สำนักงานพีศิริ ทนายความ ตั้งอยู่เลขที่ 34/159 หมู่ 8 ซอยบางมดแลนด์ แยก 13 ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 ติดต่อทนายความ 085-9604258 สำหรับแผนที่การเดินทาง กรุณาคลิ๊กที่ "ที่ตั้งสำนักงาน" ด้านบนสุด ทนายความ ทนาย สำนักงานกฎหมาย สำนักงานทนายความ ปรึกษากฎหมายกับทนายความลีนนท์ โทรเลย ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ

คดีราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญายื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายค้นได้
-ปรึกษากฎหมาย ทนายความ (นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ) โทร.085-9604258 -ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line : (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3) @peesirilaw หรือ (4) peesirilaw (5) leenont คดีราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญายื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายค้นได้ โจทก์ขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาหลายครั้ง ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายค้นเพื่อนำไปค้นหาพยานหลักฐานมาประกอบฎีกาของโจทก์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า พิเคราะห์แล้วเห็นว่า บุคคลที่จะมีอำนาจขอหมายค้นได้จะต้องเป็นพนักงานผู้มีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เมื่อโจทก์มิได้เป็นเจ้าพนักงาน จึงไม่มีอำนาจขอให้ศาลออกหมายค้น จึงไม่อนุญาต ยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน ศาลฎีกาเห็นว่า หากราษฎรผู้เป็นโจทก์มีความจำเป็นต้องการค้นหาสิ่งของซึ่งอยู่ในความครอบครองของผู้อื่นเพื่อจะนำมาเป็นพยานหลักฐานประกอบการไต่สวนมูลฟ้องคดีของตน ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายค้นเพื่อพบและยึดสิ่งของดังกล่าวตามบทบัญญัติข้างต้นได้ หาใช่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจโดยเฉพาะ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6864/2562 ป.วิ.อ. มาตรา 69 (1) บัญญัติถึงเหตุที่ศาลจะออกหมายค้นไว้ว่า เพื่อพบและยึดสิ่งของซึ่งจะเป็นพยานหลักฐานประกอบการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา ดังนั้นในกรณีที่ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาต่อศาลเองและคดีดังกล่าวมีการไต่สวนมูลฟ้อง หากราษฎรผู้เป็นโจทก์มีความจำเป็นต้องการค้นหาสิ่งของซึ่งอยู่ในความครอบครองของผู้อื่นเพื่อจะนำมาเป็นพยานหลักฐานประกอบการไต่สวนมูลฟ้องคดีของตน ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายค้นเพื่อพบและยึดสิ่งของดังกล่าวตามบทบัญญัติข้างต้นได้ หาใช่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจโดยเฉพาะที่จะร้องขอให้ศาลออกหมายค้นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 59 วรรคสอง การที่โจทก์เพิ่งมาขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายค้นเพื่อนำไปค้นหาพยานหลักฐานในระหว่างที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกา จึงล่วงพ้นกำหนดเวลาที่จะนำพยานหลักฐานอื่นมาแสดงต่อศาลแล้ว แม้โจทก์จะอ้างว่าต้องการนำพยานหลักฐานดังกล่าวมาประกอบฎีกาของโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้อ้างอิงพยานวัตถุที่ต้องการให้ศาลออกหมายค้นไว้เป็นพยานหลักฐานในบัญชีระบุพยานตั้งแต่แรก หรือยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมต่อศาลแต่อย่างใด ดังนั้นพยานวัตถุที่โจทก์ต้องการให้ศาลออกหมายค้นนั้น จึงไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 229/1 วรรคท้าย คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ลักทรัพย์ ยักยอก หมิ่นประมาท บุกรุก ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคสอง, 326, 334, 352, 358, 359 (4), 362 และขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหาย 38,960 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่า คดีไม่มีมูล พิพากษายกฟ้อง และไม่รับฟ้องคดีส่วนแพ่งไว้พิจารณา โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาถึงวันที่ 20 กรกฎาคม 2561 ต่อมาวันที่ 5 กรกฎาคม 2561 โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายค้นเพื่อนำไปค้นหาพยานหลักฐานมาประกอบฎีกาของโจทก์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า พิเคราะห์แล้วเห็นว่า บุคคลที่จะมีอำนาจขอหมายค้นได้จะต้องเป็นพนักงานผู้มีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เมื่อโจทก์มิได้เป็นเจ้าพนักงาน จึงไม่มีอำนาจขอให้ศาลออกหมายค้น จึงไม่อนุญาต ยกคำร้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์ฎีกาโดยนำแบบพิมพ์คำร้องมาขีดฆ่าแก้ไขแล้วเขียนข้อความใหม่ว่าเป็นฎีกา โดยไม่ได้ใช้แบบพิมพ์ฎีกาและคำขอท้ายฎีกาให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนด การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของโจทก์โดยไม่ได้สั่งให้โจทก์ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อนนั้น เป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อคดีนี้ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว เพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้า จึงเห็นสมควรวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ไปเสียทีเดียว ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายค้นได้นั้น เห็นว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 69 (1) บัญญัติถึงเหตุที่ศาลจะออกหมายค้นไว้ว่า เพื่อพบและยึดสิ่งของซึ่งจะเป็นพยานหลักฐานประกอบการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา ดังนั้นในกรณีที่ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาต่อศาลเองและคดีดังกล่าวมีการไต่สวนมูลฟ้อง หากราษฎรผู้เป็นโจทก์มีความจำเป็นต้องการค้นหาสิ่งของซึ่งอยู่ในความครอบครองของผู้อื่นเพื่อจะนำมาเป็นพยานหลักฐานประกอบการไต่สวนมูลฟ้องคดีของตน ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายค้นเพื่อพบและยึดสิ่งของดังกล่าวตามบทบัญญัติข้างต้นได้ หาใช่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจโดยเฉพาะที่จะร้องขอให้ศาลออกหมายค้นตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 59 วรรคสอง ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ใช่เจ้าพนักงาน จึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอออกหมายค้นนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย อย่างไรก็ตามการออกหมายค้นเป็นอำนาจโดยเฉพาะของผู้พิพากษาศาลชั้นต้น แต่เมื่อสำนวนขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว จึงเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวน เห็นว่า เมื่อโจทก์เป็นผู้ฟ้องคดีต่อศาล โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานมานำสืบต่อศาล และพยานหลักฐานที่จะสามารถรับฟังได้นั้น จะต้องเป็นพยานหลักฐานซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่า จำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์และเป็นพยานหลักฐานที่ได้มาจากการนำสืบโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226 เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องจนเสร็จสิ้นและมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์อุทธรณ์คดีต่อมาจนกระทั่งศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ การที่โจทก์เพิ่งมาขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายค้นเพื่อนำไปค้นหาพยานหลักฐานในระหว่างที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาเช่นนี้ จึงล่วงพ้นกำหนดเวลาที่จะนำพยานหลักฐานอื่นมาแสดงต่อศาลแล้ว แม้โจทก์จะอ้างว่าต้องการนำพยานหลักฐานดังกล่าวมาประกอบฎีกาของโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้อ้างอิงพยานวัตถุที่ต้องการให้ศาลออกหมายค้นไว้เป็นพยานหลักฐานในบัญชีระบุพยานตั้งแต่แรก หรือยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมต่อศาลแต่อย่างใด ดังนั้นพยานวัตถุที่โจทก์ต้องการให้ศาลออกหมายค้นนั้น จึงไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 229/1 วรรคท้าย ทั้งคดียังปรากฏอีกว่าโจทก์ไม่ได้ยื่นฎีกาภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ฎีกาแต่อย่างใด กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะออกหมายค้นตามที่โจทก์ขอ ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอออกหมายค้นของโจทก์นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา ป.วิ.อ. ม. 59 วรรคสอง, ม. 69 (1), ม. 226, ม. 229/1 วรรคท้าย แหล่งที่มา กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา สิทธิหน้าที่ของสามีภริยาที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูกันจะหมดไปเมื่อการสมรสสิ้นสุดลง การที่ศาลพิพากษาให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่จำเลยจนกว่าจำเลยจะสมรสใหม่ด้วย จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นจนกว่าการสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยสิ้นสุดลง
|