ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




พระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พุทธศักราช 2478

พระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พุทธศักราช 2478
                      
 ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎรลงวันที่ 20 สิงหาคม พุทธศักราช 2478)
อาทิตย์ทิพอาภา
เจ้าพระยายมราช
เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน
ตราไว้ ณ วันที่ 30 กันยายน พุทธศักราช 2478
เป็นปีที่ 2 ในรัชกาลปัจจุบัน
 
โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า สมควรวางวิธีการจดทะเบียนครอบครัว ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5
 
จึงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้
 
มาตรา 1  พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า “พระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พุทธศักราช 2478”
 
มาตรา 2  ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พุทธศักราช 2478 เป็นต้นไป
 
มาตรา 3  ในพระราชบัญญัตินี้
(1) “นายทะเบียน” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งรัฐมนตรีผู้มีหน้าที่รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ได้แต่งตั้งขึ้น
(2) “การจดทะเบียน” หมายความว่า การจดข้อความลงในทะเบียนเพื่อความสมบูรณ์ตามกฎหมาย
(3) “การบันทึก” หมายความว่า การจดข้อความลงในทะเบียนเพื่อเป็นหลักฐานในการพิสูจน์
 
มาตรา 4  บุคคลที่จะเป็นพยานตามพระราชบัญญัตินี้ไม่ได้ คือ
(1) บุคคลซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ
(2) บุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ
(3) บุคคลที่หูหนวก เป็นใบ้ หรือจักษุบอดทั้งสองข้าง
 
มาตรา 5  การจดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้จะทำที่สำนักทะเบียนแห่งใด ๆ ดังที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงก็ได้ ในกรณีที่มีการจดทะเบียนที่เกี่ยวข้องถึงกันมากกว่าแห่งหนึ่งให้หมายเหตุในทะเบียนต่าง ๆ ถึงการเกี่ยวข้องนั้น ๆ ดังที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
ให้ใช้บทบัญญัติในวรรคก่อนนี้บังคับตลอดถึงการบันทึกด้วย
 
มาตรา 6  ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 14 คำร้องขอจดทะเบียนต้องทำเป็นหนังสือตามแบบที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียน ผู้ร้องต้องลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญในทะเบียนต่อหน้านายทะเบียนและต่อหน้าพยานสองคนซึ่งต้องลงลายมือชื่อไว้ในทะเบียนในขณะนั้นด้วย แต่ถ้าผู้ร้องไม่สามารถลงลายมือชื่อได้โดยวิธีหนึ่งวิธีใด ให้นายทะเบียนหมายเหตุไว้ในทะเบียน
โดยเฉพาะการจดทะเบียนสมรส นอกจากจะปฏิบัติตามความในวรรคก่อน ถ้าท้องที่ใด ข้าหลวงประจำจังหวัดเห็นสมควรจะประกาศโดยอนุมัติของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ยอมให้ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อกำนันท้องที่ที่ชายหรือหญิงฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่ายที่มีถิ่นที่อยู่ก็ได้
คำร้องเช่นว่านี้ต้องมีลายมือชื่อของผู้ร้องและพยานสองคนลงต่อหน้ากำนัน แต่พยานคนหนึ่งนั้นต้องเป็นเจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง ซึ่งมีตำแหน่งตั้งแต่ชั้นผู้ใหญ่บ้านขึ้นไป หรือนายตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป หรือหัวหน้าสถานีตำรวจ หรือผู้แทนราษฎร เทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาล สมาชิกสภาจังหวัด หรือทนายความ
เมื่อได้รับคำร้องโดยถูกต้องแล้ว ให้กำนันส่งคำร้องนั้นต่อไปยังนายทะเบียนโดยเร็ว เพื่อพิจารณารับจดทะเบียน ในการจดทะเบียนนี้ ให้นายทะเบียนลงชื่อผู้ร้องและพยานในทะเบียนถือเป็นแทนการลงลายมือชื่อ และให้ถือว่าการสมรสได้สมบูรณ์แต่วันที่กำนันรับคำร้องนั้น
 
มาตรา 7  รายการที่ลงไว้ในทะเบียนนั้น ให้นายทะเบียนลงวัน เดือน ปี และลายมือชื่อนายทะเบียนไว้เป็นสำคัญ
 
มาตรา 8  เมื่อได้รับจดทะเบียนสมรสหรือหย่าโดยความยินยอม นายทะเบียนต้องออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนนั้นมอบให้ฝ่ายละฉบับโดยไม่เรียกค่าธรรมเนียม
 
มาตรา 9  ผู้มีส่วนได้เสียจะขอดูทะเบียนได้โดยมิต้องเสียค่าธรรมเนียม แต่ถ้าขอสำเนารายการในทะเบียนซึ่งนายทะเบียนรับรอง ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
 
