ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




สิทธิการรับช่วงสิทธิ มาตรา 880, การไล่เบี้ยของผู้รับประกันภัย,

ท นาย อาสา ฟรี

เพิ่มเพื่อนไลน์แชทกับทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

ปรึกษากฎหมายทางแชทไลน์

•  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2567

•  การไล่เบี้ยของผู้รับประกันภัย

•  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420

•  ค่าชดใช้ความเสียหายจากละเมิด

•  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425

•  ความรับผิดของนายจ้างและลูกจ้าง

•  สิทธิการรับช่วงสิทธิ มาตรา 880

สรุปย่อ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2567 สรุปได้ว่า ผู้เอาประกันภัยมอบหมายให้บริษัทซ่อมรถจัดหาคนไปรับรถยนต์ที่ประกันไว้ บริษัทจึงให้จำเลยที่ 2 ไปรับรถ และจำเลยที่ 2 มอบหมายให้จำเลยที่ 1 ลูกจ้างไปรับรถ ขณะขับรถ จำเลยที่ 1 ประมาทชนท้ายรถคันอื่น ทำให้รถที่ประกันได้รับความเสียหาย โจทก์ในฐานะผู้รับประกันจึงใช้สิทธิไล่เบี้ยเรียกค่าสินไหมจากจำเลยทั้งสามตามข้อยกเว้นในกรมธรรม์ที่ระบุว่า การใช้โดยบุคคลของสถานซ่อมรถยังสงวนสิทธิเรียกค่าเสียหายได้

ศาลฎีกาเห็นว่า การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นไปตามข้อยกเว้นในกรมธรรม์ โจทก์มีสิทธิไล่เบี้ยจากจำเลยที่ 1 และ 2 รวมถึงจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยความรับผิดของจำเลยที่ 2 ให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ การตัดสินนี้เป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 880, 420 และ 425.

หลักกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420: เป็นหลักทั่วไปว่าด้วยการกระทำละเมิด โดยบัญญัติว่า “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย และการกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้บุคคลอื่นเสียหาย ผู้นั้นต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่เกิดขึ้น” ในกรณีนี้ การที่จำเลยที่ 1 ขับรถด้วยความประมาทและชนท้ายรถคันอื่น ถือเป็นการกระทำละเมิดที่ต้องรับผิดชอบตามมาตรานี้

หลักของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425: กล่าวถึงความรับผิดชอบของนายจ้างในกรณีการกระทำละเมิดของลูกจ้าง โดยบัญญัติว่า “นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในความเสียหายที่ลูกจ้างก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกขณะปฏิบัติงานตามที่นายจ้างมอบหมาย” ในคดีนี้ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ในการชดใช้ค่าเสียหาย

หลักของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 วรรคหนึ่ง: ว่าด้วยการรับช่วงสิทธิของผู้ชำระหนี้แทน โดยบัญญัติว่า “ผู้ใดชำระหนี้แทนลูกหนี้ ย่อมมีสิทธิรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ไปเรียกร้องจากลูกหนี้หรือบุคคลที่ต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้ได้” ในกรณีนี้ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัย ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เอาประกันภัยแทนจำเลยที่ 1 และ 2 จึงมีสิทธิรับช่วงสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 และ 2

ในการอธิบายหลักกฎหมายเหล่านี้ช่วยให้เข้าใจถึงความรับผิดชอบในการกระทำละเมิด และสิทธิในการไล่เบี้ยของผู้ชำระหนี้แทน โดยแสดงให้เห็นว่าโจทก์มีสิทธิเรียกคืนค่าเสียหายจากผู้กระทำละเมิดและผู้ที่เกี่ยวข้องตามบทบัญญัติดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2567

กรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 6 ระบุเหตุที่โจทก์สละสิทธิไล่เบี้ยจากผู้ใช้รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยว่า ในกรณีที่มีความเสียหายต่อรถยนต์ เมื่อบุคคลอื่นเป็นผู้ใช้รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย โจทก์สละสิทธิในการไล่เบี้ยจากผู้ใช้รถยนต์นั้น แต่กรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวระบุข้อยกเว้นที่โจทก์ยังสงวนสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์จ่ายไปคืนจากผู้ใช้รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยไว้ด้วยว่า กรณีการใช้โดยบุคคลของสถานให้บริการเกี่ยวกับการซ่อมแซมรถ การทำความสะอาดรถ การบำรุงรักษารถ หรือการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมเมื่อรถยนต์ได้ส่งมอบให้เพื่อรับบริการนั้น โจทก์จะเรียกค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์จ่ายไปคืนจากบุคคลเหล่านั้น คดีนี้ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า ผู้เอาประกันภัยประสงค์จะนำรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยเข้าซ่อมที่บริษัท บ. แต่ไม่สามารถนำรถไปส่งซ่อมเองได้ จึงมอบหมายให้บริษัท บ. จัดหาบุคคลไปรับรถยนต์มาเพื่อซ่อม เมื่อบริษัท บ. เป็นสถานให้บริการเกี่ยวกับการซ่อมแซมรถ การที่บริษัท บ. ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ไปรับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยจากผู้เอาประกันภัย จึงเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการนำรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยเข้ารับบริการซ่อมตามการมอบหมายและความยินยอมของผู้เอาประกันภัย ต่อมาจำเลยที่ 2 มอบหมายให้จำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกจ้างไปรับรถและขับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยไปส่งที่บริษัท บ. จึงเป็นการกระทำในวัตถุประสงค์และการมอบหมายของบริษัท บ. เช่นเดียวกัน ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งรับดำเนินการในกรณีนี้เป็นตัวแทนของบริษัท บ. ในการรับมอบรถยนต์จากผู้เอาประกันภัยเพื่อนำไปรับบริการซ่อมแซมจากบริษัท บ. ผู้เป็นตัวการ การที่จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยจึงเป็นการกระทำโดยบุคคลของสถานให้บริการเกี่ยวกับการซ่อมแซมรถเมื่อรถยนต์ได้ส่งมอบให้เพื่อรับบริการนั้น อันเป็นข้อยกเว้นซึ่งโจทก์ยังสงวนสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์จ่ายไปคืนจากผู้ใช้รถยนต์ที่ได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยนั้น โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยไล่เบี้ยจากจำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิด จำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายจ้าง และจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยความรับผิดของจำเลยที่ 2 ให้ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 วรรคหนึ่ง มาตรา 420 และมาตรา 425


*****โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันชำระค่าเสียหายเป็นเงิน 820,468 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 817,968 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

*จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ

*จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การขอให้ยกฟ้อง

*ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันชำระเงิน 820,468 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 817,968 บาท นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 15 สิงหาคม 2562) จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ให้จำเลยทั้งสามใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความ 5,000 บาท

*จำเลยทั้งสามอุทธรณ์

*ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชดใช้เงิน 820,468 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 817,968 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป โดยให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดเป็นเงิน 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

*จำเลยทั้งสามฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา

*ศาลฎีกาแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติในเบื้องต้นว่า โจทก์รับประกันภัยรถยนต์ ยี่ห้อเมอร์เซเดสเบนซ์ หมายเลขทะเบียน ฆข XXXX กรุงเทพมหานคร ไว้จากบริษัท ฮ. ผู้เอาประกันภัย ระยะเวลาประกันภัยเริ่มวันที่ 12 พฤษภาคม 2561 สิ้นสุดวันที่ 12 พฤษภาคม 2562 จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยและเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ให้บริการขับรถยนต์ส่วนบุคคลและรถยนต์โดยสารสาธารณะ รวมทั้งเป็นผู้ให้บริการขับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยในขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 3 รับประกันภัยความรับผิดของจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยเกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2561 บริษัท ฮ. ประสงค์จะนำรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไปเข้าซ่อมที่บริษัท บ. แต่ไม่สามารถนำรถยนต์ไปส่งซ่อมได้ จึงมอบหมายให้บริษัท บ. จัดหาบุคคลไปรับรถยนต์มาเพื่อซ่อม บริษัท บ. จึงว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้ไปรับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยที่บริษัท ฮ. ต่อมาวันที่ 17 สิงหาคม 2561 จำเลยที่ 2 มอบหมายให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างไปรับรถและขับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยจากบริษัท ฮ. ไปส่งที่บริษัท บ. ระหว่างทางที่จำเลยที่ 1 ขับรถมาตามถนนบรมราชชนนี จำเลยที่ 1 ขับรถด้วยความเร็วสูงปราศจากความระมัดระวังชนท้ายรถยนต์หมายเลขทะเบียน 2 ฒง XXXX กรุงเทพมหานคร เป็นเหตุให้รถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1 ยอมรับว่าเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างที่ได้มอบหมายสั่งการให้มารับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยจากบริษัท ฮ. แล้วเกิดอุบัติเหตุชนท้ายรถยนต์คันอื่น โดยได้ทำบันทึกยอมรับผิดไว้กับพนักงานตรวจสอบอุบัติเหตุของโจทก์ ต่อมาพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลธรรมศาลาสอบสวนแล้วมีความเห็นว่า เหตุเกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 1 จึงแจ้งข้อกล่าวหาแก่จำเลยที่ 1 ว่า ขับรถโดยประมาทเฉี่ยวชนรถผู้อื่นได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพและยินยอมให้เปรียบเทียบปรับ หลังเกิดเหตุรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไม่สามารถขับเคลื่อนได้ ต้องเสียค่ายกลากรถไปยังบริษัท บ. เป็นเงิน 2,500 บาท โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้ชำระค่าซ่อมรถเป็นค่าอะไหล่และค่าแรงไป 815,468 บาท แล้วใช้สิทธิไล่เบี้ยให้จำเลยทั้งสามชำระค่าเสียหาย แต่จำเลยทั้งสามเพิกเฉย ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยด้วยความประมาทชนท้ายรถยนต์หมายเลขทะเบียน 2 ฒง XXXX กรุงเทพมหานคร เป็นการกระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 คู่ความไม่ฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงส่วนนี้ จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

*คดีคงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสามข้อแรกว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ได้ชำระไปหรือไม่ เห็นว่า กรมธรรม์ประกันภัยระหว่างโจทก์กับบริษัท ฮ. ผู้เอาประกันภัย ข้อ 6 ระบุเหตุที่โจทก์สละสิทธิไล่เบี้ยจากผู้ใช้รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยว่า ในกรณีที่มีความเสียหายต่อรถยนต์ เมื่อบุคคลอื่นเป็นผู้ใช้รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย โจทก์สละสิทธิในการไล่เบี้ยจากผู้ใช้รถยนต์นั้น แต่กรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวได้ระบุข้อยกเว้นที่โจทก์ยังสงวนสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์จ่ายไปคืนจากผู้ใช้รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยไว้ด้วยว่า กรณีการใช้โดยบุคคลของสถานให้บริการเกี่ยวกับการซ่อมแซมรถ การทำความสะอาดรถ การบำรุงรักษารถ หรือการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม เมื่อรถยนต์ได้ส่งมอบให้เพื่อรับบริการนั้น โจทก์จะเรียกค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์จ่ายไปคืนจากบุคคลเหล่านั้น คดีนี้ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า ผู้เอาประกันภัยประสงค์จะนำรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยเข้าซ่อมที่บริษัท บ. แต่ไม่สามารถนำรถไปส่งซ่อมเองได้ จึงมอบหมายให้บริษัท บ. จัดหาบุคคลไปรับรถยนต์มาเพื่อซ่อม เมื่อบริษัท บ. เป็นสถานให้บริการเกี่ยวกับการซ่อมแซมรถ การที่บริษัท บ. ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ไปรับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยจึงเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการนำรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยเข้ารับบริการซ่อมตามการมอบหมายและความยินยอมของผู้เอาประกันภัย ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้มอบหมายให้จำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกจ้างไปรับรถและขับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยไปส่งที่บริษัท บ. จึงเป็นการกระทำในวัตถุประสงค์และการมอบหมายของบริษัท บ. เช่นเดียวกัน ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งรับดำเนินการในกรณีนี้เป็นตัวแทนของบริษัท บ. ในการรับมอบรถยนต์จากผู้เอาประกันภัยเพื่อนำไปรับบริการซ่อมแซมจากบริษัท บ. ผู้เป็นตัวการ การที่จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 ลูกจ้างขับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยจึงเป็นการกระทำโดยบุคคลของสถานให้บริการเกี่ยวกับการซ่อมแซมรถเมื่อรถยนต์ได้ส่งมอบให้เพื่อรับบริการนั้น ตามกรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 6 ตอนท้าย อันเป็นข้อยกเว้นซึ่งโจทก์ยังสงวนสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์จ่ายไปคืนจากผู้ใช้รถยนต์ที่ได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยนั้น แม้กรมธรรม์ประกันภัยระหว่างโจทก์กับผู้เอาประกันภัยไม่ได้ระบุชื่อผู้ขับขี่ ซึ่งหมายความว่า เมื่อผู้เอาประกันภัยยินยอมให้บุคคลใดเป็นผู้ขับขี่ ย่อมถือว่าบุคคลนั้นเป็นเสมือนผู้เอาประกันภัยเอง และโจทก์ตกลงสละสิทธิไล่เบี้ยจากผู้ใช้รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยดังที่จำเลยทั้งสามฎีกาก็ตาม แต่เมื่อคดีนี้ต้องด้วยข้อยกเว้นของการที่โจทก์ตกลงสละสิทธิไล่เบี้ยซึ่งมีต่อผู้ใช้รถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยโดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยดังวินิจฉัยข้างต้น โจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยในความเสียหายของรถยนต์อันเป็นผลจากเหตุละเมิดที่เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ซึ่งกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยไล่เบี้ยจากจำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิด จำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายจ้างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยความรับผิดของจำเลยที่ 2 ให้ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 วรรคหนึ่ง มาตรา 420 และมาตรา 425 ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยทั้งสามรับผิดนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของจำเลยทั้งสามข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

*สำหรับปัญหาในเรื่องค่าเสียหายของโจทก์มีเพียงใดนั้น ในส่วนของค่ายกลากรถ ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์เป็นเงิน 2,500 บาท จำเลยทั้งสามมิได้อุทธรณ์ว่าสูงเกินไป จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสามข้อต่อไปว่า ค่าซ่อมรถที่ศาลอุทธรณ์กำหนดมาเหมาะสมหรือไม่ เห็นว่า โจทก์มีนายสุรพล ผู้จัดการฝ่ายซ่อมสีและตัวถังของบริษัท บ. เบิกความว่า รถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยได้รับความเสียหายด้านหน้าขวา จึงได้ทำใบเสนอราคาค่าอะไหล่และค่าแรงเพื่อส่งให้โจทก์คุมราคาค่าอะไหล่และค่าแรงแล้วเป็นเงิน 815,468.94 บาท เมื่อซ่อมรถเสร็จ โจทก์ชำระเงินค่าซ่อมรถให้แก่บริษัท บ. และพยานเบิกความตอบคำถามค้านทนายจำเลยที่ 2 ว่า รถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยได้รับความเสียหายด้านหน้าขวาซึ่งเป็นที่ตั้งของเทอร์โบ และต้องใช้วิธีซ่อมแซมทั้งชุดตามรายการที่ 89 ในใบเสนอราคา ส่วนอะไหล่รายการที่ 63 เป็นการเปลี่ยนไฟหน้าขวาเพียงด้านเดียว อะไหล่ที่มีการถอดเปลี่ยนได้คืนให้แก่โจทก์ เมื่อพิจารณารายการอะไหล่ที่ระบุในใบเสนอราคาดังกล่าวข้างต้นปรากฏว่าสอดคล้องตรงกับความเสียหายของรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยที่ได้รับความเสียหายทางด้านหน้าขวา ทั้งโจทก์เป็นผู้รับประกันภัยย่อมต้องตรวจสอบควบคุมราคาค่าอะไหล่และค่าแรงมิให้ต้องชดใช้ค่าเสียหายเกินความเสียหายที่แท้จริง จำเลยทั้งสามก็มิได้ถามค้านหรือนำสืบให้ได้ความว่า ชิ้นส่วนที่เสียหายดังกล่าวสามารถซ่อมแซมให้มีสภาพใช้งานได้ดีดังเดิมโดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนอะไหล่ใหม่ทั้งชุด และไม่ปรากฏว่าชิ้นส่วนซากอะไหล่เดิมที่เสียหายยังคงใช้ประโยชน์และนำไปขายได้ จึงฟังได้ว่ารายการค่าอะไหล่และค่าแรงที่โจทก์จ่ายไปเป็นจำนวนที่เหมาะสมและถูกต้องตามรายการที่เสียหายจริงแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าซ่อมรถตามจำนวนเงินที่โจทก์ชำระไปนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยทั้งสามข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน

*อนึ่ง เนื่องจากได้มีประกาศใช้พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 โดยมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวให้ยกเลิกความในมาตรา 7 และมาตรา 224 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้ใช้ความใหม่แทน เป็นผลให้ดอกเบี้ยผิดนัดปรับเปลี่ยนจากอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 5 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาบวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี และมาตรา 7 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว บัญญัติให้ใช้แก่การคิดดอกเบี้ยผิดนัดที่ถึงกำหนดเวลาชำระตั้งแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงการคิดดอกเบี้ยผิดนัดในระหว่างช่วงเวลาก่อนที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ กรณีจึงต้องใช้กฎหมายใหม่บังคับแก่การคิดดอกเบี้ยของโจทก์ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไป ปัญหาเรื่องการคิดดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและกำหนดดอกเบี้ยให้เป็นไปตามกฎหมายที่แก้ไขได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5)

*พิพากษาแก้เป็นว่า ในส่วนดอกเบี้ยให้จำเลยทั้งสามชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 15 สิงหาคม 2562) เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อปี นับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 นั้น ถ้ากระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนอัตราโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาเมื่อใด ก็ให้ปรับเปลี่ยนไปตามนั้น บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามที่โจทก์ขอ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ


ร่างคำฟ้องคดีแพ่ง

เขตอำนาจของศาลจังหวัด 

วันที่ [ระบุวันที่]

คดีหมายเลขดำที่: [ระบุ]

โจทก์: บริษัท [ระบุชื่อบริษัทผู้รับประกันภัย]

ที่อยู่: [ระบุที่อยู่ของโจทก์]

จำเลยที่ 1: นาย/นาง/นางสาว [ระบุชื่อจำเลยที่ 1]

ที่อยู่: [ระบุที่อยู่]

จำเลยที่ 2: บริษัท [ระบุชื่อบริษัทของจำเลยที่ 2]

ที่อยู่: [ระบุที่อยู่]

จำเลยที่ 3: บริษัท [ระบุชื่อบริษัทประกันภัยของจำเลยที่ 2]

ที่อยู่: [ระบุที่อยู่]

คำฟ้อง

1.โจทก์เป็นบริษัทผู้รับประกันภัยที่ทำสัญญาประกันภัยกับบริษัท ฮ. ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัย โดยกรมธรรม์มีผลตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคม 2561 ถึง 12 พฤษภาคม 2562 ซึ่งครอบคลุมรถยนต์ยี่ห้อเมอร์เซเดสเบนซ์ หมายเลขทะเบียน ฆข XXXX กรุงเทพมหานคร

2.เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2561 บริษัท ฮ. ได้มอบหมายให้บริษัท บ. ซึ่งเป็นสถานซ่อมรถ จัดหาบุคคลมารับรถยนต์ไปซ่อม บริษัท บ. ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 เพื่อดำเนินการดังกล่าว และจำเลยที่ 2 ได้มอบหมายให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของตนขับรถยนต์ดังกล่าวไปยังบริษัท บ. ระหว่างทางจำเลยที่ 1 ได้ขับรถด้วยความประมาท ทำให้เกิดอุบัติเหตุชนท้ายรถยนต์ หมายเลขทะเบียน 2 ฒง XXXX กรุงเทพมหานคร ส่งผลให้รถยนต์ที่โจทก์รับประกันได้รับความเสียหาย

3.โจทก์ได้ชำระค่าซ่อมแซมรถยนต์จำนวน 815,468 บาท และค่ายกลากรถจำนวน 2,500 บาท รวมเป็นเงิน 820,468 บาท โจทก์จึงขอใช้สิทธิไล่เบี้ยจากจำเลยทั้งสาม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 วรรคหนึ่ง, มาตรา 420, และมาตรา 425 โดยขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์


คำขอท้ายคำฟ้อง

1.ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันหรือแทนกันชำระค่าเสียหายจำนวน 820,468 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อปี หรืออัตราตามกฎหมายที่แก้ไข นับถัดจากวันฟ้อง (15 สิงหาคม 2562) จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

2.ขอให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดจำนวน 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราตามข้อ 1 จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

3.ขอให้จำเลยทั้งสามใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์

ลงชื่อโจทก์

[ลายเซ็น]

(บริษัท [ระบุชื่อบริษัท])

ลงชื่อทนายความโจทก์

[ลายเซ็น]

(นาย/นาง/นางสาว [ระบุชื่อทนายความ])

ร่างคำฟ้องนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาและใช้เป็นตัวอย่างสำหรับนักศึกษากฎหมายและทนายความใหม่ครับ.




รับช่วงสิทธิ

การรับช่วงสิทธิคืออะไร? สิทธิเรียกร้องเปลี่ยนมือจากเจ้าหนี้คนเดิม
การรับช่วงสิทธิจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยอำนาจของกฎหมาย
ผู้ค้ำประกันไม่อาจอ้างรับช่วงสิทธิ