ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




การกระทำโดยบันดาลโทสะ, โทษสถานเบาและการรอการลงโทษ, สิทธิยกประเด็นในชั้นอุทธรณ์

 ท นาย อาสา ฟรี

เพิ่มเพื่อนไลน์แชทกับทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

ปรึกษากฎหมายทางแชทไลน์

 •  คำพิพากษาศาลฎีกา 1109/2567

•  การกระทำโดยบันดาลโทสะ

•  ลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72

•  สิทธิยกประเด็นในชั้นอุทธรณ์

•  หลักกฎหมายอาญาเรื่องการยั่วยุ

•  การพิจารณาคดีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง

•  โทษสถานเบาและการรอการลงโทษ

สรุปย่อ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2567 สรุปว่า จำเลยมีสิทธิยกประเด็นการกระทำโดยบันดาลโทสะในศาลอุทธรณ์ แม้จะไม่ได้กล่าวในศาลชั้นต้น โดยศาลฎีกาเห็นชอบว่าการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่รับวินิจฉัยประเด็นนี้ไม่ถูกต้อง จำเลยมีข้อโต้แย้งว่าได้ทำร้ายผู้เสียหายเนื่องจากถูกยั่วยุให้โกรธ ศาลฎีกาจึงพิจารณาว่าเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะและมีเหตุสมควรที่จะรอการลงโทษจำคุก จึงพิพากษาแก้เป็นโทษจำคุก 8 เดือน และปรับ 10,500 บาท แต่ให้รอการลงโทษ 2 ปี และควบคุมความประพฤติ

หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องในคดีนี้ ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 และ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง และมาตรา 225 ซึ่งมีความสำคัญดังนี้:

1.ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72: กำหนดให้การกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ ซึ่งเกิดจากการถูกยั่วยุอย่างรุนแรงหรือถูกทำให้โกรธอย่างรุนแรงจนกระทำผิด สามารถใช้เป็นเหตุลดโทษได้ กรณีนี้จึงครอบคลุมถึงสถานการณ์ที่จำเลยอ้างว่าทำร้ายผู้เสียหายเพราะถูกยั่วยุ (เช่น ถูกเตะหน้า) ทำให้เกิดความโกรธจนควบคุมตนเองไม่ได้ ศาลจึงพิจารณาว่าจำเลยมีสภาพจิตในขณะนั้นที่เกิดความโกรธเกินควบคุม จึงลงโทษสถานเบาได้ 

2.ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง: ระบุว่า ศาลสามารถยกปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นพิจารณาได้เอง แม้คู่ความจะไม่ได้นำมาเป็นประเด็นในคดี นั่นหมายความว่า แม้จำเลยจะไม่ได้อ้างเรื่องการกระทำโดยบันดาลโทสะตั้งแต่ต้น ศาลก็สามารถพิจารณาประเด็นนี้ได้ หากเห็นว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือความเป็นธรรม

3.ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 225: ให้อำนาจศาลชั้นอุทธรณ์ในการพิจารณาและวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยได้ เช่นเดียวกับมาตรา 195 วรรคสอง ดังนั้นในคดีนี้ ศาลอุทธรณ์มีหน้าที่พิจารณาประเด็นการกระทำโดยบันดาลโทสะที่จำเลยยกขึ้นตามที่ศาลฎีกาได้ชี้แจง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2567

 

คำพิพากษาศาลฎีกา 1109/2567, การกระทำโดยบันดาลโทสะ, ลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72, สิทธิยกประเด็นในชั้นอุทธรณ์, หลักกฎหมายอาญาเรื่องการยั่วยุ, การพิจารณาคดีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง, โทษสถานเบาและการรอการลงโทษ,

 

แม้จำเลยจะมิได้ยกปัญหาเรื่องการกระทำโดยบันดาลโทสะขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ ทำให้ศาลชั้นต้นมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย แต่เมื่อคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 6 จำเลยย่อมมีสิทธิยกเรื่องการกระทำโดยบันดาลโทสะขึ้นอ้างเพื่อให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยได้ เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้จำเลยจึงไม่ชอบ

***โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33, 80, 91, 288, 371 ริบอาวุธมีดของกลาง

จำเลยให้การรับสารภาพในข้อหาพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุสมควร ส่วนข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นให้การปฏิเสธ

*ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 และ 371 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานพยายามฆ่าผู้อื่น จำคุก 10 ปี ฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุสมควร ปรับ 1,000 บาท ทางนำสืบของจำเลยในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 7 ปี 6 เดือน ส่วนฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุสมควร จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงปรับ 500 บาท รวมจำคุก 7 ปี 6 เดือน และปรับ 500 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ริบอาวุธมีดของกลาง

