ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ซื้อขายที่ดินชำระราคาแล้วส่งมอบที่ดินแล้วไม่โอนผู้ขายตาย

ทนายความ ฟ้องหย่า lawyer

ซื้อขายที่ดินชำระราคาแล้วส่งมอบที่ดินแล้วไม่โอนผู้ขายตาย

การซื้อขายที่ดินที่มีเอกสารสิทธิไม่ว่าจะเป็นเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ เช่น มีโฉนดที่ดิน หรือ เอกสารที่แสดงการครอบครอง เช่น น.ส. ก, น.ส. 3 ข, ก็ตาม ผู้ซื้อผู้ขายควรจะต้องใส่ใจที่จะไปจดทะเบียนโอนกันเสียให้เรียบร้อยเพราะหากไม่ดำเนินการปล่อยปละละเลยจนผู้ซื้อ หรือผู้ขายเสียชีวิตไป พอตกไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลานก็จะเกิดปัญหากันจนต้องไปฟ้องร้องกันถึงโรงถึงศาลต่อสู้คดีกันจนถึงชั้นฎีกาอย่างเช่นในคดีนี้ ก็เพราะเหตุว่าซื้อขายที่ดินมีเอกสาร น.ส. 3 ก แต่ซื้อขายกันเพียงบางส่วนเท่านั้นไม่ได้ซื้อทั้งแปลง ผู้ขายก็ยินดีจดทะเบียนโอนให้แต่ยังติดอยู่ที่ต้องไปแบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงใหม่เฉพาะส่วนที่ซื้อขายกัน แต่ยังไม่ทันได้แบ่งแยกและโอนกัน ผู้ขายก็มาเสียชีวิตเสียก่อน คราวนี้พอมีคนเสียชีวิตทรัพย์ของคนตายก็ตกได้แก่ทายาท ก็ต้องจัดการทรัพย์มรดกของคนตายไปตามสิทธิของทายาทต่อไป ปัญหาว่า แล้วที่ดินที่ยังไม่ได้โอนแต่เข้ามาปลูกบ้านทำประโยชน์อยู่ในที่ดินตั้งแต่วันชำระราคาและส่งมอบที่ดินให้แก่กันแล้วจนผู้ขายเสียชีวิตล่วงเลยเวลามาก็เป็นเวลา 20 ปีแล้วซึ่งต่อมาทายาทก็ไปดำเนินการโอนที่ดินซึ่งยังไม่ได้แบ่งแยกทั้งแปลงให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิตามกฎหมายแล้ว โดยอ้างว่าผู้ซื้อสิ้นสิทธิฟ้องร้องบังคับคดีแล้วเพราะกฎหมายบอกว่าจะต้องฟ้องคดีมรดกของผู้ตายภายใน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ส่วนผู้ซื้อก็อ้างว่าผู้ซื้อได้ครอบครองทรัพย์ตั้งแต่วันชำระราคาแล้วจึงอยู่ในฐานะผู้มีสิทธิยึดหน่วงจนกว่าจะได้รับโอนที่ดินคดีไม่ขาดอายุความตามข้ออ้างของทายาทดังกล่าวข้างต้น คดีนี้ศาลฎีกาเห็นว่าการที่ผู้ซื้อชำระราคาให้ผู้ขายแล้วผู้ขายก็ส่งมอบที่ดินให้ผู้ซื้อแต่ยังไม่จดทะเบียนโอนที่ดิน หน้าที่จดทะเบียนโอนที่ดินให้ผู้ซื้อเป็น "หนี้" อย่างหนึ่งที่กฎหมายเรียกว่า "หนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่ตนเกี่ยวด้วยทรัพย์สินที่ครอบครอง" ดังนั้นหนี้ดังกล่าวจะระงับต่อเมื่อมีการจดทะเบียนโอนที่ดินเท่านั้น เมื่อยังไม่มีการจดทะเบียนโอนที่ดิน ผู้ซื้อหรือผู้ครอบครองที่ดินย่อมถือว่าเป็น "ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วง" ที่ดิน และมีสิทธิฟ้องทายาทของผู้ขาย (ผู้ตาย) ให้ไปจดทะเบียนโอนที่ดินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  6734/2547

 

ซื้อขายที่ดินบางส่วนชำระราคาและส่งมอบที่ดินแล้วรอแบ่งแยกโฉนดที่ดินแต่ผู้ขายถึงแก่ความตายก่อนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน

 

          โจทก์กับ ข. ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทโดยโจทก์ชำระราคาครบถ้วนแล้ว ส่วน ข. ได้ส่งมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ครอบครอง แต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ หนี้ดังกล่าวจึงเป็นคุณประโยชน์แก่โจทก์เกี่ยวด้วยทรัพย์สินซึ่งครอบครองอยู่จนกว่าจะมีการจดทะเบียนโอน โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงที่ดินพิพาทตามความหมายใน ป.พ.พ. มาตรา 241 แม้คดีโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม ก็ตาม แต่ตามมาตรา 1754 วรรคสาม ยังบัญญัติให้อยู่ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 193/27 ก็กำหนดให้ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงที่ดินไว้จนกว่าจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของ ข. ไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ทั้งยังมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ด้วย เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความมรดกที่จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม ทั้งในชั้นอุทธรณ์โจทก์ได้อุทธรณ์เรื่องอายุความดังกล่าวและอ้างว่ามีสิทธิยึดหน่วงตาม ป.พ.พ. มาตรา 241 ด้วย ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็ได้วินิจฉัยเรื่องอายุความมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม ประกอบมาตรา 193/27 และมาตรา 241 อันเป็นเรื่องอายุความมรดกตามที่คู่ความว่ากล่าวกันมาโดยชอบ จึงมิใช่เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาเกินคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์

 โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า โจทก์ซื้อที่ดินบางส่วนตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 1501 โดยชำระราคาที่ดินครบถ้วนแล้ว นางขำมอบที่ดินให้โจทก์ครอบครองปลูกบ้านอยู่อาศัยตลอดมา แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนโอนต่อเจ้าหน้าที่ นางขำเสียชีวิตเมื่อปี 2533 ต่อมาเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2541 จำเลยทั้งสองในฐานะทายาทได้รับโอนมรดกที่ดินดังกล่าวทั้งแปลง โจทก์ทวงถามให้จำเลยทั้งสองแบ่งโอนที่ดินส่วนที่โจทก์ซื้อจากนางขำ แต่จำเลยทั้งสองเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองโอนที่ดินเฉพาะส่วนของหน้งสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวข้างต้นให้โจทก์ หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสอง หรือให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท และให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนครราชสีมา สาขาโนนแดง รังวัดแบ่งแยกออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์แยกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยทั้งสอง โดยจำเลยทั้งสองเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย

 จำเลยทั้งสองให้การว่า สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับนางขำเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด และนางขำลงชื่อในสัญญาโดยไม่มีพยาน 2 คน ลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของนางขำและคู่สัญญามิได้ไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาจึงไม่สมบูรณ์และไม่มีผลตามกฎหมาย เป็นโมฆะ โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในฐานะทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกเกินกว่า 1 ปี นับแต่โจทก์ทราบว่านางขำถึงแก่ความตายตั้งแต่ปี 2533 จึงขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
          โจทก์อุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษากลับให้จำเลยทั้งสองโอนที่ดินพิพาทตามแผนที่เอกสารหมาย จ. 2 แก่โจทก์ หากไม่ปฏิบัติให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสอง คำขออื่นให้ยก

    จำเลยทั้งสองฎีกา

   ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2521 โจทก์กับนางขำ เทินสระเกษ ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทตามเอกสารหมาย จ. 1 และ จ. 2 มีข้อตกลงว่า โจทก์จะให้นางขำไปทำการโอนที่ดินพิพาทเมื่อใด นางขำมิได้ขัดข้อง โจทก์ได้ชำระราคาที่ดินจำนวน 20,000 บาท ให้นางขำครบถ้วนแล้ว นางขำได้ส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เข้าครอบครองปลูกบ้านอยู่อาศัยตั้งแต่ปี 2521 ต่อมาปี 2533 นางขำถึงแก่ความตายโดยยังมิได้มีการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2541 จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของนางขำได้รับโอนมรดกที่ดินพิพาท ตามสารบาญจดทะเบียนเอกสารหมาย จ.5 จำเลยทั้งสองฎีกาอ้างว่าโจทก์นำคดีมาฟ้องหลังจากนางขำเจ้ามรดกถึงแก่ความตายเป็นเวลา 8 ปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความและโจทก์มิได้อุทธรณ์ข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/27 ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงพิพากษาเกินกว่าคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ไม่ได้นั้นพิเคราะห์แล้วตามคำให้การของจำเลยทั้งสองอ้างว่า โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในฐานะทายาทของนางขำเจ้ามรดกเกินกว่า 1 ปี ฟ้องของโจทก์จึงขาดอายุความ ซึ่งศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์จะต้องฟ้องร้องภายในกำหนด 1 ปี นับแต่เมื่อได้รู้ถึงความตายของนางขำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์อยู่ในฐานะผู้มีสิทธิยึดหน่วงที่ดินพิพาทไว้จนกว่าจะมีการโอนที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 241 และคดีไม่ขาดอายุความ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่า คดีของโจทก์ขาดอายุความ แต่เมื่อโจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทโดยชอบ โจทก์จึงมีสิทธิยึดหน่วงที่ดินพิพาทไว้จนกว่าจะมีการโอนที่ดินตามสัญญา แม้ว่าคดีจะขาดอายุความแล้วก็ตาม อันเป็นการใช้สิทธิบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/27 และมาตรา 241 ซึ่งศาลฎีกาเห็นว่า การที่โจทก์กับนางขำได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทโดยโจทก์ชำระราคาครบถ้วนแล้ว ส่วนนางขำได้ส่งมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ครอบครอง แต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เช่นนี้ หนี้ดังกล่าวจึงเป็นคุณประโยชน์แก่โจทก์เกี่ยวด้วยทรัพย์สินซึ่งครอบครองอยู่จนกว่าจะมีการจดทะเบียนโอน โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงที่ดินพิพาทตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 241 แม้คดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม ก็ตาม แต่ตามมาตรา 1754 วรรคสาม ยังบัญญัติให้อยู่ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 193/27 ที่กำหนดให้ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงที่ดินไว้จนกว่าจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของนางขำไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ทั้งยังมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ได้ด้วย ดังนี้เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความมรดกที่จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม ทั้งในชั้นอุทธรณ์โจทก์ได้อุทธรณ์เรื่องอายุความดังกล่าวและอ้างว่ามีสิทธิยึดหน่วงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 241 ด้วย ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็ได้วินิจฉัยเรื่องอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม ประกอบมาตรา 193/27 และมาตรา 241 อันเป็นการวินิจฉัยเรื่องอายุความมรดกตามที่คู่ความว่ากล่าวกันมาโดยชอบ จึงมิใช่เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาเกินคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ดังที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้างในฎีกาแต่ประการใดไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยทั้งสองฟังไม่ขึ้น”

          พิพากษายืน

ลูกหนี้เงินกู้ตาย-หนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ-โจทก์มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3994/2540

แม้หนังสือสัญญากู้ยืมเงินที่ ป. ลูกหนี้ทำไว้กับโจทก์ยังไม่ถึงกำหนดชำระแต่ ป. ได้ถึงแก่ความตายเสียก่อน โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ภายใน1 ปีนับแต่เมื่อโจทก์รู้ถึงความตายของ ป. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคสาม เพราะสิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นเมื่อ ป. ถึงแก่ความตายหากรอจนหนี้ถึงกำหนดชำระอายุความ 1 ปีอาจจะล่วงพ้นไปแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้ชำระหนี้ได้แม้หนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ

ป. ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยจำเลยที่ 6ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ท้องที่ดังกล่าวทำสัญญาค้ำประกันการกู้ยืมเงินด้วยดังนี้ เมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2534 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 26พฤศจิกายน 2535 คำฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องเกี่ยวด้วยหนี้เหนือบุคคลตามบทมาตราดังกล่าว โจทก์สามารถโอนคดีฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลก็ได้ เมื่อจำเลยที่ 6 มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้นทั้งมูลคดีก็เกิดขึ้นในเขตศาลชั้นต้น คดีย่อมอยู่ในอำนาจศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาพิพากษาได้โจทก์หาจำต้องยื่นคำร้องแสดงเหตุให้ศาลชั้นต้นรับคดีไว้พิจารณาไม่

แม้ในหนังสือสัญญากู้ยืมเงินข้อ 2 จะระบุข้อความไว้ว่า ไม่มีดอกเบี้ย แต่ข้อความตอนต้นระบุไว้ว่าผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยตามจำนวนเงินที่กู้แก่ผู้ให้กู้ชั่งละหนึ่งบาทต่อเดือนนับแต่วันที่ทำสัญญา นอกจากนี้ ป. ผู้กู้ยังได้บันทึกรับรองไว้ตอนท้ายสัญญากู้ยืมว่า ถ้าหากไม่ชำระหนี้ตามสัญญาใน 2 ปี ยินยอมคิดดอกเบี้ยนับจากวันครบสัญญา แสดงให้เห็นว่าป. ยอมรับผิดชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในอัตราชั่งละหนึ่งบาทต่อเดือน (ร้อยละ 15 ต่อปี)นับแต่วันครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว หาใช่คู่สัญญาไม่ได้ตกลงกำหนดอัตราดอกเบี้ยในอันที่จะใช้อัตราดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 ไม่

โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2534 จ่าสิบเอกประจวบ จันทร์สุวรรณ สามีของจำเลยที่ 1 และเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้ทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินไปจากโจทก์จำนวน 1,700,000 บาท กำหนดชำระต้นเงินคืนภายในเวลา2 ปี นับแต่วันทำสัญญา ต่อมาวันที่ 27 มีนาคม 2535 จ่าสิบเอกประจวบถึงแก่ความตายจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายและจำเลยที่ 6 ต้องร่วมกันชำระต้นเงินตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินให้แก่โจทก์ ซึ่งโจทก์มอบหมายให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามไปยังจำเลยทั้งหกแล้ว แต่จำเลยทั้งหกเพิกเฉยขอให้บังคับจำเลยทั้งหกร่วมกันชำระต้นเงินแก่โจทก์จำนวน 1,700,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ

จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ให้การว่า จ่าสิบเอกประจวบไม่ได้กู้ยืมเงินจากโจทก์ลายมือชื่อตรงช่องของผู้กู้ยืมในหนังสือสัญญากู้ยืมเงินเป็นลายมือชื่อปลอม โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อหนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง

จำเลยที่ 6 ให้การว่า จำเลยที่ 6 ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันจ่าสิบเอกประจวบไว้แก่โจทก์ หนี้ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินยังไม่ถึงกำหนดชำระ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษาให้จำเลยทั้งหกร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์จำนวน1,700,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 29 เมษายน 2536จนกว่าจะชำระเสร็จ แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกของจ่าสิบเอกประจวบที่ตกทอดแก่ตน

จำเลยที่ 6 อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน

จำเลยที่ 6 ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่คู่ความไม่ได้โต้เถียงกันในชั้นฎีกาว่า เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2534 จ่าสิบเอกประจวบ จันทร์สุวรรณ สามีโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 และบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินไปจากโจทก์จำนวน 1,700,000 บาท กำหนดชำระต้นเงินคืนภายในเวลา2 ปี นับแต่วันทำสัญญาตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.3 โดยมีจำเลยที่ 6ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันหนี้ดังกล่าวตกลงว่าถ้าจ่าสิบเอกประจวบไม่ชำระหนี้หรือถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 6 ยอมรับผิดชำระหนี้แทน สัญญากู้ดังกล่าวทำที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 6 ก็อยู่ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาต่อมาวันที่ 27 มีนาคม 2535 จ่าสิบเอกประจวบถึงแก่ความตาย โจทก์ทวงถามให้จำเลยทั้งหกชำระหนี้แต่จำเลยทั้งหกไม่ชำระ โจทก์จึงฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2535คดีมีปัญหาข้อกฎหมายมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 6 ข้อแรกว่า คดีอยู่ในอำนาจศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาพิพากษาหรือไม่ เห็นว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 12)พ.ศ. 2534 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2534 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 26พฤศจิกายน 2535 คำฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องเกี่ยวกับหนี้เหนือบุคคลซึ่งตามบทมาตราดังกล่าวโจทก์สามารถเสนอคำฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลก็ได้ เมื่อจำเลยที่ 6 มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้นทั้งมูลคดีก็เกิดขึ้นในเขตศาลชั้นต้น คดีย่อมอยู่ในอำนาจศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาพิพากษาได้โจทก์หาจำต้องยื่นคำร้องแสดงเหตุให้ศาลชั้นต้นรับคดีไว้พิจารณาดังที่จำเลยที่ 6 กล่าวอ้างมาในฎีกาไม่ คำพิพากษาฎีกาที่จำเลยที่ 6 กล่าวอ้างมาในฎีกาข้อเท็จจริงไม่ตรงกับคดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยชอบแล้ว ฎีกาจำเลยที่ 6 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

ปัญหาวินิจฉัยข้อต่อไปมีว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องบังคับให้ชำระหนี้ขณะหนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระได้หรือไม่ ศาลฎีกาเห็นว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754วรรคสาม เป็นบทบัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของลูกหนี้ ในกรณีดังกล่าว เจ้าหนี้ของผู้ตายจะต้องเรียกร้องให้ชำระหนี้จากทรัพย์มรดกของผู้ตายซึ่งเป็นลูกหนี้ในกำหนด 1 ปี นับแต่ลูกหนี้ถึงแก่ความตาย ดังนั้น แม้หนังสือสัญญากู้ยืมเงินตามเอกสารหมาย จ.3 ที่จ่าสิบเอกประจวบจันทร์สุวรรณ ลูกหนี้ทำไว้กับโจทก์ยังไม่ถึงกำหนดชำระ แต่จ่าสิบเอกประจวบได้ถึงแก่ความตายเสียก่อน โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ภายใน 1 ปีนับแต่เมื่อโจทก์รู้ถึงความตายของจ่าสิบเอกประจวบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม เพราะสิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นเมื่อจ่าสิบเอกประจวบถึงแก่ความตายหากรอจนหนี้ถึงกำหนดชำระอายุความ 1 ปี อาจจะล่วงพ้นไปแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้ชำระหนี้ได้แม้หนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยชอบแล้ว ฎีกาจำเลยที่ 6 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน

ปัญหาวินิจฉัยข้อสุดท้ายมีว่า โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้เพียงใด ศาลฎีกาเห็นว่าแม้หนังสือสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.3 ข้อ 2 จะระบุข้อความไว้ว่า ไม่มีดอกเบี้ยแต่ข้อความตอนต้นก็ระบุไว้ว่าผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยตามจำนวนเงินที่กู้แก่ผู้ให้กู้ชั่งละหนึ่งบาทต่อเดือนนับแต่วันทำสัญญานอกจากนี้จ่าสิบเอกประจวบยังได้บันทึกรับรองไว้ในตอนท้ายของสัญญากู้ยืมเงินว่า ถ้าหากไม่ชำระหนี้ตามสัญญาใน 2 ปี ยินยอมคิดดอกเบี้ยนับจากวันครบสัญญา ดังนี้แสดงให้เห็นว่าจ่าสิบเอกประจวบยอมรับผิดชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในอัตราชั่งละหนึ่งบาทต่อเดือน (ร้อยละ 15 ต่อปี) นับแต่วันครบกำหนดชำระหนี้ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวหาใช่คู่สัญญาไม่ได้ตกลงกำหนดอัตราดอกเบี้ยในอันที่จะใช้อัตราดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 ตามที่จำเลยที่ 6 กล่าวอ้างมาในฎีกา และศาลอุทธรณ์ภาค 3พิพากษาเกินคำขอไม่ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาจำเลยที่ 6 ทุกข้อฟังไม่ขึ้น"

พิพากษายืน

หมายเหตุ

ตามปกติแล้วการที่เจ้าหนี้จะบังคับชำระหนี้แก่ลูกหนี้ได้หนี้นั้นจะต้องถึงกำหนดแล้วลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ดังนั้น กรณีหนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระเจ้าหนี้จะฟ้องขอให้ชำระหนี้นั้นไม่ได้ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 203 และคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 231/2492) เมื่อถึงกำหนดแล้วลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ย่อมถือว่าผิดนัดนับแต่วันนั้นต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยด้วย (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 214, คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2532,5632/2534 และ 10166/2539) หลักการดังกล่าวเป็นที่ทราบกัน

แต่กรณีลูกหนี้ตายมีบทบัญญัติว่าด้วยอายุความมรดก มาตรา 1754 วรรคสาม แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 193/27 แห่งประมวลกฎหมายนี้ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)ถ้าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปีมิให้เจ้าหนี้นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก" และวรรคสุดท้ายบัญญัติต่อไปว่า "ถึงอย่างไรก็ดี สิทธิเรียกร้องตามที่ว่ามาในวรรคก่อน ๆ นั้น มิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย"

ตามบทบัญญัติดังกล่าวได้กล่าวถึงสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่า 1 ปี เมื่อเจ้ามรดกตาย ห้ามเจ้าหนี้ของเจ้ามรดกว่าถ้าพ้นหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกแล้ว จะฟ้องเรียกร้องบังคับชำระหนี้ไม่ได้ ตามความเข้าใจของบุคคลทั่วไปก็คือ เมื่อเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องแล้วจึงจะบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้และอายุความก็จะเริ่มนับแต่ขณะที่เจ้าหนี้อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/12) ตัวอย่างในคดี เช่น สิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างซ่อมรถโจทก์สามารถเรียกร้องเอาแก่จำเลยที่ 2 ในฐานะคู่สัญญาได้นับแต่วันที่โจทก์ส่งมอบรถยนต์ที่ซ่อมเสร็จ จึงถือได้ว่าโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องนั้นแก่จำเลยที่ 2 ได้ตั้งแต่วันดังกล่าว และอายุความย่อมเริ่มนับตั้งแต่วันนั้น แต่โจทก์ก็รีรอฟังผลจากกรป.กลางเรื่อยมาจนกระทั่งพ้นกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด นับแต่วันที่มีการส่งมอบและรับมอบรถยนต์ที่ซ่อมเสร็จ คดีโจทก์จึงขาดอายุความ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่5535/2539) ตัวอย่างคดีนี้คงแสดงให้เห็นว่าอายุความเกิดขึ้นเมื่อใด ได้เป็นอย่างดี และโปรดศึกษาอีกตัวอย่างกล่าวคือ สัญญาซื้อขายรถยนต์ระหว่างโจทก์จำเลยกำหนดให้รับรถภายในเดือนพฤศจิกายน 2535 จำเลยมีสิทธิที่จะส่งมอบรถยนต์ให้แก่โจทก์ในวันหนึ่งวันใดก็ได้ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ดังนั้น ช่วงระยะเวลาดังกล่าวสิทธิเรียกร้องเอาเงินมัดจำคืนของโจทก์จึงยังไม่อาจบังคับได้ การนับอายุความเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องจึงต้องเริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดไปแล้ว คือเริ่มนับในวันที่ 1 ธันวาคม 2535 อันเป็นวันที่จำเลยผิดนัดและโจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ และการฟ้องเรียกเอาเงินมัดจำคืนกรณีนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงฟ้องได้ภายในกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4252/2539) คดีนี้มีข้อสังเกตอยู่ 2 ขั้นตอน คือช่วงเวลาที่ยังไม่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องเอาเงินมัดจำคืนคือระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2535 ช่วงนี้อายุความยังไม่เกิดขึ้นส่วนช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2535 อันเป็นวันที่จำเลยผิดนัดสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงเกิดขึ้น (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/12) และตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงเกิดขึ้นด้วย

ถ้าปรับข้อเท็จจริงในคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4252/2539 กับบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม ดังที่นำมากล่าวข้างต้นให้เห็นชัดเจน ดังนี้ สมมุติว่าจำเลยซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาตายเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2535 และโจทก์ก็ทราบว่าจำเลยตายในวันนั้น ดังนั้น อายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์ซึ่งมีกำหนดเวลา 10 ปี ซึ่งขณะจำเลยตายยังเหลืออายุความสิทธิเรียกร้องอยู่ถึง 9 ปีเศษ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งโจทก์ยังมีเวลาร่วม 10 ปี ในการที่จะเรียกเอาเงินมัดจำคืน แต่โดยผลแห่งบทบัญญัติดังกล่าว อายุความนั้นอาจถือได้ว่าลดลงมาเหลือหนึ่งปีนับแต่เมื่อโจทก์รู้หรือควรรู้ว่าจำเลยตาย เงื่อนไขสำคัญถึงเอาการที่โจทก์รู้หรือควรรู้ว่าจำเลยตายเป็นสำคัญโดยกฎหมายใช้คำว่า ถ้าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก

เมื่อท่านผู้อ่านเข้าใจหลักการเรื่องนี้ถึงกำหนดอายุความเกิดขึ้นเมื่อปรับเข้ากรณีอายุความมรดก กรณีลูกหนี้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคสามผลจะเป็นอย่างไรแล้ว โปรดพิจารณาข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลฎีกาหัวข้อหมายเหตุ ซึ่งได้ความว่า เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2534 ป. ทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 1,700,000 บาท กำหนดชำระเงินต้นคืนภายในเวลา 2 ปี นับแต่วันทำสัญญา ต่อมาวันที่ 27 มีนาคม 2535 ป. ถึงแก่ความตาย โจทก์ทวงถามจำเลยที่ 1 ภริยาของ ป. จำเลยที่ 2 ถึง 5 บุตรของ ป. และจำเลยที่ 6 ผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้แต่จำเลยทั้งหกไม่ชำระ โจทก์จึงฟ้องคดีเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2535 ซึ่งยังไม่พ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่ ป. กู้ยืมเงินโจทก์แต่ป. ตายเสียก่อน ฝ่ายจำเลยให้การต่อสู้คดีว่า โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อหนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่ศาลทั้ง 3 ศาล คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 3 และศาลฎีกาวินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องและบังคับให้จำเลยทั้งหกชำระหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นนั้นจะเห็นได้ว่าไม่ตรงตามตัวบทในบทบัญญัติมาตรา 1754 วรรคสามเสียทีเดียว ในปัญหานี้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องบังคับให้ชำระหนี้ขณะยังไม่ถึงกำหนดชำระได้หรือไม่ ศาลฎีกาเห็นว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม เป็นบัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของลูกหนี้ ในกรณีดังกล่าวเจ้าหนี้ของผู้ตายจะต้องเรียกร้องให้ชำระหนี้จากทรัพย์มรดกของผู้ตายซึ่งเป็นลูกหนี้ในกำหนด 1 ปี นับแต่ลูกหนี้ถึงแก่ความตาย ดังนั้น แม้หนังสือสัญญากู้ยืมเงินที่ ป. ลูกหนี้ทำไว้กับโจทก์ยังไม่ถึงกำหนดชำระ แต่ ป. ถึงแก่ความตายไปเสียก่อน โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ภายใน 1 ปี นับแต่เมื่อโจทก์รู้ถึงความตายของ ป. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม เพราะสิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นเมื่อ ป. ตาย หากรอจนหนี้ถึงกำหนดชำระ อายุความ 1 ปี อาจล่วงพ้นไปแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้ชำระหนี้ได้ แม้หนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระมีคำพิพากษาศาลฎีกาวินิจฉัยสนับสนุนเป็นบรรทัดฐาน เช่น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2493,964/2512 และ 1117/2533

เมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติมาตรา 1754 วรรคสามประกอบคำพิพากษาศาลฎีกาที่เคยวินิจฉัยเป็นบรรทัดฐานในหลายเรื่องและคำพิพากษาศาลฎีกาหมายเหตุแล้วเห็นได้ว่าได้ถือความตายของเจ้ามรดกเป็นเหตุให้หนี้นั้นถึงกำหนดชำระ โดยทายาทของเจ้ามรดกไม่อาจถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาต่อไปได้อีกแล้วโดยพิจารณาเทียบเคียงกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/23 ซึ่งบัญญัติว่า อายุความสิทธิเรียกร้องอันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้ตาย ถ้าจะครบกำหนดภายในหนึ่งปีนับแต่วันตาย อายุความนั้นยังไม่ครบกำหนดจนกว่าจะครบหนึ่งปีนับแต่วันตาย ซึ่งเมื่อสรุปความตามมาตรา 1754 วรรคสามประกอบมาตรา 193/23 แล้ว ก็หมายความว่าถ้ากรณีแม้หนี้ยังไม่ถึงกำหนดเมื่อลูกหนี้ตายก็ต้องถือว่าหนี้ถึงกำหนดชำระ เจ้ามรดกมีสิทธิเรียกร้องนับแต่บัดนั้น โดยต้องเรียกร้องภายใน 1 ปีดังที่กล่าวแล้วซึ่งก็ถือว่าอายุความเกิดขึ้นแล้ว แต่มีอายุความเพียง 1 ปี เท่านั้น โดยไม่คำนึงถึงว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดเวลาตามสัญญาหรือไม่ ส่วนกรณีหนี้ถึงกำหนดตามสัญญาแล้วลูกหนี้ไม่ชำระหนี้และตายไปดังนี้ไม่มีปัญหาเพราะตรงตามตัวบทและสามารถฟ้องได้ทันทีโดยไม่ต้องทวงถามก่อน (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2620/2517) แต่ถ้ากรณีที่อายุความเจ้าหนี้สั้นกว่า 1 ปี ซึ่งตามปกติเจ้าหนี้จะต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายใน 1 ปี แต่ถ้าเป็นเจ้าหนี้กองมรดกตามมาตรา 193/23 ได้ขยายเวลาแห่งอายุความออกไปเป็น 1 ปีนับแต่วันที่เจ้ามรดกตาย ดังนั้น เจ้าหนี้กองมรดกที่สิทธิเรียกร้องสั้นกว่า 1 ปี สามารถใช้สิทธิเรียกร้องได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันเจ้ามรดกตาย

ส่วนข้อยกเว้นตามที่มาตรา 1754 วรรคสาม กล่าวถึง คือตามมาตรา 193/27หมายความว่าเจ้าหนี้กองมรดกประเภทผู้รับจำนอง ผู้รับจำนำ เหล่านี้สามารถบังคับเอาแก่ทรัพย์สินที่จำนองหรือจำนำได้ แม้ล่วงเลยกำหนดเวลาตามมาตรา 1754วรรคสามแล้ว (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1414/2509 และ 3187/2532)

มีข้อสังเกตว่าความในมาตรา 1754 วรรคสามนั้นเป็นกรณีบังคับเจ้าหนี้กองมรดกที่จะบังคับเอาจากกองมรดกเพื่อชำระหนี้เท่านั้น แต่กลับกันหากเจ้ามรดกเป็นเจ้าหนี้บ้าง ซึ่งคงต้องพิจารณาจากบทบัญญัติว่าด้วยกองมรดกตามมาตรา 1600แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สิทธิเรียกร้องในฐานเจ้าหนี้ย่อมตกทอดแก่ทายาทตามมาตรา 1599 ทายาทฟ้องเจ้ามรดกย่อมมีสิทธิบังคับเอาแก่ลูกหนี้ภายในกำหนดอายุความสิทธิเรียกร้องแห่งหนี้ประเภทนั้นอาจเป็น 2 ปี หรือ 5 ปี หรือ 10 ปีแล้วแต่กรณี

สรุปแล้วหลักการในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม นี้ถือได้ว่าเป็นข้อยกเว้นหลักการใช้สิทธิเรียกร้องกรณีทั่วไป ซึ่งในทางปฏิบัติคงต้องทำความเข้าใจกันเป็นพิเศษ

 




สัญญาซื้อขาย

การสั่งซื้อทางโทรศัพท์ระหว่างจำเลยกับโจทก์เป็นสถานที่มูลคดีเกิด
มิใช่เป็นการซื้อขายแบบเหมายกแปลง
เรียกเงินคืนพร้อมเรียกค่าเสียหายผิดสัญญาจะซื้อขาย
ใบสั่งจองบ้านและที่ดินเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย
ฟ้องให้ขายที่ดินคืนตามคำมั่นในสัญญาซื้อขายที่ดิน
ซื้อขายที่ดินห้ามโอนเป็นโมฆะเรียกเงินคืนไม่ได้
เรียกเงินคืนเรื่องลาภมิควรได้หรือรอนสิทธิ อย่างไรจึงถูกต้อง?
หลอกลวงเอาที่ดินที่ตนไม่มีสิทธิแล้วมาหลอกขายให้