ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




สิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีในกรณียกย่องหญิงอื่น

การเรียกค่าทดแทนจากคู่สมรสอีกฝ่ายนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ว่า “เมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุตามมาตรา 1516 (1) ภริยาหรือสามีมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยาและจากผู้ซึ่งได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง หรือผู้ซึ่งเป็นเหตุแห่งการหย่านั้น” ซึ่งบทบัญญัติตามมาตรา 1523 วรรคหนึ่ง ให้ภริยาหรือสามีมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยาซึ่งเป็นคู่สมรสอีกฝ่ายได้เฉพาะกรณีที่ศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุหย่าตามมาตรา 1516 (1) คือ กรณีที่สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือฉันสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ ดังนั้น การที่โจทก์จะมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 ในกรณีนี้ นอกจากจำเลยที่ 1 จะอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องจำเลยที่ 2 ฉันภริยาหรือเป็นชู้หรือร่วมประเวณีกันเป็นอาจิณอันเป็นเหตุหย่าตามมาตรา 1516 (1) แล้วยังต้องเป็นกรณีที่ศาลพิพากษาให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 หย่ากันเพราะเหตุดังกล่าวด้วย เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยที่ 1 และเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 ด้วย แต่เมื่อในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงหย่ากันโดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2562 และขอให้ศาลพิพากษาตามยอม ซึ่งการที่ศาลพิพากษาตามยอมให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 หย่ากันนี้ไม่ใช่กรณีที่ศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะมีเหตุหย่าตามมาตรา 1516 (1) ทั้งโจทก์ไม่ได้นำสืบถึงข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุแห่งการหย่าตามมาตรา 1516 (1) โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 1523 วรรคหนึ่ง

 สิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีในกรณียกย่องหญิงอื่นต้องเป็นกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้หย่ากัน

โจทก์จะมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1(สามี) นอกจากสามีจะอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องจำเลยที่ 2 ฉันภริยาหรือเป็นชู้หรือร่วมประเวณีกันเป็นอาจิณอันเป็นเหตุหย่าแล้วโจทก์กับจำเลยที่ 1 ต้องหย่ากันเพราะเหตุข้างต้นด้วย คดีนี้ในระหว่างการพิจารณาคดีโจทก์กับจำเลยที่ 1(สามี) ตกลงหย่ากันโดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความหย่ากันจึงไม่ใช่กรณีที่ศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะมีเหตุหย่าข้างต้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 (สามี)

แม้การกู้ยืมเงินที่จำเลยที่ 1 แต่เพียงลำพังที่เป็นผู้กู้ โดยที่โจทก์มิได้ผูกพันเป็นผู้กู้ร่วมหรือค้ำประกันในหนี้จำนวนนี้แต่เมื่อโจทก์นำเงินดังกล่าวไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการศึกษาเล่าเรียนบุตรคนแรก การกู้ยืมเงินดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 1 นำมาใช้เกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ โจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นลูกหนี้ร่วมกันต้องผูกพันชำระหนี้จนกว่าหนี้จะระงับโดยเจ้าหนี้จะเรียกชำระหนี้จากโจทก์หรือจำเลยที่ 1 จากคนใดคนหนึ่งในฐานะลูกหนี้ร่วมก็ได้  แม้ต่อมาโจทก์กับจำเลยที่ 1 จะไม่ได้เป็นสามีภริยากันแล้วก็ตาม เมื่อจำเลยที่ 1 ยังชำระหนี้เงินกู้ยืมไม่ครบถ้วน จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจเรียกให้โจทก์ชำระหนี้ในส่วนที่โจทก์ต้องร่วมรับผิดแก่ตนได้ เพราะหากให้โจทก์ชำระหนี้จำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว แต่จำเลยที่ 1 ยังไม่ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้โจทก์ในฐานะลูกหนี้ร่วมก็ยังอาจถูกเจ้าหนี้เรียกให้ชำระหนี้เงินกู้จำนวนดังกล่าวอีกได้จนกว่าหนี้จำนวนนี้จะระงับสิ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4969/2565

