ReadyPlanet.com
dot
สำนักงานทนายความ
dot
bulletทนายความฟ้องหย่า
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
dot
พระราชบัญญัติ
dot
bulletพระราชบัญญัติ
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
dot
บทความเฉพาะเรื่อง
dot
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletสัญญายอมความ
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletกรมบังคับคดี
dot
ลิงค์ต่าง ๆ
dot
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletอำนาจปกครองบุตร




พยานหลักฐานชนิดที่เกิดขึ้นโดยไม่ชอบ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3)  @peesirilaw  หรือ (4) peesirilaw   (5)   leenont

-Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย  QR CODE

QR CODE 

บันทึกการจับกุมที่จำเลยให้การรับสารภาพชั้นจับกุมไม่มีข้อความว่าผู้ถูกจับมีสิทธิจะให้การหรือไม่ให้การก็ได้ กับไม่มีข้อความว่าถ้อยคำของผู้ถูกจับนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้จึงไม่อาจอ้างเป็นพยานหลักฐานได้เพราะเป็นพยานหลักฐานชนิดที่เกิดขึ้นโดยไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8148/2551 

เจ้าพนักงานตำรวจเป็นผู้จับจำเลยมิใช่ราษฎรเป็นผู้จับจึงไม่มีกรณีที่จะต้องแจ้งสิทธิตาม ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคหนึ่ง แต่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับต้องแจ้งสิทธิตาม ป.วิ.อ. มาตรา 83 วรรคสอง เมื่อบันทึกการจับกุมมีข้อความว่าจำเลยให้การรับสารภาพ จึงต้องห้ามมิให้นำคำรับสารภาพในชั้นจับกุมของผู้ถูกจับมารับฟังเป็นพยานหลักฐานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคสี่ และเมื่อบันทึกการจับกุมไม่มีข้อความใดที่บันทึกการแจ้งสิทธิแก่จำเลยผู้ถูกจับตามที่ ป.วิ.อ. มาตรา 83 วรรคสอง บัญญัติเลย ทั้งพยานโจทก์ที่ร่วมจับกุมก็ไม่ได้เบิกความถึงเรื่องการแจ้งสิทธิแต่อย่างใด แม้โจทก์จะส่งบันทึกการแจ้งสิทธิผู้ถูกจับมาพร้อมกับบันทึกการจับกุมในชั้นพิจารณาสืบพยานโจทก์ แต่บันทึกการแจ้งสิทธิผู้ถูกจับดังกล่าวมีลักษณะเป็นแบบพิมพ์เติมข้อความในช่องว่างด้วยน้ำหมึกเขียนโดยเจ้าพนักงานตำรวจผู้บันทึกเป็นคนละคนกับที่เขียนบันทึกการจับกุม ทั้งใช้ปากกาคนละด้ามและไม่มีข้อความว่าผู้ถูกจับมีสิทธิจะให้การหรือไม่ให้การก็ได้ กับไม่มีข้อความว่าถ้อยคำของผู้ถูกจับนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้แต่อย่างใด แม้จะมีข้อความแจ้งสิทธิเรื่องทนายความก็เป็นการแจ้งสิทธิไม่ครบถ้วนตามที่ ป.วิ.อ. มาตรา 83 วรรคสองบัญญัติ ฉะนั้นถ้อยคำอื่นของจำเลยตามบันทึกการจับกุมจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของจำเลยหาได้ไม่เช่นกัน ดังนั้น บันทึกการจับกุมจึงไม่อาจอ้างเป็นพยานหลักฐานได้เพราะเป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยไม่ชอบ ทั้งนี้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 4, 7, 8, 15, 66, 67, 102 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ริบเมทแอมเฟตามีนและรถจักรยานยนต์ของกลาง

จำเลยให้การปฏิเสธ

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 15 วรรคสาม (2), 66 วรรคสอง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ขณะกระทำความผิดจำเลยมีอายุ 15 ปีเศษ จึงลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 75 จำคุก 2 ปี และปรับ 200,000 บาท จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 1 ปี และปรับ 100,000 บาท อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 104 (2) ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนเขต 6 จังหวัดนครสวรรค์ มีกำหนด 1 ปี ไม่ชำระค่าปรับให้ส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนเขต 6 จังหวัดนครสวรรค์ มีกำหนดไม่เกิน 1 ปี ริบของกลาง

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 1 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง ส่วนเมทแอมเฟตามีนของกลางให้ริบ

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ประการแรกว่า บันทึกการจับกุมที่จำเลยให้การรับสารภาพชั้นจับกุมรวมทั้งถ้อยคำอื่นในบันทึกการจับกุมนั้นจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 84 วรรคสี่ บัญญัติว่า ถ้อยคำใด ๆ ที่ผู้ถูกจับให้ไว้ต่อเจ้าพนักงานผู้จับ... ถ้าถ้อยคำนั้นเป็นคำรับสารภาพของผู้ถูกจับว่าตนได้กระทำความผิดห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน แต่ถ้าเป็นถ้อยคำอื่น จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับได้ต่อเมื่อได้มีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่งหรือตามมาตรา 83 วรรคสอง แก่ผู้ถูกจับ แล้วแต่กรณี คดีนี้เจ้าพนักงานตำรวจเป็นผู้จับจำเลยมิใช่ราษฎรเป็นผู้จับจึงไม่มีกรณีที่จะต้องแจ้งสิทธิตามมาตรา 84 วรรคหนึ่ง แต่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับต้องแจ้งสิทธิตามมาตรา 83 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับต้องแจ้งแก่ผู้ถูกจับว่าผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะไม่ให้การหรือให้การก็ได้และถ้อยคำของผู้ถูกจับนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้และผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความ หรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความ ในการนี้ให้เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับนั้นบันทึกการจับดังกล่าว ศาลฎีกาตรวจดูบันทึกการจับกุมแล้ว ปรากฏว่าเป็นลายมือเขียนด้วยน้ำหมึกมีข้อความว่าจำเลยให้การรับสารภาพ จึงต้องห้ามมิให้นำคำรับสารภาพในชั้นจับกุมของผู้ถูกจับมารับฟังเป็นพยานหลักฐานตามมาตรา 84 วรรคสี่ และบันทึกการจับกุมไม่มีข้อความใดที่บันทึกการแจ้งสิทธิแก่จำเลยผู้ถูกจับตามที่มาตรา 83 วรรคสอง บัญญัติเลย พยานโจทก์ที่ร่วมจับกุมก็ไม่ได้เบิกความถึงเรื่องการแจ้งสิทธิแต่อย่างใด แม้โจทก์จะส่งบันทึกการแจ้งสิทธิผู้ถูกจับมาพร้อมกับบันทึกการจับกุมในชั้นพิจารณาสืบพยานโจทก์ แต่บันทึกการแจ้งสิทธิผู้ถูกจับดังกล่าวมีลักษณะเป็นแบบพิมพ์เติมข้อความในช่องว่างด้วยน้ำหมึกเขียนโดยเจ้าพนักงานตำรวจผู้บันทึกเป็นคนละคนกับที่เขียนบันทึกการจับกุม ทั้งใช้ปากกาคนละด้ามและไม่มีข้อความว่าผู้ถูกจับมีสิทธิจะให้การหรือไม่ให้การก็ได้ กับไม่มีข้อความว่าถ้อยคำของผู้ถูกจับนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้แต่อย่างใด แม้จะมีข้อความแจ้งสิทธิเรื่องทนายความก็เป็นการแจ้งสิทธิไม่ครบถ้วนตามที่มาตรา 83 วรรคสอง บัญญัติ ฉะนั้นถ้อยคำอื่นของจำเลยตามบันทึกการจับกุมจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของจำเลยหาได้ไม่เช่นกัน ดังนั้น บันทึกการจับกุมจึงไม่อาจอ้างเป็นพยานหลักฐานได้เพราะเป็นพยานหลักฐานชนิดที่เกิดขึ้นโดยไม่ชอบ ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน.

( กีรติ กาญจนรินทร์ - ม.ล.ฤทธิเทพ เทวกุล - พินิจ สายสอาด )
ศาลจังหวัดอ่างทองแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว - นายภราดร อาสาสรรพกิจ
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 - นายวัชรินทร์ ปัจเจกวิญญูสกุล

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

 มาตรา 83 ในการจับนั้น เจ้าพนักงานหรือราษฎรซึ่งทำการจับต้องแจ้งแก่ผู้ที่จะถูกจับนั้นว่าเขาต้องถูกจับ แล้วสั่งให้ผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ถูกจับพร้อมด้วยผู้จับ เว้นแต่สามารถนำไปที่ทำการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบได้ในขณะนั้น ให้นำไปที่ทำการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบดังกล่าว แต่ถ้าจำเป็นก็ให้จับตัวไป
ในกรณีที่เจ้าพนักงานเป็นผู้จับ ต้องแจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกจับทราบ หากมีหมายจับให้แสดงต่อผู้ถูกจับ พร้อมทั้งแจ้งด้วยว่า ผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะไม่ให้การหรือให้การก็ได้และถ้อยคำของผู้ถูกจับนั้น อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้ และผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความ หรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความ ถ้าผู้ถูกจับประสงค์จะแจ้งให้ญาติหรือ ผู้ซึ่งตนไว้วางใจทราบถึงการจับกุมที่สามารถดำเนินการได้ โดยสะดวกและไม่เป็นการขัดขวางการจับหรือการควบคุมผู้ถูกจับ หรือทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด ก็ให้เจ้าพนักงานอนุญาตให้ผู้ถูกจับดำเนินการได้ตามสมควรแก่กรณี ในการนี้ให้เจ้าพนักงานผู้จับนั้นบันทึกการจับดังกล่าวไว้ด้วย
ถ้าบุคคลซึ่งจะถูกจับขัดขวางหรือจะขัดขวางการจับ หรือหลบหนีหรือพยายามจะหลบหนี ผู้ทำการจับมีอำนาจใช้วิธีหรือการป้องกันทั้งหลายเท่า ที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งเรื่องในการจับนั้น

 มาตรา 84 เจ้าพนักงานหรือ ราษฎรผู้ทำการจับต้องเอาตัวผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนตาม มาตรา 83 โดยทันทีและเมื่อถึงที่นั้นแล้ว ให้ส่งตัวผู้ถูกจับแก่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจของที่ทำการของพนักงานสอบสวนดังกล่าว เพื่อดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่เจ้าพนักงานเป็นผู้จับให้เจ้าพนักงานผู้จับนั้นแจ้งข้อกล่าวหา และรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุแห่งการจับให้ผู้ถูกจับทราบ ถ้ามีหมายจับให้แจ้งให้ผู้ถูกจับทราบและอ่านให้ฟัง และมอบสำเนาบันทึกการจับแก่ผู้ถูกจับนั้น
(2) ในกรณีที่ราษฎรเป็นผู้จับ ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจซึ่งรับมอบตัวบันทึกชื่อ อาชีพ ที่อยู่ของผู้จับ อีกทั้งข้อความและพฤติการณ์แห่งการจับนั้นไว้ และให้ผู้จับลงลายมือชื่อ กำกับไว้เป็นสำคัญเพื่อดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหาและรายละเอียดแห่งการจับให้ผู้ถูกจับทราบ และแจ้งให้ผู้ถูกจับทราบด้วยว่าผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะไม่ให้การหรือให้การก็ได้ และถ้อยคำของผู้ถูกจับอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้

เมื่อได้ดำเนินการ ตามวรรคหนึ่งแล้วให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ซึ่งมีผู้นำผู้ถูกจับมาส่งแจ้งให้ผู้ถูกจับทราบถึงสิทธิตามที่กำหนดไว้ใน มาตรา 7/1 รวมทั้งจัดให้ผู้ถูกจับสามารถติดต่อกับญาติหรือผู้ซึ่งผู้ถูกจับไว้วางใจเพื่อแจ้ง ให้ทราบถึงการจับกุมและสถานที่ที่ถูกควบคุมได้ในโอกาสแรก เมื่อผู้ถูกจับมาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวนตามวรรคหนึ่ง หรือถ้ากรณีผู้ถูกจับร้องขอให้ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้แจ้ง ก็ให้จัดการตามคำร้องขอนั้นโดยเร็ว และให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจบันทึกไว้ ในการนี้มิให้เรียกค่าใช้จ่ายใดๆ จากผู้ถูกจับ

ในกรณีที่จำเป็น เจ้าพนักงานหรือราษฎรซึ่งทำการจับจะจัดการพยาบาลผู้ถูกจับเสียก่อนนำตัวไปส่งตามมาตรานี้ก็ได้

ถ้อยคำใดๆ ที่ผู้ถูกจับให้ไว้ต่อเจ้าพนักงานผู้จับ หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจในชั้นจับกุมหรือรับมอบตัวผู้ถูกจับ ถ้าถ้อยคำนั้นเป็นคำรับสารภาพของผู้ถูกจับว่าตนได้กระทำความ ผิดห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน แต่ถ้าเป็นถ้อยคำอื่น จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับได้ต่อเมื่อ ได้มีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่ง หรือตาม มาตรา 83วรรคสอง แก่ผู้ถูกจับแล้วแต่กรณี

มาตรา 226 พยานวัตถุ พยานเอกสาร หรือพยานบุคคลซึ่งน่า จะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ ให้อ้างเป็นพยานหลักฐานได้ แต่ต้องเป็นพยานชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวงหรือโดยมิชอบประการอื่นและให้สืบตามบท บัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการ สืบพยาน

 

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6442/2562

แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีอำนาจที่จะนำข้อเท็จจริงตามรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติมาประกอบดุลพินิจในการกำหนดโทษแก่จำเลย แต่ไม่อาจนำมารับฟังในฐานะพยานหลักฐานเพื่อวินิจฉัยการกระทำของจำเลยที่ถูกฟ้องด้วยไม่ โดยหากเห็นว่าการกระทำของจำเลยตามรายงานการสืบเสาะและพินิจขัดแย้งกับคำฟ้องของโจทก์และคำรับสารภาพของจำเลย ก็ชอบแต่จะให้ศาลชั้นต้นสืบพยานเพิ่มเติมให้ชัดแจ้ง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย




เกี่ยวกับวิธีพิจารณาความอาญา

กรณีไม่ปรากฏลายมือชื่อผู้เรียงและผู้เขียนหรือพิมพ์คำฟ้องโจทก์
คดีราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญายื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายค้นได้
ศาลชั้นต้นยกอายุความมายกคำร้อง ม.44/1 ไม่ชอบ
ชั้นไต่สวนมูลฟ้อง คดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา | เรียกค่าเสียหาย
นายแพทย์กระทำอนาจารคนไข้อายุกว่า 15 ปี จำคุก 3 ปี ปรับ 20,000 บาท
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลกำหนดโทษใหม่แทนการยื่นอุทธรณ์
ผู้ต้องหายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนหมายจับ ยกคำร้อง ผู้ต้องหาอุทธรณ์
การนำสืบพยานเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
โจทก์ขอให้ลงโทษตามกฎหมายเดิมซึ่งถูกยกเลิกไปแล้ว
หลอกลวงผู้เสียหายให้ขายดาวน์รถยนต์
ผู้เช่าซื้อมีอำนาจแจ้งความดำเนินคดีฐานยักยอกได้
ไม่มีเจตนาเล่นการพนันด้วยจึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย
บุคคลล้มละลายมีอำนาจฟ้องคดีอาญา
พนักงานสอบสวนมิได้ขอฝากขังต่อศาลภายในกำหนด
ไม่ได้บรรยายฟ้องว่ากระทำโดยพลาด
ฟ้องคดีสมยอมสิทธิฟ้องคดีอาญาไม่ระงับ
ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แก้ไขคำพิพากษาที่อ่านแล้ว
จำคุกไม่เกิน5ปีห้ามคู่ความฎีกาข้อเท็จจริง
ความผิดตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์
จำเลยให้การรับสารภาพแต่ศาลอุทธรณ์ศาลฎีกายกฟ้อง
ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาห้ามอุทธรณ์
การกระทำอันเป็นความผิดรวมอยู่ในฟ้อง
ฟ้องที่บรรยายไม่ครบองค์ประกอบของความผิด
พิพากษาถึงข้อเท็จจริงที่มิได้กล่าวในฟ้อง
เพื่อการอนาจารเป็นเจตนาพิเศษ | การบรรยายฟ้อง
ของกลางที่พนักงานสอบสวนยึดไว้ | คดีถึงที่สุด
ไม่สามารถนำผู้เสียหายมาเบิกความต่อศาลยังไม่พอฟังว่าจำเลยกระทำความผิดให้ยกฟ้อง
ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่า
คำสั่งเกี่ยวกับการปล่อยตัวชั่วคราวห้ามอุทธรณ์
มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา
อำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่มิได้อุทธรณ์-ฎีกา
ฎีกาไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์-ฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ฟ้องที่ขาดข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป
คดีขาดอายุความจึงชอบที่ศาลจะยกฟ้อง
คดีถึงที่สุดเมื่อครบกำหนดยื่นฎีกา
การพิจารณาคดีลับหลังจำเลย
ต้องห้ามฎีกาเพราะไม่ได้อุทธรณ์ไว้
ขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
แก้ไขเล็กน้อย-จำคุกไม่เกินห้าปีห้ามฎีกา
กรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
เป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรม
โจทก์ฟ้องผิดวันจำเลยหลงต่อสู้
โต้แย้งดุลพิจนิจในการรับฟังพยานหลักฐาน
ฎีกาขอให้ลดมาตราส่วนโทษเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้าม
แก้ไขโทษของความผิดถือว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อยห้ามฎีกา
ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
อำนาจสอบสวนของกองปราบปราม
คำให้การชั้นสอบสวนแทนการสืบพยานในชั้นพิจารณา
ลดมาตราส่วนโทษในความผิดต้องห้ามฎีกา
ฟ้องไม่ครบองค์ประกอบความผิด
คำรับสารภาพมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน
อำนาจฟ้องในข้อหาความผิดตามมาตรา 157
การกระทำหลายอย่างแต่ละอย่างเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง
พยานหลักฐาน
ผู้เสียหายไม่มาเบิกความเป็นพยานในศาล
ฟ้องร้องคดีในลักษณะสมยอมสิทธินำคดีอาญามาฟ้องไม่ระงับ
เบิกความอันเป็นเท็จ