

คดีขาดอายุความจึงชอบที่ศาลจะยกฟ้อง ความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง-คดีขาดอายุความจึงชอบที่ศาลจะยกฟ้อง ในความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท จึงมีกำหนดอายุความหนึ่งปี เหตุเกิดเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2537 แต่โจทก์ได้ตัวจำเลยมายังศาลโดยยื่นฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2544 ซึ่งเกินกำหนด 1 ปี เป็นอันขาดอายุความจึงชอบที่ศาลจะยกฟ้องเสีย แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาและเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง พนักงานอัยการประจำศาลจังหวัดหลังสวน โจทก์ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 277 วรรคแรก, 309 วรรคแรก วรรคสอง, 371 จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก, 309 วรรคแรก วรรคสอง (ที่ถูก วรรคสอง เท่านั้น), 371 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกินสิบห้าปี และฐานทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษ (ที่ถูก ให้ลงโทษฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกินสิบห้าปีซึ่งเป็นบทหนักที่สุด) ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 6 ปี ฐานพาอาวุธติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรปรับ 100 บาท (ที่ถูกต้องระบุด้วยว่า รวมจำคุก 6 ปี และปรับ 100 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29) คำขออื่นให้ยก จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า จำเลยกระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 หรือไม่ เห็นว่า สำหรับความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท จึงมีกำหนดอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 (5) ข้อเท็จจริงได้ความตามคำฟ้องของโจทก์ว่า เหตุเกิดเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2537 แต่โจทก์ได้ตัวจำเลยมายังศาลโดยยื่นฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2544 ซึ่งเกินกำหนด 1 ปี นับแต่วันกระทำความผิด คดีโจทก์ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 เป็นอันขาดอายุความจึงชอบที่ศาลจะยกฟ้องเสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 แม้ความผิดฐานนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยปรับ 100 บาท ต้องห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ กับปรากฏในอุทธรณ์ว่า จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์นั้น จำเลยมิได้ระบุข้อเท็จจริงโดยย่อหรือข้อกฎหมายเกี่ยวกับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ยกขึ้นอ้างอิงเป็นลำดับว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดเพราะเหตุใด อันเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคสอง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 รับวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 8 ก็ตาม แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาและเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225... พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์. มาตรา 95 ในคดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิด มายังศาลภายในกำหนดดังต่อไปนี้ นับแต่วันกระทำความผิดเป็นอัน ขาดอายุความ ถ้าได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลแล้ว ผู้กระทำ ความผิดหลบหนีหรือวิกลจริต และศาลสั่งงดการพิจารณาไว้จนเกิน กำหนดดังกล่าวแล้วนับแต่วันที่หลบหนีหรือวันที่ศาลสั่งงดการพิจารณา ก็ให้ถือว่าเป็นอันขาดอายุความเช่นเดียวกัน มาตรา 371 ผู้ใดพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณโดย เปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุสมควร หรือพาไปในชุมนุมชนที่ได้จัดให้มี ขึ้นเพื่อนมัสการ การรื่นเริงหรือการอื่นใด ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน หนึ่งร้อยบาท และให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบอาวุธนั้น มาตรา 185 ถ้าศาลเห็นว่าจำเลยมิได้กระทำผิดก็ดี การกระทำ ของจำเลยไม่เป็นความผิดก็ดี คดีขาดอายุความแล้วก็ดี มีเหตุ ตามกฎหมายที่จำเลยไม่ควรต้องรับโทษก็ดี ให้ศาลยกฟ้องโจทก์ ปล่อยจำเลยไป แต่ศาลจะสั่งขังจำเลยไว้หรือปล่อยชั่วคราวระหว่าง คดียังไม่ถึงที่สุดก็ได้ มาตรา 193 คดีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นใน ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์เว้นแต่จะถูกห้ามอุทธรณ์ โดยประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น อุทธรณ์ทุกฉบับต้องระบุข้อเท็จจริงโดยย่อหรือข้อกฎหมายที่ ยกขึ้นอ้างอิงเป็นลำดับ มาตรา 193ทวิ ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหา ข้อเท็จจริงในคดี ซึ่งอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่กรณีต่อไปนี้ให้จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ มาตรา 195 ข้อกฎหมายทั้งปวงอันคู่ความอุทธรณ์ร้องอ้างอิงให้ แสดงไว้โดยชัดเจนในฟ้องอุทธรณ์ แต่ต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นมาว่า กันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้น
|