สำนักงานพีศิริ ทนายความ ตั้งอยู่เลขที่ 34/159 หมู่ 8 ซอยบางมดแลนด์ แยก 13 ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 ติดต่อทนายความ 085-9604258 สำหรับแผนที่การเดินทาง กรุณาคลิ๊กที่ "ที่ตั้งสำนักงาน" ด้านบนสุด ทนายความ ทนาย สำนักงานกฎหมาย สำนักงานทนายความ ปรึกษากฎหมายกับทนายความลีนนท์ โทรเลย ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ

คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา | เรียกค่าเสียหาย -ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258 -ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line : (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3) @peesirilaw หรือ (4) peesirilaw (5) leenont -Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย QR CODE
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา | เรียกค่าเสียหาย ในคดีอาญาคดีถึงที่สุดว่าบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติจำนวน 15 ไร่ ในคดีแพ่งผู้เสียหายฟ้องว่าจำเลยต้องรับผิดค่าเสียหาย 15 ไร่ ซึ่งค่าเสียหายดังกล่าวเป็นสิทธิเรียกร้องที่มีมูลมาจากความผิดอาญา ดังนั้นจึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ซึ่งมีผลว่าศาลจะพิพากษาในคดีส่วนแพ่ง ศาลก็ต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ในคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่จำเลยฎีกาโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ว่าจำเลยทำให้เกิดความเสียหายเป็นเนื้อที่ 15 ไร่ ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้จำเลยชดใช้เต็มจำนวน 15 ไร่ไม่ได้ ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3729/2553 กรมป่าไม้ โจทก์ พนักงานอัยการเคยเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีอาญาในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ร.บ.ป่าไม้และพ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ คดีถึงที่สุดในศาลชั้นต้นแล้ว โดยศาลวินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินในป่าแก่งดินสอ ป่าแก่งใหญ่และป่าเขาสะโตน อันเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตอุทยานแห่งชาติ โดยไม่ได้รับอนุญาต ทำให้ป่าสงวนแห่งชาติเสื่อมสภาพคิดเป็นจำนวนเนื้อที่ 15 ไร่ คดีนี้เมื่อผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายตามสิทธิเรียกร้องอันมีมูลมาจากการกระทำความผิดอาญาดังกล่าวจึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ดังนั้น ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 จำเลยที่ 1 จะฎีกาโต้เถียงว่า โจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่า โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนเนื้อที่เท่าใด จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเต็มตามจำนวนเนื้อที่ 15 ไร่ นั้น หาได้ไม่ เพราะเป็นการฝ่าฝืนข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าว โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระค่าเสียหายจำนวน 2,503,125 บาท และดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 2,250,000 บาท ให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ให้การ ขอให้ยกฟ้อง จำเลยที่ 2 และที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงิน 1,200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ 13 กรกฎาคม 2543 เป็นต้นไปจนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์ กับให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 5,000 บาท ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ จำเลยที่ 1 ฎีกา พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ ( วีระวัฒน์ ปวราจารย์ - ประทีป เฉลิมภัทรกุล - ชัยวัฒน์ เวียงธีรวัฒน์ ) (ป.พ.พ.)มาตรา 420 ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดีทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7791/2555 คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยมิได้มีการพรากผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ไปจากความปกครองดูแลของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร การพิพากษาคดีส่วนแพ่งของจำเลยต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ว่าจำเลยไม่ได้พรากผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ไปจากผู้เสียหายที่ 2 และที่ 4 และที่ 6 จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามคำร้องของผู้ร้องที่ 2 ที่ 4 และที่ 6 การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้พิพากษาให้ยกคำร้องของผู้ร้องที่ 2 ที่ 4 และที่ 6 จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความใดยกขึ้นในชั้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสาม ประกอบมาตรา 225 ( สุรภพ ปัทมะสุคนธ์ - วัส ติงสมิตร - ถมรัตน์ เลิศไพรวัน ) ศาลจังหวัดกันทรลักษ์ - นายฉัตรชวงค์ ศรีพวาทกุล มาตรา 44/1 ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกายชื่อเสียงหรือได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลย ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนก็ได้ คำร้องตามวรรคหนึ่งจะมีคำขอประการอื่นที่มิใช่คำขอบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยในคดีอาญามิได้ และต้องไม่ขัดหรือแย้งกับคำฟ้องในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ และในกรณีที่พนักงานอัยการได้ดำเนินการตามความในมาตรา 43 แล้ว ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่งเพื่อเรียกทรัพย์สินหรือราคาทรัพย์สินอีกไม่ได้
|