

มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือครอบครองแทน มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือครอบครองแทน โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทเพื่อนำมาใช้ในกิจการเหมืองแร่ สวนยางพาราโดยจดทะเบียนใส่ชื่อนายชัยสิน และจำเลย 9 คน เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองแทนโจทก์โจทก์ได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินอย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์โดยใช้ปลูกต้นยางพารา และใช้ประโยชน์อื่น ต่อมานายชัยสินและนายเกรียงไกรถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 และที่ 5 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันของนายชัยสินและนายเกรียงไกร โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 2 และที่ 5 ในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนโอนที่ดินทั้งหมดคืนแก่โจทก์ ในระหว่างการพิจารณาของศาลจำเลยที่ 2 ดำเนินการให้บุคคลภายนอกเข้ามาตัดต้นยางพาราในที่ดินพิพาทเพื่อนำออกขายอันเป็นการกระทำให้เปลืองไปเปล่าหรือบุบสลายหรือโอนไปยังผู้อื่นซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทหากภายหลังโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีย่อมจะทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ได้ จึงมีเหตุสมควรสั่งห้ามไม่ให้จำเลยที่ 2 เข้าตัดฟันต้นยางพาราในที่ดินพิพาทระหว่างพิจารณาคดีไว้เป็นการชั่วคราว คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1366/2553 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่ 5 ถึงที่ 11 ให้การทำนองเดียวกันว่า ที่ดินพิพาทเป็นของนายชัยสิน นายเกรียงไกร จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 10 และที่ 11 นายชัยสิน นายเกรียงไกร จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 10 และที่ 11 มิได้ถือกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่ดินแทนโจทก์ ขอให้ยกฟ้อง จำเลยที่ 4 ยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำให้การจำเลยที่ 4 ก่อนสืบพยาน โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาโดยยื่นคำร้องขอในกรณีมีเหตุฉุกเฉินว่า จำเลยที่ 2 ขายต้นยางพาราที่ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 1337 และ 1338 ตำบลเทพกษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งมีชื่อนายชัยสินถือกรรมสิทธิ์แทนโจทก์ แก่นายปรารถนา ต่อมานายปรารถนาให้คนงานเข้าไปตัดต้นยางพาราในที่ดินพิพาทดังกล่าวเนื้อที่ประมาณ 60 ไร่ คิดเป็นเงิน 1,800,000 บาท และจะเข้าตัดต้นยางพาราที่เหลือประมาณ 40 ไร่ ต่อไป ทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้มีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยที่ 2 หรือผู้จัดการมรดกของนายชัยสินและนายปรารถนากับพวกเข้าไปตัดต้นยางพาราในที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 1337 และ 1338 และห้ามเข้าไปกระทำการใด ๆ ในที่ดินทั้งสองแปลงจนกว่าศาลจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง และให้จำเลยที่ 2 กับนายปรารถนาร่วมกันหรือคนใดคนหนึ่งนำเงินค่าไม้ยางพารา 1,800,000 บาท มาวางศาลเพื่อให้ผู้ชนะคดีในที่สุดรับไปจากศาล โจทก์ฎีกา พิพากษากลับ ให้บังคับตามคำสั่งศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาให้เป็นพับ ประการแรก คำพิพากษาฎีกาที่หมายเหตุนี้ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทคืนโจทก์ จำเลยให้การยกข้อต่อสู้เกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทโดยมิได้ให้การถึงต้นยางพาราที่ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทว่าเป็นของจำเลยหรือจำเลยใช้สิทธิปลูกในที่ดินพิพาทอย่างไรผลคดีหากศาลฟังว่าที่ดินซี่งเป็นทรัพย์ประธานเป็นของโจทก์หรือจำเลย ฝ่ายนั้นก็ย่อมได้ไปซึ่งต้นยางพาราอันเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาทด้วย