ReadyPlanet.com
dot
สำนักงานทนายความ
dot
bulletทนายความฟ้องหย่า
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
dot
พระราชบัญญัติ
dot
bulletพระราชบัญญัติ
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
dot
บทความเฉพาะเรื่อง
dot
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletสัญญายอมความ
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletกรมบังคับคดี
dot
ลิงค์ต่าง ๆ
dot
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletอำนาจปกครองบุตร




พินัยกรรมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่?ไม่มีประเด็นข้อพิพาท

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw   (5)   @leenont1

-Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย  QR CODE

QR CODE 

     พินัยกรรมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่?ไม่มีประเด็นข้อพิพาท

     คำคู่ความที่จะก่อให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทผู้คัดค้านจะคัดค้านคำร้องขอในประเด็นข้อใดจะต้องยื่นคำคัดค้านให้ชัดเจนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คดีต้องวินิจฉัยตามที่ผู้คัดค้านฎีกาว่า คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่าพินัยกรรมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยผู้คัดค้านฎีกาว่า เดิมคดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องขออย่างคดีไม่มีข้อพิพาท เมื่อผู้คัดค้านได้ยื่นคำคัดค้านต่อมาจึงไม่ถือว่าคำคัดค้านเป็นคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคหนึ่ง นั้น เห็นว่าในคดีไม่มีข้อพิพาทนั้นถ้าบุคคลอื่นใดนอกจากคู่ความที่ได้ยื่นฟ้องคดีอันไม่มีข้อพิพาทได้เข้ามาเกี่ยวข้องในคดีโดยตรงหรือโดยอ้อมให้ถือว่าบุคคลเช่นว่ามานี้เป็นคู่ความ

      คำพิพากษาศาลฎีกาที่  5370/2552

          ในคดีไม่มีข้อพิพาทถ้าบุคคลอื่นใดนอกจากคู่ความที่ได้ยื่นฟ้องได้เข้ามาเกี่ยวข้องในคดีโดยตรงหรือโดยอ้อมให้ถือว่าบุคคลเช่นว่ามานี้เป็นคู่ความและให้ดำเนินคดีไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยคดีมีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188 (5) คำคัดค้านของผู้คัดค้านจึงเป็นคำคู่ความที่จะก่อให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทผู้คัดค้านจะคัดค้านคำร้องขอในประเด็นข้อใดจะต้องยื่นคำคัดค้านให้ชัดเจนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง จึงจะเกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทในข้อนั้น การที่ผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านว่าพินัยกรรมทำขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายกล่าวคือ พระ อ. ไม่ได้มีความประสงค์หรือเจตนาจะทำพินัยกรรมดังกล่าว ผู้ทำพินัยกรรมได้กระทำโดยถูกหลอกลวง สำคัญผิดไม่เป็นไปตามความประสงค์อันแท้จริงของผู้ทำพินัยกรรมและขณะทำพินัยกรรมพระ อ. มีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ อันเป็นข้อเท็จจริงที่ยืนยันว่าพระ อ. ทำพินัยกรรมจริงแต่ถูกหลอกลวง สำคัญผิดและมีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ แต่คำร้องคัดค้านกลับกล่าวอีกว่าลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมไม่ใช่ลายมือของพระ อ. เท่ากับยืนยันว่าพระ อ. ไม่ได้ทำพินัยกรรม เช่นนี้คำร้องคัดค้านจึงขัดกันเองและไม่ชัดแจ้งว่าผู้คัดค้านได้คัดค้านว่าเป็นพินัยกรรมปลอมหรือเป็นพินัยกรรมที่ผู้ทำถูกหลอกลวง สำคัญผิดหรือทำพินัยกรรมในขณะที่มีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ ส่วนที่ผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านว่าพินัยกรรมทำไม่ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนดก็ไม่ได้ระบุว่าไม่ถูกต้องตามแบบอย่างใดจึงไม่มีเหตุแห่งการปฏิเสธ คำร้องคัดค้านจึงไม่ชัดแจ้ง ถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านได้โต้แย้งคัดค้านคำร้องขอของผู้ร้องไม่ก่อให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทว่าพินัยกรรมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183 จึงต้องฟังข้อเท็จจริงตามคำร้องขอของผู้ร้องว่าพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพินัยกรรมที่ชอบด้วยกฎหมาย

  มาตรา 1623  ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศนั้น เมื่อพระภิกษุนั้นถึงแก่มรณภาพให้ตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น เว้นไว้แต่พระภิกษุนั้นจะได้จำหน่ายไปในระหว่างชีวิตหรือโดยพินัยกรรม
 

ป.วิ.พ.
มาตรา 177 เมื่อได้ส่งหมายเรียกและคำฟ้องให้จำเลยแล้ว ให้จำเลย ทำคำให้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายในสิบห้าวันให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยยอมรับหรือปฏิเสธ ข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น
จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้ แต่ถ้าฟ้องแย้งนั้นเป็นเรื่อง อื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมแล้ว ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหากให้ศาลตรวจดูคำให้การนั้นแล้วสั่งให้รับไว้ หรือให้คืนไป หรือสั่ง ไม่รับตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 18
บทบัญญัติแห่ง มาตรานี้ ให้ใช้บังคับแก่บุคคลภายนอกที่ถูกเรียก เข้ามาเป็นผู้ร้องสอดตาม มาตรา 57 (3) โดยอนุโลมมาตรา

มาตรา 183 ในวันชี้สองสถาน ให้คู่ความมาศาล และให้ศาลตรวจ คำคู่ความและคำแถลงของคู่ความแล้วนำข้ออ้างข้อเถียงที่ปรากฏใน คำคู่ความและคำแถลงของคู่ความเทียบกันดู และสอบถามคู่ความ ทุกฝ่ายถึงข้ออ้าง ข้อเถียง และพยานหลักฐานที่จะยื่นต่อศาลว่า ฝ่ายใดยอมรับหรือโต้แย้งข้ออ้าง ข้อเถียงนั้นอย่างไร ข้อเท็จจริงใด ที่คู่ความยอมรับกันก็เป็นอันยุติไปตามนั้นส่วนข้อกฎหมายหรือ ข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้างแต่คู่ความฝ่ายอื่นไม่รับและ เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับประเด็นข้อพิพาทตามคำคู่ความ ให้ศาลกำหนด ไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทและกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานหลักฐาน มาสืบในประเด็นข้อใดก่อนหรือหลังก็ได้

ในการสอบถามคู่ความตามวรรคหนึ่ง คู่ความแต่ละฝ่ายต้องตอบ คำถามที่ศาลถามเองหรือถามตามคำขอของคู่ความฝ่ายอื่น เกี่ยวกับ ข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายอื่นยกขึ้นเป็นข้ออ้าง ข้อเถียง และพยาน หลักฐานต่าง ๆ ที่คู่ความจะยื่นต่อศาล ถ้าคู่ความฝ่ายใดไม่ตอบ คำถามเกี่ยวกับข้อเท็จจริงใด หรือปฏิเสธข้อเท็จจริงใดโดยไม่มี เหตุผลอันสมควร ให้ถือว่ายอมรับข้อเท็จจริงนั้นแล้ว เว้นแต่คู่ความ ฝ่ายนั้นไม่อยู่ในวิสัยที่จะตอบ หรือแสดงเหตุผลแห่งการปฏิเสธได้ใน ขณะนั้น

คู่ความมีสิทธิคัดค้านว่าประเด็นข้อพิพาทหรือหน้าที่นำสืบที่ศาล กำหนดไว้นั้นไม่ถูกต้องโดยแถลงด้วยวาจาต่อศาลในขณะนั้นหรือ ยื่นคำร้องต่อศาลภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลสั่งกำหนดประเด็น ข้อพิพาท หรือหน้าที่นำสืบ ให้ศาลชี้ขาดคำคัดค้านนั้นก่อนวันสืบพยาน คำชี้ขาดคำคัดค้านดังกล่าวให้อยู่ภายใต้บังคับ มาตรา 226

มาตรา 188 ในคดีที่ไม่มีข้อพิพาท ให้ใช้ข้อบังคับต่อไปนี้
(1) ให้เริ่มคดีโดยยื่นคำร้องขอต่อศาล
(2) ศาลอาจเรียกพยานมาสืบได้เองตามที่เห็นจำเป็นและวินิจฉัยชี้ ขาดตามที่เห็นสมควรและยุติธรรม
(3) ทางแก้แห่งคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้นให้ใช้ได้แต่โดย วิธียื่นอุทธรณ์หรือฎีกาเท่านั้น และให้อุทธรณ์ฎีกาได้แต่เฉพาะใน สองกรณีต่อไปนี้
(ก) ถ้าศาลได้ยกคำร้องขอ ของคู่ความฝ่ายที่เริ่มคดีเสีย ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือ
(ข) ในเหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมาย นี้ว่าด้วยการพิจารณาหรือพิพากษาหรือคำสั่ง
(4) ถ้าบุคคลอื่นใดนอกจากคู่ความที่ได้ยื่นฟ้องคดีอันไม่มี ข้อพิพาทได้เข้ามาเกี่ยวข้องในคดีโดยตรงหรือโดยอ้อม ให้ถือว่า บุคคลเช่นว่ามานี้เป็นคู่ความและให้ดำเนินคดีไปตามบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยคดีอันมีข้อพิพาทแต่ในคดีที่ยื่น คำร้องขอต่อศาล เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้คำอนุญาต ที่ผู้แทนโดยชอบธรรมได้ปฏิเสธเสีย หรือให้ศาลมีคำพิพากษาหรือ คำสั่งถอนคืนคำอนุญาตอันได้ให้ไว้แก่ไร้ความสามารถนั้นให้ถือว่า เป็นคดีไม่ข้อพิพาท แม้ถึงว่าผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้ไร้ความ สามารถนั้นจะได้มาศาล และแสดงข้อคัดค้านในการให้คำอนุญาต หรือถอนคืนคำอนุญาตเช่นว่านั้น
 
          ผู้ร้องทั้งห้ายื่นคำร้องขอว่า ก่อนพระครูอุดมภาวนาภิรัตจะถึงแก่มรณภาพได้ทำพินัยกรรมให้จัดการเกี่ยวกับทรัพย์มรดกไว้และตั้งผู้ร้องทั้งห้าเป็นผู้มีสิทธิจัดการมรดกหลังจากพระครูอุดมภาวนาภิรัตถึงแก่มรณภาพ การจัดการมรดกมีเหตุขัดข้อง ผู้ร้องทั้งห้าไม่ได้เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดกตามกฎหมาย ขอให้ตั้งผู้ร้องทั้งห้าเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้
          ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า พระครูอุดมภาวนาภิรัตถึงแก่มรณภาพในขณะที่เป็นพระภิกษุและจำพรรษาอยู่ที่วัดผู้คัดค้าน ทรัพย์มรดกของผู้มรณภาพจึงตกเป็นมรดกแก่ผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้มีส่วนได้รับทรัพย์มรดกดังกล่าว พินัยกรรมที่ผู้ร้องทั้งห้ากล่าวอ้างทำขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย พระครูอุดมภาวนาภิรัตไม่ได้มีความประสงค์หรือเจตนาจะทำพินัยกรรม ลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมไม่ใช่ลายมือชื่อพระครูอุดมภาวนาภิรัต พินัยกรรมทำไม่ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนดและผู้ทำพินัยกรรมถูกหลอกลวง สำคัญผิดและขณะทำพินัยกรรมพระครูภาวนาภิรัตมีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ พินัยกรรมเป็นโมฆะ ไม่มีผลใช้บังคับ ขอให้ยกคำร้องของผู้ร้องทั้งห้า ผู้คัดค้านไม่เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดกตามกฎหมายและขอให้มีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้มรณภาพ

          ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ผู้ร้องที่ 3 และที่ 4 ขอถอนคำร้องขอ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต

          ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้ง วัดพืชอุดม ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของพระครูอุดมภาวนาภิรัต ผู้มรณภาพ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 ให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย ยกคำร้อง ค่าฤชาธรรมเนียมตกเป็นพับ
          ผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 อุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับเป็นว่า ให้ตั้งผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 เป็นผู้จัดการมรดกของพระครูอุดมภาวนาภิรัต ผู้มรณภาพ ยกคำร้องคัดค้าน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
          ผู้คัดค้านฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “...พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงที่ผู้ร้องและผู้คัดค้านไม่ฎีกาโต้แย้งกันรับฟังเป็นยุติว่า พระครูอุดมภาวนาภิรัตเจ้ามรดกเป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนา ก่อนถึงแก่มรณภาพจำพรรษาอยู่ที่วัดผู้คัดค้านในตำแหน่งเจ้าอาวาส มีทรัพย์มรดกที่ได้มาในระหว่างอยู่ในสมณเพศเป็นที่ดินจำนวน 12 แปลง คือ โฉนดเลขที่ 94094 - 94101 เนื้อที่ 25 ไร่ 1 งาน 33 ตารางวา และที่ดินโฉนดเลขที่ 1393, 2557, 2559, 2560 เนื้อที่ 23 ไร่ 3 งาน 39 ตารางวา ต่อมาเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2542 พระครูอุดมภาวนาภิรัตได้ถึงแก่มรณภาพด้วยโรคภาวะหัวใจล้มเหลว

          คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามที่ผู้คัดค้านฎีกาว่า คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่าพินัยกรรมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยผู้คัดค้านฎีกาว่า เดิมคดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องขออย่างคดีไม่มีข้อพิพาท เมื่อผู้คัดค้านได้ยื่นคำคัดค้านต่อมาจึงไม่ถือว่าคำคัดค้านเป็นคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคหนึ่ง นั้น เห็นว่าในคดีไม่มีข้อพิพาทนั้นถ้าบุคคลอื่นใดนอกจากคู่ความที่ได้ยื่นฟ้องคดีอันไม่มีข้อพิพาทได้เข้ามาเกี่ยวข้องในคดีโดยตรงหรือโดยอ้อมให้ถือว่าบุคคลเช่นว่ามานี้เป็นคู่ความ และให้ดำเนินคดีไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคดีมีข้อพิพาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188 (4) ดังนี้ คำร้องขอของผู้ร้องและคำคัดค้านของผู้คัดค้านจึงเป็นคำคู่ความที่จะก่อให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาท ซึ่งหากผู้คัดค้านจะคัดค้านคำร้องขอในประเด็นข้อใดจะต้องยื่นคำคัดค้านให้ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง จึงจะเกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทในข้อนั้น เมื่อผู้ร้องกล่าวอ้างว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมจำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาลขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกการที่ผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านเกี่ยวกับพินัยกรรมว่าพินัยกรรมทำขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายกล่าวคือพระครูอุดมภาวนาภิรัตไม่ได้มีความประสงค์หรือเจตนาจะทำพินัยกรรมดังกล่าว ผู้ทำพินัยกรรมได้กระทำโดยถูกหลอกลวง สำคัญผิดไม่เป็นไปตามความประสงค์อันแท้จริงของผู้ทำพินัยกรรมและขณะทำพินัยกรรมพระครูอุดมภาวนาภิรัตมีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ อันเป็นข้อเท็จจริงที่ยืนยันว่าพระครูอุดมภาวนาภิรัตทำพินัยกรรมจริงแต่ถูกหลอกลวง สำคัญผิดและมีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ แต่คำร้องคัดค้านกลับกล่าวอีกว่าลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมไม่ใช่ลายมือของพระครูอุดมภาวนาภิรัต เท่ากับยืนยันว่าพระครูอุดมภาวนาภิรัตไม่ได้ทำพินัยกรรม เช่นนี้คำร้องคัดค้านจึงขัดกันเองและไม่ชัดแจ้งว่าผู้คัดค้านได้คัดค้านว่าเป็นพินัยกรรมปลอมหรือเป็นพินัยกรรมที่ผู้ทำถูกหลอกลวงหรือสำคัญผิดหรือทำพินัยกรรมในขณะที่มีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ ส่วนที่ผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านว่าพินัยกรรมทำไม่ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนดก็ไม่ได้ระบุว่าไม่ถูกต้องตามแบบอย่างใดจึงไม่มีเหตุแห่งการปฏิเสธให้แจ้งชัดเช่นกัน คำร้องคัดค้านเกี่ยวกับเรื่องพินัยกรรมจึงไม่ชัดแจ้ง ถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านได้โต้แย้งคัดค้านคำร้องขอของผู้ร้องที่อ้างว่าเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมไว้และไม่ก่อให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทว่าพินัยกรรมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 จึงต้องฟังข้อเท็จจริงตามคำร้องขอของผู้ร้องว่าพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพินัยกรรมที่ชอบด้วยกฎหมาย คดีคงมีประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้เพียงว่าผู้ร้องหรือผู้คัดค้านสมควรเป็นผู้จัดการมรดกในข้อนี้ตามข้อกำหนดในพินัยกรรมได้ระบุชัดเจนว่า ให้ผู้ร้องทั้งห้าเป็นผู้จัดการทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมโดยระบุให้จำหน่ายที่ดินทั้ง 12 แปลง เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วให้นำเงินเข้าสมทบทุนสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ สร้างถาวรวัตถุให้แก่วัดผู้คัดค้านและจัดตั้งมูลนิธิพระครูอุดมภาวนาภิรัตอันถือว่าพระครูอุดมภาวนาภิรัตเจ้ามรดกได้จำหน่ายทรัพย์โดยพินัยกรรมแล้ว ทรัพย์สินดังกล่าวจึงไม่ตกเป็นสมบัติของผู้คัดค้านตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1623 ดังนี้ผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 เป็นบุคคลต้องห้ามตามกฎหมายจึงสมควรเป็นผู้จัดการมรดกของพระครูอุดมภาวนาภิรัตเจ้ามรดก ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาผู้คัดค้านฟังไม่ขึ้น”

          พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
 
 
( สถิตย์ ทาวุฒิ - อิศเรศ ชัยรัตน์ - พงษ์ศักดิ์ วีระเสถียร )
 




เกี่ยวกับวิธีพิจารณาความแพ่ง

ค่าขาดไร้อุปการะเป็นหนี้ที่แบ่งแยกเป็นส่วนแต่ละคน
เจ้าหนี้ผู้รับจำนองขอรับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดที่ดิน
การมีอยู่ขององค์กรสาธารณประโยชน์ที่ได้รับรองแล้ว
กระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษา-ฟ้องซ้ำ
ยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อเป็นคู่ความฝ่ายที่สามในคดีอาญา
อายัดเงินปันผลของหุ้นได้แม้จะพ้นระยะเวลา 10 ปีแล้ว
การยื่นอุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนด 1 เดือน
เจ้าหนี้บุริมสิทธิ มิได้ร้องขอให้บังคับคดีภายในสิบปี
คำสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง นอกฟ้องนอกประเด็น
สิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนของผู้รับจำนอง
ฟ้องซ้ำ คดีถึงที่สุดห้ามมิให้คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีก
คู่ความจะนำคดีเรื่องที่เคยพิพาทมาฟ้องกันใหม่อีกไม่ได้
เพิกถอนการขายทอดตลาดหากเป็นประวิงให้ชักช้าต้องรับผิดชดค่าสินไหมทดแทน
โจทก์และจำเลยต่างมีสภาพเป็น"เจ้าหนี้" และ "ลูกหนี้" ตามคำพิพากษา
จำเลยไม่ใช่บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะจึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลออกคำบังคับ
ไม่เกินห้าหมื่นบาทห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
การร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยทรัพย์ที่ถูกยึดต้องอ้างว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของทรัพย์
เงื่อนเวลาเริ่มต้น-สิ้นสุดให้สันนิษฐานว่าเพื่อประโยชน์แก่ฝ่ายลูกหนี้
นำใบแต่งทนายความซึ่งปลอมลายมือชื่อไปทำสัญญายอม
อำนาจว่าความหรือดำเนินกระบวนพิจารณาของทนายความในศาล
ฟ้องเคลือบคลุม, สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข, วางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ
ค่าเสียหายตามคำพิพากษาและค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทน
ผู้ร้องสอดต้องมีส่วนได้เสียกับคู่ความเดิมถือเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม
แก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยเป็นข้อยกเว้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 180
ยื่นเอกสารฝ่าฝืนต่อกฎหมายไม่อาจรับฟังเป็นพยานได้(ยื่นชั้นอุทธรณ์ฎีกา)
จำเลยฟ้องแย้ง-โจทก์ทิ้งฟ้อง ไม่มีผลให้ฟ้องแย้งตกไป
อำนาจปกครองบุตร-มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลใด?
ดุลพินิจสั่งค่าฤชาธรรมเนียมคำนึงความสุจริตของคู่ความ
ฟ้องแย้งของจำเลยแตกต่างกันกับคำฟ้องเดิม
มีเส้นทางอื่นออกไม่ตัดสิทธิขอคุ้มครองประโยชน์
คำขอให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา
คำร้องขอขยายระยะเวลาในการวางเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229
ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์แล้วคดีอยู่ในอำนาจศาลอุทธรณ์
คำสั่งรับหรือไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย
ไม่รับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ฟ้องขับไล่- แสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลา 8 วัน
การส่งหมายนัดไต่สวน-สำเนาคำร้องไม่ชอบ
คำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้อง
เพิกถอนการขายทอดตลาด
คำฟ้องโจทก์ไม่มีลายมือชื่อของผู้เรียงพิมพ์
คณะบุคคลไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้
มอบอำนาจให้ฟ้องคดีไว้ล่วงหน้าก่อนเกิดสิทธิฟ้อง
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนระบุชื่อศาลผิด
หน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐาน
อำนาจฟ้องที่รัฐเป็นผู้เสียหาย
ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
วินิจฉัยนอกเหนือไปจากคำฟ้องและคำให้การ
เข้าเป็นโจทก์ร่วมต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยด้วย
ใครมีอำนาจอนุญาตให้ฎีกาในข้อเท็จจริงได้
การถอนการบังคับคดี | คำพิพากษาถูกกลับชั้นที่สุด
ยังไม่ผิดสัญญายังไม่มีเหตุขอออกหมายบังคับคดีได้
ผู้สวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้เป็นผู้มีส่วนได้เสีย เพิกถอนการขายทอดตลาด
แจ้งคำสั่งขายทอดตลาดแก่ผู้มีส่วนได้เสีย คู่สมรสไม่มีชื่อในโฉนดที่ดิน
คำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งไม่ชอบ
ขอให้เพิกถอนการพิจารณาคดีของศาล มีพยานหลักฐานใหม่
ผู้เสียหายฐานละเมิดอำนาจศาล
ค่าสินไหมทดแทนที่จำนวนเงินไม่แน่นอนต้องนำสืบพยาน
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
ข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์
ฟ้องปลูกสร้างผิดต่อข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานคร
คดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์มีทุนทรัพย์
รับฟังพยานหลักฐานฝ่าฝืนกฎหมาย
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
หน้าที่ในการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ขาดนัดยื่นคำให้การ-สิทธิถามค้าน
วันนัดชี้สองสถาน
ห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง
การส่งคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดี
สิทธิในฐานะผู้รับจำนอง -ขอรับชำระหนี้ได้ก่อนเจ้าหนี้อื่น
การบรรยายคำฟ้องที่มิได้ระบุวัน เวลาที่แน่ชัดว่าเป็นวันที่เท่าใด ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คำร้องสอด
ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม
ยื่นฟ้องคดีอันไม่มีข้อพิพาทแต่ได้มีบุคคลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องในคดี
ฟ้องขอให้พิพากษาเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้น-ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์
การนำสืบพยานหลักฐาน