ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ยกทรัพย์มรดกตีใช้หนี้เป็นสัญญาต่างตอบแทนไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ

ยกทรัพย์มรดกตีใช้หนี้เป็นสัญญาต่างตอบแทนไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ

ยกทรัพย์มรดกของส่วนของตนตีใช้หนี้ถือได้ว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่ง สามารถใช้บังคับกันได้โดยไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือเช่นการกู้ยืมเงิน 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 151/2551

ส. กับ ม. ซึ่งเป็นทายาทของ ก. เอาเงินจำเลยไปคนละ 7,000 บาท แล้วบุคคลทั้งสองตกลงยกทรัพย์มรดกของ ก. ส่วนของตนตีใช้หนี้แก่จำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ก. เช่นกัน ถือได้ว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่ง สามารถใช้บังคับกันได้โดยไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ

 โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า นางแก่นกับนายอ่อน  อยู่กินฉันสามีภริยากันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส มีบุตรด้วยกัน 6 คน ได้แก่ นางเปลี่ยน นายสอน นายเสาร์ จำเลย นายเสริม และนายทองสา โจทก์ที่ 1 เป็นบุตรของนายเสาร์กับนางหนูเพียร  ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน มีบุตรด้วยกัน 6 คน โดยนายเสาร์ให้การรับรองบุตรทุกคน ให้การอุปการะเลี้ยงดู และให้ใช้นามสกุล โจทก์ที่ 2 เป็นบุตรของนายเสริมกับนางหนูจันทร์  ซึ่งจดทะเบียนสมรสกัน มีบุตรด้วยกัน 4 คน นายเสาร์และนายเสริมถึงแก่ความตายแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกแทนที่ เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2515 นางแก่นถึงแก่ความตายด้วยโรคชรา โดยไม่ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้แก่ผู้ใด ขณะนางแก่นยังมีชีวิตอยู่มีที่ดิน 5 แปลง และมีทรัพย์สินอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมากซึ่งรวมถึงที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ทะเบียนเล่ม 3 หน้า 32 สารบบ หมู่ที่ 5 หน้า 158 ตำบลฟ้าหยาด อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันจังหวัดยโสธร) ต่อมาจำเลยขอออกเป็นโฉนดเลขที่ 29763 เล่ม 298 หน้า 65 ตำบลฟ้าหยาด อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร เนื้อที่ 22 ไร่ 1 งาน 24 ตารางวา ทายาทได้ตกลงครอบครองทรัพย์มรดกของนางแก่นเป็นส่วนสัดของตนเอง โดยโจทก์ทั้งสองและจำเลยได้ครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ทะเบียนเล่ม 3 หน้า 32 สารบบ หมู่ที่ 5 หน้า 158 ตำบลฟ้าหยาด อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดอุบลราชธานี และตกลงจะแบ่งปันในภายหลังเมื่อที่ดินแปลงดังกล่าวได้ออกเป็นโฉนดที่ดินแล้ว ทายาททุกคนยินยอมให้จำเลยเป็นผู้ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของนางแก่นเพื่อความสะดวกในการยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานที่ดินขอออกโฉนดที่ดินและศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2534 หลังจากนั้นจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกได้จัดการโอนที่ดินที่โจทก์ทั้งสองและจำเลยครอบครองอยู่ให้แก่นายทองสา 5 ไร่ และนางเปลี่ยน พรมหูต ส่วนที่ดินแปลงอื่นได้โอนมาเป็นของตนเองแต่ผู้เดียว โจทก์ทั้งสองขอแบ่งปันทรัพย์มรดกจากจำเลยในฐานะทายาทผู้ได้รับมรดกแทนที่ จำเลยบ่ายเบี่ยงอ้างว่าอยู่ในระหว่างการขอออกโฉนด ต่อมาโจทก์ทั้งสองได้ไปตรวจสอบสารบบที่ดินที่สำนักงานที่ดินจังหวัดยโสธร สาขามหาชนะชัย จึงทราบว่าที่ดินที่โจทก์ทั้งสองและจำเลยครอบครองอยู่ได้ออกโฉนดเรียบร้อยแล้ว โจทก์ทั้งสองขอให้จำเลยแบ่งปันที่ดินดังกล่าว จำเลยปฏิเสธและไม่ยอมให้โจทก์ทั้งสองเข้าทำประโยชน์ในที่ดินแปลงดังกล่าวอีกต่อไป อ้างว่านายเสาร์บิดาโจทก์ที่ 1 ขณะมีชีวิตได้มาขอเงินจำเลยและขอสละสิทธิในการรับมรดกของนางแก่นเจ้ามรดกซึ่งไม่เป็นความจริง ขอให้บังคับจำเลยไปดำเนินการแบ่งปันที่ดินโฉนดเลขที่ 29763 หน้า 65 ตำบลฟ้าหยาด อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร ให้แก่โจทก์ทั้งสอง 2 ใน 5 ส่วน คิดเป็นเนื้อที่ 8 ไร่ 3 งาน 70 ตารางวา หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนา

จำเลยให้การว่า จำเลยเป็นบุตรของนายอ่อนและนางแก่น  นางแก่นถึงแก่ความตายเมื่อประมาณปี 2515 และถึงแก่ความตายก่อนบิดาโจทก์ทั้งสองประมาณ 10 ปีเศษ โจทก์ทั้งสองจึงไม่อยู่ในฐานะผู้มีสิทธิรับมรดกแทนที่ของบิดาตนเองก่อนที่นางแก่นถึงแก่ความตาย นายเสาร์บิดาโจทก์ที่ 1 ได้ขอเงินจากจำเลย 6,000 บาท เพื่อนำไปไถ่ถอนที่นาของนางคำตา เนื้อที่ 6 ไร่ ที่นำไปจำนองไว้หลังจากนางแก่นถึงแก่ความตาย นายเสาร์ได้มาขอเงินจำเลยอีก 1,000 บาท เพื่อนำไปซื้อที่นาโนนหนองแฝกจากนางเสียง เนื้อที่ประมาณ 5 ไร่ เมื่อรับเงินแล้วนายเสาร์บอกว่าไม่ประสงค์จะขอรับมรดกของนางแก่นและยกให้จำเลย หลังจากนางแก่นถึงแก่ความตายนายเสาร์ไม่เคยเข้ามายุ่งเกี่ยวในทรัพย์มรดกของนางแก่นเลย สำหรับนายเสริมบิดาโจทก์ที่ 2 นั้น นายเสริมได้มาขอเงินจากจำเลย 7,000 บาท เพื่อนำไปเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการดำเนินคดีในศาลเนื่องจากมีข้อพิพาทเรื่องที่ดินกับนางหมุน และนายเสริมแจ้งว่าขอยกมรดกของนางแก่นให้จำเลย นายเสริมไม่เคยเข้ามายุ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกนั้น โดยมีการแบ่งทรัพย์มรดกเฉพาะส่วนของนางเปลี่ยนกับนายทองสาเท่านั้น บางปีลูกหลานของจำเลยขอเข้าทำกินเพราะที่นาแปลงอื่นถูกน้ำท่วม จำเลยก็อนุญาตให้ทำกินประมาณ 1 ถึง 2 ไร่ หลังจากจำเลยเป็นผู้จัดการมรดก ปัจจุบันที่ดินพิพาทมีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ จึงไม่ใช่มรดกที่โจทก์ทั้งสองจะฟ้องขอแบ่งได้ ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษากลับว่า