

ด้วยเหตุนี้ โจทก์จึงขอให้ศาลมีคำพิพากษาดังนี้:

1.ให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562 ของสมาคม X เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 เนื่องจากไม่เป็นไปตามข้อบังคับและบทบัญญัติกฎหมาย

2.ให้สมาคม X ชำระค่าธรรมเนียมศาลและค่าทนายความ

3.คำขออื่น ๆ ที่ศาลเห็นสมควรเพื่อความยุติธรรม

ลงชื่อ (ทนายความโจทก์) วัน เดือน ปี

หมายเหตุ: ร่างคำฟ้องนี้เป็นเพียงแนวทางที่ช่วยในการศึกษาและทำความเข้าใจเท่านั้น นักศึกษากฎหมายและทนายความควรศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนการใช้งานในคดีจริง




เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วน บริษัท

ผู้จัดการมรดกและการจัดการหุ้นมรดก, การเพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น, การเปลี่ยนแปลงสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น, สิทธิของผู้จัดการมรดกในการประชุมผู้ถือหุ้น
ผู้ถือหุ้นฟ้องร้องกรรมการบริษัท
กรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคลไม่ผูกพันรับผิดเป็นส่วนตัว
กิจการของสามีภริยาซึ่งได้จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด
ทนายความมีอำนาจดำเนินคดีแม้เลิกบริษัทแล้ว
หนี้เงินค่าหุ้นที่ยังไม่ได้ส่งใช้ของผู้ถือหุ้นที่ถึงแก่ความตายแล้ว
อำนาจกระทำการของผู้แทนนิติบุคคล
เป็นการกระทำนอกขอบวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลจึงไม่ผูกพันบริษัท