

สั่งจ่ายเช็คหลังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์มีผลอย่างไร? สั่งจ่ายเช็คหลังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์มีผลอย่างไร? การออกเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมและหนี้นั้นเกิดขึ้นภายหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วจะมีผลต่อมูลหนี้ของลูกหนี้หรือผู้ออกเช็คอย่างไรบ้าง? เรื่องนี้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการที่ลูกหนี้ออกเช็คโดยไม่ได้กระทำการตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ จึงเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย มูลหนี้เงินกู้ตามเช็คตกเป็นโมฆะไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย การออกเช็คไม่มีความผิดทางอาญา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4203/2541 หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด แล้วจำเลยจึงกู้ยืมเงินโจทก์ แล้วจำเลยออกเช็คพิพาทตามฟ้องเพื่อชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ ดังนี้ มูลหนี้ตามเช็คพิพาทจึงเกิดขึ้นภายหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้ว การที่จำเลยออกเช็คพิพาทตามฟ้องเพื่อชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวฟ้องเพื่อชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวจึงเป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินและกิจการของตน และมิได้กระทำตาม คำสั่งหรือความเห็นชอบของศาลหรือบุคคลตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 24 การที่จำเลยฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวซึ่งมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย มูลหนี้ตามเช็คพิพาทย่อมตกเป็นโมฆะไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 จำเลยไม่มีความผิดตามฟ้อง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน เรียงกระทงลงโทษทุกกระทงความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 รวม 5 กระทง ลงโทษจำคุกกระทงละ 6 เดือน รวมลงโทษจำคุก 30 เดือน โทษจำคุกทุกกระทงจึงให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 โจทก์และจำเลยอุทธรณ์ โจทก์และจำเลยฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ศาลจังหวัดกาญจนบุรีมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2537 หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2537 จำเลยจึงก็ยืมเงินโจทก์จำนวน 550,000บาท แล้วจำเลยออกเช็คพิพาทตามฟ้องเพื่อชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ มูลหนี้ตามเช็คพิพาทจึงเกิดขึ้นภายหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้ว ซึ่งตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 24 บัญญัติว่า "เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว ห้ามมิให้ลูกหนี้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตน เว้นแต่จะได้กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้จัดการทรัพย์หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้" การที่จำเลยออกเช็คพิพาทตามฟ้องเพื่อชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวแล้ว จึงเป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินและกิจการของตน โดยมิได้กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาลหรือบุคคลตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ข้างต้น กรณีจำเลยฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวซึ่งมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย มูลหนี้ตามเช็คพิพาทย่อมตกเป็นโมฆะ หนี้ตามเช็คพิพาทไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 จำเลยไม่มีความผิดตามฟ้อง |