ให้จำเลยไปดำเนินการจดทะเบียนแบ่งที่ดินโฉนดเลขที่ 29763 ตำบลฟ้าหยาด อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร ให้แก่โจทก์ที่ 1 เนื้อที่ 2 งาน 97.5 ตารางวา และโจทก์ที่ 2 เนื้อที่ 1 ไร่ 46.2 ตารางวา หากจำเลยไม่ไปดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 โดยคู่ความมิได้ฎีกาโต้แย้งว่า นางแก่น  กับนายอ่อน  อยู่กินฉันสามีภริยา มีบุตรด้วยกัน 6 คน ได้แก่นางเปลี่ยน นายสอน นายเสาร์ จำเลย นายเสริม และนายทองสา โจทก์ที่ 1 เป็นบุตรของนายเสาร์กับนางหนูเพียร ซึ่งบิดามารดาโจทก์ที่ 1 อยู่กันฉันสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส มีบุตรด้วยกัน 6 คน บิดาโจทก์ที่ 1 ให้การรับรองบุตรทุกคนโดยให้การอุปการะเลี้ยงดู ให้ใช้นามสกุล และแสดงออกต่อบุคคลทั่วไปว่าเป็นบุตร ส่วนโจทก์ที่ 2 เป็นบุตรของนายเสริมกับนางหนูจันทร์  ซึ่งบิดามารดาโจทก์ที่ 2 จดทะเบียนสมรสกัน มีบุตรด้วยกัน 4 คน ตามบัญชีเครือญาติ สำเนาทะเบียนบ้าน ใบสำคัญการสมรสเอกสารหมาย จ.1 จ.2 จ.12 และ จ.13 เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2515 นางแก่นเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย นายเสาร์และนายเสริมบิดาโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ตามลำดับ มีสิทธิได้รับมรดกของนางแก่น นางแก่นมีทรัพย์มรดกเป็นที่ดินหลายแปลงซึ่งรวมทั้งที่ดินโฉนดเลขที่ 29763 ตำบลฟ้าหยาด อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร เนื้อที่ 22 ไร่ 1 งาน 24 ตารางวา ตามโฉนดที่ดินเอกสารหมาย จ.5 โดยที่ดินดังกล่าวเดิมเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) มีชื่อนางแก่นเจ้ามรดกเป็นผู้ถือสิทธิครอบครองตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เอกสารหมาย จ.11 หลังจากนางแก่นถึงแก่ความตายแล้ว แต่ยังมิได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดก นายเสาร์และนายเสริมก็ถึงแก่ความตาย ทำให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 มีสิทธิสืบมรดกดังกล่าวในส่วนของนายเสาร์และนายเสริมตามลำดับ และศาลได้มีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของนางแก่น เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2534 ตามคำสั่งศาลเอกสารหมาย จ.10 ต่อมาวันที่ 21 มกราคม 2536 จำเลยได้โอนที่ดินดังกล่าวซึ่งขณะนั้นเป็นเพียงหนังสือรับรองการทำประโยชน์มาเป็นของจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดก และในวันเดียวกันก็โอนที่ดินดังกล่าวมาเป็นของจำเลยในฐานะส่วนตัว ตามสารบัญจดทะเบียนท้ายหนังสือรับรองการทำประโยชน์เอกสารหมาย จ.11 จากนั้นจำเลยนำที่ดินดังกล่าวไปออกเป็นโฉนดที่ดินเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2538 ต่อมาเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2540 จำเลยได้แบ่งที่ดินดังกล่าวให้นายทองสา  5 ไร่ 98 ตารางวา ตามสารบัญจดทะเบียนท้ายโฉนดที่ดินเอกสารหมาย จ.5

คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า นายเสาร์และนายเสริมได้เอาเงินจากจำเลยคนละ 7,000 บาท โดยตกลงยกทรัพย์มรดกของนางแก่นส่วนที่นายเสาร์และนายเสริมมีสิทธิได้รับตีใช้หนี้แก่จำเลยหรือไม่ ได้ความจากคำเบิกความนางหนูเพียร  มารดาโจทก์ที่ 1 ว่า หลังจากนางแก่นเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ทายาททุกคนตกลงกันให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกเพื่อนำทรัพย์มรดกมาแบ่งปันแก่ทายาท จำเลยจึงมายื่นคำร้องและศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของนางแก่นเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2534 ตามสำเนาคำสั่งศาลเอกสารหมาย จ.10 หลังจากนั้นจำเลยแบ่งทรัพย์มรดกแก่ทายาทอื่นแต่ไม่ได้แบ่งให้เฉพาะนายเสาร์และนายเสริมเท่านั้น ส่วนนายสอนไปบวชเป็นพระภิกษุและมรณภาพไปโดยไม่มีทายาทจึงไม่ได้แบ่งมรดกให้ นายเสาร์ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2534 ส่วนนายเสริมถึงแก่ความตายวันที่ 7 เมษายน 2536 ตามสำเนามรณบัตรหมาย จ.4 และ จ.14 หลังจากนางแก่นถึงแก่ความตายแล้วเป็นเวลาร่วม 20 ปี โจทก์ทั้งสองฟ้องเป็นคดีนี้อ้างว่าบรรดาทายาทตกลงกันต่างครอบครองทรัพย์มรดกนางแก่นเป็นส่วนสัดของตนเอง โดยโจทก์ทั้งสองและจำเลยครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ทะเบียนเล่ม 3 หน้า 32 เอกสารหมาย จ.11 ซึ่งต่อมาได้ออกเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 29763 เอกสารหมาย จ.5 คือที่ดินพิพาท แต่พยานโจทก์ทั้งสองที่นำสืบเบิกความอ้างลอย ๆ เพียงว่า หลังจากนางแก่นถึงแก่ความตายโจทก์ทั้งสองเข้าครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกับทายาทอื่นเท่านั้น ส่วนที่โจทก์ที่ 2 เบิกความว่า ก่อนทายาทตกลงกันให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของนางแก่น นายเสาร์ และนายเสริมได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัดอยู่ก่อนนั้น ก็ไม่ปรากฏว่านายเสาร์และนายเสริมหรือโจทก์ทั้งสองครอบครองส่วนใดของที่ดินพิพาท มีอาณาเขต แนวเขตหรือทิศติดต่อทุกด้านเป็นอย่างไร จำนวนเนื้อที่แน่นอนเท่าใด ทั้งคำขอท้ายฟ้องก็ระบุเพียงว่าขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่ดินพิพาท 2 ใน 5 ส่วน โดยมิได้ระบุว่าขอแบ่งส่วนใดของที่ดินพิพาท นอกจากนี้โจทก์ที่ 1 เคยเบิกความไว้ในคดีอาญาซึ่งกล่าวหาว่าจำเลยยักยอกทรัพย์มรดกที่ดินพิพาทว่า หลังจากนางแก่นถึงแก่ความตาย โจทก์ที่ 1 ไม่ได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท ทั้งหลังจากนายเสาร์บิดาถึงแก่ความตายเมื่อปี 2534 โจทก์ที่ 1 ก็ไม่เคยเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเช่นกัน ตามสำเนาคำเบิกความเอกสารหมาย ล.2 นายเพิ่มพูน  น้องโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรนายเสริมเบิกความไว้ในคดีดังกล่าวเช่นกันว่า นายเพิ่มพูนและนายเสริมเคยเข้าไปทำนาในที่ดินพิพาทนาน 10 ปีเศษ และเลิกทำมาแล้วประมาณ 10 ปี คือประมาณปี 2531 ขัดกับคำเบิกความของนายอำนาจ  ผู้ใหญ่บ้านพยานโจทก์ทั้งสองที่ว่า โจทก์ทั้งสองเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา และเลิกทำเมื่อปี 2538 เนื่องจากจำเลยห้ามไม่ให้ทำอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ส่วนนางหนูเพียรเบิกความว่า หลังจากนางแก่นถึงแก่ความตาย นายเสาร์และครอบครัวเข้าทำกินในที่ดินพิพาทมาตลอดจนนายเสาร์ถึงแก่ความตาย และเมื่อจำเลยได้เป็นผู้จัดการมรดกของนางแก่นในปี 2534 แล้ว จำเลยไม่ยอมให้ผู้ใดเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยซึ่งล้วนแตกต่างขัดแย้งกัน ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าหลังจากนางแก่นถึงแก่ความตาย นายเสาร์และนายเสริมหรือโจทก์ทั้งสองได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัดของตน จำเลยนำสืบว่า เหตุที่มิได้แบ่งทรัพย์มรดกให้นายเสาร์และนายเสริมเนื่องจากภายหลังนางแก่นถึงแก่ความตาย นายเสาร์มาขอเงินจำเลย 6,000 บาท เพื่อนำไปไถ่ที่นาของนางคำตา จวบบุญ แม่ยายซึ่งนำไปให้นายผานยึดไว้เป็นประกันเงินกู้เนื้อที่ 6 ไร่ เพราะกลัวว่านายผานจะยึดที่ดินดังกล่าว จำเลยก็ให้ไป ปัจจุบันที่ดินแปลงนี้ยังคงเป็นของนายเสาร์ นอกจากนี้นายเสาร์ยังมาเอาเงินจากจำเลยอีก 1,000 บาท ไปซื้อที่นาของนางเสียง ทิพย์จันทร์ บุตรนายจำปา กองแก้ว ที่บ้านโนนหนองแฝก เนื้อที่ 5 ไร่ ปัจจุบันที่นาดังกล่าวก็ยังมีอยู่ โดยนายเสาร์บอกว่าจะไม่เข้ายุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของนางแก่นส่วนของตน จำเลยตกลงให้เงินไปทั้งสองครั้ง หลังจากนั้นนายเสาร์ไม่ได้เข้ายุ่งเกี่ยวทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทอีก ส่วนนายเสริมเมื่อนางแก่นถึงแก่ความตายได้มาขอเงินจำเลยไป 7,000 บาท เพื่อไปต่อสู้คดีเกี่ยวกับที่นากับนางหมุน กองทรัพย์ โดยบอกว่าจะไม่เข้ายุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทส่วนของตนอีก จำเลยก็มอบเงินให้ไปเช่นกัน ต่อมานายเสริมชนะคดีได้ที่ดินมา 11 ไร่ และยังเป็นทรัพย์มรดกของนายเสริมอยู่ โดยนายเสริมไม่ได้เข้ายุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทอีก ซึ่งโจทก์ที่ 1 เบิกความในคดีนี้และคดีอาญาข้อหายักยอกทรัพย์มรดกรับว่า หลังจากนางแก่นถึงแก่นความตายนายเสาร์ได้ไปซื้อที่นาของนางคำตาและนายเหรียญ จวบบุญ ประมาณ 6 ไร่ และซื้อที่นาของนางเสียง ทิพย์จันทร์ ประมาณ 5 ไร่ ตามสำเนาคำเบิกความเอกสารหมาย ล.2 นางหนูเพียรมารดาโจทก์ที่ 1 ก็เบิกความว่า นางหนูเพียรและนายเสาร์ร่วมกันซื้อที่ดินจากนางคำตาซึ่งเป็นมารดานางหนูเพียรเอง 6 ไร่ เป็นเงิน 5,000 บาท และซื้อที่ดินจากนายจำปา กองแก้ว ซึ่งเป็นบิดาของนางเสียง 5 ไร่ ในราคา 1,000 บาท นางหนูจันทร์มารดาโจทก์ที่ 2 ก็เบิกความรับว่า ระหว่างนางหนูจันทร์อยู่กินกับนายเสริมได้เกิดคดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดินกับนางหมุน กองทรัพย์ ที่ศาลชั้นต้นต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีไปประมาณ 7,000 บาท จริง พยานโจทก์ทั้งสองจึงเจือสมพยานจำเลยพยานหลักฐานจำเลยมีน้ำหนักรับฟังดีกว่าพยานหลักฐานโจทก์ทั้งสอง ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า นายเสาร์และนายเสริมเอาเงินจำเลยไปคนละ 7,000 บาท แล้วบุคคลทั้งสองตกลงยกทรัพย์มรดกของนางแก่นส่วนของตนตีใช้หนี้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่ง สามารถใช้บังคับกันได้โดยไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือเช่นการกู้ยืมเงิน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย"

พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสอง ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ

 




ขายฝาก/เช่า/เช่าซื้อ/ซื้อขาย

ค่าเสียหายเพื่อการลงโทษในคดีผู้บริโภค, คืนเงินผู้บริโภคจากการเลิกสัญญาซื้อขาย, โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดคืน,
หน้าที่ส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าซื้อในสภาพพร้อมใช้งาน, สัญญาเช่าซื้อก,
รถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายไปโดยไม่ใช่ความผิดของผู้เช่าซื้อรถยนต์
สัญญาขายฝากได้ทำไปโดยสำคัญผิดในเรื่องจำนวนเงินในราคาขายฝาก
(สัญญาเช่าซื้อรถยนต์) สัญญาเช่าซื้อเป็นโมฆะใช้บังคับไม่ได้
ผู้เช่ารายใหม่ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้อยู่ในตึกพิพาทก่อนตน
ค่าเช่าซื้อเครื่องรับโทรทัศน์อายุความ 2 ปี
การบอกเลิกสัญญา | สัญญาจ้างรักษาความปลอดภัยไม่มีกำหนดเวลา
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิดเท่าจำนวนเงินดาวน์
เช่าที่ดินปากเปล่าไม่มีสัญญาเช่า
การบอกเลิกสัญญาเช่าโดยมิชอบ
ลักษณะของสัญญาซื้อขาย การโอนกรรมสิทธิ์
สัญญาซื้อขาย | สัญญาตัวแทน | ตัวแทนเชิด
สัญญาให้รับผิดในหนี้ที่ไม่มีหนี้อยู่จริง
ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน สัญญาซื้อขาย
สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทน
ใครมีสิทธิบอกเลิกสัญญาซื้อขาย
ความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่อง
สัญญาซื้อขาย หรือสัญญาจ้างทำของ
ประเมินการเสียภาษีผิดประเภทการค้า
นิติกรรมมีข้อความไม่ชัดแจ้งตีความได้หลายนัย
สิ้นกำหนดเช่าช่วงชำระค่าเช่าตลอดมาถือว่าได้ต่อสัญญาเช่า
ข้อตกลงในการประกวดราคาเพื่อซื้อขาย
การซื้อขายสิทธิการเช่าโทรศัพท์
สัญญาซื้อขายแบบเหมา
การซื้อขายทรัพย์สินอันเป็นกรรมสิทธิ์รวม
สัญญาซื้อขายที่มีหลักประกันเพื่อปฏิบัติตามสัญญา
คำว่า"ขาย" ตามประมวลรัษฎากร
สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาหลายฝ่าย
ผู้เยาว์ทำสัญญาจะซื้อจะขาย
สัญญาซื้อขายมีวัตถุประสงค์ฝ่าฝืนกฎหมายตกเป็นโมฆะ
สัญญาซื้อขายอาจบังคับได้ตามบทกฎหมายว่าด้วยตัวแทน
สัญญาซื้อขายเป็นพ้นวิสัยจากภัยพิบัติ
สัญญาซื้อขายที่ไม่มีการโอนทรัพยสิทธิในทรัพย์เฉพาะสิ่ง
สัญญาประนีประนอมระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา
ค่าซ่อมแซมทรัพย์สินที่เช่าผู้เช่าต้องบำรุงรักษา-ซ่อมแซมเล็กน้อย
คำมั่นเกี่ยวกับสัญญาเช่าทรัพย์
แบบนิติกรรมสัญญาประเภทต่าง ๆ แบบฟอร์มสัญญา แบบพิมพ์สัญญา
สิทธิบอกเลิกสัญญาซื้อขาย
นำรถไฟแนนซ์ไปจอดกู้เงินผู้รับจำนำเอาไปขายต่อแจ้งความได้ไหม
บอกเลิกสัญญาเช่าต้องบอกกล่าวให้รู้ตัวก่อน
สัญญาเช่า คำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับการเช่า
แบบฟอร์มสัญญาซื้อขาย
อายุความเรียกราคาส่วนต่างและค่าขาดประโยชน์กรณีผู้เช่าซื้อผิดสัญญาหรือตาย
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข
สัญญาขายฝากไม่มีเหตุผลต้องผ่อนชำระดอกเบี้ยแก่กัน
กฎหมายมิได้กำหนดให้การขายฝากสามารถเรียกดอกเบี้ยต่อกันได้
บันทึกข้อตกลงให้ผู้เช่ามีสิทธิซื้อทรัพย์สินที่เช่าทั้งหมดได้
ยายทำสัญญาประนีประนอมยอมความแทนไม่ผูกพันผู้เยาว์
สัญญาจะซื้อจะขายและวางมัดจำถูกกลฉ้อฉลนำชี้ทำเลที่ตั้งที่ดินผิด
ฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินกลับคืนสู่กองมรดก
(สัญญาเช่าซื้อรถยนต์) ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นไม่ต้องรับผิด
เงินค่าสิทธิการเช่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า
ข้อตกลงซื้อขายที่ดินมือเปล่า (น.ส. 3ก)เจ้าของที่ดินจึงมีเพียงสิทธิครอบครอง
สัญญาขายฝากที่ดินไม่ได้กำหนดค่าสินไถ่ไว้
สัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดินโดยมีเงื่อนไข สัญญาแลกเปลี่ยนที่ดินเสร็จเด็ดขาด
เมื่อสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้
สัญญาจะซื้อจะขาย หรือสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
คำว่า "ได้มีการชำระหนี้บางส่วนแล้ว" ใช้บังคับแก่คู่สัญญาทั้งฝ่ายผู้ขายและผู้ซื้อ
การซื้อขายมิได้มีการชำระราคากันจริงถือเป็นการให้โดยเสน่หา
บอกล้างสัญญาค้ำประกัน ขอให้เพิกถอนสัญญาค้ำประกัน การจัดการสินสมรส
สิทธิยึดหน่วงที่ดินไว้จนกว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์, ชำระเงินครบถ้วนแล้ว
การตั้งตัวแทนหรือมอบอำนาจทำสัญญาจะซื้อจะขาย
ได้วางประจำไว้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว
ขายดาวน์รถยนต์ที่เช่าซื้อมีผลอย่างไร?
ข้อยกเว้นเจ้าของทรัพย์สินเท่านั้นจะเป็นผู้ให้เช่าซื้อได้
จำนำได้ต้องเป็นสังหาริมทรัพย์
รถยนต์ที่เช่าซื้อถูกลักไปประกันภัยจ่ายค่าสินไหมให้ไฟแนนซ์แล้ว
ผู้ให้เช่าซื้อมิได้ยึดถือเอาข้อสัญญาเป็นสาระสำคัญ-ค้างชำระค่าเช่าซื้อ
(สัญญาเช่าซื้อรถยนต์) สิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ
สัญญาเช่าซื้อต้องลงชื่อคู่สัญญาสองฝ่ายไม่ทำตามแบบเป็นโมฆะ
สัญญาเช่าซื้อกับสัญญาเช่าแบบลิสซิ่ง
(สัญญาเช่าซื้อรถยนต์) สิทธิเรียกค่าใช้ทรัพย์สินและค่าเสียหาย
(สัญญาเช่าซื้อรถยนต์) ตกลงค่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วน
(สัญญาเช่าซื้อรถยนต์) โอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