

ไม่ได้บรรยายฟ้องว่ากระทำโดยพลาด ไม่ได้บรรยายฟ้องว่ากระทำโดยพลาด โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า มิได้บรรยายฟ้องว่าเป็นการกระทำโดยพลาดมาด้วย ถือว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องหรือไม่??? พนักงานอัยการประจำศาลจังหวัดสีคิ้ว โจทก์ การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิง ส. กระสุนปืนถูก ส. และยังพลาดไปถูก อ. ด้วยนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่า ส. และฐานพยายามฆ่า อ. โดยพลาด แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการกระทำโดยพลาดมาด้วย ก็ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง อันจะเป็นเหตุให้ศาลต้องพิพากษายกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 และการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท โจทก์ฟ้องว่า จำเลยโดยมีเจตนาฆ่า ได้ใช้อาวุธปืนลูกซองสั้นเป็นอาวุธยิงนายแสงอรุณ ไทยกลาง และเด็กชายอดิศักดิ์ โพธิกะ ผู้เสียหาย 1 นัด จำเลยได้ลงมือกระทำความผิดไปโดยตลอดแล้ว แต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล ผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตาย หลังเกิดเหตุเจ้าพนักงานยึดหมอนกระสุนปืนลูกซอง 1 หมอน ไว้เป็นของกลาง ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80, 33 และริบของกลาง จำเลยให้การปฏิเสธ จำเลยอุทธรณ์ จำเลยฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “...พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติในเบื้องต้นได้ว่า ขณะเกิดเหตุนายแสงอรุณ ไทยกลาง นายสุริยา รักท้วม พนักงานรักษาความปลอดภัยของบริษัทโกลเด้นวัลเล่ย์ จำกัด หรือโรงแรมบีบี ได้ชวนนายสมนึก ทวีกุล พนักงานในบริษัทเดียวกันไปพบจ่าสิบเอกอนุรักษ์ โพธิกะ หัวหน้าพนักงานรักษาความปลอดภัยของบริษัทดังกล่าวที่บริเวณหน้าห้องพักคนงานที่เกิดเหตุ มีนางชูศรี สุนทรารักษ์ กับเด็กชายอดิศักดิ์ โพธิกะ ภริยาและบุตรของจ่าสิบเอกอนุรักษ์นั่งอยู่ใกล้ ๆ ด้วย ได้มีการโต้เถียงกัน นายแสงอรุณผลักจ่าสิบเอกอนุรักษ์เซไปชนนายสุริยา ขณะนั้นจำเลยซึ่งเป็นยามเฝ้าวัสดุก่อสร้างของบริษัทโชคทวีวิศวกิจ จำกัด ที่รับประมูลก่อสร้างให้บริษัทโกลเด้นวัลเล่ย์ จำกัด อยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุด้วย จำเลยเดินเข้ามาและมีเสียงปืนดังขึ้น 1 นัด กระสุนปืนลูกซองถูกนายแสงอรุณที่แขนซ้าย 3 นัด ที่มือ 1 นัด กระสุนปืนฝังในและกระสุนปืนยังพลาดไปถูกเด็กชายอดิศักดิ์ที่ต้นขาซ้าย 1 นัด กระสุนปืนฝังในเช่นกัน พนักงานสอบสวนตรวจสถานที่เกิดเหตุพบหมอนกระสุนปืนลูกซอง 1 หมอน ยึดเป็นของกลางและออกหมายจับจำเลยไว้ ต่อมาวันที่ 18 สิงหาคม 2543 เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยได้ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า จำเลยเป็นคนร้ายกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ โจทก์มีนางชูศรี สุนทรารักษ์ เป็นประจักษ์พยานเบิกความว่า ตามวันเวลาเกิดเหตุพยานนั่งพันสายไฟอยู่กับเด็กชายอดิศักดิ์หน้าห้องพักในที่เกิดเหตุ ส่วนนายแสงอรุณและนายสุริยานั่งพูดคุยอยู่กับจ่าสิบเอกอนุรักษ์สามีพยาน สักครู่หนึ่งมีเสียงพูดโต้ตอบกันดังขึ้น นายแสงอรุณดึงกระบองจะตีจ่าสิบเอกอนุรักษ์ พยานได้เข้าไปจับแขนนายแสงอรุณและร้องห้าม ขณะนั้นมีจำเลยเข้ามายังที่เกิดเหตุชักอาวุธปืนลูกซองสั้นจากเสื้อแจกเกตสีดำและยิงไปที่นายแสงอรุณ ปรากฏว่า กระสุนปืนถูกนายแสงอรุณที่บริเวณฝ่ามือและกระสุนปืนยังถูกเด็กชายอดิศักดิ์ที่ขาข้างซ้ายด้วย ขณะเกิดเหตุพยานอยู่ห่างจากจำเลยเพียงประมาณ 3 เมตร และมีแสงสว่างจากดวงไฟฟ้านีออนภายในและหน้าห้องพัก พยานมองเห็นเหตุการณ์ได้ชัดเจน เห็นว่า พยานปากนี้ไม่ปรากฏว่ามีเหตุโกรธเคืองกับจำเลยอันควรจะสงสัยว่าจะกลั่นแกล้งเบิกความปรักปรำจำเลย เชื่อว่าพยานเบิกความตามที่รู้เห็นจริง กับมีคำให้การของเด็กชายอดิศักดิ์ที่ให้การต่อพนักงานสอบสวนไว้หลังเกิดเหตุเพียงประมาณ 6 วันว่า จำเลยเป็นคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงในที่เกิดเหตุตามบันทึกคำให้การพยานของศาลจังหวัดบัวใหญ่ ประกอบกับจำเลยก็เบิกความรับว่า ในขณะเกิดเหตุจำเลยได้เข้าไปในที่เกิดเหตุจริง พยานหลักฐานโจทก์จึงมีน้ำหนักรับฟังได้โดยปราศจากข้อสังสัยว่า จำเลยเป็นคนร้ายที่ใช้อาวุธปืนลูกซองยิงนายแสงอรุณได้รับอันตรายแก่กายและกระสุนปืนยังพลาดไปถูกเด็กชายอดิศักดิ์ได้รับอันตรายแก่กายอีกคนหนึ่งด้วย ที่จำเลยอ้างในฎีกาของจำเลยว่าเด็กชายอดิศักดิ์และนางชูศรีอยู่ในเหตุการณ์ชุลมุนที่จ่าสิบเอกอนุรักษ์ซึ่งเป็นบิดาและสามีถูกทำร้ายอยู่ ไม่น่าที่จะได้ทันสังเกตเห็นคนร้ายที่ใช้อาวุธปืนลูกซองสั้นยิงชัดเจนนั้น เห็นว่า ตามที่ปรากฏในแผนที่สังเขปแสดงสถานที่เกิดหตุของศาลจังหวัดบัวใหญ่ ขณะเกิดเหตุนางชูศรีและเด็กชายอดิศักดิ์อยู่ทางด้านหน้าของนายแสงอรุณที่ได้โต้เถียงและจะเข้าไปทำร้ายจ่าสิบเอกอนุรักษ์ บุคคลทั้งสองก็ย่อมต้องให้ความสนใจหันหน้าไปมองดูทางนายแสงอรุณ ดังนั้น เหตุการณ์ที่คนร้ายเดินเข้ามาทางด้านหลังของนายแสงอรุณแล้วชักอาวุธปืนลูกซองสั้นออกมายิงจึงอยู่ในวิสัยที่บุคคลทั้งสองจะมองเห็นได้ประกอบกับบริเวณที่เกิดเหตุมีแสงสว่างจากดวงไฟฟ้าทั้งในและหน้าห้องพักคนงานส่องสว่างอยู่ เชื่อว่านางชูศรีและเด็กชายอดิศักดิ์มองเห็นและจำได้ชัดเจนว่าคนร้ายที่เข้ามาใช้อาวุธปืนลูกซองสั้นยิงในที่เกิดเหตุคือจำเลย ส่วนข้ออ้างอื่น ๆ ในฎีกาของจำเลยไม่เป็นผลให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไป จึงไม่จำต้องวินิจฉัยอีกต่อไป ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น อนึ่ง การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงนายแสงอรุณ กระสุนปืนถูกนายแสงอรุณและยังพลาดไปถูกเด็กชายอดิศักดิ์ด้วยนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่านายแสงอรุณและฐานพยายามฆ่าเด็กชายอดิศักดิ์โดยพลาด แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการกระทำโดยพลาดมาด้วย ก็ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง อันจะเป็นเหตุให้ศาลต้องพิพากษายกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 และการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แต่ศาลล่างทั้งสองมิได้ปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง” พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80 และมาตรา 288, 80 ประกอบมาตรา 60 เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งแต่ละบทมีระวางโทษเท่ากันให้ลงโทษตามมาตรา 288, 80 เพียงบทเดียวตามมาตรา 90 ส่วนโทษและนอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 มาตรา 158 ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือ และมี มาตรา 192 ห้ามมิให้พิพากษา หรือสั่ง เกินคำขอหรือที่มิได้กล่าว ในฟ้อง ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่าง กับข้อเท็จจริงดั่งที่กล่าวในฟ้อง ให้ศาลยกฟ้องคดีนั้น เว้นแต่ข้อ แตกต่างนั้นมิใช่ในข้อสาระสำคัญและทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลจะ ลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นก็ได้ ในกรณีที่ข้อแตกต่างนั้นเป็นเพียงรายละเอียด เช่น เกี่ยวกับ เวลาหรือสถานที่กระทำความผิดหรือต่างกันระหว่างการกระทำผิด ฐานลักทรัพย์ กรรโชกรีดเอาทรัพย์ ฉ้อโกง โกงเจ้าหนี้ ยักยอก รับ ของโจร และทำให้เสียทรัพย์หรือต่างกันระหว่างการกระทำผิด โดยเจตนากับประมาท มิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญ ทั้งมิให้ ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่ โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ เว้นแต่จะปรากฏแก่ศาลว่าการที่ ฟ้องผิดไปเป็นเหตุให้จำเลยหลงต่อสู้ แต่ทั้งนี้ศาลจะลงโทษจำเลย เกินอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดที่โจทก์ฟ้องไม่ได้ ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงบางข้อดั่งกล่าวในฟ้อง และตามที่ปรากฏ ในทางพิจารณาไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ห้ามมิให้ ศาลลงโทษจำเลยในข้อเท็จจริงนั้น ๆ ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามฟ้องนั้นโจทก์สืบสม แต่โจทก์อ้างฐาน ความผิดหรือบท มาตรา ผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐาน ความผิดที่ถูกต้องได้ ถ้าความผิดตามที่ฟ้องนั้นรวมการกระทำหลายอย่าง แต่ละอย่าง อาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเองศาลจะลงโทษจำเลยในการกระทำผิด อย่างหนึ่งอย่างใดตามที่พิจารณาได้ความก็ได้
|