การเรียกค่าทดแทนจากคู่สมรสอีกฝ่ายนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ว่า “เมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุตามมาตรา 1516 (1) ภริยาหรือสามีมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยาและจากผู้ซึ่งได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง หรือผู้ซึ่งเป็นเหตุแห่งการหย่านั้น” ซึ่งบทบัญญัติตามมาตรา 1523 วรรคหนึ่ง ให้ภริยาหรือสามีมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยาซึ่งเป็นคู่สมรสอีกฝ่ายได้เฉพาะกรณีที่ศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุหย่าตามมาตรา 1516 (1) คือ กรณีที่สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือฉันสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ ดังนั้น การที่โจทก์จะมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 ในกรณีนี้ นอกจากจำเลยที่ 1 จะอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องจำเลยที่ 2 ฉันภริยาหรือเป็นชู้หรือร่วมประเวณีกันเป็นอาจิณอันเป็นเหตุหย่าตามมาตรา 1516 (1) แล้วยังต้องเป็นกรณีที่ศาลพิพากษาให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 หย่ากันเพราะเหตุดังกล่าวด้วย เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยที่ 1 และเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 ด้วย แต่เมื่อในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงหย่ากันโดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2562 และขอให้ศาลพิพากษาตามยอม ซึ่งการที่ศาลพิพากษาตามยอมให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 หย่ากันนี้ไม่ใช่กรณีที่ศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะมีเหตุหย่าตามมาตรา 1516 (1) ทั้งโจทก์ไม่ได้นำสืบถึงข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุแห่งการหย่าตามมาตรา 1516 (1) โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 1523 วรรคหนึ่ง

แม้การกู้ยืมเงินจากสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานนี้เฉพาะจำเลยที่ 1 แต่เพียงลำพังที่เป็นผู้กู้ โดยที่โจทก์มิได้ผูกพันเป็นผู้กู้ร่วมหรือค้ำประกันในหนี้จำนวนนี้กับสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงาน ผู้ให้กู้ด้วยก็ตาม แต่เมื่อโจทก์นำเงินดังกล่าวไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการศึกษาเล่าเรียนบุตรคนแรก การกู้ยืมเงินดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 1 นำมาใช้เกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามมาตรา 1490 (1) ในจำนวนเงิน 1,566,600 บาท และต้องผูกพันชำระหนี้จนกว่าหนี้จะระงับและเจ้าหนี้จะเรียกชำระหนี้จากโจทก์หรือจำเลยที่ 1 แต่คนใดคนหนึ่งในฐานะลูกหนี้ร่วมให้ชำระหนี้โดยสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือกตามมาตรา 291 ส่วนกรณีตามมาตรา 1535 เมื่อการสมรสสิ้นสุดลง ให้แบ่งความรับผิดในหนี้ที่จะต้องรับผิดด้วยกันตามส่วนเท่ากัน ก็เป็นเรื่องการแบ่งความรับผิดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น ซึ่งไม่กระทบต่อสิทธิของเจ้าหนี้ที่ยังมีสิทธิเรียกร้องให้ทั้งโจทก์และจำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ร่วมชำระหนี้ได้ แม้โจทก์กับจำเลยที่ 1 จะไม่ได้เป็นสามีภริยากันแล้วก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงได้ความจากทางนำสืบของโจทก์และจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 ยังชำระหนี้เงินกู้ยืมจำนวนดังกล่าวให้แก่สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานไม่ครบถ้วน จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจเรียกให้โจทก์ชำระหนี้ในส่วนที่โจทก์ต้องร่วมรับผิดแก่ตนได้ เพราะหากให้โจทก์ชำระหนี้จำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว แต่จำเลยที่ 1 ยังไม่ชำระหนี้ในจำนวนที่เป็นหนี้ร่วมให้แก่เจ้าหนี้จนสิ้นเชิง โจทก์ในฐานะลูกหนี้ร่วมก็ยังอาจถูกเจ้าหนี้เรียกให้ชำระหนี้เงินกู้จำนวนดังกล่าวอีกได้จนกว่าหนี้จำนวนนี้จะระงับสิ้นไป

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้พิพากษาให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน ให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรทั้งสองในชั้นมัธยมศึกษาคนละ 10,000 บาท ต่อเดือน และชั้นอุดมศึกษาคนละ 15,000 บาท ต่อเดือน นับแต่วันพิพากษาเป็นต้นไปจนกว่าบุตรทั้งสองจะสำเร็จการศึกษาชั้นอุดมศึกษา ให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในสินสมรสตามฟ้องโดยให้ใส่ชื่อโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกัน หากจำเลยที่ 1 ไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 หากไม่สามารถตกลงแบ่งกันได้ให้นำทรัพย์สินดังกล่าวออกขายทอดตลาดและนำเงินมาแบ่งกันคนละกึ่งหนึ่ง ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าทดแทนแก่โจทก์เป็นเงิน 1,000,000 บาท

จำเลยที่ 1 ให้การ แก้ไขคำให้การและฟ้องแย้งขอให้ยกฟ้องและพิพากษาให้จำเลยที่ 1 กับโจทก์หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน เพิกถอนอำนาจปกครองบุตรทั้งสองของโจทก์ และให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรทั้งสองเพียงฝ่ายเดียว ให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรทั้งสองคนละ 10,000 บาท นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาเป็นต้นไปจนกว่าบุตรทั้งสองจะบรรลุนิติภาวะ ให้โจทก์จดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 107206 (ที่ถูก 107000) พร้อมสิ่งปลูกสร้างเลขที่ 63/31 (ที่ถูก 62/31) ให้แก่จำเลยที่ 1 กึ่งหนึ่ง หากจดทะเบียนแบ่งแยกไม่ได้ให้ขายทอดตลาดและนำเงินมาแบ่งกันคนละกึ่งหนึ่ง ให้โจทก์เบิกถอนเงินในบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) บัญชีชื่อโจทก์ นำมาแบ่งให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นเงิน 783,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่นำเงินเข้าฝากจนกว่าจะชำระเสร็จ หากโจทก์ไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของโจทก์ หากมีเงินฝากในบัญชีไม่ครบจำนวนให้โจทก์ชำระเงิน 783,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องแย้งเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่จำเลยที่ 1 และให้โจทก์ร่วมรับผิดชำระหนี้ระหว่างสมรสกึ่งหนึ่ง 1,686,615 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องแย้งเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่จำเลยที่ 1

จำเลยที่ 2 ให้การขอให้ยกฟ้อง

โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งขอให้ยกฟ้องแย้ง

ระหว่างพิจารณา โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาลชั้นต้นฉบับลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2562 มีข้อความว่า

ข้อ 1. โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงหย่าขาดจากกัน โดยจะไปจดทะเบียนหย่ากันภายใน 7 วัน นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดนัดไม่ปฏิบัติ ให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนของฝ่ายที่ผิดนัด

ข้อ 2. โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงชำระค่าเลี้ยงดูบุตร โดยในส่วนของบุตรคนแรกซึ่งศึกษาอยู่ที่เขตการปกครองสกอตแลนด์ อีก 1 ปี มีค่าใช้จ่าย 1,290,000 บาท โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงแบ่งชำระเงินจำนวนดังกล่าวคนละครึ่งหนึ่ง ดังนี้

2.1 ชำระเป็นค่าเทอมคนละ 500,000 บาท ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2562

2.2 ชำระเป็นค่าใช้จ่ายรายเดือนคนละ 10,000 บาท ทุกเดือนจนกว่าบุตรคนแรกจะจบการศึกษา โดยจะชำระภายในวันสิ้นเดือนของทุกเดือน เริ่มชำระงวดแรกสิ้นเดือนพฤษภาคม 2562

2.3 ชำระค่าเดินทางของบุตรคนแรกคนละ 25,000 บาท ภายในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2562

การชำระเงินดังกล่าวโจทก์และจำเลยที่ 1 จะโอนเงินเข้าบัญชีให้แก่บุตรคนแรกชื่อบัญชีนายฉัตรมงคล

ข้อ 3. โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงชำระค่าเลี้ยงดูบุตรในส่วนของบุตรคนที่สอง ดังนี้

3.1 ชำระค่าใช้จ่ายรายเดือนคนละ 8,000 บาท ทุกเดือนจนถึงเดือนมีนาคม 2563 โดยจะชำระภายในวันสิ้นเดือนของทุกเดือน เริ่มชำระงวดแรกสิ้นเดือนพฤษภาคม 2562

3.2 เมื่อบุตรคนที่สองเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีชำระค่าใช้จ่ายรายเดือนคนละ 8,000 บาท เริ่มเดือนเมษายน 2563 จนจบชั้นปีที่ 1 หลังจากนั้นหากมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นโจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงชำระคนละครึ่งหนึ่งตามความเป็นจริงจนกว่าบุตรคนที่สองจะจบปริญญาชั้นสูงสุดที่บุตรคนที่สองจะสามารถเรียนได้

การชำระเงินดังกล่าวโจทก์และจำเลยที่ 1 จะโอนเงินเข้าบัญชีให้แก่บุตรคนที่สองชื่อบัญชีนางสาวพชรวรรณ

ข้อ 4. หากโจทก์และจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความตามข้อ 2. และข้อ 3. ยินยอมให้ฝ่ายที่มิได้ผิดนัดบังคับคดีได้ทันที

ข้อ 5. สำหรับที่ดิน ภ.บ.ท. 5 ซึ่งตั้งอยู่ที่หน่วยที่ 1 เลขสำรวจที่ 270 หมู่ที่ 7 เนื้อที่ประมาณ 37 ไร่ ที่ดินโฉนดเลขที่ 10443 เนื้อที่ประมาณ 45 ไร่ 27 ตารางวา และที่ดินโฉนดเลขที่ 10396 เนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ 3 งาน 88 ตารางวา โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงแบ่งกันคนละครึ่ง โดยจำเลยที่ 1 จะเป็นผู้ไปยื่นคำขอรังวัดแบ่งแยกภายใน 2 เดือน นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยโจทก์และจำเลยที่ 1 จะออกชำระค่าใช้จ่ายคนละครึ่ง ทั้งนี้หากจำเลยที่ 1 เพิกเฉยไม่ดำเนินการหรือไม่สามารถตกลงแบ่งกันได้ ให้นำที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวออกขายนำเงินที่ได้มาแบ่งกันคนละครึ่ง

ข้อ 6. โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงว่ารถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า หมายเลขทะเบียน กน 2xxx มีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครอง ให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 จะไปจดทะเบียนโอนรถยนต์คันดังกล่าวให้แก่โจทก์ภายใน 7 วัน นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ หากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนของจำเลยที่ 1 ส่วนรถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า หมายเลขทะเบียน กม 1xxx มีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครอง ให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1

โจทก์และจำเลยที่ 1 แถลงขอให้พิพากษาตามยอมและขอสละประเด็นข้อพิพาทอื่นทั้งหมด คงให้เหลือเฉพาะประเด็นเรื่องค่าทดแทนที่โจทก์เรียกจากจำเลยทั้งสอง 1,000,000 บาท และเรื่องหนี้สินของจำเลยที่ 1 ที่จะให้โจทก์ร่วมรับผิดชอบคนละกึ่งหนึ่งตามคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ข้อ 3.1 ถึง 3.5 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จะพิพากษาตามยอมพร้อมกับคำพิพากษาส่วนอื่

ศาลชั้นต้นพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ฉบับลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2562 และให้โจทก์ร่วมรับผิดชำระหนี้ระหว่างสมรสแก่จำเลยที่ 1 เป็นเงิน 683,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องแย้งวันที่ 28 มกราคม 2562 เป็นต้นไปจนกว่าโจทก์จะชำระให้แก่จำเลยที่ 1 ครบถ้วน ให้จำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าทดแทนแก่โจทก์ 100,000 บาท ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองฝ่ายให้เป็นพับ

จำเลยทั้งสองอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกคำขอของโจทก์ส่วนที่ให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าทดแทนและยกคำขอฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ในส่วนที่ให้โจทก์ร่วมรับผิดชำระหนี้ระหว่างสมรสกึ่งหนึ่งในหนี้เงินกู้ยืมของสหกรณ์ออมทรัพย์ พ. ด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนฟ้องแย้งระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ทั้งสองศาลให้เป็นพับและค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

โจทก์และจำเลยที่ 1 ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้โดยยุติว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยาชอบด้วยกฎหมาย จดทะเบียนสมรสเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2542 มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นายฉัตรมงคล อายุ 19 ปีเศษ และนางสาวพชรวรรณ อายุ 17 ปีเศษ โดยโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาลชั้นต้นเกี่ยวการหย่าขาด การอุปการะเลี้ยงดูบุตรทั้งสองคนและการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยากันตามสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2562 และศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามยอม คดีคงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์และฎีกาของจำเลยที่ 1 เฉพาะประเด็นตามที่ศาลฎีกาอนุญาตให้โจทก์และจำเลยที่ 1 ฎีกาว่า โจทก์มีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 จำนวน 100,000 บาท ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือไม่ และจำเลยที่ 1 มีสิทธิฟ้องขอให้บังคับโจทก์รับผิดชำระหนี้เงินกู้สหกรณ์ออมทรัพย์ พ. ในครั้งที่ 3 จำนวนกึ่งหนึ่ง เป็นเงิน 783,300 บาท ตามฟ้องแย้งหรือไม่

ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า โจทก์มีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 จำนวน 100,000 บาท ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือไม่ เห็นว่า การเรียกค่าทดแทนจากคู่สมรสอีกฝ่ายนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ว่า “เมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุตามมาตรา 1516 (1) ภริยาหรือสามีมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยาและจากผู้ซึ่งได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง หรือผู้ซึ่งเป็นเหตุแห่งการหย่านั้น” ซึ่งบทบัญญัติตามมาตรา 1523 วรรคหนึ่ง ให้ภริยาหรือสามีมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยาซึ่งเป็นคู่สมรสอีกฝ่ายได้เฉพาะกรณีที่ศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุหย่าตามมาตรา 1516 (1) คือ กรณีที่สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือฉันสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ ดังนั้น การที่โจทก์จะมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 ในกรณีนี้นอกจากจำเลยที่ 1 จะอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องจำเลยที่ 2 ฉันภริยาหรือเป็นชู้หรือร่วมประเวณีกันเป็นอาจิณ อันเป็นเหตุหย่าตามมาตรา 1516 (1) แล้ว ยังต้องเป็นกรณีที่ศาลพิพากษาให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 หย่ากันเพราะเหตุดังกล่าวด้วย เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยที่ 1 และเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 ด้วย แต่เมื่อในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงหย่ากันโดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2562 และขอให้ศาลพิพากษาตามยอม ซึ่งการที่ศาลพิพากษาตามยอมให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 หย่ากันนี้ไม่ใช่กรณีที่ศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะมีเหตุหย่าตามมาตรา 1516 (1) ทั้งโจทก์ไม่ได้นำสืบถึงข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุแห่งการหย่าตามมาตรา 1516 (1) โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 1523 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นให้ยกคำขอของโจทก์ในส่วนนี้ส่วนจึงชอบแล้ว ฎีกาข้อนี้ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปตามฎีกาของจำเลยที่ 1 มีว่า จำเลยที่ 1 มีสิทธิฟ้องขอให้บังคับโจทก์รับผิดชำระหนี้เงินกู้สหกรณ์ออมทรัพย์ พ. ในครั้งที่ 3 จำนวนกึ่งหนึ่ง เป็นเงิน 783,300 บาท ให้แก่จำเลยที่ 1 ตามฟ้องแย้งหรือไม่ โดยข้อเท็จจริงในส่วนนี้รับฟังได้โดยยุติแล้วว่า หนี้จำนวนดังกล่าวเป็นหนี้เงินกู้ที่จำเลยที่ 1 กู้ยืมจากสหกรณ์ออมทรัพย์ พ. ในครั้งที่ 3 จำนวนเงิน 2,500,000 บาท แต่มีการหักชำระหนี้เงินกู้ของจำเลยที่ 1 ในครั้งก่อนแล้วคงเหลือเงินจำนวน 1,566,600 บาท โดยหลังจากจำเลยที่ 1 ได้รับเงินจำนวนดังกล่าวแล้วได้โอนเงินที่ได้รับทั้งหมดให้โจทก์เพื่อนำไปซื้อที่ดิน แต่ในระหว่างนั้นบุตรคนแรกของโจทก์กับจำเลยที่ 1 ต้องไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ เขตการปกครองสกอตแลนด์ โจทก์จึงนำเงินจำนวนดังกล่าวไปเป็นค่าใช้จ่ายในการศึกษาเล่าเรียนบุตรคนแรก โดยไม่ได้ซื้อที่ดิน ดังนั้น เงินกู้ยืมในจำนวน 1,566,600 บาท ที่จำเลยที่ 1 ได้รับมาจากการกู้ยืมเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ พ. จึงเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 1 กู้ยืมนำมาใช้เกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นหนี้ที่โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490 (1) เมื่อการสมรสสิ้นสุดลง มาตรา 1535 ให้แบ่งความรับผิดในหนี้ที่จะต้องรับผิดด้วยกันตามส่วนเท่ากัน โจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดร่วมกันคนละกึ่งหนึ่งเป็นเงิน 783,300 บาท นั้น เห็นว่าแม้การกู้ยืมเงินจากสหกรณ์ออมทรัพย์ พ. นี้เฉพาะจำเลยที่ 1 แต่เพียงลำพังที่เป็นผู้กู้โดยที่โจทก์มิได้ผูกพันเป็นเป็นผู้กู้ร่วมหรือค้ำประกันในหนี้จำนวนนี้กับสหกรณ์ออมทรัพย์ พ. ผู้ให้กู้ด้วยก็ตาม แต่โจทก์ในฐานะลูกหนี้ร่วมในจำนวนเงิน 1,566,600 บาท ก็ยังผูกพันมีหน้าที่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อสหกรณ์ออมทรัพย์ พ. เจ้าหนี้ โดยโจทก์และจำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ร่วมยังคงต้องผูกพันชำระหนี้จำนวนนี้อยู่จนกว่าหนี้จะระงับ และเจ้าหนี้จะเรียกชำระหนี้จากโจทก์หรือจำเลยที่ 1 แต่คนใดคนหนึ่งในฐานะลูกหนี้ร่วมให้ชำระหนี้โดยสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก ซึ่งโจทก์กับจำเลยที่ 1 ก็ยังคงต้องผูกพันอยู่จนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นเชิงตามมาตรา 291 ส่วนกรณีตามมาตรา 1535 เมื่อการสมรสสิ้นสุดลง ให้แบ่งความรับผิดในหนี้ที่จะต้องรับผิดด้วยกันตามส่วนเท่ากัน ก็เป็นเรื่องการแบ่งความรับผิดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น ซึ่งจะไม่กระทบต่อสิทธิของเจ้าหนี้ที่ยังมีสิทธิเรียกให้ทั้งโจทก์และจำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ร่วมให้ชำระหนี้ได้ แม้โจทก์กับจำเลย 1 จะไม่ได้เป็นสามีภริยากันแล้วก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงได้ความจากทางนำสืบของโจทก์และจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 ยังชำระหนี้เงินกู้ยืมจำนวนดังกล่าวให้แก่สหกรณ์ออมทรัพย์ พ. เจ้าหนี้ยังไม่ครบถ้วน จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจเรียกให้โจทก์ชำระหนี้ในส่วนที่โจทก์ต้องร่วมรับผิดให้แก่ตนได้ เพราะหากให้โจทก์ชำระหนี้จำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว แต่จำเลยที่ 1 ยังไม่ชำระหนี้ในจำนวนที่เป็นหนี้ร่วมให้แก่เจ้าหนี้จนสิ้นเชิง โจทก์ในฐานะลูกหนี้ร่วมก็ยังอาจถูกเจ้าหนี้เรียกให้ชำระหนี้เงินกู้จำนวนดังกล่าวอีกได้จนกว่าหนี้จำนวนนี้จะระงับสิ้นไป เมื่อจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ชำระหนี้ที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ต้องร่วมกันรับผิดในจำนวนดังกล่าวให้แก่สหกรณ์ออมทรัพย์ พ. จำเลยที่ 1 จึงยังไม่อาจเรียกร้องให้โจทก์ชำระหนี้ในส่วนที่โจทก์ต้องร่วมรับผิดให้แก่จำเลยที่ 1 ได้ ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษายกคำขอฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ในส่วนนี้จึงชอบด้วยเหตุผลแล้ว ฎีกาข้อนี้ของจำเลยที่ 1 ฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน แต่ไม่ตัดสิทธิจำเลยที่ 1 ที่จะฟ้องเรียกให้โจทก์ชำระหนี้ร่วมที่โจทก์จะต้องร่วมรับผิดจำนวน 783,300 บาท หลังจากที่จำเลยที่ 1 ชำระหนี้จำนวนนี้ให้แก่สหกรณ์ออมทรัพย์ พ. ครบถ้วน หรือหนี้ระงับแล้ว ค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนฟ้องเดิมและฟ้องแย้งในชั้นฎีกาให้เป็นพับ

 ภริยาจะมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีนอกจากสามีจะอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นฉันภริยาอันเป็นเหตุหย่าแล้วภริยากับสามีต้องหย่ากันเพราะเหตุข้างต้นด้วย คดีนี้ในระหว่างการพิจารณาคดีสามีตกลงหย่ากันโดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความหย่ากันจึงไม่ใช่กรณีที่ศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะมีเหตุหย่าข้างต้นภริยาจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามี




ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา

ฟ้องค่าอุปการะเลี้ยงดู, ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา
ขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้แยกกันอยู่
จำเลยไม่มีเจตนาบุกรุกเข้าไปในบ้านของผู้เสียหาย
ปัญหาเรื่องลาภมิควรได้กับฟ้องเรียกทรัพย์คืน