

หมวด 2 พยานบุคคล มาตรา 232 ถึง มาตรา 237 หมวด 2 พยานบุคคล
มาตรา 232 ห้ามมิให้โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยาน
มาตรา 233 จำเลยอาจอ้างตนเองเป็นพยานได้ ในกรณีที่จำเลย อ้างตนเองเป็นพยาน ศาลจะให้เข้าสืบก่อนพยานอื่นฝ่ายจำเลยก็ได้ ถ้าคำจำเลยซึ่งให้การเป็นพยานนั้นปรักปรำหรือเสียหายแก่จำเลยอื่น จำเลยอื่นนั้นซักค้านได้
มาตรา 234 พยานไม่ต้องตอบคำถามซึ่งโดยตรงหรืออ้อมอาจทำ ให้เขาถูกฟ้องคดีอาญา เมื่อมีคำถามเช่นนั้น ให้ศาลเตือนพยาน
มาตรา 235 ในระหว่างพิจารณา เมื่อเห็นสมควร ศาลมีอำนาจ ถามโจทก์จำเลยหรือพยานคนใดได้ ห้ามมิให้ถามจำเลยเพื่อประโยชน์แต่เฉพาะจะเพิ่มเติมคดีโจทก์ ซึ่งบกพร่อง เว้นแต่จำเลยจะอ้างตนเองเป็นพยาน
มาตรา 236 ในระหว่างพิจารณา ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ที่จะเป็น พยานซึ่งมิใช่จำเลย ออกไปอยู่นอกห้องพิจารณาจนกว่าจะเข้ามา เบิกความ อนึ่ง เมื่อพยานเบิกความแล้วจะให้รออยู่ในห้องพิจารณา ก่อนก็ได้
มาตรา 237 คำพยานชั้นไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณานั้น ให้ศาล อ่านให้พยานฟังต่อหน้าจำเลย เว้นแต่ในกรณีดั่งบัญญัติไว้ใน มาตรา 65 วรรค 3
มาตรา 237ทวิ ก่อนฟ้องคดีต่อศาล เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ ว่าพยานบุคคลจะเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ไม่มีที่อยู่เป็น หลักแหล่ง หรือเป็นบุคคลมีถิ่นที่อยู่ห่างไกลจากศาลที่พิจารณาคดีหรือ มีเหตุอันควรเชื่อว่าจะมีการยุ่งเหยิงกับพยานนั้นไม่ว่าโดยทางตรงหรือ ทางอ้อม หรือมีเหตุจำเป็นอื่นอันเป็นการยากแก่การนำพยานนั้นมาสืบ ในภายหน้า พนักงานอัยการโดยตรงเองหรือโดยได้รับคำร้องขอจากผู้ เสียหายหรือจากพนักงานสอบสวน จะยื่นคำร้องโดยระบุการกระทำ ทั้งหลายที่อ้างว่าผู้ต้องหาได้กระทำผิดต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้สืบ พยานนั้นไว้ทันทีก็ได้ ถ้ารู้ตัวผู้กระทำความผิด และผู้นั้นถูกควบคุมอยู่ ในอำนาจพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ ให้พนักงานอัยการ นำตัวผู้นั้นมาศาลหากถูกควบคุมอยู่ในอำนาจของศาล ให้ศาลเบิก ความตัวผู้นั้นมาพิจารณาต่อไป เมื่อศาลได้รับคำร้องเช่นว่านั้น ให้ศาลสืบพยานนั้นทันที ในการนี้ ผู้ต้องหาจะซักค้านหรือตั้งทนายซักค้านพยานนั้นด้วยก็ได้ ในกรณีตามวรรคสอง ถ้าเป็นกรณีที่ผู้ต้องหานั้นถูกกล่าวหาว่า กระทำความผิดอาญา ซึ่งหากมีการฟ้องคดีจะเป็นคดีซึ่งศาลจะต้อง ตั้งทนายความให้ หรือจำเลยมีสิทธิขอให้ศาลตั้งทนายความให้ตาม มาตรา 173 ก่อนเริ่มสืบพยานดังกล่าว ให้ศาลถามผู้ต้องหาว่ามี ทนายความหรือไม่ ในกรณีที่ศาลตั้งตั้งทนายความให้ ถ้าศาลเห็นว่า ตั้งทนายความให้ทันก็ให้ตั้งทนายความให้และดำเนินการสืบพยาน นั้นทันที แต่ถ้าศาลเห็นว่าไม่สามารถตั้งทนายความได้ทันหรือผู้ต้องหา ไม่อาจตั้งทนายความได้ทัน ก็ให้ศาลซักถามพยานนั้นให้แทน คำเบิกความของพยานดังกล่าวให้ศาลอ่านให้พยานฟัง หากมีตัว ผู้ต้องหาอยู่ในศาลด้วยแล้วก็ให้ศาลอ่านคำเบิกความดังกล่าวต่อหน้า ผู้ต้องหา ถ้าต่อมาผู้ต้องหานั้นถูกฟ้องเป็นจำเลยในการกระทำผิดอาญานั้น ก็ให้รับฟังคำพยานดังกล่าวในการพิจารณาคดีนั้นได้ ในกรณีที่ผู้ต้องหาเห็นว่า หากตนถูกฟ้องเป็นจำเลยแล้ว บุคคล ซึ่งจำเป็นจะต้องนำมาสืบเป็นพยานของตนจะเดินทางออกไปนอก ราชอาณาจักร ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หรือเป็นบุคคลมีถิ่นที่อยู่ห่าง ไกลจากศาลที่พิจารณาคดี หรือมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะมีการยุ่งเหยิง กับพยานนั้นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม หรือมีเหตุจำเป็นอื่นอัน เป็นการยากแก่การนำพยานนั้นมาสืบในภายหน้า ผู้ต้องหานั้นจะยื่น คำร้องต่อศาลโดยแสดงเหตุผลความจำเป็น เพื่อให้ศาลมีคำสั่งอนุญาต ให้สืบพยานบุคคลนั้นไว้ทันทีก็ได้ เมื่อศาลเห็นสมควร ให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้สืบพยานนั้นและแจ้ง ให้พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการที่เกี่ยวข้องทราบ ในการสืบ พยานดังกล่าว พนักงานอัยการมีสิทธิที่จะซักค้านพยานนั้นได้และให้ นำความในวรรคสาม วรรคสี่ และวรรคห้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม ให้นำบทบัญญัติใน มาตรา 172ตรี มาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่การ สืบพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี
|