คำขอของโจทก์ที่ขอให้นำวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษามาใช้แก่จำเลยโดยห้ามมิให้จำเลยนำคนงานเข้าไปตัดฟันต้นยางพาราในที่ดินพิพาทจึงเป็นคำขอให้นำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวมาใช้บังคับเพื่อการบังคับตามคำพิพากษา โดยมีคำสั่งห้ามจำเลยชั่วคราวให้หยุดหรือป้องกันการเปลืองไปเปล่า หรือการบุบสลายซึ่งทรัพย์สินที่พิพาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254 (2) เช่นเหตุผลที่คำพิพากษาฎีกาฉบับนี้ยกขึ้นอ้าง แต่การจะปรับว่าเป็นการห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยโอนไปยังผู้อื่นซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทน่าจะไม่ตรงกับรูปเรื่อง เพราะคำขอของโจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าจำเลยจะโอนที่ดินพิพาทอันจะมีผลตามกฎหมายให้ต้นยางพาราซึ่งเป็นส่วนควบต้องถูกโอนตกไปกับที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์ประธาน ประการต่อมา แม้ตามคำพิพากษาฎีกาที่หมายเหตุนี้โจทก์ยื่นคำขอให้นำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวมาใช้บังคับในเหตุฉุกเฉินตามมาตรา 266 ซึ่งมาตรา 266 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้วิธีพิจารณาและชี้ขาดคำขอนั้น ให้อยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา 267 มาตรา 268 และมาตรา 269 ซึ่งมาตรา 267 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลพิจารณาคำขอเป็นการด่วน ถ้าเป็นที่พอใจจากคำแถลงของโจทก์หรือพยานหลักฐานที่โจทก์ได้นำมาสืบหรือที่ศาลได้เรียกมาสืบเองว่าคดีนั้นเป็นคดีมีเหตุฉุกเฉินและคำขอนั้นมีเหตุผลสมควรอันแท้จริง ให้ศาลมีคำสั่งให้ยกคำขอ คำสั่งเช่นว่านี้ให้เป็นที่สุด และในทางปฏิบัติเพื่อให้ศาลพิจารณาคำขอเป็นการด่วน โจทก์ก็ชอบที่จะแถลงไว้ในตอนท้ายของคำขอในเหตุฉุกเฉินว่า โจทก์เตรียมพยานหลักฐานมาให้ศาลทำการไต่สวนเสร็จไม่ทันก็อาจทำการไต่สวนต่อในวันรุ่งขึ้นอย่างไรก็ตาม การที่ศาลนัดไต่สวนคำขอของโจทก์ภายหลังวันที่โจทก์ยื่นคำขอแล้ว 4 วันต่อมาก็ดี (คำพิพากษาฎีกาที่ 1509/2514) หรือ 6 วันต่อมาและมีคำสั่งในวันรุ่งขึ้นก็ดี (คำพิพากษาฎีกาที่ 6091/2534) หรือ 8 วันต่อมาก็ดี (คำพิพากษาฎีกาที่ 4554/2536) แสดงว่าศาลมิได้พิจารณาคำขอเป็นการด่วนตามมาตรา 267 วรรคหนึ่ง ย่อมไม่อาจนำมาตรา 267 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้ในกรณีถ้าศาลมีคำสั่งให้ยกคำขอคำสั่งเช่นว่านี้ให้เป็นที่สุด มาใช้บังคับแก่ผลของคำสั่งดังกล่าวได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ 4554/2536) ดังนั้น การที่ศาลจะได้พิจารณาคำขอเป็นการด่วนหรือไม่ คงเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลเพื่อพิจารณาคำขอนั้นเป็นสำคัญว่าได้พิจารณาคำขอเป็นการด่วนหรือไม่นั่นเอง คำพิพากษาฎีกาที่หมายเหตุนี้ ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ศาลชั้นต้นได้พิจารณาคำขอของโจทก์ในเหตุฉุกเฉินเป็นการด่วนตามมาตรา 267 วรรคหนึ่ง ทั้งในคำสั่งศาลชั้นต้นที่ห้ามจำเลยชั่วคราวก็ไม่ปรากฏว่าเป็นการสั่งในกรณีมีเหตุฉุกเฉินด้วย จึงพึงเข้าใจว่า มิใช่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคำขอเป็นการด่วน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ที่พิพากษากลับ ให้ยกคำร้อง อันมีผลเป็นคำสั่งให้ยกคำขอคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์ในเหตุฉุกเฉินจึงไม่เป็นที่สุด โจทก์จึงมีสิทธิฎีกา ประการสุดท้าย รูปคดีในทำนองเดียวกับคำพิพากษาฎีกาที่หมายเหตุนี้ หากจำเลยเป็นฝ่ายขอนำวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษามาใช้บังคับแก่โจทก์ ปัญหาว่าจำเลยมีสิทธิขอใช้วิธีการชั่วคราวได้หรือไม่ เช่น โจทก์ซึ่งเป็นราษฎรฟ้องขอให้ห้ามจำเลยซึ่งเป็นรัฐเข้ามายุ่งเกี่ยวกับที่ดินอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ระหว่างพิจารณาโจทก์ได้นำคนงานเข้ามาตัดโค่นไม้ยืนต้นที่ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทจำเลยยื่นคำขอใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาโดยห้ามมิให้โจทก์ตัดโค่นไม้ยืนต้นที่ปลูกในที่ดินพิพาท |