*จำเลยอุทธรณ์

*ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 จำคุก 1 ปี ทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 8 เดือน รวมกับโทษฐานพาอาวุธฯ ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วเป็นจำคุก 8 เดือน และปรับ 500 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

*จำเลยฎีกา

*ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า ก่อนเกิดเหตุ 1 วัน จำเลยใช้บุหรี่จี้ขาของนายสมศักดิ์ เพื่อนของจำเลยและผู้เสียหาย วันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันเกิดเหตุ ผู้เสียหายและนายสมศักดิ์กับเพื่อนอีกหลายคนนั่งดื่มสุราที่พื้นหน้าบ้านของผู้เสียหายตั้งแต่เวลาประมาณ 19 นาฬิกา ต่อมาเวลา 21 นาฬิกา ผู้เสียหายเตะหน้าของจำเลย 1 ครั้ง ครั้นในเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง จำเลยพาอาวุธมีดปลายแหลมยาวประมาณ 40 เซนติเมตร 1 เล่ม ติดตัวไปบริเวณถนนหน้าบ้านของผู้เสียหาย และใช้อาวุธมีดดังกล่าวฟันศีรษะของผู้เสียหาย 1 ครั้ง มีแผลฉีกขาดขนาด 7.5 เซนติเมตร รักษาด้วยการเย็บบาดแผล ใช้เวลารักษาประมาณ 7 วัน หากไม่มีภาวะแทรกซ้อน ตามรายงานผลการชันสูตรบาดแผล สำหรับความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุสมควร คู่ความไม่อุทธรณ์ จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ส่วนความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยว่า จำเลยไม่มีเจตนาฆ่ามีเพียงเจตนาทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 จำเลยฎีกายอมรับว่ามีเจตนาทำร้ายผู้เสียหายแต่อ้างว่าจำเลยกระทำไปโดยบันดาลโทสะ ซึ่งศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย และศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่รับวินิจฉัยตามที่จำเลยยกขึ้นอุทธรณ์

*คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาข้อแรกของจำเลยว่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่รับวินิจฉัยปัญหาที่จำเลยอุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะหรือไม่นั้นชอบหรือไม่ เห็นว่า การพิจารณาคดีอาญาเป็นการพิจารณาให้ได้ความจริงเพื่อพิพากษาลงโทษ หรือยกฟ้อง หรือวินิจฉัยว่ามีเหตุยกเว้นโทษ หรือลดหย่อนผ่อนโทษให้จำเลยหรือไม่ อย่างไร การพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพหรือปฏิเสธ หากมีกรณีที่ศาลพิจารณาได้ความจริงในทางใด ศาลก็มีอำนาจยกบทกฎหมายที่ต้องด้วยกรณีนั้นขึ้นปรับแก่ข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความนั้นได้ หากศาลมิได้ยกข้อกฎหมายข้อใดขึ้นปรับแก่ข้อเท็จจริงเรื่องใดซึ่งจำเลยเห็นว่าควรที่ศาลสูงจะได้พิจารณาวินิจฉัยเพราะอาจจะเป็นคุณแก่ตน จำเลยย่อมมีสิทธิยกขึ้นอุทธรณ์หรือฎีกาได้ คดีนี้แม้จำเลยจะมิได้ยกปัญหาเรื่องการกระทำโดยบันดาลโทสะขึ้นต่อสู้ในคำให้การที่ศาลบันทึกหรือที่จำเลยยื่น ทำให้ศาลชั้นต้นมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย ต่อมาเมื่อการพิจารณาขึ้นสู่ศาลชั้นอุทธรณ์ จำเลยย่อมมีสิทธิยกเรื่องการกระทำโดยบันดาลโทสะขึ้นอ้างเพื่อให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยได้ โดยเฉพาะเมื่อคู่ความได้นำสืบพยานหลักฐานจนสิ้นกระแสความแล้ว เพราะย่อมเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ด้วย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้จำเลยจึงไม่ชอบ และเมื่อจำเลยได้ฎีกาปัญหานี้มาด้วยแล้ว จึงเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวน ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังขึ้น

*คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยต่อไปว่า การที่จำเลยทำร้ายผู้เสียหายเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะหรือไม่ เห็นว่า จำเลยมีสาเหตุโกรธเคืองกับนายสมศักดิ์ ไม่เกี่ยวกับผู้เสียหาย การมาปรากฏตัวที่บ้านของผู้เสียหายก็มิใช่ว่าจะไม่มีเหตุสมควร เนื่องจากมีการเลี้ยงสังสรรค์กัน แม้ก่อนเกิดเหตุถูกจำเลยฟัน จำเลยจะพูดหรือกระทำการใดอันมีลักษณะขัดหูขัดตาผู้เสียหาย หรือแม้จะเป็นเพราะไม่อยากให้จำเลยอยู่ที่บ้านของผู้เสียหาย ก็ไม่ใช่เหตุที่ผู้เสียหายจะทำร้ายจำเลยได้ โดยเฉพาะด้วยการเตะหน้าของจำเลย ประกอบกับนายสมศักดิ์ก็มิได้แสดงกิริยาอย่างใดที่เห็นได้ว่าโกรธหรือไม่พอใจการกระทำหรือการพูดของจำเลย ผู้เสียหายก็ยอมรับว่าเห็นจำเลยนั่งกอดนายสมศักดิ์อยู่ข้าง ๆ การกระทำของผู้เสียหายย่อมทำให้จำเลยเจ็บแค้นและอาย อันมีลักษณะเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม และการกระทำต่อผู้เสียหายต้องเป็นการกระทำในขณะนั้น ซึ่งข้อเท็จจริงได้ความว่าหลังจากถูกเตะหน้า จำเลยก็ออกจากบ้านของผู้เสียหาย ขับรถจักรยานยนต์กลับไปที่บ้านของจำเลยที่อยู่ห่างออกไปประมาณ 600 เมตร ซึ่งเห็นได้ว่าไม่ไกลและใช้ระยะเวลาในการเดินทางไปกลับไม่นานในขณะที่โทสะของจำเลยยังพลุ่งพล่านอยู่ไม่ขาดตอนจากเหตุการณ์ที่ถูกผู้เสียหายเตะหน้า การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังขึ้น

*คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยข้อสุดท้ายว่า มีเหตุสมควรลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษจำคุกให้จำเลยหรือไม่ เห็นว่า เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะดังวินิจฉัยมาแล้ว และการที่จำเลยฟันผู้เสียหายก็เพราะถูกเตะหน้าก่อน ทั้งที่สาเหตุก็มิได้เกี่ยวข้องกับผู้เสียหายและเป็นการทะเลาะกันระหว่างเพื่อน ลักษณะบาดแผลก็ไม่เป็นอันตรายร้ายแรง จำเลยเองก็ถูกขังระหว่างฎีกา 2 วัน ซึ่งน่าจะพอทำให้จำเลยรู้สำนึกและเข็ดหลาบ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยรับโทษจำคุกมาก่อน จึงมีเหตุอันควรรอการลงโทษจำคุกให้จำเลยเพื่อให้จำเลยมีโอกาสประกอบอาชีพเลี้ยงดูตนเองและครอบครัว และเห็นสมควรลงโทษปรับอีกสถานหนึ่งด้วยในความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้นโดยบันดาลโทสะ ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังขึ้น

*พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ประกอบมาตรา 72 ฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้นโดยบันดาลโทสะ ให้ปรับ 15,000 บาท อีกสถานหนึ่ง ลดโทษหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงปรับ 10,000 บาท เมื่อรวมกับโทษจำคุก 8 เดือนในความผิดฐานดังกล่าวและโทษปรับ 500 บาท ในความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุสมควรตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 และศาลชั้นต้นแล้ว เป็นจำคุก 8 เดือน และปรับ 10,500 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้จำเลยฟัง ให้คุมความประพฤติของจำเลยมีกำหนด 1 ปี และให้จำเลยไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติทุก 3 เดือนต่อครั้งภายในกำหนดเวลาดังกล่าว กับให้จำเลยกระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ตามที่พนักงานคุมประพฤติเห็นสมควรมีกำหนด 24 ชั่วโมงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6




เกี่ยวกับวิธีพิจารณาความอาญา

การถอนฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน, ความผิดฐานฟ้องเท็จ, มูลหนี้ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
โจทก์ร่วมในคดีอาญา, การใช้สิทธิผู้เสียหายแทนโจทก์ร่วมเดิม, การสืบสิทธิในคดีอาญา,
แก้ไขฟ้องคดีอาญา ป.วิ.อ. มาตรา 163, อำนาจพนักงานอัยการในคดีทุจริต, บทบาทอัยการสูงสุดตาม พ.ร.บ.องค์กรอัยการ
ศาลลงโทษปรับต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด, อุทธรณ์คำพิพากษา, ขอให้เพิ่มโทษ,
อำนาจฟ้อง, คู่ความในคดี, ข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย,
การพิจารณาคดีไต่สวนมูลฟ้อง, คำสั่งศาลที่เด็ดขาด,
ถ้อยคำรับสารภาพว่าตนได้กระทำความผิดห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน
ข้อห้ามฎีกาคดีอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง, การฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง, คดีอาวุธปืนและอาวุธเถื่อน,
ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอค่าสินไหมทดแทนตาม มาตรา 44/1
ฎีกาขอให้ลดมาตราส่วนโทษเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้าม
แก้ไขโทษของความผิดถือว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อยห้ามฎีกา
ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
อำนาจสอบสวนของกองปราบปราม
คำให้การชั้นสอบสวนแทนการสืบพยานในชั้นพิจารณา
ลดมาตราส่วนโทษในความผิดต้องห้ามฎีกา
ฟ้องไม่ครบองค์ประกอบความผิด
คำรับสารภาพมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน
อำนาจฟ้องในข้อหาความผิดตามมาตรา 157
พยานหลักฐานชนิดที่เกิดขึ้นโดยไม่ชอบ
การกระทำหลายอย่างแต่ละอย่างเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง
ฟ้องร้องคดีในลักษณะสมยอมสิทธินำคดีอาญามาฟ้องไม่ระงับ
ผู้เสียหายไม่มาเบิกความเป็นพยานในศาล
ผู้แทนโดยชอบธรรมมีผลประโยชน์ขัดกันกับผู้เสียหาย(บุตร)
ความรับผิดในทางแพ่ง-ผู้เสียหายโดยนิตินัย
การบรรยายฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด
กรณีไม่ปรากฏลายมือชื่อผู้เรียง-พิมพ์คำฟ้องโจทก์
คดีราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญายื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายค้นได้
ศาลชั้นต้นยกอายุความมายกคำร้อง ม.44/1 ไม่ชอบ
ชั้นไต่สวนมูลฟ้อง คดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา | เรียกค่าเสียหาย
นายแพทย์กระทำอนาจารคนไข้อายุกว่า 15 ปี จำคุก 3 ปี ปรับ 20,000 บาท
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลกำหนดโทษใหม่แทนการยื่นอุทธรณ์
ผู้ต้องหายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนหมายจับ ยกคำร้อง ผู้ต้องหาอุทธรณ์
โจทก์ขอให้ลงโทษตามกฎหมายเดิมซึ่งถูกยกเลิกไปแล้ว
หลอกลวงผู้เสียหายให้ขายดาวน์รถยนต์
ผู้เช่าซื้อมีอำนาจแจ้งความดำเนินคดีฐานยักยอกได้
ไม่มีเจตนาเล่นการพนันด้วยจึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย
บุคคลล้มละลายมีอำนาจฟ้องคดีอาญา
พนักงานสอบสวนมิได้ขอฝากขังต่อศาลภายในกำหนด
ไม่ได้บรรยายฟ้องว่ากระทำโดยพลาด
ฟ้องคดีสมยอมสิทธิฟ้องคดีอาญาไม่ระงับ
ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แก้ไขคำพิพากษาที่อ่านแล้ว
จำคุกไม่เกิน5ปีห้ามคู่ความฎีกาข้อเท็จจริง
ความผิดตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์
จำเลยให้การรับสารภาพแต่ศาลอุทธรณ์ศาลฎีกายกฟ้อง
ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาห้ามอุทธรณ์
การกระทำอันเป็นความผิดรวมอยู่ในฟ้อง
ฟ้องที่บรรยายไม่ครบองค์ประกอบของความผิด
พิพากษาถึงข้อเท็จจริงที่มิได้กล่าวในฟ้อง
เพื่อการอนาจารเป็นเจตนาพิเศษ | การบรรยายฟ้อง
ของกลางที่พนักงานสอบสวนยึดไว้ | คดีถึงที่สุด
ไม่สามารถนำผู้เสียหายมาเบิกความต่อศาล
ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่า
คำสั่งเกี่ยวกับการปล่อยตัวชั่วคราวห้ามอุทธรณ์
มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา
อำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่มิได้อุทธรณ์-ฎีกา
ฎีกาไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์-ฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ฟ้องที่ขาดข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป
คดีขาดอายุความจึงชอบที่ศาลจะยกฟ้อง
คดีถึงที่สุดเมื่อครบกำหนดยื่นฎีกา
การพิจารณาคดีลับหลังจำเลย
ต้องห้ามฎีกาเพราะไม่ได้อุทธรณ์ไว้
ขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
แก้ไขเล็กน้อย-จำคุกไม่เกินห้าปีห้ามฎีกา
กรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
เป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรม
โจทก์ฟ้องผิดวันจำเลยหลงต่อสู้
โต้แย้งดุลพิจนิจในการรับฟังพยานหลักฐาน