ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ฟ้องคดีสมยอมสิทธิฟ้องคดีอาญาไม่ระงับ

ทนายความ ฟ้องหย่า lawyer

ฟ้องคดีสมยอมสิทธิฟ้องคดีอาญาไม่ระงับ

สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจะระงับไปเมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง และจะต้องปรากฏว่าคดีก่อนจำเลยถูกฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างแท้จริง ไม่เป็นการฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างสมอยอมกัน มิฉะนั้นถือไม่ได้ว่าจำเลยเคยถูกฟ้องและศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดอันจะมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดกรรมนั้นระงับไปไม่
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6446/2547

 พนักงานอัยการจังหวัดศรีสะเกษ      โจทก์
 
  หลักการของ ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) ที่บัญญัติให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปเมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง อันเป็นหลักการห้ามดำเนินคดีซ้ำสองแก่จำเลยนั้น จะต้องปรากฏว่าคดีก่อนเป็นกรณีที่จำเลยถูกฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างแท้จริงหากปรากฏว่าคดีก่อนเป็นการฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างสมอยอมกัน แม้ว่าจะเป็นการกระทำกรรมเดียวกันก็ถือไม่ได้ว่าการกระทำกรรมนั้นจำเลยเคยถูกฟ้องและศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดอันจะมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดกรรมนั้นระงับไปไม่

  โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 8 ทวิ, 72, 72 ทวิ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 288, 371

          จำเลยให้การปฏิเสธ

 ระหว่างพิจารณา จำเลยยื่นคำร้องว่าจำเลยเคยถูกนางเพชร ชัยพิพัฒน์ ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นมารดาผู้ตายฟ้องในความผิดฐานฆ่าผู้ตายและศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องปรากฏตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3239/2543 ของศาลชั้นต้น โจทก์แถลงว่าจำเลยได้หลบหนีหมายจับของพนักงานสอบสวน ต่อมาหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้องในคดีดังกล่าว จำเลยจึงเข้ามอบตัวและคดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องนั้นล่วงเลยกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว

          ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นซึ่งผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยไปแล้ว จึงทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในข้อหานี้ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (4)

          โจทก์อุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและพิพากษาใหม่ต่อไปตามรูปคดี

          จำเลยฎีกา

 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงได้ความจากสำเนาคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3239/2543 ของศาลชั้นต้นและในคดีนี้ว่า เหตคดีนี้เกิดเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2541 เวลากลางคืนก่อนเที่ยง นางเพชร ชัยพิพัฒน์ ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นมารดาของนายไกรธวัช พุฒิชาติ ผู้ตาย ได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ให้ดำเนินคดีแก่จำเลย ภายหลังเกิดเหตุจำเลยได้หลบหนีการจับกุมพนักงานสอบสวนได้ออกหมายจับไว้ ต่อมาเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2543 นางเพชรผู้เสียหายได้ฟ้องจำเลยในข้อหาฆ่าผู้อื่นต่อศาลชั้นต้นด้วยตัวเองโดยมิได้ประสานงานให้พนักงานอัยการโจทก์ทราบ ในการดำเนินคดี นางเพชรซึ่งเป็นโจทก์ได้นำพยานเข้าสืบในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเพียง 2 ปาก คือนางเพชรเองซึ่งมิได้รู้เห็นในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและนายศรีเมือง สุจินพรหม ผู้ซึ่งอ้างว่ารู้เห็นเหตุการณ์คดีนี้โดยเห็นคนร้ายเป็นชายทางด้านหลังและด้านข้างใช้อาวุธปืนยิงนายไกรธวัชผู้ตายและยืนยันด้วยว่ามิใช่จำเลยนี้ในที่สุดศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาให้ยกฟ้องเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2543 ต่อมาเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2543 พ้นกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์แล้ว โดยนางเพชรก็มิได้ยื่นอุทธรณ์ จำเลยได้เข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองศรีสะเกษและให้การปฏิเสธ นอกจากนี้จำเลยยังยื่นคำร้องต่อโจทก์เพื่อขอความเป็นธรรมว่า ผู้เสียหายได้ฟ้องจำเลยในข้อหาว่าฆ่าผู้อื่นโดยเจตนามาแล้ว ชั้นที่สุดศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุดอันทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (4) คดีจึงมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปแล้วหรือไม่ เห็นว่า หลักการของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (4) ที่บัญญัติให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปเมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง อันเป็นหลักการห้ามดำเนินคดีซ้ำสองแก่จำเลยนั้น จะต้องปรากฏว่าคดีก่อนเป็นกรณีที่จำเลยถูกฟ้องดำเนินคดีอย่างแท้จริง หากปรากฏว่าคดีก่อนเป็นการฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างสมยอมกัน แม้ว่าจะเป็นการกระทำกรรมเดียวกันก็ถือไม่ได้ว่าการกระทำกรรมนั้นจำเลยเคยถูกฟ้องและศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดอันจะมีผลทำให้สิทธินำคดีมาฟ้องในความผิดกรรมนั้นระงับไปไม่ คดีนี้ข้อเท็จจริงได้ความว่าคดีก่อนคือคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3239/2543 ของศาลชั้นต้น ซึ่งนางเพชรเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นกรรมเดียวกันกับคดีนี้มีพฤติการณ์บ่งชี้ว่านางเพชรโจทก์ในคดีนั้นจะดำเนินคดีโดยสมยอมโดยไม่สุจริต เนื่องจากขณะเกิดเหตุมีผู้พบเห็นจำเลยเป็นคนร้ายที่ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายจนได้มีการระบุชื่อจำเลยเป็นผู้ทำให้ตายไว้ในรายงานการชันสูตรพลิกศพท้ายฟ้อง หลังเกิดเหตุนางเพชรผู้เสียหายซึ่งเป็นมารดาของผู้ตายได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนและได้มีการออกหมายจับจำเลยไว้แต่จำเลยหลบหนีการจับกุม คดีอยู่ระหว่างการดำเนินการของเจ้าพนักงานตำรวจ นางเพชรผู้เสียหายได้ฟ้องจำเลยในข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3239/2543 ของศาลชั้นต้น และยังปรากฏด้วยว่าในการดำเนินคดีดังกล่าวทนายโจทก์เพียงแต่นำนางเพชรมารดาผู้เสียหายซึ่งไม่เห็นเหตุการณ์ในขณะเกิดเหตุและนายศรีเมือง สุจินพรหม ผู้ซึ่งอ้างว่าเห็นเหตุการณ์แต่กลับเบิกความเป็นปฏิปักษ์ต่อคดีเข้าเบิกความต่อศาลในชั้นไต่สวนมูลฟ้องอันเป็นเหตุให้ศาลพิพากษายกฟ้องคดีนั้นเพราะเห็นว่าคดีไม่มีมูล และนางเพชรโจทก์คดีนั้นก็ไม่ยื่นอุทธรณ์เช่นนี้ ย่อมส่อแสดงว่าคดีก่อนนางเพชรผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์ในคดีนั้นได้ฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยในลักษณะสมยอมกัน เป็นการดำเนินคดีโดยไม่สุจริตเพื่อหวังผลเพียงต้องการตัดสิทธิพนักงานอัยการโจทก์คดีนี้มิให้มีสิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยซ้ำสองได้อีกเท่านั้น ย่อมถือไม่ได้ว่าคดีก่อนได้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยอย่างแท้จริง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในคดีนี้หาได้ระงับไปไม่ ดังนั้น พนักงานอัยการโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษามานั้นศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น”

          พิพากษายืน

มาตรา 39 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปดั่งต่อไปนี้
(1) โดยความตายของผู้กระทำผิด
(2) ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์ถอนฟ้อง หรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย
(3) เมื่อคดีเลิกกันตาม มาตรา 37
(4) เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง
(5) เมื่อมีกฎหมายออกใช้ภายหลังการกระทำผิดยกเลิกความผิด เช่นนั้น
(6) เมื่อคดีขาดอายุความ
(7) เมื่อมีกฎหมายยกเว้นโทษ
  




เกี่ยวกับวิธีพิจารณาความอาญา

ถ้อยคำรับสารภาพว่าตนได้กระทำความผิดห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน
ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอค่าสินไหมทดแทนตาม มาตรา 44/1
ฎีกาขอให้ลดมาตราส่วนโทษเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้าม
แก้ไขโทษของความผิดถือว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อยห้ามฎีกา
ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
อำนาจสอบสวนของกองปราบปราม
คำให้การชั้นสอบสวนแทนการสืบพยานในชั้นพิจารณา
ลดมาตราส่วนโทษในความผิดต้องห้ามฎีกา
ฟ้องไม่ครบองค์ประกอบความผิด
คำรับสารภาพมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน
อำนาจฟ้องในข้อหาความผิดตามมาตรา 157
พยานหลักฐานชนิดที่เกิดขึ้นโดยไม่ชอบ
การกระทำหลายอย่างแต่ละอย่างเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง
ฟ้องร้องคดีในลักษณะสมยอมสิทธินำคดีอาญามาฟ้องไม่ระงับ
ผู้เสียหายไม่มาเบิกความเป็นพยานในศาล
ผู้แทนโดยชอบธรรมมีผลประโยชน์ขัดกันกับผู้เสียหาย(บุตร)
ความรับผิดในทางแพ่ง-ผู้เสียหายโดยนิตินัย
การบรรยายฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด
กรณีไม่ปรากฏลายมือชื่อผู้เรียง-พิมพ์คำฟ้องโจทก์
คดีราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญายื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายค้นได้
ศาลชั้นต้นยกอายุความมายกคำร้อง ม.44/1 ไม่ชอบ
ชั้นไต่สวนมูลฟ้อง คดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา | เรียกค่าเสียหาย
นายแพทย์กระทำอนาจารคนไข้อายุกว่า 15 ปี จำคุก 3 ปี ปรับ 20,000 บาท
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลกำหนดโทษใหม่แทนการยื่นอุทธรณ์
ผู้ต้องหายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนหมายจับ ยกคำร้อง ผู้ต้องหาอุทธรณ์
โจทก์ขอให้ลงโทษตามกฎหมายเดิมซึ่งถูกยกเลิกไปแล้ว
หลอกลวงผู้เสียหายให้ขายดาวน์รถยนต์
ผู้เช่าซื้อมีอำนาจแจ้งความดำเนินคดีฐานยักยอกได้
ไม่มีเจตนาเล่นการพนันด้วยจึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย
บุคคลล้มละลายมีอำนาจฟ้องคดีอาญา
พนักงานสอบสวนมิได้ขอฝากขังต่อศาลภายในกำหนด
ไม่ได้บรรยายฟ้องว่ากระทำโดยพลาด
ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แก้ไขคำพิพากษาที่อ่านแล้ว
จำคุกไม่เกิน5ปีห้ามคู่ความฎีกาข้อเท็จจริง
ความผิดตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์
จำเลยให้การรับสารภาพแต่ศาลอุทธรณ์ศาลฎีกายกฟ้อง
ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาห้ามอุทธรณ์
การกระทำอันเป็นความผิดรวมอยู่ในฟ้อง
ฟ้องที่บรรยายไม่ครบองค์ประกอบของความผิด
พิพากษาถึงข้อเท็จจริงที่มิได้กล่าวในฟ้อง
เพื่อการอนาจารเป็นเจตนาพิเศษ | การบรรยายฟ้อง
ของกลางที่พนักงานสอบสวนยึดไว้ | คดีถึงที่สุด
ไม่สามารถนำผู้เสียหายมาเบิกความต่อศาล
ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่า
คำสั่งเกี่ยวกับการปล่อยตัวชั่วคราวห้ามอุทธรณ์
มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา
อำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่มิได้อุทธรณ์-ฎีกา
ฎีกาไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์-ฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ฟ้องที่ขาดข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป
คดีขาดอายุความจึงชอบที่ศาลจะยกฟ้อง
คดีถึงที่สุดเมื่อครบกำหนดยื่นฎีกา
การพิจารณาคดีลับหลังจำเลย
ต้องห้ามฎีกาเพราะไม่ได้อุทธรณ์ไว้
ขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
แก้ไขเล็กน้อย-จำคุกไม่เกินห้าปีห้ามฎีกา
กรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
เป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรม
โจทก์ฟ้องผิดวันจำเลยหลงต่อสู้
โต้แย้งดุลพิจนิจในการรับฟังพยานหลักฐาน