มาตรา 10  เมื่อมีการร้องขอให้จดทะเบียนสมรสแล้ว ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนสมรสให้
การจดทะเบียนสมรสนั้น จะขอให้นายทะเบียนไปทำนอกสำนักทะเบียนก็ได้ แต่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
 
มาตรา 11  ถ้าบุคคลใดได้รับอนุญาตให้สมรสได้ โดยคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ให้ยื่นสำเนาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลที่รับรองว่าถูกต้องแล้วนั้นต่อนายทะเบียน ในเมื่อร้องขอจดทะเบียน
 
มาตรา 12  ถ้าผู้ที่จะพึงให้ความยินยอมได้ให้ความยินยอมโดยทำเป็นหนังสือตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 1448 (2) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้ผู้ร้องขอนำหนังสือนั้นยื่นต่อนายทะเบียนเพื่อบันทึกในทะเบียนขณะจดทะเบียนสมรส
ถ้าผู้ที่จะพึงให้ความยินยอมได้ให้ความยินยอมด้วยวาจาต่อหน้าพยานตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 1448 (3) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้ผู้ร้องขอนำพยานนั้นไปให้ถ้อยคำต่อนายทะเบียน ถ้อยคำซึ่งพยานให้ไว้นั้นให้นายทะเบียนจดลงไว้แล้วให้พยานลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
 
มาตรา 13  ห้ามมิให้นายทะเบียนจดทะเบียนสมรสเมื่อปรากฏต่อนายทะเบียนว่าการมิได้เป็นไปตามเงื่อนไขแห่งมาตรา 1445 มาตรา 1446 และมาตรา 1447 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
 
มาตรา 14  เมื่อชายหรือหญิงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตาย และโดยพฤติการณ์ที่เป็นอยู่ นายทะเบียนไม่สามารถจะไปจดทะเบียนให้ได้ และผู้ใกล้ความตายจะทำคำร้องตามแบบก็ไม่ได้ ผู้นั้นจะร้องขอจดทะเบียนสมรสด้วยวาจาหรือด้วยกิริยาก็ได้ แต่ต้องร้องต่อพนักงานฝ่ายปกครองซึ่งมีตำแหน่งตั้งแต่ชั้นกำนันขึ้นไป หรือต่อนายตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่นายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป หรือหัวหน้าสถานีตำรวจหรือต่อบุคคลซึ่งเป็นพยานได้ตามพระราชบัญญัตินี้อย่างน้อยสองคนซึ่งอยู่พร้อมกัน
ถ้าชายหรือหญิงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่ายตาย ให้ผู้ที่ได้รับคำร้องขอจดทะเบียนตามความในวรรคก่อน พร้อมด้วยชายหรือหญิงที่ยังคงมีชีวิตอยู่ ถ้าหากมี ไปแสดงตนต่อนายทะเบียนโดยไม่ชักช้า เพื่อให้ถ้อยคำแสดงพฤติการณ์แห่งการร้องขอแล้วขอจดทะเบียนสมรส
ถ้ากรณีดังกล่าวในวรรคต้นเกิดในเรือเดินทะเลระหว่างเดินทางจะร้องต่อนายเรือเสมือนเป็นเจ้าพนักงานดังกล่าวในวรรคต้นก็ได้ และให้นำบทบัญญัติในวรรคสองมาบังคับโดยอนุโลม
 
มาตรา 15  ถ้านายทะเบียนไม่ยอมรับจดทะเบียนสมรส ผู้มีส่วนได้เสียจะยื่นคำร้องต่อศาลก็ได้โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล
เมื่อศาลไต่สวนได้ความว่าการได้เป็นไปตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายครบถ้วนแล้วก็ให้ศาลมีคำสั่งไปให้รับจดทะเบียน
 
มาตรา 16  เมื่อศาลได้พิพากษาให้เพิกถอนการสมรสหรือให้หย่ากันแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียจะขอให้นายทะเบียนบันทึกไว้ในทะเบียนก็ได้ แต่ต้องยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดที่รับรองว่าถูกต้องแล้วต่อนายทะเบียน
 
มาตรา 17  ถ้าการใด ๆ อันเกี่ยวกับฐานะแห่งครอบครัวได้ทำขึ้นในต่างประเทศตามแบบซึ่งกฎหมายแห่งประเทศที่ทำขึ้นนั้นบัญญัติไว้ ผู้มีส่วนได้เสียจะขอให้บันทึกในประเทศสยามก็ได้ แต่ต้องยื่นเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการนั้นโดยมีคำรับรองถูกต้องพร้อมกับคำแปลภาษาไทย ซึ่งฝ่ายนั้นต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย
ถ้าการดังกล่าวแล้วได้ทำขึ้นในต่างประเทศตามแบบซึ่งกฎหมายสยามบัญญัติไว้ ให้เจ้าพนักงานทูตหรือกงสุลสยามส่งสำเนาทะเบียนหรือบันทึกซึ่งได้รับรองถูกต้องแล้วไปยังกระทรวงต่างประเทศเพื่อส่งต่อไปยังกระทรวงมหาดไทย
 
