ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




หลอกลวงเอาที่ดินที่ตนไม่มีสิทธิแล้วมาหลอกขายให้

หลอกลวงเอาที่ดินที่ตนไม่มีสิทธิแล้วมาหลอกขายให้

จำเลยรู้อยู่แล้วว่าไม่ใช่ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดิน ส.ค.1 แต่ทำสัญญาจะซื้อจะขาย ทั้งยังระบุในสัญญาจะซื้อจะขายว่าหากโจทก์ดำเนินการออกเอกสารสิทธิในที่ดิน จะให้ความสะดวก ให้ความร่วมมือในการออกเอกสารสิทธิจนเสร็จสิ้นเท่ากับจำเลยหลอกลวงเอาที่ดินที่ตนไม่มีสิทธิแล้วมาหลอกขายให้ โจทก์เข้าใจว่าที่ดินนั้นจำเลยมีสิทธิครอบครองสามารถโอนสิทธิและนำไปออกเอกสารสิทธิได้ เป็นการสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมสัญญา การซื้อขายที่ดินพิพาทจึงเป็นโมฆะเสียเปล่าและต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับ จำเลยจึงต้องคืนเงินให้โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  8755/2551

          จำเลยหลอกลวงเอาที่ดินที่ตนไม่มีสิทธิมาหลอกขายให้โจทก์ ทำให้โจทก์เข้าใจว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองสามารถโอนสิทธิและนำไปออกเอกสารสิทธิได้ เป็นการสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมสัญญา การซื้อขายที่ดินจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 และต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับ จำเลยจึงต้องคืนเงินให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี

          โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2543 จำเลยขายที่ดินตามหลักฐานแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) เลขที่ 401 ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต ในราคา 330,000 บาท แก่โจทก์ โดยสัญญาว่าหากโจทก์จะขอเอกสารสิทธิในที่ดินแปลงดังกล่าวจำเลยจะช่วยเหลือและให้ความร่วมมือในการออกเอกสารสิทธิจนเสร็จสิ้น ต่อมาโจทก์ไปติดต่อขอออกโฉนดที่ดิน ปรากฏว่าที่ดินดังกล่าวมีบุคคลอื่นออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ก่อนแล้ว โจทก์ไม่สามารถออกโฉนดที่ดินให้ได้ จึงแจ้งให้จำเลยทราบและขอให้คืนเงินแต่จำเลยเพิกเฉย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยคืนเงิน 330,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

          จำเลยให้การว่า ทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับโจทก์จริง จำเลยส่งมอบการครอบครองให้โจทก์เรียบร้อยแล้ว โจทก์ได้ครอบครองที่ดินเป็นเวลาปีเศษ ไม่มีบุคคลใดโต้แย้งสิทธิ จึงได้สิทธิครอบครองและเป็นเจ้าของที่ดินแล้ว โจทก์ไม่เคยติดต่อจำเลยเพื่อให้ความสะดวกในการขอออกโฉนดที่ดินตามสัญญา ขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลย โดยกำหนดค่าทนายความ 4,000 บาท

          โจทก์อุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษากลับ ให้จำเลยชำระเงิน 330,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความรวม 6,000 บาท

          จำเลยฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นโดยคู่ความมิได้ฎีกาโต้แย้งเป็นอย่างอื่นว่า โจทก์ทำสัญญาซื้อที่ดินตามหลักฐานแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ที่พิพาทจากจำเลยในราคา 330,000 บาท ตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเอกสารหมาย จ.9 ต่อมาโจทก์ขอออกโฉนดที่ดินพิพาทแปลงดังกล่าวแต่เจ้าพนักงานที่ดินไม่สามารถออกโฉนดที่ดินให้โจทก์ได้ เพราะที่ดินพิพาทดังกล่าวได้มีบุคคลอื่นออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 238 ไปแล้ว ตามบันทึกการสอบสวนสิทธิและพิสูจน์การทำประโยชน์เพื่อออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) โดยใช้รูปถ่ายทางอากาศเอกสารหมาย จ.6 และบันทึกถ้อยคำรับรองเอกสารหมาย จ.10

          มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า จำเลยต้องคืนเงินที่ซื้อขายที่ดินที่พิพาทแก่โจทก์หรือไม่ เห็นว่า โจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่พิพาทกันวันที่ 4 พฤษภาคม 2543 ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเอกสารหมาย จ.9 ข้อ 3 ระบุว่า เมื่อใดผู้จะซื้อคือโจทก์ไปดำเนินการออกเอกสารสิทธิใด ๆ ผู้จะขายคือจำเลย ตกลงยินยอมให้ความสะดวกแก่ผู้จะซื้อ และให้ความร่วมมือในการดังกล่าวจนเสร็จสิ้นเรียบร้อย แต่ปรากฏว่าที่ดินพิพาทได้มีการนำไปออกเอกสารสิทธิเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 238 และได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวไปแล้วตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2523 ซึ่งนายบุญชูเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินซึ่งที่จดทะเบียนเอกสารเกี่ยวกับที่ดินเบิกความยืนยันว่า จำเลยเคยยื่นขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเมื่อปี 2535 และต่อมาได้ยื่นคำขอยกเลิกการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เมื่อปี 2540 ตามเอกสารหมาย จ.2 ถึง จ.5 แสดงว่าจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่า มีบุคคลอื่นครอบครองที่ดินพิพาทและได้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแล้วตั้งแต่ปี 2523 จำเลยจึงได้ขอยกเลิกการขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เมื่อปี 2540 แต่จำเลยกลับนำที่ดินดังกล่าวมาขายให้โจทก์อีกในปี 2543 ทั้ง ๆ ที่จำเลยรู้อยู่แล้วว่าจำเลยไม่ใช่ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินที่พิพาทแล้ว ทั้งยังระบุในสัญญาจะซื้อจะขายอีกว่าหากโจทก์ดำเนินการออกเอกสารสิทธิในที่ดินพิพาท จำเลยตกลงยินยอมให้ความสะดวก ให้ความร่วมมือในการออกเอกสารสิทธิจนเสร็จสิ้นเท่ากับจำเลยหลอกลวงเอาที่ดินที่ตนไม่มีสิทธิแล้วมาหลอกขายให้โจทก์ ทำให้โจทก์เข้าใจว่าที่ดินพิพาทจำเลยมีสิทธิครอบครองสามารถโอนสิทธิและนำไปออกเอกสารสิทธิได้ เป็นการสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมสัญญา การซื้อขายที่ดินพิพาทจึงเป็นโมฆะเสียเปล่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 และต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับ จำเลยจึงต้องคืนเงินให้โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย”

          พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

 มาตรา 156  การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมเป็นโมฆะ
 ----ความสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมตามวรรคหนึ่งได้แก่ความสำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรม ความสำคัญผิดในตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรม และความสำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมเป็นต้น

มาตรา 224    หนี้เงินนั้น ท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปี ถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้นโดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมายก็ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น
--ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด
---การพิสูจน์ค่าเสียหายอย่างอื่นนอกกว่านั้น ท่านอนุญาตให้พิสูจน์ได้

มาตรา 406     บุคคลใดได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใดเพราะการที่บุคคลอีกคนหนึ่งกระทำเพื่อชำระหนี้ก็ดีหรือได้มาด้วยประการอื่นก็ดี โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเสียเปรียบไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นจำต้องคืนทรัพย์ให้แก่เขา อนึ่งการรับสภาพหนี้สินว่ามีอยู่หรือหาไม่นั้น ท่านก็ให้ถือว่าเป็นการกระทำเพื่อชำระหนี้ด้วย
---บทบัญญัติอันนี้ท่านให้ใช้บังคับตลอดถึงกรณีที่ได้ทรัพย์มาเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมิได้มีได้เป็นขึ้นหรือเป็นเหตุที่ได้ สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้วนั้นด้วย

มาตรา 412    ถ้าทรัพย์สินซึ่งได้รับไว้เป็นลาภมิควรได้นั้นเป็นเงินจำนวนหนึ่ง ท่านว่าต้องคืนจำนวนนั้น เว้นแต่เมื่อบุคคลได้รับไว้โดยสุจริตจึงต้องคืนลาภมิควรได้เพียงส่วนที่ยังมีอยู่ในขณะเมื่อเรียกคืน

 การกู้ยืมเงินโดยมอบสมุดเงินฝากและบัตรฝากถอนเงินอัตโนมัติ(เอทีเอ็ม)ไว้ให้เจ้าหนี้เบิกถอนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 834/2535

ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ คดีโจทก์ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 ที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ จึงมิชอบ.

โจทก์ฟ้องว่าเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2532 จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไป 140,000 บาท ตกลงให้ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี การกู้ยืมเงินนี้จำเลยมอบสมุดเงินฝากประเภทออมทรัพย์ของธนาคารกรุงไทย จำกัดสาขาสงขลา พร้อมบัตรฝากถอนเงินอัตโนมัติให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกันโจทก์ได้นำบัตรฝากถอนเงินอัตโนมัติไปกดถอนดอกเบี้ยแต่ละเดือนมีกำหนด 10 เดือน แล้วต่อมาวันที่ 30 มกราคม 2533 จำเลยหลอกลวงโจทก์ว่าจะนำสมุดเงินฝากประเภทออมทรัพย์พร้อมบัตรฝากถอนเงินอัตโนมัติดังกล่าวไปติดต่อธนาคารกรุงไทย จำกัด สาขาสงขลาเพื่อขอกู้ยืมเงินประเภทสินเชื่อธนวัฒน์ เมื่อติดต่อเสร็จแล้วจะมามอบให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกันเช่นเดิม อันเป็นข้อความเท็จความจริงแล้วจำเลยหาได้มีเจตนาไปติดต่อธนาคารเพื่อขอกู้เงินแต่อย่างใดไม่ เนื่องจากโจทก์หลงเชื่อจึงได้มอบสมุดเงินฝากและบัตรฝากถอนเงินอัตโนมัติดังกล่าวให้จำเลยไป ต่อมา เมื่อถึงกำหนดชำระดอกเบี้ยประจำเดือนมกราคม 2533 โจทก์ได้ไปติดต่อทวงถามขอสมุดเงินฝากธนาคารและบัตรฝากถอนเงินอัตโนมัติดังกล่าวคืนจากจำเลยเพื่อนำมากดถอนจำนวนดอกเบี้ยและยึดถือไว้เป็นประกันตามที่เคยปฏิบัติมาแต่จำเลยปฏิเสธ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341

ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกฟ้องโจทก์ คดีโจทก์จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532มาตรา 13 ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาโจทก์ จึงมิชอบ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้"

พิพากษา ยกฎีกาโจทก์.

 มาตรา 341  ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ




สัญญาซื้อขาย

มิใช่เป็นการซื้อขายแบบเหมายกแปลง
เรียกเงินคืนพร้อมเรียกค่าเสียหายผิดสัญญาจะซื้อขาย
ใบสั่งจองบ้านและที่ดินเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย
ฟ้องให้ขายที่ดินคืนตามคำมั่นในสัญญาซื้อขายที่ดิน
ซื้อขายที่ดินชำระราคาแล้วส่งมอบที่ดินแล้วไม่โอนผู้ขายตาย
ซื้อขายที่ดินห้ามโอนเป็นโมฆะเรียกเงินคืนไม่ได้
เรียกเงินคืนเรื่องลาภมิควรได้หรือรอนสิทธิ อย่างไรจึงถูกต้อง?