ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




การฟื้นฟูกิจการ, แผนฟื้นฟูกิจการล้มละลาย, การยกเลิกฟื้นฟูกิจการ,

ท นาย อาสา ฟรี

เพิ่มเพื่อนไลน์แชทกับทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

ปรึกษากฎหมายทางแชทไลน์ 

ความรู้เบื้องต้น: การฟื้นฟูกิจการคืออะไร แตกต่างจากการล้มละลายอย่างไร

1. การฟื้นฟูกิจการคืออะไร

การฟื้นฟูกิจการเป็นกระบวนการทางกฎหมายที่มุ่งหมายช่วยให้ลูกหนี้ที่มีหนี้สินเกินทรัพย์สินสามารถปรับปรุงโครงสร้างทางการเงินและบริหารทรัพย์สินได้ เพื่อให้กิจการสามารถดำเนินงานต่อไปได้ โดยมีเจ้าหนี้และลูกหนี้ทำงานร่วมกันภายใต้แผนฟื้นฟูกิจการที่ได้รับความเห็นชอบจากศาล

ตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง:

•พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12: กำหนดว่าเมื่อศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ จะหยุดกระบวนการบังคับคดีและให้ลูกหนี้ปฏิบัติตามแผน

*มาตรา 90/58: ระบุเงื่อนไขที่ศาลต้องพิจารณาอนุมัติแผนฟื้นฟูกิจการ เช่น การชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีล้มละลาย

2. การฟื้นฟูกิจการแตกต่างจากการล้มละลายอย่างไร

หัวข้อ

*เกี่ยวกับ การฟื้นฟูกิจการ

เป้าหมายคือ*ช่วยให้กิจการดำเนินต่อไปได้และปรับโครงสร้างทางการเงิน

บทบาทของศาล*ศาลกำกับการดำเนินแผนและตรวจสอบความเหมาะสมของแผน

ผลต่อทรัพย์สิน

*ทรัพย์สินยังคงใช้ในกิจการตามแผนฟื้นฟู

ข้อดี

*กิจการสามารถฟื้นฟูและดำเนินงานต่อได้

ข้อเสีย

*ใช้เวลาและต้นทุนสูง อาจไม่เหมาะกับกิจการที่ไม่มีศักยภาพฟื้นตัว

*เกี่ยวกับการ การล้มละลาย

*การจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อชำระหนี้

บทบาทของศาล

*ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์และดูแลการแบ่งทรัพย์สินแก่เจ้าหนี้

ผลต่อทรัพย์สิน

*ทรัพย์สินถูกขายเพื่อชำระหนี้

ข้อดี

*เจ้าหนี้ได้รับการชำระหนี้จากทรัพย์สินที่ขายออกไป

ข้อเสีย

*ลูกหนี้เสียสิทธิ์การควบคุมทรัพย์สิน

3. การพิทักษ์ทรัพย์เด็กขาดคืออะไร และเกี่ยวข้องกับการล้มละลายหรือฟื้นฟูกิจการหรือไม่

การพิทักษ์ทรัพย์เด็กขาด เป็นกระบวนการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาดูแลทรัพย์สินของลูกหนี้ในกรณีที่ลูกหนี้ยังไม่สามารถบริหารจัดการได้ หรืออยู่ในสถานะล้มละลาย

•เกี่ยวข้องกับการล้มละลาย: ในกรณีล้มละลาย การพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการทรัพย์สินเพื่อป้องกันไม่ให้เจ้าหนี้แย่งชิงทรัพย์สินกันเอง

•ไม่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูกิจการ: หากศาลสั่งฟื้นฟูกิจการ ลูกหนี้จะไม่ได้อยู่ในสถานะล้มละลาย ดังนั้น การพิทักษ์ทรัพย์เด็กขาดจะไม่เกี่ยวข้อง

4. เงื่อนไขของการฟื้นฟูกิจการ

ตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง:

•มาตรา 90/12: การฟื้นฟูกิจการเริ่มต้นได้เมื่อศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ

•มาตรา 90/58: ศาลจะอนุมัติแผนฟื้นฟูกิจการได้ต้องพิจารณาว่า

oแผนมีความครบถ้วนและชัดเจน

oเจ้าหนี้จะได้รับการชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีล้มละลาย

oการจัดลำดับชำระหนี้เป็นไปตามกฎหมาย

5. บุคคลธรรมดาสามารถร้องขอฟื้นฟูกิจการได้หรือไม่

บุคคลธรรมดาไม่สามารถร้องขอฟื้นฟูกิจการได้ เนื่องจากกระบวนการฟื้นฟูกิจการใน มาตรา 90/12 ของ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ออกแบบมาเพื่อกิจการขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพในการฟื้นตัวและมีเจ้าหนี้หลายฝ่าย หากเป็นบุคคลธรรมดา ศาลจะใช้กระบวนการล้มละลายและพิทักษ์ทรัพย์แทน

6. ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง

1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 360-361/2567

ศาลพิจารณาข้อเสนอขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการที่ไม่สามารถแสดงให้เห็นว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีล้มละลาย ศาลจึงไม่เห็นชอบข้อเสนอและสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ

2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2555

กรณีลูกหนี้เสนอแผนฟื้นฟูกิจการที่มีความไม่ชัดเจนในรายละเอียดสินทรัพย์และการชำระหนี้ ศาลไม่อนุมัติแผนเนื่องจากไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะแสดงถึงประโยชน์ที่เจ้าหนี้จะได้รับ

3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2391/2548

เจ้าหนี้คัดค้านแผนฟื้นฟูกิจการโดยอ้างว่าการชำระหนี้ในแผนไม่สอดคล้องกับกฎหมายลำดับชำระหนี้ ศาลวินิจฉัยให้แก้ไขแผนให้ถูกต้องตามกฎหมายก่อนอนุมัติ

*สรุป:

การฟื้นฟูกิจการเป็นกระบวนการสำคัญที่ช่วยให้กิจการที่มีศักยภาพสามารถดำเนินงานต่อไปได้ แตกต่างจากการล้มละลายที่เน้นการขายทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้ การพิจารณาแผนฟื้นฟูจะอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ศาลกำหนด เช่น การคุ้มครองเจ้าหนี้ และการจัดทำแผนอย่างชัดเจน ตัวอย่างคำพิพากษาที่กล่าวถึงช่วยให้เข้าใจถึงความสำคัญของความโปร่งใสและประโยชน์สูงสุดของเจ้าหนี้ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 360 - 361/2567

ผู้บริหารแผนเสนอขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการในส่วนของการจัดสรรการชำระหนี้และขอขยายกำหนดระยะเวลาดำเนินการตามแผนเดิม ซึ่งแผนฟื้นฟูกิจการที่ขอแก้ไขนั้นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2, 3 และ 4 จะได้รับชำระหนี้เงินต้นลดลงจากแผนฟื้นฟูกิจการฉบับเดิม ผู้บริหารแผนจึงต้องแสดงให้เห็นว่าเมื่อดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่แก้ไขสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/58 (3) ด้วยเช่นกัน เมื่อผู้บริหารแผนไม่ได้แสดงให้เห็นว่าเมื่อดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่แก้ไขสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/58 (3) ทั้งยังได้ความจากรายงานสรุปข้อเสนอขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการของผู้บริหารแผนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้จัดทำมาเสนอต่อศาลว่าเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 และ 3 จะได้รับชำระหนี้กรณีฟื้นฟูกิจการน้อยกว่ากรณีล้มละลาย ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเมื่อดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่แก้ไขสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้บางรายได้รับชำระหนี้น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย ศาลจึงไม่อาจมีคำสั่งเห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนดังกล่าวได้ และเมื่อข้อเสนอขอแก้ไขแผนฉบับต่อมาเป็นการขอขยายกำหนดระยะเวลาดำเนินการตามแผนและขอแก้ไขเงื่อนไขการออกจากแผนโดยเป็นการขอแก้ไขต่อจากข้อเสนอขอแก้ไขแผนฉบับแรกซึ่งจำนวนเงินที่เจ้าหนี้บางรายจะได้รับชำระหนี้ยังคงน้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายเช่นเดิม ศาลฎีกาจึงไม่เห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนฉบับต่อมาทุกฉบับ และย่อมมีผลให้เจ้าหนี้และลูกหนี้ต้องกลับไปผูกพันกันตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับเดิมที่ศาลเห็นชอบด้วยแผน การที่ศาลล้มละลายมีคำสั่งให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/70 วรรคหนึ่ง โดยเห็นว่าการฟื้นฟูกิจการตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่มีการแก้ไขดังกล่าวได้ดำเนินการเป็นผลสำเร็จตามแผนแล้ว จึงต้องถูกยกเลิกเพิกถอนด้วย

*คดีสืบเนื่องมาจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้และตั้งลูกหนี้เป็นผู้ทำแผนเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2555 ต่อมาศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2558 โดยมีลูกหนี้เป็นผู้บริหารแผน ผู้บริหารแผนได้ดำเนินการเป็นผลสำเร็จตามแผนและศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/70 วรรคหนึ่ง เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2565

*เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานว่า หลังจากศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้วผู้บริหารแผนได้ยื่นข้อเสนอขอแก้ไขแผนฉบับลงวันที่ 27 มีนาคม 2563 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นัดประชุมเจ้าหนี้ในวันที่ 2 เมษายน 2563 แต่ได้ยกเลิกนัดและกำหนดวันนัดประชุมเจ้าหนี้ใหม่ในวันที่ 11 มิถุนายน 2563 ก่อนวันนัดประชุมเจ้าหนี้ไม่น้อยกว่า 3 วัน ผู้บริหารแผนได้ยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 5 มิถุนายน 2563 ขอแก้ไขข้อเสนอขอแก้ไขแผนฉบับลงวันที่ 27 มีนาคม 2563 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาแล้วเห็นควรรวมเป็นฉบับเดียวกันเพื่อให้ที่ประชุมเจ้าหนี้ได้พิจารณาลงมติ ปรากฏว่าที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติยอมรับข้อเสนอขอแก้ไขแผนฉบับดังกล่าวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/63 ประกอบมาตรา 90/46 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้แจ้งกำหนดวันนัดพิจารณาคำขอแก้ไขแผนให้ผู้บริหารแผนและบรรดาเจ้าหนี้ทราบโดยชอบแล้ว ขอให้ศาลนัดพิจารณาว่าจะเห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนดังกล่าวหรือไม่ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/58 ประกอบมาตรา 90/63

*ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายที่ 1 ยื่นคำคัดค้านขอให้มีคำสั่งไม่เห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนและพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย

*ศาลล้มละลายกลางพิจารณาแล้วมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนที่มีการแก้ไขตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ โดยมีคำสั่งเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2563

*ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์และอุทธรณ์

*ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิเคราะห์แล้วเห็นว่า กรณีไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้ผู้คัดค้านอุทธรณ์ จึงให้ยกคำร้องและไม่รับอุทธรณ์ คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ทั้งหมดแก่ผู้คัดค้าน

*ต่อมาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานว่า ผู้บริหารแผนได้ยื่นข้อเสนอขอแก้ไขแผนฉบับลงวันที่ 5 มีนาคม 2564 และฉบับลงวันที่ 9 เมษายน 2564 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นัดประชุมเจ้าหนี้ในวันที่ 19 เมษายน 2564 แต่ได้เลื่อนไปนัดประชุมเจ้าหนี้ใหม่ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2564 ก่อนวันนัดประชุมเจ้าหนี้ ผู้บริหารแผนได้ยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 11 พฤษภาคม 2564 ขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการ โดยขอยกเลิกคำร้องขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการฉบับลงวันที่ 9 เมษายน 2564 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงรับคำร้องขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการฉบับลงวันที่ 5 มีนาคม 2564 เป็นคำร้องขอแก้ไขแผนฉบับที่ 1 และรับคำร้องขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการฉบับลงวันที่ 11 พฤษภาคม 2564 เป็นคำร้องขอแก้ไขแผนฉบับที่ 2 ปรากฏว่าที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติยอมรับข้อเสนอขอแก้ไขแผนทั้งสองฉบับดังกล่าวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/63 ประกอบมาตรา 90/46 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้แจ้งกำหนดวันนัดพิจารณาคำขอแก้ไขแผนให้ผู้บริหารแผนและบรรดาเจ้าหนี้ทราบโดยชอบแล้ว ขอให้ศาลนัดพิจารณาว่าจะเห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนดังกล่าวหรือไม่ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/58 ประกอบมาตรา 90/63

*ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายที่ 1 ยื่นคำคัดค้านว่า แผนฟื้นฟูกิจการที่ขอแก้ไขมีรายการไม่ครบถ้วนตามมาตรา 90/42 ไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจนที่จะทำให้เจ้าหนี้พิจารณาได้ว่าหากอนุมัติแล้วเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ตามแผนที่แก้ไข การขอแก้ไขแผนเป็นการประวิงเวลาทำให้เจ้าหนี้ได้รับความเสียหายและทรัพย์สินของลูกหนี้เสื่อมราคา และเมื่อถึงที่สุดจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้น้อยกว่ากรณีที่ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/58 (3) ขอให้มีคำสั่งไม่เห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนและพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย

*ศาลล้มละลายกลางพิจารณาแล้วมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนที่มีการแก้ไขตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ โดยมีคำสั่งเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2564

*ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์และอุทธรณ์

*ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิเคราะห์แล้วเห็นว่า กรณีไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งของศาลล้มละลายกลาง จึงไม่อนุญาตให้ผู้คัดค้านอุทธรณ์ ให้ยกคำร้องและไม่รับอุทธรณ์ คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ทั้งหมดแก่ผู้คัดค้าน

*ผู้คัดค้านฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษทั้งสองฉบับ โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา

*ศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายวินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า คำสั่งศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ไม่อนุญาตให้ผู้คัดค้านอุทธรณ์ทั้งสองฉบับชอบหรือไม่ เห็นว่า การที่กฎหมายล้มละลายในส่วนที่ว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้กำหนดให้แผนฟื้นฟูกิจการหรือข้อเสนอขอแก้ไขแผนซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้มีมติตามมาตรา 90/46 ยอมรับแล้วต้องได้รับความเห็นชอบจากศาลอีกชั้นหนึ่งตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ส่วนที่ 8 ว่าด้วยการพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ ซึ่งมาตรา 90/58 บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน เมื่อศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า (1) แผนมีรายการครบถ้วนตามมาตรา 90/42 (2) ข้อเสนอในการชำระหนี้ไม่ขัดต่อมาตรา 90/42 ตรี และในกรณีที่มติยอมรับแผนเป็นมติตามมาตรา 90/46 (2) ข้อเสนอในการชำระหนี้ตามแผนนั้นจะต้องเป็นไปตามลำดับที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าด้วยการแบ่งทรัพย์สินในคดีล้มละลาย เว้นแต่เจ้าหนี้นั้นจะให้ความยินยอม และ (3) เมื่อการดำเนินการตามแผนสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย อันเป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาใช้ดุลพินิจให้ความเห็นชอบด้วยแผนหรือข้อเสนอแก้ไขแผน ทั้งนี้ ก็เพื่อให้ศาลเข้ามามีบทบาทในทางเศรษฐกิจโดยใช้อำนาจตุลาการเพื่อก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และให้ศาลใช้ดุลพินิจตรวจสอบว่าสมควรให้ความเห็นชอบด้วยแผนหรือข้อเสนอขอแก้ไขแผนหรือไม่ สำหรับการพิจารณาปัญหาว่าเมื่อการดำเนินการตามแผนสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตามมาตรา 90/58 (3) หรือไม่นั้น ศาลจะต้องพิจารณาประกอบข้อมูลจากแผนฟื้นฟูกิจการในส่วนรายการรายละเอียดแห่งสินทรัพย์ หนี้สิน และภาระผูกพันต่าง ๆ ที่แท้จริงของลูกหนี้ในขณะที่ศาลสั่งให้ฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/42 (2) เมื่อต่อมาผู้บริหารแผนเสนอขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการในส่วนของการจัดสรรการชำระหนี้และขอขยายกำหนดระยะเวลาดำเนินการตามแผน ซึ่งตามแผนฟื้นฟูกิจการที่ขอแก้ไขนั้นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2, 3 และ 4 จะได้รับชำระหนี้เงินต้นลดลงจากแผนฟื้นฟูกิจการฉบับเดิม ผู้บริหารแผนจึงต้องแสดงให้เห็นว่าเมื่อดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่แก้ไขสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตามมาตรา 90/58 (3) เช่นกัน แต่กลับได้ความจากรายการสรุปข้อเสนอขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการของผู้บริหารแผนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้จัดทำมาเสนอต่อศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สรุปไว้ว่าเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 และ 3 จะได้รับชำระหนี้กรณีฟื้นฟูกิจการน้อยกว่ากรณีล้มละลาย ซึ่งต่อมาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แถลงต่อศาลในวันนัดพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่แก้ไขว่าจากการตรวจสอบทรัพย์สินของลูกหนี้นั้น ลูกหนี้ได้นำไปเป็นหลักประกันเจ้าหนี้รายที่ 7 ทั้งหมด ซึ่งหากมีการบังคับขายหลักประกันจะไม่มีเงินเหลือชำระหนี้แก่เจ้าหนี้รายอื่น ดังนั้นจึงถือว่าเจ้าหนี้ได้รับประโยชน์จากการชำระหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการที่แก้ไขมากกว่ากรณีล้มละลาย โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีพยานหลักฐานใดมาสนับสนุน ทั้งยังขัดแย้งกับรายการสรุปข้อเสนอขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการของผู้บริหารแผนซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้จัดทำมาโดยละเอียด จึงมีข้อน่าพิจารณาว่าเมื่อดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่แก้ไขสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตามมาตรา 90/58 (3) หรือไม่ กรณีจึงมีเหตุอันควรอนุญาตให้ผู้คัดค้านอุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษไม่อนุญาตให้ผู้คัดค้านอุทธรณ์นั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ทั้งข้อเท็จจริงต่าง ๆ ในสำนวนเพียงพอแก่การวินิจฉัยประกอบกับคดีฟื้นฟูกิจการจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาโดยเร็ว ศาลฎีกาจึงเห็นควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยก่อน สำหรับคำสั่งเห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนครั้งแรกลงวันที่ 17 สิงหาคม 2563 นั้น เห็นว่า คดีนี้ ในกระบวนพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยแผนนั้นไม่มีคู่ความใดโต้แย้งรายการในแผนเกี่ยวกับรายละเอียดแห่งสินทรัพย์ หนี้สิน และภาระผูกพันต่าง ๆ ของลูกหนี้ในขณะที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ จึงรับฟังได้ตามที่ปรากฏในแผน และในแผนฟื้นฟูกิจการได้นำจำนวนเงินตามรายการต่าง ๆ มาคิดคำนวณประมาณการที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายและกรณีดำเนินการตามแผนสำเร็จ ซึ่งแสดงว่าเมื่อดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายแล้ว ตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับผ่านมติที่ประชุมเจ้าหนี้วันที่ 20 พฤศจิกายน 2557 เอกสารแนบท้าย 10 ซึ่งต่อมาศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2558 ดังกล่าว เมื่อผู้บริหารแผนเสนอขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการในส่วนของการจัดสรรการชำระหนี้และขอขยายกำหนดระยะเวลาดำเนินการตามแผน ซึ่งตามแผนฟื้นฟูกิจการที่ขอแก้ไขนั้นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2, 3 และ 4 จะได้รับชำระหนี้เงินต้นลดลงจากแผนฟื้นฟูกิจการฉบับเดิม ผู้บริหารแผนจึงต้องแสดงให้เห็นว่า เมื่อดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่แก้ไขสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตามมาตรา 90/58 (3) ด้วยเช่นกัน โดยจำนวนเงินหรือประโยชน์ที่เจ้าหนี้ทั้งหลายจะได้รับกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายซึ่งจะนำมาพิจารณาเปรียบเทียบนั้นจะต้องเป็นข้อมูลจากแผนฟื้นฟูกิจการในส่วนรายการรายละเอียดแห่งสินทรัพย์ หนี้สิน และภาระผูกพันต่าง ๆ ที่แท้จริงของลูกหนี้ในขณะที่ศาลสั่งให้ฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/42 (2) ดังที่ได้วินิจฉัยมาแล้ว แต่เมื่อพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่แก้ไขซึ่งผ่านมติที่ประชุมเจ้าหนี้วันที่ 11 มิถุนายน 2563 เอกสารแนบท้าย 10 ประมาณการผลตอบแทนในการดำเนินงานตามแผนฟื้นฟูกิจการและในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย กลับเป็นฉบับเดียวกับที่แนบท้ายแผนฟื้นฟูกิจการฉบับเดิมโดยจำนวนเงินที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้นั้นยังคงเป็นจำนวนตามที่ระบุไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการฉบับเดิม มิได้เปรียบเทียบโดยระบุจำนวนเงินที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่แก้ไข จึงเป็นกรณีที่ผู้บริหารแผนไม่ได้แสดงให้เห็นว่าเมื่อดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่แก้ไขสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตามมาตรา 90/58 (3) แต่อย่างใด นอกจากนี้ยังได้ความจากรายงานสรุปข้อเสนอขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการของผู้บริหารแผนฉบับลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2563 ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้จัดทำมาเสนอต่อศาล โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้จัดทำตารางเปรียบเทียบจำนวนเงินที่เจ้าหนี้แต่ละกลุ่มจะได้รับตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับเดิม ฉบับที่แก้ไข กับจำนวนเงินที่เจ้าหนี้จะได้รับกรณีล้มละลาย ซึ่งระบุว่าจำนวนเงินที่เจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 และ 3 จะได้รับกรณีฟื้นฟูกิจการตามแผนฉบับที่แก้ไขคือ 0 บาท และ 1,004,797.11 บาท ตามลำดับ และจำนวนเงินที่เจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 และ 3 จะได้รับกรณีล้มละลาย คือ 2,497,976 บาท และ 3,608,702 บาท ตามลำดับ แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สรุปไว้ว่าเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 และ 3 จะได้รับชำระหนี้กรณีฟื้นฟูกิจการน้อยกว่ากรณีล้มละลาย โดยใช้ข้อมูลการชำระหนี้กรณีล้มละลายตามเอกสารแนบท้าย 10 ของแผนฟื้นฟูกิจการฉบับศาลเห็นชอบวันที่ 12 มีนาคม 2558 ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเมื่อดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่แก้ไขซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติยอมรับเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2563 สำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้บางรายได้รับชำระหนี้น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตามมาตรา 90/58 (3) ศาลจึงไม่อาจมีคำสั่งเห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนดังกล่าวได้ และเมื่อข้อเสนอขอแก้ไขแผนฉบับต่อมาเป็นการขอขยายกำหนดระยะเวลาดำเนินการตามแผนและขอแก้ไขเงื่อนไขการออกจากแผนโดยเป็นการขอแก้ไขต่อจากข้อเสนอขอแก้ไขแผนฉบับแรกซึ่งจำนวนเงินที่เจ้าหนี้บางรายจะได้รับชำระหนี้ยังคงน้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายเช่นเดิม ศาลฎีกาจึงไม่เห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนฉบับต่อมาทุกฉบับ และย่อมมีผลให้เจ้าหนี้และลูกหนี้ต้องกลับไปผูกพันกันตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับศาลเห็นชอบเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2558 การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/70 วรรคหนึ่ง โดยเห็นว่าการฟื้นฟูกิจการตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่มีการแก้ไขดังกล่าวได้ดำเนินการเป็นผลสำเร็จตามแผนแล้ว จึงต้องถูกยกเลิกเพิกถอนด้วยเช่นกัน

*อนึ่ง เมื่อศาลฎีกาไม่เห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนทุกฉบับมีผลให้เจ้าหนี้และลูกหนี้ต้องกลับไปผูกพันกันตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับที่ศาลเห็นชอบเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2558 ซึ่งขณะนี้ระยะเวลาดำเนินการตามแผนสิ้นสุดแล้ว แต่การที่ศาลจะพิจารณามีคำสั่งตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/70 วรรคสอง ได้นั้นจะต้องพิจารณาพยานหลักฐานในสำนวนและฟังคำชี้แจงของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้และคำคัดค้านของลูกหนี้ด้วย แต่ในชั้นนี้ข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอที่จะมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 90/70 วรรคสอง จึงเห็นควรให้ศาลล้มละลายกลางดำเนินการและพิจารณามีคำสั่งตามบทบัญญัติดังกล่าวตามที่เห็นสมควร


พิพากษากลับเป็นว่า มีคำสั่งไม่เห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนทุกฉบับ ยกคำสั่งศาลล้มละลายกลางที่มีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ และให้ศาลล้มละลายกลางพิจารณาและมีคำสั่งตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/70 วรรคสอง ตามที่เห็นสมควรต่อไป ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นพิจารณาให้ความเห็นชอบข้อเสนอขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการทั้งสามศาลให้เป็นพับ


•  การฟื้นฟูกิจการ

•  แผนฟื้นฟูกิจการล้มละลาย

•  มาตรา 90/58 พ.ร.บ.ล้มละลาย

•  การยกเลิกฟื้นฟูกิจการ

•  ศาลล้มละลายกลาง

•  เจ้าหนี้ในกระบวนการล้มละลาย

•  แผนฟื้นฟูกิจการที่แก้ไข

•  คำพิพากษาศาลฎีกาคดีล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 360-361/2567 สรุปดังนี้:

ผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการเสนอขอแก้ไขแผนในส่วนของการจัดสรรชำระหนี้และขอขยายกำหนดเวลาตามแผนเดิม แต่ข้อเสนอแก้ไขดังกล่าวระบุว่าเจ้าหนี้บางกลุ่มจะได้รับชำระหนี้ลดลงจากแผนเดิม ศาลเห็นว่าผู้บริหารแผนต้องแสดงให้เห็นว่าแผนที่แก้ไขจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/58 (3) แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันเพียงพอ อีกทั้งจากการตรวจสอบของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พบว่าเจ้าหนี้บางกลุ่มจะได้รับชำระหนี้น้อยกว่าในกรณีล้มละลาย ดังนั้นศาลจึงไม่อาจเห็นชอบด้วยข้อเสนอแก้ไขแผนดังกล่าวได้

ศาลฎีกายังระบุว่า เมื่อข้อเสนอขอแก้ไขแผนทุกฉบับไม่มีผลบังคับใช้ การฟื้นฟูกิจการต้องยึดตามแผนเดิมที่ศาลเห็นชอบเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2558 ซึ่งขณะนี้ระยะเวลาดำเนินการตามแผนสิ้นสุดแล้ว การดำเนินการตามมาตรา 90/70 วรรคสอง ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติม ศาลฎีกาจึงพิพากษากลับคำสั่งศาลล้มละลายกลาง ไม่เห็นชอบด้วยข้อเสนอแก้ไขแผน และให้ศาลล้มละลายกลางพิจารณาต่อไปตามความเหมาะสม

ผล:

1.ไม่เห็นชอบข้อเสนอแก้ไขแผนทุกฉบับ

2.ยกคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ

3.คืนสถานะตามแผนฟื้นฟูกิจการเดิม

4.ให้ศาลล้มละลายกลางพิจารณาตามมาตรา 90/70 วรรคสอง

5.ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

*การอธิบายหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483

1. มาตรา 90/70 วรรคหนึ่ง

หลักการ

มาตรานี้บัญญัติถึงการยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ เมื่อแผนฟื้นฟูกิจการดำเนินการเสร็จสิ้นตามเป้าหมาย หรือในกรณีที่การดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการไม่สามารถประสบผลสำเร็จตามที่กำหนดไว้

เงื่อนไขสำคัญในวรรคหนึ่ง

•ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ: หากลูกหนี้ดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการสำเร็จ ศาลจะมีคำสั่งให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ถือว่าลูกหนี้พ้นจากสถานะภายใต้กระบวนการฟื้นฟูกิจการ

•การบรรลุผลสำเร็จของแผน: ต้องมีหลักฐานชัดเจนว่าการดำเนินงานสำเร็จตามเงื่อนไขและวัตถุประสงค์ของแผนที่ได้รับอนุมัติจากศาล เช่น การชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตามที่กำหนดไว้ในแผน

2. มาตรา 90/58 (3)

หลักการ

มาตรา 90/58 เป็นกฎหมายที่กำหนดเงื่อนไขที่ศาลต้องพิจารณาก่อนอนุมัติหรือเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ โดยใน (3) มีหลักเกณฑ์สำคัญว่า:

“การดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการสำเร็จ ต้องทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ลูกหนี้ล้มละลาย”

เงื่อนไขสำคัญในข้อ (3)

•การคุ้มครองเจ้าหนี้: กฎหมายต้องการรับรองว่าเจ้าหนี้จะไม่ได้รับความเสียหายหรือเสียประโยชน์จากการอนุมัติแผนฟื้นฟูกิจการ

•การเปรียบเทียบ: การคำนวณและประเมินผลตอบแทนที่เจ้าหนี้จะได้รับต้องชัดเจน เปรียบเทียบระหว่างสองกรณี ได้แก่

1.กรณีดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการสำเร็จ

2.กรณีลูกหนี้ล้มละลายและขายทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้

•การนำเสนอข้อมูล: ผู้บริหารแผนต้องจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สิน หนี้สิน และการชำระหนี้อย่างครบถ้วน เพื่อให้ศาลมั่นใจว่าการดำเนินงานตามแผนจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีล้มละลาย

*การเชื่อมโยงกับคำพิพากษา

1.การพิจารณาอนุมัติแผน (มาตรา 90/58 (3))

oในคำพิพากษาศาลฎีกา 360-361/2567 ผู้บริหารแผนเสนอแผนที่แก้ไข แต่ไม่สามารถแสดงให้เห็นว่าการดำเนินการตามแผนใหม่จะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีลูกหนี้ล้มละลาย ส่งผลให้ศาลไม่สามารถเห็นชอบด้วยแผนดังกล่าวได้

oการขาดข้อมูลเปรียบเทียบชัดเจน เช่น รายละเอียดทรัพย์สิน หนี้สิน และการชำระหนี้ตามแผนใหม่ เทียบกับกรณีล้มละลาย เป็นข้อบกพร่องสำคัญ

2.การยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ (มาตรา 90/70 วรรคหนึ่ง)

oเมื่อลูกหนี้ดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการเดิมสำเร็จแล้ว ศาลสามารถสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการได้ อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้ ศาลยังไม่อาจสั่งยกเลิกกระบวนการฟื้นฟูกิจการ เนื่องจากข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอและยังมีข้อพิพาทเกี่ยวกับข้อเสนอแก้ไขแผน

*สรุป

•มาตรา 90/70 วรรคหนึ่ง ใช้เป็นเกณฑ์ในการยกเลิกการฟื้นฟูกิจการหลังจากแผนประสบผลสำเร็จ

•มาตรา 90/58 (3) ใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติแผนฟื้นฟูกิจการ โดยเน้นให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีลูกหนี้ล้มละลาย

•ในกรณีนี้ ศาลฎีกาพิพากษาว่าข้อเสนอแก้ไขแผนไม่มีข้อมูลเพียงพอและส่งผลเสียต่อเจ้าหนี้บางกลุ่ม จึงไม่สามารถเห็นชอบข้อเสนอแก้ไขแผนได้




เกี่ยวกับคดีล้มละลาย

หนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางอาคารชุด, สิทธิบุริมสิทธิของนิติบุคคลอาคารชุด, การจัดลำดับเจ้าหนี้ในคดีล้มละลาย
ขาดนัดพิจารณา ผลทางกฎหมาย, ศาลล้มละลาย พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด, การพิจารณาคดีล้มละลายผ่านอิเล็กทรอนิกส์
สิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้จะพึงได้รับมีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้
หนี้สินล้นพ้นตัว, ฟ้องล้มละลายบุคคลธรรมดาหนี้สองล้านบาท, คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด,
การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย, ขั้นตอนการพิสูจน์หนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
คดีล้มละลายยื่นคำขอรับชำระหนี้ล่าช้า, เหตุสุดวิสัยในการยื่นคำร้อง, การขยายเวลายื่นคำขอของเจ้าหนี้
เจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้โดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีแพ่งก่อน, การพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็กขาด
การแก้ไขคำขอรับชำระหนี้, เจ้าหนี้มีประกันและไม่มีประกัน
ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดที่ดินในคดีล้มละลาย, ข้อกำหนดการตรวจสอบทรัพย์สินก่อนประมูล
ความผิดทางกฎหมายในการปกปิดสถานะล้มละลายห,ข้อกำหนดการแจ้งสถานะล้มละลายก่อนขอสินเชื่อ
อายุความสะดุดหยุดลงเมื่อเจ้าหนี้ได้ฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้อง
มิได้มุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น
สิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน
ลูกหนี้ซึ่งถูกพิทักษ์ทรัพย์ถูกฟ้องให้ส่งมอบรถยนต์
เจ้าหนี้ยึดทรัพย์ลูกหนี้ก่อนเจ้าหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์
การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
สิทธิได้รับชำระหนี้ของเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย
ผลของการปลดจากล้มล้มละลาย | หนี้สินก่อนล้มละลาย
ผลของการประนอมหนี้ในคดีล้มละลาย
ลูกหนี้โอนทรัพย์สิน | ได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น
การปฏิบัติงานบังคับคดีล้มละลายของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
สั่งจ่ายเช็คหลังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์มีผลอย่างไร?
การฟ้องคดีล้มละลาย จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว
นำมูลหนี้เดิมมาฟ้องล้มละลายใหม่ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
จำเลยได้รับการปลดจากล้มละลายแล้วหลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวง
ลูกหนี้ไม่หลุดพ้นจากหนี้สินทั้งปวง
หน้าที่เสียภาษีเงินได้จากการขายทอดตลาด
คำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
หลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันพึงขอรับชำระได้
คำฟ้องโจทก์ในคดีล้มละลายไม่ชอบ
เจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย
ขายทอดตลาดทรัพย์หลักประกัน | เจ้าหนี้มีประกัน
กองทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย