ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินกลับคืนสู่กองมรดก

ฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินกลับคืนสู่กองมรดก

ผู้รับซื้อฝาก(จำเลยที่ 2) ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการรับจำนอง จำนำ หรือรับซื้อฝากมาเป็นเวลานานถึง 14 ปี ย่อมทราบดีว่าการจะรับซื้อฝากที่ดินควรจะต้องตรวจสอบการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ของที่ดินเสียก่อน จากสารบัญจดทะเบียนโฉนดที่ดินมีรายการปรากฏว่าเดิมที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นของผู้ตาย ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ขอรับโอนในฐานะผู้จัดการมรดกจากนั้นขอรับโอนมาเป็นของตนในนามส่วนตัว แล้วจึงทำการขายฝากแก่จำเลยที่ 2 ผู้รับซื้อฝากย่อมทราบว่าที่ดินเป็นทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งปันแก่ทายาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3450/2562

ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 ทำนิติกรรมรับซื้อฝากที่ดินพิพาทโดยสุจริต เมื่อที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกซึ่งมีทายาทด้วยกัน 5 คน โจทก์เป็นทายาทคนหนึ่งในฐานะเจ้าของรวมอาจใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อประโยชน์แก่ทายาททุกคนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 ประกอบมาตรา 1745 โจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เพื่อเอาทรัพย์ที่ดินพิพาทกลับคืนสู่กองมรดก แต่เมื่อจำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท 1 ใน 5 ส่วน จำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจขายฝากที่ดินพิพาทส่วนของตนได้ จึงต้องเพิกถอนการจดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์และทายาทอื่นรวม 4 ใน 5 ส่วน

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า สัญญาขายฝากที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เป็นโมฆะ ให้เพิกถอนการจดทะเบียนขายฝากที่ดินโฉนดเลขที่ 519 ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556 ให้จำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนเพิกถอนการจดทะเบียนขายฝากที่ดินดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หากจำเลยทั้งสองเพิกเฉยให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทน ให้จำเลยที่ 2 ไปดำเนินการย้ายชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนกลาง 4799 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร สำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลนครสกลนคร เข้าบ้านเลขที่ 1518 ถนนเจริญเมือง (ซอยเจริญเมือง 3) ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ต่อนายทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลนครสกลนคร หากจำเลยที่ 2 เพิกเฉยให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทน

จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ

จำเลยที่ 2 ให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาโต้แย้งว่า นางคำปุน และนางสาววุ้น เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ซึ่งบิดามารดาถึงแก่กรรมไปแล้ว นางคำปุนเป็นภรรยาของนายบุญยัง มีบุตรด้วยกัน 5 คน คือ จำเลยที่ 1 โจทก์ นายเฉลิมพล นางวิมลรัตน์ และนางสาวประภัสสร นางคำปุนเสียชีวิต เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2535 ส่วนนางสาววุ้นไม่มีคู่สมรสและไม่เคยรับผู้ใดเป็นบุตรบุญธรรมเสียชีวิตมา 48 ปีแล้ว ระหว่างยังมีชีวิตอยู่นางคำปุนและนางสาววุ้นถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 519 เมื่อนางสาววุ้นและนางคำปุนถึงแก่กรรมลงศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของบุคคลทั้งสอง จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกได้โอนที่ดินพิพาทเป็นของตนเองในฐานะส่วนตัว เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2555 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนขายฝากที่ดินดังกล่าวแก่จำเลยที่ 2 มีกำหนด 1 ปี และวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556 จำเลยที่ 1 ไถ่ถอนที่ดินคืนและจดทะเบียนขายฝากแก่จำเลยที่ 2 ในวันเดียวกันมีกำหนด 1 ปี

คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า โจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เพื่อเอาทรัพย์ที่ดินพิพาทกลับคืนสู่กองมรดกหรือไม่ เห็นว่า จำเลยที่ 2 ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการรับจำนอง จำนำ หรือรับซื้อฝากมาเป็นเวลานานถึง 14 ปี ย่อมทราบดีว่าการจะรับซื้อฝากที่ดินควรจะต้องตรวจสอบการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ของที่ดินที่จะรับซื้อฝากว่าตกอยู่ภายใต้สิทธิใดหรือไม่ ดังจะเห็นได้จากสารบัญจดทะเบียนโฉนดที่ดินพิพาท มีรายการปรากฏว่าเดิมที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นของนางคำปุนกับนางสาววุ้น ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ขอรับโอนที่ดินดังกล่าวในฐานะผู้จัดการมรดกของนางคำปุนและนางสาววุ้น จากนั้นขอรับโอนที่ดินดังกล่าวมาเป็นของตนในนามส่วนตัว แล้วจึงทำการขายฝากแก่จำเลยที่ 2 จากสารบัญจดทะเบียนดังกล่าวจำเลยที่ 2 ย่อมทราบว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งปันแก่ทายาท ทั้งได้ความจากคำเบิกความของนางสาวประภัสสรว่า เมื่อปี 2556 ซึ่งเป็นปีที่มีการจดทะเบียนขายฝากครั้งที่ 2 จำเลยที่ 2 ได้มาที่บ้านพิพาทซึ่งนางสาวประภัสสรก็พักอาศัยอยู่ที่บ้านดังกล่าวและได้เห็นได้ยินที่จำเลยทั้งสองพูดคุยกัน และยังได้ความจากคำเบิกความของโจทก์ที่ตอบคำถามค้านของทนายจำเลยที่ 2 ว่า หลังจากที่โจทก์อุปสมบทแล้วได้จำพรรษาที่วัดศรีสุมังค์ซึ่งอยู่ห่างจากที่ดินพิพาทประมาณ 3 กิโลเมตร ส่วนจำเลยที่ 2 ก็ปรากฏจากคำเบิกความและหนังสือรับรองของบริษัทของจำเลยที่ 2 ว่า มีที่อยู่ที่ตำบลเดียวกับที่ดินพิพาท จำเลยที่ 2 ก็น่าจะทราบว่านอกจากจำเลยที่ 1 แล้วยังมีทายาทอื่นที่ยังคงมีสิทธิในที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกดังกล่าว แม้จำเลยที่ 2 จะเบิกความตอบคำถามค้านของทนายโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 แจ้งว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแต่เพียงผู้เดียว และขณะที่จดทะเบียนรับซื้อฝากที่สำนักงานที่ดิน จำเลยที่ 2 ไม่ได้สอบถามเจ้าพนักงานที่ดินว่าบรรดาทายาทของนางคำปุนกับนางสาววุ้นสละมรดกที่ดินพิพาทหรือไม่ก็ไม่อาจแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ไม่ทราบว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกที่ยังคงต้องแบ่งให้แก่ทายาทอื่น ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 ทำนิติกรรมรับซื้อฝากที่ดินพิพาทโดยสุจริต เมื่อที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกซึ่งมีทายาทด้วยกัน 5 คน โจทก์เป็นทายาทคนหนึ่งในฐานะเจ้าของรวมอาจใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อประโยชน์แก่ทายาททุกคนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 ประกอบมาตรา 1745 โจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เพื่อเอาทรัพย์ที่ดินพิพาทกลับคืนสู่กองมรดก แต่เมื่อจำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท 1 ใน 5 ส่วน จำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจขายฝากที่ดินพิพาทส่วนของตนได้จึงต้องเพิกถอนการจดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์และทายาทอื่นรวม 4 ใน 5 ส่วน ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยมานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้นบางส่วน

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้เพิกถอนการจดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เฉพาะส่วนของโจทก์และทายาทอื่น 4 ใน 5 ส่วน หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสอง ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4

 




ขายฝาก/เช่า/เช่าซื้อ/ซื้อขาย

ค่าเสียหายเพื่อการลงโทษในคดีผู้บริโภค, คืนเงินผู้บริโภคจากการเลิกสัญญาซื้อขาย, โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดคืน,
หน้าที่ส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าซื้อในสภาพพร้อมใช้งาน, สัญญาเช่าซื้อก,
รถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายไปโดยไม่ใช่ความผิดของผู้เช่าซื้อรถยนต์
สัญญาขายฝากได้ทำไปโดยสำคัญผิดในเรื่องจำนวนเงินในราคาขายฝาก
(สัญญาเช่าซื้อรถยนต์) สัญญาเช่าซื้อเป็นโมฆะใช้บังคับไม่ได้
ผู้เช่ารายใหม่ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้อยู่ในตึกพิพาทก่อนตน
ค่าเช่าซื้อเครื่องรับโทรทัศน์อายุความ 2 ปี
การบอกเลิกสัญญา | สัญญาจ้างรักษาความปลอดภัยไม่มีกำหนดเวลา
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิดเท่าจำนวนเงินดาวน์
เช่าที่ดินปากเปล่าไม่มีสัญญาเช่า
การบอกเลิกสัญญาเช่าโดยมิชอบ
ลักษณะของสัญญาซื้อขาย การโอนกรรมสิทธิ์
สัญญาซื้อขาย | สัญญาตัวแทน | ตัวแทนเชิด
สัญญาให้รับผิดในหนี้ที่ไม่มีหนี้อยู่จริง
ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน สัญญาซื้อขาย
สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทน
ใครมีสิทธิบอกเลิกสัญญาซื้อขาย
ความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่อง
สัญญาซื้อขาย หรือสัญญาจ้างทำของ
ประเมินการเสียภาษีผิดประเภทการค้า
นิติกรรมมีข้อความไม่ชัดแจ้งตีความได้หลายนัย
สิ้นกำหนดเช่าช่วงชำระค่าเช่าตลอดมาถือว่าได้ต่อสัญญาเช่า
ข้อตกลงในการประกวดราคาเพื่อซื้อขาย
การซื้อขายสิทธิการเช่าโทรศัพท์
สัญญาซื้อขายแบบเหมา
การซื้อขายทรัพย์สินอันเป็นกรรมสิทธิ์รวม
สัญญาซื้อขายที่มีหลักประกันเพื่อปฏิบัติตามสัญญา
คำว่า"ขาย" ตามประมวลรัษฎากร
สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาหลายฝ่าย
ผู้เยาว์ทำสัญญาจะซื้อจะขาย
สัญญาซื้อขายมีวัตถุประสงค์ฝ่าฝืนกฎหมายตกเป็นโมฆะ
สัญญาซื้อขายอาจบังคับได้ตามบทกฎหมายว่าด้วยตัวแทน
สัญญาซื้อขายเป็นพ้นวิสัยจากภัยพิบัติ
สัญญาซื้อขายที่ไม่มีการโอนทรัพยสิทธิในทรัพย์เฉพาะสิ่ง
สัญญาประนีประนอมระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา
ค่าซ่อมแซมทรัพย์สินที่เช่าผู้เช่าต้องบำรุงรักษา-ซ่อมแซมเล็กน้อย
คำมั่นเกี่ยวกับสัญญาเช่าทรัพย์
แบบนิติกรรมสัญญาประเภทต่าง ๆ แบบฟอร์มสัญญา แบบพิมพ์สัญญา
สิทธิบอกเลิกสัญญาซื้อขาย
นำรถไฟแนนซ์ไปจอดกู้เงินผู้รับจำนำเอาไปขายต่อแจ้งความได้ไหม
บอกเลิกสัญญาเช่าต้องบอกกล่าวให้รู้ตัวก่อน
สัญญาเช่า คำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับการเช่า
แบบฟอร์มสัญญาซื้อขาย
อายุความเรียกราคาส่วนต่างและค่าขาดประโยชน์กรณีผู้เช่าซื้อผิดสัญญาหรือตาย
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข
สัญญาขายฝากไม่มีเหตุผลต้องผ่อนชำระดอกเบี้ยแก่กัน
กฎหมายมิได้กำหนดให้การขายฝากสามารถเรียกดอกเบี้ยต่อกันได้
บันทึกข้อตกลงให้ผู้เช่ามีสิทธิซื้อทรัพย์สินที่เช่าทั้งหมดได้
ยายทำสัญญาประนีประนอมยอมความแทนไม่ผูกพันผู้เยาว์
สัญญาจะซื้อจะขายและวางมัดจำถูกกลฉ้อฉลนำชี้ทำเลที่ตั้งที่ดินผิด
(สัญญาเช่าซื้อรถยนต์) ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นไม่ต้องรับผิด
เงินค่าสิทธิการเช่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า
ยกทรัพย์มรดกตีใช้หนี้เป็นสัญญาต่างตอบแทนไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
ข้อตกลงซื้อขายที่ดินมือเปล่า (น.ส. 3ก)เจ้าของที่ดินจึงมีเพียงสิทธิครอบครอง
สัญญาขายฝากที่ดินไม่ได้กำหนดค่าสินไถ่ไว้
สัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดินโดยมีเงื่อนไข สัญญาแลกเปลี่ยนที่ดินเสร็จเด็ดขาด
เมื่อสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้
สัญญาจะซื้อจะขาย หรือสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
คำว่า "ได้มีการชำระหนี้บางส่วนแล้ว" ใช้บังคับแก่คู่สัญญาทั้งฝ่ายผู้ขายและผู้ซื้อ
การซื้อขายมิได้มีการชำระราคากันจริงถือเป็นการให้โดยเสน่หา
บอกล้างสัญญาค้ำประกัน ขอให้เพิกถอนสัญญาค้ำประกัน การจัดการสินสมรส
สิทธิยึดหน่วงที่ดินไว้จนกว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์, ชำระเงินครบถ้วนแล้ว
การตั้งตัวแทนหรือมอบอำนาจทำสัญญาจะซื้อจะขาย
ได้วางประจำไว้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว
ขายดาวน์รถยนต์ที่เช่าซื้อมีผลอย่างไร?
ข้อยกเว้นเจ้าของทรัพย์สินเท่านั้นจะเป็นผู้ให้เช่าซื้อได้
จำนำได้ต้องเป็นสังหาริมทรัพย์
รถยนต์ที่เช่าซื้อถูกลักไปประกันภัยจ่ายค่าสินไหมให้ไฟแนนซ์แล้ว
ผู้ให้เช่าซื้อมิได้ยึดถือเอาข้อสัญญาเป็นสาระสำคัญ-ค้างชำระค่าเช่าซื้อ
(สัญญาเช่าซื้อรถยนต์) สิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ
สัญญาเช่าซื้อต้องลงชื่อคู่สัญญาสองฝ่ายไม่ทำตามแบบเป็นโมฆะ
สัญญาเช่าซื้อกับสัญญาเช่าแบบลิสซิ่ง
(สัญญาเช่าซื้อรถยนต์) สิทธิเรียกค่าใช้ทรัพย์สินและค่าเสียหาย
(สัญญาเช่าซื้อรถยนต์) ตกลงค่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วน
(สัญญาเช่าซื้อรถยนต์) โอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