มาตรา 18  การจดทะเบียนการหย่าโดยความยินยอมนั้น ให้นายทะเบียนรับจดต่อเมื่อสามีและภริยาร้องขอและได้นำหนังสือตามที่ระบุไว้ในมาตรา 1498 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาแสดงต่อนายทะเบียนด้วย
 
มาตรา 19  ในกรณีที่บิดามาขอจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ถ้าเด็กและมารดาเด็กอยู่ในฐานะให้ความยินยอมได้และได้มาให้ความยินยอมด้วยตนเองแล้วก็ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียน
ถ้าเด็กและมารดาเด็กคนหนึ่งคนใดหรือทั้งสองคนไม่มาให้ความยินยอมด้วยตนเอง ให้นายทะเบียนมีหนังสือสอบถามไปยังผู้ที่ไม่มาว่าจะให้ความยินยอมหรือไม่  เมื่อนายทะเบียนได้รับหนังสือแจ้งความยินยอมจากบุคคลดังกล่าวหรือบุคคลดังกล่าวได้มาให้ความยินยอมด้วยตนเองแล้ว ก็ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียน แต่ถ้านายทะเบียนไม่ได้รับแจ้งความยินยอมภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้นายทะเบียนแจ้งให้ผู้ขอจดทะเบียนทราบถึงเหตุที่ไม่อาจรับจดทะเบียนได้โดยไม่ชักช้า
บิดาจะร้องขอให้นายทะเบียนไปจดทะเบียนนอกสำนักทะเบียนก็ได้ แต่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
 
มาตรา 20  เมื่อศาลได้พิพากษาว่าผู้ใดเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียจะยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งรับรองถูกต้องแล้ว มาให้บันทึกในทะเบียนก็ได้
 
มาตรา 21  เมื่อมีการเพิกถอนการรับรองบุตร ให้นำมาตรา 16 มาบังคับโดยอนุโลม
 
มาตรา 22  การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ให้ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมเป็นผู้ร้องขอ
ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนต่อเมื่อทั้งสองฝ่ายให้ถ้อยคำว่า ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายในเรื่องรับบุตรบุญธรรมดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว ถ้าปรากฏต่อนายทะเบียนว่าการมิได้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ว่านั้น หรือถ้อยคำที่ได้ให้ไว้ไม่เป็นความจริง ห้ามมิให้รับจดทะเบียน
ถ้านายทะเบียนไม่ยอมรับจดทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม ผู้ร้องขอจดทะเบียนฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะยื่นคำร้องต่อศาลก็ได้โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล เมื่อศาลไต่สวนได้ความว่าการได้เป็นไปตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายครบถ้วนแล้ว ก็ให้ศาลมีคำสั่งไปให้รับจดทะเบียน
 
มาตรา 23  การจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรมโดยความตกลงนั้นให้นายทะเบียนรับจดเมื่อทั้งสองฝ่ายร้องขอ
ถ้าศาลพิพากษาให้เพิกถอนหรือเลิกการรับบุตรบุญธรรม ให้นำมาตรา 16 มาบังคับโดยอนุโลม
 
มาตรา 24  ถ้าสามีภริยาซึ่งได้ทำการสมรสกันโดยสมบูรณ์ก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ร้องขอให้บันทึกฐานะของภริยาตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 ให้นายทะเบียนบันทึกไว้ในทะเบียน
 
มาตรา 25  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีหน้าที่รักษาการเท่าที่เกี่ยวกับกระทรวงนั้น ๆ ให้การเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อการนั้น และกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมที่จะเรียก
กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
 
 
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
(ตามมติคณะรัฐมนตรี)
นิติศาสตร์ไพศาลย์
รัฐมนตรี

พระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2482
 
พระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2533
 
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้ คือ เนื่องจากมาตรา 1548 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์ในการจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ได้ถูกแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 จึงสมควรแก้ไขวิธีปฏิบัติในการจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายในมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 ให้สอดคล้องกับการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดังกล่าวด้วย  จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
 




พระราชบัญญัติ ต่าง ๆ

โทษการเล่นพนันไพ่บาการา, โทษจัดให้มีการเล่นพนันสล๊อทแมชีน
โทษการพนันออนไลน์ พ.ร.บ.การพนัน, การโฆษณาชักชวนเล่นพนันออนไลน์,
พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534
พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534
พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524
พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. ๒๕๕๘
พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
พรบ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522
พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553
พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินพ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
พระราชบัญญัติรถยนต์พ.ศ. 2522
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติโรงรับจำนำพ.ศ. 2505
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540
พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550
พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522
พระราชบัญญัติสหกรณ์พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม