ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นหลายกรรม

ท นาย อาสา ฟรี

 

เพิ่มเพื่อนไลน์แชทกับทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

ปรึกษากฎหมายทางแชทไลน์

มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นหลายกรรม

เนื่องจากได้มีพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 ออกใช้บังคับ โดยในมาตรา 4 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 รวมทั้งที่แก้ไขเพิ่มเติมทุกฉบับ และให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติดท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าวแทน ซึ่งตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 1 ได้นิยามคำว่า “จำหน่าย” ให้หมายความรวมถึงมีไว้เพื่อจำหน่ายด้วย ดังนั้น การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ตาม จึงเป็นความผิดอย่างเดียวกันคือจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเพียงกรรมเดียวบทเดียว แตกต่างจากกฎหมายเดิมที่ใช้ในขณะกระทำความผิดซึ่งแยกเป็นคนละฐานความผิด ดังนั้น การปรับบทลงโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นหลายกรรม จึงหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ซึ่งให้ลงโทษฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตามประมวลกฎหมายเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคหนึ่ง เพียงกรรมเดียว จึงอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะกำหนดโทษให้จำเลยใหม่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (1) ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ยกคำร้องมานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังขึ้นบางส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2567

เมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมีปริมาณสารบริสุทธิ์ 0.410 กรัม และจำหน่ายไปมีปริมาณสารบริสุทธิ์ 0.027 กรัม ซึ่งแม้จะเป็นการขายให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อไปก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏพฤติการณ์อื่นอันแสดงให้เห็นว่าจำเลยประกอบกิจการด้วยการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นการปกติทั่วไป อันจะถือเป็นการกระทำเพื่อการค้า การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 15 ปี และปรับไม่เกิน 1,500,000 บาท ดังนั้น เมื่อคำพิพากษาถึงที่สุดที่กำหนดโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ไม่หนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง กรณีไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะกำหนดโทษให้จำเลยใหม่ตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) สำหรับการปรับบทลงโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นหลายกรรมนั้น เนื่องจากได้มี พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ยาเสพติด พ.ศ. 2564 ออกใช้บังคับ โดยในมาตรา 4 ให้ยกเลิก พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 รวมทั้งที่แก้ไขเพิ่มเติมทุกฉบับ และให้ใช้ ป.ยาเสพติดท้าย พ.ร.บ. ดังกล่าวแทน ซึ่งตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 1 ได้นิยามคำว่า “จำหน่าย” ให้หมายความรวมถึงมีไว้เพื่อจำหน่ายด้วย ดังนั้น การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ตาม จึงเป็นความผิดอย่างเดียวกันคือจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเพียงกรรมเดียวบทเดียว ดังนั้น การปรับบทลงโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นหลายกรรม จึงหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ซึ่งให้ลงโทษฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคหนึ่ง เพียงกรรมเดียว จึงอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะกำหนดโทษให้จำเลยใหม่ ตาม ป.อ. มาตรา 3 (1)

คดีสืบเนื่องจากศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่งและวรรคสาม (2), 66 วรรคหนึ่งและวรรคสอง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 4 ปี และปรับ 400,000 บาท ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำคุก 4 ปี เพิ่มโทษกระทงละหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เป็นจำคุก 5 ปี 4 เดือน และปรับ 533,333.33 บาท ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน เป็นจำคุก 5 ปี 4 เดือน จำเลยให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ให้กระทงละกึ่งหนึ่ง ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย คงจำคุก 2 ปี 8 เดือน และปรับ 266,666.67 บาท ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน คงจำคุก 2 ปี 8 เดือน รวมจำคุก 4 ปี 16 เดือน และปรับ 266,666.67 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 หากต้องกักขังแทนค่าปรับให้กักขังเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี ริบเมทแอมเฟตามีนและโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลาง คดีถึงที่สุด

จำเลยยื่นคำร้องขอให้กำหนดโทษใหม่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (1)

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติดพิพากษายืน

จำเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา

ศาลฎีกาววินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า กรณีมีเหตุกำหนดโทษให้จำเลยใหม่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (1) หรือไม่ เห็นว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 บัญญัติว่า “ถ้ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด เว้นแต่คดีถึงที่สุดแล้ว แต่ในกรณีที่คดีถึงที่สุดแล้วดังต่อไปนี้ (1) ถ้าผู้กระทำความผิดยังไม่ได้รับโทษ หรือกำลังรับโทษอยู่ และโทษที่กำหนดตามคำพิพากษาหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ... ให้ศาลกำหนดโทษเสียใหม่ตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง...” ดังนั้น คำว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดหรือกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดดังกล่าวนั้น หมายถึงกฎหมายที่บัญญัติถึงการกระทำอันเป็นความผิด หรือบัญญัติถึงกำหนดโทษหรือโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น ซึ่งในคดีนี้ได้แก่บทบัญญัติความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน การปรับบทลงโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นหลายกรรม หากมีการแก้ไขบทกฎหมายดังกล่าวในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดและมีผลที่จะทำให้จำเลยได้รับโทษน้อยลง ศาลก็มีอำนาจแก้ไขโทษที่จะลงแก่จำเลยได้ภายในเงื่อนไขของมาตรา 3 นั้น สำหรับความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน การกำหนดโทษใหม่จะต้องปรากฏว่าโทษที่กำหนดตามคำพิพากษาถึงที่สุดหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง คดีนี้คำพิพากษาถึงที่สุดกำหนดโทษในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 4 ปี และปรับ 400,000 บาท และฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำคุก 4 ปี ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมีปริมาณสารบริสุทธิ์ 0.410 กรัม และจำหน่ายไปมีปริมาณสารบริสุทธิ์ 0.027 กรัม ซึ่งแม้จะเป็นการขายให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อไปก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏพฤติการณ์อื่นอันแสดงให้เห็นว่าจำเลยประกอบกิจการด้วยการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นการปกติทั่วไป อันจะถือเป็นการกระทำเพื่อการค้า การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 15 ปี และปรับไม่เกิน 1,500,000 บาท ดังนั้น คำพิพากษาถึงที่สุดที่กำหนดโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ดังกล่าวจึงไม่หนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง กรณีไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะกำหนดโทษให้จำเลยใหม่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (1) สำหรับการปรับบทลงโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นหลายกรรมนั้น เนื่องจากได้มีพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 ออกใช้บังคับ โดยในมาตรา 4 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 รวมทั้งที่แก้ไขเพิ่มเติมทุกฉบับ และให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติดท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าวแทน ซึ่งตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 1 ได้นิยามคำว่า “จำหน่าย” ให้หมายความรวมถึงมีไว้เพื่อจำหน่ายด้วย ดังนั้น การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ตาม จึงเป็นความผิดอย่างเดียวกันคือจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเพียงกรรมเดียวบทเดียว แตกต่างจากกฎหมายเดิมที่ใช้ในขณะกระทำความผิดซึ่งแยกเป็นคนละฐานความผิด ดังนั้น การปรับบทลงโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นหลายกรรม จึงหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ซึ่งให้ลงโทษฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตามประมวลกฎหมายเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคหนึ่ง เพียงกรรมเดียว จึงอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะกำหนดโทษให้จำเลยใหม่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (1) ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ยกคำร้องมานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังขึ้นบางส่วน

พิพากษากลับว่า ให้กำหนดโทษจำเลยเสียใหม่ สำหรับความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคหนึ่ง ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (1) เพียงกรรมเดียว ให้จำคุก 4 ปี และปรับ 400,000 บาท เพิ่มโทษหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 แล้ว เป็นจำคุก 5 ปี 4 เดือน และปรับ 533,333.33 บาท ลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ให้กึ่งหนึ่งแล้ว คงจำคุก 2 ปี 8 เดือน และปรับ 266,666.66 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 หากต้องกักขังแทนค่าปรับให้กักขังเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี

•  ปรับโทษใหม่ตามกฎหมายใหม่

•  ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (1)

•  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2567

•  นิยามคำว่าจำหน่ายในกฎหมายยาเสพติด

•  การกำหนดโทษฐานมีไว้เพื่อจำหน่าย

•  การลงโทษตามประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564

•  การลดโทษในคดียาเสพติด

•  ความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2567 (ย่อ)

ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาที่ถึงที่สุด จำเลยถูกกล่าวหาว่ามีเมทแอมเฟตามีนในครอบครองเพื่อจำหน่าย (0.410 กรัม) และได้จำหน่าย (0.027 กรัม) แม้จะขายให้สายลับผู้ล่อซื้อ แต่ไม่มีหลักฐานว่าจำเลยประกอบกิจการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นปกติ คดีจึงเข้าข่ายความผิดตาม ประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 90 และ 145 วรรคหนึ่ง ซึ่งกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 15 ปี และปรับไม่เกิน 1,500,000 บาท

คดีนี้เดิมศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน แยกเป็นคนละฐานความผิด จำคุก 2 ปี 8 เดือน และปรับรวม 266,666.66 บาท รวมทั้งให้กักขังแทนค่าปรับตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 และ 30

จำเลยยื่นคำร้องขอให้กำหนดโทษใหม่ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (1) โดยอ้างว่ากฎหมายใหม่ที่ใช้ในภายหลัง (พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564) มีผลเป็นคุณ เนื่องจากนิยามคำว่า "จำหน่าย" ใน ประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 1 รวมถึง "มีไว้เพื่อจำหน่าย" การกระทำดังกล่าวจึงถือว่าเป็นความผิดฐานเดียวกัน

ศาลฎีกาพิพากษา ว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดเพียงกรรมเดียว ตาม ประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 90 และ 145 วรรคหนึ่ง และ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (1) คำพิพากษาที่ให้ลงโทษแยกเป็นหลายกรรมไม่เป็นคุณแก่จำเลยตามกฎหมายใหม่ จึงพิพากษากลับให้ลงโทษจำเลยใหม่ โดยกำหนดโทษจำคุก 2 ปี 8 เดือน และปรับ 266,666.66 บาท หากไม่ชำระค่าปรับ ให้กักขังแทนค่าปรับระหว่าง 1-2 ปี

หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2567

1. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (1)

สาระสำคัญ:

มาตรา 3 (1) บัญญัติว่า หากกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างจากกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ศาลต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด เว้นแต่คดีถึงที่สุดแล้ว กรณีที่คดีถึงที่สุด ศาลสามารถกำหนดโทษใหม่ได้หากโทษตามคำพิพากษาเดิมหนักกว่าโทษที่กำหนดในกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง

หลักการสำคัญ:

•การพิจารณาว่า "เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด" ต้องพิจารณาทั้ง บทกำหนดความผิด และ บทกำหนดโทษ

•หากกฎหมายใหม่บัญญัติให้การกระทำเดิมมีโทษเบาลง ผู้กระทำความผิดมีสิทธิที่จะได้รับการลดโทษหรือกำหนดโทษใหม่

•ใช้ได้ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดยังไม่ได้รับโทษหรือกำลังรับโทษอยู่

ในคำพิพากษานี้ ศาลฎีกาใช้มาตรา 3 (1) กำหนดโทษใหม่ให้จำเลยตามกฎหมายยาเสพติดฉบับใหม่ซึ่งมีบทกำหนดโทษที่เป็นคุณกว่า

2. ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 มาตรา 1

สาระสำคัญ:

มาตรา 1 นิยามคำว่า "จำหน่าย" ให้หมายรวมถึง "มีไว้เพื่อจำหน่าย" ดังนั้น การมีเมทแอมเฟตามีนในครอบครองเพื่อจำหน่าย ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการ "จำหน่าย"

ผลทางกฎหมาย:

กฎหมายฉบับนี้รวมการมีไว้เพื่อจำหน่ายและการจำหน่ายเป็นความผิดเดียวกัน แตกต่างจากกฎหมายเดิมที่แยกฐานความผิดออกจากกัน ทำให้โทษของจำเลยตามกฎหมายใหม่เบาลง เนื่องจากการกระทำของจำเลยถูกพิจารณาเป็นเพียง "กรรมเดียว"

3. ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 มาตรา 90

สาระสำคัญ:

มาตรา 90 กำหนดบทลงโทษสำหรับผู้จำหน่ายยาเสพติด โดยกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 15 ปี และปรับไม่เกิน 1,500,000 บาท

ผลทางกฎหมายในคดีนี้:

เมื่อจำเลยถูกพิจารณาว่ากระทำความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติด ศาลใช้มาตรา 90 กำหนดโทษจำคุกและปรับในขอบเขตที่กฎหมายกำหนด

4. ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 มาตรา 145 วรรคหนึ่ง

สาระสำคัญ:

มาตรา 145 วรรคหนึ่ง กำหนดว่าผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับการจำหน่ายยาเสพติดให้ได้รับโทษตามมาตรา 90

ผลทางกฎหมายในคดีนี้:

การใช้มาตรา 145 วรรคหนึ่งควบคู่กับมาตรา 90 ทำให้ศาลกำหนดโทษสำหรับความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติดในกรอบกฎหมายที่ชัดเจน โดยไม่มีการแยกพิจารณาฐานความผิด "มีไว้เพื่อจำหน่าย" และ "จำหน่าย"

สรุปผลทางกฎหมายในคดีนี้

การบังคับใช้กฎหมายยาเสพติดฉบับใหม่ที่นิยามการกระทำของจำเลยว่าเป็นความผิดเดียวกัน ทำให้จำเลยได้รับประโยชน์จากโทษที่เบาลงตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (1) ศาลจึงกำหนดโทษใหม่โดยพิจารณาฐานความผิดเพียงกรรมเดียวตาม มาตรา 90 และ 145 วรรคหนึ่ง ของกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลย

หลักเกณฑ์การกำหนดโทษใหม่ให้จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (1)

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (1) บัญญัติหลักการสำคัญเกี่ยวกับการใช้กฎหมายที่มีผลเป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด โดยเฉพาะในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายหลังการกระทำความผิด ซึ่งสามารถสรุปหลักเกณฑ์ได้ดังนี้:

หลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (1):

1.กฎหมายที่แตกต่างกัน:

กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดและกฎหมายที่ใช้ในภายหลังต้องมีความแตกต่างกัน โดยพิจารณาเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดความผิดหรือโทษ

2.ผลเป็นคุณแก่จำเลย:

หากกฎหมายที่ใช้ในภายหลังมีผลเป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด เช่น ลดโทษ หรือเปลี่ยนแปลงนิยามความผิดให้เบาลง ให้ศาลใช้กฎหมายที่เป็นคุณ

3.เงื่อนไขการใช้:

oคดีต้องยังไม่ถึงที่สุด หรือ

oหากคดีถึงที่สุดแล้ว จำเลยยังไม่ได้รับโทษหรือกำลังรับโทษอยู่ และโทษตามคำพิพากษาหนักกว่าโทษที่กำหนดในกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง

4.การกำหนดโทษใหม่:

ศาลมีอำนาจปรับโทษให้สอดคล้องกับกฎหมายใหม่ แต่ต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย

ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง

1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2567

จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย ศาลปรับโทษใหม่ตามกฎหมายยาเสพติดฉบับใหม่ที่นิยามการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดกรรมเดียว ทำให้จำเลยได้รับโทษเบาลงตามมาตรา 3 (1)

2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3998/2564

ในคดียาเสพติด ศาลฎีกาพิจารณาให้จำเลยได้รับโทษใหม่ เนื่องจากกฎหมายใหม่ลดนิยามของการ "มีไว้เพื่อจำหน่าย" ให้ครอบคลุมถึงการกระทำกรรมเดียวกับการจำหน่าย

3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 635/2558

ศาลฎีกาพิจารณากำหนดโทษใหม่ให้จำเลยในคดียาเสพติด เนื่องจากกฎหมายใหม่ที่ออกมาในภายหลังได้ลดโทษสำหรับการมีไว้เพื่อเสพโดยมิได้มีไว้เพื่อจำหน่าย

4. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1658/2549

จำเลยกระทำผิดฐานปลอมแปลงเอกสารในขณะกฎหมายเดิมมีโทษรุนแรงกว่า แต่กฎหมายใหม่ลดโทษ ศาลจึงกำหนดโทษใหม่ให้จำเลย

5. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3240/2538

คดีที่กฎหมายใหม่ยกเลิกความผิดเดิม ทำให้จำเลยไม่ต้องรับโทษต่อเนื่อง ศาลยกฟ้องและใช้มาตรา 3 (1) เป็นหลักในการพิจารณา

ตัวอย่างการนำหลักเกณฑ์ไปใช้:

1.การพิจารณาความแตกต่างของกฎหมาย:

กฎหมายใหม่ที่เปลี่ยนแปลงนิยาม "จำหน่าย" และ "มีไว้เพื่อจำหน่าย" ในคดียาเสพติด ทำให้โทษเบาลง เนื่องจากมองว่าเป็นความผิดกรรมเดียว

2.การวิเคราะห์ผลเป็นคุณ:

เมื่อกฎหมายใหม่กำหนดโทษจำคุกและปรับในอัตราที่ต่ำกว่ากฎหมายเดิม ศาลใช้มาตรา 3 (1) กำหนดโทษใหม่เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่จำเลย

3.การปรับใช้ในกรณีถึงที่สุด:

หากคดีถึงที่สุดแล้ว แต่จำเลยยังไม่รับโทษ ศาลสามารถกำหนดโทษใหม่ได้หากโทษตามคำพิพากษาเดิมหนักกว่า

สรุป

มาตรา 3 (1) มีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองสิทธิผู้กระทำความผิด เมื่อมีกฎหมายใหม่ที่เป็นคุณเกิดขึ้น หลักการนี้สะท้อนถึงความยุติธรรมในระบบกฎหมายไทย โดยมุ่งเน้นการบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม ทั้งนี้ การศึกษาคำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้องจะช่วยให้เข้าใจแนวทางการพิจารณาของศาลและการปรับโทษใหม่ในบริบทต่าง ๆ

ประมวลกฎหมายยาเสพติด,The Narcotics Code




คดียาเสพติดให้โทษ

บทลงโทษผู้เสพยาเสพติด, เพิ่มโทษจำคุกหนึ่งในสามตามมาตรา 92, รอการลงโทษจำคุกตามมาตรา 56,
การกำหนดโทษใหม่ในคดียาเสพติด, เปิดบัญชีรับเงินค่ายาเสพติด, ความผิดฐานสมคบ
โทษประหารชีวิตยาเสพติด - การลงโทษที่ศาลพิจารณาให้ประหารชีวิตในคดียาเสพติด
คดีถึงที่สุดแล้วเรือนจำเป็นภูมิลำเนาของจำเลย, ภูมิลำเนาผู้ต้องขัง, การส่งสำเนาอุทธรณ์ผิดที่
สมคบเพื่อการค้ายาเสพติด มีโทษอย่างไร
เหตุอันสมควรเป็นการเฉพาะรายลงโทษน้อยกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้
ธนบัตรที่นำไปล่อซื้อยาเสพติดไม่ใช่สาระสำคัญถึงกับมีข้อสงสัยยกฟ้อง
คำว่า จำหน่าย ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ
ครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย | ผิดกรรมเดียว
รับฝากยาบ้า 4.013 เม็ด ถูกจำคุก 22 ปี
ริบทรัพย์สินเกี่ยวกับยาเสพติด
ยาบ้า ยาเสพติดให้โทษ เมทแอมเฟตามีน 75 เม็ด
ครอบครองยาบ้า 584 เม็ด รับสารภาพจำคุก 25 ปี
ยาเสพติดให้โทษ 600 เม็ด จำคุก 20 ปี
ครอบครองเพื่อจำหน่าย ยาเสพติดให้โทษ 750 เม็ด โทษ 20 ปี
ยาบ้า ยาเสพติดให้โทษ 778 เม็ด จำคุก 25 ปี article
ยาบ้า ยาเสพติดให้โทษ 1,200 เม็ด จำคุก 18 ปี
ยาบ้า ยาเสพติดให้โทษ 2,374 เม็ด
ครอบครองเพื่อจำหน่าย ยาบ้า (เมทแอมเฟตามีน) 3,017 เม็ด
เมทแอมเฟตามีน 5,290 เม็ด จำคุก 20 ปี
ยาเสพติดให้โทษ ยาบ้า 12,000 เม็ด จำคุก 33 ปี 9 เดือน
ให้บัญชีธนาคารคนอื่นใช้โอนเงินค่ายาเสพติดโทษเท่ากันกับตัวการ
ขอลดโทษคดียาเสพติดตามมาตรา 100/2
การกำหนดโทษใหม่ตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง
พยานบอกเล่ามีน้ำหนักน้อยยกประโยชน์ แห่งความสงสัยให้แก่จำเลย
ยาบ้า 279 เม็ด โทษจำคุก 7 ปี ครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย
ข้อมูลเป็นประโยชน์ตามมาตรา 100/2
ครอบครองเพื่อจำหน่าย ยาบ้า 27 เม็ด
การสมคบกันเพื่อกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
ยาเสพติดให้โทษ ยาบ้า เมทแอมเฟตามีน 4,000 เม็ด
ยาบ้า ยาเสพติดให้โทษ นำเข้า 22 เม็ด
นำยาเสพติดเข้าในราชอาณาจักรโทษประหาร
การยื่นฎีกาเกี่ยวกับคดียาเสพติด
ผู้ใหญ่บ้านถูกจับยาบ้ามีโทษจำคุก 3 เท่า