ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




สิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้จะพึงได้รับมีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้

ในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่มีต่อบุคคลอื่นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 122 หมายถึงสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้จะพึงได้รับ ไม่ใช่สิทธิตามสัญญาที่ผู้อื่นมีสิทธิที่จะได้รับ

 คดีสืบเนื่องมาจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดและพิพากษาให้ล้มละลาย ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของลูกหนี้ยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งกลับคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ยกคำร้องของผู้ร้อง และมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดของลูกหนี้ให้แก่ผู้ร้องโดยปราศจากภาระติดพันด้วยค่าใช้จ่ายของลูกหนี้ เจ้าพนักงานบังคับคดียื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้อง

ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้ผู้คัดค้าน เจ้าพนักงานบังคับคดีอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษาแก้เป็นว่า ให้ผู้คัดค้านโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่ผู้ร้องโดยปลอดจำนองด้วยค่าใช้จ่ายของลูกหนี้ 

ผู้คัดค้านฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา

ในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่มีต่อบุคคลอื่นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 122 หมายถึงสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้จะพึงได้รับ ไม่ใช่สิทธิตามสัญญาที่ผู้อื่นมีสิทธิที่จะได้รับ ผู้ร้องชำระราคาห้องชุดให้แก่ลูกหนี้ครบถ้วนแล้ว ลูกหนี้มีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาคือโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่ผู้ร้อง แม้ว่าห้องชุดพิพาทจะติดจำนองอยู่ก็เป็นหน้าที่ของลูกหนี้ที่ต้องไถ่ถอนจำนอง เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาให้ลูกหนี้โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่ผู้ร้อง จึงไม่อยู่ในดุลพินิจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะพิจารณาว่าสิทธิตามคำพิพากษาที่ผู้ร้องจะพึงได้รับมีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้แก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้หรือไม่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่อาจอ้างอำนาจตามมาตรา 122 มาปฏิเสธไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาที่จะต้องดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่ผู้ร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5220/2566

การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่มีต่อบุคคลอื่นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 122 หมายถึงสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้จะพึงได้รับ หาใช่สิทธิตามสัญญาที่ผู้อื่นจะพึงได้รับไม่ ผู้ร้องชำระราคาห้องชุดให้แก่ลูกหนี้ครบถ้วนตามสัญญาแล้ว ลูกหนี้ย่อมไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะได้รับจากผู้ร้องอีก คงมีแต่หน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายคือโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่ผู้ร้องเท่านั้น การที่ห้องชุดติดจำนองบริษัท ฮ. ก็เป็นหน้าที่ของลูกหนี้ที่ต้องไถ่ถอนจำนองจากบริษัท ฮ. หาใช่หน้าที่ที่ลูกหนี้ต้องปฏิบัติต่อผู้ร้องไม่ ประกอบกับศาลได้มีคำพิพากษาให้ลูกหนี้โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่ผู้ร้อง อันทำให้สิทธิของผู้ร้องมิใช่สิทธิตามสัญญาโดยแท้แต่เป็นสิทธิตามคำพิพากษา จึงไม่อยู่ในดุลพินิจของผู้คัดค้านที่จะพิจารณาว่าสิทธิตามคำพิพากษาที่ผู้ร้องจะพึงได้รับมีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้แก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้หรือไม่ ผู้คัดค้านจึงไม่อาจอ้างอำนาจตามมาตรา 122 มาปฏิเสธไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาที่จะต้องดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่ผู้ร้องได้

คดีสืบเนื่องมาจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2559 และพิพากษาให้ล้มละลายเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2560

ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งกลับคำสั่งของผู้คัดค้านที่ยกคำร้องของผู้ร้อง และมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดเลขที่ 291/17, 291/18, 291/19, 291/20 และ 291/30 โครงการ ว. ตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 25706 ของลูกหนี้ให้แก่ผู้ร้องโดยปราศจากภาระติดพันด้วยค่าใช้จ่ายของลูกหนี้ หากไม่ชำระให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา

ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้อง

ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดเลขที่ 291/17, 291/18, 291/19, 291/20 และ 291/30 โครงการ ว. ตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 25706 ให้แก่ผู้ร้อง ให้ผู้คัดค้านใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนผู้ร้องโดยกำหนดค่าทนายความแก่ผู้ร้อง 4,000 บาท โดยให้หักจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้

ผู้คัดค้านอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษาแก้เป็นว่า ให้ผู้คัดค้านโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดเลขที่ 291/17, 291/18, 291/19, 291/20 และ 291/30 โครงการ ว. ตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 25706 ให้แก่ผู้ร้องโดยปลอดจำนองด้วยค่าใช้จ่ายของลูกหนี้ หากไม่ดำเนินการให้ถือคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำสั่งศาลล้มละลายกลาง ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

