

ยาเสพติดให้โทษ 600 เม็ด จำคุก 20 ปี ยาเสพติดให้โทษ 600 เม็ดจำคุก 20 ปี มี (ยาบ้า) เมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำนวน 600 เม็ด คำนวณเป็น สารบริสุทธิ์ 16.518 กรัม ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลย มีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 66 วรรคหนึ่ง จำคุก 20 ปี คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 548/2550 ตาม ป.อ. มาตรา 3 บัญญัติว่า “ถ้ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด เว้นแต่คดีถึงที่สุดแล้ว แต่ในกรณีที่คดีถึงที่สุดแล้วดังต่อไปนี้ (1) ถ้าผู้กระทำความผิดยังไม่ได้รับโทษ หรือกำลังรับโทษอยู่และโทษที่กำหนดตามคำพิพากษาหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง... ให้ศาลกำหนดโทษเสียใหม่ตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง...” คำว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) นั้น หมายถึงโทษจำคุกขั้นสูงตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 20 ปี แต่โทษจำคุกตามคำพิพากษาก็ยังต่ำกว่าโทษขั้นสูงตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังที่วางโทษจำคุกตลอดชีวิต จึงถือไม่ได้ว่าโทษจำคุกตามคำพิพากษาหนักกว่าโทษจำคุกตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ไม่ต้องด้วย ป.อ. มาตรา 3 (1) ที่ศาลจะกำหนดโทษใหม่ได้ คดีสืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำนวน 600 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 16.518 กรัม ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 66 วรรคหนึ่ง จำคุก 20 ปี โจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่อุทธรณ์คดีถึงที่สุดเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2544 ต่อมาประมาณต้นเดือนกรกฎาคม 2547 จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องทำนองว่าพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 กำหนดโทษสำหรับความผิดตามคำพิพากษาเป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 ขอให้ปรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (1) ศาลชั้นต้นยกคำร้อง จำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่ง จำเลยที่ 1 ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติได้ว่า จำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำนวน 600 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 16,518 กรัม ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 66 วรรคหนึ่ง จำคุก 20 ปี หลังจากคดีถึงที่สุดแล้วได้มีพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน คดีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ว่า จะนำกฎหมายที่แก้ไขใหม่ในส่วนที่เป็นคุณมากำหนดโทษจำเลยที่ 1 ใหม่ได้หรือไม่ เห็นว่า ความผิดฐานมีแมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำนวน 600 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 16.518 กรัม ในคดีนี้ต้องบทกำหนดโทษในมาตรา 66 วรรคสอง ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ซึ่งตามมาตรา 66 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่ มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงห้าล้านบาท ส่วนมาตรา 66 วรรคหนึ่งตามกฎหมายเดิม มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท โทษจำคุกขั้นต่ำตามมาตรา 66 วรรคสอง ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่จึงเป็นคุณมากกว่าโทษจำคุกตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ที่ใช้ในขณะกระทำความผิด แต่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 บัญญัติว่า “ถ้ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใดเว้นแต่คดีถึงที่สุดแล้ว แต่ในกรณีที่คดีถึงที่สุดแล้วดังต่อไปนี้ (1) ถ้าผู้กระทำความผิดยังไม่ได้รับโทษ หรือกำลังรับโทษอยู่ และโทษที่กำหนดตามคำพิพากษาหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง... ให้ศาลกำหนดโทษเสียใหม่ตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง...” คำว่า โทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (1) นั้น หมายถึงโทษจำคุกขั้นสูงตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 20 ปี แต่โทษจำคุกตามคำพิพากษาก็ยังต่ำกว่าโทษขั้นสูงตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังที่วางโทษจำคุกตลอดชีวิต จึงถือไม่ได้ว่าโทษจำคุกตามคำพิพากษาหนักกว่าโทษจำคุกตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง กรณีตามคำร้องของจำเลยที่ 1 ไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (1) ที่ศาลจะกำหนดโทษใหม่ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษามานั้นชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยที่ 1 ฟังไม่ขึ้น” พิพากษายืน |