ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ของกลางที่พนักงานสอบสวนยึดไว้ | คดีถึงที่สุด

ทนายความ ฟ้องหย่า lawyer

ของกลางที่พนักงานสอบสวนยึดไว้ | คดีถึงที่สุด

พนักงานสอบสวนมีอำนาจค้นและยึดสิ่งของซึ่งอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ การยึดทรัพย์ของกลาง เป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย และมีอำนาจยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่สุด เมื่อเสร็จคดีแล้วต้องคืนแก่ผู้ต้องหาหรือผู้อื่นซึ่งมีสิทธิการที่ศาลฎีกาพิพากษายืนให้คืนของกลางแก่จำเลยเป็นเพียงการวินิจฉัยเรื่องของกลางที่พนักงานสอบสวนยึดไว้นั้นให้ดำเนินการคืนแก่ผู้เป็นเจ้าของ แต่จำเลยไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่จะขอให้ศาลบังคับคดีแก่โจทก์ร่วมผู้เก็บรักษาของกลางไว้ พนักงานสอบสวนผู้ยึดทรัพย์ของกลางนี้ไว้เป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกาและคืนของกลาง

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3666/2553

 พนักงานอัยการจังหวัดนครราชสีมา         โจทก์

 เจ้าพนักงานตำรวจยึดทรัพย์ตามบัญชีท้ายฟ้องรวม 7 รายการ เป็นของกลางนำส่งพนักงานสอบสวน ต่อมาพนักงานสอบสวนให้โจทก์ร่วมรับมอบทรัพย์ดังกล่าวไปเก็บรักษาไว้ในระหว่างดำเนินคดี เมื่อคดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้คืนทรัพย์ของกลางแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของ ซึ่งเป็นการวินิจฉัยในเรื่องของกลางตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) อันเป็นกรณีที่พนักงานสอบสวนผู้ยึดทรัพย์ของกลางไว้มีหน้าที่ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวนั่นเอง ทั้งมิใช่คดีที่มีข้อหาหรือข้อพิพาทกันว่า โจทก์ร่วมยึดถือหรือครอบครองทรัพย์ของกลางของจำเลยที่ 1 ไว้โดยมิชอบที่จะบังคับให้โจทก์ร่วมคืนให้แก่จำเลยที่ 1 แต่อย่างใด จำเลยที่ 1 ย่อมไม่ตกอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่จะขอให้ศาลบังคับคดีเพื่อให้โจทก์ร่วมคืนทรัพย์ของกลางแก่จำเลยที่ 1 ได้

คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันลักทรัพย์รวม 14 รายการ ของบริษัทเสรีภัณฑ์การโยธาและก่อสร้าง จำกัด ผู้เสียหาย ตามบัญชีทรัพย์ท้ายฟ้อง ต่อมาวันที่ 23 กันยายน 2528 และวันที่ 18 มกราคม 2529 เจ้าพนักงานตำรวจยึดได้รถเกรด 2 คัน รถแทรกเตอร์ รถบดสั่นสะเทือน 2 คัน รถบดล้อยาง และรถน้ำ 2 คัน รวม 7 รายการ ตามบัญชีทรัพย์ท้ายฟ้องอันดับที่ 7 ถึง 14 เป็นของกลางนำส่งพนักงานสอบสวน ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 , 83 และให้จำเลยทั้งสามร่วมกันคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ตามบัญชีทรัพย์อันดับที่ 1 ถึง 6 แก่ผู้เสียหาย  ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสาม และให้จำเลยทั้งสามคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ตามบัญชีทรัพย์อันดับที่ 1 ถึงที่ 6 แก่โจทก์ร่วม  โจทก์ร่วมและจำเลยทั้งสามอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษากลับให้ยกฟ้อง และให้คืนทรัพย์ของกลางตามบัญชีทรัพย์ท้ายฟ้องอันดับที่ 7 ถึง 14 แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของ โจทก์และโจทก์ร่วมฎีกา ศาลฎีกาพิพากษายืน

ต่อมาจำเลยที่ 1 ขอให้โจทก์และโจทก์ร่วมคืนทรัพย์ของกลางตามบัญชีทรัพย์ท้ายฟ้องอันดับที่ 7 ถึง 14 ให้จำเลยที่ 1  แต่โจทก์และโจทก์ร่วมไม่ยอมคืนทรัพย์ดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับ ศาลชั้นต้นได้ออกคำบังคับแล้ว แต่โจทก์และโจทก์ร่วมก็ยังไม่ยอมส่งคืนทรัพย์ดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดี ซึ่งศาลชั้นต้นก็ออกหมายบังคับคดีให้ ต่อมาจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องว่าโจทก์ร่วมจงใจไม่คืนทรัพย์ดังกล่าวแก่จำเลยที่ 1 ขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายจับกรรมการบริษัทโจทก์ร่วมมาเพื่อบังคับคดีให้คืนทรัพย์แก่โจทก์ร่วม

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ออกหมายจับนายจำนงค์ กรรมการผู้จัดการของโจทก์ร่วมมากักขังเพื่อบังคับคดี
          โจทก์ร่วมอุทธรณ์คำสั่ง

          ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษากลับ ให้ยกคำร้องของจำเลยที่ 1
  จำเลยที่ 1 ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 มีสิทธิขอให้ศาลบังคับคดีแก่โจทก์ร่วมหรือไม่ เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 85 วรรคหนึ่ง และ 132 (4) พนักงานสอบสวนมีอำนาจค้นและยึดสิ่งของซึ่งอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนยึดทรัพย์ตามบัญชีทรัพย์ท้ายฟ้องของโจทก์อันดับที่ 7 ถึง 14 ไว้เป็นของกลาง จึงเป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรา 85 วรรคหนึ่ง และ 132 (4) ดังกล่าว และพนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่สุด เมื่อเสร็จคดีแล้วก็ต้องคืนแก่ผู้ต้องหาหรือผู้อื่นซึ่งมีสิทธิเรียกร้องขอคืนสิ่งของนั้น เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 85 วรรคสาม จึงเห็นได้ว่า เมื่อทรัพย์ดังกล่าวเป็นทรัพย์ของกลางที่พนักงานสอบสวนยึดไว้เพื่อการสอบสวนและดำเนินคดีจนคดีถึงที่สุด การที่ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้คืนทรัพย์เหล่านี้แก่จำเลยที่ 1 ก็เป็นเพียงการวินิจฉัยและพิพากษาในเรื่องของกลางตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186 (9) ซึ่งในคดีนี้ย่อมหมายถึงการพิพากษาถึงทรัพย์ของกลางที่พนักงานสอบสวนยึดไว้นั้นให้ดำเนินการโดยให้คืนแก่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นเจ้าของ อันเป็นกรณีที่พนักงานสอบสวนผู้ยึดทรัพย์ของกลางนี้ไว้เป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวนั่นเอง โดยที่คดีนี้มิใช่คดีที่มีข้อหาหรือข้อกล่าวอ้างที่พิพาทกันว่า โจทก์ร่วมยึดถือหรือครอบครองทรัพย์ดังกล่าวของจำเลยที่ 1 ไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมายในอันที่จะพิจารณาและพิพากษาบังคับให้โจทก์ร่วมคืนทรัพย์นี้แก่จำเลยที่ 1 แต่อย่างใด คำพิพากษาศาลฎีกาที่พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้คืนทรัพย์ของกลางตามบัญชีทรัพย์ท้ายฟ้องของโจทก์อันดับที่ 7 ถึง 14 จึงไม่ใช่คำพิพากษาบังคับในลักษณะให้โจทก์ร่วมเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในอันที่จะต้องปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษาด้วยการคืนทรัพย์ของกลางนี้แก่จำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 1 ย่อมไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่จะขอให้ศาลบังคับคดีแก่โจทก์ร่วมเพื่อให้ โจทก์ร่วมคืนทรัพย์ของกลางนี้แก่จำเลยที่ 1 ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 249 ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการบังคับคดี  ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกคำร้องของจำเลยที่ 1 นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย  ฎีกาของจำเลยที่ 1 ฟังไม่ขึ้น

    พิพากษายืน
                    




เกี่ยวกับวิธีพิจารณาความอาญา

ถ้อยคำรับสารภาพว่าตนได้กระทำความผิดห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน
ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอค่าสินไหมทดแทนตาม มาตรา 44/1
ฎีกาขอให้ลดมาตราส่วนโทษเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้าม
แก้ไขโทษของความผิดถือว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อยห้ามฎีกา
ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
อำนาจสอบสวนของกองปราบปราม
คำให้การชั้นสอบสวนแทนการสืบพยานในชั้นพิจารณา
ลดมาตราส่วนโทษในความผิดต้องห้ามฎีกา
ฟ้องไม่ครบองค์ประกอบความผิด
คำรับสารภาพมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน
อำนาจฟ้องในข้อหาความผิดตามมาตรา 157
พยานหลักฐานชนิดที่เกิดขึ้นโดยไม่ชอบ
การกระทำหลายอย่างแต่ละอย่างเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง
ฟ้องร้องคดีในลักษณะสมยอมสิทธินำคดีอาญามาฟ้องไม่ระงับ
ผู้เสียหายไม่มาเบิกความเป็นพยานในศาล
ผู้แทนโดยชอบธรรมมีผลประโยชน์ขัดกันกับผู้เสียหาย(บุตร)
ความรับผิดในทางแพ่ง-ผู้เสียหายโดยนิตินัย
การบรรยายฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด
กรณีไม่ปรากฏลายมือชื่อผู้เรียง-พิมพ์คำฟ้องโจทก์
คดีราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญายื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายค้นได้
ศาลชั้นต้นยกอายุความมายกคำร้อง ม.44/1 ไม่ชอบ
ชั้นไต่สวนมูลฟ้อง คดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา | เรียกค่าเสียหาย
นายแพทย์กระทำอนาจารคนไข้อายุกว่า 15 ปี จำคุก 3 ปี ปรับ 20,000 บาท
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลกำหนดโทษใหม่แทนการยื่นอุทธรณ์
ผู้ต้องหายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนหมายจับ ยกคำร้อง ผู้ต้องหาอุทธรณ์
โจทก์ขอให้ลงโทษตามกฎหมายเดิมซึ่งถูกยกเลิกไปแล้ว
หลอกลวงผู้เสียหายให้ขายดาวน์รถยนต์
ผู้เช่าซื้อมีอำนาจแจ้งความดำเนินคดีฐานยักยอกได้
ไม่มีเจตนาเล่นการพนันด้วยจึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย
บุคคลล้มละลายมีอำนาจฟ้องคดีอาญา
พนักงานสอบสวนมิได้ขอฝากขังต่อศาลภายในกำหนด
ไม่ได้บรรยายฟ้องว่ากระทำโดยพลาด
ฟ้องคดีสมยอมสิทธิฟ้องคดีอาญาไม่ระงับ
ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แก้ไขคำพิพากษาที่อ่านแล้ว
จำคุกไม่เกิน5ปีห้ามคู่ความฎีกาข้อเท็จจริง
ความผิดตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์
จำเลยให้การรับสารภาพแต่ศาลอุทธรณ์ศาลฎีกายกฟ้อง
ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาห้ามอุทธรณ์
การกระทำอันเป็นความผิดรวมอยู่ในฟ้อง
ฟ้องที่บรรยายไม่ครบองค์ประกอบของความผิด
พิพากษาถึงข้อเท็จจริงที่มิได้กล่าวในฟ้อง
เพื่อการอนาจารเป็นเจตนาพิเศษ | การบรรยายฟ้อง
ไม่สามารถนำผู้เสียหายมาเบิกความต่อศาล
ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่า
คำสั่งเกี่ยวกับการปล่อยตัวชั่วคราวห้ามอุทธรณ์
มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา
อำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่มิได้อุทธรณ์-ฎีกา
ฎีกาไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์-ฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ฟ้องที่ขาดข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป
คดีขาดอายุความจึงชอบที่ศาลจะยกฟ้อง
คดีถึงที่สุดเมื่อครบกำหนดยื่นฎีกา
การพิจารณาคดีลับหลังจำเลย
ต้องห้ามฎีกาเพราะไม่ได้อุทธรณ์ไว้
ขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
แก้ไขเล็กน้อย-จำคุกไม่เกินห้าปีห้ามฎีกา
กรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
เป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรม
โจทก์ฟ้องผิดวันจำเลยหลงต่อสู้
โต้แย้งดุลพิจนิจในการรับฟังพยานหลักฐาน