ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




เพื่อการอนาจารเป็นเจตนาพิเศษ | การบรรยายฟ้อง

ทนายความ ฟ้องหย่า lawyer 

เพื่อการอนาจารเป็นเจตนาพิเศษ | การบรรยายฟ้อง 

ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารและฐานพาผู้อื่นไป เพื่อการอนาจาร การกระทำเพื่อการอนาจาร เป็นเจตนาพิเศษที่มุ่งประสงค์ที่จะกระทำการอันไม่สมควรในทางเพศต่อร่างกายของผู้อื่น จึงมิใช่การกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด อันจะต้องบรรยายมาในฟ้อง แต่เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำพยานเข้าสืบได้ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3214/2553

 พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด            โจทก์

 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารและฐานพาผู้อื่นไป เพื่อการอนาจาร โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำไปเพื่อการอนาจาร แม้ฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายถึงรายละเอียดว่าจำเลยกระทำอนาจารต่อผู้เสียหายด้วยวิธีการอย่างไร ฟ้องโจทก์ก็สมบูรณ์ เพราะการกระทำเพื่อการอนาจาร เป็นเจตนาพิเศษที่มุ่งประสงค์ที่จะกระทำการอันไม่สมควรในทางเพศต่อร่างกายของผู้อื่น จึงมิใช่การกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด อันจะต้องบรรยายมาในฟ้อง ตามป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แต่เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำพยานเข้าสืบได้ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายตามป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
 

          โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 ,284 ,295 , 310, 318 , 91
          จำเลยให้การปฏิเสธ

          ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคแรก,284 วรรคแรก,310 วรรคแรก,318 วรรคสาม,391 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานพรากผู้เยาว์โดยไม่เต็มใจไปด้วยเพื่อการอนาจาร จำคุก 5 ปี รวม 2 กระทง เป็นจำคุก 10 ปี ฐานข่มขืนกระทำชำเรา จำคุก 4 ปี รวม 2 กระทง เป็นจำคุก 8 ปี ฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจาร จำคุก 1 ปี รวม 2 กระทง เป็นจำคุก 2 ปี ฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง จำคุก 1 ปี ฐานทำร้ายร่ายกายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ จำคุก 1 เดือน รวมจำคุก 21 ปี 1 เดือน คำให้การของจำเลยในชั้นพิจารณาพอเป็นประโยชน์อยู่บ้าง มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุก 14 ปี 20 วัน ข้อหาอื่นให้ยก
          จำเลยอุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 283 ทวิ วรรคแรก,319 วรรคแรก การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานพาบุคคลอายุเกินกว่าสิบห้าปีแต่ไม่เกินสิบแปดปีไป เพื่อการอนาจาร โดยผู้นั้นยินยอม จำคุก 1 ปี รวม 2 กระทง เป็นจำคุก 2 ปี ฐานพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเพื่อการอนาจาร โดยผู้เยาว์นั้นเต็มใจ จำคุก 3 ปี รวม 2 กระทง เป็นจำคุก 6 ปี เมื่อรวมกับโทษฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังและทำร้ายร่ายกายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว เป็นจำคุก 9 ปี 1 เดือน ลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุก 6 ปี 20 วัน ข้อหาอื่นให้ยก นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

          โจทก์ฎีกา
          จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยว่า ฟ้องโจทก์ในความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารและฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจาร เป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายถึงรายละเอียดว่าจำเลยกระทำอนาจารต่อผู้เสียหายด้วยวิธีการอย่างไร เห็นว่า คำฟ้องที่บรรยายว่าเพื่อการอนาจารนั้น เป็นเจตนาพิเศษที่มุ่งประสงค์ที่จะกระทำการอันไม่สมควรในทางเพศต่อร่างกายของผู้อื่น จึงมิใช่การกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด อันจะต้องบรรยายมาในฟ้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) แต่เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำพยานเข้าสืบได้ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) ฎีกาของจำเลยในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

          ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยได้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคแรก (เดิม) 284 วรรคแรก และ 318 วรรคสาม หรือไม่ โดยโจทก์ฎีกาว่าผู้เสียหายไม่เต็มใจไปกับจำเลย และไม่ยินยอมให้จำเลยกระทำชำเรา เห็นว่าพฤติการณ์แห่งคดีจึงมีเหตุผลให้รับฟัง ไม่ทำให้พยานหลักฐานของโจทก์ที่ฟังว่าผู้เสียหายไม่เต็มใจไปกับจำเลยและไม่ยินยอมให้จำเลยกระทำชำเราเสียน้ำหนักไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคแรก (เดิม) 284 วรรคแรก และ 318 วรรคสาม ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น แต่อย่างไรก็ดีการที่จำเลยกระทำความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคแรก (เดิม) และฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจาร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 284 วรรคแรก ในแต่ละวันจำเลยมีเจตนาเดียวกันคือต้องการพาผู้เสียหายไปกระทำชำเรา การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกัน เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 295 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

          ส่วนข้อที่จำเลยฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายว่า การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 283 ทวิ วรรคแรก และมาตรา 319 วรรคแรกโดยที่โจทก์ไม่ได้ขอให้ลงโทษตามมาตราดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เห็นว่า เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 284 วรรคแรกและมาตรา 318 วรรคสาม ตามที่โจทก์ฟ้องจึงต้องลงโทษจำเลยตามที่พิจารณาได้ความตามฟ้อง ไม่จำต้องลงโทษจำเลยตามมาตรา 283 ทวิ วรรคแรกและมาตรา 319 วรรคแรก ฎีกาของจำเลยข้อนี้ไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษา ปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

            ปัญหาต่อไปตามฎีกาของจำเลยว่า จำเลยได้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 วรรคแรก และมาตรา 391 หรือไม่ ในความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง จำเลยฎีกาว่า จำเลยมีเจตนาเพียงพาผู้เสียหายไปปรับความเข้าใจที่บ้าน เมื่อผู้เสียหายเข้าใจแล้วจำเลยก็ตั้งใจจะไปส่งผู้เสียหายแต่มารดาผู้เสียหายมารับเสียก่อน เห็นว่า ตามพฤติการณ์แห่งคดีส่อแสดงว่าจำเลยมีเจตนาให้ผู้เสียหายอยู่ในบ้านจนกว่าจะปรับความเข้าใจกันได้ เมื่อจำเลยไม่ยอมให้ผู้เสียหายออกจากบ้าน จำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าผู้เสียหายต้องปราศจากเสรีภาพ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 วรรคแรก ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น ส่วนความผิดฐานทำร้ายร่างกาย จำเลยฎีกาว่า ไม่มีเจตนาทำร้ายผู้เสียหายเพราะจำเลยจับมือผู้เสียหายเพื่อให้ผู้เสียหายปล่อยมีดคัดเตอร์เท่านั้น เห็นว่า ข้อเท็จจริงที่ศาลล่างทั้งสองฟังลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำร้ายร่างกายคือ การกระทำที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยตบ ชก และกระชาก ผู้เสียหาย โจทก์มิได้ฟ้องว่าจำเลยบิดมือผู้เสียหายที่ถือมีดคัตเตอร์แล้วมีดไปบาดถูกมือผู้เสียหาย การที่จำเลยฎีกาว่าไม่มีเจตนาให้มีดบาดมือผู้เสียหาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ แม้ชั้นอุทธรณ์จำเลยได้ยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์มิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัย จำเลยก็ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งว่าการที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยนั้นไม่ชอบแต่อย่างไร การที่จำเลยยกข้อเท็จจริงขึ้นฎีกาซ้ำอีก ถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่เพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกาและไม่ได้เป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 ทั้งมิได้เป็นข้อความที่ศาลอุทธรณ์ได้ตัดสินไว้ จึงไม่อาจใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ได้ ที่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหามาเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาข้อนี้ของจำเลย

            อนึ่ง แม้ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 19) พ.ศ.2550 มาตรา 3 ยกเลิกความในมาตรา 276 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับ

          พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคแรก (เดิม) 284 วรรคแรก และ 318 วรรคสาม การกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคแรก (เดิม) และ 284 วรรคแรก เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตาม มาตรา 276 วรรคแรก (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 4 ปี รวม 2 กระทง ลดโทษกระทงละหนึ่งในสาม เป็นจำคุกกระทงละ 2 ปี 8 เดือน และลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 318 วรรคสาม จำคุก 5 ปี รวม 2 กระทง ลดโทษกระทงละหนึ่งในสาม เป็นจำคุก กระทงละ 3 ปี 4 เดือน เมื่อรวมกับโทษจำคุกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 310 วรรคแรก และ 391 แล้วรวมเป็นโทษจำคุก 10 ปี 32 เดือน 20 วัน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์




เกี่ยวกับวิธีพิจารณาความอาญา

ถ้อยคำรับสารภาพว่าตนได้กระทำความผิดห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน
ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอค่าสินไหมทดแทนตาม มาตรา 44/1
ฎีกาขอให้ลดมาตราส่วนโทษเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้าม
แก้ไขโทษของความผิดถือว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อยห้ามฎีกา
ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
อำนาจสอบสวนของกองปราบปราม
คำให้การชั้นสอบสวนแทนการสืบพยานในชั้นพิจารณา
ลดมาตราส่วนโทษในความผิดต้องห้ามฎีกา
ฟ้องไม่ครบองค์ประกอบความผิด
คำรับสารภาพมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน
อำนาจฟ้องในข้อหาความผิดตามมาตรา 157
พยานหลักฐานชนิดที่เกิดขึ้นโดยไม่ชอบ
การกระทำหลายอย่างแต่ละอย่างเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง
ฟ้องร้องคดีในลักษณะสมยอมสิทธินำคดีอาญามาฟ้องไม่ระงับ
ผู้เสียหายไม่มาเบิกความเป็นพยานในศาล
ผู้แทนโดยชอบธรรมมีผลประโยชน์ขัดกันกับผู้เสียหาย(บุตร)
ความรับผิดในทางแพ่ง-ผู้เสียหายโดยนิตินัย
การบรรยายฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด
กรณีไม่ปรากฏลายมือชื่อผู้เรียง-พิมพ์คำฟ้องโจทก์
คดีราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญายื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายค้นได้
ศาลชั้นต้นยกอายุความมายกคำร้อง ม.44/1 ไม่ชอบ
ชั้นไต่สวนมูลฟ้อง คดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา | เรียกค่าเสียหาย
นายแพทย์กระทำอนาจารคนไข้อายุกว่า 15 ปี จำคุก 3 ปี ปรับ 20,000 บาท
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลกำหนดโทษใหม่แทนการยื่นอุทธรณ์
ผู้ต้องหายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนหมายจับ ยกคำร้อง ผู้ต้องหาอุทธรณ์
โจทก์ขอให้ลงโทษตามกฎหมายเดิมซึ่งถูกยกเลิกไปแล้ว
หลอกลวงผู้เสียหายให้ขายดาวน์รถยนต์
ผู้เช่าซื้อมีอำนาจแจ้งความดำเนินคดีฐานยักยอกได้
ไม่มีเจตนาเล่นการพนันด้วยจึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย
บุคคลล้มละลายมีอำนาจฟ้องคดีอาญา
พนักงานสอบสวนมิได้ขอฝากขังต่อศาลภายในกำหนด
ไม่ได้บรรยายฟ้องว่ากระทำโดยพลาด
ฟ้องคดีสมยอมสิทธิฟ้องคดีอาญาไม่ระงับ
ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แก้ไขคำพิพากษาที่อ่านแล้ว
จำคุกไม่เกิน5ปีห้ามคู่ความฎีกาข้อเท็จจริง
ความผิดตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์
จำเลยให้การรับสารภาพแต่ศาลอุทธรณ์ศาลฎีกายกฟ้อง
ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาห้ามอุทธรณ์
การกระทำอันเป็นความผิดรวมอยู่ในฟ้อง
ฟ้องที่บรรยายไม่ครบองค์ประกอบของความผิด
พิพากษาถึงข้อเท็จจริงที่มิได้กล่าวในฟ้อง
ของกลางที่พนักงานสอบสวนยึดไว้ | คดีถึงที่สุด
ไม่สามารถนำผู้เสียหายมาเบิกความต่อศาล
ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่า
คำสั่งเกี่ยวกับการปล่อยตัวชั่วคราวห้ามอุทธรณ์
มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา
อำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่มิได้อุทธรณ์-ฎีกา
ฎีกาไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์-ฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ฟ้องที่ขาดข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป
คดีขาดอายุความจึงชอบที่ศาลจะยกฟ้อง
คดีถึงที่สุดเมื่อครบกำหนดยื่นฎีกา
การพิจารณาคดีลับหลังจำเลย
ต้องห้ามฎีกาเพราะไม่ได้อุทธรณ์ไว้
ขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
แก้ไขเล็กน้อย-จำคุกไม่เกินห้าปีห้ามฎีกา
กรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
เป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรม
โจทก์ฟ้องผิดวันจำเลยหลงต่อสู้
โต้แย้งดุลพิจนิจในการรับฟังพยานหลักฐาน