ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ฟ้องหย่าแบ่งสินสมรสคดีอยู่ระหว่างพิจารณา-สามีตาย

ทนายความ ฟ้องหย่า lawyer

ภรรยายื่นฟ้องหย่าสามีและขอแบ่งสินสมรสคดีอยู่ระหว่างพิจารณา-สามีตาย

จำเลยที่ 1(สามี) ฎีกาขอให้ศาลฎีกายกฟ้องโจทก์ คดีมีประเด็นว่าจำเลยที่ 1 อุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องจำเลยที่ 2 ฉันภริยา อันเป็นเหตุฟ้องหย่าหรือไม่ ดังนั้นประเด็นที่ให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่ากันเพราะเหตุสามียกย่องหญิงอื่นจึงยังไม่ถึงที่สุด เมื่อจำเลยที่ 1 (สามี)ถึงแก่ความตายทำให้การสมรสระหว่างสามีภริยาสิ้นสุดลงด้วยความตาย ก่อนที่การหย่าโดยคำพิพากษาจะมีผลบังคับ ประเด็นที่ศาลล่างทั้งสองศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกันย่อมเป็นอันสิ้นผลไป ทำให้การพิจารณาฎีกาของจำเลยที่ 1 และฎีกาของโจทก์ในเหตุหย่าและประเด็นการแบ่งสินสมรสเมื่อมีการหย่าไม่เป็นประโยชน์แก่คดีที่ศาลฎีกาจะพิจารณาต่อไป สำหรับประเด็นเรื่องสินสมรสก็จะต้องไปว่ากล่าวกันเป็นคดีใหม่ตามกฎหมายว่าด้วยมรดกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4977/2565

จำเลยที่ 1(สามี) ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญการพิเศษโดยยกฟ้องโจทก์ คดีมีประเด็นตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษว่าจำเลยที่ 1 อุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องจำเลยที่ 2 ฉันภริยา อันเป็นเหตุฟ้องหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (1) หรือไม่ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่ากันเพราะเหตุตามมาตรา 1516 (1) จึงยังไม่ถึงที่สุด เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายมีผลให้การสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้สิ้นสุดลงด้วยความตาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1501 แล้วก่อนการหย่าโดยคำพิพากษาคดีนี้จะมีผลแต่เวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1531 วรรคสอง คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองที่ให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกันย่อมเป็นอันสิ้นผลไป การพิจารณาฎีกาของจำเลยที่ 1 และฎีกาของโจทก์ในเหตุหย่าและการแบ่งสินสมรสเมื่อหย่าจึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีที่ศาลฎีกาจะพิจารณาต่อไป ให้จำหน่ายคดีตามฎีกาของโจทก์และจำเลยที่ 1 ออกจากสารระบบความของศาลฎีกา ทั้งเป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันตามกฎหมายว่าด้วยมรดก

ส่วนความรับผิดของจำเลยทั้งสองตามคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองที่จะต้องร่วมกันชำระค่าทดแทนแก่โจทก์นั้น เมื่อคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองที่ให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่ากันเพราะเหตุตามมาตรา 1516 (1) สิ้นผลไปแล้วเช่นนี้ สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคหนึ่ง ย่อมเป็นอันสิ้นผลไปด้วย สำหรับความรับผิดในค่าทดแทนของจำเลยที่ 2 นั้น ตามคำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง โดยจำเลยที่ 1 เป็นชู้ และมีชู้ และร่วมประเวณี กับอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกน้องที่ทำงานที่โรงพยาบาลในฐานะภริยา และให้เป็นกรรมการในบริษัทที่โจทก์และจำเลยที่ 1 จัดตั้งขึ้น รวมทั้งยกย่องจำเลยที่ 2 ออกสังคมอย่างเปิดเผย โดยจำเลยที่ 2 ทราบว่าจำเลยที่ 1 กับโจทก์เป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ยังเป็นชู้มีความสัมพันธ์กับจำเลยที่ 1 โดยตั้งใจทำผิดต่อกฎหมายและศีลธรรมกับโจทก์ด้วย จำเลยที่ 1 นำจำเลยที่ 2 เข้ามาพักอาศัยหลับนอนกันที่อาคารโรงพยาบาล เมื่อศาลฟังว่าจำเลยที่ 1 ไปสู่ขอจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 อยู่กินหลับนอนฉันสามีภริยากับจำเลยที่ 2 แสดงออกต่อบุคคลทั่วไปว่าจำเลยที่ 2 เป็นภริยาจำเลยที่ 1 เท่ากับจำเลยที่ 2 แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับจำเลยที่ 1 ในทำนองชู้สาวแล้วด้วย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 2 ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคสอง แม้การสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จะสิ้นสุดลงด้วยความตายของจำเลยที่ 1 ก็ตาม ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิจารณาถึงความรับผิดในค่าทดแทนของจำเลยที่ 2 ได้ และแม้โจทก์กับจำเลยที่ 1 จะมิได้อาศัยอยู่ร่วมกัน แต่เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 มีส่วนถึงขนาดที่ทำให้โจทก์ฟ้องหย่าขาดจากจำเลยที่ 1 จึงสมควรกำหนดค่าทดแทนให้โจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลยที่ 2 เป็นเงิน 500,000 บาท

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้พิพากษาให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกัน โดยให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนหย่ากับโจทก์ หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติขอให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ให้บังคับจำเลยที่ 1 แบ่งสินสมรสแก่โจทก์ 3,000,000,000 บาท หากไม่สามารถตกลงกันได้หรือแบ่งกันไม่ได้ให้นำสินสมรสดังกล่าวออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งให้แก่โจทก์ และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าทดแทนให้แก่โจทก์ 100,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น

จำเลยที่ 1 ให้การขอให้ยกฟ้อง

จำเลยที่ 2 ให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกัน โดยให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนหย่า หากจำเลยที่ 1 ไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าทดแทนแก่โจทก์ 1,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 19 กันยายน 2557) จนกว่าจะชำระเสร็จ ให้จำเลยที่ 1 แบ่งทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่ง ได้แก่ ตามคำฟ้องข้อ 3.1 ห้องชุดเลขที่ 77/19 กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 41.70 ตารางเมตร ตามคำฟ้องข้อ 3.4 ห้องชุดเลขที่ 63/14 กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 25 ตารางเมตร ตามคำฟ้องข้อ 3.14 ที่ดินโฉนดเลขที่ 18952 จังหวัดนนทบุรี เนื้อที่ 3 งาน 18 ตารางวา ตามคำฟ้องข้อ 3.16 ที่ดินโฉนดเลขที่ 4042 จังหวัดนนทบุรี เนื้อที่ 24 ไร่ 39 ตารางวา ตามคำฟ้องข้อ 3.18 ที่ดินโฉนดเลขที่ 8472 กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 20 ไร่ 26 ตารางวา ตามคำฟ้องข้อ 3.19 ที่ดินโฉนดเลขที่ 42829 กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน 28 ตารางวา ตามคำฟ้องข้อ 3.22 ที่ดินโฉนดเลขที่ 5539 กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 5 ไร่ 1 งาน 28 ตารางวา ตามคำฟ้องข้อ 3.23 ที่ดินโฉนดเลขที่ 43 กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 9 ไร่ 86 ตารางวา (ที่ถูก 8 ไร่ 3 งาน 68.7 ตารางวา) ตามคำฟ้องข้อ 3.24 ที่ดินโฉนดเลขที่ 6314 กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 13 ไร่ 1 งาน 14 ตารางวา ตามคำฟ้องข้อ 3.53 ที่ดินโฉนดเลขที่ 37143 จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ 35 ตารางวา ตามคำฟ้องข้อ 3.86 ที่ดินโฉนดเลขที่ 26169 จังหวัดเพชรบุรี ตามคำฟ้องข้อ 3.130 ที่ดินโฉนดเลขที่ 15415 จังหวัดเพชรบุรี เนื้อที่ 2 งาน 4 ตารางวา ตามคำฟ้องข้อ 3.131 ที่ดินโฉนดเลขที่ 15412 จังหวัดเพชรบุรี เนื้อที่ 1 งาน 4 ตารางวา ตามคำฟ้องข้อ 3.133 ที่ดินโฉนดเลขที่ 5187 กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 4 ไร่ 1 งาน 4 ตารางวา ตามคำฟ้องข้อ 3.136 ที่ดินโฉนดเลขที่ 3896 จังหวัดสมุทรปราการ เนื้อที่ 60 ไร่ ตามคำฟ้องข้อ 3.138 ที่ดินโฉนดเลขที่ 16551 จังหวัดเพชรบุรี เนื้อที่ 1 ไร่ 79 ตารางวา ตามคำฟ้องข้อ 3.141 ที่ดินโฉนดเลขที่ 71480 จังหวัดนนทบุรี เนื้อที่ 8 ไร่ 2 งาน 42.5/7 ตารางวา และตามคำฟ้องข้อ 3.143 ห้องชุดเลขที่ 441/15 จังหวัดชลบุรี หากไม่สามารถแบ่งกันได้ ให้นำทรัพย์สินอันเป็นสินสมรสออกขายทอดตลาด เพื่อนำเงินแบ่งให้โจทก์กึ่งหนึ่ง ให้จำเลยที่ 1 แบ่งเงินในส่วนของห้องชุดและที่ดินอันเป็นสินสมรสที่จำเลยที่ 1 ได้ขายไปแล้วแก่โจทก์กึ่งหนึ่ง ตามคำฟ้องข้อ 3.5 ห้องชุดเลขที่ 301 จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเงิน 1,500,000 บาท ตามคำฟ้องข้อ 3.6 ห้องชุดเลขที่ 302 จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเงิน 1,500,000 บาท ตามคำฟ้องข้อ 3.17 ที่ดินโฉนดเลขที่ 42828 กรุงเทพมหานคร เป็นเงิน 3,500,000 บาท ตามคำฟ้องข้อ 3.18 ที่ดินโฉนดเลขที่ 8472 กรุงเทพมหานคร เป็นเงิน 80,000,000 บาท ตามคำฟ้องข้อ 3.19 ที่ดินโฉนดเลขที่ 42829 กรุงเทพมหานคร เป็นเงิน 6,000,000 บาท ตามคำฟ้องข้อ 3.20 ที่ดินโฉนดเลขที่ 42830 กรุงเทพมหานคร เป็นเงิน 18,000,000 บาท ตามคำฟ้องข้อ 3.21 ที่ดินโฉนดเลขที่ 42831 กรุงเทพมหานคร เป็นเงิน 18,000,000 บาท ตามคำฟ้องข้อ 3.25 ที่ดินโฉนดเลขที่ 33654 กรุงเทพมหานคร เป็นเงิน 1,500,000 บาท ตามคำฟ้องข้อ 3.26 ที่ดินโฉนดเลขที่ 7136 กรุงเทพมหานคร เป็นเงิน 100,000,000 บาท ตามคำฟ้องข้อ 3.27 ที่ดินโฉนดเลขที่ 7135 กรุงเทพมหานคร เป็นเงิน 100,000,000 บาท ตามคำฟ้องข้อ 3.54 ที่ดินโฉนดเลขที่ 48923 จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเงิน 4,500,000 บาท ตามคำฟ้องข้อ 3.55 ที่ดินโฉนดเลขที่ 9443 จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเงิน 25,000,000 บาท ตามคำฟ้องข้อ 3.129 ที่ดินโฉนดเลขที่ 8855 จังหวัดเพชรบุรี เป็นเงิน 250,000 บาท รวมเป็นเงิน 359,250,000 บาท ให้จำเลยที่ 1 แบ่งเงินในบัญชีเงินฝากธนาคารแก่โจทก์กึ่งหนึ่ง เป็นเงิน 64,870,208.83 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 424,120,208.83 บาท ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 100,000 บาท คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

โจทก์และจำเลยทั้งสองอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกคำขอของโจทก์ที่ขอให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 ในการจดทะเบียนหย่า ให้จำเลยที่ 1 แบ่งสินสมรสตามส่วนที่จำเลยที่ 1 ถือกรรมสิทธิ์แก่โจทก์กึ่งหนึ่ง คือ ตามคำฟ้องข้อ 3.8 และข้อ 3.9 ห้องชุดเลขที่ 160/854 และ 160/855 กรุงเทพมหานคร ข้อ 3.10 ห้องชุดเลขที่ 120/43 และ 120/42 กรุงเทพมหานคร ข้อ 3.12 ที่ดินโฉนดเลขที่ 7053 กรุงเทพมหานคร ในส่วนที่จำเลยที่ 1 ถือกรรมสิทธิ์ 2,000 ส่วน ใน 4,154 ส่วน ข้อ 3.56 ถึง 3.63 ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 366 ถึง 368, 375 ถึง 377, 396 และ 397 (โฉนดที่ดินเลขที่ 55668, 55667, 56465, 64403, 56511, 64402, 64401 และ 62171) จังหวัดเชียงใหม่ ข้อ 3.64 ถึง 3.69 และ 3.76 ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 398 ถึง 403 และ 439 จังหวัดเชียงใหม่ ข้อ 3.70 ถึง 3.75, 3.77 ถึง 3.80, 3.81, 3.82, 3.84 และ 3.85 ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 433 ถึง 438, 441 ถึง 444, 496, 755, 734 และ 334 (โฉนดที่ดินเลขที่ 55675, 55674, 5569, 56512, 62173, 62172, 64404, 64405, 62714, 64406, 55677, 56491, 56510 และ 55691) จังหวัดเชียงใหม่ ข้อ 3.137 และ 3.139 ที่ดินโฉนดเลขที่ 1392 และ 16235 จังหวัดเพชรบุรี ข้อ 3.142 ห้องชุดเลขที่ 63/399 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ข้อ 3.144 และ 3.145 ห้องชุดเลขที่ 270/102 และ 272/84 กรุงเทพมหานคร ข้อ 3.164 ที่ดินโฉนดเลขที่ 26170 จังหวัดเพชรบุรี ข้อ 3.165 ถึง 3.170 ที่ดินโฉนดเลขที่ 26585, 26584, 22962, 29098, 29321 และ 21891 จังหวัดเพชรบุรี โดยให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงแบ่งกันเองก่อน หากตกลงกันไม่ได้ให้ประมูลขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 หากไม่สามารถประมูลขายระหว่างกันเองได้ ให้นำออกขายทอดตลาดแล้วแบ่งเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่ง ให้จำเลยที่ 1 แบ่งเงินในบัญชีเงินฝากตามคำฟ้องข้อ 3.175 แก่โจทก์ 46,418,524.94 บาท กับให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินที่ได้จากการขายสินสมรสให้แก่โจทก์ 177,019,000 บาท ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์โดยค่าขึ้นศาลให้จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ใช้แทนเฉพาะส่วนทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีจำเลยที่ 1 และชนะคดีจำเลยที่ 2 โดยกำหนดค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์สำหรับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 50,000 บาท จำเลยที่ 2 เป็นเงิน 20,000 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

โจทก์และจำเลยทั้งสองฎีกา

ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ยื่นคำร้องลงวันที่ 25 ธันวาคม 2562 ว่า จำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562 ทำให้การสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 สิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1501 กรณีไม่มีเหตุจะวินิจฉัยปัญหาตามฟ้องของโจทก์กับจำเลยทั้งสองต่อไป ขอให้จำหน่ายคดีโจทก์ออกจากสารบบความ ศาลฎีกามีคำสั่งตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลฎีกา ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563 และวันที่ 2 ตุลาคม 2563 ให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนว่า จำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายจริงหรือไม่ และให้ดำเนินการให้โจทก์ส่งมรณบัตรจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเอกสารราชการเพื่อประกอบการพิจารณา

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงปรากฏตามท้องสำนวนว่า ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2560 ทนายจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2560 หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์อีก จนกระทั่งเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2560 จำเลยที่ 2 ขอถอนทนายความคนเดิมและตั้งแต่งนายชัยยันต์ เป็นทนายความคนใหม่ให้มีอำนาจใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกา แม้นายชัยยันต์ซึ่งเป็นทนายความจำเลยทั้งสองได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2560 และศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาไปจนถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2560 และทนายจำเลยทั้งสองยื่นอุทธรณ์ในวันสุดท้ายที่ครบกำหนดระยะเวลาตามที่ได้รับอนุญาตให้ขยายระยะเวลาก็ตาม ก็ไม่ทำให้อุทธรณ์ในส่วนของจำเลยที่ 2 ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2560 ดังกล่าวเป็นอุทธรณ์ที่ได้ยื่นภายในกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย ทั้งกระบวนพิจารณาที่จำเลยที่ 1 ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่ 2 และศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายนั้นเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 1 เท่านั้น ไม่มีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นคู่ความร่วมที่มิได้ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ด้วย อุทธรณ์ในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 6 คำสั่งศาลชั้นต้นที่รับอุทธรณ์ในส่วนของจำเลยที่ 2 และศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยมานั้นเป็นการไม่ชอบ และมีผลให้จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิฎีกา ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 และมาตรา 246, 247 (เดิม) ประกอบพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 6 คดีสำหรับจำเลยที่ 2 จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

พิเคราะห์แล้ว คดีนี้จำเลยที่ 1 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษโดยยกฟ้องโจทก์ ส่วนโจทก์ฎีกาเห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษในเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 (1) และขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษให้แบ่งทรัพย์สินอันเป็นสินสมรสแก่โจทก์เพิ่มเติม คดีมีประเด็นตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษว่า จำเลยที่ 1 อุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องจำเลยที่ 2 ฉันภริยา อันเป็นเหตุฟ้องหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 (1) หรือไม่ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่ากันเพราะเหตุตามมาตรา 1516 (1) จึงยังไม่ถึงที่สุด และตามทางไต่สวนการตายของจำเลยที่ 1 ได้ความตามคำเบิกความของโจทก์และพันตำรวจตรีณัฐพงศ์ สถาบันนิติเวชโรงพยาบาล ต. ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการผ่าศพจำเลยที่ 1 ประกอบกับแบบรับรองรายการคนตาย (มรณบัตร) จำเลยที่ 1 โดยจำเลยทั้งสองไม่ติดใจสืบพยาน น่าเชื่อว่าจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562 แล้วจริง และมีผลให้การสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้สิ้นสุดลงด้วยความตาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1501 แล้วก่อนการหย่าโดยคำพิพากษาคดีนี้จะมีผลแต่เวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1531 วรรคสอง คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองที่ให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกันย่อมเป็นอันสิ้นผลไป การพิจารณาฎีกาของจำเลยที่ 1 และฎีกาของโจทก์ในเหตุหย่าและการแบ่งสินสมรสเมื่อหย่าจึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีที่ศาลฎีกาจะพิจารณาต่อไป ให้จำหน่ายคดีตามฎีกาของโจทก์และจำเลยที่ 1 ออกจากสารบบความของศาลฎีกา ทั้งเป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันตามกฎหมายว่าด้วยมรดก ส่วนความรับผิดของจำเลยทั้งสองตามคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองที่จะต้องร่วมกันชำระค่าทดแทนแก่โจทก์นั้น เมื่อคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองที่ให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่ากันเพราะเหตุตามมาตรา 1516 (1) สิ้นผลไปแล้วเช่นนี้ สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523 วรรคหนึ่ง ย่อมเป็นอันสิ้นผลไปด้วย ส่วนความรับผิดในค่าทดแทนของจำเลยที่ 2 นั้น ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า ตามคำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง โดยจำเลยที่ 1 เป็นชู้ และมีชู้ และร่วมประเวณี กับอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกน้องที่ทำงานที่โรงพยาบาลในฐานะภริยา และให้เป็นกรรมการในบริษัทที่โจทก์และจำเลยที่ 1 จัดตั้งขึ้น รวมทั้งยกย่องจำเลยที่ 2 ออกสังคมอย่างเปิดเผย โดยจำเลยที่ 2 ทราบว่าจำเลยที่ 1 กับโจทก์เป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ยังเป็นชู้มีความสัมพันธ์กับจำเลยที่ 1 โดยตั้งใจทำผิดต่อกฎหมายและศีลธรรมกับโจทก์ด้วย จำเลยที่ 1 นำจำเลยที่ 2 เข้ามาพักอาศัยหลับนอนกันที่อาคารโรงพยาบาล เมื่อศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงต้องกันว่า จำเลยที่ 1 ไปสู่ขอจำเลยที่ 2 ที่จังหวัดเชียงราย และจำเลยที่ 1 อยู่กินหลับนอนฉันสามีภริยากับจำเลยที่ 2 ที่โรงพยาบาล แสดงออกต่อบุคคลทั่วไปว่าจำเลยที่ 2 เป็นภริยาจำเลยที่ 1 เท่ากับจำเลยที่ 2 แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับจำเลยที่ 1 ในทำนองชู้สาวแล้วด้วย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 2 ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523 วรรคสอง แม้การสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จะสิ้นสุดลงด้วยความตายของจำเลยที่ 1 ก็ตาม ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิจารณาถึงความรับผิดในค่าทดแทนของจำเลยที่ 2 ได้ ส่วนปัญหาว่า ค่าทดแทนสมควรกำหนดเพียงใด ข้อนี้ แม้โจทก์กับจำเลยที่ 1 จะมิได้อาศัยอยู่ร่วมกันมาตั้งแต่ปี 2542 ก็ตาม แต่เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 มีส่วนถึงขนาดที่ทำให้โจทก์ฟ้องหย่าขาดจากจำเลยที่ 1 เช่นนี้ จึงสมควรกำหนดค่าทดแทนให้โจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลยที่ 2 เป็นเงิน 500,000 บาท เมื่อวินิจฉัยดังนี้แล้ว คำร้องของโจทก์ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2564 ที่ขอถอนคำร้องลงวันที่ 25 ธันวาคม 2562 ที่ขอให้ศาลฎีกาจำหน่ายคดีนี้ และคำร้องของโจทก์ลงวันที่ 24 มีนาคม 2565 และวันที่ 25 มีนาคม 2565 ที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีและขอเข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1 ผู้มรณะอีกต่อไป จึงไม่จำต้องวินิจฉัย

อนึ่ง ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 ให้ยกเลิกความในมาตรา 7 และมาตรา 224 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้ใช้ความใหม่แทน เป็นผลให้ดอกเบี้ยผิดนัดปรับเปลี่ยนจากอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นร้อยละ 5 ต่อปี หรือเป็นอัตราดอกเบี้ยที่มีการปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงการคิดดอกเบี้ยในระหว่างช่วงเวลาก่อนที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ กรณีจึงต้องบังคับใช้ตามบทบัญญัติที่แก้ไขใหม่ดังกล่าว และเมื่อคดีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์และฎีกาของจำเลยที่ 1 ในเรื่องเหตุฟ้องหย่าและการแบ่งสินสมรส ศาลฎีกาเห็นสมควรคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาในส่วนนี้ที่แต่ละฝ่ายเสียเกินมาด้วย

พิพากษาแก้เป็นว่า การสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 สิ้นสุดลงด้วยความตาย ให้จำหน่ายคดีตามฎีกาของโจทก์และจำเลยที่ 1 จากสารบบความของศาลฎีกา ให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าทดแทนจำนวน 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 19 กันยายน 2557) จนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และอัตราร้อยละ 5 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่มีการปรับเปลี่ยนตามพระราชกฤษฎีกานับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามที่โจทก์ขอ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก และให้ยกคำร้องของโจทก์ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2562, วันที่ 23 พฤศจิกายน 2564, วันที่ 24 และ 25 มีนาคม 2565 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ ให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาทั้งหมดแก่โจทก์ และคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาในส่วนที่เกินทุนทรัพย์ 1,000,000 บาท แก่จำเลยทั้งสอง ค่าฤชาธรรมเนียมอื่นนอกจากที่สั่งคืนในชั้นฎีกาให้เป็นพับ

 




สินสมรส

ข้อตกลงตามบันทึกท้ายทะเบียนหย่าให้คู่หย่าฝ่ายชายจัดการสินสมรสและภาระหนี้สิน
ภริยายินยอมให้ใส่ชื่อสามีฝ่ายเดียวในที่ดินสินสมรสเป็นการให้ความยินยอมไว้ล่วงหน้า
สามีโจทก์ได้สมยอมแกล้งเป็นหนี้พี่สาวแล้วทำสัญญายอมความยึดสินสมรส
ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสเป็นสินสมรส
ทรัพย์สินที่ไม่ได้ใช้ประกอบอาชีพเพียงอย่างเดียวเป็นสินสมรส
ข้อตกลงเรื่องการหย่าและข้อตกลงเรื่องการแบ่งทรัพย์สิน(สินสมรส)
ฟ้องแบ่งที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างสินสมรสระหว่างคนไทยและคนต่างด้าว
ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสมีชื่อภรรยาเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์คนเดียว
ขณะทำพินัยกรรมจดทะเบียนหย่ากันแล้วพินัยกรรมไม่เป็นโมฆะ
จัดการสินสมรสเป็นที่เสียหายถึงขนาด-เหตุแยกสินสมรส