ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




สัญญาระหว่างสมรส สิทธิของบุคคลภายนอก

ทนายความ ฟ้องหย่า lawyer

สัญญาระหว่างสมรส  สิทธิของบุคคลภายนอก  

ระหว่างสมรส ภริยาไปทำงานที่ญี่ปุ่น ภริยามอบฉันทะให้ถอนเงินซื้อที่ดินพร้อมบ้าน 2 หลัง โดยภริยามอบอำนาจให้สามีเป็นผู้รับโอนแทนภริยา ระบุชื่อภริยาเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว การผ่อนชำระค่างวดภริยาเป็นผู้ผ่อนชำระแต่เพียงผู้เดียว ต่อมาภริยาโอนขายที่ดินพร้อมบ้าน 2 หลังโดยไม่ได้รับความยินยอมจากสามี ข้อเท็จจริงได้ความว่า ก่อนจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้มีการทำสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างภริยาและผู้จะขายโดยมีสามีลงชื่อเป็นพยาน การซื้อขายที่ดินสามีไม่ส่วนเกี่ยวข้องด้วยเพราะเป็นเงินที่ภริยาทำมาหาได้ฝ่ายเดียว สามีไม่มีส่วนช่วยผ่อนชำระและยินยอมให้ลงชื่อภริยาเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียว ซึ่งถือได้ว่าเป็นสัญญาระหว่างสมรสที่ยอมให้ทรัพย์ที่ดินพร้อมบ้าน 2 หลังเป็นสินส่วนตัวของภริยา ตามกฎหมายสัญญาระหว่างสมรส คู่สมรสมีสิทธิบอกล้างได้ ต่อมาภริยาเดินทางกลับประเทศไทย ทางสามีพูดขอแบ่งที่ดินพร้อมบ้านทุกวันเพราะต้องการแยกทางกับภริยาถือว่าสามีได้บอกล้างสัญญาที่ทำไว้ต่อกันเรื่องที่ให้ทรัพย์ที่ดินเป็นสินส่วนตัวของภริยา เมื่อมีการบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแล้วจึงมีผลให้ทรัพย์ที่ดินกลับมาเป็นสินสมรสอีกครั้งหนึ่ง แต่การบอกล้างนั้นต้องไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต ตามหนังสือซื้อขายที่ดินที่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ระบุว่าภริยาได้รับค่าขายที่ดินเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงถือบุคคลภายนอกซื้อทรัพย์โดยสุจริตจึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  5191/2540

   ทรัพย์ พิพาทที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนระหว่างจำเลยทั้งสอง เป็นทรัพย์ที่โจทก์และจำเลยที่ 1  ได้มาในระหว่างสมรส ควรเป็นสินสมรสตามกฎหมาย และพฤติการณ์ที่โจทก์แสดงออกยืนยันว่าบ้านนั้นเป็นของจำเลยที่ 1 เพียงคนเดียว โจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยและยอมให้ระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเพียงผู้เดียว แม้กระทั่งนามสกุลของจำเลยที่ 1 ที่ระบุในเอกสารก็ให้ใช้นามสกุลเดิมของจำเลยที่ 1 ซึ่งถือได้ว่าเป็นสัญญาระหว่างสมรสที่ยอมให้ทรัพย์พิพาทเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469 ดังนี้ทรัพย์ พิพาทย่อมไม่เป็นสินสมรสอีกต่อไป แม้ตามมาตรา 1469 บัญญัติว่า สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินใดที่สามีภริยาได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากันนั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้ก็ตาม การที่จำเลยที่ 1 กลับจากต่างประเทศแล้วอาศัยอยู่กับโจทก์ได้ไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ โจทก์พูดขอแบ่งบ้านจากจำเลยที่ 1 ทุกวันเพราะไม่ประสงค์อยู่กินกับจำเลยที่ 1 ซึ่งถือได้ว่าโจทก์บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแล้ว ทำให้ทรัพย์พิพาทกลับเป็นสินสมรสดังเดิม แต่การบอกล้างดังกล่าวไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469 แม้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายทรัพย์พิพาททั้งหมดแก่จำเลยที่ 2  โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ซื้อทรัพย์พิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริต การที่โจทก์บอกล้างสัญญาที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำกันไว้เกี่ยวกับทรัพย์พิพาทนั้นไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของจำเลยที่ 2 บุคคลภายนอกที่มีต่อทรัพย์ดังกล่าว จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายทรัพย์พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง

  โจทก์ฟ้องว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์และจำเลยที่ 1 ร่วมกันซื้อบ้านเลขที่ 1360/10 และ1360/11 รวมสองหลัง พร้อมที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3 ก.) เลขที่ 2463 และ 2464 อันเป็นที่ตั้งบ้าน โดยระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของในทะเบียนผู้เดียว ต่อมาวันที่ 14 กรกฎาคม2537 จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพร้อมบ้านทั้งสองหลังดังกล่าวแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นญาติกันในราคารวม 500,000 บาท โดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ และมิได้ชำระราคากัน ขอให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนเพิกถอนสัญญาซื้อดังกล่าว มิฉะนั้นให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา

 จำเลยทั้งสองให้การว่า บ้านและที่ดินพิพาทเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ซึ่งได้จดทะเบียนโอนขายให้จำเลยที่ 2 โดยสุจริตและได้รับชำระราคารวม 500,000 บาท แล้ว ขอให้ยกฟ้อง
          ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
          โจทก์อุทธรณ์

   ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษากลับ ให้จำเลยทั้งสองไปดำเนินการจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนซื้อขายบ้านและที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2463, 2464ระหว่างจำเลยทั้งสองซึ่งได้ทำการจดทะเบียนไปเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม2537 ออกไปจากสารบบที่ดิน หากจำเลยทั้งสองไม่ไปดำเนินการ ให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาแทนจำเลยทั้งสอง

  จำเลยทั้งสองฎีกา

 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย จดทะเบียนสมรสเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2532 ตามหลักฐานทะเบียนสมรสเอกสารหมาย จ.1ระหว่างสมรสขณะจำเลยที่ 1 ไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น จำเลยที่ 1ซื้อทรัพย์พิพาทคือบ้านรวม 2 หลัง พร้อมที่ดินซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอขาณุวรลักษณบุรี จังหวัดกำแพงเพชร ในราคาหลังละ 310,000 บาทโดยซื้อเมื่อปี 2533 จำนวน 1 หลัง และปี 2534 จำนวน 1 หลังซึ่งในการนี้โจทก์เป็นผู้ติดต่อเลือกสรรและรับมอบฉันทะจดทะเบียนรับโอนแทนจำเลยที่ 1 ระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของในเอกสารสิทธิเพียงผู้เดียวตามสำเนาหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เอกสารหมาย จ.3, จ.4 และหนังสือสัญญาขายที่ดินเอกสารหมาย ล.5, ล.6ในการชำระราคาทรัพย์พิพาทจำเลยที่ 1 เป็นผู้ผ่อนชำระเป็นรายงวดตามสำเนาใบมอบฉันทะถอนเงินเอกสารหมาย ล.7 ถึง ล.9 และ ล.11 ถึงล.12 ต่อมาวันที่ 14 กรกฎาคม 2537 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายทรัพย์พิพาททั้งหมดแก่จำเลยที่ 2 ในราคา 500,000 บาท โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ ตามสำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างรวม 2 แปลง 2 หลัง เอกสารหมาย จ.5 และสำเนาบันทึกถ้อยคำเอกสารหมาย จ.6 คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองว่า มีเหตุที่จะเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายทรัพย์พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองหรือไม่ ซึ่งขึ้นอยู่กับปัญหาที่ต้องวินิจฉัยเป็นข้อแรกว่าทรัพย์พิพาทเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 หรือไม่ เห็นว่าตามข้อเท็จจริงที่ฟังได้ในเบื้องต้นทรัพย์พิพาทเป็นทรัพย์ที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้มาในระหว่างสมรสควรเป็นสินสมรสตามกฎหมาย แต่โจทก์เบิกความตอบทนายจำเลยทั้งสองถามค้านว่าก่อนที่จะจดทะเบียนซื้อขายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มีการทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายกันไว้ตามเอกสารหมาย ล.3 และ ล.4 ซึ่งโจทก์ลงชื่อเป็นพยาน ส่วนจำเลยที่ 1 ลงชื่อเป็นผู้ซื้อ จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้โจทก์จัดการจดทะเบียนโอนบ้านและที่ดินตามหนังสือสัญญาเอกสารหมาย ล.5 และ ล.6 พฤติการณ์ที่โจทก์แสดงออกถึงการที่มิได้เข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์พิพาทในฐานะเป็นเจ้าของนับตั้งแต่ลงชื่อเป็นพยานในสัญญาจะซื้อจะขายที่มีจำเลยที่ 1 ลงชื่อเป็นผู้ซื้อเพียงผู้เดียวตามสัญญาจะซื้อจะขายบ้านพร้อมที่ดินเอกสารหมาย ล.3 และ ล.4 ตลอดจนถึงการลงชื่อเป็นผู้ทำการแทนจำเลยที่ 1 ผู้ซื้อซึ่งโจทก์เบิกความว่าที่ระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเนื่องจากจำเลยที่ 1ให้ทำเช่นนั้นเพราะเกรงว่าโจทก์จะนำเอาบ้านพร้อมที่ดินไปจำนองผู้อื่น โจทก์จึงทำตามเพื่อให้จำเลยที่ 1 สบายใจเป็นข้ออ้างที่ฟังไม่ขึ้นเพราะหากโจทก์ประสงค์จะเป็นเจ้าของรวมกับจำเลยที่ 1 แล้วโจทก์สามารถใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของรวมในหลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับทรัพย์พิพาทได้เพราะเป็นกรณีที่โจทก์ได้รับมอบอำนาจให้ทำการแทนจำเลยที่ 1 ตามลำพัง แต่โจทก์หาได้กระทำไม่ จึงเจือสมกับที่จำเลยที่ 1เบิกความว่าในการซื้อบ้านทั้งสองหลังดังกล่าวโจทก์ยืนยันว่าเมื่อซื้อบ้านนั้นเป็นของจำเลยที่ 1 เพียงคนเดียว โจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเนื่องจากเงินที่นำไปชำระเป็นเงินของจำเลยที่ 1หาได้เพียงฝ่ายเดียว โจทก์ไม่มีส่วนผ่อนชำระและยอมให้ระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเพียงผู้เดียว แม้กระทั่งนามสกุลของจำเลยที่ 1ที่ระบุในเอกสารก็ให้ใช้นามสกุลเดิมของจำเลยที่ 1 ซึ่งถือได้ว่าเป็นสัญญาระหว่างสมรสที่ยอมให้ทรัพย์พิพาทเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469 ทรัพย์พิพาทย่อมไม่เป็นสินสมรสอีกต่อไป แต่มาตรา 1469 บัญญัติด้วยว่า สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินใดที่สามีภริยาได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากันนั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้ ซึ่งในเรื่องนี้จำเลยที่ 1 เบิกความตอบทนายโจทก์ถามค้านว่าจำเลยที่ 1 กลับจากประเทศญี่ปุ่นแล้วอาศัยอยู่กับโจทก์ได้ไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ โจทก์พูดขอแบ่งบ้านจากจำเลยที่ 1 ทุกวันเพราะไม่ประสงค์อยู่กินกับจำเลยที่ 1 จึงเป็นข้อเท็จจริงที่ถือได้ว่าโจทก์บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแล้ว ทำให้ทรัพย์พิพาทกลับเป็นสินสมรสดังเดิมแต่เนื่องจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469 มีบทบัญญัติต่อไปว่า การบอกล้างดังกล่าวไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต และข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นแล้วว่าวันที่ 14 กรกฎาคม 2537 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายทรัพย์พิพาททั้งหมดแก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์จึงมีปัญหาต้องวินิจฉัยต่อไปว่า จำเลยที่ 2  ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกทำการโดยสุจริตหรือไม่ โจทก์เบิกความว่า จำเลยที่ 2 ยังไม่มีงานทำคงไม่มีเงินที่จะไปซื้อบ้านจากจำเลยที่ 1 ได้ จำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 โดยมิได้มีการชำระเงินกันจริง ซึ่งมีโจทก์เป็นพยานเบิกความ  ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า กรณียังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ซื้อทรัพย์พิพาทไว้โดยไม่สุจริตเพราะจำเลยที่ 2 เบิกความไว้ด้วยว่า เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินแจ้งให้ทราบว่าสามีจำเลยที่ 1  ไม่ได้ให้ความยินยอม แต่จำเลยที่ 1 ยืนยันว่าบ้านและที่ดินดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ซึ่งถูกต้องตรงกับข้อความในข้อ 2 ของบันทึกถ้อยคำที่จำเลยที่ 1 ให้ไว้แก่นายอำเภอขาณุวรลักษณบุรีทั้งตามสำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างรวม 2 แปลงที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมนั้น ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ผู้ขายยอมรับในข้อ 1 ของเอกสารดังกล่าวว่าจำเลยที่ 1 ได้รับค่าขายที่ดินเสร็จเรียบร้อยแล้ว กรณีถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ซื้อทรัพย์พิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริต การที่โจทก์บอกล้างสัญญาที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำกันไว้เกี่ยวกับทรัพย์พิพาทนั้นไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของจำเลยที่ 2 บุคคลภายนอกที่มีต่อทรัพย์ดังกล่าวจึงไม่มีเหตุที่ศาลจะเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายทรัพย์พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง

  พิพากษากลับ ให้บังคับไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

มาตรา 1469 สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินใดที่สามีภริยาได้ทำไว้ต่อกัน ในระหว่างเป็นสามีภริยากันนั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใด ที่เป็นสามีภริยากันอยู่ หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการ เป็นสามีภริยากันก็ได้ แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอก ผู้ทำการโดยสุจริต
มาตรา 1480 การจัดการสินสมรสซึ่งต้องจัดการร่วมกัน หรือต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งตาม มาตรา 1476 ถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปแต่เพียงฝ่ายเดียว หรือโดยปราศจากความยินยอมของคู่ สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ เว้นแต่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบันแก่นิติกรรมนั้นแล้ว หรือ ในขณะที่ทำนิติกรรมนั้นบุคคลภายนอกได้กระทำโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน




สัญญาระหว่างสมรส

โจทก์ขอบอกล้างการให้จำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมกันระหว่างสมรส
เพิกถอนนิติกรรมการให้ระหว่างสมรส | สัญญาระหว่างสมรส
ใช้สิทธิบอกล้างสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสมรส มาตรา 1469
การบอกล้างสัญญาระหว่างสมรส | แบ่งสินสมรส
สัญญาก่อนสมรสเป็นโมฆะ | สัญญาระหว่างสมรส
ข้อตกลงสามียกที่ดินให้ภรรยาและจะไม่เพิกถอน
การบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสกรณีคู่สมรสถึงแก่ความตาย
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างสมรส
สามีให้ที่ดินอันเป็นสินส่วนตัวให้คู่สมรสระหว่างสมรส
คู่สมรสแยกกันอยู่แต่ยังไม่หย่าขาด ทำสัญญาแบ่งสินสมรสกัน บอกล้างสัญญาได้
ถือได้ว่าคำให้การเป็นการบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแล้ว