ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ขับขี่รถโดยไม่คำนึ่งถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อน

ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถโดยไม่คำนึ่งถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น 

ผู้ที่นั่งซ้อนท้ายจักรยานยนต์สองคนโดยนั่งโยกตัวไปมาเพื่อไม่ให้รถเสียหลักล้ม การกระทำ ดังกล่าวย่อมเป็นการอำนวยความสะดวกให้ผู้ขับขี่ สามารถขับรถจักรยานยนต์ด้วยความเร็วสูงแซงซ้ายแซงขวารถคันอื่นในลักษณะน่าหวาดเสียวซึ่งเป็นการขับรถที่ไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น อันอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น ตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (8) เพื่อนที่นั่งซ้อนท้ายสองคนจึงมีความผิดฐานสนับสนุนการกระทำความผิดของผู้ขับขี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5829/2549

การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับ โดยนั่งโยกตัวไปมาเพื่อไม่ให้รถเสียหลักล้ม ย่อมเป็นการอำนวยความสะดวกให้จำเลยที่ 1 สามารถขับรถจักรยานยนต์ด้วยความเร็วสูงแซงซ้ายแซงขวารถคันอื่นในลักษณะน่าหวาดเสียว ซึ่งเป็นการขับรถที่ไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น ตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (8) จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (8), 160

จำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพ

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสามมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (8), 160 วรรคสาม จำคุกคนละ 4 เดือน จำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 จำคุกคนละ 2 เดือน ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 23

จำเลยทั้งสามอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 20 วัน ลดโทษให้กึ่งหนึ่งแล้ว คงจำคุก 10 วัน เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทน ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับ โดยนั่งโยกตัวไปมาเพื่อไม่ให้รถเสียหลักล้ม การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ดังกล่าวย่อมเป็นการอำนวยความสะดวกให้จำเลยที่ 1 สามารถขับรถจักรยานยนต์ด้วยความเร็วสูงแซงซ้ายแซงขวารถคันอื่นในลักษณะน่าหวาดเสียวซึ่งเป็นการขับรถที่ไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น อันอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น ตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (8) จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงมีความผิดฐานสนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ตามฟ้อง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่เป็นความผิดนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น?

พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 มีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (8), 160 วรรคสาม ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 ปรับคนละ 1,500 บาท ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้ว คงปรับคนละ 750 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2.

พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522

มาตรา 43 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถ
(1) ในขณะหย่อนความสามารถในอันที่จะขับ
(2) ในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น
(3) ในลักษณะกีดขวางการจราจร
(4) โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว อันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคล หรือ ทรัพย์สิน
(5) ในลักษณะที่ผิดปกติวิสัยของการขับรถตามธรรมดา หรือไม่อาจ แลเห็นทางด้านหน้าหรือด้านหลัง ด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้านได้พอ แก่ความปลอดภัย
(6) คร่อมหรือทับเส้นหรือแนวแบ่งช่องเดินรถ เว้นแต่เมื่อเปลี่ยนช่อง เดินรถ เลี้ยวรถ หรือกลับรถ
(7) บนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร เว้นแต่รถลากเข็นสำหรับทารถ คนป่วยหรือคนพิการ
(8) โดยไม่คำนึ่งถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น

ประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 86 ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิด ก่อนหรือขณะกระทำ ความผิด แม้ผู้กระทำความผิดจะมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือหรือให้ความ สะดวกนั้นก็ตาม ผู้นั้นเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด ต้อง ระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดที่ สนับสนุนนั้น

 




คดีเกี่ยวกับจราจรทางบก

รายงานสืบเสาะและพินิจ, ข้อมูลลับในคดีอาญา, พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร มาตรา 15
จอดรถกีดขวางทางจราจร
ความประมาทที่ไม่ร้ายแรงรอการลงโทษจำคุก
ความผิดจราจรทางบก รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย
ฟ้องจอดรถโดยประมาท
ไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือ,ไม่มีใบอนุญาตขับขี่,โทษ
ประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย รับสารภาพจำคุก 1 ปี
การขับรถโดยประมาท จอดรถริมถนน
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปดูแลรักษาผู้ป่วยเรียกได้หรือไม่?
เท่าไหร่ถึงจะเรียกว่าเมา โทษของเมาแล้วขับหนักเบาอย่างไร?