

แก้ไขคำพิพากษาที่อ่านแล้ว แก้ไขคำพิพากษาที่อ่านแล้ว คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาจนคดีถึงที่สุดแล้วไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขการเพิ่มโทษในคดีหลังได้ กรณีที่ศาลจะแก้ไขคำพิพากษาได้ต้องเป็นกรณีการแก้ไขถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาดเท่านั้น ตาม วิ.อาญา มาตรา 190 และไม่ต้องด้วย ป.อาญา มาตรา 3 (1) ที่จะทำให้ศาลมีอำนาจยกคดีขึ้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ได้ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ฟังไม่ขึ้น (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2553) คดีสืบเนื่องมาจากศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาถึงที่สุด เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2550 ให้จำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 5 ปี 3 เดือน และปรับ 300,000 บาท นับโทษจำเลยที่ 1 ต่อจากโทษจำคุกของจำเลยที่ 1 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อย. 1479/2549 ของศาลอาญา หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 โดยให้กักขังแทนค่าปรับเป็นระยะเวลา 1 ปี ริบของกลาง เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2551 จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้อง ให้ยกคำขอนับโทษต่อของโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงมีความสงสัยว่าจำเลยที่ 1 ต้องโทษจำคุกทั้งสองคดีเป็นเวลานานเท่าใด และตามที่ได้มีพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 มีผลต่อคดีทั้งสองอย่างไร ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ได้รับประโยชน์ตามพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 จึงไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ได้นั้น ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษและเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 จนคดีถึงที่สุดแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขการเพิ่มโทษในคดีหลังได้ และเมื่อศาลอ่านคำพิพากษาจนคดีถึงที่สุดแล้ว ศาลนั้นจะแก้ไขคำพิพากษาเกี่ยวกับการเพิ่มโทษหาได้ไม่ เพราะไม่ใช่การแก้ไขถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาดซึ่งขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 190 และกรณีดังกล่าวไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (1) ที่จะทำให้ศาลมีอำนาจยกคดีขึ้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ไม่งดเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 นั้นชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยที่ 1 ฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน มาตรา 190 ห้ามมิให้แก้ไขคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งอ่านแล้ว นอกจากแก้ถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาด พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เว้นแต่รัฐมนตรีได้อนุญาตเฉพาะในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง การผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามปริมาณดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นการผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มาตรา 66 ผู้ใดจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตและมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ หรือมีจำนวนหน่วยการใช้ หรือมีน้ำหนักสุทธิไม่ถึงปริมาณที่กำหนดตามมาตรา 15 วรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงสิบห้าปี หรือปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทถึงสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้ายาเสพติดให้โทษตามวรรคหนึ่งมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ปริมาณที่กำหนดตามมาตรา 15 วรรคสาม แต่ไม่เกินยี่สิบกรัม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงห้าล้านบาท ถ้ายาเสพติดให้โทษตามวรรคหนึ่งมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินยี่สิบกรัมขึ้นไปต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงห้าล้านบาท หรือประหารชีวิต มาตรา 97 ผู้ใดต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกสำหรับความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้ากระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้อีกในระหว่างที่ยังต้องรับโทษอยู่หรือภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษ หากศาลจะพิพากษาลงโทษครั้งหลังถึงจำคุก ให้เพิ่มโทษที่จะลงแก่ผู้นั้นอีกกึ่งหนึ่งของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับความผิดครั้งหลัง พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 ห้ามแก้ไขคำพิพากษาซึ่งอ่านแล้ว คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15344/2555 พนักงานอัยการจังหวัดนครปฐม โจทก์ คำพิพากษาของศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 แต่ละกระทงรวมแล้วต้องเป็นโทษจำคุก 35 ปี 9 เดือน แต่พิมพ์โทษรวมจำคุกจำเลยที่ 1 ผิดผลาดเป็น 30 ปี 9 เดือน ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าวให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 190 ประกอบมาตรา 215 และ 225 มาตรา 190 ห้ามมิให้แก้ไขคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งอ่านแล้ว นอกจากแก้ถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาด |