ReadyPlanet.com
dot
สำนักงานทนายความ
dot
bulletทนายความฟ้องหย่า
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
dot
พระราชบัญญัติ
dot
bulletพระราชบัญญัติ
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
dot
บทความเฉพาะเรื่อง
dot
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletสัญญายอมความ
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
dot
ลิงค์ต่าง ๆ
dot
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletคำพิพากษาศาลฎีกา
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletอำนาจปกครองบุตร




ฟ้องที่บรรยายไม่ครบองค์ประกอบของความผิด

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3)  @peesirilaw  หรือ (4) peesirilaw   (5)   leenont

-Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย  QR CODE

QR CODE 

ฟ้องที่บรรยายไม่ครบองค์ประกอบของความผิด

 บรรยายฟ้องว่า จำเลยเบิกความอันเป็นเท็จโดยว่าจำเลยได้เบิกความในคดีหมายเลขใด ใครโจทก์ -จำเลย ความจริงเป็นอย่างไร แม้จะเข้าใจได้ว่าคดีที่เบิกความเป็นการพิจารณาคดีอาญา และข้อความที่เบิกความเป็นข้อสำคัญในคดี แต่มิได้กล่าวมาในฟ้องว่าคดีอาญานั้นมีข้อหาความผิดตามกฎหมายใด ประเด็นข้อสำคัญในคดีมีว่าอย่างใด และคำเบิกความของจำเลยเป็นข้อสำคัญอย่างไร จึงถือว่าฟ้องโจทก์มิได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดมาโดยครบถ้วนไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) และยังเป็นฟ้องที่บรรยายไม่ครบองค์ประกอบของความผิด

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่  274/2546

          โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเบิกความอันเป็นเท็จต่อศาลแขวงพระนครเหนือ โดยเพียงแต่กล่าวว่าจำเลยได้เบิกความในคดีหมายเลขใด ระหว่างผู้ใดโจทก์ ผู้ใดจำเลย และข้อความที่เบิกความกับว่าความจริงเป็นอย่างไร ซึ่งแม้จะเข้าใจได้ว่าคดีที่เบิกความเป็นการพิจารณาคดีอาญา และโจทก์ได้กล่าวมาในฟ้องว่าข้อความที่เบิกความเป็นข้อสำคัญในคดี แต่เมื่อโจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้องว่าคดีอาญานั้นมีข้อหาความผิดตามบทกฎหมายใด ประเด็นอันเป็นข้อสำคัญในคดีมีว่าอย่างใด และคำเบิกความของจำเลยเป็นข้อสำคัญอย่างไร จึงถือว่าฟ้องโจทก์มิได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดมาโดยครบถ้วนไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) และยังเป็นฟ้องที่บรรยายไม่ครบองค์ประกอบของความผิดตามบทมาตราในกฎหมายที่ขอให้ลงโทษจำเลยด้วย ศาลจึงพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ กรณีมิใช่เรื่องฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมายซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลที่จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องตามมาตรา 161 ได้


          โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2541 เวลากลางวันจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันเบิกความอันเป็นเท็จต่อศาลแขวงพระนครเหนือในคดีหมายเลขดำที่ 461/2540 (คดีแดงที่ 442/2542) ระหว่างพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด กองคดีแขวงพระนครเหนือโจทก์ นายสมบูรณ์  กับทนายความ 2 คน จำเลยว่า "เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม2540 เวลาประมาณ 18 นาฬิกา โจทก์ได้พูดใส่ความจำเลยที่ 1 ต่อหน้าจำเลยที่ 2 ว่าจำเลยที่ 1 โกงเงินโจทก์ไป..." ซึ่งเป็นการเบิกความเท็จในข้อสำคัญแห่งคดี โดยความจริงแล้ววันเวลาดังกล่าวโจทก์ไปพบจำเลยที่ 1 ก็เพื่อทวงเงินค่าจ้างที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระโจทก์เป็นเงินจำนวน 170,000 บาท เมื่อไม่พบจำเลยที่ 1 ก็ได้พูดกับจำเลยที่ 2 ให้ช่วยบอกจำเลยที่ 1 ว่าให้จำเลยที่ 1 เตรียมเงินจำนวนดังกล่าวไว้ด้วยเดี๋ยวจะมาเอา การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83, 178 วรรคสอง (ที่ถูกมาตรา 177 วรรคสอง)

          ศาลชั้นต้นพิจารณาคำฟ้องแล้ว เห็นว่า คดีพอวินิจฉัยได้แล้ว จึงให้งดไต่สวนมูลฟ้อง แล้วพิพากษายกฟ้อง

          โจทก์อุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

          โจทก์ฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์มีว่า ฟ้องโจทก์ในข้อหาเบิกความเท็จเป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)และศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องได้หรือไม่ เห็นว่า โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันเบิกความอันเป็นเท็จต่อศาลแขวงพระนครเหนือ ในคดีหมายเลขดำที่ 461/2540 (คดีแดงที่ 442/2542) ระหว่าง พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด กองคดีแขวงพระนครเหนือ โจทก์ นายสมบูรณ์ กับทนายความ 2 คน จำเลย ว่า "เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2540 เวลาประมาณ 18 นาฬิกาโจทก์ได้พูดใส่ความจำเลยที่ 1 ต่อหน้าจำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 1 โกงเงินโจทก์ไป..."ซึ่งเป็นการเบิกความเท็จในข้อสำคัญแห่งคดี ตามคำบรรยายฟ้องโจทก์ดังกล่าว เพียงแต่กล่าวว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันเบิกความในคดีหมายเลขใด ระหว่างผู้ใดโจทก์ผู้ใดจำเลยและข้อความที่จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันเบิกความกับว่าความจริงเป็นอย่างไร ซึ่งแม้จะเข้าใจได้ว่าคดีที่จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันเบิกความได้กระทำในการพิจารณาคดีอาญา และโจทก์ได้กล่าวมาในฟ้องว่าข้อความที่จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันเบิกความเป็นข้อสำคัญในคดีก็ตามแต่เมื่อโจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้องว่า คดีอาญาที่จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันเบิกความนั้นมีข้อหาความผิดตามบทกฎหมายใด ประเด็นอันเป็นข้อสำคัญในคดีมีว่าอย่างใด และคำเบิกความของจำเลยทั้งสองเป็นข้อสำคัญอย่างไร จึงถือว่าฟ้องโจทก์มิได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำผิดมาโดยครบถ้วนไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) และยังเป็นฟ้องที่บรรยายไม่ครบองค์ประกอบของความผิดตามบทมาตราในกฎหมายที่ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองด้วย จึงชอบที่ศาลจะพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ กรณีมิใช่เรื่องฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมายซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลที่จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 161 ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์มานั้น ชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น"


          พิพากษายืน

( สมชาย พงษธา - ธีระวัฒน์ ภัทรานวัช - สบโชค สุขารมณ์ )

มาตรา 158 ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือ และมี

 

(1) ชื่อศาลและวันเดือนปี

(2) คดีระหว่างผู้ใดโจทก์ ผู้ใดจำเลย และฐานความผิด

(3) ตำแหน่งพนักงานอัยการผู้เป็นโจทก์ ถ้าราษฎรเป็นโจทก์ ให้ใส่ชื่อตัว นามสกุล อายุ ที่อยู่ ชาติและบังคับ

(4) ชื่อตัว นามสกุล ที่อยู่ ชาติและบังคับของจำเลย

(5) การกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริง และรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลย เข้าใจข้อหาได้ดี

ในคดีหมิ่นประมาท ถ้อยคำพูด หนังสือ ภาพขีดเขียนหรือสิ่งอื่น อันเกี่ยวกับข้อหมิ่นประมาท ให้กล่าวไว้โดยบริบูรณ์หรือติดมาท้ายฟ้อง

(6) อ้าง มาตรา กฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็น ความผิด

(7) ลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง

ปรึกษากฎหมาย  ปรึกษาทนายความลีนนท์ 085 9604258  

 




เกี่ยวกับวิธีพิจารณาความอาญา

กรณีไม่ปรากฏลายมือชื่อผู้เรียงและผู้เขียนหรือพิมพ์คำฟ้องโจทก์
คดีราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญายื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายค้นได้
ศาลชั้นต้นยกอายุความมายกคำร้อง ม.44/1 ไม่ชอบ
ชั้นไต่สวนมูลฟ้อง คดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา | เรียกค่าเสียหาย
นายแพทย์กระทำอนาจารคนไข้อายุกว่า 15 ปี จำคุก 3 ปี ปรับ 20,000 บาท
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลกำหนดโทษใหม่แทนการยื่นอุทธรณ์
ผู้ต้องหายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนหมายจับ ยกคำร้อง ผู้ต้องหาอุทธรณ์
การนำสืบพยานเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
โจทก์ขอให้ลงโทษตามกฎหมายเดิมซึ่งถูกยกเลิกไปแล้ว
หลอกลวงผู้เสียหายให้ขายดาวน์รถยนต์
ผู้เช่าซื้อมีอำนาจแจ้งความดำเนินคดีฐานยักยอกได้
ไม่มีเจตนาเล่นการพนันด้วยจึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย
บุคคลล้มละลายมีอำนาจฟ้องคดีอาญา
พนักงานสอบสวนมิได้ขอฝากขังต่อศาลภายในกำหนด
ไม่ได้บรรยายฟ้องว่ากระทำโดยพลาด
ฟ้องคดีสมยอมสิทธิฟ้องคดีอาญาไม่ระงับ
ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แก้ไขคำพิพากษาที่อ่านแล้ว
จำคุกไม่เกิน5ปีห้ามคู่ความฎีกาข้อเท็จจริง
ความผิดตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์
จำเลยให้การรับสารภาพแต่ศาลอุทธรณ์ศาลฎีกายกฟ้อง
ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาห้ามอุทธรณ์
การกระทำอันเป็นความผิดรวมอยู่ในฟ้อง
พิพากษาถึงข้อเท็จจริงที่มิได้กล่าวในฟ้อง
เพื่อการอนาจารเป็นเจตนาพิเศษ | การบรรยายฟ้อง
ของกลางที่พนักงานสอบสวนยึดไว้ | คดีถึงที่สุด
ไม่สามารถนำผู้เสียหายมาเบิกความต่อศาลยังไม่พอฟังว่าจำเลยกระทำความผิดให้ยกฟ้อง
ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่า
คำสั่งเกี่ยวกับการปล่อยตัวชั่วคราวห้ามอุทธรณ์
มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา
อำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่มิได้อุทธรณ์-ฎีกา
ฎีกาไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์-ฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ฟ้องที่ขาดข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป
คดีขาดอายุความจึงชอบที่ศาลจะยกฟ้อง
คดีถึงที่สุดเมื่อครบกำหนดยื่นฎีกา
การพิจารณาคดีลับหลังจำเลย
ต้องห้ามฎีกาเพราะไม่ได้อุทธรณ์ไว้
ขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
แก้ไขเล็กน้อย-จำคุกไม่เกินห้าปีห้ามฎีกา
กรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
เป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรม
โจทก์ฟ้องผิดวันจำเลยหลงต่อสู้
โต้แย้งดุลพิจนิจในการรับฟังพยานหลักฐาน
ฎีกาขอให้ลดมาตราส่วนโทษเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้าม
แก้ไขโทษของความผิดถือว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อยห้ามฎีกา
ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
อำนาจสอบสวนของกองปราบปราม
คำให้การชั้นสอบสวนแทนการสืบพยานในชั้นพิจารณา
ลดมาตราส่วนโทษในความผิดต้องห้ามฎีกา
ฟ้องไม่ครบองค์ประกอบความผิด
คำรับสารภาพมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน
อำนาจฟ้องในข้อหาความผิดตามมาตรา 157
การกระทำหลายอย่างแต่ละอย่างเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง
พยานหลักฐานชนิดที่เกิดขึ้นโดยไม่ชอบ
พยานหลักฐาน
ผู้เสียหายไม่มาเบิกความเป็นพยานในศาล
ฟ้องร้องคดีในลักษณะสมยอมสิทธินำคดีอาญามาฟ้องไม่ระงับ
เบิกความอันเป็นเท็จ