

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตราไว้ ณ วันที่ 15 มิถุนายน พุทธศักราช 2478 เป็นปีที่ 2 ในรัชกาลปัจจุบัน มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า "พระราชบัญญัติ ให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พุทธศักราช 2477" มาตรา 2 ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป มาตรา 3 ให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตามที่ได้ตราไว้ต่อท้ายพระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พุทธศักราช 2478 เป็นต้นไป บทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้ให้ใช้ในศาลทั่วไปตลอดราชอาณาจักร ยกเว้นแต่ในศาลพิเศษที่มีข้อบังคับสำหรับศาลนั้น และถ้ามีกฎหมายให้ใช้ธรรมเนียมประเพณีหรือกฎหมายทางศาสนาในศาลใด ให้ศาลนั้นยกธรรมเนียมประเพณีหรือกฎหมายนั้น ๆ มาใช้แทนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ เว้นแต่คู่ความจะได้ตกลงกันไว้ให้ใช้ประมวลกฎหมายนี้ บทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้ ให้ใช้บังคับแก่คดีความทั้งปวงซึ่งค้างชำระอยู่ ในศาลเมื่อวันใช้ประมวลกฎหมายนี้ หรือที่ได้ยื่นต่อศาลภายหลังวันนั้น ไม่ว่ามูลคดีจะได้เกิดขึ้น ก่อนหรือหลังวันใช้นั้น มาตรา 4 ตั้งแต่วันใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนี้สืบไป ให้ยกเลิกบรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่น ๆ ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในประมวลกฎหมายนี้ หรือซึ่งแย้งกับบทแห่งประมวลกฎหมายนี้ มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมีอำนาจออกกฎกระทรวง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในเรื่องต่อไปนี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ มาตรา 6 ให้ประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมมีอำนาจออกข้อบังคับ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในเรื่องต่อไปนี้ ข้อบังคับนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พรบ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.25434 หมายเหตุ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ มาตรา 275 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรมกำหนดให้สำนักงานศาลยุติธรรม เป็นหน่วยงานธุรการอิสระของศาลยุติธรรม แต่มิได้กำหนดให้กรมบังคับคดีเป็นหน่วยงานธุรการของศาลยุติธรรม กรมบังคับคดีจึงยังอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงยุติธรรม ดังนั้น สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ ให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พุทธศักราช 2477 ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของประธาน ศาลฎีกาและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ภาค 1 บททั่วไป ลักษณะ 1 บทวิเคราะห์ศัพท์ มาตรา 1 ในประมวลกฎหมายนี้ ถ้าข้อความมิได้แสดงให้เห็นเป็น อย่างอื่น หมวด 1 เขตอำนาจศาล มาตรา 2 ห้ามมิให้เสนอคำฟ้องต่อศาลใด เว้นแต่ มาตรา 3 เพื่อประโยชน์ในการเสนอคำฟ้อง มาตรา 4 เว้นแต่จะมีบทบัญญัติเป็นอย่างอื่น มาตรา 4ทวิ คำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิหรือ ประโยชน์อันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ให้เสนอต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์ นั้นตั้งอยู่ในเขตศาล ไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรหรือไม่ หรือต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่เขตศาล มาตรา 4ตรี คำฟ้องอื่นนอกจากที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 4ทวิ ซึ่งจำเลยมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรและมูลคดีมิได้เกิดขึ้นใน ราชอาณาจักร ถ้าโจทก์เป็นผู้มีสัญชาติไทยหรือมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร ให้เสนอต่อศาลแพ่งหรือต่อศาลที่โจทก์มีภูมิลำเนา อยู่ในเขตศาล คำฟ้องตามวรรคหนึ่ง ถ้าจำเลยมีทรัพย์ที่อาจถูกบังคับคดีได้อยู่ ในราชอาณาจักร ไม่ว่าจะเป็นการชั่วคราวหรือถาวร โจทก์จะเสนอ คำฟ้องต่อศาลที่ทรัพย์สินนั้นอยู่ในเขตศาลก็ได้ มาตรา 4จัตวา คำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ให้เสนอต่อศาลที่ เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลในขณะถึงแก่ความตาย ในกรณีที่เจ้ามรดกไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร ให้เสนอต่อ ศาลที่ทรัพย์มรดกอยู่ในเขตศาล มาตรา 4เบญจ คำร้องขอเบิกถอนมติของที่ประชุมหรือที่ประชุม ใหญ่ของนิติบุคคล คำร้องขอเลิกนิติบุคคล คำร้องขอตั้งหรือถอนผู้ชำระ บัญชีของนิติบุคคล หรือคำร้องขออื่นใดเกี่ยวกับนิติบุคคล ให้เสนอ ต่อศาลที่นิติบุคคลนั้นมีสำนักงานแห่งใหญ่อยู่ในเขตศาล มาตรา 4ฉ คำร้องขอเกี่ยวกับทรัพย์สินที่อยู่ในราชอาณาจักรก็ดี คำร้องขอที่หากศาลมีคำสั่งตามคำร้องขอนั้นจะเป็นผลให้ต้องจัดการ หรือเลิกจัดการทรัพย์สินที่อยู่ในราชอาณาจักรก็ดี ซึ่งมูลคดีมิได้เกิดขึ้น ในราชอาณาจักรและผู้ร้องไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร ให้เสนอต่อ ศาลที่ทรัพย์สินดังกล่าวอยู่ในเขตศาล" มาตรา 5 คำฟ้องหรือคำร้องขอซึ่งอาจเสนอต่อศาลได้สองศาล หรือกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเพราะภูมิลำเนาของบุคคลก็ดีเพราะที่ตั้งของ ทรัพย์สินก็ดี เพราะสถานที่ที่เกิดมูลคดีก็ดี หรือเพราะมีข้อหาหลาย ข้อก็ดี ถ้ามูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน โจทก์หรือผู้ร้องจะเสนอคำฟ้อง หรือคำร้องขอต่อศาลใดศาลหนึ่งเช่นว่านั้นก็ได้ มาตรา 6 ก่อนยื่นคำให้การ จำเลยชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลที่ โจทก์ได้ยื่นคำฟ้องไว้ขอให้โอนคดีไปยังศาลอื่นที่มีเขตอำนาจได้ คำร้อง นั้นจำเลยต้องแสดงเหตุที่ยกขึ้นอ้างอิงว่าการพิจารณาคดีต่อไปในศาล นั้นจะไม่สะดวก หรือจำเลยอาจไม่ได้รับความยุติธรรม เมื่อศาลเห็น สมควร ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องนั้นก็ได้ ห้ามมิให้ศาลออกคำสั่งอนุญาตตามวรรคหนึ่ง เว้นแต่ศาลที่จะรับ โอนคดีไปนั้นได้ยินยอมเสียก่อนถ้าศาลที่จะรับโอนคดีไม่ยินยอม ก็ให้ ศาลที่จะโอนคดีนั้นส่งเรื่องให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ชี้ขาดคำสั่ง ของอธิบดดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด มาตรา 7 บทบัญญัติใน มาตรา 4 มาตรา 4ทวิ มาตรา 4 ตรี มาตรา 4 จัตวา มาตรา 4 เบญจ มาตรา 4ฉ มาตรา 5 และ มาตรา 6 ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติดังต่อไปนี้ มาตรา 8 ถ้าคดีสองเรื่องซึ่งมีประเด็นอย่างเดียวกัน หรือเกี่ยวเนื่อง ใกล้ชิดกัน อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นที่มีเขตอำนาจสอง ศาลต่างกันและศาลทั้งสองนั้นได้ยกคำร้องทั้งหลายที่ได้ยื่นต่อศาล ขอให้คดีทั้งสองได้พิจารณาพิพากษารวมในศาลเดียวกันนั้นเสีย ตราบใดที่ศาลใดศาลหนึ่งยังมิได้พิพากษาคดีนั้น ๆ คู่ความฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งจะยื่นคำขอ โดยทำเป็นคำร้องต่ออธิบดีผู้พิพากษาศาล อุทธรณ์ เพื่อขอให้มีคำสั่งให้ศาลใดศาลหนึ่งจำหน่ายคดี ซึ่งอยู่ในระหว่าง พิจารณานั้นออกเสียจากสารบบความหรือให้โอน คดีไปยังอีกศาลหนึ่งก็ได้แล้วแต่กรณี คำสั่งใด ๆ ของอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์เช่นว่านี้ให้เป็นที่สุด มาตรา 9 ในกรณีดั่งที่กล่าวในมาตราก่อนนั้น ถ้าศาลใดศาล หนึ่งได้พิพากษาคดีแล้ว และได้มีการยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษา นั้น คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาล อุทธรณ์ ขอให้มีคำสั่งให้งดการพิจารณาคดีชั้นอุทธรณ์นั้นไว้ก่อน จนกว่าอีกศาลหนึ่ง จะได้พิพากษาคดีอีกเรื่องหนึ่งเสร็จแล้วก็ได้ และถ้าได้มีการอุทธรณ์คดีเรื่องหลังนี้ ก็ให้ศาลอุทธรณ์รวม วินิจฉัยคดีทั้งสองนั้นโดยคำพิพากษาเดียวกัน ถ้าคดีเรื่องหลังนั้น ไม่มีอุทธรณ์ ให้บังคับตามบทบัญญัติแห่ง มาครา 146 มาตรา 10 ถ้าไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นที่มี เขตศาลเหนือคดีนั้นได้โดยเหตุสุดวิสัย คู่ความฝ่ายที่เสียหายหรือ อาจเสียหายเพราะการนั้น จะยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้อง ต่อศาลชั้นต้น ซึ่งตนมีภูมิลำเนาหรืออยู่ในเขตศาลในขณะนั้นก็ได้ และให้ศาลนั้นมีอำนาจทำคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งยุติธรรม หมวด 2 การคัดค้านผู้พิพากษา มาตรา 11 เมื่อคดีถึงศาล ผู้พิพากษาคนหนึ่งคนใดในศาลนั้น อาจถูกคัดค้านได้ ในเหตุใดเหตุหนึ่งดั่งต่อไปนี้ มาตรา 12 เมื่อศาลใดมีผู้พิพากษาแต่เพียงคนเดียว ผู้พิพากษา นั้นอาจถูกคัดค้านด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งตามที่กำหนดไว้ใน มาตราก่อนนั้นได้หรือด้วยเหตุประการอื่นอันมีสภาพร้ายแรง ซึ่งอาจทำให้การ พิจารณาหรือพิพากษาคดีเสียความยุติธรรมไป มาตรา 13 ถ้ามีเหตุที่จะคัดค้านได้อย่างใดอย่างหนึ่งดั่งที่กล่าว ไว้ในสอง มาตราก่อนเกิดขึ้นแก่ผู้พิพากษาคนใดที่นั่งในศาล ถ้าศาลใดมีผู้พิพากษาคนเดียวและผู้พิพากษาคนนั้นถูกคัดค้าน หรือถ้าศาลใดมีผู้พิพากษาหลายคน และผู้พิพากษานั้นทั้งหมด ถูกคัดค้าน ให้ศาลซึ่งมีอำนาจสูงกว่าศาลนั้นตามลำดับเป็นผู้ชี้ขาด คำคัดค้าน ถ้าศาลใดมีผู้พิพากษาหลายคน และผู้พิพากษาที่มิได้ถูก คัดค้านรวมทั้งข้าหลวงยุติธรรม ถ้าได้นั่งพิจารณาด้วยมีจำนวน ครบที่จะเป็นองค์คณะและมีเสียงข้างมากตามที่กฎหมายต้องการ ให้ศาลเช่นว่านั้นเป็นผู้ชี้ขาดคำคัดค้าน แต่ในกรณีที่อยู่ในอำนาจ ของผู้พิพากษาคนเดียว จะชี้ขาดคำคัดค้านห้ามมิให้ผู้พิพากษา คนนั้นมีคำสั่งให้ยกคำคัดค้าน โดยผู้พิพากษาอีกคนหนึ่งหรือ ข้าหลวงยุติธรรมมิได้เห็นพ้องด้วย ถ้าศาลใดมีผู้พิพากษาหลายคนและผู้พิพากษาที่มิได้ถูกคัดค้าน แม้จะนับรวมข้าหลวงยุติธรรมเข้าด้วย ยังมีจำนวนไม่ครบที่จะเป็น องค์คณะ และเสียงข้างมากตามที่กฎหมายต้องการ หรือถ้า ผู้พิพากษาคนเดียวไม่สามารถมีคำสั่งให้ยกคำคัดค้านเสียด้วย ความเห็นพ้องของผู้พิพากษาอีกคนหนึ่งหรือข้าหลวงยุติธรรม ตามที่บัญญัติไว้ในวรรคก่อน ให้ศาลซึ่งมีอำนาจสูงกว่าศาลนั้นตาม ลำดับเป็นผู้ชี้ขาดคำคัดค้าน มาตรา 14 เมื่อได้มีการร้องคัดค้านขึ้น และผู้พิพากษาที่ถูก คัดค้านไม่ยอมถอนตัวออกจากการนั่งพิจารณาคดี ให้ศาลฟังคำแถลง ของคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องและของผู้พิพากษาที่ถูกคัดค้านกับทำการ สืบพยานหลักฐานที่บุคคลเหล่านั้นได้นำมา และพยานหลักฐานอื่น ตามที่เห็นสมควรแล้วออกคำสั่งยอมรับหรือยกเสียซึ่งคำคัดค้านนั้น คำสั่งเช่นว่านี้ให้เป็นที่สุด เมื่อศาลที่ผู้พิพากษาแห่งศาลนั้นเองถูกคัดค้าน จะต้องวินิจฉัย ชี้ขาดคำคัดค้าน ห้ามมิให้ผู้พิพากษาที่ถูกคัดค้านนั้นนั่งหรือออกเสียง กับผู้พิพากษาอื่น ๆ ในการพิจารณาและชี้ขาดคำคัดค้านนั้น ถ้าผู้พิพากษาคนใดได้ขอถอนตัวออกจากการนั่งพิจารณาคดีก็ดี หรือศาลได้ยอมรับคำคัดค้านผู้พิพากษาคนใดก็ดีให้ผู้พิพากษาคนอื่น ทำการแทนตามบทบัญญัติในพระธรรมนูญศาลยุติธรรม หมวด 3 อำนาจและ หน้าที่ของศาล มาตรา 15 ห้ามมิให้ศาลใช้อำนาจนอกเขตศาล เว้นแต่ ในกรณีที่มีการบังคับคดีนอกเขตศาลที่ออกหมายบังคับคดี ให้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำแถลงหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีรายงาน ให้ศาลที่จะมีการบังคับคดีทราบ ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ศาลที่จะมีการ บังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อดำเนินการบังคับคดีโดย ไม่ชักช้า และให้ศาลนั้นดำเนินการไปเสมือนหนึ่งเป็นศาลที่บังคับคดี แทนตาม มาตรา 302 วรรคสาม มาตรา 16 ถ้าจะต้องทำการซักถาม หรือตรวจ หรือดำเนินกระบวน พิจารณาใด ๆ ให้ศาลที่กล่าวแล้วมีอำนาจที่จะแต่งตั้งศาลอื่นที่เป็นศาลชั้นต้น ให้ทำการซักถามหรือตรวจภายในบังคับบทบัญญัติ มาตรา 102 หรือดำเนินกระบวนพิจารณาแทนได้ มาตรา 17 คดีที่ได้ยื่นฟ้องไว้ต่อศาลนั้น ให้ศาลดำเนินการไป ตามลำดับเลขหมายสำนวนในสารบบความ เว้นแต่ศาลจะกำหนด เป็นอย่างอื่นเมื่อมีเหตุผลพิเศษ มาตรา 18 ให้ศาลมีอำนาจที่จะตรวจคำคู่ความที่พนักงาน เจ้าหน้าที่ของศาลได้รับไว้เพื่อยื่นต่อศาล หรือส่งให้แก่คู่ความ หรือบุคคลใด ๆ ถ้าศาลเห็นว่าคำคู่ความที่ได้ยื่นไว้ดังกล่าวแล้วนั้น อ่านไม่ออก หรืออ่านไม่เข้าใจหรือการเขียนฟุ่มเฟือยเกินไป หรือไม่มีรายการ ไม่มีลายมือชื่อ ไม่แนบเอกสารต่าง ๆ ตามที่กฎหมายต้องการ หรือมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยถูกต้องครบถ้วน ศาลจะมีคำสั่งให้คืนคำคู่ความนั้นไปให้ทำมาใหม่ หรือแก้ไขเพิ่มเติม หรือชำระ หรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วนภายใน ระยะเวลาและกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ตลอดจนเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม ตามที่ศาลเห็นสมควรก็ได้ ถ้ามิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของศาล ในระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ก็ให้มีคำสั่งไม่รับคำคู่ความนั้น ถ้าศาลเห็นว่าคำคู่ความที่ได้นำมายื่นดั่งกล่าวข้างต้นมิได้เป็นไป ตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายที่บังคับไว้ นอกจากที่กล่าวมาในวรรคก่อน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเห็นว่าสิทธิของคู่ความหรือบุคคล ซึ่งยื่นคำคู่ความนั้นได้ถูกจำกัดห้ามโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เรื่องเขตอำนาจศาล ก็ให้ศาลมีคำสั่งไม่รับหรือคืนคำคู่ความนั้นไป เพื่อยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจ ถ้าไม่มีข้อขัดดังกล่าวแล้ว ก็ให้ศาลจดแจ้งแสดงการรับคำคู่ความ นั้นไว้บนคำคู่ความนั้นเองหรือในที่อื่น คำสั่งของศาลที่ไม่รับหรือให้คืนคำคู่ความตาม มาตรานี้ ให้อุทธรณ์ และฎีกาได้ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 227 มาตรา 228 และ มาตรา 247 มาตรา 19 ศาลมีอำนาจสั่งได้ตามที่เห็นสมควรให้คู่ความทุกฝ่าย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาศาลด้วยตนเอง ถึงแม้ว่าคู่ความนั้น ๆ จะได้มี ทนายความว่าต่างแก้ต่างอยู่แล้วก็ดี อนึ่ง ถ้าศาลเห็นว่าการที่ คู่ความมาศาลด้วยตนเองอาจยังให้เกิดความตกลง หรือการประนี ประนอมยอมความดั่งที่บัญญัติไว้ใน มาตรา ต่อไปนี้ ก็ให้ศาลสั่งให้ คู่ความมาศาลด้วยตนเอง มาตรา 20 ไม่ว่าการพิจารณาคดีจะได้ดำเนินไปแล้วเพียงใด ให้ศาลมีอำนาจที่จะไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงกัน หรือประนี ประนอมยอมความกันในข้อพิพาทนั้น มาตรา 20ทวิ เพื่อประโยชน์ในการไกล่เกลี่ย เมื่อศาลเห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ ศาลจะสั่งให้ดำเนินการเป็น การลับเฉพาะต่อหน้าตัวความทุกฝ่ายหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยจะ ให้มีทนายความอยู่ด้วยหรือไม่ก็ได้ เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ ศาล อาจแต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคลเป็นผู้ประนีประนอม เพื่อช่วยเหลือ ศาลในการไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ประนีประนอมกัน มาตรา 21 เมื่อคู่ความฝ่ายใดเสนอคำขอหรือคำแถลงต่อศาล ในกรณีเรื่องใดที่ศาลอาจออกคำสั่งได้เองหรือต่อเมื่อคู่ความมี คำขอให้ใช้บทบัญญัติอนุ มาตรา (2),(3) และ (4) แห่ง มาตรานี้ บังคับ ในกรณีเรื่องใดที่คู่ความไม่มีอำนาจขอให้ศาลมีคำสั่ง แต่หาก ศาลอาจมีคำสั่งในกรณีเรื่องนั้นได้เอง ให้ศาลมีอำนาจภายในบังคับ บทบัญญัติแห่ง มาตรา 103 และ มาตรา 181 (2) ที่จะงดฟังคู่ความหรือ งดทำการไต่สวนก่อนออกคำสั่งได้ มาตรา 22 กำหนดระยะเวลาทั้งปวงไม่ว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ หรือที่ศาลเป็นผู้กำหนดก็ดี เพื่อให้ดำเนินหรือมิให้ดำเนินกระบวน พิจารณาใดๆ ก่อนสิ้นระยะเวลานั้น ให้ศาลคำนวณตามบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ว่าด้วยระยะเวลา มาตรา 23 เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ให้ศาลมีอำนาจที่จะออกคำสั่งขยาย หรือย่นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายนี้ หรือตามที่ ศาลได้กำหนดไว้ หรือระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง อันกำหนดไว้ในกฎหมายอื่น เพื่อให้ดำเนินหรือมิให้ดำเนินกระบวน พิจารณาใด ๆ ก่อนสิ้นระยะเวลานั้นแต่การขยายหรือย่นเวลาเช่นว่านี้ ให้พึงทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และศาลได้มีคำสั่งหรือคู่ความ มีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย มาตรา 24 เมื่อคู่ความฝ่ายใดยกปัญหาข้อกฎหมายขึ้นอ้าง ซึ่ง ถ้าหากได้วินิจฉัยให้เป็นคุณแก่ฝ่ายนั้นแล้ว จะไม่ต้องมีการพิจารณาคดี ต่อไปอีก หรือไม่ต้องพิจารณาประเด็นสำคัญแห่งคดีบางข้อ หรือ ถึงแม้จะดำเนินการพิจารณาประเด็นข้อสำคัญแห่งคดีไป ก็ไม่ทำให้ ได้ความชัดขึ้นอีกแล้ว เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งมีคำขอ ให้ศาลมีอำนาจที่จะมีคำสั่งให้มีผลว่าก่อนดำเนินการ พิจารณาต่อไป ศาลจะได้พิจารณาปัญหาข้อกฎหมายเช่นว่านี้แล้ว วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหานั้น ถ้าศาลเห็นว่าคำวินิจฉัยชี้ขาดเช่นว่านี้ จะทำให้คดีเสร็จไปได้ ทั้งเรื่องหรือเฉพาะแต่ประเด็นแห่งคดีบางข้อ ศาลจะวินิจฉัยชี้ขาด ปัญหาที่กล่าวแล้วและพิพากษาคดีเรื่องนั้น หรือเฉพาะแต่ประเด็น ที่เกี่ยวข้องไปโดยคำพิพากษาหรือคำสั่งฉบับเดียวกันก็ได้ มาตรา 25 ถ้าคู่ความฝ่ายใดยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องให้ศาลสั่ง กำหนดวิธีการอย่างใด ๆ ที่บัญญัติไว้ในภาค 4 เพื่อคุ้มครองสิทธิของ คู่ความในระหว่างการพิจารณา หรือเพื่อบังคับตามพิพากษาหรือคำสั่ง ให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตหรือยกคำขอนั้นเสียโดยไม่ชักช้า ถ้าในเวลาที่ยื่นขอนั้นศาลจะชี้ขาดคดีได้อยู่แล้ว ศาลจะวินิจฉัย คำขอนั้นในคำพิพากษา หรือในคำสั่งชี้ขาดคดีก็ได้ มาตรา 26 ถ้าศาลได้ตั้งข้อถาม หรือออกคำสั่งหรือชี้ขาดเกี่ยว ด้วยการดำเนินคดีเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใน คดีเรื่องนั้นคัดค้านข้อถาม หรือคำสั่ง หรือคำชี้ขาดนั้น ว่าไม่ชอบด้วย กฎหมายก่อนที่ศาลจะดำเนินคดีต่อไปให้ศาลจดข้อถามหรือคำสั่ง หรือคำชี้ขาดที่ถูกคัดค้านและสภาพแห่งการคัดค้านลงไว้ในรายงาน แต่ส่วนเหตุผลที่ผู้คัดค้านยกขึ้นอ้างอิงนั้น ให้ศาลใช้ดุลพินิจจดลงไว้ ในรายงาน หรือกำหนดให้คู่ความฝ่ายที่คัดค้านยื่นคำแถลงเป็น หนังสือเพื่อรวมไว้ในสำนวน มาตรา 27 ในกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวล กฎหมายนี้ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม หรือที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ในเรื่องการเขียน และการยื่นหรือการส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่น ๆ หรือในการพิจารณา คดี การพิจารณาพยานหลักฐาน หรือการบังคับคดี เมื่อศาลเห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความฝ่ายที่เสียหายเนื่องจากการที่มิได้ปฏิบัติเช่นว่านั้นยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้เพิกถอน การพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียทั้งหมดหรือบางส่วน หรือสั่งแก้ไข หรือมีคำสั่งในเรื่องนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ศาลเห็นสมควร ข้อค้านเรื่องผิดระเบียบนั้น คู่ความฝ่ายที่เสียหายอาจยกขึ้นกล่าว ได้ไม่ว่าในเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา แต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวัน นับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็น มูลแห่งข้ออ้างนั้น แต่ทั้งนี้คู่ความฝ่ายนั้นต้องมิได้ดำเนินการอันใด ขึ้นใหม่ หลังจากที่ได้ทราบเรื่องผิดระเบียบแล้ว หรือต้องมิได้ให้ สัตยาบันแก่การผิดระเบียบนั้น ๆ ถ้าศาลสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบใดๆ อันมิใช่ เรื่องที่คู่ความละเลยไม่ดำเนินการพิจารณาเรื่องนั้นภายในระยะเวลา ซึ่งกฎหมายหรือศาลกำหนดไว้เพียงเท่านี้ไม่เป็นการตัดสิทธิคู่ความ ฝ่ายนั้น ในอันที่จะดำเนินกระบวนพิจารณานั้น ๆ ใหม่ให้ถูกต้อง ตามที่กฎหมายบังคับ มาตรา 28 ถ้ามีคดีหลายเรื่องค้างพิจารณาอยู่ในศาลเดียวกัน หรือในศาลชั้นต้นสองศาลต่างกัน และคู่ความทั้งหมดหรือแต่บางฝ่าย เป็นคู่ความรายเดียวกัน กับทั้งการพิจารณาคดีเหล่านั้นถ้าได้รวม กันแล้วจะเป็นการสะดวกหากศาลนั้นหรือศาลหนึ่งศาลใดเหล่านั้น เห็นสมควรให้พิจารณาคดีรวมกัน หรือหากคู่ความทั้งหมดหรือแต่ บางฝ่ายมีคำขอให้พิจารณาคดีรวมกันโดยแถลงไว้ในคำให้การหรือ ทำเป็นคำร้องไม่ว่าในเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา เมื่อศาลได้ฟัง คู่ความทุกฝ่ายในคดีนั้น ๆ แล้ว ถ้าศาลเป็นที่พอใจว่าคดีเหล่านั้น เกี่ยวเนื่องกัน ก็ให้ศาลมีอำนาจออกคำสั่งให้พิจารณาคดีเหล่านั้น รวมกัน ถ้าจะโอนคดีมาจากอีกศาลหนึ่ง หรือโอนคดีไปยังอีกศาลหนึ่ง ที่มีเขตอำนาจเหนือคดีนั้น ศาลจะมีคำสั่งก่อนที่ได้รับความยินยอม ของอีกศาลหนึ่งนั้นไม่ได้ แต่ศาลที่จะรับโอนคดีไม่ยินยอม ก็ให้ ศาลที่จะโอนคดีนั้นส่งเรื่องให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ชี้ขาด คำสั่งของอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด มาตรา 29 ถ้าคดีที่ฟ้องกันนั้นมีข้อหาหลายข้อด้วยกันและศาล เห็นว่าข้อหาข้อหนึ่งข้อใดเหล่านั้นมิได้เกี่ยวข้องกันกับข้ออื่นๆ เมื่อ ศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความผู้มีส่วนได้เสียได้ยื่นคำขอ โดยทำเป็น คำร้องให้ศาลมีคำสั่งให้แยกคดีเสียโดยเร็ว ถ้าโจทก์ประสงค์จะให้ พิจารณาข้อหาเช่นว่านั้นต่อไป ก็ให้ศาลดำเนินการพิจารณาคดีไป เสมือนหนึ่งว่าเป็นคดีอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก โดยมีเงื่อนไขที่ศาลจะ กำหนดไว้ตามที่เห็นสมควร ถ้าคดีฟ้องกันนั้นมีข้อหาหลายข้อ และศาลเห็นว่าหากแยก พิจารณาข้อหาทั้งหมดหรือข้อใดข้อหนึ่งออกจากกันแล้ว จะทำให้ การพิจารณาข้อหาเหล่านั้นสะดวก ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมี คำพิพากษา เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความผู้มีส่วนได้เสีย ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง และเมื่อศาลได้ฟังคู่ความทุกฝ่ายแล้ว ให้ศาลมีอำนาจสั่งแยกข้อหาเหล่านั้นทั้งหมดหรือแต่ข้อใดข้อหนึ่ง ออกพิจารณาต่างหากเป็นเรื่องๆไป มาตรา 30 ให้ศาลมีอำนาจออกข้อกำหนดใด ๆ แก่คู่ความฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งหรือแก่บุคคลภายนอกที่อยู่ต่อหน้าศาลตามที่เห็นจำเป็น เพื่อรักษาความเรียบร้อยในบริเวณศาล และเพื่อให้กระบวนพิจารณา ดำเนินไปตามเที่ยงธรรมและรวดเร็ว อำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึงการ สั่งห้ามคู่ความมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในทางก่อความรำคาญ หรือในทางประวิงให้ชักช้าหรือในทางฟุ่มเฟือยเกินสมควร มาตรา 31 ผู้ใดกระทำการอย่างใด ๆ ดังกล่าวต่อไปนี้ ให้ถือว่า กระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล (2) เมื่อได้มีคำร้องและได้รับอนุญาตจากศาลให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลตามมาตรา 156/1 แล้ว ปรากฏว่าได้แสดงข้อเท็จจริงหรือเสนอพยานหลักฐานอันเป็นเท็จต่อศาลในการไต่สวนคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล (แก้ไข*ฉบับที่ 24*พ.ศ. 2551) มาตรา 32 ผู้ใดเป็นผู้ประพันธ์ บรรณาธิการหรือผู้พิมพ์โฆษณา ซึ่งหนังสือพิมพ์ หรือสิ่งพิมพ์อันออกโฆษณาต่อประชาชน ไม่ว่าบุคคล เหล่านั้นจะได้รู้ถึงซึ่งข้อความหรือการออกโฆษณาแห่งหนังสือพิมพ์ หรือสิ่งพิมพ์เช่นว่านั้นหรือไม่ ให้ถือว่าได้กระทำผิดฐานละเมิดอำนาจ ศาลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ในสองอย่าง ดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ เพื่อประโยชน์แห่ง มาตรานี้ ให้นำวิเคราะห์ศัพท์ทั้งปวงใน มาตรา 4 แห่งพรบ. การพิมพ์ พ.ศ.2476 มาใช้บังคับ มาตรา 33 ถ้าคู่ความฝ่ายใดหรือบุคคลใดกระทำความผิดฐาน ละเมิดอำนาจศาลใด ให้ศาลนั้นมีอำนาจสั่งลงโทษโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง หรือทั้งสองวิธี ดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ คือ ในกรณีกำหนดโทษจำคุกและปรับนั้น ให้จำคุกได้ไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้าร้อยบาท มาตรา 34 ถ้าจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาทั้งเรื่องหรือ แต่บางส่วนโดยทางอาศัยหรือโดยร้องขอต่อเจ้าหน้าที่ในเมือง ต่างประเทศ เมื่อไม่มีข้อตกลงระหว่างประเทศใดอย่างหนึ่ง หรือไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้สำหรับเรื่องนั้นแล้ว ให้ศาลปฏิบัติ ตามหลักทั่วไปแห่งกฎหมายระหว่างประเทศ
มาตรา 35 ถ้าประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น การนั่งพิจารณาคดีที่ยื่นไว้ต่อศาลใด จะต้องกระทำในศาลนั้น ในวันที่ ศาลเปิดทำการ และตามเวลาทำงานที่ศาลได้กำหนดไว้ แต่ในกรณี มีเหตุฉุกเฉินหรือเป็นการจำเป็น ศาลจะมีคำสั่งกำหนดการนั่งพิจารณา ณ สถานที่อื่น หรือในวันหยุดงานหรือในเวลาใด ๆ ก็ได้ ให้ผู้พิพากษาและเจ้าพนักงานศาลซึ่งปฏิบัติงานในวันหยุดงาน หรือในเวลาใด ๆ นอกเวลาทำการปกติได้รับค่าตอบแทนเป็นพิเศษ ตามระเบียบที่กระทรวงยุติธรรมกำหนด โดยได้รับความเห็นชอบจาก กระทรวงการคลัง มาตรา 36 การนั่งพิจารณาคดีจะต้องกระทำในศาลต่อหน้าคู่ความ ที่มาศาลและโดยเปิดเผย เว้นแต่ ในบรรดาคดีทั้งปวงที่ฟ้องขอหย่า หรือฟ้องชายชู้ ไม่ว่าศาลจะได้มีคำสั่งตามอนุมาตรา (2) นี้หรือไม่ คำสั่งหรือคำ พิพากษาชี้ขาดคดีของศาลนั้น ต้องอ่านในศาลโดยเปิดเผยและมิให้ ถือว่าการออกโฆษณาทั้งหมดหรือแต่บางส่วนแห่งคำพิพากษานั้น หรือย่อเรื่องแห่งคำพิพากษาโดยเป็นกลางและถูกต้องนั้น เป็นผิด กฎหมาย มาตรา 37 ให้ศาลดำเนินการนั่งพิจารณาคดีติดต่อกันไปเท่าที่ สามารถจะทำได้โดยไม่ต้องเลื่อนจนกว่าจะเสร็จการพิจารณาและ พิพากษาคดี มาตรา 38 ถ้าในวันที่กำหนดนัดนั่งพิจารณาศาลไม่มีเวลาพอที่ จะดำเนินการนั่งพิจารณา เนื่องจากกิจธุระของศาล ศาลจะมีคำสั่ง ให้เลื่อนการนั่งพิจารณาไปในวันอื่นตามที่เห็นสมควรก็ได้ มาตรา 39 ถ้าการที่จะชี้ขาดตัดสินคดีเรื่องใดที่ค้างพิจารณาอยู่ ในศาลจำต้องอาศัยทั้งหมดหรือแต่บางส่วนซึ่งคำชี้ขาดตัดสินบางข้อ ที่ศาลนั้นเอง หรือศาลอื่นจะต้องกระทำเสียก่อน หรือจำต้องรอให้ เจ้าพนักงานฝ่ายธุรการวินิจฉัยชี้ขาดในข้อเช่นนั้นเสียก่อน หรือ ถ้าปรากฏว่าได้มีการกระทำผิดอาญาเกิดขึ้น ซึ่งอาจมีการฟ้องร้อง อันอาจกระทำให้การชี้ขาดตัดสินคดีที่พิจารณาอยู่นั้น เปลี่ยนแปลงไป หรือในกรณีอื่นใดซึ่งศาลเห็นว่าถ้าได้เลื่อนการพิจารณาไปจักทำให้ ความยุติธรรมดำเนินไปด้วยดี เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความที่ เกี่ยวข้องร้องขอ ศาลจะมีคำสั่งเลื่อนการนั่งพิจารณาต่อไปจนกว่า จะได้มีการพิพากษาหรือชี้ขาดในข้อนั้น ๆ แล้ว หรือภายในระยะ เวลาใด ๆ ตามที่ศาลเห็นสมควรก็ได้ ถ้าศาลมีคำสั่งให้เลื่อนการนั่งพิจารณาดั่งกล่าวแล้วโดยไม่มีกำหนด เมื่อศาลเห็นสมควร หรือคู่ความที่เกี่ยวข้องร้องขอ ศาลจะมีคำสั่งให้ เริ่มการนั่งพิจารณาต่อไปในวันใด ๆ ตามที่เห็นสมควรก็ได้ เมื่อศาลจะสั่งให้เลื่อนการนั่งพิจารณา ศาลอาจสั่งให้คู่ความฝ่ายนั้นเสียค่าป่วยการพยานซึ่งมาศาลตามหมายเรียกและเสียค่าใช้จ่ายในการที่คู่ความฝ่ายอื่นมาศาล เช่น ค่าพาหนะเดินทางและค่าเช่าที่พักของตัวความ ทนายความ หรือพยาน เป็นต้น ตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร ถ้าคู่ความฝ่ายที่ขอเลื่อนคดีไม่ชำระค่าป่วยการหรือค่าใช้จ่ายตามที่ศาลกำหนด ให้ศาลยกคำขอเลื่อนคดีนั้นเสีย ค่าป่วยการหรือค่าใช้จ่ายที่จ่ายตามวรรคสองให้ตกเป็นพับ คำขอเลื่อนคดีตามวรรคหนึ่ง ถ้าไม่ได้เสนอต่อหน้าศาลด้วยวาจา ก็ให้ทำเป็นคำร้องและจะทำฝ่ายเดียวโดยได้รับอนุญาตจากศาลก็ได้ (แก้ไข*ฉบับที่ 24*พ.ศ. 2551) (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5387/2549) ศาลอาจสั่งให้คู่ความฝ่ายที่ขอให้ไปตรวจตามวรรคหนึ่งหรือคู่ ความใดไปกับผู้ที่ศาลตั้งให้ไปตรวจ คู่ความนั้นจะมอบให้ผู้ใดไปแทน ตนก็ได้ ค่าพาหนะและค่าป่วยการของเจ้าพนักงานและแพทย์ ให้ถือว่า เป็นค่าฤชาธรรมเนียม และให้นำ มาตรา 166 มาใช้บังคับ มาตรา 42 ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ใน ศาลได้มรณะเสียก่อนศาลพิพากษาคดี ให้ศาลเลื่อนการนั่งพิจารณา ไปจนกว่าทายาทของผู้มรณะหรือผู้จัดการทรัพย์มรดกของผู้มรณะ หรือบุคคลอื่นใดที่ปกครองทรัพย์มรดกไว้จะได้เข้ามาเป็นคู่ความแทน ที่ผู้มรณะ โดยมีคำขอเข้ามาเองหรือโดยที่ศาลหมายเรียกให้เข้ามา เนื่องจากคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคำขอฝ่ายเดียว คำขอเช่นว่านี้ จะต้องยื่นภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นมรณะ ถ้าไม่มีคำขอของบุคคลดั่งกล่าวมาแล้ว หรือไม่มีคำขอของคู่ความ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งภายในเวลาที่กำหนดไว้ ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี เรื่องนั้นเสียจากสารบบความ มาตรา 43 ถ้าทายาทของผู้มรณะ หรือผู้จัดการทรัพย์มรดกของ ผู้มรณะหรือบุคคลอื่นใดที่ปกครองทรัพย์มรดก ประสงค์จะขอเข้ามา เป็นคู่ความแทน ก็ให้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลเพื่อการนั้น ในกรณีเช่นนี้เมื่อศาลเห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง มีคำขอศาลอาจสั่งให้ผู้ที่จะเข้ามาเป็นคู่ความแทนนั้น แสดงพยาน หลักฐานสนับสนุนคำขอเช่นว่านั้นได้ เมื่อได้แสดงพยานหลักฐาน ดั่งกล่าวนั้นแล้วให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตในการที่จะเข้า มาเป็นคู่ความแทน มาตรา 44 คำสั่งให้หมายเรียกบุคคลใดเข้ามาแทนผู้มรณะนั้นจะ ต้องกำหนด ระยะเวลาพอสมควรเพื่อให้บุคคลนั้นมีโอกาสคัดค้านใน ศาลว่าตนมิได้เป็นทายาทของผู้มรณะ หรือมิได้เป็นผู้จัดการทรัพย์ มรดก หรือผู้ปกครองทรัพย์มรดกนั้น ทายาท ผู้จัดการทรัพย์มรดก หรือบุคคลผู้ถูกเรียกไม่จำต้อง ปฏิบัติตามหมายเช่นว่านั้นก่อนระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้เพื่อ การยอมรับฐานะนั้นได้ล่วงพ้นไปแล้ว ถ้าบุคคลที่ถูกศาลหมายเรียกนั้นยินยอมรับเข้ามาเป็นคู่ความแทน ผู้มรณะให้ศาลจดรายงานพิสดารไว้และดำเนินคดีต่อไป ถ้าบุคคลนั้นไม่ยินยอมหรือไม่มาศาล ให้ศาลทำการไต่สวนตาม ที่เห็นสมควร ถ้าศาลเห็นว่าหมายเรียกนั้นมีเหตุผลฟังได้ ก็ให้ ออกคำสั่งตั้งบุคคลผู้ถูกเรียกเป็นคู่ความแทนผู้มรณะแล้วดำเนินคดี ต่อไป ถ้าศาลเห็นว่าข้อคัดค้านของบุคคลผู้ถูกเรียกมีเหตุผลฟังได้ ก็ให้ศาลสั่งเพิกถอนหมายเรียกนั้นเสีย และถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่สามารถเรียกทายาทอันแท้จริง หรือผู้จัดการทรัพย์มรดก หรือบุคคลที่ปกครองทรัพย์มรดกของผู้มรณะเข้ามาเป็นคู่ความแทน ผู้มรณะได้ภายในกำหนดเวลาหนึ่งปี ก็ให้ศาลมีคำสั่งตามที่เห็น สมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม มาตรา 45 ถ้าปรากฏต่อศาลว่าคู่ความฝ่ายหนึ่งตกเป็นผู้ไร้ความสามารถก็ดี หรือผู้แทนโดยชอบธรรมของคู่ความฝ่ายที่เป็นผู้ไร้ความ สามารถได้มรณะหรือหมดอำนาจเป็นผู้แทนก็ดี ให้ศาลเลื่อนการนั่ง พิจารณาไปภายในระยะเวลาอันสมควร เพื่อผู้แทนโดยชอบธรรมหรือ ผู้แทนโดยชอบธรรมคนใหม่ จะได้แจ้งให้ทราบ ถึงการได้รับแต่งตั้ง ของตนโดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลเพื่อการนั้น ถ้ามิได้ยื่นคำขอ ดังกล่าวมาแล้วให้นำ มาตรา 56 มาใช้บังคับ ถ้าผู้แทนหรือทนายความของคู่ความได้มรณะหรือหมดอำนาจเป็น ผู้แทนให้ศาลเลื่อนการนั่งพิจารณาไปจนกว่าตัวความจะได้ยื่นคำร้อง ต่อศาลแจ้งให้ทราบถึงการที่ได้แต่งตั้งผู้แทนหรือทนายความขึ้นใหม่ หรือคู่ความฝ่ายนั้นมีความประสงค์จะมาว่าคดีด้วยตนเอง แต่ถ้าศาล เห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมีคำขอฝ่ายเดียว ให้ศาลมี อำนาจสั่งกำหนดระยะเวลาไว้พอสมควร เพื่อให้ตัวความมีโอกาสแจ้ง ให้ทราบถึงการแต่งตั้งหรือความประสงค์ของตนนั้นก็ได้ ในกรณี เช่นว่านี้ ถ้าตัวความมิได้แจ้งให้ราบภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ศาลจะมีคำสั่งให้เริ่มการนั่งพิจารณาต่อไปในวันใด ๆ ตามที่เห็น สมควรก็ได้ บทบัญญัติแห่งวรรคก่อนนั้น ให้นำมาใช้บังคับแก่กรณีที่ผู้แทน โดยชอบธรรมของผู้ไร้ความสามารถหมดอำนาจลง เพราะเหตุที่ บุคคลนั้นได้มีความสามารถขึ้นแล้วด้วยโดยอนุโลม
มาตรา 46 บรรดากระบวนพิจารณาเกี่ยวด้วยการพิจารณาและ การชี้ขาดตัดสินคดีแพ่งทั้งหลายซึ่งศาลเป็นผู้ทำนั้น ให้ทำเป็นภาษาไทย บรรดาคำคู่ความและเอกสารหรือแผ่นกระดาษไม่ว่าอย่างใดๆ ที่ คู่ความหรือศาลหรือเจ้าพนักงานศาลได้ทำขึ้นซึ่งประกอบเป็นสำนวนของคดีนั้น ให้เขียนเป็นหนังสือไทยและเขียนด้วยหมึกหรือดีดพิมพ์ หรือตีพิมพ์ถ้ามีผิดตกที่ใดห้ามมิให้ขูดลบออก แต่ให้ขีดฆ่าเสียแล้ว เขียนลงใหม่และผู้เขียนต้องลงชื่อไว้ที่ริมกระดาษ ถ้ามีข้อความ ตกเติมให้ผู้ตกเติมลงลายมือชื่อหรือลงชื่อย่อไว้เป็นสำคัญ ถ้าต้นฉบับเอกสารหรือแผ่นกระดาษไม่ว่าอย่างใด ๆ ที่ส่งต่อศาล ได้ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ ให้ศาลสั่งคู่ความฝ่ายที่ส่งให้ทำ คำแปลทั้งฉบับ หรือเฉพาะแต่ส่วนสำคัญ โดยมีคำรับรองมายื่นเพื่อ แนบไว้กับต้นฉบับ ถ้าคู่ความฝ่ายใดหรือบุคคลใดที่มาศาล ไม่เข้าใจภาษาไทย หรือ เป็นใบ้หรือหูหนวกและอ่านเขียนหนังสือไม่ได้ ให้คู่ความฝ่ายที่ เกี่ยวข้องจัดหาล่าม มาตรา 47 ถ้าคู่ความหรือบุคคลใดยื่นใบมอบอำนาจต่อศาลให้ศาล มีอำนาจที่จะสั่งให้คู่ความหรือบุคคลนั้น ให้ถ้อยคำสาบานตัวว่าเป็น ใบมอบอำนาจอันแท้จริง ถ้าศาลมีเหตุอันควรสงสัยว่า ใบมอบอำนาจที่ยื่นนั้นจะไม่ใช่ใบมอบ อำนาจอันแท้จริงก็ดี หรือเมื่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยื่นคำร้องแสดงเหตุ อันควรสงสัยว่าใบมอบอำนาจนั้นจะมิใช่ใบมอบอำนาจอันแท้จริงก็ดี ให้ ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้คู่ความหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้น ยื่นใบมอบ อำนาจตามที่บัญญัติไว้ต่อไปนี้ ถ้าใบมอบอำนาจนั้นได้ทำในราชอาณาจักรสยามต้องให้นายอำเภอ เป็นพยาน ถ้าได้ทำในเมืองต่างประเทศที่มีกงสุลสยาม ต้องให้กงสุลนั้น เป็นพยานถ้าได้ทำในเมืองต่างประเทศที่ไม่มีกงสุลสยาม ต้องให้บุคคล เหล่านี้เป็นพยานคือเจ้าพนักงานโนตารีปับลิกหรือแมยิสเตร็ด หรือ บุคคลอื่นซึ่งกฎหมายแห่งท้อง ถิ่นตั้งให้เป็นผู้มีอำนาจเป็นพยานในเอกสารเช่นว่านี้ และต้องมีใบ สำคัญของรัฐบาลต่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องแสดงว่าบุคคลที่เป็น พยานนั้นเป็นผู้มีอำนาจกระทำการได้ บทบัญญัติแห่ง มาตรานี้ ให้ใช้บังคับแก่ใบสำคัญและเอกสารอื่น ๆ ทำนองเช่นว่ามานี้ ซึ่งคู่ความจะต้องยื่นต่อศาล มาตรา 48 ในคดีทุกเรื่องให้เป็นหน้าที่ของศาลต้องจดแจ้งรายงาน การนั่งพิจารณาหรือกระบวนพิจารณาอื่น ๆ ของศาลไว้ทุกครั้ง เมื่อมีกฎหมายบัญญัติไว้ หรือเมื่อศาลเห็นเป็นการจำเป็นก็ให้ศาล จดบันทึก (โดยจดรวมไว้ในรายงานพิสดารหรืออีกส่วนหนึ่งต่างหาก) ซึ่งคำแถลงหรือคำคัดค้านในข้อสำคัญ ข้อตกลง คำชี้ขาด คำสั่ง หรือการอื่น ๆ หรือกระบวนพิจารณาที่ทำด้วยวาจา ตามบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายนี้ มาตรา 49 ในส่วนที่เกี่ยวด้วยคำแถลงหรือคัดค้านของคู่ความหรือ คำให้การของพยานหรือผู้เชี่ยวชาญ หรือข้อตกลงในการสละสิทธิของ คู่ความนั้น ให้ถือว่ารายงานของศาลเป็นพยานหลักฐานเบื้องต้นได้ ต่อเมื่อศาลได้อ่านให้คู่ความหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องฟัง และได้จดลงไว้ ซึ่งข้อแก้ไขเพิ่มเติมตามที่ขอร้องหรือที่ชี้แจงใหม่ ทั้งคู่ความหรือ บุคคลนั้น ๆ ได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ มาตรา 50 ถ้าคู่ความฝ่ายใดหรือบุคคลใดจะต้องลงลายมือชื่อ ในรายงานใดเพื่อแสดงรับรู้รายงานนั้น หรือจะต้องลงลายมือชื่อใน เอกสารใดเพื่อรับรองการอ่านหรือการส่งเอกสารเช่นว่านั้น มาตรา 51 ให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะปฏิบัติดั่งนี้ มาตรา 52 เมื่อคำพิพากษาหรือคำสั่งอันเป็นเด็ดขาดถึงที่สุดแล้ว เรื่องใดได้มีการปฏิบัติตามหรือบังคับไปแล้ว หรือระยะเวลาที่ กำหนดไว้เพื่อการบังคับนั้นได้ล่วงพ้นไปแล้ว ให้ศาลที่เก็บสำนวน นั้นไว้ จัดส่งสำนวนนั้นไปยังกระทรวงยุติธรรม เพื่อรักษาไว้หรือ จัดการตามกฎหมายกระทรวงว่าด้วยการนั้น มาตรา 53 ถ้ารายงาน คำพิพากษา คำสั่งหรือเอกสารอื่นใด ที่รวมไว้ในสำนวนความซึ่งยังอยู่ในระหว่างพิจารณาหรือรอการบังคับ ของศาลสูญหายไป หรือบุบสลายทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเป็นการ ขัดข้องต่อการชี้ขาดตัดสินหรือบังคับคดี เมื่อศาลเห็นสมควรหรือ เมื่อคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ให้ศาลสั่ง คู่ความหรือบุคคลผู้ถือเอกสารนั้นนำสำเนาที่รับรองถูกต้องมาส่งต่อ ศาล ถ้าหากสำเนาเช่นว่านั้นทั้งหมดหรือบางส่วนหาไม่ได้ ให้ ศาลมีคำสั่งให้พิจารณาคดีนั้นใหม่หรือมีคำสั่งอย่างอื่นตามที่ เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม มาตรา 54 คู่ความก็ดี หรือพยานในส่วนที่เกี่ยวกับคำให้การของ ตนในคดีนั้นก็ดี หรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียโดยชอบหรือมี เหตุผลอันสมควรก็ดีอาจร้องของอนุญาตต่อศาลไม่ว่าเวลาใดระหว่าง หรือภายหลังการพิจารณาเพื่อตรวจเอกสารทั้งหมดหรือแต่แบบฉบับ ในสำนวนเรื่องนั้น หรือขอคัดสำเนาหรือขอให้จ่าศาลคัดสำเนาและ รับรอง แต่ทั้งนี้ ห้ามมิให้คัดสำเนาคำพิพากษาหรือคำสั่ง ก่อนที่ได้อ่าน คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น และก่อนที่ได้ลงทะเบียนในสารบบคำพิพากษา ในกรณีที่ศาลได้ทำคำอธิบายเพิ่มเติมกลัดไว้กับรายงานแห่งคำสั่ง หรือคำพิพากษา ซึ่งกระทำด้วยวาจาตามบทบัญญัติ มาตรา 141 คำอธิบายเพิ่มเติมเช่นว่านั้น คู่ความจะขอตรวจหรือขอคัดสำเนา สำเนาที่รับรองนั้น ให้จ่าศาลเป็นผู้รับรองโดยเรียกค่าธรรมเนียม ตามที่กำหนดไว้ในอัตราท้ายประมวลกฎหมายนี้ ในกรณีที่ผู้ขอตรวจ เอกสารหรือขอคัดสำเนาด้วยตนเอง ไม่ต้องเรียกค่าธรรมเนียม ลักษณะ 3 คู่ความ มาตรา 55 เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลใดตามกฎหมายแพ่ง หรือบุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาล บุคคลนั้นชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอำนาจได้ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแพ่งและประมวลกฎหมายนี้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3602/2556) มาตรา 56 ผู้ไร้ความสามารถหรือผู้ทำการแทนจะเสนอข้อหาต่อศาลหรือดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆได้ ต่อเมื่อได้ปฏิบัติตาม บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยความสามารถและตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ การให้อนุญาต หรือยินยอมตามบทบัญญัติเช่นว่านั้น ให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาล เพื่อรวมไว้ในสำนวนความ ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อ คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องให้ศาลมีอำนาจทำการสอบสวนในเรื่องความสามารถของผู้ขอหรือของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง และถ้าเป็นที่พอใจว่ามีความบกพร่องในเรื่องความสามารถ ศาลอาจมีคำสั่งกำหนดให้แก้ไขข้อบกพร่องนั้นเสียให้บริบูรณ์ภายในกำหนดเวลาอันสมควรที่ศาลจะสั่ง ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อความยุติธรรมไม่ควรให้กระบวนพิจารณาดำเนินเนิ่นช้าไป ศาลจะสั่งให้คู่ความฝ่ายที่บกพร่องในเรื่องความสามารถนั้นดำเนินคดีไปก่อนชั่วคราวก็ได้ แต่ห้ามมิให้ศาลพิพากษาในประเด็นแห่งคดีจนกว่าข้อบกพร่องนั้นได้แก้ไขโดยบริบูรณ์แล้ว ถ้าผู้ไร้ความสามารถไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้แทนโดยชอบธรรมทำหน้าที่ไม่ได้ ศาลมีอำนาจออกคำสั่งให้อนุญาตหรือ ให้ความยินยอมตามที่ต้องการ หรือตั้งผู้แทนเฉพาะคดีนั้นให้แก่ผู้ไร้ความสามารถ ถ้าไม่มีบุคคลอื่นใดให้ศาลมีอำนาจตั้งพนักงานอัยการ หรือเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองอื่นให้เป็นผู้แทนได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3184/2550) (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5323/2562) มาตรา 57 บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความอาจเข้ามาเป็นคู่ความ ได้ด้วยการร้องสอด การส่งหมายเรียกบุคคลภายนอกตามอนุ มาตรานี้ ต้องมีสำเนา คำขอ หรือคำสั่งของศาลแล้วแต่กรณี และคำฟ้องตั้งต้นคดีนั้นแนบ ไปด้วย บทบัญญัติ ในประมวลกฎหมายนี้ไม่ตัดสิทธิของเจ้าหนี้ในอัน ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ และที่จะเรียกลูกหนี้ให้เข้ามาในคดี ดั่งที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4211-4212/2528) มาตรา 58 ผู้ร้องสอดที่ได้เข้าเป็นคู่ความตามอนุมาตรา (1) และ(3) แห่งมาตราก่อนนี้ มีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้อง เป็นคดีเรื่องใหม่ซึ่งโดยเฉพาะผู้ร้องสอดอาจนำพยานหลักฐานใหม่มา แสดงคัดค้านเอกสารที่ได้ยื่นไว้ ถามค้านพยานที่ได้สืบมาแล้วและ คัดค้านพยานหลักฐานที่ได้สืบไปแล้วก่อนที่ตนได้ร้องสอด อาจอุทธรณ์ ฎีกาคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ และ อาจได้รับหรือถูกบังคับให้ใช้ค่าฤชาธรรมเนียม ห้ามมิให้ผู้ร้องสอดที่ได้เป็นคู่ความตามอนุมาตรา (2) แห่งมาตราก่อนใช้สิทธิอย่างอื่น นอกจากสิทธิที่มีอยู่แก่คู่ความฝ่ายซึ่งตน เข้าเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วมในชั้นพิจารณาเมื่อตนร้องสอด และห้ามมิให้ใช้สิทธิเช่นว่านั้นในทางที่ขัดกับสิทธิของโจทก์หรือ จำเลยเดิม และให้ผู้ร้องสอดเสียค่าฤชาธรรมเนียมอันเกิดแต่การที่ ร้องสอด แต่ถ้าศาลได้อนุญาตให้เข้าแทนที่โจทก์หรือจำเลยเดิม ผู้ร้องสอดจึงมีฐานะเสมอด้วยคู่ความที่ตนเข้าแทน เมื่อได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้ว ถ้ามีข้อเกี่ยวข้องกับคดีเป็น ปัญหาจะต้องวินิจฉัยในระหว่างผู้ร้องสอดกับคู่ความฝ่ายที่ตนเข้า มาร่วมหรือที่ตนถูกหมายเรียกเข้ามาร่วม ผู้ร้องสอดย่อมต้องผูกพัน ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้ มาตรา 59 บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปอาจเป็นคู่ความในคดี เดียวกันได้โดยเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วม ถ้าหากปรากฏว่า บุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี แต่ห้าม มิให้ถือว่าบุคคลเหล่านั้นแทนซึ่งกันและกัน เว้นแต่มูลความแห่ง คดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ หรือได้มีกฎหมาย บัญญัติไว้ดั่งนั้น โดยชัดแจ้ง ในกรณีเช่นนี้ให้ถือว่าบุคคลเหล่านั้น แทนซึ่งกันและกันเพียงเท่าที่จะกล่าวต่อไปนี้ มาตรา 60 คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือผู้แทนโดยชอบธรรมใน กรณีที่คู่ความเป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือผู้แทนในกรณีที่คู่ความเป็น นิติบุคคลจะว่าด้วยตนเองและดำเนินกระบวนพิจารณาทั้งปวงตาม ที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์ของตน หรือจะตั้งแต่งทนายความ คนเดียวหรือหลายคนให้ว่าความ และดำเนินกระบวนพิจารณา แทนตนก็ได้ ถ้าคู่ความหรือผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้แทนดั่งที่ ได้กล่าวมาแล้วทำหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลใดเป็นผู้แทนตนในคดี ผู้รับมอบอำนาจเช่นว่านั้นจะว่าความอย่างทนายความไม่ได้ แต่ย่อม ตั้งทนายความเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาได้ มาตรา 61 การตั้งทนายความนั้นต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ ตัวความและทนายความแล้วยื่นต่อศาลเพื่อรวมไว้ในสำนวน ใบแต่ง ทนายนี้ให้ใช้ได้เฉพาะคดีเรื่องหนึ่ง ๆ ตามที่ได้ยื่นไว้เท่านั้น เมื่อ ทนายความผู้ใดได้รับมอบอำนาจทั่วไปที่จะแทนบุคคลอื่นไม่ว่าใน คดีใด ๆ ให้ทนายความผู้นั้นแสดงใบมอบอำนาจทั่วไปแล้วคัดสำเนา ยื่นต่อศาลแทนใบแต่งทนาย เพื่อดำเนินคดีเป็นเรื่อง ๆ ไปตาม ความใน มาตรานี้ มาตรา 62 ทนายความซึ่งคู่ความได้ตั้งแต่งนั้นมีอำนาจว่าความ และดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนคู่ความได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อรักษาผลประโยชน์ของคู่ความนั้น แต่ถ้ากระบวนพิจารณาใด เป็นไปในทางจำหน่ายสิทธิของคู่ความ เช่น การยอมรับตามที่คู่ความ อีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้อง การถอนฟ้อง การประนีประนอมยอมความการ สละสิทธิหรือใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกา หรือในการขอให้ พิจารณาคดีใหม่ ทนายความไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวน พิจารณาเช่นว่านี้ได้โดยมิได้รับอำนาจจากตัวความโดยชัดแจ้ง อำนาจโดยชัดแจ้งเช่นว่านี้จะระบุให้ไว้ในใบแต่งทนายสำหรับคดี เรื่องนั้น หรือทำเป็นใบมอบอำนาจต่างหากในภายหลังใบเดียว หรือหลายใบก็ได้และในกรณีหลังนี้ให้ใช้บทบัญญัติ มาตรา 61 บังคับ กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตาม ตัวความหรือผู้แทนจะปฏิบัติหรือ แก้ไขข้อเท็จจริงที่ทนายความของตนได้กล่าวด้วยวาจาต่อหน้าตน ในศาลในขณะนั้นก็ได้แม้ถึงว่าตัวความหรือผู้แทนนั้นจะมิได้สงวน สิทธิเช่นนั้นไว้ในใบแต่งทนายก็ดี มาตรา 63 บทบัญญัติแห่งมาตราก่อนนี้ไม่ตัดสิทธิตัวความในอัน ที่จะตั้งแต่งผู้แทนหรือทนายความ โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลเพื่อ ให้รับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งได้ชำระไว้ในศาล หรือวางไว้ยังศาลเป็นเงิน ค่าธรรมเนียมหรืออย่างอื่นและศาลได้สั่งให้จ่ายคืนหรือส่งมอบให้แก่ ตัวความฝ่ายนั้นแต่ถ้าศาลนั้นมีความสงสัยในความสามารถหรือ ตัวบุคคล ผู้แทน หรือทนายความซึ่งได้รับตั้งแต่งดั่งกล่าวข้างต้น ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้ตัวความหรือทนายความหรือทั้งสองคน ให้มาศาลโดยตนเองได้ มาตรา 64 เว้นแต่ศาลจะได้สั่งเป็นอย่างอื่น เมื่อคดีมีเหตุผลพิเศษ อันเกี่ยวกับคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทนายความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยเฉพาะ คู่ความหรือทนายความอาจตั้งแต่งให้บุคคลใดทำการแทน ได้โดยยื่นใบมอบฉันทะต่อศาลทุกครั้งเพื่อกระทำกิจการอย่างใด อย่างหนึ่งดั่งต่อไปนี้คือ กำหนดวันนั่งพิจารณาหรือวันสืบพยานหรือ วันฟังคำสั่งคำบังคับหรือคำชี้ขาดใด ๆ ของศาลมาฟังคำสั่ง คำบังคับ หรือคำชี้ขาดใด ๆ ของศาล หรือสลักหลังรับรู้ซึ่งข้อความนั้น ๆ รับสำเนาแห่งคำให้การคำร้องหรือเอกสารอื่น ๆ ตามที่บัญญัติไว้ ใน มาตรา 71 และ มาตรา 72 และแสดงการรับรู้สิ่งเหล่านั้น มาตรา 65 ทนายความที่ตัวความได้ตั้งแต่งให้เป็นทนายในคดี จะมีคำขอต่อศาลให้สั่งถอนตนจากการตั้งแต่งนั้นก็ได้ แต่ต้องแสดง ให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่าทนายความผู้นั้นได้แจ้งให้ตัวความทราบแล้ว เว้นแต่จะหาตัวความไม่พบ เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอนั้นแล้ว ให้ศาลส่งคำสั่งนั้นให้ ตัวความทราบโดยเร็ว โดยวิธีส่งหมายธรรมดาหรือโดยวิธีอื่นแทน แล้วแต่จะเห็นสมควร มาตรา 66 ผู้ใดอ้างว่าเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของตัวความ หรือ เป็นผู้แทนของนิติบุคคล เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายที่ เกี่ยวข้องยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องในขณะที่ยื่นคำฟ้องหรือคำให้การ ศาลจะทำการสอบสวนถึงอำนาจของผู้นั้นก็ได้ และถ้าเป็นที่พอใจว่า ผู้นั้นไม่มีอำนาจหรืออำนาจของผู้นั้นบกพร่อง ศาลมีอำนาจยกฟ้อง คดีนั้นเสียหรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างอื่นได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม มาตรา 67 เมื่อประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นบัญญัติว่า เอกสารใดจะต้องส่งให้แก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือบุคคลที่ เกี่ยวข้อง (เช่น คำคู่ความที่ทำโดยคำฟ้อง คำให้การหรือ คำร้อง หรือคำขอโดยทำเป็นคำร้อง หมายเรียกหรือหมายอื่น ๆ สำเนา คำแถลงการณ์ หรือสำเนาพยานเอกสาร ฯลฯ) เอกสารนั้นต้อง ทำขึ้นให้ปรากฏข้อความแน่ชัดถึงตัวบุคคลและมีรายการต่อไปนี้ ในการยื่นหรือส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นใดอันจะต้องทำตามแบบ พิมพ์ที่จัดไว้ เจ้าพนักงาน คู่ความ หรือบุคคลผู้เกี่ยวข้องจะต้องใช้ กระดาษแบบพิมพ์นั้น ส่วนราคากระดาษแบบพิมพ์นั้น ให้เรียกตาม ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมจะได้กำหนดไว้ มาตรา 68 เพื่อประโยชน์แห่งประมวลกฎหมายนี้ให้เรียก นิติบุคคลตามชื่อหรือตามชื่อที่จดทะเบียน และภูมิลำเนาหรือสำนักทำ การงานของนิติบุคคลนั้นให้ถือเอาสำนักงานหรือสำนักงานแห่งใหญ่ ซึ่งอยู่ภายในเขตศาลที่จะยื่นฟ้องคดีหรือที่คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณา มาตรา 69 การยื่นคำคู่ความหรือเอกสารอื่นใดต่อศาลนั้นให้ กระทำได้โดยส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาล หรือยื่นต่อศาล ในระหว่างนั่งพิจารณา มาตรา 70 บรรดาคำฟ้อง หมายเรียกและหมายอื่น ๆ คำสั่ง คำบังคับของศาลนั้นให้เจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่งให้แก่คู่ความหรือ บุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง แต่ว่า คำฟ้องนั้น ให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมในการส่ง ส่วนการนำส่งนั้น โจทก์จะนำส่งหรือไม่ก็ได้ เว้นแต่ศาลจะสั่งให้โจทก์มีหน้าที่จัดการ นำส่งส่วนหมายเรียก หมายอื่น ๆ คำสั่ง คำบังคับของศาลที่ได้ออก ตามคำขอของคู่ความฝ่ายใด ถ้าศาลมิได้สั่งให้จัดการนำส่งด้วย ก็ให้คู่ความฝ่ายนั้นเพียงแต่เสียค่าธรรมเนียมในการส่ง ในกรณีอื่น ๆ ให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะจัดการส่งให้แก่คู่ความหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง มาตรา 71 คำให้การนั้น ให้ฝ่ายที่ให้การนำต้นฉบับยื่นไว้ต่อศาล พร้อมด้วยสำเนาสำหรับให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่น ๆ รับไปโดยทางเจ้าพนักงานศาล คำร้องเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การนั้น ให้เจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่ง ให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่นๆ โดยฝ่ายที่ยื่นคำร้องเป็นผู้มี หน้าที่จัดการนำส่ง มาตรา 72 คำร้องและคำแถลงการณ์ซึ่งได้ยื่นต่อศาลภายใน เวลาที่กฎหมายหรือศาลกำหนดไว้ หรือโดยข้อตกลงของคู่ความ ตามที่ศาลจดลงไว้ในรายงานนั้น ให้ผู้ยื่นคำร้องหรือคำแถลงการณ์ นำต้นฉบับยื่นไว้ต่อศาลพร้อมด้วยสำเนาเพื่อให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง หรือคู่ความอื่น ๆ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมารับไปโดยทางเจ้าพนักงาน ศาล บรรดาคำร้องอื่น ๆ ให้ยื่นต่อศาลพร้อมด้วยสำเนาเพื่อส่งให้แก่ คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่น ๆ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง และถ้า ศาลกำหนดให้เจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่งสำเนาเช่นว่านั้น ก็ให้ เจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่งโดยให้คู่ความฝ่ายที่ยื่นคำร้องเป็นผู้ออก ค่าใช้จ่าย บรรดาเอกสารอื่น ๆ เช่น สำเนาคำแถลงการณ์หรือสำเนาพยาน เอกสารนั้น ให้ส่งแก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่น ๆ หรือบุคคล ที่เกี่ยวข้องโดยวิธีใดวิธีหนึ่งในสองวิธีดั่งต่อไปนี้ มาตรา 73 ถ้าคำคู่ความหรือเอกสารอื่นใดจะต้องให้เจ้าพนักงาน ศาลเป็นผู้ส่งเมื่อคู่ความผู้มีหน้าที่ต้องส่งได้ร้องขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ดำเนินการส่งโดยเร็วเท่าที่จะทำได้ เพื่อการนี้พนักงานผู้ส่งหมายจะ ให้ผู้ขอ หรือบุคคลที่ผู้ขอเห็นสมควรไปด้วยเพื่อชี้ตัวคู่ความหรือ บุคคลผู้รับ หรือเพื่อค้นหาภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับก็ได้ ในกรณีที่ต้องส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นใดไปตามคำสั่งของศาล ซึ่งบุคคลอื่นหรือคู่ความไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบในการส่งนั้น ให้เป็น หน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลจะดำเนินการส่ง มาตรา 73 ทวิ คำคู่ความหรือเอกสารที่เจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่ง ไม่ ว่าการส่งนั้นจะเป็นหน้าที่ของศาลจัดการส่งเอง หรือคู่ความมี หน้าที่จัดการนำส่งก็ตาม ศาลอาจสั่งให้ส่งโดยทางไปรษณีย์ลง ทะเบียนตอบรับ โดยให้คู่ความฝ่ายที่มีหน้าที่นำส่งเป็นผู้เสียค่า ธรรมเนียมไปรษณียากรกรณีเช่นนี้ให้ถือว่าคำคู่ความหรือเอกสาร ที่ส่งโดยเจ้าพนักงานไปรษณีย์มีผลเสมือนเจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่ง และให้นำบทบัญญัติ มาตรา 74 และ มาตรา 76 มาตรา 77 มาใช้ บังคับโดยอนุโลม มาตรา 74 การส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นใดโดยเจ้าพนักงานศาล นั้นให้ปฏิบัติดั่งนี้ มาตรา 75 การส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นใดให้แก่ทนายความ ที่คู่ความตั้งแต่งให้ว่าคดี หรือให้แก่บุคคลที่ทนายความเช่นว่านั้น ได้ตั้งแต่งเพื่อกระทำกิจการอย่างใด ๆ ที่ระบุไว้ใน มาตรา 64 นั้น ให้ถือว่าเป็นการส่งโดยชอบด้วยกฎหมาย มาตรา 76 เมื่อเจ้าพนักงานศาลไม่พบคู่ความหรือบุคคลที่จะส่ง คำคู่ความหรือเอกสาร ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของบุคคล นั้น ๆ ถ้าได้ส่งคำคู่ความหรือเอกสารให้แก่บุคคลใด ๆ ที่มีอายุเกิน ยี่สิบปี ซึ่งอยู่หรือทำงานในบ้านเรือนหรือที่สำนักทำการงานที่ ปรากฏว่าเป็นของคู่ความ หรือบุคคลนั้น หรือได้ส่งคำคู่ความหรือ เอกสารนั้นตามข้อความในคำสั่งของศาล ให้ถือว่า เป็นการเพียงพอ ที่จะฟังว่าได้มีการส่งคำคู่ความหรือเอกสารถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ในกรณีเช่นว่ามานี้ การส่งคำคู่ความหรือเอกสารแก่คู่ความฝ่ายใด ห้ามมิให้ส่งแก่คู่ความฝ่ายปรปักษ์เป็นผู้รับไว้แทน (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5421/2552) มาตรา 77 การส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นใดโดยเจ้าพนักงานศาล ไปยังที่อื่นนอกจากภูมิลำเนา หรือสำนักทำการงานของคู่ความหรือ ของบุคคล ซึ่งระบุไว้ในคำคู่ความหรือเอกสารนั้น ให้ถือว่าเป็นการ ถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อ มาตรา 78 ถ้าคู่ความหรือบุคคลที่ระบุไว้ในคำคู่ความหรือเอกสาร ปฏิเสธไม่ยอมรับคำคู่ความหรือเอกสารนั้นจากเจ้าพนักงานศาลโดย ปราศจากเหตุอันชอบด้วยกฎหมาย เจ้าพนักงานนั้นชอบที่จะขอให้ พนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองที่มีอำนาจหรือเจ้าพนักงานตำรวจ ไปด้วยเพื่อเป็นพยานและถ้าคู่ความหรือบุคคลนั้นยังคงปฏิเสธไม่ ยอมรับอยู่อีก ก็ให้วางคำคู่ความหรือเอกสารไว้ณ ที่นั้น เมื่อได้ ทำดังนี้แล้วให้ถือว่าการส่งคำคู่ความหรือเอกสารนั้นเป็นการถูกต้อง ตามกฎหมาย มาตรา 79 ถ้าการส่งคำคู่ความหรือเอกสารนั้นไม่สามารถจะทำได้ ดั่งที่บัญญัติไว้ใน มาตราก่อนศาลอาจสั่งให้ส่งโดยวิธีอื่นแทนได้ กล่าวคือปิดคำคู่ความหรือเอกสารไว้ในที่แลเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนา หรือสำนักทำการงานของคู่ความหรือบุคคลผู้มีชื่อระบุไว้ในคำคู่ควา หรือเอกสารหรือมอบหมายคำคู่ความหรือเอกสารไว้แก่เจ้าพนักงาน ฝ่ายปกครองในท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานตำรวจ แล้วปิดประกาศ แสดงการที่ได้มอบหมายดั่งกล่าวแล้วนั้นไว้ดั่งกล่าวมาข้างต้น หรือลงโฆษณาหรือทำวิธีอื่นใดตามที่ศาลเห็นสมควร การส่งคำคู่ความหรือเอกสารโดยวิธีอื่นแทนนั้น ให้มีผลใช้ได้ต่อเมื่อ กำหนดเวลาสิบห้าวัน หรือระยะเวลานานกว่านั้นตามที่ศาลเห็นสมควร กำหนดได้ล่วงพ้นไปแล้วนับตั้งแต่เวลาที่คำคู่ความหรือเอกสารหรือ ประกาศแสดงการมอบหมายนั้นได้ปิดไว้ หรือการโฆษณาหรือวิธี อื่นใดตามที่ศาลสั่งนั้นได้ทำหรือได้ตั้งต้นแล้ว มาตรา 80 การส่งคำคู่ความ หรือเอกสารโดยเจ้าพนักงานศาลหรือ ทางเจ้าพนักงานศาลนั้น ให้เจ้าพนักงานศาลส่งใบรับลงลายมือชื่อ คู่ความ หรือผู้รับคำคู่ความหรือเอกสาร หรือส่งรายงานส่งคำคู่ความ หรือเอกสารลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานศาลต่อศาล แล้วแต่กรณี เพื่อ รวมไว้ในสำนวนความ ใบรับหรือรายงานนั้นต้องลงข้อความให้ปรากฏแน่ชัดถึงตัวบุคคล และรายการต่อไปนี้ รายงานนั้นต้องลง วัน เดือน ปี และลงลายมือชื่อของเจ้าพนักงาน ผู้ทำรายงาน ใบรับนั้นจะทำโดยวิธีจดลงไว้ที่ต้นฉบับซึ่งยื่นต่อศาลก็ได้ มาตรา 81 การส่งหมายเรียกพยานโดยคู่ความที่เกี่ยวข้องนั้น ให้ปฏิบัติดั่งนี้ มาตรา 82 ถ้าจะต้องส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นใด ไปยังคู่ความ หรือบุคคลหลายคน ให้ส่งสำเนาคำคู่ความ หรือเอกสารที่จะต้องส่ง ไปให้ทุก ๆ คน ในกรณีที่ต้องส่งคำคู่ความหรือเอกสาร โดยเจ้า พนักงานศาลหรือทางเจ้าพนักงานศาลนั้นให้คู่ความฝ่ายซึ่งมีหน้าที่ จัดการนำส่งมอบสำเนาคำคู่ความหรือเอกสารต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้พอกับจำนวนคู่ความ หรือบุคคลที่จะต้องส่งให้นั้น มาตรา 83 ถ้าคู่ความฝ่ายใดจะต้องยื่นต่อศาล หรือจะต้องส่งให้ แก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือบุคคลภายนอกซึ่งคำคู่ความ หรือ เอกสารอื่นใดภายในเวลาหรือก่อนเวลาที่กฎหมายหรือศาลได้กำหนดไว้ และการส่งเช่นว่านี้จะต้องกระทำโดยทางเจ้าพนักงานศาล ให้ถือว่า คู่ความฝ่ายนั้นได้ปฏิบัติตามความมุ่งหมายของกฎหมายหรือของศาล แล้ว เมื่อคู่ความฝ่ายนั้นได้ส่งคำคู่ความหรือเอกสารเช่นว่านั้นแก่ พนักงานเจ้าหน้าที่ของศาล เพื่อให้ยื่นหรือให้ส่งในเวลาหรือก่อน เวลาที่กำหนดนั้นแล้ว แม้ถึงว่าการรับคำคู่ความหรือเอกสารให้ แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุคคลภายนอกนั้น จะได้เป็นไปภายหลัง เวลาที่กำหนดนั้นก็ดี ถ้าประมวลกฎหมายนี้บัญญัติไว้ว่าการส่งคำคู่ความ หรือเอกสาร อื่นใดจะต้องให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุคคลภายนอกทราบล่วงหน้า ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ก่อนวันเริ่มต้นนั่งพิจารณา หรือสืบพยาน ให้ถือว่าคู่ความฝ่ายที่ต้องรับผิดในการส่งนั้นได้ปฏิบัติตามความมุ่ง หมายของกฎหมาย หรือของศาลตามที่บัญญัติไว้ในวรรคก่อนนั้นได้ ต่อเมื่อคู่ความฝ่ายนั้นได้ยื่นคำคู่ความหรือเอกสารที่จะต้องส่ง ให้แก่ พนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลไม่ต่ำกว่าสามวันก่อนวันเริ่มต้นแห่งระยะ เวลาที่กำหนดล่วงหน้าไว้นั้น ในกรณีที่คู่ความอาจส่งคำคู่ความหรือเอกสารโดยวิธีส่งสำเนาตรง ไปยังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุคคลภายนอกได้นั้น บทบัญญัติแห่ง มาตรานี้ มิได้ห้ามคู่ความที่มีหน้าที่ต้องส่งคำคู่ความหรือเอกสาร ดั่งกล่าวแล้วในอันที่จะใช้วิธีเช่นว่านี้ แต่คู่ความฝ่ายนั้นจะต้องส่งใบ รับของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง หรือบุคคลภายนอกต่อศาลในเวลาหรือ ก่อนเวลาที่กฎหมายหรือศาลได้กำหนดไว้ มาตรา 83 ทวิ ในกรณีที่จำเลยไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร ให้ส่งหมายเรียกและคำฟ้องตั้งต้นคดีแก่จำเลย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนัก ทำการงานของจำเลยนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ในกรณีที่จำเลยประกอบ กิจการในราชอาณาจักรด้วยตนเองหรือโดยตัวแทน หรือในกรณีที่มีการ ตกลงเป็นหนังสือว่าคำคู่ความและเอกสารที่จะต้องส่งให้แก่จำเลยนั้น ให้ส่งแก่ตัวแทนซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรที่จำเลยได้แต่งตั้งไว้ เพื่อ การนี้ให้ส่งหมายเรียกและคำฟ้องตั้งต้นคดีแก่จำเลยหรือตัวแทนในการ ประกอบกิจการหรือตัวแทนในการรับคำคู่ความและเอกสาร ณ สถานที่ ที่จำเลยหรือตัวแทนใช้ประกอบกิจการหรือสถานที่อันเป็นถิ่นที่อยู่ของ ตัวแทนในการประกอบกิจการหรือของตัวแทนในการรับคำคู่ความและ เอกสาร ซึ่งตั้งอยู่ในราชอาณาจักรแล้วแต่กรณี ในกรณีที่มีการเรียกบุคคลภายนอกซึ่งไม่มีภูมิลำเนาอยู่ใน ราชอาณาจักรเข้ามาเป็นคู่ความตาม มาตรา 57 (3) ให้นำความใน วรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา 83 ตรี การส่งคำคู่ความ คำร้อง คำแถลง หรือเอกสารอื่นใดนอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 83 ทวิ ถ้าผู้รับไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรแต่ประกอบกิจการในราชอาณาจักรด้วยตนเองหรือโดยตัวแทน หรือมีตัวแทนในการรับคำคู่ความและเอกสารหรือทนายความในการดำเนินคดีอยู่ในราชอาณาจักร ให้ส่งแก่ผู้รับหรือตัวแทนเช่นว่านั้นหรือทนายความ ณ สถานที่ที่ผู้รับหรือตัวแทนใช้ประกอบกิจการ หรือสถานที่อันเป็นถิ่นที่อยู่ของตัวแทน หรือภูมิลำเนา หรือสำนักทำการงานของทนายความซึ่งตั้งอยู่ในราชอาณาจักร แล้วแต่กรณี แต่ถ้าผู้รับมิได้ประกอบกิจการในราชอาณาจักรด้วยตนเอง หรือไม่มีตัวแทนดังกล่าวหรือทนายความอยู่ในราชอาณาจักร ให้ส่งโดยวิธีปิดประกาศไว้ที่ศาล (แก้ไข*ฉบับที่ 24* พ.ศ. 2551) มาตรา 83 จัตวา ในกรณีที่จะต้องส่งหมายเรียกและคำฟ้อง ตั้งต้นคดีตาม มาตรา 83 ทวิ แก่จำเลย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำ การงานของจำเลยนอกราชอาณาจักรให้โจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลภาย ในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันยื่นคำฟ้อง เพื่อให้ศาลจัดส่งหมายเรียก และคำฟ้องตั้งต้นคดีแก่จำเลย ในกรณีเช่นว่านี้ถ้าไม่มีข้อตกลงระหว่าง ประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้โจทก์ทำ คำแปลหมายเรียก คำฟ้องตั้งต้นคดีและเอกสารอื่นใดที่จะส่งไปยัง ประเทศที่จำเลยมีภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานอยู่ เป็นภาษาราชการ ของประเทศนั้นหรือเป็นภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งคำรับรองคำแปลว่า ถูกต้องยื่นต่อศาลพร้อมกับคำร้องดังกล่าวและวางเงินใช้จ่ายต่อศา ตามจำนวนและภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด ในกรณีที่ศาลเห็นสมควร ศาลจะมีคำสั่งให้โจทก์จัดทำเอกสารอื่น เพิ่มเติมยื่นต่อศาลภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนดก็ได้ ในกรณีที่โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินการตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ให้ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องตาม มาตรา 174 ในกรณีที่มีการเรียกบุคคลภายนอกซึ่งไม่มีภูมิลำเนาอยู่ใน ราชอาณาจักรเข้ามาเป็นคู่ความตาม มาตรา 57 (3) ให้นำความ ในวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา 83 เบญจ การส่งหมายเรียกและคำฟ้องตั้งต้นคดีตาม มาตรา 83 ทวิ แก่จำเลยหรือบุคคลภายนอก ณ ภูมิลำเนาหรือ สำนักทำการงานของบุคคลดังกล่าวนอกราชอาณาจักร ให้มีผลใช้ได้ ต่อเมื่อพ้นกำหนดเวลาหกสิบวันนับแต่วันที่ได้มีการส่งและในกรณี ส่งโดยวิธีอื่นแทนการส่งให้แก่จำเลย หรือบุคคลภายนอก ให้มีผลใช้ ได้ต่อเมื่อพ้นกำหนดเวลาเจ็ดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้มีการส่งโดยวิธีอื่น มาตรา 83 ฉ การส่งหมายเรียกและคำฟ้องตั้งต้นคดีตาม มาตรา 83 ทวิ แก่จำเลยหรือตัวแทนซึ่งประกอบกิจการในราชอาณาจักรหรือ ตัวแทนในการรับคำคู่ความและเอกสาร ให้มีผลใช้ได้ต่อเมื่อพ้น กำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่ได้มีการส่งโดยชอบด้วยกฎหมาย การส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นตาม มาตรา 83 ตรี แต่ผู้รับหรือ ตัวแทนหรือทนายความ ให้มีผลใช้ได้ต่อเมื่อพ้นกำหนดเวลาสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้มีการส่งโดยชอบด้วยกฎหมาย การปิดประกาศตาม มาตรา 83 ตรี ให้มีผลใช้ได้ต่อเมื่อพ้นกำหนด เวลาสามสิบวันนับแต่วันปิดประกาศ และมิให้นำบทบัญญัติ มาตรา 79 มาใช้บังคับ มาตรา 83 สัตต เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติตาม มาตรา 83 จัตวา แล้ว ถ้าไม่มีข้อตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีกำหนดไว้ เป็นอย่างอื่น ให้ศาลดำเนินการส่งให้แก่จำเลยหรือบุคคลภายนอก โดยผ่านกระทรวงยุติธรรมและกระทรวงต่างประเทศ มาตรา 83 อัฏฐ ในกรณีที่จะต้องส่งหมายเรียกและคำฟ้องตั้งต้น คดีตาม มาตรา 83 ทวิ แก่จำเลยหรือบุคคลภายนอก ณ ภูมิลำเนาหรือ สำนักทำการงานของบุคคลดังกล่าวนอกราชอาณาจักร ถ้าโจทก์ยื่น คำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องและสามารถแสดงให้เป็นที่พอใจ แก่ศาลได้ว่าการส่งตาม มาตรา 83 สัตต ไม่อาจกระทำได้ เพราะเหตุ ที่ภูมิลำเนาและสำนักทำการงานของบุคคลดังกล่าวไม่ปรากฏหรือ เพราะเหตุอื่นใดหรือเมื่อศาลได้ดำเนินการตาม มาตรา 83 สัตต เป็นเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวันแล้ว แต่ยังมิได้รับแจ้งผลการส่ง ถ้าศาลเห็นสมควร ก็ให้ศาลอนุญาตให้ส่งโดยวิธีปิดประกาศไว้ที่ ศาลแทน ในกรณีเช่นว่านี้ ศาลจะสั่งให้ส่งโดยวิธีประกาศโฆษณา ในหนังสือพิมพ์หรือโดยวิธีอื่นใดด้วยก็ได้ การส่งโดยวิธีการตามวรรคหนึ่ง ให้มีผลใช้ได้ต่อเมื่อพ้นกำหนด เวลาหกสิบวันนับแต่วันที่ปิดประกาศไว้ที่ศาลและมิให้นำบทบัญญัติ มาตรา 79 มาใช้บังคับ ลักษณะ 5 พยานหลักฐาน หมวด 1 หลักทั่วไป มาตรา 84 การวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในคดีใดจะต้องกระทำโดยอาศัยพยานหลักฐาน ในสำนวนคดีนั้น เว้นแต่ มาตรา 84/1 คู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนคำคู่ความของตนให้คู่ความ ฝ่ายนั้นมีภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงนั้น แต่ถ้ามีข้อสันนิษฐานไว้ในกฎหมายหรือมีข้อสันนิษฐานที่ควรจะเป็น ซึ่งปรากฏจากสภาพปกติธรรมดาของเหตุการณ์เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใด คู่ความฝ่ายนั้นต้องพิสูจน์เพียงว่าตนได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งการที่ตนจะได้รับประโยชน์ จากข้อสันนิษฐานนั้นครบถ้วนแล้ว มาตรา 85 คู่ความฝ่ายที่มีหน้าที่ต้องนำสืบข้อเท็จจริง ย่อมมีที่ สิทธิจะนำพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบได้ภายใต้บังคับแห่งประมวล กฎหมายนี้ หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐานและ การยื่นพยานหลักฐาน มาตรา 86 เมื่อศาลเห็นว่าพยานหลักฐานใดเป็นพยานหลักฐาน ที่รับฟังไม่ได้ก็ดี หรือเป็นพยานหลักฐานที่รับฟังได้ แต่ได้ยื่นฝ่าฝืน ต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ให้ศาลปฏิเสธไม่รับพยาน หลักฐานนั้นไว้ เมื่อศาลเห็นว่าพยานหลักฐานใดฟุ่มเฟือยเกินสมควร หรือประวิง ให้ชักช้า หรือไม่เกี่ยวแก่ประเด็น ให้ศาลมีอำนาจงดการสืบพยาน หลักฐานเช่นว่านั้น หรือพยานหลักฐานอื่นต่อไป เมื่อศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเป็นการจำเป็น ที่จะต้องนำพยานหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเพิ่มเติม ให้ศาลทำการสืบพยานหลักฐานต่อไป ซึ่งอาจรวมทั้งการที่จะเรียก พยานที่สืบแล้วมาสืบใหม่ด้วยโดยไม่ต้องมีฝ่ายใดร้องขอ มาตรา 87 ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานใด เว้นแต่ มาตรา 88 เมื่อคู่ความฝ่ายใดมีความจำนงที่จะอ้างอิงเอกสารฉบับใดหรือคำเบิกความ ของพยานคนใด หรือมีความจำนงที่จะให้ศาลตรวจบุคคล วัตถุ สถานที่ หรืออ้างอิงความเห็น ของผู้เชี่ยวชาญที่ศาลตั้งหรือความเห็นของผู้มีความรู้เชี่ยวชาญ เพื่อเป็นพยานหลักฐานสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของตน ให้คู่ความฝ่ายนั้นยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน โดยแสดงเอกสารหรือสภาพของเอกสารที่จะอ้าง และรายชื่อ ที่อยู่ของบุคคล ผู้มีความรู้เชี่ยวชาญ วัตถุ หรือสถานที่ซึ่งคู่ความฝ่ายนั้นระบุอ้างเป็นพยานหลักฐาน หรือขอให้ศาลไปตรวจ หรือขอให้ตั้งผู้เชี่ยวชาญแล้วแต่กรณี พร้อมทั้งสำเนาบัญชีระบุพยานดังกล่าวในจำนวนที่เพียงพอ เพื่อให้คู่ความฝ่ายอื่นมารับไปจากเจ้าพนักงานศาล(แก้ไข *ฉบับที่ 23* พ.ศ. 2550) เมื่อระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานตามวรรคหนึ่งหรือ วรรคสองแล้วแต่กรณี ได้สิ้นสุดลงแล้ว ถ้าคู่ความฝ่ายใดซึ่งได้ยื่น บัญชีระบุพยานไว้แล้ว มีเหตุอันสมควรแสดงได้ว่าตนไม่สามารถ ทราบได้ว่าต้องนำพยานหลักฐานบางอย่างมาสืบเพื่อประโยชน์ ของตน หรือไม่ทราบว่าพยานหลักฐานบางอย่างได้มีอยู่ หรือมี เหตุอันสมควรอื่นใด หรือถ้าคู่ความฝ่ายใด ซึ่งมิได้ยื่นบัญชี ระบุพยานแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลได้ว่ามีเหตุอันสมควรที่ไม่ สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาดังกล่าวได้ คู่ความ ฝ่ายนั้นอาจยื่นคำร้องขออนุญาตอ้างพยานหลักฐานเช่นว่านั้นต่อศาลพร้อมกับบัญชีระบุพยาน และสำเนาบัญชีระบุพยานดังกล่าวไม่ว่า เวลาใด ๆ ก่อนพิพากษาคดี และถ้าศาลเห็นว่าเพื่อให้การวินิจฉัย ชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรม จำเป็นจะต้อง สืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้น ก็ให้ศาลอนุญาตตามคำร้อง มาตรา 89 คู่ความฝ่ายใดประสงค์จะนำสืบพยานหลักฐานของตนเพื่อพิสูจน์ต่อพยานของคู่ความฝ่ายอื่น ในกรณีต่อไปนี้ ให้คู่ความฝ่ายนั้นถามค้านพยานดังกล่าวเสียในเวลาที่พยานเบิกความ เพื่อให้พยานมีโอกาสอธิบายถึงข้อความเหล่านั้น แม้ว่าพยานนั้นจะมิได้เบิกความถึงข้อความดังกล่าวก็ตาม ในกรณีที่คู่ความฝ่ายนั้นมิได้ถามค้านพยานของคู่ความฝ่ายอื่นไว้ดังกล่าวมาข้างต้นแล้ว ต่อมานำพยานหลักฐานมาสืบถึงข้อความนั้น คู่ความฝ่ายอื่นที่สืบพยานนั้นไว้ชอบที่จะคัดค้านได้ในขณะที่คู่ความฝ่ายนั้น นำพยานหลักฐานมาสืบ และในกรณีเช่นว่านี้ ให้ศาลปฏิเสธไม่ยอมรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่ามานั้น มาตรา 90 ให้คู่ความฝ่ายที่อ้างอิงเอกสารเป็นพยานหลักฐานเพื่อ สนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของตนตาม มาตรา 88 วรรคหนึ่ง ยื่นต่อ ศาลและส่งให้คู่ความฝ่ายอื่นซึ่งสำเนาเอกสารนั้นก่อนวันสืบพยานไม่ น้อยกว่าเจ็ดวัน ในกรณีที่คู่ความฝ่ายใดยื่นคำแถลงหรือคำร้องขออนุญาตอ้างอิง พยานหลักฐานตาม มาตรา 88 วรรคสอง หรือ วรรคสาม ให้ยื่นต่อศาล และส่งให้คู่ความฝ่ายอื่นซึ่งสำเนาเอกสารนั้น พร้อมกับการยื่นคำแถลง หรือคำร้องดังกล่าว เว้นแต่ศาลจะอนุญาตให้ยื่นสำเนาเอกสารภายหลัง เมื่อมีเหตุอันสมควร คู่ความฝ่ายที่อ้างอิงพยานหลักฐานไม่ต้องยื่นสำเนาเอกสารต่อศาล และไม่ต้องส่งสำเนาเอกสารให้คู่ความฝ่ายอื่นในกรณีต่อไปนี้ กรณีตาม (1) หรือ (3) ให้คู่ความฝ่ายที่อ้างอิงเอกสารยื่นคำขอ ฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องต่อศาล ขออนุญาตงดการยื่นสำเนา เอกสารนั้นและขอยื่นต้นฉบับเอกสารแทน เพื่อให้ศาลหรือคู่ความ ฝ่ายอื่นตรวจดูตามเงื่อนไขที่ศาลเห็นสมควรกำหนด กรณีตาม (2) ให้คู่ความฝ่ายที่อ้างอิงเอกสารขอให้ศาลมีคำสั่งเรียก เอกสารนั้นมาจากผู้ครอบครองตาม มาตรา 123 โดยต้องยื่นคำร้อง ต่อศาลภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี และให้คู่ความฝ่ายนั้นมีหน้าที่ติดตาม เพื่อให้ได้เอกสารดังกล่าวมา ภายในเวลาที่ศาลกำหนด เมื่อคู่ความหรือบุคคลใดปฏิเสธไม่ยอมเบิกความหรือนำพยาน หลักฐานมาแสดงดั่งกล่าวมาแล้ว ให้ศาลมีอำนาจที่จะหมายเรียก พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องให้มาศาล และให้ชี้แจงข้อ ความตามที่ศาลต้องการเพื่อวินิจฉัยว่าการปฏิเสธนั้นชอบด้วยเหตุผล หรือไม่ ถ้าศาลเห็นว่าการปฏิเสธไม่มีเหตุผลฟังได้ ศาลมีอำนาจออก คำสั่งมิให้คู่ความหรือบุคคลเช่นว่านั้นยกประโยชน์แห่ง มาตรานี้ ขึ้น ใช้ และบังคับให้เบิกความหรือนำพยานหลักฐานนั้นมาแสดงได้ มาตรา 91 คู่ความทั้งสองฝ่ายต่างมีสิทธิที่จะอ้างอิงพยานหลักฐาน ร่วมกันได้ มาตรา 92 ถ้าคู่ความหรือบุคคลใดจะต้องเบิกความหรือนำพยาน หลักฐานชนิดใด ๆ มาแสดง และคำเบิกความหรือพยานหลักฐานนั้น อาจเปิดเผย มาตรา 93 การอ้างเอกสารเป็นพยานหลักฐานให้ยอมรับฟังได้เฉพาะต้นฉบับเอกสารเท่านั้น เว้นแต่ มาตรา 94 เมื่อใดมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดั่งต่อไปนี้ แม้ถึงว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะได้ยินยอมก็ดี แต่ว่าบทบัญญัติแห่ง มาตรานี้ มิให้ใช้บังคับในกรณีที่บัญญัติไว้ ใน อนุมาตรา (2) แห่ง มาตรา 93 และมิให้ถือว่าเป็นการตัดสิทธิคู่ความ ในอันที่จะกล่าวอ้างและนำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่า พยานเอกสารที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอม หรือไม่ถูกต้องทั้งหมด หรือแต่บางส่วน หรือสัญญาหรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ในเอกสารนั้น ไม่สมบูรณ์หรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตีความหมายผิด มาตรา 95 ห้ามมิให้ยอมรับฟังพยานบุคคลใดเว้นแต่บุคคลนั้น ถ้าศาลไม่ยอมรับไว้ซึ่งคำเบิกความของบุคคลใด เพราะเห็นว่า บุคคลนั้นจะเป็นพยานหรือให้การดั่งกล่าวข้างต้นไม่ได้ และคู่ความฝ่าย ที่เกี่ยวข้องร้องคัดค้านก่อนที่ศาลจะดำเนินคดีต่อไป ให้ศาลจดรายงาน ระบุนาม พยาน เหตุผลที่ไม่ยอมรับและข้อคัดค้านของคู่ความฝ่าย ที่เกี่ยวข้องไว้ ส่วนเหตุผลที่คู่ความฝ่ายคัดค้านยกขึ้นอ้างนั้นให้ศาล ใช้ดุลพินิจจดลง ไว้ในรายงานหรือกำหนดให้คู่ความฝ่ายนั้นยื่น คำแถลงต่อศาลเพื่อรวมไว้ในสำนวน มาตรา 95/1 ข้อความซึ่งเป็นการบอกเล่าที่พยานบุคคลใดนำมาเบิกความต่อศาลก็ดี หรือ ที่บันทึกไว้ในเอกสารหรือวัตถุอื่นใดซึ่งได้อ้างเป็นพยานหลักฐานต่อศาลก็ดี หากนำเสนอเพื่อพิสูจน์ความจริงแห่งข้อความนั้น ให้ถือเป็นพยานบอกเล่า ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่า เว้นแต่ ในกรณีที่ศาลเห็นว่าไม่ควรรับไว้ซึ่งพยานบอกเล่าใด ให้นำความใน มาตรา 95 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม (แก้ไข *ฉบับที่ 23* พ.ศ. 2550) มาตรา 96 พยานที่เป็นคนหูหนวก หรือเป็นใบ้หรือทั้งหูหนวกและ เป็นใบ้นั้น อาจถูกถามหรือให้คำตอบโดยวิธีเขียนหนังสือ หรือโดย วิธีอื่นใดที่สมควรได้ และคำเบิกความของบุคคลนั้น ๆ ให้ถือว่าเป็น คำพยานบุคคลตามกฎหมายนี้ มาตรา 97 คู่ความฝ่ายหนึ่ง จะอ้างคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเป็น พยานของตนหรือจะอ้างตนเองเป็นพยานก็ได้ มาตรา 98 คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะอ้างบุคคลใดเป็นพยานของตน ก็ได้เมื่อบุคคลนั้นเป็นผู้มีความรู้เชี่ยวชาญในศิลป วิทยาศาสตร์ การฝีมือ การค้าหรือการงานที่ทำ หรือในกฎหมายต่างประเทศ และซึ่งความเห็นของพยานอาจเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยชี้ขาด ข้อความในประเด็นทั้งนี้ ไม่ว่าพยานจะเป็นผู้มีอาชีพในการนั้นหรือไม่ มาตรา 99 ถ้าศาลเห็นว่าจำเป็นที่จะต้องตรวจบุคคล วัตถุ สถานที่ หรือตั้งผู้เชี่ยวชาญตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 129 และ มาตรา 130 เมื่อศาลเห็นสมควร ไม่ว่าการพิจารณาคดีจะอยู่ในชั้นใดหรือ เมื่อมีคำขอของคู่ความฝ่ายใดภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติ มาตรา 87 และ มาตรา 88 ให้ศาลมีอำนาจออกคำสั่งกำหนดการตรวจหรือการแต่งตั้ง ผู้เชี่ยวชาญเช่นว่านั้นได้ บทบัญญัติแห่ง มาตรานี้ ไม่ตัดสิทธิของคู่ความในอันที่จะเรียกบุคคลผู้มีความรู้เชี่ยวชาญมาเป็นพยานฝ่ายตนได้ มาตรา 100 คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งซึ่งประสงค์จะอ้างอิงข้อเท็จจริง ใด และขอให้คู่ความฝ่ายอื่นตอบว่าจะรับรองข้อเท็จจริงนั้นว่าถูกต้อง หรือไม่อาจส่งคำบอกกล่าวเป็นหนังสือแจ้งรายการข้อเท็จจริงนั้นไปให้ คู่ความฝ่ายอื่นก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ถ้าคู่ความฝ่ายอื่นได้รับคำบอกกล่าวโดยชอบแล้ว เมื่อคู่ความฝ่ายที่ ส่งคำบอกกล่าวร้องขอต่อศาลในวันสืบพยาน ให้ศาลสอบถามคู่ความ ฝ่ายอื่นว่าจะยอมรับข้อเท็จจริงตามที่ได้รับคำบอกกล่าวนั้นว่าถูกต้องหรือไม่ แล้วให้ศาลจดคำตอบไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ถ้าคู่ความ ฝ่ายนั้นไม่ตอบคำถามเกี่ยวกับข้อเท็จจริงใด หรือปฏิเสธข้อเท็จจริงใด โดยไม่มีเหตุแห่งการปฏิเสธโดยชัดแจ้ง ให้ถือว่ายอมรับข้อเท็จจริง นั้นแล้ว เว้นแต่ศาลจะเห็นว่าคู่ความฝ่ายนั้นไม่อยู่ในวิสัยที่จะตอบ หรือแสดงเหตุแห่งการปฏิเสธโดยชัดแจ้งในขณะนั้น ศาลจะมีคำสั่ง ให้คู่ความฝ่ายนั้นทำคำแถลงเกี่ยวกับข้อเท็จจริงนั้นมายื่นต่อศาล ภายในระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควรก็ได้ บทบัญญัติแห่ง มาตรานี้ ให้ใช้บังคับแก่เรื่องเอกสารทั้งหมดหรือ ฉบับใดฉบับหนึ่งที่คู่ความแสดงความจำนงจะอ้างอิงด้วยโดยอนุโลม แต่ต้องส่งสำเนาเอกสารนั้นไปพร้อมกับคำบอกกล่าว และต้องมี ต้นฉบับเอกสารนั้นให้คู่ความฝ่ายอื่นตรวจดูได้เมื่อต้องการเว้นแต่ ต้นฉบับเอกสารนั้นอยู่ในความครอบครองของคู่ความฝ่ายอื่นหรือ ของบุคคลภายนอก มาตรา 101 ถ้าบุคคลใดเกรงว่า พยานหลักฐานซึ่งตนอาจต้อง อ้างอิงในภายหน้าจะสูญหายหรือยากแก่การนำมา หรือถ้าคู่ความ ฝ่ายใดในคดีเกรงว่าพยานหลักฐานซึ่งตนจำนงจะอ้างอิงจะสูญหาย เสียก่อนที่จะนำมาสืบหรือเป็นการยากที่จะนำมาสืบในภายหลัง บุคคลนั้นหรือคู่ความฝ่ายนั้นอาจยื่นคำขอต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องขอ หรือคำร้องให้ศาลมีคำสั่งสืบพยานหลักฐานนั้นไว้ทันที เมื่อศาลได้รับคำขอเช่นว่านั้น ให้ศาลหมายเรียกผู้ขอและคู่ความ อีกฝ่ายหนึ่งหรือบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องมายังศาล และเมื่อได้ฟัง บุคคลเหล่านั้นแล้วให้ศาลสั่งคำขอตามที่เห็นสมควร ถ้าศาลสั่งอนุญาต ตามคำขอแล้วให้สืบพยานไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้ ส่วนรายงานและเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนั้นให้ศาลเก็บรักษาไว้ ในกรณีที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องไม่มี ภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรและยังมิได้เข้ามาในคดีนั้น เมื่อศาล ได้รับคำขอตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลสั่งคำขอนั้นอย่างคำขออันอาจทำได้ แต่ฝ่ายเดียว ถ้าศาลสั่งอนุญาตตามคำขอแล้ว ให้สืบพยานไปฝ่ายเดียว มาตรา 101/1 ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินซึ่งจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานใดเป็นการเร่งด่วน และไม่สามารถแจ้งให้คู่ความฝ่ายอื่นทราบก่อนได้ เมื่อมีการยื่นคำขอตาม มาตรา 101 พร้อมกับคำฟ้องหรือคำให้การหรือภายหลังจากนั้น คู่ความฝ่ายที่ขอจะยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องรวมไปด้วยเพื่อให้ศาลมีคำสั่งโดยไม่ชักช้าก็ได้ และถ้าจำเป็นจะขอให้ศาลมีคำสั่งให้ยึดหรือให้ส่งต่อศาลซึ่งเอกสาร หรือวัตถุที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานที่ขอสืบไว้ก่อนด้วยก็ได้ คำร้องตามวรรคหนึ่งต้องบรรยายถึงข้อเท็จจริงที่แสดงว่ามีเหตุฉุกเฉินซึ่งจำเป็นต้องสืบ มาตรา 101/2 ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอให้ยึดหรือให้ส่งเอกสาร หรือวัตถุที่จะใช้เป็นพยานหลักฐาน ศาลอาจกำหนดเงื่อนไขอย่างใดตามที่เห็นสมควร และจะสั่งด้วยว่าให้ผู้ขอนำเงินหรือหาประกันตามจำนวนที่เห็นสมควรมาวางศาล เพื่อการชำระค่าสินไหมทดแทน สำหรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่บุคคลใด เนื่องจากศาลได้มีคำสั่งโดยมีความเห็นหลงไปว่ามีเหตุจำเป็นโดยความผิดหรือเลินเล่อของผู้ขอก็ได้ ให้นำความใน มาตรา 261 มาตรา 262 มาตรา 263 มาตรา 267 มาตรา 268 และ มาตรา 269 มาใช้บังคับแก่กรณีตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม และในกรณีที่ทรัพย์ซึ่งศาลสั่งยึดนั้นเป็นของบุคคลที่สาม ให้บุคคลที่สามมีสิทธิเสมือนเป็นจำเลยในคดี และเมื่อหมดความจำเป็นที่จะใช้เอกสาร หรือวัตถุนั้นเป็นพยานหลักฐานต่อไปแล้ว เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อผู้มีสิทธิจะได้รับคืนร้องขอให้ศาลมีคำสั่งคืนเอกสารหรือวัตถุนั้นแก่ผู้ขอ (แก้ไขเพิ่มเติม *ฉบับที่ 23* พ.ศ. 2550) มาตรา 102 ให้ศาลที่พิจารณาคดีเป็นผู้สืบพยานหลักฐานโดย จะสืบในศาลหรือนอกศาล ณ ที่ใด ๆ ก็ได้แล้วแต่ศาลจะสั่งตามที่ เห็นสมควรตามความจำเป็นแห่งสภาพของพยานหลักฐานนั้น แต่ถ้าศาลที่พิจารณาคดีเห็นเป็นการจำเป็น ให้มีอำนาจมอบให้ ผู้พิพากษาคนใดคนหนึ่งในศาลนั้น หรือตั้งให้ศาลอื่นสืบพยานหลักฐาน แทนได้ให้ผู้พิพากษาที่รับมอบ หรือศาลที่ได้รับแต่งตั้งนั้นมีอำนาจ และหน้าที่เช่นเดียวกับศาลที่พิจารณาคดีรวมทั้งอำนาจที่จะมอบให้ ผู้พิพากษาคนใดคนหนึ่งในศาลนั้น หรือตั้งศาลอื่นให้ทำการสืบพยาน หลักฐานแทนต่อไปด้วย ถ้าศาลที่พิจารณาคดีได้แต่งตั้งให้ศาลอื่นสืบพยานแทน คู่ความ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะแถลงต่อศาลที่พิจารณาคดีว่า ตนมีความจำนงจะ ไปฟังการพิจารณาก็ได้ในกรณีเช่นนี้ ให้ศาลที่ได้รับแต่งตั้งแจ้งวัน กำหนดสืบพยานหลักฐานให้ผู้ขอทราบล่วงหน้าอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า เจ็ดวัน คู่ความที่ไปฟังการพิจารณานั้นชอบที่จะใช้สิทธิได้ เสมือนหนึ่งว่ากระบวนพิจารณานั้นได้ดำเนินในศาลที่พิจารณาคดี ให้ส่งสำเนาคำฟ้องและคำให้การพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐาน อื่น ๆ อันจำเป็นเพื่อสืบพยานหลักฐานไปยังศาลที่ได้รับแต่งตั้ง ดั่งกล่าวแล้ว ถ้าคู่ความฝ่ายที่อ้างอิงพยานหลักฐานนั้นมิได้แถลง ความจำนงที่จะไปฟังการพิจารณา ก็ให้แจ้งไปให้ศาลที่ได้รับแต่งตั้ง ทราบข้อประเด็นที่จะสืบ เมื่อได้สืบพยานหลักฐานเสร็จแล้ว ให้เป็นหน้าที่ของศาลที่รับแต่งตั้งจะต้องส่งรายงานที่จำเป็น และ เอกสารอื่น ๆ ทั้งหมดอันเกี่ยวข้องในการสืบพยานหลักฐานไป ยังศาลที่พิจารณาคดี มาตรา 103 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยการขาดนัด การร้องสอด และการขับไล่ออกนอกศาล ห้ามมิให้ ศาลที่พิจารณาคดีหรือผู้พิพากษาที่รับมอบหมาย หรือศาลที่ได้รับ แต่งตั้งดั่งกล่าวข้างต้นทำการสืบพยานหลักฐานใด โดยมิได้ให้โอกาส เต็มที่แก่คู่ความทุกฝ่ายในอันที่จะมาฟังการพิจารณาและใช้สิทธิเกี่ยว ด้วยกระบวนพิจารณาเช่นว่านั้นตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้ ไม่ว่าพยานหลักฐานนั้นคู่ความฝ่ายใดจะเป็นผู้อ้างอิง หรือศาลเป็น ผู้สั่งให้สืบ มาตรา 103/1 ในกรณีที่คู่ความตกลงกัน และศาลเห็นเป็นการจำเป็นและสมควร ศาลอาจแต่งตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือเจ้าพนักงานอื่น ซึ่งคู่ความเห็นชอบให้ทำการสืบพยานหลักฐานส่วนใดส่วนหนึ่ง ที่จะต้องกระทำนอกศาลแทนได้ ให้เจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่งเป็นเจ้าพนักงาน ตามประมวลกฎหมายอาญา และให้นำความใน มาตรา 103 มาใช้บังคับโดยอนุโลม(แก้ไขเพิ่มเติม *ฉบับที่ 23* พ.ศ. 2550) มาตรา 103/2 คู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องอาจร้องขอต่อศาลให้ดำเนินการสืบพยานหลักฐาน ไปตามวิธีการที่คู่ความตกลงกัน ถ้าศาลเห็นสมควรเพื่อให้การสืบพยานหลักฐานเป็นไปโดยสะดวกรวดเร็ว และเที่ยงธรรม ศาลจะอนุญาตตามคำร้องขอนั้นก็ได้ เว้นแต่การสืบพยานหลักฐานนั้นจะเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน (แก้ไขเพิ่มเติม *ฉบับที่ 23* พ.ศ. 2550) มาตรา 103/3 เพื่อให้การสืบพยานหลักฐานเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็ว และเที่ยงธรรม ประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกามีอำนาจออกข้อกำหนดใด ๆ เพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางการนำสืบพยานหลักฐานได้ แต่ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติในกฎหมาย ข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาตามวรรคหนึ่ง เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ (แก้ไขเพิ่มเติม *ฉบับที่ 23* พ.ศ. 2550) มาตรา 104 ให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยาน หลักฐานที่คู่ความนำมาสืบนั้นจะเกี่ยวประเด็นและเป็นอันเพียงพอ ให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษาไปตามนั้น ในการวินิจฉัยว่าพยานบอกเล่าตาม มาตรา 95/1 หรือบันทึกถ้อยคำที่ผู้ให้ถ้อยคำมิได้มาศาล ตาม มาตรา 120/1 วรรคสามและวรรคสี่ หรือบันทึกถ้อยคำตาม มาตรา 120/2 จะมีน้ำหนัก ให้เชื่อได้หรือไม่เพียงใดนั้น ศาลจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังโดยคำนึงถึงสภาพ ลักษณะ และแหล่งที่มาของพยานบอกเล่าหรือบันทึกถ้อยคำนั้นด้วย มาตรา 105 คู่ความฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยพยานหลักฐาน กระทำให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งต้อง เสียค่าฤชาธรรมเนียมหรือค่าธรรมเนียมเกินกว่าที่ควรเสีย ค่าฤชา ธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นนั้น ให้ถือว่าเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอันไม่จำเป็น ตามความหมายแห่ง มาตรา 166 และให้คู่ความฝ่ายที่ก่อให้เกิด ขึ้นนั้นเป็นผู้ออกใช้ให้ มาตรา 106 ในกรณีที่คู่ความฝ่ายใดไม่สามารถนำพยานของตนมาศาลได้เอง คู่ความฝ่ายนั้น อาจขอต่อศาลก่อนวันสืบพยานให้ออกหมายเรียกพยานนั้นมาศาลได้ โดยศาลอาจให้คู่ความฝ่ายนั้น แถลงถึงความเกี่ยวพันของพยานกับข้อเท็จจริงในคดี อันจำเป็นที่จะต้องออกหมายเรียกพยานดังกล่าวด้วย และต้องส่งหมายเรียกพร้อมสำเนาคำแถลงของผู้ขอให้พยานรู้ล่วงหน้าอย่างน้อยสามวัน หมายเรียกพยานต้องมีข้อความดังนี้ ถ้าศาลเห็นว่าพยานจะไม่สามารถเบิกความได้โดยมิได้ตระเตรียม ศาลจะจดแจ้งข้อเท็จจริง ซึ่งพยานอาจถูกซักถามลงไว้ในหมายเรียกด้วยก็ได้ (แก้ไข *ฉบับที่ 23* พ.ศ. 2550) มาตรา 106/1 ห้ามมิให้ออกหมายเรียกพยานดังต่อไปนี้ ในกรณีตาม (2) และ (3) ให้ศาลหรือผู้พิพากษาที่รับมอบ หรือศาลที่ได้รับแต่งตั้งออกคำบอก กล่าวว่าจะสืบพยานนั้น ณ สถานที่และวันเวลาใดแทนการออกหมายเรียก โดยในกรณีตาม (2) ให้ส่งไปยังพยาน ส่วนตาม (3) ให้ส่งคำบอกกล่าวไปยังสำนักงานศาลยุติธรรมเพื่อดำเนินการ ตามบทบัญญัติว่าด้วยการนั้น หรือตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ (แก้ไขเพิ่มเติม *ฉบับที่ 23* พ.ศ. 2550) มาตรา 107 ถ้าศาลเห็นว่าในการสืบสวนหาความจริงจำเป็นต้องไปสืบพยาน ณ สถานที่ซึ่งข้อเท็จจริงอันประสงค์จะให้พยานเบิกความ นั้นได้เกิดขึ้นให้ศาลหรือผู้พิพากษาที่รับมอบหรือศาลที่ได้รับแต่งตั้ง เพื่อการนั้นส่งหมายเรียกไปยังพยาน ระบุสถานที่และวันเวลาที่ จะไปสืบพยานแล้วสืบพยานไปตามนั้น มาตรา 108 พยานที่ได้รับหมายเรียกโดยชอบดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 106 และ มาตรา 107 นั้นจำต้องไป ณ สถานที่และตามวันเวลาที่กำหนดไว้ เว้นแต่มีเหตุเจ็บป่วยหรือมีข้อแก้ตัวอันจำเป็นอย่างอื่นโดยได้แจ้งเหตุนั้นให้ศาลทราบแล้ว และศาลเห็นว่าข้ออ้างหรือข้อแก้ตัวนั้นฟังได้ มาตรา 109 เมื่อพยานคนใดได้เบิกความแล้ว ไม่ว่าพยานนั้น จะได้รับหมายเรียกหรือคู่ความนำมาเองก็ดี พยานนั้นย่อมหมดหน้าที่ ที่จะอยู่ที่ศาลอีกต่อไป เว้นแต่ศาลจะได้สั่งให้พยานนั้นรอคอยอยู่ตาม ระยะเวลาที่ศาลกำหนดไว้ มาตรา 110 ถ้าพยานคนใดที่คู่ความได้บอกกล่าวความจำนงจะ อ้างอิงคำเบิกความของพยานโดยชอบแล้ว ไม่ไปศาลในวันกำหนด นัดสืบพยานนั้นศาลชอบที่จะดำเนินการพิจารณาต่อไป และชี้ขาด ตัดสินคดีโดยไม่ต้องสืบพยานเช่นว่านั้นได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้บังคับ บทบัญญัติแห่ง มาตรา ต่อไปนี้ มาตรา 111 เมื่อศาลเห็นว่าคำเบิกความของพยานที่ไม่มาศาลเป็นข้อสำคัญในการวินิจฉัยชี้ขาดคดี มาตรา 112 ก่อนเบิกความพยานทุกคนต้องสาบานตนตามลัทธิศาสนาหรือจารีตประเพณี แห่งชาติของตน หรือกล่าวคำปฏิญาณว่าจะให้การตามความสัตย์จริงเสียก่อน เว้นแต่ มาตรา 113 พยานทุกคนต้องเบิกความด้วยวาจา และห้ามไม่ให้ พยานอ่านข้อความที่เขียนมา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลหรือ เป็นพยานผู้เชี่ยวชาญ มาตรา 114 ห้ามไม่ให้พยานเบิกความต่อหน้าพยานอื่นที่จะ เบิกความภายหลัง และศาลมีอำนาจที่จะสั่งพยานอื่นที่อยู่ในห้อง พิจารณาให้ออกไปเสียได้ แต่ถ้าพยานคนใดเบิกความโดยได้ฟังคำพยานคนก่อนเบิกความ ต่อหน้าตนมาแล้ว และคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างว่าศาลไม่ควรฟัง คำเบิกความเช่นว่านี้เพราะเป็นการผิดระเบียบ ถ้าศาลเห็นว่า คำเบิกความเช่นว่านี้เป็นที่เชื่อฟังได้หรือมิได้เปลี่ยนแปลงไปโดย ได้ฟังคำเบิกความของพยานคนก่อน หรือไม่สามารถทำให้ คำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเปลี่ยนแปลงไปได้ ศาลจะไม่ฟังว่า คำเบิกความเช่นว่านี้เป็นผิดระเบียบก็ได้ มาตรา 115 พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หรือพระภิกษุและสามเณรในพุทธศาสนา แม้มาเป็นพยานจะไม่ยอมเบิกความหรือตอบคำถามใด ๆ ก็ได้สำหรับบุคคลที่ได้รับเอกสิทธิ์หรือความคุ้มกันตามกฎหมายจะไม่ยอมเบิกความหรือตอบคำถามใด ๆภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามกฎหมายนั้น ๆ ก็ได้ (แก้ไข *ฉบับที่ 23* พ.ศ. 2550) มาตรา 116 ในเบื้องต้นให้พยานตอบคำถามเรื่อง นาม อายุ ตำแหน่ง หรืออาชีพ ภูมิลำเนาและความเกี่ยวพันกับคู่ความแล้วศาลอาจปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ (1) ศาลเป็นผู้ถามพยานเอง กล่าวคือ แจ้งให้พยานทราบประเด็นและ ข้อเท็จจริงซึ่งต้องการสืบแล้วให้พยานเบิกความในข้อนั้น ๆ โดยวิธีเล่าเรื่อง ตามลำพังหรือโดยวิธีตอบคำถามของศาล หรือ มาตรา 117 คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานชอบที่จะตั้งข้อซักถามพยาน ได้ในทันใดที่พยานได้สาบานตนและแสดงตนตาม มาตรา 112 และ มาตรา 116 แล้ว หรือถ้าศาลเป็นผู้ซักถามพยานก่อน ก็ให้คู่ความซักถาม ได้ต่อเมื่อศาลได้ซักถามเสร็จแล้ว เมื่อคู่ความฝ่ายที่อ้างพยานได้ซักถามพยานเสร็จแล้ว คู่ความอีก ฝ่ายหนึ่งชอบที่จะถามค้านพยานนั้นได้ เมื่อได้ถามค้านพยานเสร็จแล้ว คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานชอบที่จะ ถามติงได้ เมื่อได้ถามติงพยานเสร็จแล้ว ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายใดซักถามพยาน อีกเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล ถ้าคู่ความฝ่ายใดได้รับอนุญาตให้ ถามพยานได้ดั่งกล่าวนี้ คู่ความฝ่ายหนึ่งย่อมถามค้านพยานได้อีก ในข้อที่เกี่ยวกับคำถามนั้ คู่ความที่ระบุพยานคนใดไว้ จะไม่ติดใจสืบพยานคนนั้นก็ได้ ในเมื่อ พยานคนนั้นยังมิได้เบิกความตามข้อถามของศาลหรือของคู่ความ ฝ่ายที่อ้าง แต่ถ้าพยานได้เริ่มเบิกความแล้ว พยานอาจถูกถามค้าน หรือถามติงได้ ถ้าพยานเบิกความเป็นปรปักษ์แก่คู่ความฝ่ายที่อ้างตนมา คู่ความ ฝ่ายนั้นอาจขออนุญาตต่อศาลเพื่อซักถามพยานนั้นเสมือนหนึ่งพยาน นั้นเป็นพยานซึ่งคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างมา การซักถามพยานก็ดี การซักค้านพยานก็ดี การถามติงพยานก็ดี ถ้าคู่ความคนใดได้ตั้งทนายความไว้หลายคน ให้ทนายความคนเดียว เป็นผู้ถามเว้นแต่ศาลจะเห็นสมควรเป็นอย่างอื่น มาตรา 118 ในการที่คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานจะซักถามพยานก็ดี หรือถามติงพยานก็ดี ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายนั้นใช้คำถามนำ เว้นแต่ คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยินยอมหรือได้รับอนุญาตจากศาล ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถามพยานด้วย ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถามพยานฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง มาตรานี้ เมื่อศาลเห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งร้องคัดค้าน ศาลมีอำนาจที่จะชี้ขาดว่าควรให้ใช้คำถามนั้นหรือไม่ ในกรณีเช่นนี้ ถ้าคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องคัดค้านคำชี้ขาดของศาล ก่อนที่ศาลจะ ดำเนินคดีต่อไป ให้ศาลจดไว้ในรายงานซึ่งคำถามและข้อคัดค้าน ส่วนเหตุที่คู่ความคัดค้านยกขึ้นอ้างนั้น ให้ศาลใช้ดุลพินิจจดลงไว้ใน รายงาน หรือกำหนดให้คู่ความฝ่ายนั้นยื่นคำแถลงเป็นหนังสือ เพื่อรวมไว้ในสำนวน มาตรา 119 ไม่ว่าเวลาใด ๆในระหว่างที่พยานเบิกความหรือ ภายหลังที่พยานได้เบิกความแล้ว แต่ก่อนมีคำพิพากษา ให้ศาลมี อำนาจที่จะถามพยานด้วยคำถามใด ๆ ตามที่เห็นว่าจำเป็น เพื่อให้ คำเบิกความของพยานบริบูรณ์หรือชัดเจนยิ่งขึ้น หรือเพื่อสอบสวน พยานถึงพฤติการณ์ที่ทำให้พยานเบิกความเช่นนั้น ถ้าพยานสองคนหรือกว่านั้นเบิกความขัดกันในข้อสำคัญแห่ง ประเด็นเมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคำขอ ให้ศาลมีอำนาจเรียกพยานเหล่านั้นมาสอบถามปากคำพร้อมกันได้ มาตรา 120 ถ้าคู่ความฝ่ายใดอ้างว่าคำเบิกความของพยานคนใดที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้าง หรือที่ศาลเรียกมาไม่ควรเชื่อฟังโดย เหตุผลซึ่งศาลเห็นว่ามีมูล ศาลอาจยอมให้คู่ความฝ่ายนั้นนำพยาน หลักฐานมาสืบสนับสนุนข้ออ้างของตนได้แล้วแต่จะเห็นควร มาตรา 120/1 เมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคำร้องและคู่ความอีกฝ่ายไม่คัดค้าน และศาลเห็นสมควรศาลอาจอนุญาตให้คู่ความฝ่ายที่มีคำร้องเสนอบันทึกถ้อยคำทั้งหมด หรือแต่บางส่วนของผู้ที่ตนประสงค์ จะอ้างเป็นพยานยืนยันข้อเท็จจริง หรือความเห็นของผู้ให้ถ้อยคำต่อศาลแทนการซักถามผู้ให้ถ้อยคำเป็นพยานต่อหน้าศาลได้ คู่ความที่ประสงค์จะเสนอบันทึกถ้อยคำแทนการซักถามพยานดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง จะต้องยื่นคำร้องแสดงความจำนงพร้อมเหตุผลต่อศาลก่อนวันชี้สองสถาน หรือก่อนวันสืบพยาน ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน และให้ศาลพิจารณากำหนดระยะเวลาที่คู่ความจะต้องยื่นบันทึกถ้อยคำดังกล่าว ต่อศาลและส่งสำเนาบันทึกถ้อยคำนั้น ให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนวันสืบพยานคนนั้น เมื่อมีการยื่นบันทึกถ้อยคำต่อศาลแล้วคู่ความที่ยื่นไม่อาจขอถอนบันทึกถ้อยคำนั้น บันทึกถ้อยคำนั้นเมื่อพยานเบิกความรับรองแล้วให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำเบิกความตอบคำซักถาม ให้ผู้ให้ถ้อยคำมาศาลเพื่อเบิกความตอบคำซักถามเพิ่มเติม ตอบคำถามค้าน และคำถามติงของคู่ความหากผู้ให้ถ้อยคำไม่มาศาล ให้ศาลปฏิเสธที่จะรับฟังบันทึกถ้อยคำของผู้นั้นเป็นพยานหลักฐานในคดี แต่ถ้าศาลเห็นว่าเป็นกรณีจำเป็น หรือมีเหตุสุดวิสัยที่ผู้ให้ถ้อยคำไม่สามารถมาศาลได้ และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จะรับฟังบันทึกถ้อยคำที่ผู้ให้ถ้อยคำมิได้มาศาลนั้นประกอบพยานหลักฐานอื่นก็ได้ ในกรณีที่คู่ความตกลงกันให้ผู้ให้ถ้อยคำไม่ต้องมาศาล หรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยินยอมหรือไม่ ติดใจถามค้าน ให้ศาลรับฟังบันทึกถ้อยคำดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ มาตรา 120/2 เมื่อคู่ความมีคำร้องร่วมกันและศาลเห็นสมควร ศาลอาจอนุญาตให้เสนอ บันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นของผู้ให้ถ้อยคำซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศ ต่อศาลแทนการนำพยานบุคคลมาเบิกความต่อหน้าศาลได้ แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิผู้ให้ถ้อยคำที่จะมาศาลเพื่อให้การเพิ่มเติม สำหรับลายมือชื่อของผู้ให้ถ้อยคำให้นำ มาตรา 47วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา 120/3 บันทึกถ้อยคำตาม มาตรา 120/1 และ มาตรา 120/2 ให้มีรายการดังต่อไปนี้ ห้ามมิให้แก้ไขเพิ่มเติมบันทึกถ้อยคำที่ได้ยื่นไว้แล้วต่อศาล เว้นแต่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาด หรือผิดหลงเล็กน้อย มาตรา 120/4 คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจขอให้ศาลทำการสืบพยานบุคคลที่อยู่นอกศาล โดยระบบการประชุมทางจอภาพได้ โดยคู่ความฝ่ายที่อ้างพยานต้องเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องค่าใช้จ่าย หากศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลจะอนุญาตตามคำร้องนั้นก็ได้ โดยให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามข้อกำหนด แนวทางการสืบพยานของประธานศาลฎีกา โดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา ที่ออกตาม มาตรา 103/3 รวมทั้งระบุวิธีการสืบพยาน สถานที่ และสักขีพยานในการสืบพยาน ตามข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาดังกล่าว และไม่ถือว่าค่าใช้จ่ายนั้นเป็นค่าฤชาธรรมเนียมในการดำเนินคดี การเบิกความตามวรรคหนึ่งให้ถือว่าพยานเบิกความในห้องพิจารณาของศาล มาตรา 121 ในการนั่งพิจารณาทุกครั้ง เมื่อพยานคนใดเบิกความ แล้วให้ศาลอ่านคำเบิกความนั้นให้พยานฟัง และให้พยานลงลายมือชื่อ ไว้ดั่งที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 49 และ มาตรา 50 ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับกรณีที่มีการใช้บันทึกถ้อยคำแทนการเบิกความของพยานตามมาตรา 120/1 หรือมาตรา 120/2 หรือกรณีที่มีการสืบพยานโดยใช้ระบบการประชุมทางจอภาพตามมาตรา 120/4 หรือกรณีที่มีการบันทึกการเบิกความของพยานโดยใช้วิธีการบันทึกลงในวัสดุซึ่งสามารถถ่ายทอดออกเป็นภาพหรือเสียงหรือโดยใช้วิธีการอื่นใดซึ่งคู่ความและพยานสามารถตรวจสอบถึงความถูกต้องของบันทึกการเบิกความนั้นได้ แต่ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือพยานขอตรวจดูบันทึกการเบิกความของพยานนั้น ให้ศาลจัดให้มีการตรวจดูบันทึกการเบิกความนั้น หมวด 3 การนำพยานเอกสารมาสืบ มาตรา 122 เมื่อคู่ความฝ่ายใดอ้างอิงเอกสารฉบับใดเป็นพยานหลัก ฐานและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งคัดค้านเอกสารนั้นตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 125 ถ้าต้นฉบับเอกสารอยู่ในความครอบครองของคู่ความ ฝ่ายที่อ้างเอกสาร ให้คู่ความฝ่ายนั้นนำต้นฉบับเอกสารมาแสดง ต่อศาลในวันสืบพยาน ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา ถ้าศาลได้กำหนดให้คู่ความ ฝ่ายที่อ้างเอกสารส่งต้นฉบับต่อศาล โดยที่ศาลเห็นสมควรหรือโดย ที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยื่นคำขอ ให้คู่ความฝ่ายนั้นส่งต้นฉบับเอกสาร ต่อศาล เพื่อศาลหรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะตรวจดูได้ตามเงื่อนไขซึ่ง จะได้กำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยการนั้น หรือตามที่ศาลจะ ได้กำหนด แต่ มาตรา 123 ถ้าต้นฉบับเอกสารซึ่งคู่ความฝ่ายหนึ่งอ้างอิงเป็นพยาน หลักฐานนั้นอยู่ในความครอบครอบของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง คู่ความฝ่าย ที่อ้างจะยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ส่งต้นฉบับเอกสารแทนการที่ตนจะต้องส่งสำเนาเอกสารนั้นก็ได้ ถ้า ศาลเห็นว่าเอกสารนั้นเป็นพยานหลักฐานสำคัญ และคำร้องนั้นฟังได้ ให้ศาลมีคำสั่งให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยื่นต้นฉบับเอกสารต่อศาลภายใน เวลาอันสมควรแล้วแต่ศาลจะกำหนด ถ้าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมีต้นฉบับ เอกสารอยู่ในครอบครองไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง เช่นว่านั้น ให้ถือว่าข้อ เท็จจริงแห่งข้ออ้างที่ผู้ขอจะต้องนำสืบโดยเอกสารนั้น คู่ความอีกฝ่าย หนึ่งได้ยอมรับแล้ว ถ้าต้นฉบับเอกสารอยู่ในความครอบครองของบุคคลภายนอกหรือ ในครอบครองของทางราชการ หรือของเจ้าหน้าที่ซึ่งคู่ความที่อ้าง ไม่อาจร้องขอโดยตรงให้ส่งเอกสารนั้นมาได้ ให้นำบทบัญญัติใน วรรคก่อนว่าด้วยการที่คู่ความฝ่ายที่อ้างเอกสารยื่นคำขอและการ ที่ศาลมีคำสั่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมแต่ทั้งนี้ฝ่ายที่อ้างต้องส่งคำสั่ง ศาลแก่ผู้ครอบครองเอกสารนั้นล่วงหน้าอย่างน้อยเจ็ดวัน ถ้าไม่ได้ เอกสารนั้นมาสืบตามกำหนดเมื่อศาลเห็นสมควรก็ให้ศาลสืบพยาน ต่อไปตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 93 (2) มาตรา 124 ถ้าคู่ความฝ่ายที่อ้างเอกสารไม่ยอมนำมาหรือยื่น ต้นฉบับเอกสาร หรือถ้าคู่ความฝ่ายนั้นได้ทำให้เสียหาย ทำลาย ปิดบัง หรือทำด้วยประการอื่นใดให้เอกสารนั้นไร้ประโยชน์โดย มุ่งหมายที่จะกีดกัน ไม่ให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างอิงเอกสารนั้นเป็น พยานหลักฐาน ให้ถือว่าข้อเท็จจริงแห่งข้ออ้างที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง จะต้องนำสืบโดยเอกสารนั้นคู่ความฝ่ายที่ไม่นำมาหรือยื่นเอกสาร ดั่งกล่าวข้างต้นนั้นได้ยอมรับแล้ว มาตรา 125 คู่ความฝ่ายที่ถูกอีกฝ่ายหนึ่งอ้างอิงเอกสารมาเป็น พยานหลักฐานยันตน อาจคัดค้านการนำเอกสารนั้นมาสืบโดยเหตุ ที่ว่าไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วน หรือ สำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับ โดยคัดค้านต่อศาลก่อนการสืบพยาน เอกสารนั้นเสร็จ ถ้าคู่ความซึ่งประสงค์จะคัดค้านมีเหตุผลอันสมควรที่ไม่อาจทราบ ได้ก่อนการสืบพยานเอกสารนั้นเสร็จว่าต้นฉบับเอกสารนั้นไม่มี หรือ เอกสารนั้นปลอม หรือสำเนาไม่ถูกต้อง คู่ความนั้นอาจยื่นคำร้องขอ อนุญาตคัดค้านการอ้างเอกสารมาสืบดังกล่าวข้างต้นต่อศาล ไม่ว่า เวลาใดก่อนศาลพิพากษา ถ้าศาลเห็นว่าคู่ความนั้นไม่อาจยกข้อ คัดค้านได้ก่อนนั้น และคำขอนั้นมีเหตุผลฟังได้ ก็ให้ศาล มีคำสั่ง อนุญาตตามคำขอ ถ้าคู่ความซึ่งประสงค์จะคัดค้านไม่คัดค้านการอ้างเอกสารเสียก่อน การสืบพยานเอกสารนั้นเสร็จหรือศาลไม่อนุญาตให้คัดค้านภายหลัง นั้น ห้ามมิให้คู่ความนั้นคัดค้านการมีอยู่ และความแท้จริงของ เอกสารนั้น หรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้น แต่ทั้งนี้ ไม่ตัดอำนาจของศาลในอันที่จะไต่สวนและชี้ขาดในเรื่องการมีอยู่ ความแท้จริงหรือความถูกต้องเช่นว่านั้น ในเมื่อศาลเห็นสมควร และไม่ตัดสิทธิของคู่ความนั้นที่จะอ้างว่าสัญญาหรือหนี้ที่ระบุไว้ใน เอกสารนั้นไม่สมบูรณ์หรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตีความหมายผิด มาตรา 126 ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติ มาตราต่อไปนี้ ถ้าคู่ความ ที่ถูกอีกฝ่ายหนึ่งอ้างอิงเอกสารมาเป็นพยานหลักฐานยันแก่ตน ปฏิเสธความแท้จริงของเอกสารนั้นหรือความถูกต้องแห่งสำเนา เอกสารนั้น และคู่ความฝ่ายที่อ้าง ยังคงยืนยันความแท้จริง หรือ ความถูกต้องแห่งสำเนาของเอกสาร ถ้าศาลเห็นสมควร ให้ศาล ชี้ขาดข้อโต้เถียงนั้นได้ทันทีในเมื่อเห็นว่าไม่จำเป็นต้องสืบพยาน หลักฐานต่อไป หรือมิฉะนั้นให้ชี้ขาดในเมื่อได้สืบพยานตามวิธีต่อไปนี้ ทั้งหมดหรือโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง คือ ในระหว่างที่ยังมิได้ชี้ขาดตัดสินคดี ให้ศาลยึดเอกสารที่สงสัยว่า ปลอมหรือไม่ถูกต้องไว้ แต่ความข้อนี้ไม่บังคับถึงเอกสารราชการ ซึ่งทางราชการเรียกคืนไป มาตรา 127 เอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้นหรือรับรองหรือสำเนาอันรับรองถูกต้องแห่งเอกสารนั้น และเอกสารเอกชนที่มีคำพิพากษาแสดงว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องนั้น ให้สันนิษฐาน ไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสาร (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2532/2565) มาตรา 127 ทวิ ต้นฉบับพยานเอกสารหรือพยานวัตถุอันสำคัญที่คู่ความได้ยื่นต่อศาล หรือที่บุคคลภายนอกได้ยื่นต่อศาล หากผู้ที่ยื่นต้องใช้เป็นประจำหรือตามความจำเป็นหรือมีความสำคัญในการเก็บรักษา ศาลจะอนุญาตให้ผู้ที่ยื่นรับคืนไป โดยให้คู่ความตรวจดู และให้ผู้ที่ยื่นส่งสำเนาหรือภาพถ่ายไว้แทน หรือจะมีคำสั่งอย่างใดตามที่เห็นสมควรก็ได้ หมวด 4 การตรวจและการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญโดยศาล มาตรา 128 ถ้าพยานหลักฐานที่ศาลจะทำการตรวจนั้นเป็นบุคคล หรือสังหาริมทรัพย์ซึ่งอาจนำมาศาลได้ ให้คู่ความฝ่ายที่ได้รับ อนุญาตให้นำสืบ พยานหลักฐานเช่นว่านั้นนำบุคคลหรือทรัพย์นั้นมา ในวันสืบพยาน หรือวันอื่นใดที่ศาลจะได้กำหนดให้นำมา ถ้าการตรวจไม่สามารถกระทำได้ในศาล ให้ศาลทำการตรวจ ณ สถานที่ เวลา และภายในเงื่อนไข ตามที่ศาลจะเห็นสมควรแล้วแต่ สภาพแห่งการตรวจนั้น ๆ มาตรา 128/1 ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงใด ที่เป็นประเด็นสำคัญแห่งคดี เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ ศาลมีอำนาจสั่งให้ทำการตรวจพิสูจน์บุคคล วัตถุหรือเอกสารใด ๆ โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้ ในกรณีที่พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์จะสามารถพิสูจน์ให้เห็นถึงข้อเท็จจริงที่ทำให้ศาล วินิจฉัยชี้ขาดคดีได้โดยไม่ต้องสืบพยานหลักฐานอื่นอีก เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ ศาลอาจสั่งให้ทำการตรวจพิสูจน์ตามวรรคหนึ่งโดยไม่ต้องรอให้ถึงวันสืบพยานตามปกติก็ได้ ในกรณีที่การตรวจพิสูจน์ตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองจำเป็นต้องเก็บตัวอย่าง เลือด เนื้อเยื่อ ผิวหนัง เส้นผมหรือขน ปัสสาวะ อุจจาระ น้ำลายหรือสารคัดหลั่งอื่น สารพันธุกรรม หรือส่วนประกอบอื่นของร่างกาย หรือสิ่งที่อยู่ในร่างกายจากคู่ความหรือบุคคลใด ศาลอาจให้คู่ความหรือบุคคลใดรับการตรวจพิสูจน์จากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญอื่นได้ แต่ต้องกระทำเพียงเท่าที่จำเป็นและสมควรทั้งนี้ ถือเป็นสิทธิของคู่ความหรือบุคคลนั้นที่จะยินยอมหรือไม่ก็ได้ ในกรณีที่คู่ความฝ่ายใดไม่ยินยอมหรือไม่ให้ความร่วมมือต่อการตรวจพิสูจน์ตามวรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง หรือไม่ให้ความยินยอมหรือกระทำการขัดขวางมิให้บุคคลที่เกี่ยวข้อง ให้ความยินยอมต่อการตรวจเก็บตัวอย่าง ส่วนประกอบของร่างกายตามวรรคสาม ก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่คู่ความฝ่ายตรงข้ามกล่าวอ้าง ค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์ตามมาตรานี้ ให้คู่ความฝ่ายที่ร้องขอให้ตรวจพิสูจน์เป็นผู้รับผิดชอบ โดยให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าฤชาธรรมเนียม แต่ถ้าผู้ร้องขอไม่สามารถเสียค่าใช้จ่ายได้หรือเป็นกรณีที่ศาลเป็นผู้สั่งให้ตรวจพิสูจน์ ให้ศาลสั่งจ่ายตามระเบียบที่คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมกำหนด ส่วนความรับผิดในค่าใช้จ่ายดังกล่าวให้เป็นไปตาม มาตรา 158 หรือ มาตรา 161 มาตรา 129 ในการที่ศาลจะมีคำสั่งให้แต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญดั่งกล่าว ใน มาตรา 99 โดยที่ศาลเห็นสมควรหรือโดยคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ร้องขอนั้น มาตรา 130 ผู้เชี่ยวชาญที่ศาลแต่งตั้งอาจแสดงความเห็นด้วยวาจา หรือเป็นหนังสือก็ได้ แล้วแต่ศาลจะต้องการ ถ้าศาลยังไม่เป็นที่พอใจ ในความเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่ทำเป็นหนังสือนั้น หรือเมื่อคู่ความ ฝ่ายใดเรียกร้องโดยทำเป็นคำร้อง ให้ศาลเรียกให้ผู้เชี่ยวชาญทำความ เห็นเพิ่มเติมเป็นหนังสือ หรือเรียกให้มาศาลเพื่ออธิบายด้วยวาจา หรือให้ตั้งผู้เชี่ยวชาญคนอื่นอีก ถ้าผู้เชี่ยวชาญที่ศาลตั้งจะต้องแสดงความเห็นด้วยวาจา หรือต้อง มาศาลเพื่ออธิบายด้วยวาจา ให้นำบทบัญญัติในลักษณะนี้ว่าด้วย พยานบุคคลมาใช้บังคับโดยอนุโลม ลักษณะ 6 คำพิพากษาและคำสั่ง หมวด 1 หลักทั่วไปว่าด้วยการชี้ขาดตัดสินคดี มาตรา 131 คดีที่ยื่นฟ้องต่อศาลนั้น ให้ศาลปฏิบัติดั่งนี้ มาตรา 132 ให้ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้ โดยไม่ต้องมีคำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นเรื่องนั้น และให้กำหนดเงื่อนไข ในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควร มาตรา 133 เมื่อศาลมิได้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความดั่งที่ บัญญัติไว้ใน มาตรา ก่อน ให้ศาลชี้ขาดคดีนั้นโดยทำเป็นคำพิพากษา หรือคำสั่งในวันที่สิ้นการพิจารณา แต่เพื่อการที่จะพิเคราะห์คดีต่อไป ศาลจะเลื่อนการพิพากษาหรือการทำคำสั่งต่อไปในวันหลังก็ได้ตามที่ เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม มาตรา 134 ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ห้ามมิให้ศาลที่รับฟ้องคดีไว้ปฏิเสธ ไม่ยอมพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดีโดยอ้างว่าไม่มีบทบัญญัติแห่ง กฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดี หรือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จะใช้ บังคับนั้นเคลือบคลุมหรือไม่บริบูรณ์ มาตรา 135 ในคดีที่เรียกร้องให้ชำระหนี้เป็นเงิน หรือมีการ เรียกร้องให้ชำระหนี้เป็นเงินรวมอยู่ด้วย ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อน มีคำพิพากษาจำเลยจะนำเงินมาวางศาลเต็มจำนวนที่เรียกร้อง หรือแต่บางส่วนหรือตามจำนวนเท่าที่ตนคิดว่าพอแก่จำนวนที่ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องก็ได้ ทั้งนี้ โดยยอมรับผิดหรือไม่ยอมรับผิดก็ได้ มาตรา 136 ในกรณีที่จำเลยวางเงินต่อศาลโดยยอมรับผิด ถ้า โจทก์พอใจยอมรับเงินที่จำเลยวางโดยไม่ติดใจเรียกร้องมากกว่านั้น และคดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยต่อไปอีก ให้ศาลพิพากษาคดี ไปตามนั้นคำพิพากษานั้นเป็นที่สุด แต่ถ้าโจทก์ไม่พอใจในจำนวนเงิน ที่จำเลยวางและยังติดใจที่จะดำเนินคดีเพื่อให้จำเลยต้องรับผิดใน จำนวนเงินตามที่เรียกร้องต่อไปอีกจำเลยมีสิทธิถอนเงินที่วางไว้นั้นได้ โดยให้ถือเสมือนว่ามิได้มีการวางเงินหรือจำเลยจะยอมให้โจทก์รับ เงินนั้นไปก็ได้ ในกรณีหลังนี้โจทก์จะรับเงินไปหรือไม่ก็ตาม จำเลย ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่วาง แม้ว่าจำเลยมีความรับผิด ตามกฎหมายจะต้องเสีย ทั้งนี้ นับแต่วันที่จำเลยยอมให้โจทก์รับ เงินไป ในกรณีที่จำเลยวางเงินต่อศาลโดยไม่ยอมรับผิด จำเลยจะรับเงิน นั้นคืนไปก่อนที่มีคำพิพากษาว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดไม่ได้ การวางเงิน เช่นว่านี้ไม่เป็นเหตุระงับการเสียดอกเบี้ย หากจำเลยมีความรับผิด ตามกฎหมายจะต้องเสีย มาตรา 137 ในคดีที่เรียกร้องให้ชำระหนี้อย่างอื่นนอกจากใช้ ชำระเงินจำเลยชอบที่จะทำการชำระหนี้นั้นได้ โดยแจ้งให้ศาลทราบ ในคำให้การหรือแถลงโดยหนังสือเป็นส่วนหนึ่งต่างหากก็ได้ ถ้าโจทก์ยอมรับการชำระหนี้นั้นเป็นการพอใจเต็มตามที่เรียกร้อง แล้วให้ศาลพิพากษาคดีไปตามนั้น และคำพิพากษานั้นให้เป็นที่สุด ถ้าโจทก์ไม่พอใจในการชำระหนี้เช่นว่านั้น โจทก์ชอบที่จะดำเนิน คดีนั้นต่อไปได้ มาตรา 138 ในคดีที่คู่ความตกลงกันหรือประนีประนอมยอม ความกันในประเด็นแห่งคดีโดยมิได้มีการถอนคำฟ้องนั้น และข้อตกลง หรือการประนีประนอมยอมความกันนั้นไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ให้ศาลจดรายงานพิสดารแสดงข้อความแห่งข้อตกลงหรือการประนี ประนอมยอมความเหล่านี้ไว้ แล้วพิพากษาไปตามนั้น ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาเช่นว่านี้ เว้นแต่ในเหตุต่อไปนี้ ถ้าคู่ความตกลงกันเพียงแต่ให้เสนอคดีต่ออนุญาโตตุลาการ ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ มาใช้บังคับ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10679/2558) มาตรา 139 เมื่อคดีสองเรื่องหรือกว่านั้นขึ้นไปได้พิจารณารวมกัน เพื่อสะดวกแก่การพิจารณา ศาลจะพิพากษาคดีเหล่านั้นเรื่องใดเรื่อง หนึ่งซึ่งเสร็จการพิจารณาแล้ว จึ่งพิพากษาเรื่องอื่น ๆ ต่อไปภายหลัง ก็ได้ มาตรา 140 การทำคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ให้ดำเนิน ตามข้อบังคับต่อไปนี้ ในศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาถ้าอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ หรือประธานศาลฎีกาแล้วแต่กรณี เห็นสมควรจะให้มีการวินิจฉัยปัญหา ใดในคดีเรื่องใดโดยที่ประชุมใหญ่ก็ได้ หรือถ้ามีกฎหมายกำหนด ให้วินิจฉัยปัญหาใดหรือคดีเรื่องใดโดยที่ประชุมใหญ่ ก็ให้วินิจฉัยโดย ที่ประชุมใหญ่ ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 13 ที่ประชุมใหญ่นั้น สำหรับศาล อุทธรณ์ให้ประกอบด้วยอย่างน้อยผู้พิพากษาหัวหน้าคณะไม่น้อยกว่า 10 คน สำหรับศาลฎีกาให้ประกอบด้วยผู้พิพากษาทุกคนซึ่งอยู่ ปฏิบัติหน้าที่ แต่ต้องไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนผู้พิพากษาแห่งศาลนั้น และให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์หรือประธานศาลฎีกาแล้วแต่กรณี หรือผู้ทำการแทน เป็นประธาน คำวินิจฉัยของที่ประชุมใหญ่ให้เป็นไปตามเสียงข้างมาก และถ้า มีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานแห่งที่ประชุมออกเสียงเพิ่มอีก เสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ในคดีซึ่งที่ประชุมใหญ่ได้วินิจฉัยปัญหาแล้ว คำพิพากษาหรือคำสั่ง ต้องเป็นไปตามคำวินิจฉัยของที่ประชุมใหญ่และต้องระบุไว้ด้วยว่า ปัญหาข้อใดได้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ผู้พิพากษาที่เข้าประชุม แม้มิใช่เป็นผู้นั่งพิจารณา ก็ให้มีอำนาจพิพากษาหรือทำคำสั่งในคดี นั้นได้ และเฉพาะในศาลอุทธรณ์ให้ทำความเห็นแย้งได้ด้วย ถ้าคู่ความไม่มาศาล ศาลจะงดการอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ศาลจดแจ้งไว้ในรายงานและให้ถือว่าคำพิพากษา หรือคำสั่งนั้นได้อ่านตามกฎหมายแล้ว เมื่อศาลที่พิพากษาคดี หรือที่ได้รับคำสั่งจากศาลสูงให้อ่าน คำพิพากษาหรือคำสั่ง ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งตามบทบัญญัติ ใน มาตรานี้ วันใดให้ถือว่าวันนั้นเป็นวันที่พิพากษาหรือมีคำสั่งคดีนั้น มาตรา 141 คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทำเป็นหนังสือ และต้องกล่าวหรือแสดง คำพิพากษา หรือคำสั่งนั้นต้องลงลายมือชื่อผู้พิพากษาที่พิพากษา หรือทำคำสั่งหรือถ้าผู้พิพากษาคนใดลงลายมือชื่อไม่ได้ ก็ให้ผู้พิพากษา อื่นที่พิพากษาหรือทำคำสั่งคดีนั้น หรืออธิบดีผู้พิพากษาแล้วแต่กรณี จดแจ้งเหตุที่ผู้พิพากษาคนนั้นมิได้ลงลายมือชื่อและมีความเห็นพ้อง ด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น แล้วกลัดไว้ในสำนวนความ ในกรณีที่ศาลมีอำนาจทำคำสั่งหรือพิพากษาคดีได้ด้วยวาจา การที่ศาลจะต้องทำรายงานเกี่ยวด้วยคำสั่งหรือคำพิพากษานั้น ไม่จำต้องจดแจ้งรายการแห่งคดีหรือเหตุผลแห่งคำวินิจฉัย แต่เมื่อ คู่ความฝ่ายใดแจ้งความจำนงที่จะอุทธรณ์หรือได้ยื่นอุทธรณ์ขึ้นมา ให้ศาลมีอำนาจทำคำชี้แจงแสดงรายการข้อสำคัญ หรือเหตุผลแห่ง คำวินิจฉัยกลัดไว้กับบันทึกนั้นภายในเวลาอันสมควร มาตรา 142 คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลที่ชี้ขาดคดีต้องตัดสิน ตามข้อหาในคำฟ้องทุกข้อ แต่ห้ามมิให้พิพากษาหรือคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง เว้นแต่ มาตรา 143 ถ้าในคำพิพากษาหรือคำสั่งใด มีข้อผิดพลาดเล็กน้อย หรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ และมิได้มีการอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้าน คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น เมื่อศาลที่ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งนั้นเห็น สมควรหรือเมื่อคู่ความที่เกี่ยวข้องร้องขอ ศาลจะมีคำสั่งเพิ่มเติมแก้ไข ข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลง เช่นว่านั้นให้ถูกก็ได้ แต่ถ้าได้มีการอุทธรณ์ หรือฎีกาคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น อำนาจที่จะแก้ไขข้อ ผิดพลาดหรือข้อผิดหลงนั้น ย่อมอยู่แก่ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา และแต่กรณี คำขอให้แก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงนั้น ให้ยื่นต่อ ศาลดังกล่าวแล้ว โดยกล่าวไว้ในฟ้องอุทธรณ์หรือฎีกา หรือโดยทำ เป็นคำร้องส่วนหนึ่งต่างหาก การทำคำสั่งเพิ่มเติม มาตรานี้ จะต้องไม่เป็นการกลับหรือแก้ คำวินิจฉัยในคำพิพากษาหรือคำสั่งเดิม เมื่อได้ทำคำสั่งเช่นว่านั้นแล้ว ห้ามไม่ให้คัดสำเนาคำพิพากษาหรือ คำสั่งเดิม เว้นแต่จะได้คัดสำเนาคำสั่งเพิ่มเติมนั้นรวมไปด้วย มาตรา 144 เมื่อศาลใดมีคำพิพากษา หรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดี หรือในประเด็นข้อใดแห่งคดีแล้ว ห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใน ศาลนั้นอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดนั้น เว้นแต่กรณี จะอยู่ภายใต้บังคับบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วย ทั้งนี้ไม่เป็นการตัดสิทธิในอันที่จะบังคับตามบทบัญญัติแห่ง มาตรา 16 และ มาตรา 240 ว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยศาลอื่นแต่งตั้ง มาตรา 145 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการอุทธรณ์ฎีกาและการพิจารณาใหม่ คำพิพากษาหรือคำสั่งใด ๆ ให้ถือว่าผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาหรือมีคำสั่งนับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งจนถึงวันที่คำพิพากษาหรือ คำสั่งนั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสีย ถ้าหากมี ถึงแม้ศาลจะได้กล่าวไว้โดยทั่วไปว่าให้ใช้คำพิพากษาบังคับแก่บุคคลภายนอกซึ่งมิได้เป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลด้วยก็ดี คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นย่อมไม่ผูกพันบุคคลภายนอก เว้นแต่ที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 142(1) มาตรา 245 และ มาตรา 274 และในข้อต่อไปนี้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2854/2561) (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3602/2556) มาตรา 146 เมื่อมีคำพิพากษาหรือคำสั่งอันเป็นที่สุดของสองศาล ซึ่งต่างชั้นกันต่างกล่าวถึงการปฏิบัติชำระหนี้อันแบ่งแยกจากกันไม่ได้ และคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นขัดกัน ให้ถือตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ของศาลที่สูงกว่า ถ้าศาลชั้นต้นศาลเดียวกัน หรือศาลชั้นต้นสองศาลในลำดับชั้น เดียวกันหรือศาลอุทธรณ์ ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งดั่งกล่าวมาแล้ว คู่ความในกระบวนพิจารณาแห่งคดีที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ชอบที่จะยื่นคำร้องขอต่อศาลที่อยู่ในลำดับสูงขึ้นไปให้มีคำสั่งกำหนด ว่าจะให้ถือตามคำพิพากษา หรือคำสั่งใด คำสั่งเช่นว่านี้ให้เป็นที่สุด มาตรา 147 คำพิพากษาหรือคำสั่งใด ซึ่งตามกฎหมายจะอุทธรณ์ หรือฎีกาหรือมีคำขอให้พิจารณาใหม่ไม่ได้นั้น ให้ถือว่าเป็นที่สุดตั้งแต่วันที่ได้อ่านเป็นต้นไป คำพิพากษาหรือคำสั่งใด ซึ่งอาจอุทธรณ์ ฎีกาหรือมีคำขอให้พิจารณาใหม่ได้นั้น ถ้ามิได้อุทธรณ์ ฎีกาหรือร้องขอให้พิจารณาใหม่ ภายในเวลาที่กำหนดไว้ให้ถือว่าเป็นที่สุดตั้งแต่ระยะเวลาเช่นว่านั้นได้สิ้นสุดลงถ้าได้มีอุทธรณ์ ฎีกา หรือมีคำขอให้พิจารณาใหม่ และศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาหรือศาลชั้นต้นซึ่งพิจารณาคดีเรื่องนั้นใหม่ มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามที่บัญญัติใน มาตรา 132 คำพิพากษาหรือคำสั่งเช่นว่านั้นให้ถือว่าเป็นที่สุดตั้งแต่วันที่มีคำสั่ง ให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นซึ่งพิจารณาคดีนั้นให้ออกใบสำคัญแสดงว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีนั้นได้ ถึงที่สุดแล้ว มาตรา 148 คดีที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้วห้ามมิให้คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีก ในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันเว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13284/2558) (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1584/2546) ค่าฤชาธรรมเนียม ส่วนที่ 1 การกำหนดและการชำระค่าฤชาธรรมเนียม และการยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล มาตรา 149 ค่าฤชาธรรมเนียม ได้แก่ ค่าธรรมเนียมศาล ค่าสืบพยานหลักฐานนอกศาล ค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง และค่าเช่าที่พักของพยาน ผู้เชี่ยวชาญ ล่าม และเจ้าพนักงานศาล ค่าทนายความ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี ตลอดจนค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ บรรดาที่กฎหมายบังคับให้ชำระ ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น ว่าด้วยการยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ค่าธรรมเนียมศาลที่เป็นค่าขึ้นศาล ให้คู่ความผู้ยื่นคำฟ้องเป็นผู้ชำระเมื่อยื่นคำฟ้อง ค่าธรรมเนียมศาลนั้น ให้ชำระหรือนำมาวางศาลเป็นเงินสดหรือเช็คซึ่งธนาคารรับรอง โดยเจ้าพนักงานศาลออกใบรับให้ หรือตามวิธีการที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา คำฟ้อง คำฟ้องอุทธรณ์ คำฟ้องฎีกา คำร้องสอด คำให้การ หรือคำร้องคำขออื่นซึ่งได้ยื่นต่อศาลพร้อมคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลตามมาตรา 156 ตลอดจนการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นไต่สวนคำร้องดังกล่าว ไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมศาลและเงินวางศาลมาชำระ เว้นแต่ศาลจะได้ยกคำร้องนั้นเสีย มาตรา 150 ในคดีที่คำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์นั้นอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องหรือราคาทรัพย์สินที่พิพาท ค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกานั้น ถ้าจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องหรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาเป็นอย่างเดียวกับในศาลชั้นต้น ให้ผู้อุทธรณ์หรือผู้ฎีกาเสียตามจำนวนทุนทรัพย์หรือราคาเช่นเดียวกับในศาลชั้นต้น แต่ถ้าผู้อุทธรณ์หรือผู้ฎีกาได้รับความพอใจแต่บางส่วนตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลล่างแล้ว และจำนวนทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาต่ำกว่าในศาลชั้นต้น ให้ผู้อุทธรณ์หรือผู้ฎีกาเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์หรือราคาต่ำนั้น เมื่อได้ชำระค่าขึ้นศาลแล้ว ถ้าทุนทรัพย์แห่งคำฟ้องหรือคำฟ้องอุทธรณ์หรือคำฟ้องฎีกาทวีขึ้นโดยการยื่นคำฟ้องเพิ่มเติมหรือโดยประการอื่น ให้เรียกค่าขึ้นศาลเพิ่มขึ้นตามที่บัญญัติไว้ในตารางท้ายประมวลกฎหมายนี้เมื่อยื่นคำฟ้องเพิ่มเติมหรือภายในระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควร แล้วแต่กรณี ถ้าเนื่องจากศาลได้มีคำสั่งให้พิจารณาคดีรวมกันหรือให้แยกคดีกัน คำฟ้องใดหรือข้อหาอันมีอยู่ในคำฟ้องใดจะต้องโอนไปยังศาลอื่น หรือจะต้องกลับยื่นต่อศาลนั้นใหม่ หรือต่อศาลอื่นเป็นคดีเรื่องหนึ่งต่างหาก ให้โจทก์ได้รับผ่อนผันไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลในการยื่น หรือกลับยื่นคำฟ้องหรือข้อหาเช่นว่านั้น เว้นแต่จำนวนทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์แห่งคำฟ้อง หรือข้อหานั้นจะได้ทวีขึ้น ในกรณีเช่นนี้ ค่าขึ้นศาลเฉพาะที่ทวีขึ้นให้คำนวณและชำระตามที่บัญญัติไว้ในวรรคก่อน ในกรณีที่บุคคลซึ่งเป็นคู่ความร่วมในคดีที่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ต่างยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาแยกกัน โดยต่างได้เสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาตามความในวรรคสอง หากค่าขึ้นศาลดังกล่าวเมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนสูงกว่าค่าขึ้นศาลที่คู่ความเหล่านั้นต้องชำระในกรณีที่ยื่นอุทธรณ์หรือฎีการ่วมกัน ให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี มีคำสั่งคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่คู่ความเหล่านั้นตามส่วนของค่าขึ้นศาลที่คู่ความแต่ละคนได้ชำระไปในเวลาที่ศาลนั้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง มาตรา 151 ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องหรือในกรณีที่มีการอุทธรณ์ หรือฎีกาหรือมีคำขอให้พิจารณาใหม่ ถ้าศาลไม่รับอุทธรณ์หรือฎีกาหรือคำขอให้พิจารณาใหม่ หรือศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกามีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์หรือฎีกาโดยยังมิได้วินิจฉัยประเด็นแห่งอุทธรณ์หรือฎีกานั้น ให้ศาลมีคำสั่งให้คืนค่าขึ้นศาลทั้งหมด เมื่อได้มีการถอนคำฟ้อง หรือเมื่อศาลได้ตัดสินให้ยกคำฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่หรือเมื่อคดีนั้นได้เสร็จเด็ดขาดลงโดยสัญญาหรือการประนีประนอมยอมความหรือการพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งคืนค่าขึ้นศาลทั้งหมด หรือบางส่วนแก่คู่ความซึ่งได้เสียไว้ได้ตามที่เห็นสมควร ในกรณีที่มีการทิ้งฟ้องหรือศาลสั่งจำหน่ายคดีในกรณีอื่น ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งคืนค่าขึ้นศาลบางส่วนได้ตามที่เห็นสมควร ถ้าศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกามีคำสั่งให้ส่งสำนวนความคืนไปยังศาลล่างเพื่อตัดสินใหม่หรือเพื่อพิจารณาใหม่ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๔๓ ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกามีอำนาจที่จะยกเว้นมิให้คู่ความต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลในการดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่หรือในการที่จะยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้านคำพิพากษาใหม่ของศาลล่างได้ตามที่เห็นสมควร มาตรา 152 ค่าฤชาธรรมเนียมอื่นนอกจากค่าขึ้นศาล ให้คู่ความผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นผู้ชำระเมื่อมีการดำเนินกระบวนพิจารณานั้นหรือภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดหรือที่ศาลมีคำสั่งถ้าศาลเป็นผู้สั่งให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใด ให้ศาลกำหนดผู้ซึ่งจะต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียมในการดำเนินกระบวนพิจารณานั้น รวมทั้งระยะเวลาที่ต้องชำระไว้ด้วย ถ้าผู้ซึ่งจะต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งไม่ชำระ ศาลจะสั่งให้งดหรือเพิกถอนกระบวนพิจารณานั้น หรือจะสั่งให้คู่ความฝ่ายอื่นเป็นผู้ชำระค่าฤชาธรรมเนียมดังกล่าวก็ได้หากคู่ความฝ่ายนั้นยินยอม มาตรา 153 ค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี ได้แก่ ค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี ค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง และค่าเช่าที่พักของเจ้าพนักงานบังคับคดีตลอดจนค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการบังคับคดีบรรดาที่กฎหมายบังคับให้ชำระ ค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี ให้เจ้าหนี้ผู้ขอบังคับคดีนั้นเป็นผู้ชำระ การชำระค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีออกใบรับให้ ในกรณีที่มีการเข้าดำเนินการบังคับคดีต่อไปตามมาตรา ๒๙๐ วรรคแปด หรือมาตรา ๒๙๑ (๒) ให้เจ้าหนี้ผู้เข้าดำเนินการบังคับคดีต่อไปเป็นผู้ชำระค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีเฉพาะทรัพย์สินในส่วนที่ดำเนินการบังคับคดีต่อไป มาตรา 153/1 ค่าฤชาธรรมเนียมตามมาตรา ๑๔๙ และค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีตามมาตรา 153 ให้ชำระตามวิธีการและอัตราที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้หรือตามวิธีการและอัตราที่มีกฎหมายอื่นบังคับไว้ มาตรา 154 เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจที่จะสั่งให้เจ้าหนี้ผู้ขอบังคับคดีวางเงินค่าใช้จ่าย เพื่อปฏิบัติตามวิธีการเพื่อคุ้มครองสิทธิของคู่ความในระหว่างการพิจารณา หรือวางเงินค่าใช้จ่ายเพื่อบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่งได้ตามจำนวนที่เห็นจำเป็นถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่าจำนวนเงินที่วางไว้นั้นจะไม่พอ ก็ให้แจ้งให้เจ้าหนี้ผู้ขอบังคับคดีวางเงินเพิ่มขึ้นอีกได้ ถ้าเจ้าหนี้ผู้ขอบังคับคดีเห็นว่าการวางเงินตามวรรคหนึ่งไม่จำเป็นหรือมากเกินไป ก็อาจยื่นคำร้องต่อศาลภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งได้ คำสั่งดังกล่าวให้เป็นที่สุด ถ้าเจ้าหนี้ผู้ขอบังคับคดีไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่งหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลตามวรรคสอง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการบังคับคดีไว้จนกว่าเจ้าหนี้ผู้ขอบังคับคดีนั้นจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือศาล แล้วแต่กรณี บทบัญญัติมาตรานี้ให้ใช้บังคับแก่เจ้าหนี้ผู้เข้าดำเนินการบังคับคดีต่อไปตามมาตรา ๒๙๐ วรรคแปดและมาตรา 291 (2) โดยอนุโลม มาตรา 155 คู่ความซึ่งไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลอาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในการฟ้องหรือต่อสู้คดีในศาลชั้นต้นหรือชั้นอุทธรณ์หรือชั้นฎีกาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 156 และมาตรา 156/1 มาตรา 156 ผู้ใดมีความจำนงจะขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในการฟ้องหรือต่อสู้คดี ให้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นที่จะฟ้องหรือได้ฟ้องคดีไว้นั้นพร้อมกับคำฟ้อง คำฟ้องอุทธรณ์ คำฟ้องฎีกาคำร้องสอด หรือคำให้การ แล้วแต่กรณี แต่ถ้าบุคคลนั้นตกเป็นผู้ไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลในภายหลัง จะยื่นคำร้องในเวลาใด ๆ ก็ได้ การยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่ง ผู้ร้องอาจเสนอพยานหลักฐานไปพร้อมคำร้องและหากศาลเห็นสมควรไต่สวนพยานหลักฐานเพิ่มเติมก็ให้ดำเนินการไต่สวนโดยเร็วเท่าที่จำเป็น ทั้งนี้ ศาลจะมีคำสั่งให้งดการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนั้นไว้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเป็นการชั่วคราวจนกว่าการพิจารณาสั่งคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลจะถึงที่สุดก็ได้ตามที่ศาลเห็นสมควร มาตรา 156/1 เมื่อศาลพิจารณาคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลเสร็จแล้วให้ศาลมีคำสั่งโดยเร็ว โดยศาลจะมีคำสั่งอนุญาตทั้งหมดหรือแต่เฉพาะบางส่วน หรือยกคำร้องนั้นเสียก็ได้ ห้ามมิให้ศาลอนุญาตตามคำร้องเช่นว่านั้น เว้นแต่จะเป็นที่เชื่อได้ว่าผู้ร้องไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลหรือหากผู้ร้องไม่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลจะได้รับความเดือดร้อนเกินสมควรเมื่อพิจารณาถึงสถานะของผู้ร้อง และในกรณีผู้ร้องเป็นโจทก์หรือผู้อุทธรณ์หรือฎีกา การฟ้องร้องหรืออุทธรณ์หรือฎีกานั้นมีเหตุผลอันสมควรด้วย เมื่อคู่ความคนใดได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในการฟ้องหรือต่อสู้คดีในศาลชั้นต้นแล้วยื่นคำร้องเช่นว่านั้นในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา แล้วแต่กรณี อีก ให้ถือว่าคู่ความนั้นยังคงไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียมศาลหรือหากไม่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลแล้วจะได้รับความเดือดร้อนเกินสมควรอยู่ เว้นแต่จะปรากฏต่อศาลเป็นอย่างอื่น ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลให้แต่เฉพาะบางส่วน หรือมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ผู้ขออาจอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลได้ภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันมีคำสั่ง คำสั่งของศาลอุทธรณ์เช่นว่านี้ให้เป็นที่สุด มาตรา 157 เมื่อศาลอนุญาตให้บุคคลใดได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในศาลใด บุคคลนั้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลในการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้น ค่าธรรมเนียมเช่นว่านี้ให้รวมถึงเงินวางศาลในการยื่นฟ้องอุทธรณ์หรือฎีกา ถ้าเป็นกรณีที่ศาลอนุญาตในระหว่างการพิจารณา การยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลนั้นให้ใช้บังคับแต่เฉพาะค่าธรรมเนียมศาลและเงินวางศาลที่จะต้องเสียหรือวางภายหลังคำสั่งอนุญาตเท่านั้น ส่วนค่าธรรมเนียมศาลหรือเงินวางศาลที่เสียหรือวางไว้ก่อนคำสั่งเช่นว่านั้นเป็นอันไม่ต้องคืน มาตรา 158 ถ้าศาลเห็นว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นผู้รับผิดเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดหรือแต่บางส่วนของคู่ความทั้งสองฝ่าย ให้ศาลพิพากษาในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม โดยสั่งให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนั้นชำระต่อศาลในนามของผู้ที่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลซึ่งค่าธรรมเนียมศาลที่ผู้นั้นได้รับยกเว้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตามที่ศาลเห็นสมควร มาตรา 159 ถ้าปรากฏต่อศาลว่าผู้ที่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลนั้นสามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ตั้งแต่เวลาที่ยื่นคำร้องตามมาตรา ๑๕๖ หรือในภายหลังก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดี ให้ศาลมีคำสั่งให้บุคคลนั้นชำระค่าธรรมเนียมศาลที่ได้รับยกเว้นต่อศาลภายในระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนดก็ได้ หากไม่ปฏิบัติตาม ให้ศาลมีคำสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลนั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนไว้รอคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าศาลเห็นว่า (1) ค่าฤชาธรรมเนียมจะเป็นพับแก่คู่ความทั้งสองฝ่าย ให้ศาลมีคำสั่งให้เอาชำระค่าธรรมเนียมศาลที่ผู้นั้นได้รับยกเว้น จากทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดดังที่กล่าวไว้ในวรรคหนึ่งตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร (2) คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดหรือแต่บางส่วนแทนผู้ที่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ให้ศาลมีคำสั่งให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนั้นชำระค่าธรรมเนียมศาลต่อศาลในนามของผู้ที่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล แต่ถ้าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนั้นไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ให้ศาลเอาชำระค่าธรรมเนียมศาลนั้นจากทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดดังที่กล่าวไว้ในวรรคหนึ่งตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร หรือ (3) ผู้ที่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลจะต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดหรือแต่บางส่วนแทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ให้ศาลมีคำสั่งให้เอาชำระค่าฤชาธรรมเนียมนั้นจากทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดดังที่กล่าวไว้ในวรรคหนึ่ง ส่วนค่าธรรมเนียมศาลที่ผู้นั้นได้รับยกเว้น ให้เอาชำระจากทรัพย์สินที่เหลือถ้าหากมี ตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร มาตรา 160 ถ้าผู้ที่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลประพฤติตนไม่เรียบร้อย เช่น ดำเนินกระบวนพิจารณาในทางก่อความรำคาญถึงขนาด หรือกระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลหรือจงใจประวิงความเรื่องนั้น ศาลจะถอนการอนุญาตเสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ และบุคคลเช่นว่านั้นจำต้องรับผิดเสียค่าฤชาธรรมเนียมสำหรับกระบวนพิจารณาภายหลังที่ศาลได้ถอนการอนุญาตนั้นแล้ว
ส่วนที่ ๒ ความรับผิดชั้นที่สุดในค่าฤชาธรรมเนียม มาตรา 161 ภายใต้บังคับบทบัญญัติห้ามาตราต่อไปนี้ ให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีเป็นผู้รับผิดในชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง แต่ไม่ว่าคู่ความฝ่ายใดจะชนะคดีเต็มตามข้อหาหรือแต่บางส่วนศาลมีอำนาจที่จะพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีนั้นรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง หรือให้คู่ความแต่ละฝ่ายรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมส่วนของตนหรือตามส่วนแห่งค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งคู่ความทุกฝ่ายได้เสียไปก่อนได้ตามที่ศาลจะใช้ดุลพินิจ โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการดำเนินคดี คดีที่ไม่มีข้อพิพาทให้ฝ่ายเริ่มคดีเป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียม (แก้ไข*ฉบับที่ 24* พ.ศ. 2551) มาตรา 162 บุคคลที่เป็นโจทก์ร่วมกันหรือจำเลยร่วมกันนั้นหา ต้องรับผิดร่วมกันในค่าฤชาธรรมเนียมไม่ หากต้องรับผิดเป็น ส่วนเท่า ๆ กัน เว้นแต่จะได้เป็นเจ้าหนี้ร่วมหรือลูกหนี้ร่วม หรือ ศาลได้มีคำสั่งเป็นอย่างอื่น มาตรา 163 ถ้าคดีได้เสร็จเด็ดขาดลงโดยการตกลงหรือการ ประนีประนอมยอมความหรืออนุญาโตตุลาการ คู่ความแต่ละฝ่าย ย่อมรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนการดำเนินกระบวนพิจารณา ของตน เว้นแต่คู่ความจะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น มาตรา 164 ในกรณีที่วางเงินต่อศาลตาม มาตรา 135 มาตรา 136 นั้น จำเลยไม่ต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมแห่งจำนวนเงินที่วางนั้นอัน เกิดขึ้นภายหลัง ถ้าโจทก์ยอมรับเงินที่วางต่อศาลเป็นการพอใจเต็มตามที่เรียกร้อง แล้วจำเลยต้องเป็นผู้รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม ถ้าโจทก์ยอมรับเงินที่วางต่อศาลนั้นเป็นการพอใจเพียงส่วนหนึ่ง แห่งจำนวนเงินที่เรียกร้อง และดำเนินคดีต่อไป จำเลยต้องรับผิดใน ค่าฤชาธรรมเนียม เว้นแต่ศาลจะได้พิพากษาให้โจทก์แพ้คดี ในกรณี เช่นนี้โจทก์ต้องเป็นผู้รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสิ้นอันเกิดแต่การ ที่ตนไม่ยอมรับเงินที่วางต่อศาลเป็นการพอใจตามที่เรียกร้อง มาตรา 165 ในกรณีที่มีการชำระหนี้ดั่งบัญญัติไว้ใน มาตรา 137 ถ้าโจทก์ยอมรับการชำระหนี้นั้นเป็นการพอใจเต็มตามที่เรียกร้องแล้ว จำเลยต้องเป็นผู้รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมเว้นแต่ศาลจะเห็นสมควร มีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
มาตรา 166 คู่ความฝ่ายใดทำให้ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมในกระบวนพิจารณาใดๆ ที่ได้ดำเนินไปโดยไม่จำเป็น หรือมีลักษณะประวิงคดี หรือที่ต้องดำเนินไปเพราะความผิดหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง คู่ความฝ่ายนั้นต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมนั้น โดยมิพักคำนึงว่าคู่ความฝ่ายนั้นจักได้ชนะคดีหรือไม่ (แก้ไข*ฉบับที่ 24* พ.ศ. 2551) มาตรา 167 คำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมนั้น ไม่ว่าคู่ความ ทั้งปวงหรือแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จักมีคำขอหรือไม่ก็ดี ให้ศาลสั่งลง ไว้ในคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีหรือในคำสั่งจำหน่ายคดีออก จากสารบบความแล้วแต่กรณีแต่ถ้าเพื่อชี้ขาดตัดสินคดีใดศาลได้มี คำสั่งอย่างใดในระหว่างการพิจารณาศาลจะมีคำสั่งเรื่องค่า ฤชาธรรมเนียมสำหรับกระบวนพิจารณาที่เสร็จไปในคำสั่งฉบับนั้น หรือในคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีก็ได้ แล้วแต่จะเลือก ในกรณีที่มีข้อพิพาทในเรื่องที่ไม่เป็นประเด็นในคดี ให้ศาลมีคำสั่ง ในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมสำหรับข้อพิพาทเช่นว่านี้ในคำสั่งชี้ขาด ข้อพิพาทนั้น ในกรณีที่มีการพิจารณาใหม่ ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งเรื่องค่าฤชา ธรรมเนียมสำหรับการพิจารณาครั้งแรก และการพิจารณาใหม่ใน คำพิพากษาหรือคำสั่งได้ มาตรา 168 ในกรณีที่คู่ความอาจอุทธรณ์หรือฎีกาคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลได้นั้น ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์หรือฎีกาในปัญหา เรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแต่อย่างเดียว เว้นแต่อุทธรณ์หรือฎีกานั้นจะ ได้ยกเหตุว่า ค่าฤชาธรรมเนียมนั้นมิได้กำหนดหรือคำนวณให้ถูกต้อง ตามกฎหมาย มาตรา 169 เมื่อมีคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแล้ว ให้หัวหน้าสำนักงานประจำศาลยุติธรรมชั้นต้นทำบัญชีแสดงค่าฤชาธรรมเนียมที่คู่ความทุกฝ่ายได้เสียไปโดยลำดับและจำนวนที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายจะต้องรับผิดตามคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาล คู่ความหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องอาจขอสำเนาบัญชีเช่นว่านั้นได้ (แก้ไข*ฉบับที่ 24*พ.ศ. 2551) มาตรา 169/1 ถ้าบุคคลซึ่งต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียมค้างชำระค่าฤชาธรรมเนียมต่อศาลก็ดีหรือต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ดี หรือต่อบุคคลอื่นที่มิใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ดี ศาล เจ้าพนักงานบังคับคดี หรือบุคคลเช่นว่านั้นอาจบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของบุคคลนั้นเสมือนหนึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อชำระค่าฤชาธรรมเนียมดังกล่าวได้ ในกรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าหัวหน้าสำนักงานประจำศาลยุติธรรมชั้นต้น เจ้าพนักงานบังคับคดี หรือบุคคลที่มีสิทธิได้รับค่าฤชาธรรมเนียมนั้น แล้วแต่กรณีเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา การบังคับคดีตามวรรคหนึ่ง ให้ได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีทั้งปวง แต่หากยังมีเงินที่ได้จากการบังคับคดีคงเหลือภายหลังชำระให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับ ให้หักค่าฤชาธรรมเนียมที่ได้รับยกเว้นดังกล่าวไว้จากเงินนั้น มาตรา 169/2 ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 169/3 ให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นผู้รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี โดยให้หักออกจากเงินที่ได้จากการยึด อายัด ขาย หรือจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือจากเงินที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้วางไว้ ในกรณีที่มีการบังคับคดีแก่ผู้ค้ำประกันในศาล ค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีในส่วนนั้นให้หักออกจากเงินที่ได้จากการบังคับคดีตามสัญญาประกัน ในกรณีที่มีการบังคับคดีตามคำพิพากษาให้แบ่งกรรมสิทธิ์รวมหรือมรดกให้เจ้าของรวมหรือทายาทผู้ได้รับส่วนแบ่งทุกคนเป็นผู้รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีโดยให้หักออกจากเงินที่ได้จากการขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินอันเป็นกรรมสิทธิ์รวมหรือทรัพย์มรดกนั้น ในกรณีที่มีการถอนการบังคับคดีนอกจากกรณีตามมาตรา 295(1) ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาผู้ขอยึดหรืออายัดทรัพย์สินเป็นผู้รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี มาตรา 169/3 บุคคลใดทำให้ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีส่วนใดโดยไม่จำเป็นหรือมีลักษณะประวิงการบังคับคดี หรือที่ต้องดำเนินไปเพราะความผิดหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือเพราะบังคับคดีไปโดยไม่สุจริตก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง ผู้ที่ได้รับความเสียหายหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษา แล้วแต่กรณี อาจยื่นคำร้องต่อศาลภายในเจ็ดวันนับแต่วันทราบพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้บุคคลเช่นว่านั้นรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมดังกล่าว คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ได้ และคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด (เพิ่มเติม*ฉบับที่ 24*พ.ศ. 2551)
วิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น ลักษณะ 1 วิธีพิจารณาสามัญในศาลชั้นต้น มาตรา 170 ห้ามมิให้ฟ้องพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีเป็นครั้งแรกในศาลหรือโดยศาลอื่นนอกจากศาลชั้นต้นเว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งเป็นอย่างอื่น
มาตรา 171 คดีที่ประมวลกฎหมายนี้บัญญัติว่าจะฟ้องยังศาลชั้นต้น หรือจะเสนอปัญหาต่อศาลชั้นต้นเพื่อชี้ขาดตัดสิน โดยทำเป็นคำร้องขอก็ได้นั้น ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของโจทก์และจำเลย และ วิธีพิจารณาที่ต่อจากการยื่นคำฟ้องมาใช้บังคับแก่ผู้ยื่นคำขอ และคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งถ้าหากมี และบังคับแก่วิธีพิจารณาที่ ต่อจากการยื่นคำร้องขอด้วยโดยอนุโลม มาตรา 172 ภายใต้บังคับบทบัญญัติ มาตรา 57 ให้โจทก์เสนอข้อหาของตนโดยทำคำฟ้องเป็นหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้น คำฟ้องต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และ คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ให้ศาลตรวจคำฟ้องนั้นแล้วสั่งให้รับไว้ หรือให้ยกเสีย หรือ ให้คืนไปตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 18 (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2548) มาตรา 173 เมื่อศาลได้รับคำฟ้องแล้ว ให้ศาลออกหมายส่ง สำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยเพื่อแก้คดี และภายในกำหนดเจ็ดวันนับ แต่วันยื่นคำฟ้อง ให้โจทก์ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ ส่งหมายนั้น นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคำฟ้องแล้วคดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณา และ ผลแห่งการนี้ มาตรา 174 ในกรณีต่อไปนี้ให้ถือว่าโจทก์ได้ทิ้งฟ้อง คือ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2071/2564) มาตรา 175 ก่อนจำเลยยื่นคำให้การ โจทก์อาจถอนคำฟ้องได้ โดยยื่นคำบอกกล่าวเป็นหนังสือต่อศาล ภายหลังจำเลยยื่นคำให้การแล้ว โจทก์อาจยื่นคำขอโดยทำเป็น คำร้องต่อศาลชั้นต้น เพื่ออนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องได้ ศาลจะ อนุญาตหรือไม่อนุญาตหรืออนุญาตภายในเงื่อนไขตามที่เห็นสมควร ก็ได้ แต่ มาตรา 176 การทิ้งคำฟ้องหรือถอนคำฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้นรวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้อง และกระทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย แต่ว่าคำฟ้องใด ๆ ที่ได้ทิ้งหรือถอนแล้วอาจยื่นใหม่ได้ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1584/2546) มาตรา 177 เมื่อได้ส่งหมายเรียกและคำฟ้องให้จำเลยแล้ว ให้จำเลยทำคำให้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายในสิบห้าวัน ให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยยอมรับหรือปฏิเสธ ข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น
ให้ศาลตรวจดูคำให้การนั้นแล้วสั่งให้รับไว้ หรือให้คืนไป หรือสั่ง ไม่รับตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 18
มาตรา 178 ถ้าจำเลยฟ้องแย้งรวมมาในคำให้การ ให้โจทก์ทำ คำให้การแก้ฟ้องแย้งยื่นต่อศาลภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ส่งคำ ให้การถึงโจทก์ บทบัญญัติแห่งมาตราก่อนให้ใช้บังคับแก่คำให้การแก้ฟ้องแย้งนี้ โดยอนุโลม มาตรา 179 โจทก์หรือจำเลยจะแก้ไขข้อหา ข้อต่อสู้ ข้ออ้างหรือข้อเถียง อันกล่าวไว้ในคำฟ้องหรือคำให้การที่เสนอต่อศาลแต่แรก ก็ได้ แต่ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายใดเสนอคำฟ้องใดต่อศาล ไม่ว่าโดยวิธี ฟ้องเพิ่มเติมหรือฟ้องแย้ง ภายหลังที่ได้ยื่นคำฟ้องเดิมต่อศาลแล้ว เว้นแต่คำฟ้องเดิมและคำฟ้องภายหลังนี้จะเกี่ยวข้องกันพอที่จะ รวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ มาตรา 180 การแก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การที่คู่ความเสนอต่อ ศาลไว้แล้ว ให้ทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อน วันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน เว้นแต่ มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้น หรือเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการ แก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย หรือข้อผิดหลงเล็กน้อย มาตรา 181 เว้นแต่ในกรณีที่คำร้องนั้นอาจทำได้แต่ฝ่ายเดียว มาตรา 182 เมื่อได้ยื่นคำฟ้อง คำให้การ และคำให้การแก้ฟ้องแย้ง ถ้าหากมีแล้ว ให้ศาลทำการชี้สองสถานโดยแจ้งกำหนดวันชี้สองสถาน ให้คู่ความทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ คู่ความอาจตกลงกันกะประเด็นข้อพิพาทโดยยื่นคำแถลงร่วมกัน ต่อศาลในกรณีเช่นว่านี้ ให้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไปตามนั้น แต่ถ้า ศาลเห็นว่าคำแถลงนั้นไม่ถูกต้องก็ให้ศาลมีอำนาจที่จะมีคำสั่งยก คำแถลงนั้น แล้วดำเนินการชี้สองสถานไปตาม มาตรา 183 มาตรา 182ทวิ (ยกเลิก) มาตรา 183 ในวันชี้สองสถาน ให้คู่ความมาศาล และให้ศาลตรวจ คำคู่ความและคำแถลงของคู่ความแล้วนำข้ออ้างข้อเถียงที่ปรากฏใน คำคู่ความและคำแถลงของคู่ความเทียบกันดู และสอบถามคู่ความ ทุกฝ่ายถึงข้ออ้าง ข้อเถียง และพยานหลักฐานที่จะยื่นต่อศาลว่า ฝ่ายใดยอมรับหรือโต้แย้งข้ออ้าง ข้อเถียงนั้นอย่างไร ข้อเท็จจริงใด ที่คู่ความยอมรับกันก็เป็นอันยุติไปตามนั้นส่วนข้อกฎหมายหรือ ข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้างแต่คู่ความฝ่ายอื่นไม่รับและ เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับประเด็นข้อพิพาทตามคำคู่ความ ให้ศาลกำหนด ไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทและกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานหลักฐาน มาสืบในประเด็นข้อใดก่อนหรือหลังก็ได้ ในการสอบถามคู่ความตามวรรคหนึ่ง คู่ความแต่ละฝ่ายต้องตอบ คำถามที่ศาลถามเองหรือถามตามคำขอของคู่ความฝ่ายอื่น เกี่ยวกับ ข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายอื่นยกขึ้นเป็นข้ออ้าง ข้อเถียง และพยาน หลักฐานต่าง ๆ ที่คู่ความจะยื่นต่อศาล ถ้าคู่ความฝ่ายใดไม่ตอบ คำถามเกี่ยวกับข้อเท็จจริงใด หรือปฏิเสธข้อเท็จจริงใดโดยไม่มี เหตุผลอันสมควร ให้ถือว่ายอมรับข้อเท็จจริงนั้นแล้ว เว้นแต่คู่ความ ฝ่ายนั้นไม่อยู่ในวิสัยที่จะตอบ หรือแสดงเหตุผลแห่งการปฏิเสธได้ใน ขณะนั้น คู่ความมีสิทธิคัดค้านว่าประเด็นข้อพิพาทหรือหน้าที่นำสืบที่ศาล กำหนดไว้นั้นไม่ถูกต้องโดยแถลงด้วยวาจาต่อศาลในขณะนั้นหรือ ยื่นคำร้องต่อศาลภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลสั่งกำหนดประเด็น ข้อพิพาท หรือหน้าที่นำสืบ ให้ศาลชี้ขาดคำคัดค้านนั้นก่อนวันสืบพยาน คำชี้ขาดคำคัดค้านดังกล่าวให้อยู่ภายใต้บังคับ มาตรา 226 มาตรา 183 ทวิ ในกรณีที่คู่ความทุกฝ่ายหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาลในวันชี้สองสถาน ให้ศาลทำการชี้สองสถานโดยให้ถือว่าคู่ความที่ไม่มาศาลได้ทราบกระบวนพิจารณาในวันนั้นแล้ว คู่ความที่ไม่มาศาลนั้นไม่มีสิทธิคัดค้านว่าประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบที่ศาลกำหนดไว้นั้น ไม่ถูกต้อง เว้นแต่เป็นกรณีที่ไม่สามารถมาศาลได้ในวันชี้สองสถาน เพราะเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงได้ หรือเป็นการคัดค้านในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ในกรณีเช่นนี้ให้นำ มาตรา 183 วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา 183 ตรี (ยกเลิก) มาตรา 183 จัตวา (ยกเลิก) มาตรา 184 ในกรณีที่มีการชี้สองสถาน ให้ศาลกำหนดวันสืบ พยานซึ่งมีระยะเวลาไม่น้อยกว่าสิบวันนับแต่วันชี้สองสถาน
มาตรา 185 ในวันนัดสืบพยาน เมื่อศาลเห็นสมควร หรือเมื่อ คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคำขอ ศาลจะอ่านให้คู่ความฟังซึ่งคำฟ้อง คำให้การและคำให้การแก้ฟ้องแย้ง ถ้าหากมี หรือรายงานพิสดาร แห่งการชี้สองสถานแล้วแต่กรณี และคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติม (ที่ได้ยื่น ต่อศาลและส่งไปให้แก่คู่ความแล้วโดยชอบ) ก็ได้ ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติสามมาตราต่อไปนี้ ให้ศาลสืบพยาน ตามประเด็นในข้อพิพาทตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่า ด้วยพยานหลักฐาน และฟังคำแถลงการณ์ด้วยวาจาของคู่ความทั้งปวง มาตรา 186 เมื่อสืบพยานเสร็จแล้ว ให้ศาลอนุญาตให้โจทก์ แถลงการณ์ด้วยวาจาก่อน แล้วจึ่งให้จำเลยแถลงการณ์ด้วยวาจา ทบทวนข้อเถียงแสดงผลแห่งพยานหลักฐานในประเด็นที่พิพาท ต่อจากนี้ให้ศาลอนุญาตให้โจทก์แถลงตอบจำเลยได้อีกครั้งหนึ่ง นอกจากนี้ห้ามไม่ให้คู่ความแถลงการณ์ด้วยวาจาอย่างใดอีกเว้นแต่ จะได้รับอนุญาตจากศา มาตรา 187 เมื่อได้สืบพยานตามที่จำเป็นและคู่ความได้ แถลงการณ์ ถ้าหากมี เสร็จแล้ว ให้ถือว่าการพิจารณาเป็น อันสิ้นสุด แต่ตราบใดที่ยังมิได้มีคำพิพากษา ศาลอาจทำการ พิจารณาต่อไปอีกได้ตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่ง ความยุติธรรม มาตรา 188 ในคดีที่ไม่มีข้อพิพาท ให้ใช้ข้อบังคับต่อไปนี้
ลักษณะ 2 วิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นต้น หมวด 1 วิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ มาตรา 189 คดีมโนสาเร่ คือ มาตรา 190 จำนวนทุนทรัพย์หรือราคาอันพิพาทกันในคดีนั้นให้ คำนวณดั่งนี้ มาตรา 190 ทวิ ในคดีมโนสาเร่ ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณา ไปตามบทบัญญัติในหมวดนี้ มาตรา 190 ตรี ในคดีมโนสาเร่ ให้ศาลมีอำนาจที่จะออกคำสั่ง ขยายหรือย่นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายนี้หรือ ตามที่ศาลได้กำหนดไว้ หรือระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณา ความแพ่งอันกำหนดไว้ในกฎหมายอื่น เพื่อให้ดำเนินหรือมิให้ ดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ก่อนสิ้นระยะเวลานั้นได้ เมื่อมี ความจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม(แก้ไข*ฉบับที่ 24* พ.ศ. 2551) มาตรา 190 จัตวา ในคดีมโนสาเร่ ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลตามตาราง ๑ ท้ายประมวลกฎหมายนี้ แต่ค่าขึ้นศาลรวมกันแล้วไม่เกินหนึ่งพันบาท ค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกานั้น ให้ผู้อุทธรณ์หรือผู้ฎีกาเสีย ตามจำนวนทุนทรัพย์ หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ หรือฎีกา แล้วแต่กรณี มาตรา 191 วิธีฟ้องคดีมโนสาเร่นั้น โจทก์อาจยื่นคำฟ้องเป็น หนังสือหรือมาแถลงข้อหาด้วยวาจาต่อศาลก็ได้ ในกรณีที่โจทก์ยื่นคำฟ้องเป็นหนังสือ หากศาลเห็นว่าคำฟ้อง ดังกล่าวไม่ถูกต้อง หรือขาดสาระสำคัญบางเรื่อง ศาลอาจมีคำสั่ง ให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องในส่วนนั้นให้ถูกต้องหรือชัดเจนขึ้นก็ได้ ถ้าโจทก์มาแถลงข้อหาด้วยวาจาดังกล่าวแล้ว ให้ศาลบันทึก รายการแห่งข้อหาเหล่านั้นไว้อ่านให้โจทก์ฟัง แล้วให้โจทก์ลง ลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ มาตรา 192 เมื่อศาลเห็นว่าคดีที่ฟ้องไม่ใช่คดีมโนสาเร่และศาล นั้นมีเขตอำนาจที่จะพิจารณาคดีนั้นอย่างคดีสามัญได้ ถ้าคดีนั้นได้ ฟ้องโดยคำแถลงด้วยวาจา ก็ให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเป็น หนังสืออย่างคดีสามัญ แต่ถ้าคดีนั้นได้ยื่นคำฟ้องเป็นหนังสืออยู่แล้ว ห้ามมิให้ศาลออกหมายเรียกอย่างอื่นนอกจากที่บัญญัติไว้สำหรับคดี สามัญ ถ้าคดีนั้นไม่เป็นคดีมโนสาเร่ต่อไปเนื่องจากได้มีคำฟ้องเพิ่มเติม ยื่นเข้ามาภายหลัง และศาลนั้นมีเขตอำนาจที่จะพิจารณาคดีนั้น อย่างคดีสามัญได้ ก็ให้ศาลดำเนินการพิจารณาไปอย่างคดีสามัญ ในกรณีใดกรณีหนึ่งดั่งกล่าวมาแล้ว ถ้าศาลไม่มีเขตอำนาจ พิจารณาคดีนั้นอย่างคดีสามัญ ให้ศาลมีคำสั่งคืนคำฟ้องนั้นไปเพื่อ ยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจ ในกรณีที่จำเลยฟ้องแย้งเข้ามาในคดีมโนสาเร่และฟ้องแย้งนั้น มิใช่คดีมโนสาเร่ หรือในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้พิจารณาคดีสามัญรวม กับคดีมโนสาเร่ ให้ศาลดำเนินการพิจารณาคดีมโนสาเร่ไปอย่างคดี สามัญ แต่เมื่อศาลพิจารณาถึงจำนวนทุนทรัพย์ ลักษณะคดี สถานะ ของคู่ความ หรือเหตุสมควรประการอื่นแล้วเห็นว่า การนำบท บัญญัติในหมวดนี้ไปใช้บังคับแก่คดีในส่วนของฟ้องแย้งหรือคดี สามัญเช่นว่านั้นจะทำให้การดำเนินคดีเป็นไปด้วยความรวดเร็ว และเป็นธรรมแก่คู่ความทุกฝ่าย ก็ให้ศาลมีอำนาจพิจารณาคดีใน ส่วนของฟ้องแย้งหรือคดีสามัญนั้นอย่างคดีมโนสาเร่ได้ คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งของศาลตามวรรคสี่ ไม่กระทบถึงค่าขึ้น ศาลที่คู่ความแต่ละฝ่ายต้องชำระอยู่ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งเช่นว่านั้น มาตรา 193 ในคดีมโนสาเร่ ให้ศาลกำหนดวันนัดพิจารณา โดยเร็วและออกหมายเรียกไปยังจำเลย ในหมายนั้นให้จดแจ้ง ประเด็นแห่งคดีและจำนวนทุนทรัพย์หรือราคาที่เรียกร้อง และ ข้อความว่าให้จำเลยมาศาลเพื่อการไกล่เกลี่ย ให้การ และสืบ พยานในวันเดียวกัน และให้ศาลสั่งให้โจทก์มาศาลในวันนัด พิจารณานั้นด้วย ในวันนัดพิจารณา เมื่อโจทก์และจำเลยมาพร้อมกันแล้ว ให้ศาล ไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันใน ข้อที่พิพาทนั้นก่อน ถ้าคู่ความไม่อาจตกลงกันหรือไม่อาจประนีประนอมยอมความกันได้และจำเลยยังไม่ได้ยื่นคำให้การให้ศาลสอบถามคำให้การของ จำเลย โดยจำเลยจะยื่นคำให้การเป็นหนังสือ หรือจะให้การด้วย วาจาก็ได้ ในกรณียื่นคำให้การเป็นหนังสือให้นำ มาตรา 191 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีให้การด้วยวาจา ให้ศาล บันทึกคำให้การรวมทั้งเหตุแห่งการนั้นไว้ อ่านให้จำเลยฟัง แล้ว ให้จำเลยลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ ถ้าจำเลยไม่ให้การตามวรรคสาม ให้ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจมีคำสั่งไม่ยอมเลื่อนเวลาให้จำเลยยื่นคำให้การ โดยให้ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ และให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดโดยนำมาตรา 198 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้สืบพยาน ก็ให้ศาลดำเนินการต่อไปตามมาตรา 193 ตรี มาตรา 193 จัตวา และมาตรา 193 เบญจ (วรรคสี่ แก้ไข*ฉบับที่ 24*พ.ศ. 2551) เมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตามมาตรา 193 แล้วไม่มาในวันนัดพิจารณาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี ถ้าจำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การไว้ให้ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยนำมาตรา 198 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้าจำเลยได้ยื่นคำให้การไว้ก่อนหรือในวันนัดดังกล่าว ให้ถือว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา และให้บังคับตามมาตรา 204 มาตรา 205 มาตรา 206 และมาตรา 207 และไม่ว่าจะเป็นกรณีใด ถ้าศาลมีคำสั่งให้สืบพยานก็ให้ศาลดำเนินการต่อไปตามมาตรา 193 ตรี มาตรา 193 จัตวา และมาตรา 193 เบญจ (แก้ไข*ฉบับที่ 24*พ.ศ. 2551) มาตรา 193 ตรี เมื่อศาลได้รับคำให้การของจำเลยตามมาตรา 193 วรรคสาม หรือศาลมีคำสั่งให้สืบพยานตามมาตรา 193 วรรคสี่ หรือมาตรา 193 ทวิ วรรคสอง ให้ศาลดำเนินการพิจารณาคดีต่อไปโดยเร็ว และให้ศาลสอบถามคู่ความฝ่ายที่จะต้องนำพยานเข้าสืบว่าประสงค์จะอ้างอิงพยานหลักฐานใดแล้วบันทึกไว้ หรือสั่งให้คู่ความจัดทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลภายในระยะเวลาตามที่เห็นสมควร โดยในกรณีที่มิใช่การพิจารณาคดีฝ่ายเดียว ศาลจะกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานหลักฐานมาสืบก่อนหรือหลังก็ได้ (แก้ไข*ฉบับที่ 24* พ.ศ. 2551) มาตรา 193 จัตวา ในคดีมโนสาเร่ เพื่อประโยชน์แห่งความ ยุติธรรมให้ศาลมีอำนาจเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่ เห็นสมควร ในการสืบพยานไม่ว่าจะเป็นพยานที่คู่ความฝ่ายใดอ้างหรือที่ศาล เรียกมาเอง ให้ศาลเป็นผู้ซักถามพยานก่อน เสร็จแล้วจึงให้ตัวความ หรือทนายความซักถามเพิ่มเติมได้ ให้ศาลมีอำนาจซักถามพยานเกี่ยวกับข้อเท็จจริงใด ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง กับคดี แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างก็ตาม ในการบันทึกคำเบิกความของพยาน เมื่อศาลเห็นสมควร จะบันทึก ข้อความแต่โดยย่อก็ได้แล้วให้พยานลงลายมือชื่อไว้ มาตรา 193 เบญจ ในคดีมโนสาเร่ ให้ศาลนั่งพิจารณาคดี ติดต่อกันไปโดยไม่ต้องเลื่อนเว้นแต่มีเหตุจำเป็น ศาลจะมีคำสั่ง เลื่อนได้ครั้งละไม่เกินเจ็ดวัน มาตรา 194 คดีมโนสาเร่นั้น ให้ศาลมีอำนาจออกคำสั่งหรือ คำพิพากษาด้วยวาจาดั่งที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 141 มาตรา 195 นอกจากที่บัญญัติมาแล้ว ให้นำบทบัญญัติอื่นในประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับแก่การพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีมโนสาเร่ด้วยโดยอนุโลม (แก้ไข*ฉบับที่ 24*พ.ศ.2551) มาตรา 196 ในคดีสามัญซึ่งโจทก์ฟ้องเพียงขอให้ชำระเงินจำนวนแน่นอนตามตั๋วเงินซึ่งการรับรองหรือการชำระเงินตามตั๋วเงินนั้นได้ถูกปฏิเสธ หรือตามสัญญาเป็นหนังสือซึ่งปรากฏในเบื้องต้นว่าเป็นสัญญาอันแท้จริงมีความสมบูรณ์และบังคับได้ตามกฎหมาย โจทก์จะยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลพร้อมกับคำฟ้องขอให้ศาลพิจารณาคดีนั้นโดยรวบรัดก็ได้ ถ้าศาลเห็นว่าคดีตามวรรคหนึ่งนั้นปรากฏในเบื้องต้นว่าเป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ไม่ว่าโจทก์จะได้ยื่นคำขอตามวรรคหนึ่งหรือไม่ ให้ศาลมีคำสั่งให้นำบทบัญญัติในหมวดนี้ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ เว้นแต่มาตรา 190 จัตวา มาใช้บังคับแก่คดีเช่นว่านั้นได้ ถ้าในระหว่างการพิจารณาปรากฏว่าคดีไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งมาตรานี้ ศาลอาจมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมแล้วดำเนินการพิจารณาต่อไปตามข้อบังคับแห่งคดีสามัญได้ (แก้ไข*ฉบับที่ 24* พ.ศ. 2551) หมวด 2 วิธีการยึดทรัพย์ อายัดทรัพย์ และการจ่ายเงิน หมวด 2 การพิจารณาโดยขาดนัด ส่วนที่ 1 การขาดนัดยื่นคำให้การ มาตรา 197 เมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การแล้ว จำเลย มิได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามกฎหมายหรือ ตามคำสั่งศาลให้ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ มาตรา 198 ถ้าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การให้โจทก์มีคำขอต่อ ศาลภายในสิบห้าวันนับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยยื่นคำให้ การได้สิ้นสุดลง เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้คนเป็น ฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัด ถ้าโจทก์ไม่ยื่นคำขอต่อศาลในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสียจากระบบความ ถ้าโจทก์ยื่นคำขอต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีโดยขาดนัดไปตาม มาตรา 198 ทวิ แต่ถ้าศาลมีเหตุสงสัยว่าจำเลยจะไม่ทราบหมายเรียกให้ ยื่นคำให้การ ก็ให้ศาลมีคำสั่งให้มีการส่งหมายเรียกใหม่โดยวิธี ส่งหมายธรรมดาหรือโดยวิธีอื่นแทน และจะกำหนดเงื่อนไข อย่างใดตามที่เห็นสมควรเพื่อให้จำเลยได้ทราบหมายเรียกนั้นก็ได้ มาตรา 198 ทวิ ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี โดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การมิได้ เว้นแต เห็นว่าคำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายในการนี้ ศาล ยกขึ้นอ้างโดยลำพังซึ่งข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ของประชาชนก็ได้ เพื่อประโยชน์ในการพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดีตามวรรคหนึ่ง ศาลอาจสืบพยานเกี่ยวกับข้ออ้างอิงของโจทก์หรือพยานหลักฐานอื่น ไปฝ่ายเดียวตามที่เห็นว่าจำเป็นก็ได้แต่ในคดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่ง สภาพบุคคล สิทธิในครอบครัวหรือคดีพิพาทเกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์ ในอสังหาริมทรัพย์ ให้ศาลสืบพยานหลักฐานโจทก์ไปฝ่ายเดียวและ ศาลอาจเรียกพยานหลักฐานอื่นมาสืบได้เองตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อ ประโยชน์แห่งความยุติธรรม ในการกำหนดจำนวนเงินตามคำขอบังคับของโจทก์ ให้ศาล ปฏิบัติดังนี้ ถ้าจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การไม่มาศาลในวันสืบพยานตาม มาตรานี้ มิให้ถือว่าจำเลยนั้นขาดนัดพิจารณา ถ้าโจทก์ไม่นำพยานหลักฐานมาสืบตามความใน มาตรานี้ ภายใน ระยะเวลาที่ศาลกำหนด ให้ถือว่าคดีของโจทก์ไม่มีมูล และให้ศาล ยกฟ้องของโจทก์ มาตรา 198 ตรี ในคดีที่จำเลยบางคนขาดนัดยื่นคำให้การ ให้ ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีโดยขาดนัดยื่นคำให้การระหว่าง โจทก์กับจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การนั้นไปก่อนและดำเนินการพิจารณาคดีระหว่างโจทก์กับจำเลย ที่ยื่นคำให้การต่อไป แต่ถ้ามูลความแห่งคดีนั้นเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ ให้ศาล รอการพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดีโดยขาดนัดยื่นคำให้การไว้ก่อน เมื่อศาลดำเนินการพิจารณาสำหรับจำเลยที่ยื่นคำให้การเสร็จสิ้นแล้ว ก็ให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีไปตามรูปคดีสำหรับจำเลย ทุกคน ในกรณีที่จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การไม่มาศาลในวันสืบพยาน ของคู่ความอื่นมิให้ถือว่าจำเลยนั้นขาดนัดพิจารณา มาตรา 199 ถ้าจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การมาก่อนศาลวินิจฉัย ชี้ขาดคดีและแจ้งต่อศาลในโอกาสแรกว่าตนประสงค์จะต่อสู้ให้ศาลเห็นว่าการขาดนัดยื่นคำให้การนั้น มิได้เป็นไปโดยจงใจ หรือเหตุอันสมควร ให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การภายใน กำหนดเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรและดำเนินกระบวนการพิจารณา ใหม่ตั้งแต่เวลาที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การมิได้แจ้ง ต่อศาลก็ดีหรือศาลเห็นว่าการขาดนัดยื่นคำให้การนั้นเป็นไปโดย จงใจหรือไม่มีเหตุอันสมควรก็ดี ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ในกรณีเช่นนี้ จำเลยอาจถามค้านพยานโจทก์ที่อยู่ระหว่างการสืบ ได้แต่จะนำสืบพยานหลักฐานของตนไม่ได้ ในกรณีที่จำเลยมิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง หรือศาลไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การตามวรรคสอง หรือศาลเคย มีคำสั่งให้พิจารณาคดีใหม่ตามคำขอของจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การตาม มาตรา 199 ตรี มาก่อน จำเลยนั้นจะขอยื่นคำให้การตาม มาตรานี้ อีกหรือจะร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ไม่ได้ มาตรา 199 ทวิ เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้ การแพ้คดีศาลอาจกำหนดการอย่างใด ตามที่เห็นสมควรเพื่อส่ง คำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การ โดยวิธีส่งหมายธรรมดาหรือโดยวิธีอื่นแทนหรือศาลจะให้เลื่อนการ บังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งเช่นว่านั้นไปภายในระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควรก็ได้ การบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งแก่จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำ ให้การนั้นให้บังคับตาม มาตรา 273 มาตรา 292 และ มาตรา 317 มาตรา 199 ตรี จำเลยซึ่งศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้ แพ้คดีโดยขาดนัดยื่นคำให้การ ถ้ามิได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาหรือ คำสั่งนั้น จำเลยนั้นอาจมีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ เว้นแต่ มาตรา 199 จัตวา คำขอให้พิจารณาคดีใหม่นั้น ให้ยื่นต่อศาล ภายในสิบห้าวันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ให้แก่จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การแต่ถ้าศาลได้กำหนดการอย่างใด ๆ เพื่อส่งคำบังคับเช่นว่านี้โดยวิธีส่งหมายธรรมดาหรือโดยวิธีอื่นแทน จะต้องได้มีการปฏิบัติตามข้อกำหนดนั้นแล้ว ในกรณีที่จำเลยที่ขาด นัดยื่นคำให้การไม่สามารถยื่นคำขอภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ จำเลยนั้นอาจยื่นคำขอให้ พิจารณาคดีใหม่ได้ภายในกำหนดสิบห้าวัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นั้น ได้สิ้นสุดลงแต่กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตามห้ามมิให้ยื่นคำขอเช่นว่านี้ เมื่อพ้นกำหนดหกเดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือได้มีการบังคับ ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่น คำขอตามวรรคหนึ่งให้กล่าวโดยชัดแจ้งซึ่งเห็นที่จำเลยได้ขาดนัด ยื่นคำให้การและข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลที่แสดงให้เห็นว่า หากศาลได้พิจารณาคดีนั้นใหม่ตนอาจเป็นฝ่ายชนะ และในกรณีที่ ยื่นคำขอล่าช้า ให้แสดงเหตุแห่งการที่ล่าช้านั้นด้วย มาตรา 199 เบญจ เมื่อศาลได้รับคำขอให้พิจารณาคดีใหม่แล้ว หากเห็นสมควรศาลจะมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนก็ได ในกรณี เช่นนี้ให้ศาลแจ้งคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ ในการพิจารณาคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ ถ้ามีเหตุควรเชื่อว่าการ ขาดนัดยื่นคำให้การนั้นมิได้เป็นไปโดยจงใจหรือมีเหตุอันสมควร และ ศาลเห็นว่าเหตุผลที่อ้างมาในคำขอนั้นผู้ขออาจมีทางชนะคดีได้ทั้ง ในกรณีที่ยื่นคำขอล่าช้านั้น ผู้ขอได้ยื่นภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอในกรณีเช่นนี้ถ้ามีการอุทธรณ์หรือฎีกา คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ให้คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดยื่นคำให้การแพ้คดี ให้ศาลแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาแล้วแต่กรณี ทราบด้วย เมื่อศาลได้มีคำสั่งอนุญาตตามคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ตาม วรรคสอง คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำ ให้การและคำพิพากษาหรือคำสั่งอื่น ๆ ของศาลอุทธรณ์หรือ ศาลฎีกาในคดีเดียวกันนั้น และวิธีการบังคับคดีที่ได้ดำเนินไปแล้ว ให้ถือว่าเป็นอันเพิกถอนไปในตัว และให้ศาลแจ้งให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีทราบ แต่ถ้าเป็นการพ้นวิสัยที่จะให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะ เดิมดังเช่นก่อนบังคับคดีได้ หรือเมื่อศาลเห็นว่าไม่จำเป็นที่จะบังคับ เช่นนั้น เพื่อประโยชน์แก่คู่ความหรือบุคคลภายนอก ให้ศาลมี อำนาจสั่งอย่างใด ๆ ตามที่เห็นสมควร แล้วให้ศาลพิจารณาคดีนั้น ใหม่ตั้งแต่เวลาที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ โดยให้จำเลยยื่นคำให้ การภายในกำหนดเวลาตามที่ศาลเห็นสมควร คำสั่งศาลที่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ ให้เป็นที่สุด แต่ในกรณี ที่ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตผู้ขออาจอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ คำพิพากษา ของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด ถ้าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การโดยจงใจ หรือไม่มีเหตุอันสมควร เป็นเหตุให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมมากกว่า ที่ควรจะต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นนั้นให้ถือว่าเป็นค่าฤชา ธรรมเนียมอันไม่จำเป็นตามความหมายแห่ง มาตรา 166 มาตรา 199 ฉ ในการที่โจทก์มิได้ให้การแก้ฟ้องแย้งของจำเลย ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ให้นำบทบัญญัติในส่วนที่ 1 นี้ มาใช้ บังคับเพียงเท่าที่เกี่ยวกับฟ้องแย้งเช่นว่านั้นโดยอนุโลม ส่วนที่ 2 การขาดนัดพิจารณา มาตรา 200 ภายใต้บังคับ มาตรา 198 ทวิ และ มาตรา 198 ตรี ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาลในวันสืบพยานและไม่ได้รับอนุญาต จากศาลให้เลื่อนคดีให้ถือว่าคู่ความฝ่ายนั้นขาดนัดพิจารณา ถ้าคู่ความฝ่ายใดไม่มาศาลในวันนัดอื่นที่มิใช่วันสืบพยาน ให้ถือว่า คู่ความฝ่ายนั้นสละสิทธิการดำเนินกระบวนพิจารณาของตนในนัดนั้น และทราบกระบวนพิจารณาที่ศาลได้ดำเนินไปในนัดนั้นด้วยแล้ว มาตรา 201 ถ้าคู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณา ให้ศาลมี คำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสียจากสารบบความ มาตรา 202 ถ้าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ให้ศาลมีคำสั่งคดีนั้นเสีย จากสารบบความ เว้นแต่จำเลยจะได้แจ้งต่อศาลในวันสืบพยานขอให้ ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป ก็ให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้น ไปฝ่ายเดียว มาตรา 203 ห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีตาม มาตรา 201 และ มาตรา 202 แต่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ว่าด้วยอายุความ คำสั่งเช่นว่านี้ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะเสนอคำฟ้อง ของตนใหม่ มาตรา 204 ถ้าจำเลยขาดนัดพิจารณา ให้ศาลพิจารณาและชี้ขาด ตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียว มาตรา 205 ในกรณีดังกล่าวมาใน มาตรา 202 และ มาตรา 204 ถ้ายังไม่เป็นที่พอใจของศาลว่าได้ส่งหมายกำหนดวันนัดสืบพยานไป ให้คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดทราบโดยชอบแล้ว ให้ศาลมีคำสั่งเลื่อนวันสืบ พยานไปและกำหนดวิธีการอย่างใดตามที่เห็นสมควร เพื่อให้มีการ ส่งหมายกำหนดวันนัดสืบพยานใหม่แก่คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดพิจารณา โดยวิธีส่งหมายธรรมดาหรือโดยวิธีอื่นแทน ถ้าได้กระทำดังเช่นว่า มาแล้วคู่ความฝ่ายนั้นยังไม่มาศาลก่อนเริ่มสืบพยานในวันที่กำหนด ไว้ในหมายนั้น ก็ให้ศาลดำเนินคดีนั้นไปดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา202 มาตรา 204 แล้วแต่กรณี มาตรา 206 คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะร้องต่อศาลให้วินิจฉัยชี้ขาด คดีให้ตนเป็นฝ่ายชนะโดยอาศัยเหตุแต่เพียงว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ขาดนัดพิจารณานั้นหาได้ไม่ให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดี ให้คู่ความที่มา ศาลเป็นฝ่ายชนะต่อเมื่อศาลเห็นว่าข้ออ้างของคู่ความเช่นว่านี้มีมูล และไม่ขัดต่อกฎหมาย ในการนี้ ศาลจะยกขึ้นอ้างโดยลำพังซึ่งข้อ กฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ได้ เพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีตามวรรคหนึ่ง ให้นำบทบัญญัติ มาตรา 188 วรรคสองและวรรคสาม มาใช้บังคับแก่คดี ของคู่ความที่มาศาลโดยอนุโลม ในระหว่างการพิจารณาคดีฝ่ายเดียว ถ้าคู่ความฝ่ายที่ขาดนัด พิจารณามาศาลภายหลังที่เริ่มต้นสืบพยานไปบ้างแล้วและแจ้งต่อศาล ในโอกาสแรกว่าตนประสงค์จะดำเนินคดีเมื่อศาลเห็นว่าการขาดนัด พิจารณานั้นมิได้เป็นไปโดยจงใจหรือมีเหตุอันสมควร และศาลไม่เคย มีคำสั่งให้พิจารณาคดีใหม่ตามคำขอของคู่ความฝ่ายนั้นก่อนตาม มาตรา 199 ตรี ซึ่งให้นำมาใช้บังคับกับการขาดนัดพิจารณาตาม มาตรา 207 ด้วย ให้ศาลมีคำสั่งให้พิจารณาคดีนั้นใหม่ ในกรณี เช่นนี้หากคู่ความนั้นขาดนัดพิจารณาอีก จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ ตาม มาตรานี้ ไม่ได้ ในกรณีตามวรรคสาม ถ้าคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดพิจารณามิได้แจ้ง ต่อศาลก็ดีหรือศาลเห็นว่าการขาดนัดพิจารณานั้นเป็นไปโดยจงใจ หรือไม่มีเหตุอันสมควรก็ดี หรือคำขอให้พิจารณาคดีใหม่นั้นต้อง ห้ามตามกฎหมายก็ดีให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป แต่ มาตรา 207 เมื่อศาลพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดพิจารณา แพ้คดีให้นำบทบัญญัติ มาตรา 199ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลม และ คู่ความฝ่ายนั้นอาจมีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติ มาตรา 199ตรี มาตรา 199 จัตวา และ มาตรา 199 เบญจ มาใช้ บังคับโดยอนุโลม มาตรา 208 (ยกเลิก) มาตรา 210 บรรดาคดีทั้งปวงซึ่งอยู่ในระหว่างพิจารณาของ ศาลชั้นต้นคู่ความจะตกลงกันเสนอข้อพิพาทอันเกี่ยวกับประเด็น ทั้งปวงหรือแต่ข้อใดข้อหนึ่งให้อนุญาโตตุลาการคนเดียวหรือ หลายคนเป็นผู้ชี้ขาดก็ได้ โดยยื่นคำขอร่วมกันกล่าวถึงข้อ ความแห่งข้อตกลงเช่นว่านั้นต่อศาล ถ้าศาลเห็นว่าข้อตกลงนั้นไม่ผิดกฎหมาย ให้ศาลอนุญาต ตามคำขอนั้น มาตรา 211 ถ้าในข้อตกลงมิได้กำหนดข้อความไว้เป็นอย่างอื่น การตั้งอนุญาโตตุลาการให้ใช้ข้อบังคับดั่งต่อไปนี้ มาตรา 212 ข้อความในหมวดนี้มิได้ให้อำนาจศาลที่จะตั้ง บุคคลใดเป็นอนุญาโตตุลาการโดยมิได้รับความยินยอมจากบุคคลนั้น มาตรา 213 เมื่อบุคคลหรือคู่ความที่มีสิทธิได้ตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นแล้ว ห้ามมิให้บุคคลหรือคู่ความนั้นถอนการตั้งเสีย เว้นแต่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะได้ยินยอมด้วย อนุญาโตตุลาการที่ตั้งขึ้นโดยชอบนั้น ถ้าเป็นกรณีที่ศาลหรือ บุคคลภายนอกเป็นผู้ตั้ง คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะคัดค้านก็ได้ หรือถ้าเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ตั้ง คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะคัดค้านก็ได้ โดยอาศัยเหตุดั่งที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 11 หรือ เหตุที่อนุญาโตตุลาการนั้นเป็นผู้ไร้ความสามารถหรือไม่สามารถ ทำหน้าที่อนุญาโตตุลาการได้ ในกรณีที่มีการคัดค้านอนุญาโต ตุลาการดั่งว่านี้ ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการคัดค้านผู้พิพากษา มาใช้บังคับโดยอนุโลม ถ้าการคัดค้านอนุญาโตตุลาการนั้นฟังขึ้น ให้ตั้งอนุญาโต ตุลาการขึ้นใหม่ มาตรา 214 ถ้าในข้อตกลงมิได้กำหนดค่าธรรมเนียมอนุญาโต ตุลาการไว้ อนุญาโตตุลาการชอบที่จะเสนอความข้อนี้ต่อศาลโดย ทำเป็นคำร้อง และให้ศาลมีอำนาจมีคำสั่งให้ชำระค่าธรรมเนียม ตามที่เห็นสมควร มาตรา 215 เมื่อได้ตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นแล้ว ถ้าในข้อตกลง หรือในคำสั่งศาล แล้วแต่กรณี มิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ ให้อนุญาโตตุลาการกำหนดประเด็นข้อพิพาทเหล่านั้นแล้วจดลง ในรายงานพิสดารกลัดไว้ในสำเนาคดีอนุญาโตตุลาการ มาตรา 216 ก่อนที่จะทำคำชี้ขาด ให้อนุญาโตตุลาการฟังคู่ความ ทั้งปวงและอาจทำการไต่สวนตามที่เห็นสมควรในข้อพิพาทอันเสนอ มาให้พิจารณานั้น อนุญาโตตุลาการอาจตรวจเอกสารทั้งปวงที่ยื่นขึ้นมาและฟังพยาน หรือผู้เชี่ยวชาญซึ่งเต็มใจมาให้การ ถ้าอนุญาโตตุลาการขอให้ศาล ส่งคำคู่ความหรือบรรดาเอกสารอื่น ๆ ในสำนวนเช่นว่านี้มาให้ตรวจดู ให้ศาลจัดการให้ตามคำร้องขอนั้น ถ้าอนุญาโตตุลาการเห็นว่าจำต้องดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างใด ที่ต้องดำเนินทางศาล (เช่นหมายเรียกพยาน หรือให้พยานสาบานตน หรือให้ส่งเอกสาร) อนุญาโตตุลาการอาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ต่อศาล ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาเช่นว่านั้น ถ้าศาลเห็นว่า กระบวนพิจารณานั้นอยู่ในอำนาจศาลและพึงรับทำให้ได้แล้ว ให้ ศาลจัดการให้ตามคำขอเช่นว่านี้โดยเรียกค่าธรรมเนียมศาล ตาม อัตราที่กำหนดไว้สำหรับกระบวนพิจารณาที่ขอให้จัดการนั้นจาก อนุญาโตตุลาการ ภายใต้บังคับบทบัญญัติ มาตรา 215 และ มาตรานี้ อนุญาโต ตุลาการมีอำนาจที่จะดำเนินตามวิธีพิจารณาใด ๆ ตามที่เห็นสมควร ก็ได้ เว้นแต่ในข้อตกลงจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น มาตรา 217 ถ้าในข้อตกลงมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น คำชี้ขาด ของอนุญาโตตุลาการนั้นให้อยู่ภายในบังคับต่อไปนี้ มาตรา 218 ให้นำบทบัญญัติ มาตรา 140 มาตรา 141 และ มาตรา 142 ว่าด้วย คำพิพากษา และคำสั่งของศาลมาใช้บังคับแก่คำชี้ขาดของอนุญาโต ตุลาการโดยอนุโลม ให้อนุญาโตตุลาการยื่นคำชี้ขาดของตนต่อศาลและให้ศาลพิพากษา ตามคำชี้ขาดนั้น แต่ถ้าศาลเห็นว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการขัดต่อกฎหมาย ประการใดประการหนึ่ง ให้ศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธไม่ยอม พิพากษาตามคำชี้ขาดนั้นแต่ถ้าคำชี้ขาดนั้นอาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ ศาลอาจให้อนุญาโตตุลาการหรือคู่ความที่เกี่ยวข้องแก้ไขเสียก่อน ภายในเวลาอันสมควรที่ศาลจะกำหนดไว้ มาตรา 219 ถ้าในข้อตกลงมิได้กำหนดข้อความไว้เป็นอย่างอื่น ในกรณีที่ไม่อาจดำเนินตามข้อตกลงเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการ ชี้ขาด เพราะบุคคลภายนอก ซึ่งรับมอบหมายให้เป็นผู้ตั้งอนุญาโต ตุลาการมิได้ตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้น หรืออนุญาโตตุลาการที่ตั้งขึ้น คนเดียวหรือหลายคนนั้นปฏิเสธไม่ยอมรับหน้าที่หรือตายเสียก่อน หรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือด้วยเหตุประการอื่นไม่อาจที่จะ ปฏิบัติหน้าที่ของตนได้ก่อนให้คำชี้ขาดหรือปฏิเสธหรือเพิกเฉย ไม่กระทำตามหน้าที่ของตนภายในเวลาอันสมควรถ้าคู่ความไม่ สามารถทำความตกลงกันเป็นอย่างอื่น ให้ถือว่าข้อตกลงนั้น เป็นอันสิ้นสุด มาตรา 220 ถ้ามีข้อพิพาทเกิดขึ้นเนื่องจากการดำเนินตาม ข้อตกลงเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด หรือมีข้อพิพาท กันว่าข้อตกลงนั้นได้สิ้นสุดลงตาม มาตราก่อนแล้วหรือหาไม่ ข้อ พิพาทนั้นให้เสนอต่อศาลที่เห็นชอบด้วยข้อตกลงดั่งกล่าวแล้ว มาตรา 221 การเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดนอกศาล ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ มาตรา 222 ห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งศาลซึ่งปฏิเสธไม่ยอมพิพากษา ตามคำสั่งชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ หรือคำพิพากษาของศาล ตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ เว้นแต่ในเหตุต่อไปนี้ ภาค 3 อุทธรณ์และฎีกา ลักษณะ 1 อุทธรณ์ มาตรา 223 ภายใต้บังคับบทบัญญัติ มาตรา 138 มาตรา 168 มาตรา 188 และ มาตรา 222 และในลักษณะนี้ คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้นให้ ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ เว้นแต่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นจะได้บัญญัติว่าให้เป็นที่สุด มาตรา 223 ทวิ ในกรณีที่มีการอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ผู้อุทธรณ์อาจขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา โดยทำเป็น คำร้องมาพร้อมคำฟ้องอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นซึ่งมีคำพิพากษาหรือ คำสั่งได้สั่งรับอุทธรณ์และส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และคำร้องแก่จำเลย อุทธรณ์แล้ว หากไม่มีคู่ความอื่นยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ตาม มาตรา 223 และจำเลยอุทธรณ์มิได้คัดค้านคำร้องดังกล่าวต่อศาลภายใน กำหนดเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ และศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นการอุทธรณ์ เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ให้สั่งอนุญาตให้ผู้อุทธรณ์ยื่นอุทธรณ์โดย ตรงต่อศาลฎีกาได้ มิฉะนั้นให้สั่งยกคำร้องในกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งยก คำร้องให้ถือว่าอุทธรณ์เช่นว่านั้นได้ยื่นต่อศาลอุทธรณ์ตาม มาตรา 223คำสั่งของศาล ชั้นต้นที่อนุญาตหรือยกคำร้องในกรณีนี้ให้เป็น ที่สุด เว้นแต่ในกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องเพราะเห็นว่าเป็นการ อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ไปยังศาลฎีกาภายในกำหนดสิบห้าวัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่ง ถ้าศาลฎีกาเห็นว่าอุทธรณ์ตามวิธีการในวรรคหนึ่งเป็นอุทธรณ์ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ให้ศาลฎีกาส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ชี้ขาดต่อไป มาตรา 224 ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาท กันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดใน พระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เว้นแต่ ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทำความเห็นแย้งไว้ หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ หรือถ้าไม่มีความเห็นแย้ง หรือคำรับรองเช่นว่านี้ ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือ จากอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอำนาจ แล้วแต่กรณี บทบัญญัติในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับในคดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพ บุคคลหรือสิทธิในครอบครัวและคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่ อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เว้นแต่ในคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ ในขณะยื่น คำฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาทหรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดใน พระราชกฤษฎีกา การขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น รับรองว่ามี เหตุอันควรอุทธรณ์ได้ให้ผู้อุทธรณ์ยื่นคำร้องถึงผู้พิพากษานั้นพร้อม กับคำฟ้องอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น เมื่อศาลได้รับคำร้องเช่นว่านั้น ให้ศาลส่งคำร้องพร้อมด้วยสำนวนความไปยังผู้พิพากษาดังกล่าว เพื่อพิจารณารับรอง (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2549) มาตรา 225 ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์นั้น คู่ความจะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์ และต้องเป็น ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งจะต้องเป็นสาระ แก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย ถ้าคู่ความฝ่ายใดมิได้ยกปัญหาข้อใดอันเกี่ยวด้วยความสงบ เรียบร้อยของประชาชนขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นหรือคู่ความฝ่ายใด ไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นเพราะ พฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณาชั้นอุทธรณ์ คู่ความ ที่เกี่ยวข้องย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นได้ มาตรา 226 ก่อนศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัด สินคดี ถ้าศาลนั้นได้มีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งนอกจากที่ระบุไว้ใน มาตรา 227 และ มาตรา 228 เพื่อประโยชน์แห่ง มาตรานี้ ไม่ว่าศาลจะได้มีคำสั่งให้รับคำฟ้อง ไว้แล้วหรือไม่ ให้ถือว่าคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งของศาลนับตั้งแต่มี การยื่นคำฟ้องต่อศาล นอกจากที่ระบุไว้ใน มาตรา 227 และ มาตรา 228 เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา มาตรา 227 คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับหรือให้คืนคำคู่ความ ตาม มาตรา 18 หรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตาม มาตรา 24 ซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องนั้น มิให้ถือว่าเป็นคำสั่งในระหว่าง พิจารณาและให้อยู่ภายในข้อบังคับของการอุทธรณ์คำพิพากษา หรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี มาตรา 228 ก่อนศาลชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลมีคำสั่งอย่างใด อย่างหนึ่งดั่งต่อไปนี้ คือ คำสั่งเช่นว่านี้ คู่ความย่อมอุทธรณ์ได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือน นับแต่วันมีคำสั่งเป็นต้นไป แม้ถึงว่าจะมีอุทธรณ์ในระหว่างพิจารณา ให้ศาลดำเนินคดีต่อไป และมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีนั้นแต่ถ้าในระหว่าง พิจารณาคู่ความอุทธรณ์คำสั่งชนิดที่ระบุไว้ในอนุมาตรา (3) ถ้าศาล อุทธรณ์เห็นว่าการกลับหรือแก้ไขคำสั่งที่คู่ความอุทธรณ์นั้นจะเป็น การวินิจฉัยชี้ขาดคดี หรือวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อใดที่ศาลล่างมิได้ วินิจฉัยไว้ ให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจทำคำสั่งให้ศาลล่างงดการพิจารณา ไว้ในระหว่างอุทธรณ์ หรืองดการวินิจฉัยคดีไว้จนกว่าศาลอุทธรณ์จะ ได้วินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์นั้น ถ้าคู่ความมิได้อุทธรณ์คำสั่งในระหว่างพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรานี้ ก็ให้อุทธรณ์ได้ในเมื่อศาลพิพากษาคดีแล้วตามความใน มาตรา 223 มาตรา 229 การอุทธรณ์นั้นให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้น ซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่งภายในกำหนดหนึ่งเดือน นับแต่วันที่ได้ อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น และผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียม ซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวาง ศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้นด้วย ให้ผู้อุทธรณ์ยื่นสำเนาอุทธรณ์ต่อศาล เพื่อส่งให้แก่จำเลยอุทธรณ์ (คือฝ่ายโจทก์หรือจำเลยความเดิมซึ่ง เป็นฝ่ายที่มิได้อุทธรณ์ความนั้น) ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 235 และ มาตรา 236 มาตรา 230 คดีตาม มาตรา 224 ถ้าคู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ให้ศาลชั้นต้นตรวจเสียก่อนว่าฟ้องอุทธรณ์นั้นจะรับไว้พิจารณาได้ หรือไม่ ถ้าผู้พิพากษาที่ได้พิจารณาคดีนั้นมีความเห็นแย้ง หรือได้รับรองไว้ แล้วหรือรับรองในเวลาที่ตรวจอุทธรณ์นั้น ว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ใน ปัญหาข้อเท็จจริงนั้นได้ ก็ให้ศาลมีคำสั่งรับอุทธรณ์นั้นไว้พิจารณาใน ปัญหาข้อเท็จจริงดั่งกล่าวแล้ว ถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคำรับรองเช่นว่านั้น ให้ศาลมีคำสั่งไม่รับ อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่กล่าวแล้ว ในกรณีเช่นนี้ถ้าอธิบดีผู้ พิพากษาหรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคมิได้เป็นคณะในคำสั่งนั้น ผู้ อุทธรณ์ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลถึงอธิบดีผู้พิพากษาหรืออธิบดีผู้ พิพากษาภาคภายในเจ็ดวัน เมื่อศาลได้รับคำร้องเช่นว่านั้น ให้ศาล ส่งคำร้องนั้นพร้อมด้วยสำนวนความไปยังอธิบดีผู้พิพากษาหรืออธิบดี ผู้พิพากษาภาค เพื่อมีคำสั่งยืนตามหรือกลับคำสั่งของศาลนั้น คำสั่ง ของอธิบดีผู้พิพากษาหรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคเช่นว่านี้ ให้เป็นที่สุด บทบัญญัติแห่ง มาตรานี้ ไม่ห้ามศาลในอันที่จะมีคำสั่งตาม มาตรา 232 ปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ในเหตุอื่น หรือในอันที่ศาลจะมีคำสั่งให้ส่ง อุทธรณ์นั้นไปเท่าที่เป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย มาตรา 231 การยื่นอุทธรณ์ย่อมไม่เป็นการทุเลาการบังคับ ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น แต่คู่ความที่ยื่นอุทธรณ์ อาจยื่นคำขอต่อศาลอุทธรณ์ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษา โดยทำ เป็นคำร้องชี้แจงเหตุผลอันสมควรแห่งการขอ ให้ศาลอุทธรณ์ทุเลาการ บังคับไว้ คำขอเช่นว่านั้น ให้ผู้อุทธรณ์ยื่นต่อศาลชั้นต้นได้จนถึงเวลาที่ศาล มีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ ถ้าภายหลังศาลได้มีคำสั่งเช่นว่านี้แล้ว ให้ยื่นตรงต่อศาลอุทธรณ์ ถ้าได้ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นก็ให้ศาลรีบส่ง คำขอนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินอย่างยิ่ง เมื่อ ศาลชั้นต้นได้รับคำขอไว้ก็ให้มีอำนาจทำคำสั่งให้ทุเลาการบังคับไว้รอ คำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลอุทธรณ์ในคำขอเช่นว่านั้น ถ้าผู้อุทธรณ์วางเงินต่อศาลชั้นต้น เป็นจำนวนพอชำระหนี้ตาม คำพิพากษารวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องร้องและการบังคับคดี หรือได้หาประกันมาให้สำหรับเงินจำนวนเช่นว่านี้จนเป็นที่พอใจ ของศาล ให้ศาลที่กล่าวมาแล้วงดการบังคับคดีไว้ดั่งที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 295 (1) เมื่อได้รับคำขอเช่นว่านี้ ศาลอุทธรณ์จะอนุญาตให้ทุเลาการบังคับ ไว้ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินก็ได้โดยมิต้องฟ้องคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง แต่ในกรณีเช่นว่านี้ให้ถือว่าคำสั่งนี้เป็นการชั่วคราว จนกว่าศาลจะ ได้ฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งในภายหลัง ถ้าศาลมีคำสั่งให้ทุเลาการ บังคับไว้ตามที่ขอ คำสั่งนี้อาจอยู่ภายใต้บังคับเงื่อนไขใด ๆ หรือไม่ก็ได้ ศาลจะมีคำสั่งให้ผู้อุทธรณ์ทำทัณฑ์บนว่าจะไม่ยักย้ายจำหน่ายทรัพย์สิน ของตนในระหว่างอุทธรณ์ หรือให้หาประกันมาให้ศาลให้พอกับเงินที่ ต้องใช้ตามคำพิพากษา หรือจะให้วางเงินจำนวนนั้นต่อศาลก็ได้ ถ้าผู้ อุทธรณ์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น ศาลจะสั่งให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สิน ของผู้อุทธรณ์นั้นก็ได้ และถ้าทรัพย์สินเช่นว่านั้น หรือส่วนใดส่วนหนึ่ง เป็นสังหาริมทรัพย์ ศาลอาจมีคำสั่งให้เอาออกขายทอดตลาดก็ได้ถ้า ปรากฏว่าการขายนั้นเป็นการจำเป็น และสมควรเพราะทรัพย์สินนั้น มีสภาพเป็นของเสียได้ง่ายหรือว่าการเก็บรักษาไว้ในระหว่างอุทธรณ์ น่าจะนำไปสู่ความยุ่งยาก หรือจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก มาตรา 232 เมื่อได้รับอุทธรณ์แล้ว ให้ศาลชั้นต้นตรวจอุทธรณ์ และมีคำสั่งให้ส่งหรือปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์นั้นไปยังศาลอุทธรณ์ตาม บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าศาลปฏิเสธไม่ส่งให้ศาลแสดง เหตุที่ไม่ส่งนั้นไว้ในคำสั่งทุกเรื่องไป ถ้าคู่ความทั้งสองฝ่ายได้ยื่น อุทธรณ์ ศาลจะวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้งสองฉบับนั้นในคำสั่งฉบับเดียวกัน ก็ได้ มาตรา 233 ถ้าศาลยอมรับอุทธรณ์และมีความเห็นว่าการอุทธรณ์ นั้นคู่ความที่ศาลพิพากษาให้ชนะจะต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมเพิ่มขึ้น ให้ศาลมีอำนาจกำหนดไว้ในคำสั่งให้ผู้อุทธรณ์นำเงินมาวางศาลอีก ให้พอกับจำนวนค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งจะต้องเสียดั่งกล่าวแล้ว ตาม อัตราที่ใช้บังคับอยู่ในเวลานั้น ก่อนสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์ หรือ ภายในระยะเวลาตามที่ศาลจะเห็นสมควรอนุญาตหรือตามแต่ผู้ อุทธรณ์ไม่นำเงินจำนวนที่กล่าวข้างต้น มาวางศาลภายในกำหนด เวลาที่อนุญาตไว้ก็ให้ศาลยกอุทธรณ์นั้นเสีย มาตรา 234 ถ้าศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์ คำสั่งศาลนั้นไปยังศาลอุทธรณ์โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้น และนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตาม คำพิพากษา หรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนดสิบห้าวัน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง มาตรา 235 เมื่อศาลชั้นต้นได้รับอุทธรณ์แล้ว ให้ส่งสำเนาอุทธรณ์ นั้นให้แก่จำเลยอุทธรณ์ภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่จำเลยอุทธรณ์ ยื่นคำแก้อุทธรณ์หรือถ้าจำเลยอุทธรณ์ไม่ยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายใน กำหนดเจ็ดวันนับแต่ระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน มาตรา 237 สำหรับ การยื่นคำแก้อุทธรณ์ได้สิ้นสุดลง ให้ศาลส่งอุทธรณ์และคำแก้อุทธรณ์ ถ้าหากมีพร้อมทั้งสำนวนและหลักฐานต่าง ๆ ไปยังศาลอุทธรณ์ เมื่อ ศาลอุทธรณ์ได้รับฟ้องอุทธรณ์และสำนวนความไว้แล้ว ให้นำคดีลง สารบบความของศาลอุทธรณ์โดยพลัน มาตรา 236 เมื่อคู่ความยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ปฏิเสธไม่ ยอมรับอุทธรณ์ ให้ศาลส่งคำร้องเช่นว่านั้นไปยังศาลอุทธรณ์โดย ไม่ชักช้าพร้อมด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีของศาลชั้นต้นและ ฟ้องอุทธรณ์ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นเป็นการจำเป็นที่จะต้องตรวจสำนวน ให้มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ ในกรณีเช่นนี้ให้ ศาลอุทธรณ์พิจารณาคำร้อง แล้วมีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาล ชั้นต้น หรือมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์คำสั่งนี้ให้เป็นที่สุด แล้วส่งไปให้ ศาลชั้นต้นอ่าน เมื่อได้อ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ให้รับอุทธรณ์แล้ว ให้ศาลชั้นต้นส่ง สำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยอุทธรณ์ และภายในกำหนดเจ็ดวัน นับแต่ วันที่จำเลยอุทธรณ์ยื่นคำแก้อุทธรณ์ หรือนับแต่ระยะเวลาที่กำหนด ไว้ใน มาตรา 237 สำหรับการยื่นคำแก้อุทธรณ์ได้สิ้นสุดลง ให้ศาล ส่งคำแก้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์หรือแจ้งให้ทราบว่าไม่มีคำแก้ อุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ได้รับคำแก้อุทธรณ์หรือแจ้งความ เช่นว่าแล้ว ให้นำคดีลงสารบบความของศาลอุทธรณ์โดยพลัน มาตรา 237 จำเลยอุทธรณ์อาจยื่นคำแก้อุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น ได้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันส่งสำเนาอุทธรณ์ ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ห้ามมิให้ศาลแสดงว่า จำเลยอุทธรณ์ขาดนัด เพราะไม่ยื่นคำแก้อุทธรณ์ มาตรา 238 ภายใต้บังคับ มาตรา 243 (3) ในคดีที่อุทธรณ์ได้แต่ เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายนั้น การวินิจฉัยปัญหาเช่นว่านี้ ศาล อุทธรณ์จำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยจากพยาน หลักฐานในสำนวน มาตรา 239 อุทธรณ์คำสั่งนั้นจะต้องพิจารณาก่อนอุทธรณ์ คำพิพากษาเท่าที่สามารถจะทำได้ แม้ถึงว่าอุทธรณ์คำพิพากษา นั้นจะได้ลงไว้ในสารบบความของศาลอุทธรณ์ก่อนอุทธรณ์คำสั่ง นั้นก็ดี มาตรา 240 ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะวินิจฉัยคดีโดยเพียงแต่ พิจารณาฟ้องอุทธรณ์ คำแก้อุทธรณ์ เอกสารและหลักฐานทั้งปวง ในสำนวนความซึ่งศาลชั้นต้นส่งขึ้นมา เว้นแต่ มาตรา 241 ถ้าคู่ความฝ่ายใดประสงค์จะมาแถลงการณ์ด้วยวาจา ในชั้นศาลอุทธรณ์ ให้ขอมาในตอนท้ายคำฟ้องอุทธรณ์หรือคำแก้ อุทธรณ์แล้วแต่กรณีและให้ศาลอุทธรณ์กำหนดนัดฟังคำแถลงการณ์ ด้วยวาจานั้น เว้นแต่ศาลอุทธรณ์จะพิจารณาเห็นว่าการแถลงการณ์ ด้วยวาจาไม่จำเป็นแก่คดี จะสั่งงดฟังคำแถลงการณ์เสียก็ได้ ในกรณี ที่ศาลอุทธรณ์นัดฟังคำแถลงการณ์ด้วยวาจาคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งชอบ ที่จะไปแถลงการณ์ด้วยวาจาในชั้นศาลอุทธรณ์ได้ด้วย ถึงแม้ว่าตน จะมิได้แสดงความประสงค์ไว้ การแถลงการณ์ด้วยวาจา ผู้ขอแถลงเป็นผู้แถลงก่อน แล้วอีก ฝ่ายหนึ่งแถลงแก้ แล้วผู้ขอแถลง แถลงได้อีกครั้งหนึ่ง ถ้าขอแถลง ทั้งสองฝ่ายให้ผู้อุทธรณ์แถลงก่อน ถ้าทั้งสองฝ่ายอุทธรณ์และต่าง ขอแถลง ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาสั่ง มาตรา 242 เมื่อศาลอุทธรณ์ได้ตรวจสำนวนความและฟังคู่ความ ทั้งปวงหรือสืบพยานต่อไปดังบัญญัติไว้ใน มาตรา 240 เสร็จแล้ว ให้ศาลอุทธรณ์ชี้ขาดตัดสินอุทธรณ์โดยประการใดประการหนึ่งในสี่ ประการนี้ มาตรา 243 ให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจดั่งต่อไปนี้ด้วยคือ ในคดีทั้งปวงที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษา หรือคำสั่งใหม่ตาม มาตรานี้ คู่ความชอบที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งใหม่เช่นว่านี้ ไปยังศาลอุทธรณ์ได้ตามบทบัญญัติแห่งลักษณะนี้ มาตรา 244 ศาลอุทธรณ์จะอ่านคำพิพากษานั้นเองหรือจะส่งไป ให้ศาลชั้นต้นอ่านก็ได้ ในกรณีเหล่านี้ให้ศาลที่อ่านคำพิพากษามีคำสั่ง กำหนดนัดวันอ่านส่งให้แก่คู่ความอุทธรณ์ทุกฝ่าย มาตรา 245 คำพิพากษาหรือคำสั่งชั้นอุทธรณ์ให้มีผลเฉพาะระหว่างคู่ความชั้นอุทธรณ์ เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2540) มาตรา 246 เว้นแต่ที่ได้บัญญัติไว้ดังกล่าวมาข้างต้น บทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีใน ศาลชั้นต้นนั้น ให้ใช้บังคับแก่การพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีใน ชั้นอุทธรณ์ได้โดยอนุโลม
มาตรา 247 ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งในชั้นอุทธรณ์แล้วนั้น ให้ยื่นฎีกาได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้ อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอุทธรณ์นั้น และภายใต้บังคับบทบัญญัติสี่มาตราต่อไปนี้กับกฎหมายอื่นว่าด้วยการฎีกา ให้นำบทบัญญัติในลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม มาตรา 248 ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาท กันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทหรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง เว้นแต่ผู้พิพากษา ที่ได้นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลอุทธรณ์ได้มีความเห็นแย้ง หรือผู้พิพากษา ที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นก็ดี ศาลอุทธรณ์ก็ดี ได้รับรองไว้หรือรับรองในเวลาตรวจฎีกาว่ามีเหตุสมควร ที่จะฎีกาได้ ถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคำรับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับ อนุญาตให้ฎีกาเป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4052/2552) บทบัญญัติในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับในคดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพ บุคคลหรือสิทธิในครอบครัว และคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่ อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เว้นแต่ในคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออก จากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ ในขณะยื่นคำฟ้อง ไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาทหรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา คดีเกี่ยวกับการบังคับวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของผู้ถูกฟ้องขับไล่ ซึ่งอยู่บนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งคู่ความในคดีฟ้องขับไล่นั้นต้องห้าม ฎีกาข้อเท็จจริงตามวรรคสอง ถ้าศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตาม คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้น หรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย ไม่ว่า ศาลจะฟังว่าบุคคลดังกล่าวสามารถแสดงอำนาจพิเศษให้ศาลเห็นได้ หรือไม่ ห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงเว้นแต่จะได้มีความเห็นแย้งหรือ คำรับรอง หรือหนังสืออนุญาตให้ฎีกาตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง การขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น หรือศาล อุทธรณ์รับรองว่ามีเหตุสมควรมี่จะฎีกาได้ ให้ผู้ฎีกายื่นคำร้องถึง ผู้พิพากษานั้นพร้อมกับคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้น เมื่อศาลได้รับ คำร้องเช่นว่านั้น ให้ส่งคำร้องพร้อมด้วยสำนวนความไปยังผู้ พิพากษาดังกล่าวเพื่อพิจารณารับรอง มาตรา 249 ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นฎีกานั้นคู่ความจะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในฎีกา และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งจะต้องเป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วยการวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่เป็นสาระแก่คดีข้อใดไม่ควรได้รับการ วินิจฉัยจากศาลฎีกา ให้กระทำโดยความเห็นชอบของรองประธาน ศาลฎีกาซึ่งประธานศาลฎีกามอบหมาย แต่ทั้งนี้ไม่กระทบถึงอำนาจของประธานศาลฎีกาตาม มาตรา 140 วรรคสอง ถ้าคู่ความฝ่ายใดมิได้ยกปัญหาข้อใดอันเกี่ยวด้วยความสงบ เรียบร้อยของประชาชนขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ หรือคู่ความฝ่ายใดไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าว ในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์เพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวน พิจารณาชั้นฎีกา คู่ความที่เกี่ยวข้องย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้าง ซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2039/2551) มาตรา 250 (ยกเลิก) มาตรา 251 ถ้าคู่ความซึ่งแพ้คดีในศาลชั้นต้นได้อุทธรณ์และ ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษากลับให้ตนชนะในข้อสารสำคัญอย่างใด อย่างหนึ่ง คู่ความฝ่ายนั้นจะยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นให้ถอนการยึด หรืออายัดทรัพย์สินหรือคืนเงินจำนวนที่วางไว้ต่อศาลในข้อนั้น ๆ ก็ได้ มาตรา 252 ถ้าคู่ความยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ยอมรับฎีกา ให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้องเช่นว่านั้นไปยังศาลฎีกาพร้อมกับฎีกา และ คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ถ้าศาลฎีกาเห็นจำเป็นจะต้องตรวจสำนวน ให้มีคำสั่งให้ศาลล่าง ส่งสำนวนนั้นไปยังศาลฎีกา ลักษณะ 1 วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา หมวด 1 หลักทั่วไป มาตรา 253 ถ้าโจทก์มิได้มีภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงาน อยู่ในราชอาณาจักรและไม่มีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับคดีได้อยู่ใน ราชอาณาจักรหรือถ้าเป็นที่เชื่อได้ว่า เมื่อโจทก์แพ้คดีแล้วจะ หลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย จำเลยอาจ ยื่นคำร้องต่อศาลไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษาขอให้ศาลมีคำสั่ง ให้โจทก์วางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้เพื่อการชำระค่า ฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้ ถ้าศาลไต่สวนแล้วเห็นว่า มีเหตุอันสมควรหรือมีเหตุเป็นที่ เชื่อได้ แล้วแต่กรณี ก็ให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินต่อศาลหรือ หาประกันมาให้ตามจำนวนและภายในระยะเวลาที่กำหนด โดย จะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ตามที่เห็นสมควรก็ได้ ถ้าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลตามวรรคสอง ให้ศาลมี คำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ เว้นแต่จำเลยจะขอให้ ดำเนินการพิจารณาต่อไปหรือมีการอุทธรณ์คำสั่งศาลตามวรรคสอง มาตรา 253 ทวิ ในกรณีที่โจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้าน คำพิพากษาถ้ามีเหตุใดเหตุหนึ่งตาม มาตรา 253 วรรคหนึ่ง จำเลย อาจยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณีไม่ว่าเวลา ใด ๆ ก่อนพิพากษา ขอให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินต่อศาล หรือ หาประกันมาให้เพื่อชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้ ในระหว่างที่ศาลชั้นต้นยังมิได้ส่งสำนวนความไปยังศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา คำร้องตามวรรคหนึ่งให้ยื่นต่อศาลชั้นต้น และให้ ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนแล้วส่งคำร้องนั้นพร้อมด้วยสำนวนความ ไปให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาสั่ง ให้นำความใน มาตรา 253 วรรคสอง และวรรคสาม มาใช้บังคับ แก่การพิจารณา ในชั้นอุทธรณ์และฎีกาโดยอนุโลม มาตรา 254 ในคดีอื่น ๆ นอกจากคดีมโนสาเร่ โจทก์ชอบที่จะยื่น ต่อศาลพร้อมกับคำฟ้อง หรือในเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษาซึ่งคำขอ ฝ่ายเดียว ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งภายในบังคับแห่งเงื่อนไขซึ่งจะกล่าว ต่อไป เพื่อจัดให้มีวิธีคุ้มครองใด ๆ ดังต่อไปนี้ ในระหว่างระยะเวลานับแต่ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ได้อ่าน คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีหรือชี้ขาดอุทธรณ์ ไปจนถึงเวลา ที่ศาลชั้นต้นได้ส่งสำนวนความที่อุทธรณ์หรือฎีกาไปยังศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกาแล้วแต่กรณี คำขอตาม มาตรานี้ ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่งอนุญาตหรือยกคำขอเช่นว่านี้ มาตรา 255 ในการพิจารณาอนุญาตตามคำขอที่ยื่นไว้ตาม มาตรา 254 ต้องให้เป็นที่พอใจของศาลว่า คำฟ้องมีมูลและมีเหตุเพียงพอที่ จะนำวิธีคุ้มครองตามที่ขอนั้นมาใช้ได้ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งตาม มาตรา 254 (1) ต้องให้เป็นที่พอใจของศาลว่า มาตรา 256 ในกรณีที่ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งตาม มาตรา 254 (2) หรือ(3) ถ้าศาลเห็นว่าหากให้โอกาสจำเลยคัดค้านก่อนจะ ไม่เสียหายแก่โจทก์ ก็ให้ศาลแจ้งกำหนดวันนั่งพิจารณาพร้อมทั้ง ส่งสำเนาคำขอให้แก่จำเลยโดยทางเจ้าพนักงานศาล จำเลย จะเสนอข้อคัดค้านของตนในการที่ศาลนั่งพิจารณาคำขอนั้นก็ได้ มาตรา 257 ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งอนุญาตตามคำขอที่ได้ยื่นตาม มาตรา 254 ได้ภายในขอบเขตหรือโดยมีเงื่อนไขอย่างใดก็ได้ แล้ว แต่จะเห็นสมควร ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอที่ได้ยื่นตาม มาตรา 254 (2) ให้ศาลแจ้งคำสั่งนั้นให้จำเลยทราบ ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยโอน ขาย ยักย้าย หรือจำหน่ายซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจำเลย ศาล จะกำหนดวิธีการโฆษณาตามที่เห็นสมควรเพื่อป้องกันการฉ้อฉลก็ได้ ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยโอน ขาย ยักย้าย หรือจำหน่ายซึ่งทรัพย์สินที่พิพาท หรือทรัพย์สินของจำเลยที่กฎหมาย กำหนดไว้ให้จดทะเบียน หรือมีคำสั่งให้นายทะเบียน พนักงานเจ้า หน้าที่หรือบุคคลผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ระงับการจดทะเบียน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หรือการเพิกถอนการจดทะเบียน ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าว หรือที่เกี่ยวข้องกับการกระทำที่ถูกฟ้อง ร้องให้ศาลแจ้งคำสั่งนั้นให้นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือ บุคคลอื่นผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายทราบ และให้บุคคลดังกล่าว บันทึกคำสั่งของศาลไว้ในทะเบียน ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ก่อนที่จะศาลจะออกหมายยึด หมายอายัด หมายห้ามชั่วคราว หมายจับหรือคำสั่งใดๆ ศาลจะสั่งให้ผู้ขอนำ เงินหรือหาประกันตามจำนวนที่เห็นสมควรมาวางศาลเพื่อการชำระ ค่าสินไหมทดแทน ซึ่งจำเลยอาจได้รับตาม มาตรา 263 ก็ได้ มาตรา 258 คำสั่งศาลซึ่งอนุญาตตามคำขอที่ได้ยื่นตาม มาตรา 254 (1) นั้น ให้บังคับจำเลยได้ทันทีแล้วแจ้งคำสั่งนั้นให้จำเลยทราบ โดยไม่ชักช้าแต่จะใช้บังคับบุคคลภายนอก ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าได้รับโอน โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก่อนการแจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบมิได้ คำสั่งศาลซึ่งอนุญาตตามคำขอที่ได้ยื่นตาม มาตรา 254 (2) นั้น ให้บังคับจำเลยได้ทันทีถึงแม้ว่าจำเลยจะยังมิได้รับแจ้งคำสั่งเช่นว่านั้น ก็ตาม เว้นแต่ศาลจะได้พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นสมควร ให้คำสั่งมีผลบังคับเมื่อจำเลยได้รับแจ้งคำสั่งเช่นว่านั้นแล้ว คำสั่งศาลซึ่งอนุญาตตามคำขอที่ได้ยื่นตาม มาตรา 254 (3) ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจำเลยนั้น มีผลใช้บังคับ ได้ทันที ถึงแม้ว่านายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่นผู้มี อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายจะยังมิได้รับแจ้งคำสั่งเช่นว่านั้นก็ตาม เว้นแต่ศาลจะได้พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นสมควร ให้คำสั่ง มีผลบังคับเมื่อบุคคลดังกล่าวได้รับแจ้งคำสั่งเช่นว่านั้นแล้ว คำสั่งศาลซึ่งอนุญาตตามคำขอที่ได้ยื่นตาม มาตรา 254 (3) ที่เกี่ยวกับการกระทำที่ถูกฟ้องร้องให้มีผลใช้บังคับแก่นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่นผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ต่อเมื่อบุคคลดังกล่าวได้รับแจ้งคำสั่งเช่นว่านั้นแล้ว หมายจับจำเลยที่ศาลออกตามคำขอที่ได้ยื่นตาม มาตรา 254 (4) ให้บังคับได้ทั่วราชอาณาจักร การกักขังตามหมายจับเช่นว่านี้ ห้ามมิให้กระทำเกินหกเดือนนับแต่วันจับ มาตรา 258 ทวิ การที่จำเลยได้ก่อให้เกิด โอน หรือเปลี่ยนแปลง ซึ่งสิทธิในทรัพย์สินที่พิพาท หรือทรัพย์สินของจำเลยภายหลังที่คำสั่ง ของศาลที่ห้ามโอน ขาย ยักย้ายหรือจำหน่าย ซึ่งออกตามคำขอที่ ได้ยื่นตาม มาตรา 254 (2) มีผลใช้บังคับแล้วนั้น หาอาจใช้ยันแก่ โจทก์หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ไม่ถึงแม้ว่าราคาแห่งทรัพย์สินนั้น เกินกว่าจำนวนหนี้และค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องร้องและการ บังคับคดี และจำเลยได้จำหน่ายทรัพย์สินเพียงส่วนที่เกินจำนวนนั้น ก็ตาม การที่นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือบุคคลผู้มีอำนาจ หน้าที่ตามกฎหมายรับจดทะเบียนหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หรือเพิกถอนการจดทะเบียนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่พิพาทหรือ ทรัพย์สินของจำเลยภายหลังที่คำสั่งของศาลซึ่งออกตามคำขอที่ ได้ยื่น ตาม มาตรา 254 (3) มีผลใช้บังคับแล้วนั้นหาใช้ยันแก่โจทก์ หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ไม่ เว้นแต่ผู้รับโอนจะพิสูจน์ได้ว่าได้รับ โอนโดยสุจริต และเสียค่าตอบแทนก่อนที่นายทะเบียน พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือบุคคลอื่นผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายจะได้รับแจ้ง คำสั่ง การที่นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือบุคคลอื่นผู้มีอำนาจ หน้าที่ตามกฎหมายรับจดทะเบียนหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หรือเพิกถอนการจดทะเบียนที่เกี่ยวกับการกระทำที่ถูกฟ้องร้อง ภายหลังที่บุคคลดังกล่าว ได้รับแจ้งคำสั่งของศาลซึ่งออกตามคำขอ ที่ได้ยื่นตาม มาตรา 254 (3) แล้วนั้นยังไม่มีผลใช้บังคับตามกฎหมาย ในระหว่างใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา มาตรา 259 ให้นำบทบัญญัติลักษณะ 2 แห่งภาคนี้ว่าด้วยการ บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาใช้บังคับแก่วิธีการชั่วคราวก่อน พิพากษาด้วย โดยอนุโลม มาตรา 260 ในกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีมิได้ กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาที่ศาลได้สั่งไว้ในระหว่างการ พิจารณา มาตรา 261 จำเลยหรือบุคคลภายนอกซึ่งได้รับหมายยึดหมาย อายัดหรือ คำสั่งตาม มาตรา 254 (1) (2) หรือ (3) หรือจะต้องเสียหายเพราะหมาย ยึด หมายอายัด หรือคำสั่งดังกล่าว อาจมีคำขอ ต่อศาลให้ถอนหมาย เพิกถอนคำสั่ง หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่ง หมายยึดหรือหมายอายัดซึ่งออกตามคำสั่งดังกล่าวได้ แต่ถ้า บุคคลภายนอกเช่นว่านั้นขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึดหรือคัดค้าน คำสั่งอายัดให้นำ มาตรา 288 หรือ มาตรา 312 แล้วแต่กรณีมา ใช้บังคับโดยอนุโลม จำเลยซึ่งถูกศาลออกคำสั่งจับกุมตาม มาตรา 254 (4) อาจมี คำขอต่อศาลให้เพิกถอนคำสั่งถอนหมายหรือปล่อยตัวไปโดยไม่มี เงื่อนไขหรือให้ปล่อยตัวไปชั่วคราวโดยมีหลักประกันตามจำนวน ที่ศาลเห็นสมควรหรือไม่ก็ได้ ถ้าปรากฏว่าวิธีการที่กำหนดไว้ใน มาตรา 254 นั้น ไม่มีเหตุผล เพียงพอหรือมีเหตุอันสมควรประการอื่น ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตตาม คำขอหรือมีคำสั่งอื่นใดตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความ ยุติธรรมก็ได้ ทั้งนี้ศาลจะกำหนดให้ผู้ขอวางเงินต่อศาล หรือหา ประกันมาให้ตามจำนวนและภายในระยะเวลาที่เห็นสมควรหรือจะ กำหนดเงื่อนไขใดๆ ตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่ในกรณีที่เป็นการ ฟ้องเรียกเงิน ห้ามไม่ให้ศาลเรียกประกันเกินกว่าจำนวนเงินที่ฟ้อง รวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียม มาตรา 262 ถ้าข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่ศาลอาศัยเป็นหลัก ในการมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอในวิธีการชั่วคราวอย่างใดอย่างหนึ่ง นั้นเปลี่ยนแปลงไป เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อจำเลยหรือบุคคล ภายนอกตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 261 มีคำขอศาลที่คดีนั้นอยู่ใน ระหว่างพิจารณา จะมีคำสั่งแก้ไขหรือยกเลิกวิธีการเช่นว่านั้นเสีย ก็ได้ ในระหว่างระยะเวลานับแต่ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ได้อ่าน คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีหรือชี้ขาดอุทธรณ์ไปจนถึงเวลาที่ ศาลชั้นต้นได้ส่งสำนวนความที่อุทธรณ์หรือฎีกาไปยังศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี คำขอตาม มาตรานี้ ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้น และให้เป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะมีคำสั่งคำขอเช่นว่านั้น มาตรา 263 ในกรณีที่ศาลได้มีคำสั่งอนุญาตตามคำขอในวิธีการ ชั่วคราวตามลักษณะนี้ จำเลยซึ่งต้องถูกบังคับโดยวิธีการนั้น อาจยื่น คำขอต่อศาลชั้นต้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาของศาล ที่มีคำสั่งตามวิธีการชั่วคราวนั้นขอให้มีคำสั่งให้โจทก์ชดใช้ค่าสินไหม ทดแทนแก่ตนได้ในกรณีดังต่อไปนี้ เมื่อได้รับคำขอตามวรรคหนึ่ง ศาลมีอำนาจสั่งให้แยกการพิจารณา เป็นสำนวนต่างหากจากคดีเดิม และเมื่อศาลทำการไต่สวนแล้ว เห็นว่าคำขอนั้นรับฟังได้ก็ให้มีคำสั่งให้โจทก์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้แก่จำเลยได้ตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร ถ้าศาลที่มีคำสั่งตาม วิธีการชั่วคราวเป็นศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา เมื่อศาลชั้นต้นทำการ ไต่สวนแล้วให้ส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาแล้วแต่กรณี เป็น ผู้สั่งคำขอนั้น ถ้าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ศาลมีอำนาจบังคับ โจทก์เสมือนหนึ่งว่าเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา แต่ในกรณีที่ศาลมี คำสั่งให้โจทก์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม (1) ให้งดการบังคับ คดีไว้จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์แพ้คดี คำสั่งของศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ตามวรรคสอง ให้อุทธรณ์ หรือฎีกาได้ตามบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์หรือฎีกา มาตรา 264 นอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 253 และ มาตรา 254 คู่ความชอบที่จะยื่นคำขอต่อศาล เพื่อให้มีคำสั่งกำหนด วิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอในระหว่างการพิจารณาหรือ เพื่อบังคับตามคำพิพากษาเช่น ให้นำทรัพย์สินหรือเงินที่พิพาท มาวางต่อศาลหรือต่อบุคคลภายนอกหรือให้ตั้งผู้จัดการหรือผู้รักษา ทรัพย์สินของห้างร้านที่ทำการค้าที่พิพาท หรือให้จัดให้บุคคลผู้ไร้ ความสามารถอยู่ในความปกครองของบุคคลภายนอก คำขอตามวรรคหนึ่งให้บังคับตาม มาตรา 21 มาตรา 25 มาตรา 227 มาตรา 228 มาตรา 260 และ มาตรา 262 มาตรา 265 ในกรณีที่ศาลยอมรับเอาบุคคลเป็นประกันตามที่ บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้และบุคคลนั้นแสดงกิริยาซึ่งพอจะเห็น ได้ว่าจะทำให้โจทก์เสียเปรียบ หรือจะหลีกเลี่ยง ขัดขวางหรือกระทำ ให้เนิ่นช้าซึ่งการปฏิบัติตามหน้าที่ของตน ให้นำบทบัญญัติแห่งหมวด นี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด 2 คำขอในเหตุฉุกเฉิน เมื่อได้ยื่นคำร้องเช่นว่ามานี้ วิธีพิจารณาและชี้ขาดคำขอนั้นให้อยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติ มาตรา 267 มาตรา 268 และ มาตรา 269 มาตรา 267 ให้ศาลพิจารณาคำขอเป็นการด่วน ถ้าเป็นที่พอใจ จากคำแถลงของโจทก์หรือพยานหลักฐานที่โจทก์ได้นำมาสืบหรือ ที่ศาลได้เรียกมาสืบเองว่า คดีนั้นเป็นคดีมีเหตุฉุกเฉิน และคำขอนั้น มีเหตุผลสมควรอันแท้จริงให้ศาลมีคำสั่งหรือออกหมายตามที่ขอ ภายในขอบเขต และเงื่อนไขไปตามที่เห็นจำเป็นทันที ถ้าศาลมี คำสั่งให้ยกคำขอ คำสั่งเช่นว่านี้ให้เป็นที่สุด จำเลยอาจยื่นคำขอโดยพลัน ให้ศาลยกเลิกคำสั่งหรือหมาย นั้นเสีย และให้นำบทบัญญัติแห่งวรรคก่อนมาใช้บังคับโดยอนุโลม คำขอเช่นว่านี้อาจทำเป็นคำขอฝ่ายเดียวโดยได้รับอนุญาตจากศาล ถ้าศาลมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งเดิมตามคำขอ คำสั่งเช่นว่านี้ให้เป็นที่สุด การที่ศาลยกคำขอในเหตุฉุกเฉิน หรือยกเลิกคำสั่งที่ได้ออกตาม คำขอในเหตุฉุกเฉินนั้นย่อมไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำเสนอคำขอ ตาม มาตรา 254 นั้นใหม่ มาตรา 268 ในกรณีที่มีคำขอในเหตุฉุกเฉิน ให้ศาลมีอำนาจที่ จะใช้ดุลพินิจวินิจฉัยว่าคดีนั้นมีเหตุฉุกเฉินหรือไม่ ส่วนวิธีการที่ ศาลจะกำหนดนั้น หากจำเป็นต้องเสื่อมเสียแก่สิทธิของคู่ความใน ประเด็นแห่งคดี ก็ให้เสื่อมเสียเท่าที่จำเป็นแก่กรณี มาตรา 269 คำสั่งศาลซึ่งอนุญาตตามคำขอในเหตุฉุกเฉินนั้น ให้มีผลบังคับตามที่บทบัญญัติไว้ใน มาตรา 258 และ มาตรา 258 ทวิ อนึ่ง ศาลจะสั่งให้โจทก์รอการบังคับไว้ จนกว่าศาลจะได้วินิจฉัยชี้ขาด คำขอให้ยกเลิกคำสั่งหรือจนกว่าโจทก์จะได้วางประกันก็ได้ มาตรา 270 บทบัญญัติในหมวดนี้ให้ใช้บังคับแก่คำขออื่น ๆนอกจากคำขอตาม มาตรา 254 ได้ต่อเมื่อประมวลกฎหมายนี้หรือ กฎหมายอื่นบัญญัติไว้โดยชัดแจ้ง
มาตรา 271 ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดี (ลูกหนี้ตามคำพิพากษา) มิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทั้งหมด หรือบางส่วนคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคำ พิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้บังคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ได้ภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง โดยอาศัยและตาม คำบังคับที่ออกตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7823/2542 มาตรา 272 ถ้าศาลได้พิพากษาหรือมีคำสั่งอย่างใดซึ่งจะต้องมี การบังคับคดี ก็ให้ศาลมีคำบังคับกำหนดวิธีที่จะปฏิบัติตามคำบังคับ ในวันที่อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่ง และให้เจ้าพนักงานศาลส่งคำบังคับ นั้นไปยังลูกนี้ตามคำพิพากษา เว้นแต่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้อยู่ ในศาลในเวลาที่ศาลมีคำบังคับนั้น และศาลได้สั่งให้ลงลายมือชื่อไว้ เป็นสำคัญ มาตรา 273 ถ้าในคำบังคับได้กำหนดให้ใช้เงิน หรือให้ส่งทรัพย์สิน หรือให้กระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างใด ๆ ให้ศาลระบุไว้ใน คำบังคับนั้นโดยชัดแจ้ง ซึ่งระยะเวลาและเงื่อนไขอื่น ๆ อันจะต้อง ใช้เงิน ส่งทรัพย์สิน กระทำการหรืองดเว้นกระทำการใด ๆ นั้น แต่ถ้า เป็นคดีมโนสาเร่ ศาลไม่จำต้องให้เวลาแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา เกินกว่าสิบห้าวันในอันที่จะปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ถ้าศาลได้พิพากษาหรือมีคำสั่งโดยขาดนัด ให้ศาลให้เวลาไม่ต่ำ กว่าเจ็ดวันแก่คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดในอันที่จะปฏิบัติตามคำพิพากษา หรือคำสั่งนั้น ระยะเวลาที่ระบุไว้นั้น ให้เริ่มนับแต่วันที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ได้ลงลายมือชื่อไว้ในคำบังคับ หรือวันที่ได้ส่งคำบังคับให้แก่ลูกหนี้ ตามคำพิพากษา แล้วแต่กรณี เว้นแต่ศาลจะได้กำหนดไว้โดยชัด แจ้งว่าให้นับตั้งแต่วันใดวันหนึ่งในภายหลังต่อมาตามที่ศาลจะเห็น สมควรกำหนดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม นอกจากนี้ให้ศาลระบุไว้โดยชัดแจ้งในคำบังคับว่าในกรณีที่มิได้มี การปฏิบัติตามคำบังคับเช่นว่านี้ภายในระยะเวลาหรือภายในเงื่อนไข ที่ได้กำหนดไว้ ลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องถูกยึดทรัพย์หรือถูกจับ และจำขังดั่งที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ มาตรา 274 ถ้าบุคคลใด ๆ ได้เข้าเป็นผู้ค้ำประกันในศาลโดยทำหนังสือประกันหรือโดยวิธีอื่น ๆ เพื่อการชำระหนี้ตามคำพิพากษา หรือคำสั่งหรือแต่ส่วนใดส่วนหนึ่งแห่งคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น คำพิพากษาหรือคำสั่งเช่นว่านั้นย่อมใช้บังคับแก่การประกันนั้นได้ โดยไม่ต้องฟ้องผู้ค้ำประกันขึ้นใหม่ มาตรา 275 ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะขอให้บังคับคดีให้ยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาล เพื่อให้ออกหมายบังคับคดี คำขอนั้นให้ระบุโดยชัดแจ้ง มาตรา 276 ถ้าศาลเห็นว่าคำบังคับที่ขอให้บังคับนั้นได้ส่งให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญแล้วและระยะเวลาที่ศาลได้กำหนดไว้เพื่อให้ปฏิบัติตามคำบังคับนั้นได้ล่วงพ้นไปแล้วและคำขอนั้นมีข้อความระบุไว้ครบถ้วน ให้ศาลออกหมายบังคับคดีให้ทันทีหมายเช่นว่านี้ให้ศาลแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ เว้นแต่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้นจะได้นำหมายไปให้แก่เจ้าพนักงานเอง ส่วนลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้นให้ส่งสำเนาหมายให้ต่อเมื่อศาลได้มีคำสั่งให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเป็นผู้จัดการส่ง แต่ถ้ามิได้มีการส่งหมายดั่งกล่าวแล้วให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่ต้องแสดงหมายนั้น ในกรณีออกหมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ ถ้าศาลสงสัยว่าไม่สมควรยึดทรัพย์สินนั้น ศาลจะมีคำสั่งให้ผู้ขอยึดวางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้ตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควรในเวลาที่ออกหมายก็ได้ เพื่อป้องกันการบุบสลายหรือสูญหายอันจะพึงเกิดขึ้นเนื่องจากการยึดทรัพย์ผิด ในกรณีที่ออกหมายบังคับคดีให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาส่งมอบทรัพย์สิน กระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือให้ขับไล่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ให้ศาลระบุเงื่อนไขแห่งการบังคับคดีลงในหมายนั้นตาม มาตรา 213 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้ศาลกำหนดการบังคับคดีเพียงเท่าที่สภาพแห่งการบังคับคดีจะเปิดช่องให้ทำได้โดยทางศาลหรือโดยทางเจ้าพนักงาน บังคับคดี มาตรา 277 ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเชื่อว่าลูกหนี้ตาม คำพิพากษามีทรัพย์สินที่จะต้องถูกบังคับมากกว่าที่ตนทราบแล้ว เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอาจยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้อง ต่อศาล ขอให้ศาลทำการไต่สวนและออกหมายเรียกลูกหนี้ ตามคำพิพากษาหรือบุคคลอื่นที่เชื่อว่าอยู่ในฐานะที่จะให้ถ้อยคำอัน เป็นประโยชน์มาในการไต่สวนเช่นว่านั้น เมื่อมีคำขอเช่นว่านี้ ให้ศาลทำการไต่สวนตามกำหนดและเงื่อนไข ใด ๆ ที่เห็นสมควร ในคดีมโนสาเร่ หากศาลเห็นเป็นการสมควร ศาลจะออกหมาย เรียกลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลอื่นมาไต่สวนเกี่ยวกับทรัพย์สิน ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาก่อนออกหมายบังคับคดี แล้วจดแจ้งผล การไต่สวนไว้ในหมายบังคับคดีด้วยก็ได้ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้รับผิดในการรักษาไว้โดยปลอดภัย ซึ่งเงินหรือทรัพย์สินหรือเอกสารทั้งปวงที่ยึดมาหรือที่ได้ชำระ หรือส่งมอบให้แก่เจ้าพนักงานตามหมายบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบันทึกแล้วรักษาไว้ในที่ปลอดภัย ซึ่งวิธีการบังคับทั้งหลายที่ได้จัดทำไป และรายงานต่อศาลเป็นระยะ ๆ ไป ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีจะมอบหมายให้บุคคลอื่นปฏิบัติการแทนก็ได้ ทั้งนี้ ตามคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้หักค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีตามตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายนี้ เพื่อให้กรมบังคับคดีพิจารณาจ่ายเป็นค่าตอบแทนแก่ผู้ที่ได้รับมอบหมายตามวรรคสี่ โดยไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมกำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง มาตรา 278 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งภาคนี้ว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีนับแต่วันที่ได้ส่งหมายบังคับคดีให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือถ้าหมายนั้นมิได้ส่งนับแต่วันออกหมายนั้นเป็นต้นไป ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจในฐานเป็นผู้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในอันที่จะรับชำระหนี้หรือทรัพย์สินที่ลูกหนี้นำมาวางและออกใบรับให้กับมีอำนาจที่จะยึดหรืออายัดและยึดถือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้ และมีอำนาจที่จะเอาทรัพย์สินเช่นว่านี้ออกขายทอดตลาดทั้งมีอำนาจที่จะจำหน่ายทรัพย์สินหรือเงินรายได้จากการนั้นและดำเนินวิธีการบังคับทั่วๆ ไปตามที่ศาลได้กำหนดไว้ในหมายบังคับคดี รวมทั้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับคดีได้โดยให้ถือเสมือนเป็นเจ้าพนักงานศาล (วรรคหนึ่ง แก้ไข*ฉบับที่ 25*พ.ศ. 2551) มาตรา 278/1 ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจส่งเอกสารเกี่ยวกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามลักษณะ 1 แห่งภาคนี้ และให้รายงานการส่งเอกสารนั้นรวมไว้ในสำนวนการบังคับคดีด้วย ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติมาตรา 73 มาตรา 74 มาตรา 76 มาตรา 77 มาตรา 78 และมาตรา 80 มาใช้บังคับโดยอนุโลม นอกจากการส่งเอกสารตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจสั่งให้ส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ โดยให้ผู้มีหน้าที่นำส่งเป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมไปรษณียากร กรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าเอกสารที่ส่งโดยเจ้าพนักงานไปรษณีย์มีผลเสมือนเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้ส่งและให้นำบทบัญญัติมาตรา 74 มาตรา 76 และมาตรา 77 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ถ้าการส่งเอกสารไม่สามารถจะทำได้ดังที่บัญญัติไว้ตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจสั่งให้ส่งเอกสารโดยวิธีอื่นแทนได้ กล่าวคือ ปิดเอกสารไว้ในที่แลเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของบุคคลผู้มีชื่อระบุไว้ในเอกสารหรือมอบหมายเอกสารไว้แก่เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองในท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานตำรวจ แล้วปิดประกาศแสดงการที่ได้มอบหมายดังกล่าวแล้ว หรือลงโฆษณา หรือทำวิธีอื่นใดตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ ให้มีผลใช้ได้ต่อเมื่อกำหนดเวลาสิบห้าวันหรือระยะเวลานานกว่านั้นตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควรกำหนดได้ล่วงพ้นไปแล้วนับตั้งแต่เวลาที่เอกสารหรือประกาศแสดงการมอบหมายนั้นได้ปิดไว้หรือการโฆษณาหรือวิธีอื่นใดตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีสั่งนั้นได้ทำหรือได้ตั้งต้นแล้ว (เพิ่มเติม*ฉบับที่ 25*พ.ศ. 2551) มาตรา 279 เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องดำเนินการบังคับคดี แต่ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกในวันทำการงานปกติ เว้นแต่ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินโดยได้รับอนุญาตจากศาล ถ้ามีผู้ขัดขวาง เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะร้องขอความ ช่วยเหลือจากเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อดำเนินการบังคับคดีจนได้ มาตรา 280 เพื่อประโยชน์แห่งบทบัญญัติในภาคนี้ บุคคลต่อไปนี้ ให้ถือว่ามีส่วนได้เสียในวิธีบังคับคดีอันเกี่ยวด้วยทรัพย์สินอย่างใด อย่างหนึ่ง หรือสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษา มาตรา 281 บุคคลผู้มีส่วนได้เสียในวิธีการบังคับคดีอาจมาอยู่ ด้วยในเวลาบังคับคดีนั้น แต่ต้องไม่ทำการป้องกันหรือขัดขวางแก่การ บังคับคดี บุคคลที่กล่าวนั้นอาจร้องขอสำเนาบันทึกที่เจ้าพนักงาน บังคับคดีทำขึ้นทั้งสิ้นหรือแต่บางฉบับอันเกี่ยวด้วยวิธีการบังคับคดี นั้นโดยเสียค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดไว้ มาตรา 282 ถ้าคำพิพากษาหรือคำสั่งใดกำหนดให้ชำระเงิน จำนวนหนึ่งภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติห้า มาตราต่อไปนี้ เจ้าพนักงาน บังคับคดีย่อมมีอำนาจที่จะรวบรวมเงินให้พอชำระตามคำพิพากษา หรือคำสั่งโดยวิธียึดหรืออายัดและขายทรัพย์สินของลูกหนี้ ตามคำพิพากษาตามบทบัญญัติในลักษณะนี้ คือ เพื่อประโยชน์แห่ง มาตรานี้ ทรัพย์สินที่เป็นของภรรยาหรือที่เป็น ของบุตรผู้เยาว์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ซึ่งตามกฎหมายอาจ ถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือเป็นทรัพย์สิน ที่อาจบังคับเอาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้นั้น เจ้าพนักงานบังคับคดี อาจยึดหรืออายัดและเอาออกขายได้ตามที่บัญญัติไว้ข้างบนนี้ มาตรา 283 ถ้าจะต้องยึดหรืออายัดและขายทรัพย์สินของลูกหนี้ ตามคำพิพากษาตามความในมาตราก่อน เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบ ที่จะยึดหรืออายัดหรือขายบรรดาทรัพย์สินที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา อ้างว่าเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาภายใต้บังคับบทบัญญัติ มาตรา 284 และ มาตรา 288 ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยึดทรัพย์อันจะต้องยึดภายในเวลา อันควรต้องทำ โดยปราศจากความระมัดระวังหรือโดยสมรู้เป็นใจ กับลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลใดซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์ที่จะ ต้องยึด หรือเพิกเฉยไม่กระทำการโดยเร็วตามสมควร เจ้าหนี้ตาม คำพิพากษาผู้ต้องเสียหายเพราะการนั้น อาจยื่นคำร้องต่อศาลขอ ให้ปลดเปลื้องทุกข์ ถ้าศาลไต่สวนเป็นที่พอใจว่าข้ออ้างนั้นเป็น ความจริง ก็ให้ศาลมีคำสั่งว่าเจ้าพนักงานผู้นั้นตกอยู่ในความรับผิดจำต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เจ้าหนี้ ตามคำพิพากษาไม่ เกินกว่าจำนวนตามคำพิพากษา ถ้าเจ้าพนักงานไม่ชำระค่าสินไหม ทดแทนตามคำสั่งของศาล ศาลอาจออกหมายบังคับเอาแก่ทรัพย์สิน ของเจ้าพนักงานผู้นั้นได้ แต่ถ้าเจ้าพนักงานมีความสงสัยในการยึด หรืออายัดทรัพย์สินที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้นำชี้ดั่งกล่าวแล้ว ซึ่งบุคคลอื่นนอกจากลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลซึ่งเป็นเจ้า ของทรัพย์ที่ยึดนั้นมีชื่อเป็นเจ้าของในทะเบียน เจ้าพนักงานนั้นชอบ ที่จะงดเว้นยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้น และร้องต่อศาลให้กำหนดการ อย่างใด ๆ เพื่อมิให้ตนต้องรับผิดในค่าสินไหมทดแทนดั่งกล่าวมาแล้ว มาตรา 284 เว้นแต่จะได้มีกฎหมายบัญญัติไว้ หรือศาลจะได้มี คำสั่งเป็นอย่างอื่น ห้ามไม่ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม คำพิพากษาเกินกว่าที่พอจะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา พร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี อนึ่งถ้าได้เงินมาพอ จำนวนที่จะชำระหนี้แล้ว ห้ามไม่ให้เอาทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดออก ขายทอดตลาดหรือจำนำด้วยวิธีอื่น ความรับผิดต่อลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือต่อบุคคลภายนอกเพื่อ ความเสียหาย ถ้าหากมี อันเกิดจากการยึดและขายทรัพย์สินโดย มิชอบ หรือยึดทรัพย์สินเกินกว่าที่จำเป็นแก่การบังคับคดีนั้นย่อม ไม่ตกแก่เจ้าพนักงานบังคับคดี แต่ตกอยู่แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เว้นแต่ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้กระทำการฝ่าฝืนต่อบท บัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ มาตรา 285 ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อไปนี้ ย่อม ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาอันมีลักษณะเป็นของส่วนตัว โดยแท้เช่นหนังสือสำหรับวงศ์ตระกูลโดยเฉพาะ จดหมายหรือ สมุดบัญชีต่าง ๆ นั้น อาจยึดมาตรวจดูเพื่อประโยชน์แห่งการบังคับ คดีได้ ถ้าจำเป็นแต่ห้ามมิให้เอาออกขายทอดตลาด ประโยชน์แห่งข้อยกเว้นที่บัญญัติไว้ใน มาตรานี้ ให้ขยายไปถึง ทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง อันเป็นของภริยาหรือของบุตรผู้เยาว์ของ ลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งทรัพย์สินเช่นว่านี้ตามกฎหมายอาจถือได้ ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือเป็นทรัพย์สินที่อาจ บังคับเอาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ คำสั่งของศาลตามวรรคหนึ่ง (1) และ (2) ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ได้ และคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด มาตรา 286 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น เงินหรือสิทธิเรียกร้องเป็นเงินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อไปนี้ ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ในกรณีที่ศาลเป็นผู้กำหนดจำนวนเงินตาม (1) และ (3) ให้ศาลกำหนดให้ไม่ น้อยกว่าอัตราเงินเดือนขั้นต่ำสุดของข้าราชการพลเรือนในขณะนั้น และไม่เกินอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของข้าราชการพลเรือนในขณะนั้น โดยคำนึงถึงฐานะในทางครอบครัวของลูกหนี้ตามคำพิพากษาและจำนวนบุพการีและผู้สืบสันดาน ซึ่งอยู่ในความอุปการะของลูกหนี้ตามคำพิพากษาด้วย ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจออกคำสั่งอายัดตาม มาตรา 311 วรรคสอง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจกำหนดจำนวนเงินตาม (1) (3) และ (4) และให้นำความในวรรคสองมาใช้บังคับแก่การกำหนดจำนวนเงินตาม (1) และ (3) โดยอนุโลม แต่ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี ไม่เห็นด้วยกับจำนวนเงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนด บุคคลดังกล่าวอาจยื่นคำร้องต่อศาลภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการกำหนดจำนวนเงินเช่นว่านั้น เพื่อขอให้ศาลกำหนดจำนวนเงินใหม่ได้ ในกรณีที่พฤติการณ์แห่งการดำรงชีพของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้เปลี่ยนแปลงไป บุคคลตามวรรคสามจะยื่นคำร้องให้ศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดี แล้วแต่กรณี กำหนดจำนวนเงินตาม (1) และ (3) ใหม่ก็ได้ คำสั่งของศาลที่เกี่ยวกับการกำหนดจำนวนเงินตามมาตรานี้ให้อุทธรณ์ไปยังศาล
(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1551/2543) มาตรา 288 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง มาตรา 55 ถ้าบุคคลใด กล่าวอ้างว่าจำเลย หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สิน ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ ก่อนที่ได้เอาทรัพย์สินเช่นว่านี้ออก ขายทอดตลาด หรือจำหน่ายโดยวิธีอื่น บุคคลนั้นอาจยื่นคำร้องขอต่อ ศาลที่ออกหมายบังคับคดีให้ปล่อยทรัพย์สินเช่นว่านั้น ในกรณีเช่นนี้ ให้ผู้กล่าวอ้างนั้นนำส่งสำเนาคำร้องขอแก่โจทก์หรือเจ้าหนี้ตาม คำพิพากษา และจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาและเจ้าพนักงาน บังคับคดีโดยลำดับ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับคำร้องขอเช่นว่านี้ ให้งดการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินที่พิพาทนั้นไว้ในระหว่าง รอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลดั่งที่บัญญัติไว้ต่อไปนี้
ในกรณีจำนองอสังหาริมทรัพย์หรือบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์ อันได้ไปจดทะเบียนไว้นั้น ให้ยื่นคำร้องขอก่อนเอาทรัพย์สินนั้นออก ขายทอดตลาด ส่วนในกรณีอื่น ๆ ให้ยื่นคำร้องขอเสียก่อนส่งคำบอก กล่าวตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 319 ถ้าศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เอาทรัพย์ที่จำนองหลุด การยึดทรัพย์ที่ จำนองนั้นเป็นอันเพิกถอนไปในตัว ในกรณีอื่น ๆ ที่ศาลมีคำสั่งอนุญาต ตามคำร้องขอเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะได้รับแต่เงินที่เหลือ ถ้าหากมี ภายหลังที่หักชำระค่าธรรมเนียมการบังคับจำนองและ ชำระหนี้ผู้รับจำนองหรือเจ้าหนี้บุริมสิทธิแล้ว มาตรา 290 เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินอย่างใดของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แทนเจ้าหนี้ ตามคำพิพากษาแล้ว ห้ามไม่ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นซ้ำอีก แต่ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเช่นว่านี้มีอำนาจยื่นคำขอ โดยทำเป็นคำร้องต่อศาลที่ออกหมายบังคับให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้น เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ตนเข้าเฉลี่ยใน ทรัพย์สินหรือเงินที่ขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินนั้นได้ตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ห้ามมิให้ศาลอนุญาตตามคำขอเช่นว่ามานี้ เว้นแต่ศาลเห็นว่าผู้ยื่นคำขอไม่สามารถเอาชำระได้จากทรัพย์สินอื่น ๆ ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยภาษีอากรในอันที่จะสั่งยึด หรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา เพื่อชำระค่าภาษีอากรค้างให้มีสิทธิขอเฉลี่ยในทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานดังกล่าว ได้ยึดหรืออายัดไว้ก่อนแล้วเช่นเดียวกับเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามความในวรรคหนึ่ง แต่ถ้าเจ้าพนักงานมิได้ยึดหรืออายัดไว้ก่อน ให้ขอเฉลี่ยได้ภายในบังคับบทบัญญัติวรรค สอง ในกรณีที่ยึดทรัพย์สินเพื่อขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่น คำขอเช่นว่านี้ให้ ยื่นก่อนสิ้นระยะเวลาสิบสี่วันนับแต่วันที่มีการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินที่ขายทอดตลาด หรือจำหน่ายได้ในครั้งนั้น ๆ ในกรณีที่อายัดทรัพย์สิน ให้ยื่นคำขอเสียก่อนสิ้นระยะเวลาสิบสี่วันนับแต่วันชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้ ในกรณียึดเงิน ให้ยื่นคำขอเสียก่อนสิ้นระยะเวลาสิบสี่วันนับแต่วันยึด ในกรณีที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาผู้ยึดสละสิทธิในการบังคับคดี หรือเพิกเฉยไม่ ดำเนินการบังคับคดีภายในเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดผู้ขอเฉลี่ยหรือผู้ยื่นคำร้องตาม มาตรา 287 หรือตาม มาตรา 289 มีสิทธิขอให้ดำเนินการบังคับคดีต่อไป คำสั่งอนุญาตของศาลตามวรรคแปดให้เป็นที่สุด
คำสั่งอนุญาตของศาลตาม มาตรานี้ ให้เป็นที่สุด
ถ้าศาลเห็นว่าข้ออ้างของลูกหนี้ตามคำพิพากษามีเหตุฟังได้และ ถ้างดบังคับคดีไว้ไม่น่าจะเป็นที่เสียหายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ศาลอาจมีคำสั่งงดการบังคับคดีไว้ภายในระยะเวลาและเงื่อนไข ตามที่เห็นสมควร คำสั่งของศาลตาม มาตรานี้ ให้เป็นที่สุด
ถ้าได้งดการบังคับคดีตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 154 ให้เจ้า พนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีต่อไปโดยพลัน เมื่อเจ้าหนี้ ตามคำพิพากษาได้ปฏิบัติตามข้อความที่กล่าวไว้ใน มาตรานั้นแล้ว มาตรา 295 ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดีในกรณี ต่อไปนี้ มาตรา 295ทวิ ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพิกเฉยไม่ดำเนินการ บังคับคดีภายในระยะเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนด ให้ เจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ศาลสั่งถอนการบังคับคดีนั้นเสีย มาตรา 295ตรี ในกรณีที่มีการยึดทรัพย์สินซึ่งมิใช้ตัวเงิน หรือ ในกรณียึดหรืออายัดเงิน หรืออายัดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือ จำหน่ายเนื่องจากเจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดีนั้นเองหรือ ถอนโดยคำสั่งศาล และผู้ขอให้ยึดหรืออายัดไม่ชำระค่าธรรมเนียม เจ้าพนักงานบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขอหมายบังคับคดี แก่ทรัพย์สินของผู้นั้นเพื่อชำระค่าธรรมเนียม ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ถือว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในส่วนที่ เกี่ยวกับค่าธรรมเนียมนั้น และให้เจ้าพนักงานบังคับคดีบังคับคดีได้เอง โดยได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมทั้งปวงเพื่อประโยชน์ในการบังคับคดีนั้น นั้นเสีย มาตรา 296 ในกรณีที่คำบังคับ หมายบังคับคดี หรือคำสั่งศาลใน ชั้นบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะนี้ เมื่อศาลเห็นสมควร ไม่ว่าในเวลาใดก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง หรือเมื่อเจ้าพนักงาน บังคับคดีรายงานต่อศาล หรือเมื่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตาม คำพิพากษา หรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีซึ่งต้อง เสียหายเพราะเหตุดังกล่าวยื่นคำร้องต่อศาล ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่ง เพิกถอนหรือแก้ไขคำบังคับ หมายบังคับคดี หรือคำสั่งดังกล่าวทั้งหมด หรือบางส่วนหรือมีคำสั่งอย่างใดตามที่ศาลเห็นสมควร ภายใต้บังคับ มาตรา 309ทวิ วรรคสอง ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดี ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะนี้ เมื่อศาลเห็น สมควรไม่ว่าในเวลาใดก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง หรือเมื่อเจ้าหนี้ ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วน ได้เสียในการบังคับคดีซึ่งต้องเสียหายเพราะเหตุดังกล่าวยื่นคำร้อง ต่อศาลให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขกระบวนวิธีการ บังคับคดีทั้งปวง หรือวิธีการบังคับใด ๆ โดยเฉพาะ หรือมีคำสั่ง กำหนดวิธีการอย่างใดตามที่ศาลเห็นสมควร การยื่นคำร้องตาม มาตรานี้ อาจกระทำได้ไม่ว่าในเวลาใดก่อนการ บังคับคดีได้เสร็จลง แต่ต้องไม่ช้ากว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบข้อ ความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น แต่ทั้งนี้ผู้ยื่นคำร้อง ต้องมิได้ดำเนินการอันใดขึ้นใหม่หลังจากได้ทราบเรื่องฝ่าฝืนต่อ บทบัญญัติแห่งลักษณะนี้แล้ว หรือต้องมิได้ให้สัตยาบรรณแก่การ กระทำนั้น และในกรณีเช่นว่านี้ ผู้ยื่นคำร้องจะขอต่อศาลในขณะ เดียวกันนั้นให้มีคำสั่งงดการบังคับคดีไว้ในระหว่างวินิจฉัยชี้ขาดก็ได้ เพื่อประโยชน์แห่ง มาตรานี้ ให้ถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลง เมื่อ ได้มีการดำเนินการดังต่อไปนี้ ในการยื่นคำร้องต่อศาลตาม มาตรานี้ หากมีพยานหลักฐานเบื้องต้น แสดงว่าคำร้องนั้นไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้า เมื่อศาล เห็นสมควรหรือเมื่อเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลอื่นที่อาจได้รับความเสียหาย เนื่องจากการคำร้องดังกล่าวร้องขอ ศาลมีอำนาจที่จะ สั่งให้ผู้ยื่นคำร้องวางเงินหรือหาประกันต่อศาลตามจำนวนและภายใน ระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนด เพื่อเป็นประกันการชำระค่า สินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลนั้นได้ ถ้าผู้ยื่น คำร้องไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ให้ศาลมีคำสั่งยกคำร้องนั้นเสีย คำสั่งของศาลที่ออกตามความในวรรคนี้ให้เป็นที่สุด ในกรณีที่ศาลได้มีคำสั่งยกคำร้องที่ยื่นไว้ตามวรรคหนึ่งและ วรรคสองถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลอื่นที่ได้รับความ เสียหายเนื่องจากการยื่นคำร้องดังกล่าวเห็นว่าคำร้องนั้นไม่มีมูลและ ยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้าบุคคลดังกล่าวอาจยื่นคำร้องต่อศาล ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีคำสั่งยกคำร้องเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่ง ให้ผู้ยื่นคำร้องนั้นชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนได้ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้แยกการพิจารณาเป็นสำนวนต่างหากจาก คดีเดิม และเมื่อศาลไต่สวนแล้วเห็นว่าคำร้องนั้นรับฟังได้ให้ศาลมี คำสั่งให้ผู้ยื่นคำร้องนั้นชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตาม คำพิพากษาหรือบุคคลที่ได้รับความเสียหายดังกล่าวตามจำนวนที่ ศาลเห็นสมควร ถ้าผู้ยื่นคำร้องนั้นไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ศาลมี อำนาจบังคับผู้ยื่นคำร้องนั้นได้เสมือนหนึ่งว่าเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา มาตรา 296ทวิ ในกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาถูกพิพากษาให้ ขับไล่ หรือต้องออกไปหรือต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจาก อสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัยหรือทรัพย์ที่ครอบครอง ถ้าลูกหนี้ตาม คำพิพากษาไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบ ที่จะยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งตั้ง เจ้าพนักงานบังคับคดีให้จัดการให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเข้า ครอบครองทรัพย์ดังกล่าว เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจดำเนินการตามที่บัญญัติไว้ในห้ามาตราต่อไปนี้ มาตรา 296ตรี ถ้าทรัพย์ที่ต้องจัดการตามคำสั่งศาลนั้นไม่มี บุคคลใดอยู่อาศัย เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจมอบทรัพย์นั้น ทั้งหมดหรือบางส่วนให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเข้าครอบครอง ได้ทันที และถ้ามีความจำเป็น ให้มีอำนาจทำลายสิ่งกีดขวางอัน เป็นอุปสรรคในการที่จะจัดการให้เข้าครอบครองได้ตามสามควร ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้ายังมีสิ่งของของลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือของบุคคลใดอยู่ในทรัพย์ดังกล่าวนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีมี อำนาจจัดการมอบให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษารักษาไว้ หรือจัดการ ขนย้ายไปเก็บรักษา ณ สถานที่ใดโดยให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษา เป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายก็ได้ ในการนี้ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชี สิ่งของไว้และแจ้งหรือประกาศให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษารับคืนไป ภายในเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนด ถ้าลูกหนี้ตาม คำพิพากษาไม่รับสิ่งของนั้นคืนภายในเวลาที่กำหนด เจ้าพนักงาน บังคับคดี โดยได้รับอนุญาตจากศาล มีอำนาจขายทอดตลาดสิ่งของ นั้นแล้วเก็บรักษาเงินสุทธิหลังจากหักค่าใช้จ่ายไว้แทนสิ่งของนั้น ในกรณีที่สิ่งของของลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือของบุคคลใดที่ อยู่ในทรัพย์ตามวรรคสองมีสภาพเป็นของสดของเสียได้ ให้ เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจที่จะขายได้ทันที โดยวิธีขายทอดตลาด หรือวิธีอื่นที่สมควร ในกรณีสิ่งของนั้นถูกยึดหรืออายัดในการบังคับคดี เจ้าพนักงาน บังคับคดีมีอำนาจย้ายสถานที่เก็บรักษาตามที่เห็นสมควร ค่าใช้จ่าย ในการนี้ให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาผู้ถูกบังคับคดีเป็นผู้เสีย มาตรา 296จัตวา ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแจ้งต่อเจ้าพนักงาน บังคับคดีว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารยังไม่ออกไปตามคำ บังคับของศาล ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติดังต่อไปนี้ บุคคลที่เข้ามาอยู่อาศัยในทรัพย์นั้นในระหว่างที่เจ้าพนักงานบังคับ คดี จัดการให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเข้าครอบครอง ให้ถือว่าเป็น บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษา มาตรา 296เบญจ ในกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องรื้อถอน สิ่งปลูกสร้างออกไปจากทรัพย์นั้นด้วย เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจ จัดการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างนั้น และให้มีอำนาจขนย้ายสิ่งของออก จากสิ่งปลูกสร้างที่มีการรื้อถอนนั้นด้วย ค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนและ ขนย้ายสิ่งของให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นผู้เสีย ในการรื้อถอน ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศกำหนดการ รื้อถอนไว้ ณ บริเวณนั้นไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน และให้เจ้าพนักงานบังคับ คดีใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่พฤติการณ์ในการรื้อถอนนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ต้องรับผิดในการปฏิบัติหน้าที่ตาม มาตรานี้ เว้นแต่จะได้กระทำโดยมีเจตนาร้ายหรือประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรง วัสดุก่อสร้างที่ถูกรื้อถอนรวมทั้งสิ่งของที่ขนย้ายออกจากสิ่ง ปลูกสร้าง ถ้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองมิได้รับคืนไป เจ้าพนักงาน บังคับคดีมีอำนาจเก็บรักษาไว้ หรือขายแล้วเก็บเงินสุทธิไว้แทน ตัวทรัพย์นั้น ถ้าเจ้าของมิได้เรียกเอาทรัพย์หรือเงินนั้นภายใน กำหนดห้าปี นับแต่มีประกาศกำหนดการรื้อถอนให้ทรัพย์หรือเงิน ดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน ในกรณีที่สิ่งปลูกสร้างนั้นถูกยึดในการบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจขายทอดตลาดสิ่งปลูกสร้างนั้น แล้วเก็บเงินสุทธิ ที่เหลือจากหักค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมไว้แทน
มาตรา 296สัตต ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี ตาม มาตรา 296ตรี มาตรา 296จัตวา (3) และ มาตรา 296เบญจ เจ้าพนักงานบังคับคดีอาจร้องขอความช่วยเหลือจากพนักงานฝ่าย ปกครอง หรือตำรวจเพื่อให้สามารถดำเนินการตาม มาตรา 296ตรี มาตรา 296จัตวา (3) และ มาตรา 296เบญจ ได้ และในการนี้ ให้ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจจับกุมและควบคุมตัวผู้ ขัดขวางไว้เท่าที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ ของเจ้าพนักงานบังคับคดี มาตรา 297 ภายใต้บังคับ มาตรา 296ทวิ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ชอบที่จะยื่นคำขอฝ่ายเดียว โดยทำเป็นคำร้องต่อศาลไม่ว่าเวลา ใด ๆ นับแต่ระยะเวลาที่กำหนดไว้เพื่อการปฏิบัติตามคำพิพากษา หรือคำสั่งขอให้มีการบังคับได้ล่วงพ้นไปจนถึงเวลาที่การบังคับคดี ได้เสร็จสิ้นลง ขอให้ศาลมีคำสั่งจับกุมและกักขังลูกหนี้ตาม คำพิพากษาซึ่งจงใจไม่ปฏิบัติตามหมายบังคับคดี ห้ามไม่ให้ศาลอนุญาตตามคำขอนั้น เว้นแต่จะเป็นที่พอใจจาก พยานหลักฐานซึ่งผู้ร้องนำมาสืบที่ศาลเรียกมาสืบว่า มาตรา 298 เมื่อมีคำขอให้จับตัวลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยเหตุ จงใจขัดขืนไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ ให้ศาลออกหมายเรียกลูกหนี้ตาม คำพิพากษามาศาล ถ้าได้ออกหมายเรียกตามวรรคหนึ่งแล้ว ลูกหนี้นั้นไม่มาศาล และมิได้แจ้งเหตุอันสมควรในการที่ไม่มาให้ศาลทราบ หากศาล เห็นว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้รับหมายเรียกแล้ว ศาลจะออกหมาย จับลูกหนี้ตามคำพิพากษาก็ได้หรือถ้าลูกหนี้ตามคำพิพากษามาศาล แต่แสดงเหตุอันสมควรในการปฏิบัติตามคำบังคับมิได้ ศาลมีอำนาจ สั่งกักขังลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้นทันที หรือตั้งแต่วันใดวันหนึ่งที่ ศาลเห็นสมควรกำหนดก็ได้ ถ้าลูกหนี้ตามคำพิพากษายังคงขัดขืนอยู่ จนถึงวันนั้น ถ้าลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ได้รับหมายเรียก หรือได้แจ้งเหตุ อันสมควรต่อศาลในการที่ไม่มานั้น ให้ศาลเลื่อนการนั่งพิจารณา คำขอนั้นไปแต่ถ้าศาลเห็นว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาหลีกเลี่ยงไม่ รับหมาย ศาลจะออกหมายจับตามที่ขอทันทีก็ได้ ถ้าลูกหนี้ตามคำพิพากษามาศาลและแสดงเหตุอันสมควรได้ ศาลจะมีคำสั่งให้ยกคำขอหรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นก็ได้
ในกรณีที่ผิดสัญญาประกัน ศาลมีอำนาจสั่งบังคับตามสัญญาประกัน หรือตามจำนวนเงินที่ศาลเห็นสมควรโดยมิต้องฟ้องผู้ทำสัญญาประกัน
ถ้าศาลอุทธรณ์ได้ส่งคดีไปยังศาลชั้นต้นแห่งอื่นที่มิได้มี คำพิพากษา หรือคำสั่งที่อุทธรณ์นั้นเพื่อการพิจารณาและพิพากษา ใหม่ตาม มาตรา 243 (2) และ(3) ให้ศาลที่มีคำพิพากษาหรือ คำสั่งใหม่นั้นเป็นศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีเว้นแต่ศาลอุทธรณ์ จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ในกรณีที่ศาลได้ออกหมายบังคับคดีส่งไปให้อีกศาลหนึ่งบังคับ คดีแทนให้ส่งทรัพย์ที่ยึดได้หรือเงินที่ได้จากการขายทรัพย์นั้น แล้วแต่กรณี ไปยังศาลที่ออกหมาย เพื่อดำเนินการไปตาม กฎหมาย มาตรา 303 การยึดเอกสารและสังหาริมทรัพย์มีรูปร่างของลูกหนี้ ตามคำพิพากษานั้น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำโดย การยึดสังหาริมทรัพย์มีรูปร่างนั้น ครอบไปถึงดอกผลแห่งทรัพย์ นั้นด้วย มาตรา 304 การยึดอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำโดยนำเอาหนังสือสำคัญสำหรับทรัพย์สิน นั้นมา และฝากไว้ ณ สถานที่ใด หรือแก่บุคคลใดตามที่เห็นสมควร และแจ้งการยึดนั้นให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาและเจ้าพนักงานที่ดิน ผู้มีหน้าที่ทราบ ให้เจ้าพนักงานที่ดินบันทึกการยึดไว้ในทะเบียน ถ้าหนังสือสำคัญยังไม่ได้ออก หรือนำมาแสดงไม่ได้หรือหาไม่พบ ให้ถือว่าการที่ได้แจ้งการยึดต่อลูกหนี้ตามคำพิพากษาและเจ้าพนักงาน ที่ดินนั้น เป็นการยึดตามกฎหมายแล้ว การยึดอสังหาริมทรัพย์นั้น ครอบไปถึงเครื่องอุปกรณ์และดอก ผลนิตินัยของอสังหาริมทรัพย์นั้นด้วย เว้นแต่จะได้มีกฎหมายบัญญัติ ไว้เป็นอย่างอื่น ดอกผลธรรมดาที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องเป็น ผู้เก็บเกี่ยวหรือบุคคลอื่นเก็บเกี่ยวในนามของลูกหนี้นั้นเมื่อเจ้าพนักงาน บังคับคดีได้แจ้งเป็นหนังสือให้ทราบในขณะทำการยึดว่า จะทำการ เก็บเกี่ยวเองแล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีอาจจัดให้เก็บเกี่ยวดอกผลนั้น ได้เมื่อถึงกำหนด และทำการขายทอดตลาดตามบทบัญญัติในลักษณะนี้ มาตรา 305 การยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาดั่ง บัญญัติไว้ในสอง มาตรา ก่อนนี้ มีผลดั่งต่อไปนี้ มาตรา 306 เมื่อได้ยึดสังหาริมทรัพย์มีรูปร่าง หรือ อสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดหรือบางส่วนของลูกหนี้ตามคำพิพากษา แล้วให้เจ้าพนักงานบังคับคดียื่นคำขอต่อศาลขอให้สั่งอนุญาตให้ขาย ทอดตลาดทรัพย์สินนั้น ถ้าไม่มีผู้คัดค้านในการขายทรัพย์ ภายใต้บังคับบทบัญญัติ มาตรา 307 ให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอ แล้วให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้ทราบซึ่งคำสั่งขอศาลและวัน ขายทอดตลาดแก่บรรดาผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สิน ที่จะขายทอดตลาดซึ่งทราบได้ตามทะเบียน หรือโดยประการอื่น คำสั่งอนุญาตของศาลตาม มาตรานี้ ให้เป็นที่สุด มาตรา 307 ถ้ารายได้ประจำปีจากอสังหาริมทรัพย์หรือการประกอบอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือกสิกรรมของลูกหนี้ตามคำพิพากษา อาจเพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษา พร้อมด้วย ค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องร้องและการบังคับคดี เมื่อศาลเห็น สมควรหรือเมื่อลูกหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอ ศาลอาจมีคำสั่งตั้ง ผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์หรือการประกอบกิจการเหล่านั้นได้และ บังคับให้มอบเงินรายได้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนต่อเจ้าพนักงาน บังคับคดีภายในเวลาและกำหนดตามที่ศาลเห็นสมควร แทนการ สั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา คำสั่งของศาลตาม มาตรานี้ ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ได้และ คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด มาตรา 308 เมื่อศาลได้มีคำสั่งอนุญาตให้ขายแล้วเจ้าพนักงาน บังคับคดีอาจขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดได้เมื่อพ้นระยะเวลาอย่าง น้อยห้าวันนับแต่วันที่ยึด การขายนั้นให้ดำเนินตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และกฎกระทรวงว่าด้วยการนั้น และตามข้อกำหนดของศาลซึ่งระบุไว้ในคำสั่งอนุญาตให้ขายทรัพย์สิน นั้น ถ้าหากมี บทบัญญัติแห่ง มาตรานี้ ไม่ให้ใช้บังคับแก่ทรัพย์อันมีสภาพเป็น ของสดของเสียได้ ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจที่จะขาย ได้ทันที โดยวิธีขายทอดตลาด หรือวิธีอื่นที่สมควร มาตรา 309 ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม คำพิพากษานั้นให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติตามข้อบังคับต่อไปนี้ บุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินซึ่งจะต้องขาย อาจร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรวมหรือแยกทรัพย์สิน หรือขอให้ขายทรัพย์สินนั้นตามลำดับที่กำหนดไว้ หรือจะร้องคัดค้าน คำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่สั่งตามสามอนุ มาตรา ก่อนนั้นก็ได้ ในกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยอมปฏิบัติตามคำร้องขอหรือ คำคัดค้านเช่นว่านั้น ผู้ร้องจะยื่นคำขอต่อศาลโดยทำเป็นคำร้อง ภายในสองวันนับตั้งแต่วันปฏิเสธ เพื่อขอให้มีคำสั่งชี้ขาดในเรื่องนั้น ก็ได้ คำสั่งของศาลให้เป็นที่สุด และให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเลื่อน การขายไปจนกว่าศาลจะได้มีคำสั่ง หรือจนกว่าจะได้พ้นระยะเวลา ซึ่งให้นำเรื่องขึ้นสู่ศาลได้ มาตรา 309 ทวิ ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา นั้นก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุดที่เจ้าพนักงานบังคับคดี เห็นว่าเป็นราคาที่สมควรขายได้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบุคคลผู้มีสวนได้เสียในการบังคับคดีอาจคัดค้านว่าราคาดังกล่าวมีจำนวนต่ำเกินสมควร ในกรณีเช่นว่านี้ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเลื่อนการขายทอดตลาดทรัพย์สินไป เพื่อให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่คัดค้านหรือไม่ก็ตาม หาผู้ซื้อที่จะเสนอซื้อในราคาที่บุคคลดังกล่าวต้องการมาเสนอซื้อในการขายทอดตลาดทรัพย์สินครั้งต่อไป โดยให้ผู้เสนอราคาสูงสุดต้องผูกพันกับการเสนอราคาดังกล่าว เป็นระยะเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่เสนอราคานั้น และในการขายทอดตลาดทรัพย์สินครั้งต่อไป หากมีผู้เสนอราคาสูงสุดในจำนวนไม่สูงกว่าจำนวนที่ผู้เสนอราคาสูงสุด ได้เสนอในการขายทอดตลาดทรัพย์สินครั้งก่อน หรือไม่มีผู้ใดเสนอราคาเลย ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุดในการขายทอดตลาดทรัพย์สินครั้งก่อน แต่หากมีผู้เสนอราคาสูงสุดในการขายทอดตลาดทรัพย์สินครั้ง ต่อไปในจำนวนสูงกว่าจำนวนที่ผู้เสนอราคาสูงสุดได้เสนอในการขายทอดตลาดทรัพย์สินครั้งก่อน ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุดในการขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้น ในกรณีที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีเห็นว่าราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สิน มีจำนวนต่ำเกินสมควร และการขายทอดตลาดทรัพย์สินในราคาต่ำเกินสมควรนั้นเกิดจากการคบคิดกันฉ้อฉล ในระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในการเข้าสู้ราคา หรือความไม่สุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้า พนักงานบังคับคดีในการปฏิบัติหน้าที่บุคคลดังกล่าวอาจยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อขอให้มีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์สินตามบทบัญญัติแห่งลักษณะนี้ได้ และเมื่อศาลไต่สวนแล้วเห็นว่าคำร้องรับฟังได้ ให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องหรือแก้ไขหรือมีคำสั่งกำหนดวิธีการอย่างใด ตามที่ศาลเห็นสมควรให้เสร็จภายในกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันได้รับคำร้องนั้น ให้นำบทบัญญัติในวรรคสาม วรรคสี่ วรรคห้า และวรรคหกของ มาตรา 296 มาใช้บังคับแก่การยื่นคำร้องตามวรรคสองโดยอนุโลม คำสั่งศาลวรรคสองให้เป็นที่สุด มาตรา 309 ตรี เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ขายให้แก่ผู้ซื้อ หากทรัพย์สินที่โอนนั้นมีลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารอยู่อาศัย และลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารไม่ยอมออกไปจากอสังหาริมทรัพย์นั้น ผู้ซื้อชอบที่จะยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้น ตั้งอยู่ในเขตศาลให้ออกคำบังคับให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบริวาร ออกไปจากอสังหาริมทรัพย์นั้นภายในระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนด แต่ไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ถ้าลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ ให้บังคับตาม มาตรา 296 ทวิ มาตรา 296 ตรี มาตรา 296 จัตวา มาตรา 296 ฉ มาตรา 296 สัตต มาตรา 299 มาตรา 300 มาตรา 301 และ มาตรา 302 โดยอนุโลม ทั้งนี้ ให้เจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่งคำบังคับโดยผู้ซื้อมีหน้าที่จัดการนำส่ง และให้ถือว่าผู้ซื้อเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบริวารที่อยู่อาศัยในอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามบทบัญญัติดังกล่าว มาตรา 310 เมื่อได้มีการยึดทรัพย์แล้ว สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ อันมีต่อบุคคลภายนอกนั้น ให้จัดการดังต่อไปนี้ มาตรา 310 ทวิ ถ้าลูกหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิเรียกร้องต่อ บุคคลภายนอกให้ชำระเงินจำนวนเงินหรือเรียกให้ส่งมอบสิ่งของ นอกจากที่กำหนดไว้ใน มาตรา 310 ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัด และจำหน่ายไปตามที่บัญญัติไว้ในห้า มาตรา ต่อไปนี้ มาตรา 311 สิทธิเรียกร้องซึ่งระบุไว้ใน มาตรา 310 ทวิ นั้นให้ อายัดได้โดยคำสั่งอายัดซึ่งศาลได้ออกให้ตามที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ได้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องฝ่ายเดียว และเจ้าหนี้ได้นำส่งให้แก่ ลูกหนี้ตามคำพิพากษาและบุคคลซึ่งต้องรับผิดเพื่อการชำระเงิน หรือส่งมอบสิ่งของนั้น เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลอาจกำหนดไว้ในหมายบังคับคดีให้ เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจบังคับสิทธิเรียกร้องตาม มาตรา 310 ทวิ ก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ถือว่าคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับ คดีเป็นคำสั่งอายัดของศาล คำสั่งอายัดนั้นอาจออกให้ได้ไม่ว่าหนี้ของบุคคลภายนอกนั้นจะมี ข้อโต้แย้งหรือมีข้อจำกัดหรือเงื่อนไขหรือว่าได้กำหนดจำนวนไว้แน่นอน หรือไม่ คำสั่งนั้นต้องมีข้อห้ามลูกหนี้ตามคำพิพากษาให้งดเว้นการจำหน่าย สิทธิเรียกร้องตั้งแต่ขณะที่ได้ส่งคำสั่งนั้นให้ และมีข้อห้ามบุคคลภายนอก ไม่ให้ชำระเงินหรือส่งมอบสิ่งของให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา แต่ให้ ชำระหรือส่งมอบให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี ณ เวลา หรือภายในเวลา ตามที่กำหนดไว้ในคำสั่ง มาตรา 312 ถ้าบุคคลภายนอกที่ได้รับคำสั่งอายัดทรัพย์ปฏิเสธ หรือโต้แย้งหนี้ที่เรียกร้องเอาแก่ตน ศาลอาจทำการไต่สวนและ (1) ถ้าศาลเป็นที่พอใจว่าหนี้ที่เรียกร้องนั้นมีอยู่จริง ก็ให้มีคำสั่งให้บุคคล ภายนอกปฏิบัติตามคำสั่งอายัด หรือ (2) ถ้าศาลเห็นว่ารูปเรื่องจะ ทำให้เสร็จเด็ดขาดไม่ได้สะดวกโดยวิธีไต่สวน ก็ให้มีคำสั่งอย่างอื่นใด ในอันที่จะให้เรื่องเสร็จเด็ดขาดไปได้ตามที่เห็นสมควร ถ้าคำสั่งอายัดทรัพย์นั้นไม่มีการคัดค้าน หรือศาลได้มีคำสั่งรับรอง ดัง กล่าวแล้ว และบุคคลภายนอกมิได้ปฏิบัติตามนั้น เจ้าพนักงาน บังคับคดีอาจร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีแก่บุคคลภายนอกนั้น และดำเนินการไปเสมือนหนึ่งว่าบุคคลนั้นเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา ถ้าค่าแห่งสิทธิเรียกร้องซึ่งอายัดไว้นั้นต้องเสื่อมเสียไปเพราะ ความผิดของบุคคลภายนอก เนื่องจากการที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ไม่ว่าด้วยประการใด ๆ บุคคลภายนอกเช่นว่านั้นต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อความเสียหายใด ๆ ซึ่งเกิดขึ้นแก่เจ้าหนี้นั้น มาตรา 313 การอายัดสิทธิเรียกร้องแห่งรายได้เป็นคราว ๆ นั้น รวมตลอดถึงจำนวนเงินซึ่งถึงกำหนดชำระภายหลังการอายัดนั้นด้วย ถ้าสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีต่อบุคคลภายนอก ในอันที่จะเรียกให้ชำระเงินจำนวนหนึ่งนั้น มีการจำนองเป็นประกัน การอายัดสิทธิเรียกร้องให้รวมตลอดถึงการจำนองด้วย แต่ทั้งนี้ เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องแจ้งคำสั่งอายัดทรัพย์นั้นไปยังเจ้าพนักงาน ที่ดิน และให้เจ้าพนักงานที่ดินจดแจ้งไว้ในทะเบียนที่ดิน มาตรา 314 การอายัดสิทธิเรียกร้องดั่งบัญญัติไว้ในสอง มาตรา ก่อนนี้ให้มีผลดั่งต่อไปนี้ มาตรา 315 ถ้าสิ่งของที่จะต้องส่งมอบตามสิทธิเรียกร้องที่ถูก อายัดนั้นได้ส่งมอบให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีไปแล้ว ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีนำออกขายโดยการขายทอดตลาดดั่งที่บัญญัติไว้ในลักษณะนี้ ถ้าการจำหน่ายสิทธิเรียกร้องที่ถูกอายัดนั้นกระทำได้โดยยาก เนื่องจากการชำระหนี้นั้นต้องอาศัยการชำระหนี้ตอบแทน หรือด้วย เหตุอื่นใดและการบังคับคดีอาจล่าช้าเป็นการเสียหายแก่คู่ความทุก ฝ่าย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือแก่บุคคลผู้มีส่วนได้เสีย เมื่อคู่ความ หรือบุคคลเช่นว่านั้นหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีร้องขอ ศาลจะมีคำสั่ง กำหนดให้การจำหน่ายโดยวิธีอื่นก็ได้ มาตรา 316 ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีรายละเอียดแสดง จำนวนเงินทั้งหมดที่ได้ยึดหรือได้มาจากการจำหน่ายทรัพย์สินของ ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือที่ได้วางไว้กับตน นอกจากนี้ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีทำบัญชีพิเศษสำหรับทรัพย์สินแต่ละรายซึ่งอยู่ในบังคับการ จำนองหรือบุริมสิทธิพิเศษ ซึ่งได้มีการแจ้งให้ทราบโดยชอบแล้ว ตามที่กล่าวไว้ใน มาตรา 289 ภายใต้บังคับ มาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติลักษณะล้มละลาย และ มาตรา 292 ถึง มาตรา 295 แห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการรอ หรือการงดการบังคับคดีให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดสรรหรือแบ่งเฉลี่ย เงินนั้นดั่งบัญญัติไว้ใน มาตรา ไปนี้ มาตรา 317 ในกรณีที่จะต้องบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ซึ่งได้พิพากษาหรือสั่งโดยจำเลยขาดนัดนั้นห้ามมิให้เฉลี่ยเงินที่ได้มา จนกว่าระยะหกเดือนจะได้ล่วงพ้นไปแล้วนับแต่วันยึดทรัพย์ หรือ อายัดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา แต่ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา แสดงให้ศาลเป็นที่พอใจว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ทราบถึงคดีซึ่ง ขอให้มีการบังคับแล้วมิให้นำบทบัญญัติแห่ง มาตรานี้ มาใช้บังคับ มาตรา 318 ในกรณีที่มีเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแต่คนเดียวขอ ร้องให้บังคับคดี และมิได้มีการแจ้งให้ทราบซึ่งการจำนองหรือบุริมสิทธิ เหนือทรัพย์สินที่จำหน่ายได้มาดั่งที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 289 เมื่อ ได้จัดการจำหน่ายทรัพย์สินเสร็จ และได้หักค่าฤชาธรรมเนียมใน การบังคับคดีไว้แล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินตามจำนวนหนี้ ในคำพิพากษา และค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องร้องให้แก่เจ้าหนี้ ตามคำพิพากษา เพียงเท่าที่เงินรายได้จำนวนสุทธิจะพอแก่การที่ จะจ่ายให้ได้ มาตรา 319 ในกรณีที่มีเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหลายคนร้องขอ ให้บังคับคดี หรือได้มีการแจ้งให้ทราบซึ่งการจำนองหรือบุริมสิทธิ เหนือทรัพย์สินที่จำหน่ายได้มาดั่งที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 289 เมื่อได้จัดการจำหน่ายทรัพย์สินเสร็จและได้หักค่าฤชาธรรมเนียมในการ บังคับคดีไว้แล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีส่วนเฉลี่ย แสดงจำนวนเงินที่จ่ายให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หรือเจ้าหนี้ บุริมสิทธิแต่ละคน จากเงินรายได้จำนวนสุทธิที่พอแก่การที่จะจ่าย ให้ตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้เหล่านั้น ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือตามประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยการจ่ายเงินเช่นว่านี้ และให้เจ้าพนักงานบังคับคดีส่ง คำบอกกล่าวไปยังเจ้าหนี้เหล่านั้นขอให้ตรวจสอบบัญชีเช่น ว่านั้น และให้แถลงข้อคัดค้านภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ส่งคำบอก กล่าว ถ้าไม่ยื่นคำแถลงภายในเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าบัญชีส่วนเฉลี่ย นั้นเป็นที่สุด และให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้ เหล่านั้นตามบัญชี มาตรา 320 ในกรณีดั่งบัญญัติไว้ในมาตราก่อนนี้ ถ้ามีเจ้าหนี้ คนเดียวหรือหลายคนดั่งกล่าวแล้ว ยื่นคำแถลงคัดค้านบัญชีส่วนเฉลี่ย ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายในเวลาที่กำหนดไว้ ให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีออกหมายเรียกให้เจ้าหนี้ทุกคนมาในเวลา และ ณ สถานที่ ตามที่เห็นสมควร แต่ต้องให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวัน เจ้าหนี้จะไปตามหมายเรียกเช่นว่านั้นด้วยตนเอง หรือจะให้ผู้แทน ที่ได้รับมอบอำนาจโดยชอบไป และกระทำการแทนในกิจการทั้งหลาย อันเกี่ยวแก่เรื่องนั้นก็ได้ เมื่อได้ตรวจพิจารณาคำแถลงและฟังคำชี้แจงของเจ้าหนี้ผู้ที่มา ตามหมายเรียกแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำคำสั่งยืนตาม หรือ แก้ไขบัญชีส่วนเฉลี่ยนั้น แล้วให้อ่านให้เจ้าหนี้ที่มานั้นฟัง และให้ เจ้าหนี้ลงลายมือชื่อรับทราบไว้เป็นหลักฐาน และให้ส่งคำสั่งนั้นไปยัง เจ้าหนี้ผู้ซึ่งมิได้มาตามหมายเรียกด้วยถ้าหากมี ถ้าเจ้าหนี้คนใดไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าหนี้ นั้นชอบที่จะยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องคัดค้านคำสั่งนั้นต่อศาลชั้นต้น ได้ ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้อ่าน หรือที่ได้ส่งคำสั่งแล้วแต่กรณี แต่ถ้าเจ้าหนี้ที่ยื่นคำยื่นคำขอนั้นมิได้ไปตามหมายเรียกของ เจ้าพนักงานบังคับคดี และไม่สามารถแสดงเหตุผลดีในการที่ไม่ไป ต่อหน้าเจ้าพนักงานบังคับคดีนั้น ให้ศาลนั้นยกคำขอนั้นเสีย คำสั่งของศาลที่ออกตามความในวรรคนี้ให้เป็นที่สุด ถ้าเจ้าหนี้ซึ่งได้มาตามหมายเรียกทุกคนได้ยินยอมตามคำสั่งของ เจ้าพนักงานบังคับคดีและลงลายมือชื่อไว้เป็นพยานหลักฐานในการ ยินยอมนั้นแล้วและถ้าเจ้าหนี้ผู้ไม่มา ซึ่งมีสิทธิคัดค้านคำสั่งได้ มิได้ยื่นคำคัดค้านภายในเวลากำหนด ให้ถือว่าบัญชีส่วนเฉลี่ยนั้น เป็นที่สุด และให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้ตามนั้น ถ้าเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิคัดค้านคำสั่งได้ยื่นคำคัดค้าน ดั่งที่บัญญัติไว้ ข้างต้นแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเลื่อนการจ่ายส่วนเฉลี่ยไป จนกว่าศาลได้มีคำสั่งแล้ว หรือทำการจ่ายส่วนเฉลี่ยชั่วคราว ดั่งที่ บัญญัติไว้ใน มาตรา ต่อไป บทบัญญัติ มาตรานี้ ให้ใช้บังคับแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ในเรื่อง ค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีด้วยโดยอนุโลม มาตรา 321 เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่า ถ้าจะเลื่อนการจ่าย ส่วนเฉลี่ยไปจนกว่าได้จำหน่ายทรัพย์สินที่ประสงค์จะบังคับทั้งหมด หรือจนกว่าการร้องทั้งหมดที่มาสู่ศาลได้เสร็จเด็ดขาดแล้ว จะทำให้ บุคคลผู้มีส่วนเฉลี่ยในเงินรายได้แห่งทรัพย์สินที่บังคับนั้นทุกคนหรือ คนใดคนหนึ่งได้รับความเสียหาย เจ้าพนักงานบังคับคดีมีสิทธิที่จะ แบ่งเงินรายได้เท่าที่พอแก่การที่จะจ่ายให้ดั่งที่บัญญัติไว้ในสอง มาตราก่อนได้ ในเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้กันเงินไว้ สำหรับชำระค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดในการบังคับคดีที่เกิดขึ้น หรือจะเกิดขึ้นต่อไป และสำหรับชำระการเรียกร้องใด ๆ ที่ยังมี ข้อโต้แย้งไว้แล้ว มาตรา 322 เมื่อผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีทุกคนได้รับส่วนแบ่ง เป็นที่พอใจแล้ว ถ้ายังมีเงินที่จำหน่ายทรัพย์สินได้เหลืออยู่และเงิน ที่ยังเหลือเช่นว่านั้นได้ถูกอายัดตาม มาตรา 291 หรือโดยประการอื่น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจำหน่ายส่วนที่เหลือนั้นตาม มาตรา 291 หรือตามคำสั่งอายัดทรัพย์แล้วแต่กรณี ถ้าเงินรายได้จำนวนสุทธิที่จำหน่ายทรัพย์สินได้มานั้น ไม่ต้องการ ใช้สำหรับการบังคับคดีต่อไปก็ดี หรือมีเงินเหลืออยู่ภายหลังที่ได้หัก ชำระค่าฤชาธรรมเนียมและจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ทุกคนเป็นที่พอใจแล้ว ก็ดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินรายได้จำนวนสุทธิหรือส่วนที่ เหลือนั้นให้แก่ลูกหนี้ ตามคำพิพากษา และถ้าทรัพย์สินของบุคคล ภายนอกต้องถูกจำหน่ายไป เพื่อประโยชน์แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ให้จ่ายเงินรายได้จำนวนสุทธินั้นแก่บุคคลภายนอกตามสิทธิเรียกร้อง ของบุคคลภายนอกที่มีอยู่ต่อลูกหนี้ตามคำพิพากษา ถ้าได้จำหน่ายสังหาริมทรัพย์รายใดไปแล้วตาม มาตรา 288 และ ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดเป็นคุณแก่ผู้เรียกร้อง ให้ศาลหรือ เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่จำหน่ายได้แก่ผู้เรียกร้องไป มาตรา 323 บรรดาเงินต่าง ๆ ที่ค้างจ่ายอยู่ในศาลหรือที่ เจ้าพนักงานบังคับคดี ถ้าผู้มีสิทธิมิได้เรียกเอาภายในห้าปี ให้ตก เป็นของแผ่นดิน ค่าขึ้นศาล (เสียในเวลายื่นคำฟ้อง) (1) คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ให้คิดค่าขึ้น ศาลตามทุนทรัพย์ดังต่อไปนี้ ในการคำนวณ ถ้าทุนทรัพย์ไม่ถึงหนึ่งร้อยบาท ให้นับเป็นหนึ่งร้อยบาท เศษของ หนึ่งร้อยบาทถ้าถึงห้าสิบบาทให้นับเป็นหนึ่งร้อยบาท ถ้าต่ำกว่าห้าสิบบาทให้ปัดทิ้ง (2) คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ (3) คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และไม่อาจ คำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วย ให้คิดค่าขึ้นศาลตามอัตราใน (1) แต่ไม่ให้น้อยกว่าอัตราใน (2) (ก) หรือ (2) (ข) แล้วแต่กรณี (4) คดีที่ขอให้ชำระค่าเสียหาย ค่าอุปการะเลี้ยงดู หรือค่าเลี้ยงชีพก็ดี เงินปี เงินเดือน เงินเบี้ยบำนาญ ค่าบำรุงรักษา หรือเงินอื่น ๆ ก็ดี บรรดาที่ให้จ่ายมีกำหนดเป็น ระยะเวลาในอนาคตนอกจากดอกเบี้ย ค่าเช่าหรือค่าเสียหายที่ศาลมีอำนาจพิพากษาหรือสั่งตาม มาตรา 142 อยู่แล้ว ให้คิดค่าขึ้นศาลหนึ่งร้อยบาท ถ้าคดีนั้นมีคำขอให้ชำระหนี้ในเวลาปัจจุบัน หรือมีคำขอในข้อก่อน ๆ รวมอยู่ด้วย ให้คิดค่าขึ้นศาลสำหรับคำขอในข้อนี้เป็นอีกส่วนหนึ่ง |