ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ริบทรัพย์สินเกี่ยวกับยาเสพติด

ริบทรัพย์สินเกี่ยวกับยาเสพติด

ทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด

พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งริบทรัพย์สินให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ศาลชั้นต้นได้ประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์ให้บุคคลซึ่งอาจอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินยื่นคำร้องคัดค้านคำร้องขอให้ริบทรัพย์เข้ามาในคดี ผู้คัดค้านกับพวกยื่นคำคัดค้านขอให้มีคำสั่งคืนทรัพย์สิน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งริบทรัพย์สิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1566/2554

พนักงานอัยการจังหวัดชุมพร      ผู้ร้อง

          คำเบิกความและบันทึกเสนอผู้บังคับบัญชาตามสายงานอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามปกติมีความน่าเชื่อถือและเป็นกรณีมีหลักฐานปรากฏว่า ว. เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องและเคยเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดมาก่อน ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าบรรดาเงินหรือทรัพย์สินที่ผู้นั้นมีอยู่หรือได้มาเกินกว่าฐานะ หรือความสามารถในการประกอบอาชีพหรือกิจกรรมอย่างอื่นโดยสุจริต เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 29 วรรคสอง เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ จ. ซึ่งเป็นภริยาของ ว. ไม่สามารถแสดงพยานหลักฐานหักล้างได้ จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่า ทรัพย์สินของ จ.เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามบทกฎหมายดังกล่าว

          เมื่อปรากฏต่อศาลฎีกาว่า คดีที่ ว. และผู้คัดค้านที่ 2 ถูกฟ้อง ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องผู้คัดค้านที่ 2 ในความผิดฐานร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 32 แห่ง พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 ที่บัญญัติว่า “ในกรณีที่มีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี หรือมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องผู้ต้องหาหรือจำเลยรายใด ให้การยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องหาหรือจำเลยรายนั้น รวมทั้งทรัพย์สินของผู้อื่นที่ได้ยึดหรืออายัดไว้เนื่องจากเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดของผู้ต้องหาหรือจำเลยรายนั้นสิ้นสุดลง...” การยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 2 ที่ผู้ร้องอ้างว่าเนื่องจากเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดของผู้คัดค้านที่ 2 ย่อมสิ้นสุดลง ศาลย่อมไม่มีอำนาจสั่งริบทรัพย์สินนั้นได้ คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ริบทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 2 จึงมีผลขัดต่อกฎหมายดังกล่าว ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง และมาตรา 225            ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งริบทรัพย์สินของนายวิกูลกับนางจินตนาและทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 2 ให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 27, 29 และ 31

     ศาลชั้นต้นได้ประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์ตามกฎหมายให้บุคคลซึ่งอาจอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินดังกล่าวยื่นคำร้องคัดค้านคำร้องขอให้ริบทรัพย์เข้ามาในคดี

   ผู้คัดค้านกับพวกยื่นคำคัดค้านขอให้มีคำสั่งคืนทรัพย์สินดังกล่าวแก่ผู้คัดค้าน
 ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งริบทรัพย์สินดังกล่าวให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

    ผู้คัดค้านที่ 1 อุทธรณ์
   ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาแก้ให้คืนเงินสด 8,000 บาทแก่ผู้คัดค้านที่ 1 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษา (ที่ถูก คำสั่ง) ศาลชั้นต้น

   ผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ฏีกา

   ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ว่า เงินสด 8,000 บาท และเงินฝากในบัญชีเงินฝากดังกล่าวตามลำดับเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือไม่ ตามพยานหลักฐานพฤติการณ์ของนางจินตนามีเหตุผลเพียงพอให้น่าเชื่อว่า เงินสดจำนวน 8,000 บาท นี้เป็นเงินที่นางจินตนาได้รับจากการขายสุกรก่อนถูกยึด และมิใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาให้คืนเงินจำนวนนี้ ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของผู้ร้องฟังไม่ขึ้น ส่วนเงินฝากตามบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ที่ผู้คัดค้านที่ 1 ฎีกาขอให้ไม่ริบนั้น เห็นว่า ตามคำเบิกความของร้อยตำรวจเอกชัยรัตน์ได้ความว่า ตั้งแต่เมื่อปลายปี 2541 พยานสืบทราบว่า ผู้คัดค้านที่ 2 และนายวิกูลมีพฤติการณ์จำหน่ายเมทแอมเฟตามีน โดยผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จำหน่ายรายใหญ่และนายวิกูลเป็นคนช่วยติดต่อลูกค้า และพยานได้ทำบันทึกรายงานข้อมูลที่สืบทราบต่อผู้บังคับบัญชาไว้ด้วยซึ่งพยานหลักฐานนี้เห็นได้ว่า มีคำเบิกความและบันทึกเสนอผู้บังคับบัญชาตามสายงานอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามปกติ ที่มีความน่าเชื่อถือและเป็นกรณีมีหลักฐานปรากฏว่า นายวิกูล เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องและเคยเกี่ยวข้องในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดมาก่อนต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าบรรดาเงินหรือทรัพย์สินที่ผู้นั้นมีอยู่หรือได้มาเกินกว่าฐานะหรือความสามารถในการประกอบอาชีพหรือกิจกรรมอย่างอื่นโดยสุจริตเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 29 วรรคสอง ประกอบกับตามคำเบิกความของผู้คัดค้านที่ 1 ก็ได้ความว่า นางจินตนาอยู่กินฉันสามีภริยากับนายวิกูลมาประมาณ 10 ปี โดยผู้คัดค้านที่ 1 เบิกความในปี 2546 จึงฟังได้ว่า นางจินตนาเป็นภริยานายวิกูลมาก่อนปี 2540 และตามบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของนางจินตนาตั้งแต่ช่วงปี 2541 ตลอดมา ปรากฏว่ามีรายการฝากเงินเข้าบัญชีหลายครั้งและเกือบทุกเดือน และมีหลายเดือนที่มีรายการฝากเงิน 2 ถึง 3 ครั้ง จำนวนเงินฝากมีตั้งแต่ครั้งละ 2,000 บาท ถึง 60,000 บาท และเคยมีจำนวนเงินฝากในบัญชีสูงเกิน 100,000 บาท หลายครั้ง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับรายได้จากการประกอบอาชีพของนางจินตนาดังกล่าวมาข้างต้นแล้ว ไม่น่าเชื่อว่าจะมีเงินรายได้นำเข้าฝากในบัญชีได้เช่นนั้น และโดยเฉพาะที่ผู้คัดค้านที่ 1 เบิกความว่า นางจินตนามีอาชีพให้กู้ยืมเงินด้วย ก็เป็นคำเบิกความกล่าวอ้างลอยๆ และผู้คัดค้านที่ 1 ที่เป็นผู้จัดการมรดกนางจินตนาก็เบิกความว่า ไม่พบหลักฐานที่นางจินตนาให้บุคคลอื่นกู้ยืมเงิน ย่อมฟังไม่ได้ว่า นางจินตนามีรายได้จากการให้บุคคลอื่นกู้ยืมเงิน และเห็นได้ว่าเงินฝากในบัญชีของนางจินตนามีจำนวนเงินสูงเกินกว่าฐานะหรือความสามารถในการประกอบอาชีพโดยสุจริตของนางจินตนาและนายวิกูลที่จะพึงมีได้ จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่า เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น โดยผู้คัดค้านที่ 1 ไม่สามารถแสดงพยานหลักฐานหักล้างได้ ดังนี้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ริบเงินฝากดังกล่าวนี้ ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของผู้คัดค้านที่ 1 ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน

          อนึ่ง ด้วยปรากฏต่อศาลฎีกาว่า คดีอาญาที่นายวิกูลและผู้คัดค้านที่ 2 ถูกฟ้องศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องสำหรับผู้คัดค้านที่ 2 ในความผิดฐานร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนโดยไม่ได้รับอนุญาตตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2071/2549 กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 ที่บัญญัติว่า “ในกรณีที่มีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีหรือมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องผู้ต้องหาหรือจำเลยรายใด ให้การยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องหาหรือจำเลยรายนั้น รวมทั้งทรัพย์สินของผู้อื่นที่ได้ยึดหรืออายัดไว้เนื่องจากเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดของผู้ต้องหาหรือจำเลยรายนั้นสิ้นสุดลง...” การยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 2 ที่ผู้ร้องอ้างว่าเนื่องจากเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดของผู้คัดค้านที่ 2 ย่อมสิ้นสุดลง ศาลย่อมไม่มีอำนาจสั่งริบทรัพย์สินนั้นได้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ริบทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 2 จึงมีผลขัดต่อกฎหมายดังกล่าว ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

พิพากษาแก้ ให้คืนทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 2 ตามคำร้องรวม 4 รายการ แก่ผู้คัดค้านที่ 2 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8

พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534

มาตรา 29 บรรดาทรัพย์สินซึ่งพนักงานอัยการได้ยื่นคำร้องต่อศาลตาม
มาตรา 27 วรรคหนึ่งนั้น ให้ศาลไต่สวน หากคดีมีมูลว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำ ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินนั้น เว้นแต่บุคคลซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ได้ยื่นคำร้องขอคืนก่อนคดีถึงที่สุด และแสดงให้ศาลเห็นว่า
 (1) ตนเป็นเจ้าของที่แท้จริง และทรัพย์สินนั้นไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับการกระทำ ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือ
 (2) ตนเป็นผู้รับโอนหรือผู้รับประโยชน์ และได้ทรัพย์สินนั้นมาโดยสุจริตและ มีค่าตอบแทน หรือได้มาตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางกุศลสาธารณ
 เพื่อประโยชน์แห่ง มาตรา นี้ ถ้าปรากฏหลักฐานว่าจำเลยหรือผู้ถูกตรวจสอบเป็น ผู้เกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดมาก่อน ให้สันนิษฐานไว้ ก่อนว่าบรรดาเงินหรือทรัพย์สินที่ผู้นั้นมีอยู่หรือได้มาเกินกว่าฐานะหรือความสามารถในการ ประกอบอาชีพหรือกิจกรรมอย่างอื่นโดยสุจริต เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิด เกี่ยวกับยาเสพติด 




คดียาเสพติดให้โทษ

บทลงโทษผู้เสพยาเสพติด, เพิ่มโทษจำคุกหนึ่งในสามตามมาตรา 92, รอการลงโทษจำคุกตามมาตรา 56,
การกำหนดโทษใหม่ในคดียาเสพติด, เปิดบัญชีรับเงินค่ายาเสพติด, ความผิดฐานสมคบ
โทษประหารชีวิตยาเสพติด - การลงโทษที่ศาลพิจารณาให้ประหารชีวิตในคดียาเสพติด
คดีถึงที่สุดแล้วเรือนจำเป็นภูมิลำเนาของจำเลย, ภูมิลำเนาผู้ต้องขัง, การส่งสำเนาอุทธรณ์ผิดที่
มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นหลายกรรม
สมคบเพื่อการค้ายาเสพติด มีโทษอย่างไร
เหตุอันสมควรเป็นการเฉพาะรายลงโทษน้อยกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้
ธนบัตรที่นำไปล่อซื้อยาเสพติดไม่ใช่สาระสำคัญถึงกับมีข้อสงสัยยกฟ้อง
คำว่า จำหน่าย ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ
ครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย | ผิดกรรมเดียว
รับฝากยาบ้า 4.013 เม็ด ถูกจำคุก 22 ปี
ยาบ้า ยาเสพติดให้โทษ เมทแอมเฟตามีน 75 เม็ด
ครอบครองยาบ้า 584 เม็ด รับสารภาพจำคุก 25 ปี
ยาเสพติดให้โทษ 600 เม็ด จำคุก 20 ปี
ครอบครองเพื่อจำหน่าย ยาเสพติดให้โทษ 750 เม็ด โทษ 20 ปี
ยาบ้า ยาเสพติดให้โทษ 778 เม็ด จำคุก 25 ปี article
ยาบ้า ยาเสพติดให้โทษ 1,200 เม็ด จำคุก 18 ปี
ยาบ้า ยาเสพติดให้โทษ 2,374 เม็ด
ครอบครองเพื่อจำหน่าย ยาบ้า (เมทแอมเฟตามีน) 3,017 เม็ด
เมทแอมเฟตามีน 5,290 เม็ด จำคุก 20 ปี
ยาเสพติดให้โทษ ยาบ้า 12,000 เม็ด จำคุก 33 ปี 9 เดือน
ให้บัญชีธนาคารคนอื่นใช้โอนเงินค่ายาเสพติดโทษเท่ากันกับตัวการ
ขอลดโทษคดียาเสพติดตามมาตรา 100/2
การกำหนดโทษใหม่ตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง
พยานบอกเล่ามีน้ำหนักน้อยยกประโยชน์ แห่งความสงสัยให้แก่จำเลย
ยาบ้า 279 เม็ด โทษจำคุก 7 ปี ครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย
ข้อมูลเป็นประโยชน์ตามมาตรา 100/2
ครอบครองเพื่อจำหน่าย ยาบ้า 27 เม็ด
การสมคบกันเพื่อกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
ยาเสพติดให้โทษ ยาบ้า เมทแอมเฟตามีน 4,000 เม็ด
ยาบ้า ยาเสพติดให้โทษ นำเข้า 22 เม็ด
นำยาเสพติดเข้าในราชอาณาจักรโทษประหาร
การยื่นฎีกาเกี่ยวกับคดียาเสพติด
ผู้ใหญ่บ้านถูกจับยาบ้ามีโทษจำคุก 3 เท่า