

ส่วนที่ 4 หมายขัง หมายจำคุก หมายปล่อย มาตรา 71 ถึง มาตรา 76 ส่วนที่ 4 หมายขัง หมายจำคุก หมายปล่อย มาตรา 71 เมื่อได้ตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาแล้ว ในระยะใดระหว่างสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา ศาลจะออกหมายขังผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้ตาม มาตรา 87 หรือ มาตรา 88 ก็ได้ และให้นำบทบัญญัติใน มาตรา 66 มาใช้บังคับโดยอนุโลม หมายขังคงใช้ได้อยู่จนกว่าศาลจะได้เพิกถอน โดยออกหมายปล่อยหรือออกหมายจำคุกแทน ถ้าความปรากฏแก่ศาลว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยนั้นมีอายุไม่ถึงสิบแปดปี หรือเป็นหญิงมีครรภ์ หรือเพิ่งคลอดบุตรมาไม่ถึงสามเดือน หรือเจ็บป่วยซึ่งถ้าต้องขังจะถึงอันตรายแก่ชีวิต ศาลจะไม่ออกหมายขังหรือจะออกหมายปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยซึ่งถูกขังอยู่นั้นก็ได้ แต่ทั้งนี้ไม่ห้ามศาลที่จะมีคำสั่งให้ผู้นั้นอยู่ในความดูแลของเจ้าพนักงานหรือบุคคลที่ยินยอมรับผู้นั้นไว้ หรือกำหนดวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อป้องกันการหลบหนีหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ถ้าศาลมีคำสั่งเช่นว่านี้ในระหว่างสอบสวน ให้ใช้ได้ไม่เกินหกเดือนนับแต่วันมีคำสั่ง แต่ถ้ามีคำสั่งในระหว่างไต่สวนมูลฟ้องหรือระหว่างพิจารณา ให้ใช้ได้จนกว่าจะเสร็จการพิจารณา หากภายหลังที่ศาลมีคำสั่ง ผู้ต้องหาหรือจำเลยนั้นไม่ปฏิบัติตามวิธีการที่กำหนดหรือพฤติการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป ให้ศาลมีอำนาจเปลี่ยนแปลงคำสั่งหรือพิจารณาออกหมายขังได้ตามที่เห็นสมควร มาตรา 72 หมายปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยซึ่งต้องขังอยู่ตาม หมายศาลให้ออกในกรณีต่อไปนี้ มาตรา 73 คดีใดอยู่ระหว่างอุทธรณ์ฎีกา ถ้าจำเลยต้องควบคุม หรือขังมาแล้วเท่ากับหรือเกินกว่ากำหนดจำคุก หรือกำหนดจำคุก แทนตามคำพิพากษาให้ศาลออกหมายปล่อยจำเลย เว้นแต่จะเห็น สมควรเป็นอย่างอื่นในกรณีที่โจทก์อุทธรณ์ฎีกาในทำนองขอให้เพิ่มโทษ มาตรา 74 ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 73 และ มาตรา 185 วรรค 2 เมื่อ ผู้ใดต้องคำพิพากษาให้จำคุกหรือประหารชีวิตหรือจะต้องจำคุกแทน ค่าปรับ ให้ศาลออกหมายจำคุกผู้นั้นไว้ มาตรา 75 เมื่อผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุกถูกจำครบกำหนดแล้ว หรือได้รับพระราชทานอภัยโทษให้ปล่อย หรือมีคำวินิจฉัยให้ปล่อย ตัวไปโดยมีเงื่อนไขหรือมีกฎหมายยกเว้นโทษหรือโทษจำคุกนั้น หมดไปโดยเหตุอื่น ให้ศาลออกหมายปล่อยผู้นั้นไป มาตรา 76 หมายขัง หมายจำคุก หรือหมายปล่อย ต้องจัดการ ตามนั้นโดยพลัน
|