ผู้คัดค้านฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันในชั้นนี้รับฟังเป็นยุติในเบื้องต้นว่า เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2555 ผู้ร้องทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดเลขที่ 291/17, 291/18, 291/19, 291/20 และ 291/30 โครงการ ว. ตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 25706 กับลูกหนี้ โดยผู้ร้องชำระราคาค่าห้องชุดทั้งห้าห้องครบถ้วนแล้ว แต่ลูกหนี้ไม่โอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ร้องและลูกหนี้นำห้องชุดดังกล่าวไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่บริษัท ฮ. วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559 ผู้ร้องเป็นโจทก์ฟ้องลูกหนี้ต่อศาลจังหวัดพัทยาให้ปฏิบัติตามสัญญา วันที่ 25 เมษายน 2559 ศาลจังหวัดพัทยามีคำพิพากษาเป็นคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ผบ.632/2559 ให้ลูกหนี้ชำระเงินจำนวน 21,500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้ร้อง หรือให้ลูกหนี้ดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดเลขที่ 291/17, 291/18, 291/19, 291/20 และ 291/30 แก่ผู้ร้อง แต่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้และไม่ดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดดังกล่าวแก่ผู้ร้อง ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลจังหวัดพัทยาออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่ผู้ร้อง แต่เนื่องจากผู้ร้องไม่มีหนังสือรับรองการปลอดหนี้จากนิติบุคคลอาคารชุด เจ้าพนักงานที่ดินจึงไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั้งห้าห้องแก่ผู้ร้องได้ ต่อมาศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ผู้คัดค้านปฏิบัติตามคำพิพากษาโดยโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั้งห้าห้องให้แก่ผู้ร้องด้วยค่าใช้จ่ายของลูกหนี้ แต่ผู้คัดค้านเห็นว่าห้องชุดทั้งห้าห้องติดจำนองบริษัท ฮ. ซึ่งยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้แล้ว สิทธิตามคำพิพากษาของผู้ร้องมีภาระเกินกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้ ผู้คัดค้านจึงไม่ยอมรับสิทธิตามคำพิพากษา แล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้องของผู้ร้อง

ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านมีว่า ผู้คัดค้านมีอำนาจปฏิเสธไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ให้ลูกหนี้โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั้งห้าห้องแก่ผู้ร้องหรือไม่ เห็นว่า การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่มีต่อบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 122 นั้น หมายถึงสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้จะพึงได้รับ หาใช่สิทธิตามสัญญาที่ผู้อื่นจะพึงได้รับไม่ คดีนี้ผู้ร้องได้ชำระราคาห้องชุดให้แก่ลูกหนี้ครบถ้วนตามสัญญาแล้ว ลูกหนี้ย่อมไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะได้รับจากผู้ร้องอีก ลูกหนี้คงมีแต่เพียงหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายคือการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั้งห้าห้องให้แก่ผู้ร้องเท่านั้น ส่วนการที่ห้องชุดดังกล่าวติดจำนองบริษัท ฮ. ก็เป็นหน้าที่ของลูกหนี้ที่ต้องไถ่ถอนจำนองจากบริษัท ฮ. หาใช่หน้าที่ที่ลูกหนี้ต้องปฏิบัติต่อผู้ร้องไม่ ประกอบกับศาลจังหวัดพัทยามีคำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ผบ.632/2559 ให้ลูกหนี้โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั้งห้าห้องให้แก่ผู้ร้องอันทำให้สิทธิของผู้ร้องมิใช่สิทธิตามสัญญาโดยแท้แต่เป็นสิทธิตามคำพิพากษา จึงไม่อยู่ในดุลพินิจของผู้คัดค้านที่จะพิจารณาว่าสิทธิตามคำพิพากษาที่ผู้ร้องจะพึงได้รับมีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้แก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้หรือไม่ ผู้คัดค้านจึงไม่อาจอ้างอำนาจตามมาตรา 122 มาปฏิเสธไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาที่จะต้องดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั้งห้าห้องให้แก่ผู้ร้องได้ และแม้ว่าห้องชุดทั้งห้าห้องติดจำนองบริษัท ฮ. ก็ตาม แต่การโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั้งห้าห้องให้แก่ผู้ร้องสามารถแยกส่วนกับภาระหนี้จำนองและการไถ่ถอนจำนองที่ลูกหนี้มีต่อบริษัท ฮ. ผู้รับจำนอง ทั้งบริษัท ฮ. ผู้รับจำนองเพียงแต่มีคำขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 96 (3) ให้ผู้คัดค้านดำเนินการยึดห้องชุดทรัพย์จำนองแต่ละห้องออกขายทอดตลาดแล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่ และผู้คัดค้านมีคำสั่งอนุญาตให้บริษัท ฮ. ได้รับชำระหนี้ตามคำขอ อำนาจในการจัดการห้องชุดทั้งห้าห้องดังกล่าวจึงตกเป็นของผู้คัดค้านและอยู่ในวิสัยที่ผู้คัดค้านจะดำเนินการในส่วนการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั้งห้าห้องให้แก่ผู้ร้องโดยปลอดภาระจำนองโดยนำเงินจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ไปไถ่ถอนจำนองจากบริษัท ฮ. ผู้รับจำนองได้ และการดำเนินการดังกล่าวหาได้กระทบสิทธิของบริษัท ฮ. ผู้รับจำนองดังที่ผู้คัดค้านฎีกาไม่ ส่วนที่ผู้คัดค้านฎีกาว่า กองทรัพย์สินของลูกหนี้ไม่มีเงินเพียงพอที่จะนำไปไถ่ถอนจำนองห้องชุดทั้งห้าห้องจากบริษัท ฮ. ผู้รับจำนองนั้น ก็หาใช่ข้ออ้างในการปฏิเสธที่จะไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา ส่วนการที่ศาลจังหวัดพัทยามีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ชำระเงิน 21,500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันถัดจากวันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้ร้อง แต่ผู้ร้องมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวต่อผู้คัดค้านภายในกำหนดเวลาตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 27 และมาตรา 91 ก็หาได้เป็นการตัดสิทธิผู้ร้องมิให้ร้องขอให้ผู้คัดค้านปฏิบัติตามคำพิพากษาดังกล่าวในส่วนที่ให้ลูกหนี้ดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดแก่ผู้ร้องไม่ เพราะคำพิพากษาของศาลจังหวัดพัทยาให้สิทธิผู้ร้องในการเลือกว่าจะบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้เงินแก่ผู้ร้องหรือให้ลูกหนี้ดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดแก่ผู้ร้องอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ ผู้ร้องจึงชอบที่จะขอให้ผู้คัดค้านปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดพัทยาในส่วนที่ให้ลูกหนี้ดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดแก่ผู้ร้องได้ ส่วนที่ผู้คัดค้านฎีกาว่า ผู้ร้องยื่นคำร้องนี้เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งของผู้คัดค้านตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 นั้น ผู้คัดค้านมิได้อุทธรณ์ปัญหาดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาโดยชอบในศาลล่าง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ฎีกาของผู้คัดค้านฟังไม่ขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษมีคำพิพากษาว่า หากไม่ดำเนินการให้ถือคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนานั้น เนื่องจากผู้คัดค้านมีหน้าที่โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั้งห้าห้องให้แก่ผู้ร้องโดยปลอดจำนองด้วยค่าใช้จ่ายของลูกหนี้ อันเป็นหนี้กระทำการอยู่ด้วย มิใช่การทำนิติกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดเพียงอย่างเดียว กรณีจึงไม่อาจให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาได้ ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษมีคำพิพากษาในส่วนนี้มานั้นจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ผู้คัดค้านโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดเลขที่ 291/17, 291/18, 291/19, 291/20 และ 291/30 โครงการ ว. ตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 25706 ให้แก่ผู้ร้องโดยปลอดจำนองด้วยค่าใช้จ่ายของลูกหนี้ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

 




เกี่ยวกับคดีล้มละลาย

โจทก์ขอเลื่อนคดีในคดีฟ้องขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย
อายุความสะดุดหยุดลงเมื่อเจ้าหนี้ได้ฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้อง
มิได้มุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น
สิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน
ลูกหนี้ซึ่งถูกพิทักษ์ทรัพย์ถูกฟ้องให้ส่งมอบรถยนต์
เจ้าหนี้ยึดทรัพย์ลูกหนี้ก่อนเจ้าหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์
การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
สิทธิได้รับชำระหนี้ของเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย
ผลของการปลดจากล้มล้มละลาย | หนี้สินก่อนล้มละลาย
ผลของการประนอมหนี้ในคดีล้มละลาย
ลูกหนี้โอนทรัพย์สิน | ได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น
การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
สั่งจ่ายเช็คหลังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์มีผลอย่างไร?
การฟ้องคดีล้มละลาย จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว
นำมูลหนี้เดิมมาฟ้องล้มละลายใหม่ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
จำเลยได้รับการปลดจากล้มละลายแล้วหลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวง
ลูกหนี้ไม่หลุดพ้นจากหนี้สินทั้งปวง
หน้าที่เสียภาษีเงินได้จากการขายทอดตลาด
คำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
หลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันพึงขอรับชำระได้
คำฟ้องโจทก์ในคดีล้มละลายไม่ชอบ
เจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย
ขายทอดตลาดทรัพย์หลักประกัน | เจ้าหนี้มีประกัน
กองทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย