ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




อำนาจฟ้องคดีนอกเขตศาล เพิกถอนการจดทะเบียนการโอนที่ดิน

ทนายความ ฟ้องหย่า lawyer

อำนาจฟ้องคดีนอกเขตศาล สืบพยานจนเสร็จการ |  เพิกถอนการจดทะเบียนการโอนที่ดิน

 โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแพ่ง ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการโอนที่ดินซึ่งตั้งอยู่ในเขตศาลจังหวัดนครปฐม ซึ่งอยู่นอกเขตอำนาจศาลแพ่ง โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่??? การที่ศาลแพ่งรับฟ้องรับคำให้การ ตลอดจนสืบพยานจนเสร็จการพิจารณาย่อมแสดงว่าศาลแพ่งยอมรับพิจารณาคดีนี้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14(4) แล้ว

ถ้าผู้โอนไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินก็ไม่มีสิทธิอำนาจจะนำที่ดินไปขายให้ผู้ใด คดีนี้เมื่อได้ความว่ามีการปลอมหนังสือมอบอำนาจ และจำเลยที่ 1 ได้นำไปจดทะเบียนขายที่ดินให้จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิใด ๆ ในที่พิพาทที่จะนำไปขายฝากให้จำเลยที่ 3 โจทก์ซึ่งเป็นทายาทจึงมีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทได้

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4176/2530

 จำเลยที่ 1 ใช้ใบมอบอำนาจของ อ. ซึ่งเป็นใบมอบอำนาจปลอมโอนขายที่ดินของ อ.ให้จำเลยที่ 2 โดยอ. มิได้รู้เห็นยินยอม แล้วจำเลยที่ 2 นำที่ดินไปขายฝากแก่จำเลยที่ 3 ดังนี้ จำเลยที่ 2 ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและย่อมไม่มีอำนาจที่จะนำไปขายฝากแก่จำเลยที่ 3 ได้ โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ อ. จึงมีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นกลับคืนมาเป็นของ อ. ตามเดิมได้

โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแพ่ง ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินซึ่งตั้งอยู่ในเขตศาลจังหวัดนครปฐม การที่ศาลแพ่งรับฟ้องรับคำให้การ ตลอดจนสืบพยานจนเสร็จการพิจารณาย่อมแสดงว่าศาลแพ่งยอมรับพิจารณาคดีนี้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14(4) แล้ว

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งหกเป็นผู้จัดการมรดกของสมเด็จพระนางเจ้า...และทรงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดที่ 2196 เมื่อราวปลายปี พ.ศ. 2508 นายถวัลย์  ขอซื้อที่ดินจากพระองค์ท่านหลายแปลงและบอกว่ามีผู้ขอซื้ออีกหลายแปลง พระองค์ท่านทรงตกลงขายให้และทรงลงพระนามในหนังสือมอบอำนาจหลายฉบับที่ยังไม่ได้กรอกข้อความมอบให้นายถวัลย์ไปจัดการโดยเข้าพระทัยว่านายถวัลย์ใช้หนังสือมอบอำนาจหมดแล้ว ต่อมาปี พ.ศ. 2515 พระองค์ท่านทรงทราบว่าจำเลยที่ 1 ขายที่ดินโฉนดที่ 2196 ให้แก่จำเลยที่ 2 ไปโดยพระองค์ท่านไม่เคยทรงมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ขายที่ดิน และจำเยที่ 2 ขายฝากที่ดินให้จำเลยที่ 3 ไปแล้ว ทั้งนี้เพราะนายถวัลย์ใช้หนังสือมอบอำนาจที่พระองค์ท่านทรงลงพระนามให้ไม่หมด เมื่อนายถวัลย์ถึงแก่กรรมจำเลยที่ 1 สมคบกับจำเลยที่ 2 ปลอมหนังสือมอบอำนาจและโอนให้แก่จำเลยที่ 2 การโอนจึงเป็นโมฆะการจดทะเบียนขายฝากให้จำเลยที่ 3 ก็เป็นโมฆะไปด้วย ผู้จัดการมรดกและทายาทโดยธรรมของพระองค์ท่านมีสิทธิขอให้เพิกถอนเอาที่ดินคืนได้ ขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินตามฟ้องระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และการขายฝากระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ให้ที่ดินกลับคืนมาอยู่ในรพะนามสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจีตามเดิม หากจำเลยไม่จัดการให้ถือเอาคำพิพากษาของสาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลย

จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา

จำเลยที่ 2 ให้การว่าซื้อที่ดินมาโดยสุจริตด้วยการจัดการของนายถวัลย์ตัวแทนและผู้จัดการผลประโยชน์ของสมเด็จพระนางเจ้า... หากมีการปลอมหนังสือมอบอำนาจก็เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของพระองค์ท่านที่ทรงลงพระนามในหนังสือมอบอำนาจโดยไม่กรอกข้อความมอบให้นายถวัลย์ไป จึงฟ้องเพิกถอนการโอนมิได้

จำเลยที่ 3 ให้การว่าที่ดินพิพาทตั้งอยู่ในเขตศาลจังหวัดนครปฐมโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลแพ่ง จำเลยที่ 3 มิได้สมคบกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ในการทำสัญญาขายฝากและมิได้ประมาทเลินเล่อ แต่เห็นว่าจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์จึงรับซื้อฝากที่ดินไว้จนหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 3 เหตุเกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของสมเด็จพระนางเจ้า... ซึ่งทรงทราบดีว่าได้มอบโฉนดที่ดินและหนังสือมอบอำนาจให้ผู้ใดไป เมื่อนายถวัลย์ถึงแก่กรรมก็มิได้ทรงประกาศยกเลิกเอกสารต่าง ๆ ที่ทรงลงประนามไว้

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามเพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 กับนิติกรรมขายฝากระหว่างจำเลยที่ 2และจำเลยที่ 3 ในโฉนดที่ดินพิพาทเลขที่ 2196 ตำบลกระพังโหม อำเภอกำแพงแสนจังหวัดนครปฐม ให้กลับคืนมาในนามของสมเด็จพระนางเจ้า...พระวรราชชายาหากจำเลยทั้งสามเพิกเฉยก็ใหถือเอาคำพิพากษานี้เป็นการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสาม สำหรับค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความสมควรให้เป็นพับ

   จำเลยที่ 3 อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ให้จำเลยที่ 3 ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ 5,000 บาทแทนโจทก์

  จำเลยที่ 3 ฎีกา

 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า ที่พิพาทตั้งอยู่ในเขตศาลจังหวัดนครปฐมโจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลแพ่งโดยไม่ขออนุญาตก่อนเป็นการไม่ชอบนั้น ศาลฎีกาเห็นว่าคดีที่เกิดขึ้นนอกเขตของศาลแพ่งนั้น จะยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งก็ได้แต่อยู่ในดุลพินิจของ ศาลแพ่งที่จะไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีที่ยื่นฟ้องเช่นนั้นได้ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14(4) การที่ศาลแพ่งรับฟ้อง รับคำให้การ ตลอดจนสืบพยานจนเสร็จการพิจารณาย่อมแสดงให้เห็นว่า ศาลแพ่งใช้ดุลพินิจยอมรับพิจารณาคดีนี้ตามบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว

จำเลยที่ 3 ฎีกาข้อสุดท้ายว่าสมเด็จพระนางเจ้า... กระทำการด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทรงลงพระนามในหนังสือมอบอำนาจที่ยังไม่ได้กรอกข้อความแล้วทรงมอบให้นายถวัลย์พร้อมกับโฉนดที่ดิน เมื่อนายถวัลย์ถึงแก่กรรมก็มิได้ทรงเรียกคืนจากจำเลยที่ 1 แสดงว่าทรงรู้เห็นหรือมอบหมายให้จำเลยที่ 1 โอนที่ให้จำเลยที่ 2 ได้ จำเลยที่ 3 รับซื้อฝากที่พิพาทโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน จะอ้างความประมาทเลินเล่อของเจ้าของที่ดินเดิมมาเพิกถอนนิติกรรมระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 หาได้ไม่ ศาลฎีกาเห็นว่า จำเลยที่ 3 รับซื้อฝากที่พิพาทมาจากจำเลยที่ 2 จึงต้องพิเคราะห์ว่า จำเลยที่ 2 มีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทหรือไม่ ถ้าจำเลยที่ 2 ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทก็ไม่มีอำนาจจะนำที่พิพาทไปขายให้จำเลยที่ 3 ข้อเท็จจริงฟังได้ว่ามีการปลอมหนังสือมอบอำนาจ และจำเลยที่ 1 ได้นำหนังสือมอบอำนาจฉบับนี้ไปเป็นหลักฐานในการจดทะเบียนขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 ในราคา 280,000 บาท แต่ราคาประเมินของทางราชการ ที่พิพาทมีราคาประเมินประมาณ 540,000 บาท สูงกว่าราคาที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ซื้อขายกัน ทั้งยังได้ความในช่วงนี้ พ.ศ. 2514 ซึ่งจำเลยที่ 2 อ้างว่าซื้อที่พิพาทมาจากสมเด็จพระนางเจ้า... นั้น ฐานะการเงินของจำเลยที่ 2ไม่ดีธนาคารเริ่มจะทวงหนี้และไม่ยอมให้จำเลยที่ 2 เบิกเงินเกินบัญชีอีก จึงไม่มีเหตุผลให้เชื่อว่าจำเลยที่ 2 ซื้อที่พิพาทและชำระเงินให้สมเด็จพระนางเจ้า...และพระองค์ท่านทรงรู้เห็นยินยอมในการขายที่พิพาทแต่อย่างใด เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าพระองค์ท่านทรงขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิใด ๆ ในที่พิพาทที่จะนำไปขายฝากให้จำเลยที่ 3 โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและเป็นผู้จัดการมรดกของสมเด็จพระนางเจ้า...จึงมีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทกลับคืนมาเป็นของพระองค์ท่านตามเดิม

   พิพากษายืน

มาตรา 453 อันว่าซื้อขายนั้นคือสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ซื้อและผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย

มาตรา 1336 ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอย และจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิ ติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และ มีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วย กฎหมาย

มาตรา 1719 ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็น เพื่อให้การเป็นไปตามคำสั่งแจ้งชัดหรือโดยปริยายแห่งพินัยกรรม และเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป หรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก

 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 14 ให้อธิบดีผู้พิพากษาภาคเป็นผู้พิพากษาในศาลที่อยู่ในเขตอำนาจด้วยผู้หนึ่ง โดยให้มีอำนาจและหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 11 วรรคหนึ่ง และให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย

(1) สั่งให้หัวหน้าสำนักงานประจำศาลยุติธรรมรายงานเกี่ยวด้วยคดี หรือรายงานกิจการอื่นของศาลที่อยู่ในเขตอำนาจของตน
(2) ในกรณีจำเป็นจะสั่งให้ผู้พิพากษาคนใดคนหนึ่งในศาลที่อยู่ในเขตอำนาจของตนไปช่วยทำงานชั่วคราวมีกำหนดไม่เกินสามเดือนในอีกศาลหนึ่งโดยความยินยอมของผู้พิพากษานั้นก็ได้ แล้วรายงานไปยังประธานศาลฎีกาทันที

ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1814/2556

 พระภิกษุพิม ดีอ่อน โดยนางชิดชนก ดีอ่อน                  โจทก์
ผู้เข้าเป็นคู่ความแทน    

          โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์อันเป็นการเสียเปรียบแก่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิแก่ตนได้อยู่ก่อน ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ขณะทำนิติกรรมขายฝากจำเลยที่ 2 รู้ข้อเท็จจริงว่า โจทก์เป็นผู้จะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 และได้ครอบครองทำประโยชน์อยู่ก่อนอันเป็นทางให้โจทก์เจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 เสียเปรียบ แม้จำเลยที่ 1 จะเสียค่าตอบแทนก็เป็นการร่วมกันฉ้อฉล โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝากระหว่างจำเลยทั้งสองได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ไม่ถือเป็นการนอกฟ้อง เกินกว่าคำขอดังที่จำเลยที่ 2 ฎีกา เนื่องจากคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเพิกถอนการฉ้อฉลไว้ครบถ้วน เพียงแต่ปรับบทกฎหมายแตกต่างไปเป็นเรื่องเพิกถอนการจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์อันเป็นทางเสียเปรียบแก่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนของตนได้อยู่ก่อน ซึ่งเป็นอำนาจศาลที่จะปรับบทให้ตรงกับคำบรรยายฟ้องและข้อเท็จจริงที่ยังได้จากการพิจารณาคดี

มาตรา 142  คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลที่ชี้ขาดคดีต้องตัดสินตามข้อหาในคำฟ้องทุกข้อ แต่ห้ามมิให้พิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง เว้นแต่
(1) ในคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ ให้พึงเข้าใจว่าเป็นประเภทเดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่จำเลย ถ้าศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี เมื่อศาลเห็นสมควรศาลจะมีคำสั่งให้ขับไล่จำเลยก็ได้ คำสั่งเช่นว่านี้ให้ใช้บังคับตลอดถึงวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยที่อยู่บนอสังหาริมทรัพย์นั้น ซึ่งไม่สามารถแสดงอำนาจพิเศษให้ศาลเห็นได้
(2) ในคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์ใด ๆ เป็นของตนทั้งหมด แต่พิจารณาได้ความว่าโจทก์ควรได้แต่ส่วนแบ่ง เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ได้รับแต่ส่วนแบ่งนั้นก็ได้
(3) ในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ชำระเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องเมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยจนถึงวันที่ได้ชำระเสร็จตามคำพิพากษาก็ได้
(4) ในคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าหรือค่าเสียหายอันต่อเนื่องคำนวณถึงวันฟ้อง เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะพิพากษาให้ชำระค่าเช่าและค่าเสียหายเช่นว่านี้จนถึงวันที่ได้ชำระเสร็จตามคำพิพากษาก็ได้
(5) ในคดีที่อาจยกข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นอ้างได้นั้น เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะยกข้อเหล่านั้นขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปก็ได้
(6)  ในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ชำระเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยซึ่งมิได้มีข้อตกลงกำหนดอัตราดอกเบี้ยกันไว้ เมื่อศาลเห็นสมควรโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดี ศาลจะพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่สูงขึ้นกว่าที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎหมายแต่ไม่เกินร้อยละสิบห้าต่อปีนับตั้งแต่วันฟ้องหรือวันอื่นหลังจากนั้นก็ได้

 

มาตรา 237  เจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้ซึ่งนิติกรรมใดๆ อันลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ แต่ความข้อนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าปรากฏว่าในขณะที่ทำนิติกรรมนั้น บุคคลซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบนั้นด้วย แต่หากกรณีเป็นการทำให้โดยเสน่หา ท่านว่าเพียงแต่ลูกหนี้เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียวเท่านั้นก็พอแล้วที่จะขอเพิกถอนได้
บทบัญญัติดังกล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ท่านมิให้ใช้บังคับแก่นิติกรรมใดอันมิได้มีวัตถุเป็นสิทธิในทรัพย์สิน

 




พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

อำนาจศาลแขวงและศาลจังหวัดในคดีอาญา, หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา มาตรา 328
คดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์เป็นประเภทเดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่
ศาลแขวงไม่รับโอนคดีจากศาลจังหวัดเป็นการไม่ชอบ
ศาลแขวงพิพากษาลงโทษปรับเกินหนึ่งหมื่นบาทไม่ได้
พิพากษายกฟ้องโดยผู้พิพากษาคนเดียว
คดีทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท อยู่ในอำนาจศาลแขวง
ผู้พิพากษาคนเดียวลงโทษจำคุก 8 เดือนได้หรือไม่?
ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะ
อำนาจพิจารณาคดีของผู้พิพากษาคนเดียว