ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่า

ทนายความ ฟ้องหย่า lawyer

ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่า

ในคดีร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายในลักษณะเป็นการโทรมหญิง คำให้การของผู้เสียหายในชั้นสอบสวนกับคำเบิกความของผู้เสียหายในศาลจะมีความแตกต่างกันก็ตาม และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226/3 จะบัญญัติห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่าแต่กฎหมายก็บัญญัติข้อยกเว้นไว้คือตามสภาพ ลักษณะ แหล่งที่มา และข้อเท็จจริงแวดล้อมของพยานบอกเล่านั้นน่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้ ที่ผู้เสียหายเบิกความว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้ร่วมกระทำความผิดแต่เหตุที่ไปแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่าเป็นเพราะความโกรธนั้น ข้อกล่าวอ้างของผู้เสียหายจึงส่อพิรุธและทำให้คำเบิกความของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง

 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  4562/2553

พนักงานอัยการจังหวัดกำแพงเพชร      โจทก์

          คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสามกับพวกร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย หลังเกิดเหตุผู้เสียหายไปแจ้งความและพาเจ้าพนักงานตำรวจไปจับ อ. และ ว. ได้ที่บ้านเกิดเหตุ อ. และ ว. ให้การรับสารภาพตรงกันกับที่ผู้เสียหายแจ้งความว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายด้วย จำเลยที่ 1 และที่ 3 ให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนและจำเลยที่ 3 ยังให้การต่ออีกว่า จำเลยที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย ซึ่งคำให้การของจำเลยที่ 3 ไม่ได้มีลักษณะปัดความรับผิดให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 อันอาจทำให้น่าระแวงสงสัยแต่อย่างใด คำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ยังมีรายละเอียดสอดคล้องรับกับคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหาย ส่วนจำเลยที่ 2 เองแม้จะให้การปฏิเสธ แต่ก็ยอมรับว่าพวกของจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายซึ่งรับกันกับคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายเช่นเดียวกัน ดังนั้น แม้คำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายและของจำเลยที่ 1 และที่ 3 จะเป็นพยานบอกเล่า แต่ตามสภาพลักษณะแหล่งที่มาและข้อเท็จจริงแวดล้อมข้างต้น เมื่อรับฟังประกอบกันแล้วมีเหตุผลเชื่อมโยงสนับสนุนกันเป็นลำดับ จึงเป็นพยานหลักฐานที่รับฟังได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 และน่าเชื่อว่าเป็นความจริง

          ส่วนที่ผู้เสียหายเบิกความว่า เหตุที่ไปแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่าเป็นเพราะความโกรธนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายเคยกล่าวอ้างถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวมาก่อน ทั้งยังไปเบิกความในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2519/2546 ยืนยันว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกับพวกข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย การที่ผู้เสียหายเพิ่งยกเรื่องที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้ร่วมกระทำความผิด น่าเชื่อว่าสืบเนื่องมาจากผู้เสียหายได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากมารดาจำเลยที่ 1 และจากบิดาจำเลยที่ 2 จนเป็นที่พอใจแล้ว ข้ออ้างดังกล่าวของผู้เสียหายจึงส่อพิรุธ

          ส่วนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อ้างว่า บันทึกคำให้การของ อ. และ ว. ที่ถูกฟ้องไปก่อนในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2519/2546 เป็นพยานบอกเล่าซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีโอกาสถามค้านนั้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 สามารถอ้างและนำสืบ อ. และ ว. เป็นพยานของตนได้ ข้ออ้างของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่มีเหตุผลให้รับฟัง

คดีนี้ เดิมศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษารวมกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 591/2547 แต่คดีดังกล่าวยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 คงขึ้นมาสู่ศาลฎีกาเฉพาะคดีนี้

          โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58, 83, 276 บวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4502/2545 ของศาลชั้นต้น เข้ากับโทษของจำเลยที่ 3

          จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การปฏิเสธ ส่วนจำเลยที่ 3 ให้การรับสารภาพและรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้บวกโทษ

          ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสามมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคสอง ประกอบมาตรา 83 ขณะกระทำความผิด จำเลยที่ 3 อายุ 17 ปีเศษ ไม่เกิน 20 ปี ลดมาตราส่วนโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 ให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีกำหนดคนละ 16 ปี จำคุกจำเลยที่ 3 มีกำหนด 10 ปี 8 เดือน คำให้การชั้นจับกุม ชั้นสอบสวน และข้อนำสืบชั้นพิจารณาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 3 เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา นับเป็นเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 คนละหนึ่งในสาม และลดโทษให้จำเลยที่ 3 กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีกำหนดคนละ 10 ปี 8 เดือน และจำคุกจำเลยที่ 3 มีกำหนด 5 ปี 4 เดือน บวกโทษจำคุก 3 เดือน ที่รอการลงโทษไว้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4502/2545 ของศาลชั้นต้น เข้ากับโทษของจำเลยที่ 3 เป็นจำคุกจำเลยที่ 3 มีกำหนด 5 ปี 7 เดือน

          จำเลยที่ 1 และที่ 2 อุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน

          จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกา
          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 3 นายสิทธิรัตน์ พลทหารอภิชลและนายวีระบุตรหรือไม่ เห็นว่า ผู้เสียหายเบิกความในทำนองว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด แต่ปรากฏว่าหลังเกิดเหตุผู้เสียหายไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่า ถูกชายประมาณหกคนข่มขืนกระทำชำเราอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง และผู้เสียหายได้พาเจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุมพลทหารอภิชลและนายวีระบุตรได้ที่บ้านที่เกิดเหตุในคืนนั้นซึ่งพันตำรวจตรีสุทินพนักงานสอบสวนพยานโจทก์ก็เบิกความยืนยันในข้อนี้ และเมื่อพันตำรวจตรีสุทินสอบปากคำพลทหารอภิชลและนายวีระบุตร โดยแจ้งข้อหาว่าร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายซึ่งมิใช่ภริยาของตนอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง พลทหารอภิชลและนายวีระบุตรให้การรับสารภาพตามบันทึกคำให้การคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2519/2546 ของศาลชั้นต้นซึ่งตรงกันกับที่ผู้เสียหายไปแจ้งความ และนายวีระบุตรยังให้การด้วยว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ร่วมข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายด้วย ในชั้นสอบสวนผู้เสียหายก็ให้การถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นต่อพันตำรวจตรีสุทินตามบันทึกคำให้การคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2519/2546 ของศาลชั้นต้นว่า ขณะผู้เสียหายเดินไปที่ประตูหน้าบ้านที่เกิดเหตุ จำเลยที่ 1 ใช้มือปิดปาก กอดเอวและพาผู้เสียหายเข้าไปในห้องนอน จากนั้นผลักผู้เสียหายนอนลงและใช้มือตบหน้าพร้อมข่มขู่ไม่ให้ดิ้น ช่วงนั้นมีคนเข้าช่วยจับมือและถอดกางเกงผู้เสียหาย แล้วจำเลยที่ 1 ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายเป็นคนแรก หลังจากนั้นนายสิทธิรัตน์ พลทหารอภิชล จำเลยที่ 3 จำเลยที่ 2 และนายวีระบุตรผลัดกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย โดยนายวีระบุตรได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายในห้องน้ำ เมื่อนายวีระบุตรสำเร็จความใคร่แล้วจำเลยที่ 3 ยังเข้าไปในห้องน้ำข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งสอดคล้องกับคำให้การชั้นสอบสวนของนายวีระบุตรตามบันทึกคำให้การคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2519/2546 ของศาลชั้นต้น บันทึกคำให้การของผู้เสียหายดังกล่าวทำขึ้นหลังเกิดเหตุไม่นานนัก ในขณะที่ผู้เสียหายยังไม่ทันคิดบิดเบือนข้อเท็จจริง และข้อเท็จจริงตามคำให้การของผู้เสียหายยังเป็นเหตุให้พันตำรวจตรีสุทินดำเนินการขอออกหมายจับจำเลยทั้งสาม ต่อมาเมื่อได้ตัวจำเลยทั้งสาม จำเลยที่ 1 และที่ 3 ก็ให้การรับสารภาพต่อพันตำรวจตรีสุทินว่าได้ร่วมข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายตามบันทึกคำให้การ ซึ่งบันทึกคำให้การดังกล่าวจำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่ได้ปฏิเสธว่าไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะจำเลยที่ 3 ยังให้การอีกว่าจำเลยที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย ซึ่งคำให้การของจำเลยที่ 3 ไม่ได้มีลักษณะปัดความรับผิดให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 อันอาจทำให้น่าระแวงสงสัยแต่อย่างใด คำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ดังกล่าวมีรายละเอียดสอดคล้องรับกันกับคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหาย ทำให้บันทึกคำให้การของผู้เสียหายคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2519/2546 ของศาลชั้นต้น มีน้ำหนักให้รับฟัง ส่วนจำเลยที่ 2 เองแม้จะให้การปฏิเสธ แต่ก็ยอมรับว่าพวกของจำเลยที่ 2 ได้ร่วมข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายรับกันกับคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายเช่นเดียวกัน ดังนั้นแม้บันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายและของจำเลยที่ 1 และที่ 3 จะเป็นพยานบอกเล่า แต่ตามสภาพ ลักษณะแหล่งที่มาและข้อเท็จจริงแวดล้อมข้างต้นเมื่อรับฟังประกอบกันแล้วมีเหตุผลเชื่อมโยงสนับสนุนกันเป็นลำดับจึงเป็นพยานหลักฐานที่รับฟังได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 226/3 และน่าเชื่อว่าเป็นความจริง ที่ผู้เสียหายเบิกความในทำนองว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้ร่วมกระทำความผิดและอธิบายถึงเหตุที่ไปแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่าเป็นเพราะความโกรธนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายเคยกล่าวอ้างถึงข้อเท็จจริงและเหตุดังกล่าวมาก่อนทั้งที่มีโอกาสที่จะกระทำได้และหลังเกิดเหตุประมาณสามเดือน เมื่อผู้เสียหายไปเบิกความเป็นพยานในเรื่องเดียวกันนี้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2519/2546 ของศาลชั้นต้น ผู้เสียหายยังคงยืนยันว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกร่วมข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย การที่ผู้เสียหายเพิ่งยกเรื่องที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้ร่วมกระทำความผิดกับยกเหตุที่ไปแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่าเป็นเพราะความโกรธขึ้นกล่าวอ้างมีเหตุน่าเชื่อว่าสืบเนื่องจากผู้เสียหายได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากมารดาจำเลยที่ 1 และจากบิดาจำเลยที่ 2 จนเป็นที่พอใจแล้ว ข้อกล่าวอ้างดังกล่าวของผู้เสียหายจึงส่อพิรุธและทำให้คำเบิกความของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง ส่วนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาอ้างว่าบันทึกคำให้การของพลทหารอภิชลและนายวีระบุตรเอกสารคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2519/2546 ของศาลชั้นต้น เป็นพยานบอกเล่าซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีโอกาสถามค้านนั้น เห็นว่า หากบันทึกคำให้การของพลทหารอภิชลและนายวีระบุตรดังกล่าวไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 1 และที่ 2 สามารถอ้างและนำสืบพลทหารอภิชลและนายวีระบุตรเป็นพยานของตนได้ ข้อที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาอ้างจึงไม่มีเหตุผลให้รับฟัง พยานหลักฐานของโจทก์ฟังประกอบกันแล้วมีน้ำหนัก ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 3 นายสิทธิรัตน์ พลทหารอภิชลและนายวีระบุตร ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายซึ่งมิใช่ภริยาของตน เมื่อการข่มขืนกระทำชำเรามีลักษณะเป็นการโทรมหญิง การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคสอง (เดิม)

พิพากษายืน.

มาตรา 226/3  ข้อความซึ่งเป็นการบอกเล่าที่พยานบุคคลใดนำมาเบิกความต่อศาลหรือที่บันทึกไว้ในเอกสารหรือวัตถุอื่นใดซึ่งอ้างเป็นพยานหลักฐานต่อศาล หากนำเสนอเพื่อพิสูจน์ความจริงแห่งข้อความนั้น ให้ถือเป็นพยานบอกเล่า
ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่า เว้นแต่
(1) ตามสภาพ ลักษณะ แหล่งที่มา และข้อเท็จจริงแวดล้อมของพยานบอกเล่านั้นน่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้ หรือ
(2) มีเหตุจำเป็น เนื่องจากไม่สามารถนำบุคคลซึ่งเป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นด้วยตนเองโดยตรงมาเป็นพยานได้ และมีเหตุผลสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะรับฟังพยานบอกเล่านั้น

ในกรณีที่ศาลเห็นว่าไม่ควรรับไว้ซึ่งพยานบอกเล่าใด และคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องร้องคัดค้านก่อนที่ศาลจะดำเนินคดีต่อไป ให้ศาลจดรายงานระบุนาม หรือชนิดและลักษณะของพยานบอกเล่า เหตุผลที่ไม่ยอมรับ และข้อคัดค้านของคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องไว้ ส่วนเหตุผลที่คู่ความฝ่ายคัดค้านยกขึ้นอ้างนั้น ให้ศาลใช้ดุลพินิจจดลงไว้ในรายงานหรือกำหนดให้คู่ความฝ่ายนั้นยื่นคำแถลงต่อศาลเพื่อรวมไว้ในสำนวน





เกี่ยวกับวิธีพิจารณาความอาญา

ถ้อยคำรับสารภาพว่าตนได้กระทำความผิดห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน
ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอค่าสินไหมทดแทนตาม มาตรา 44/1
ฎีกาขอให้ลดมาตราส่วนโทษเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้าม
แก้ไขโทษของความผิดถือว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อยห้ามฎีกา
ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
อำนาจสอบสวนของกองปราบปราม
คำให้การชั้นสอบสวนแทนการสืบพยานในชั้นพิจารณา
ลดมาตราส่วนโทษในความผิดต้องห้ามฎีกา
ฟ้องไม่ครบองค์ประกอบความผิด
คำรับสารภาพมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน
อำนาจฟ้องในข้อหาความผิดตามมาตรา 157
พยานหลักฐานชนิดที่เกิดขึ้นโดยไม่ชอบ
การกระทำหลายอย่างแต่ละอย่างเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง
ฟ้องร้องคดีในลักษณะสมยอมสิทธินำคดีอาญามาฟ้องไม่ระงับ
ผู้เสียหายไม่มาเบิกความเป็นพยานในศาล
ผู้แทนโดยชอบธรรมมีผลประโยชน์ขัดกันกับผู้เสียหาย(บุตร)
ความรับผิดในทางแพ่ง-ผู้เสียหายโดยนิตินัย
การบรรยายฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด
กรณีไม่ปรากฏลายมือชื่อผู้เรียง-พิมพ์คำฟ้องโจทก์
คดีราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญายื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายค้นได้
ศาลชั้นต้นยกอายุความมายกคำร้อง ม.44/1 ไม่ชอบ
ชั้นไต่สวนมูลฟ้อง คดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา | เรียกค่าเสียหาย
นายแพทย์กระทำอนาจารคนไข้อายุกว่า 15 ปี จำคุก 3 ปี ปรับ 20,000 บาท
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลกำหนดโทษใหม่แทนการยื่นอุทธรณ์
ผู้ต้องหายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนหมายจับ ยกคำร้อง ผู้ต้องหาอุทธรณ์
โจทก์ขอให้ลงโทษตามกฎหมายเดิมซึ่งถูกยกเลิกไปแล้ว
หลอกลวงผู้เสียหายให้ขายดาวน์รถยนต์
ผู้เช่าซื้อมีอำนาจแจ้งความดำเนินคดีฐานยักยอกได้
ไม่มีเจตนาเล่นการพนันด้วยจึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย
บุคคลล้มละลายมีอำนาจฟ้องคดีอาญา
พนักงานสอบสวนมิได้ขอฝากขังต่อศาลภายในกำหนด
ไม่ได้บรรยายฟ้องว่ากระทำโดยพลาด
ฟ้องคดีสมยอมสิทธิฟ้องคดีอาญาไม่ระงับ
ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แก้ไขคำพิพากษาที่อ่านแล้ว
จำคุกไม่เกิน5ปีห้ามคู่ความฎีกาข้อเท็จจริง
ความผิดตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์
จำเลยให้การรับสารภาพแต่ศาลอุทธรณ์ศาลฎีกายกฟ้อง
ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาห้ามอุทธรณ์
การกระทำอันเป็นความผิดรวมอยู่ในฟ้อง
ฟ้องที่บรรยายไม่ครบองค์ประกอบของความผิด
พิพากษาถึงข้อเท็จจริงที่มิได้กล่าวในฟ้อง
เพื่อการอนาจารเป็นเจตนาพิเศษ | การบรรยายฟ้อง
ของกลางที่พนักงานสอบสวนยึดไว้ | คดีถึงที่สุด
ไม่สามารถนำผู้เสียหายมาเบิกความต่อศาล
คำสั่งเกี่ยวกับการปล่อยตัวชั่วคราวห้ามอุทธรณ์
มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา
อำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่มิได้อุทธรณ์-ฎีกา
ฎีกาไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์-ฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ฟ้องที่ขาดข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป
คดีขาดอายุความจึงชอบที่ศาลจะยกฟ้อง
คดีถึงที่สุดเมื่อครบกำหนดยื่นฎีกา
การพิจารณาคดีลับหลังจำเลย
ต้องห้ามฎีกาเพราะไม่ได้อุทธรณ์ไว้
ขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
แก้ไขเล็กน้อย-จำคุกไม่เกินห้าปีห้ามฎีกา
กรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
เป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรม
โจทก์ฟ้องผิดวันจำเลยหลงต่อสู้
โต้แย้งดุลพิจนิจในการรับฟังพยานหลักฐาน