ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ยื่นฟ้องคดีอันไม่มีข้อพิพาทแต่ได้มีบุคคลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องในคดี

     ยื่นฟ้องคดีอันไม่มีข้อพิพาทแต่ได้มีบุคคลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องในคดี

     ถ้าบุคคลอื่นใดนอกจากคู่ความที่ได้ยื่นฟ้องคดีอันไม่มีข้อพิพาทได้เข้ามาเกี่ยวข้องในคดีโดยตรงหรือโดยอ้อม ให้ถือว่าบุคคลเช่นว่ามานี้เป็นคู่ความ และให้ดำเนินคดีไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยคดีอันมีข้อพิพาท 

     คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3771/2562

     ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกในฐานะผู้รับพินัยกรรมเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188 (1) ผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 4 ยื่นคำคัดค้านและขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 เป็นผู้จัดการมรดก จึงเป็นกรณีที่บุคคลอื่นนอกจากคู่ความได้ยื่นฟ้องคดีอันไม่มีข้อพิพาทได้เข้ามาเกี่ยวข้องในคดีโดยตรงหรือโดยอ้อม ให้ถือว่าผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นคู่ความ ต้องดำเนินคดีไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188 (4) ว่าด้วยคดีมีข้อพิพาท

     ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้ร้องไม่มีสิทธิรับมรดกในฐานะผู้รับพินัยกรรมและทายาทโดยธรรม จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก หาเป็นการลบล้างผลแห่งการยื่นคำร้องของผู้ร้องไม่ และไม่ทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำฟ้อง เช่น กรณีศาลสั่งจำหน่ายคดี เพราะทิ้งฟ้องหรือถอนฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 ประกอบมาตรา 132 (1) ศาลชั้นต้นมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาในส่วนของผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 4 ดังกล่าวต่อไป ที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งจำหน่ายคดีในส่วนของผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 4 ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

     ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

     ผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 4 ยื่นคำคัดค้านขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 4 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

     ผู้คัดค้านที่ 5 และที่ 6 ยื่นคำคัดค้านขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 5 และที่ 6 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

     ระหว่างพิจารณา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว เพื่อรอฟังผลคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 514/2555 ของศาลชั้นต้น เมื่อคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้วศาลชั้นต้นได้ยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไป

     ผู้คัดค้านที่ 3 ยื่นคำคัดค้านอีกขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ร่วมกับผู้คัดค้านที่ 4

     ผู้คัดค้านที่ 7 ยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้องของผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 และตั้งผู้คัดค้านที่ 7 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

     ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านที่ 3 ที่ 4 และที่ 7 เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันของผู้ตาย กับให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย ให้ยกคำร้องของผู้ร้อง คำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 5 และที่ 6 ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

     ผู้ร้อง ผู้คัดค้านที่ 5 ถึงที่ 7 อุทธรณ์

     ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

     ผู้คัดค้านที่ 5 ถึงที่ 7 ฎีกา

     ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ปรากฏตามคำแก้ฎีกาของผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 4 อ้างว่าผู้คัดค้านที่ 7 ถึงแก่ความตายในระหว่างฎีกาตามแบบรับรองรายการทะเบียนคนตาย (มรณบัตร) เอกสารท้ายคำแก้ฎีกา ซึ่งศาลชั้นต้นเรียกทายาทมาสอบถามแล้วได้ความว่า ผู้คัดค้านที่ 7 ถึงแก่ความตายจริง

     ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติในชั้นนี้โดยคู่ความมิได้โต้เถียงกันว่า นางสาวสายใจ ผู้ตาย เป็นบุตรของนายประสาน กับนางลิ้นจี่ ซึ่งถึงแก่ความตายไปก่อนแล้ว ผู้ตายไม่มีคู่สมรสและบุตร มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันรวม 6 คน ได้แก่ ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2 ที่ 7 ผู้ตาย ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2555 ผู้ตายถึงแก่ความตาย

    มีปัญหาสมควรวินิจฉัยในเบื้องต้นว่า ภายหลังผู้คัดค้านที่ 7 ยื่นฎีกาแล้วจึงถึงแก่ความตายจะมีผลอย่างไร เห็นว่า คดีนี้ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านที่ 3 ที่ 4 และที่ 7 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกันซึ่งการทำการตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกจะต้องจัดการร่วมกันโดยถือเอาเสียงข้างมาก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1726 แม้ผู้คัดค้านที่ 7 จะฎีกาขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 7 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแต่ผู้เดียวและคัดค้านการตั้งผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ให้เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับตน แต่เมื่อผู้คัดค้านที่ 7 ถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่ตั้งผู้คัดค้านที่ 7 เป็นผู้จัดการมรดกย่อมไม่มีผลต่อไป เพราะการเป็นผู้จัดการมรดกเป็นการเฉพาะตัวของผู้คัดค้านที่ 7 ไม่อาจรับมรดกความกันได้ จึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาตามที่ผู้คัดค้านที่ 7 ฎีกาต่อไป ย่อมมีเหตุที่จะจำหน่ายคดีในส่วนฎีกาของผู้คัดค้านที่ 7 ออกเสียจากสารบบความศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 (3)

     มีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านที่ 5 และที่ 6 ว่า เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกคำร้องของผู้ร้องแล้ว แต่มิได้จำหน่ายคดีในส่วนของผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 4 ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยอ้างว่า ผู้ร้องมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกเพราะเป็นผู้รับพินัยกรรมคนหนึ่งในกองมรดกของผู้ตาย ซึ่งเป็นการเริ่มคดีโดยยื่นคำร้องต่อศาลย่อมเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188 (1) แต่ต่อมาผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 4 ยื่นคำคัดค้านและขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย จึงเป็นกรณีที่บุคคลอื่นนอกจากคู่ความที่ได้ยื่นฟ้องคดีอันไม่มีข้อพิพาทได้เข้ามาเกี่ยวข้องในคดีโดยตรงหรือโดยอ้อม ให้ถือว่าผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นคู่ความ และต้องดำเนินคดีไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคดีอันมีข้อพิพาท ตามมาตรา 188 (4) การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้ร้องมิได้เป็นผู้รับพินัยกรรมของผู้ตายเนื่องจากพินัยกรรมที่อ้างเป็นโมฆะ ทั้งผู้ร้องมิใช่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก หาเป็นการลบล้างผลแห่งการยื่นคำร้องของผู้ร้องไม่ และไม่ทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้อง ดังเช่นกรณีที่ศาลสั่งจำหน่ายคดีในเหตุที่มีการทิ้งฟ้องหรือถอนฟ้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176 ประกอบมาตรา 132 (1) ศาลชั้นต้นมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำพิพากษาในส่วนของผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 4 เกี่ยวกับการมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายที่จะมีสิทธิยื่นคำคัดค้านและขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ต่อไป เนื่องจากคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 4 มิได้สิ้นผลหรือตกไปด้วยเหตุดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นมิได้จำหน่ายคดีในส่วนของผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 4 ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ฎีกาของผู้คัดค้านที่ 5 และที่ 6 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

     ปัญหาประการต่อไปมีว่า ผู้คัดค้านที่ 5 และที่ 6 เป็นผู้รับพินัยกรรมในกองมรดกของผู้ตาย ตามพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 26 ตุลาคม 2554 สมควรที่จะได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย โดยผู้คัดค้านที่ 5 และที่ 6 ฎีกาว่า เมื่อพินัยกรรมของผู้ตายฉบับลงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2554 เป็นโมฆะ ย่อมทำให้พินัยกรรมฉบับลงวันที่ 26 ตุลาคม 2554 ของผู้ตายมีผลใช้บังคับ ทั้งประเด็นความมีอยู่ของพินัยกรรมฉบับดังกล่าวก็เป็นประเด็นข้อพิพาทซึ่งผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 4 กล่าวอ้างในคำคัดค้านและยอมรับว่าผู้ตายทำพินัยกรรมไว้ก่อนพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2554 เห็นว่า ตามคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 4 ที่อ้างถึงพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 26 ตุลาคม 2554 ก็เพื่อบรรยายถึงที่มาของการโต้แย้งว่าพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2554 เป็นพินัยกรรมปลอมหรือกระทำผิดแบบพินัยกรรมอันมีผลให้เป็นโมฆะ หาได้ยืนยันว่าพินัยกรรมฉบับก่อนยังมีผลสมบูรณ์หรือไม่และมีเนื้อหาอย่างไร ประกอบกับผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 4 อ้างสิทธิในการคัดค้านและขอตั้งผู้จัดการมรดกว่าเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายโดยเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตาย กรณีไม่มีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 26 ตุลาคม 2554 อีกทั้งผู้คัดค้านที่ 5 และที่ 6 อ้างสิทธิในการขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายว่าเป็นผู้รับพินัยกรรมของผู้ตายฉบับลงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2554 เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่าพินัยกรรมฉบับนี้เป็นโมฆะ ผู้คัดค้านที่ 5 และที่ 6 ย่อมไม่มีสิทธิขอตั้งผู้จัดการมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 ส่วนพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 26 ตุลาคม 2554 จะมีผลใช้บังคับได้หรือไม่ และมีข้อความอย่างไร ตลอดจนผู้ตายได้เพิกถอนพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 26 ตุลาคม 2554 โดยการทำลายหรือขีดฆ่าเสียด้วยความตั้งใจหรือไม่ ยังเป็นปัญหาที่ต้องพิจารณาในคดีอื่น ประเด็นที่ผู้คัดค้านที่ 5 และที่ 6 ยกมาฎีกาในข้อนี้จึงเป็นเรื่องนอกคำคัดค้านและนอกประเด็น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของผู้คัดค้านที่ 5 และที่ 6 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน และเมื่อวินิจฉัยมาดังนี้แล้ว จึงไม่ต้องพิจารณาฎีกาข้ออื่นของผู้คัดค้านที่ 5 และที่ 6 อีก เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป

     พิพากษายืน แต่ให้จำหน่ายคดีในส่วนของผู้คัดค้านที่ 7 ออกจากสารบบศาลฎีกา คืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาของผู้คัดค้านที่ 7 แก่ทายาท ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาของผู้คัดค้านที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 นอกจากที่สั่งคืนให้เป็นพับ

 




เกี่ยวกับวิธีพิจารณาความแพ่ง

ฟ้องแย้งของจำเลยแตกต่างกันกับคำฟ้องเดิม
ค่าสินไหมทดแทนที่จำนวนเงินไม่แน่นอนต้องนำสืบพยาน
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
ข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์
ฟ้องปลูกสร้างผิดต่อข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานคร
ศาลอุทธรณ์พิพากษาเกินคำขอ
คดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์มีทุนทรัพย์
รับฟังพยานหลักฐานฝ่าฝืนกฎหมาย
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
หน้าที่ในการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ขาดนัดยื่นคำให้การ-สิทธิถามค้าน การพิจารณาผิดระเบียบ
โจทก์ร่วมไม่จำต้องจัดทำคำให้การใหม่เพื่อแก้คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลย
วันนัดชี้สองสถาน
ห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง
คำร้องสอด
การส่งคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดี
สิทธิในฐานะผู้รับจำนอง -ขอรับชำระหนี้ได้ก่อนเจ้าหนี้อื่น
การบรรยายคำฟ้องที่มิได้ระบุวัน เวลาที่แน่ชัดว่าเป็นวันที่เท่าใด ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม
การยื่นคำร้องในชั้นบังคับคดีไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยไม่ครบหน้าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คู่ความจะนำคดีเรื่องที่เคยพิพาทมาฟ้องกันใหม่อีกไม่ได้
การยื่นอุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนด 1 เดือน
ฟ้องขับไล่- แสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลา 8 วัน
เพิกถอนการขายทอดตลาดหากเป็นประวิงให้ชักช้าต้องรับผิดชดค่าสินไหมทดแทน
ผู้สวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้เป็นผู้มีส่วนได้เสีย เพิกถอนการขายทอดตลาด
ฟ้องขอให้พิพากษาเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้น-ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์
ในคดีเดิมเป็นเพียงคู่ความตกลงยุติคดีไม่ดำเนินการต่อเท่านั้นไม่เป็นฟ้องซ้ำ
พิพากษาที่เกินคำขอและขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1548 อันเป็นการไม่ชอบ
การยื่นและการส่งคำคู่ความในคดีฟอกเงิน
ให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีต้องชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียม
สัญญาประนีประนอมยอมความตกลงยุติคดี-ฟ้องซ้ำ
ค่าขาดไร้อุปการะเป็นหนี้ที่แบ่งแยกเป็นส่วนแต่ละคน
เจ้าหนี้ผู้รับจำนองขอรับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดที่ดิน
การมีอยู่ขององค์กรสาธารณประโยชน์ที่ได้รับรองแล้ว
กระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษา-ฟ้องซ้ำ
ยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อเป็นคู่ความฝ่ายที่สามในคดีอาญา
อายัดเงินปันผลของหุ้นได้แม้จะพ้นระยะเวลา 10 ปีแล้ว
เจ้าหนี้บุริมสิทธิ มิได้ร้องขอให้บังคับคดีภายในสิบปี
คำสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง นอกฟ้องนอกประเด็น
สิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนของผู้รับจำนอง
ฟ้องซ้ำ คดีถึงที่สุดห้ามมิให้คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีก
โจทก์และจำเลยต่างมีสภาพเป็น"เจ้าหนี้" และ "ลูกหนี้" ตามคำพิพากษา
จำเลยไม่ใช่บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะจึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลออกคำบังคับ
ไม่เกินห้าหมื่นบาทห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
การร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยทรัพย์ที่ถูกยึดต้องอ้างว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของทรัพย์
เงื่อนเวลาเริ่มต้น-สิ้นสุดให้สันนิษฐานว่าเพื่อประโยชน์แก่ฝ่ายลูกหนี้
นำใบแต่งทนายความซึ่งปลอมลายมือชื่อไปทำสัญญายอม
อำนาจว่าความหรือดำเนินกระบวนพิจารณาของทนายความในศาล
ฟ้องเคลือบคลุม, สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข, วางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ
ค่าเสียหายตามคำพิพากษาและค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทน
ผู้ร้องสอดต้องมีส่วนได้เสียกับคู่ความเดิมถือเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม
แก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยเป็นข้อยกเว้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 180
ยื่นเอกสารฝ่าฝืนต่อกฎหมายไม่อาจรับฟังเป็นพยานได้(ยื่นชั้นอุทธรณ์ฎีกา)
จำเลยฟ้องแย้ง-โจทก์ทิ้งฟ้อง ไม่มีผลให้ฟ้องแย้งตกไป
อำนาจปกครองบุตร-มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลใด?
ดุลพินิจสั่งค่าฤชาธรรมเนียมคำนึงความสุจริตของคู่ความ
พินัยกรรมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่?ไม่มีประเด็นข้อพิพาท
มีเส้นทางอื่นออกไม่ตัดสิทธิขอคุ้มครองประโยชน์
คำขอให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา
คำร้องขอขยายระยะเวลาในการวางเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229
ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์แล้วคดีอยู่ในอำนาจศาลอุทธรณ์
คำสั่งรับหรือไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย
ไม่รับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
การส่งหมายนัดไต่สวน-สำเนาคำร้องไม่ชอบ
คำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้อง
เพิกถอนการขายทอดตลาด
คำฟ้องโจทก์ไม่มีลายมือชื่อของผู้เรียงพิมพ์
คณะบุคคลไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้
มอบอำนาจให้ฟ้องคดีไว้ล่วงหน้าก่อนเกิดสิทธิฟ้อง
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนระบุชื่อศาลผิด
หน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐาน
อำนาจฟ้องที่รัฐเป็นผู้เสียหาย
ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
วินิจฉัยนอกเหนือไปจากคำฟ้องและคำให้การ
เข้าเป็นโจทก์ร่วมต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยด้วย
ใครมีอำนาจอนุญาตให้ฎีกาในข้อเท็จจริงได้
การถอนการบังคับคดี | คำพิพากษาถูกกลับชั้นที่สุด
ยังไม่ผิดสัญญายังไม่มีเหตุขอออกหมายบังคับคดีได้
แจ้งคำสั่งขายทอดตลาดแก่ผู้มีส่วนได้เสีย คู่สมรสไม่มีชื่อในโฉนดที่ดิน
คำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งไม่ชอบ
ขอให้เพิกถอนการพิจารณาคดีของศาล มีพยานหลักฐานใหม่
ผู้เสียหายฐานละเมิดอำนาจศาล