ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีต้องชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียม

ให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีต้องชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียม

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีเป็นค่าฤชาธรรมเนียมประเภทหนึ่ง ส่วนค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรมถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าฤชาธรรมเนียม ซึ่งค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงนั้นกฎหมายให้ศาลต้องมีคำสั่งไม่ว่าคู่ความจักมีคำขอหรือไม่ โดยหากศาลไม่มีดุลพินิจเป็นประการอื่นก็ต้องสั่งให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีเป็นผู้รับผิดในชั้นที่สุด ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มีดุลพินิจไม่สั่งให้จำเลยต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแก่โจทก์ แต่ให้จำเลยใช้ค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรมแทนโจทก์ จึงถือว่าศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีและค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรมโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10842/2558

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีเป็นค่าฤชาธรรมเนียมประเภทหนึ่ง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคหนึ่ง ประกอบตาราง 7 ท้าย ป.วิ.พ. ส่วนค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรมถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าฤชาธรรมเนียม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 128/1 วรรคท้าย ซึ่งค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงนั้น กฎหมายบัญญัติให้ศาลต้องมีคำสั่งไม่ว่าคู่ความจักมีคำขอหรือไม่ โดยหากศาลไม่มีดุลพินิจเป็นประการอื่นก็ต้องสั่งให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีเป็นผู้รับผิดในชั้นที่สุด ตามมาตรา 161 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 167 วรรคหนึ่ง การที่ศาลจะมีคำสั่งเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี โดยให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีต้องชดใช้ให้แก่คู่ความฝ่ายที่ชนะคดี ศาลก็จะต้องระบุจำนวนเงินสำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีไว้ในคำพิพากษาโดยชัดแจ้งด้วย สำหรับคดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมว่า "ให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 10,000 บาท คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก" และศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาแก้คำสั่งของศาลชั้นต้นที่เกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมดังกล่าว คำสั่งดังกล่าวนี้ย่อมชัดเจนแล้วว่า ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มีดุลพินิจไม่สั่งให้จำเลยต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแก่โจทก์ แต่ให้จำเลยใช้ค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรมแทนโจทก์ จึงถือว่าศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีและค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรมโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว

ในชั้นอุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์เฉพาะเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องชำระค่าขึ้นศาลและค่าฤชาธรรมเนียมตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 155 การที่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลอนาคต 100 บาท มาด้วยจึงไม่ถูกต้อง เห็นสมควรคืนแก่จำเลย

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนรับโจทก์เป็นบุตรหรือมีคำสั่งให้โจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์เป็นเงิน 21,238,800 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์ และให้จำเลยชำระค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแทนโจทก์

จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง

ระหว่างพิจารณา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ จำเลย และนางสาว อ. ไปตรวจพิสูจน์ทางพันธุกรรม (ดีเอ็นเอ) ที่คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ผลการตรวจพิสูจน์ปรากฏว่า โจทก์เป็นบุตรของจำเลยกับนางสาว อ.

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลย โดยให้นางสาว อ. เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองโจทก์แต่เพียงผู้เดียวให้จำเลยจ่ายค่าใช้จ่ายในการคลอดและค่าบริบาลทารก รวมเป็นเงิน 150,000 บาท ค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าการศึกษาบุตรแก่โจทก์ ให้จำเลยจ่ายในแต่ละช่วงของอายุและการศึกษาดังนี้ ค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าการศึกษาระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงอนุบาลปีที่ 3 เดือนละ 20,000 บาท ค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เดือนละ 30,000 บาท ค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เดือนละ 38,000 บาท และค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าการศึกษาระดับชั้นปริญญาตรีหรือบรรลุนิติภาวะเดือนละ 47,000 บาท นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาเป็นต้นไป ให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 10,000 บาท คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

โจทก์และจำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยจ่ายค่าใช้จ่ายในการคลอดและค่าบริบาลทารกเป็นเงิน 200,000 บาท และจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ก่อนวัยเรียนในช่วงอายุ 1 ถึง 3 ปี เดือนละ 15,000 บาท นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาเป็นต้นไป นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

โจทก์และจำเลยฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่าทางพิจารณาโจทก์นำสืบว่า นางสาว อ. มารดาโจทก์รู้จักกับจำเลยประมาณเดือนกรกฎาคม 2551 ขณะนางสาว อ. ไปเดินแบบงานเปิดสายการบินสมุย ประมาณเดือนสิงหาคม 2551 นางสาว อ. คบหากับจำเลยในฐานะคนรักและมีการร่วมประเวณีกันหลายครั้ง ต่อมานางสาว อ. ตั้งครรภ์ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2553 นางสาว อ. คลอดโจทก์ที่โรงพยาบาลเวชธานี นางสาว อ. และนางสาว ย. น้องสาวของนางสาว อ. พยายามติดต่อจำเลย แต่ไม่ได้รับการติดต่อ เมื่อมีการดำเนินคดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ จำเลย และนางสาว อ. ไปตรวจพิสูจน์บุคคลเพื่อหาสารพันธุกรรม (ดีเอ็นเอ) ผลการตรวจพิสูจน์ปรากฏว่าโจทก์เป็นบุตรของจำเลยกับนางสาว อ. คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์และจำเลยว่า ค่าอุปการะเลี้ยงดูที่จำเลยจะต้องจ่ายแก่โจทก์ควรเป็นจำนวนเท่าใด โดยโจทก์อ้างว่าค่าอุปการะเลี้ยงดูที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยจ่ายแก่โจทก์เป็นจำนวนต่ำไป ส่วนจำเลยอ้างว่า ค่าอุปการะเลี้ยงดูที่กำหนดให้จำเลยจ่ายแก่โจทก์สูงเกินไป นั้น เห็นว่า คดีนี้ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามผลการตรวจสารพันธุกรรม (ดีเอ็นเอ) ว่าโจทก์เป็นบุตรของจำเลยกับนางสาว อ. ผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ การกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูจึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 บัญญัติให้บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ และมาตรา 1598/38 กำหนดว่า ค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างบิดามารดากับบุตร ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งกรณี ตามบทบัญญัติดังกล่าวมีความหมายอยู่ในตัวว่าการอุปการะเลี้ยงดูบุตรต้องเป็นหน้าที่ของทั้งบิดาและมารดา และต้องเป็นไปโดยคำนึงถึงความสามารถของผู้ให้ ฐานะของผู้รับ และพฤติการณ์แห่งกรณีเมื่อโจทก์นำสืบแต่เพียงว่า นางสาว อ. มารดาของโจทก์มีรายได้เดือนละ 100,000 บาทเศษ ส่วนจำเลยนั้นโจทก์นำสืบเพียงว่าเป็นผู้จัดการทั่วไปของบริษัทสันธิญา เกาะพงัน รีสอร์ต แอนด์ สปา จำกัด โดยไม่ปรากฏว่ามีรายได้เป็นอย่างไร แต่ได้ความตามฎีกาของจำเลยว่าจำเลยมีเงินเดือน เดือนละ 50,000 บาท การกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ จึงต้องตั้งอยู่บนฐานของฐานะของจำเลยและนางสาว อ. ผู้เป็นบิดาและมารดาของโจทก์ และสภาพความเป็นอยู่ในแต่ละช่วงวัยของโจทก์ในฐานะผู้รับ แต่ทางนำสืบของโจทก์ได้ความแต่เพียงว่า จะใช้จ่ายเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์จนบรรลุนิติภาวะคิดเป็นเงิน 21,238,800 บาท เป็นการกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูที่เป็นเพียงความคาดหมายและสูงเกินกว่าความสามารถของผู้ให้ ฐานะของผู้รับ และพฤติการณ์แห่งคดี ที่ศาลล่างทั้งสองมิได้กำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูตามที่โจทก์ขอจึงชอบแล้ว แต่การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่โจทก์ ในช่วงก่อนวัยเรียน เดือนละ 15,000 บาท ระดับอนุบาลเดือนละ 20,000 บาท ระดับประถมศึกษา เดือนละ 30,000 บาท ระดับมัธยมศึกษาเดือนละ 38,000 บาท และระดับปริญญาตรีหรือจนกว่าจะบรรลุนิติภาวะ เดือนละ 47,000 บาท ยังไม่เหมาะสม เพราะเมื่อบิดามารดาต้องอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ตามความในมาตรา 1564 ก็จะหมายความว่าค่าใช้จ่ายอุปการะโจทก์ในช่วงก่อนวัยเรียน อายุ 1 ปีถึง 3 ปี เดือนละ 30,000 บาท ระดับอนุบาล เดือนละ 40,000 บาท ระดับประถมศึกษา เดือนละ 60,000 บาท ระดับมัธยมศึกษา เดือนละ 76,000 บาท และระดับปริญญาตรี เดือนละ 94,000 บาท ซึ่งสูงเกินกว่าอัตภาพและฐานะของจำเลยผู้ให้สูงและเกินกว่าฐานะของโจทก์ผู้รับ ศาลฎีกาสมควรกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูตามสภาพของโจทก์ผู้รับและพฤติการณ์แห่งกรณีตามข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบมาโดยให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์เป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูในช่วงก่อนวัยเรียน อายุ 1 ถึง 3 ปี จนจบการศึกษาชั้นอนุบาลเป็นเงินเดือนละ 10,000 บาท ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 เดือนละ 15,000 บาท ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 เดือนละ 20,000 บาท และระดับปริญญาตรีจนบรรลุนิติภาวะ เดือนละ 30,000 บาท อย่างไรก็ดี หากภายหลังจากศาลพิพากษา โจทก์สามารถแสดงว่าพฤติการณ์รายได้หรือฐานะของคู่กรณีเปลี่ยนแปลงไป จะขอให้ศาลแก้ไขในเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูก็ย่อมจะยกขึ้นว่ากล่าวได้ตามมาตรา 1598/39 ส่วนค่าใช้จ่ายในการคลอดและบริบาลทารก ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยจ่ายเงิน 200,000 บาท นั้น เหมาะสมแล้ว ปัญหาวินิจฉัยต่อไปตามฎีกาของโจทก์มีว่า ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีและค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรมโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วหรือไม่ เห็นว่า ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีเป็นค่าฤชาธรรมเนียมประเภทหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 วรรคหนึ่ง ประกอบตาราง 7 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ส่วนค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรมถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าฤชาธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 128/1 วรรคท้าย ซึ่งค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงนั้น กฎหมายบัญญัติให้ศาลต้องมีคำสั่งไม่ว่าคู่ความจักมีคำขอหรือไม่ โดยหากศาลไม่มีดุลพินิจเป็นประการอื่น ก็ต้องสั่งให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีเป็นผู้รับผิดในชั้นที่สุดตามมาตรา 161 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 167 วรรคหนึ่งในการที่ศาลจะมีคำสั่งเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีในคำพิพากษา หากศาลมีคำสั่งให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีต้องชดใช้ให้แก่คู่ความฝ่ายที่ชนะคดี ศาลก็จะต้องระบุจำนวนเงินสำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีไว้โดยชัดแจ้ง สำหรับคดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมว่า "ให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 10,000 บาท คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก" และศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาแก้คำสั่งของศาลชั้นต้นที่เกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมดังกล่าว คำสั่งดังกล่าวนี้ย่อมชัดเจนแล้วว่า ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มีดุลพินิจไม่สั่งให้จำเลยต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแก่โจทก์ แต่ให้จำเลยใช้ค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรมแทนโจทก์ จึงถือว่าศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีและค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรมโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น ฎีกาของจำเลยฟังขึ้นบางส่วน

ในชั้นอุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์เฉพาะเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องชำระค่าขึ้นศาลและค่าฤชาธรรมเนียมตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 155 การที่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลอนาคต 100 บาท มาด้วย จึงไม่ถูกต้อง เห็นสมควรคืนแก่จำเลย

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ช่วงก่อนวัยเรียนอายุ 1 ถึง 3 ปี จนกระทั่งโจทก์สำเร็จการศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ 3 เดือนละ 10,000 บาท ค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 เดือนละ 15,000 บาท ค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 เดือนละ 20,000 บาท และค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าการศึกษาระดับปริญญาตรีจนบรรลุนิติภาวะเดือนละ 30,000 บาท ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาเฉพาะโจทก์ให้เป็นพับ คืนค่าขึ้นศาลอนาคต 100 บาท แก่จำเลย นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

 




เกี่ยวกับวิธีพิจารณาความแพ่ง

การเข้ารับมรดกความกรณีคดีถึงที่สุดแล้วได้หรือไม่และเป็นการขัดต่อ ป.วิ.แพ่ง มาตรา 42 หรือไม่
ใครบ้างมีคุณสมบัติเป็นบุคคลที่จะเข้าแทนที่คู่ความผู้มรณะได้, ศาลฎีกาวินิจฉัยคู่ความผู้มรณะ
คำสั่งคดีมีมูลเป็นที่สุดห้ามอุทธรณ์, การเพิกถอนกระบวนพิจารณาผิดระเบียบ, สิทธิในการขอพิจารณาใหม่
คดีก่อนคู่ความตกลงท้ากันเป็นข้อแพ้ชนะคดี, ฟ้องซ้ำในคดีแพ่ง, สิทธิขับไล่จากที่ดินกรรมสิทธิ์รวม,
ฟ้องแย้งในคดีแพ่ง, การผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน, การเรียกเงินมัดจำคืนตามสัญญา
การสละประเด็นข้อพิพาท, อำนาจศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 (3), อัตราดอกเบี้ยตามกฎหมายแพ่งใหม่
สัญญาประนีประนอมยอมความตกลงยุติคดี-ฟ้องซ้ำ
พิพากษาที่เกินคำขอและขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1548 อันเป็นการไม่ชอบ
ฟ้องแย้งของจำเลยแตกต่างกันกับคำฟ้องเดิม
ค่าสินไหมทดแทนที่จำนวนเงินไม่แน่นอนต้องนำสืบพยาน
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
ข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์
ฟ้องปลูกสร้างผิดต่อข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานคร
ศาลอุทธรณ์พิพากษาเกินคำขอ
คดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์มีทุนทรัพย์
รับฟังพยานหลักฐานฝ่าฝืนกฎหมาย
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
หน้าที่ในการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ขาดนัดยื่นคำให้การ-สิทธิถามค้าน การพิจารณาผิดระเบียบ
โจทก์ร่วมไม่จำต้องจัดทำคำให้การใหม่เพื่อแก้คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลย
วันนัดชี้สองสถาน
ห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง
คำร้องสอด
การส่งคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดี
สิทธิในฐานะผู้รับจำนอง -ขอรับชำระหนี้ได้ก่อนเจ้าหนี้อื่น
การบรรยายคำฟ้องที่มิได้ระบุวัน เวลาที่แน่ชัดว่าเป็นวันที่เท่าใด ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม
ยื่นฟ้องคดีอันไม่มีข้อพิพาทแต่ได้มีบุคคลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องในคดี
การยื่นคำร้องในชั้นบังคับคดีไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยไม่ครบหน้าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คู่ความจะนำคดีเรื่องที่เคยพิพาทมาฟ้องกันใหม่อีกไม่ได้
การยื่นอุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนด 1 เดือน
ฟ้องขับไล่- แสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลา 8 วัน
เพิกถอนการขายทอดตลาดหากเป็นประวิงให้ชักช้าต้องรับผิดชดค่าสินไหมทดแทน
ผู้สวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้เป็นผู้มีส่วนได้เสีย เพิกถอนการขายทอดตลาด
ฟ้องขอให้พิพากษาเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้น-ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์
ในคดีเดิมเป็นเพียงคู่ความตกลงยุติคดีไม่ดำเนินการต่อเท่านั้นไม่เป็นฟ้องซ้ำ
การยื่นและการส่งคำคู่ความในคดีฟอกเงิน
ค่าขาดไร้อุปการะเป็นหนี้ที่แบ่งแยกเป็นส่วนแต่ละคน
เจ้าหนี้ผู้รับจำนองขอรับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดที่ดิน
การมีอยู่ขององค์กรสาธารณประโยชน์ที่ได้รับรองแล้ว
กระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษา-ฟ้องซ้ำ
ยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อเป็นคู่ความฝ่ายที่สามในคดีอาญา
อายัดเงินปันผลของหุ้นได้แม้จะพ้นระยะเวลา 10 ปีแล้ว
เจ้าหนี้บุริมสิทธิ มิได้ร้องขอให้บังคับคดีภายในสิบปี
คำสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง นอกฟ้องนอกประเด็น
สิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนของผู้รับจำนอง
ฟ้องซ้ำ คดีถึงที่สุดห้ามมิให้คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีก
โจทก์และจำเลยต่างมีสภาพเป็น"เจ้าหนี้" และ "ลูกหนี้" ตามคำพิพากษา
จำเลยไม่ใช่บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะจึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลออกคำบังคับ
ไม่เกินห้าหมื่นบาทห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
การร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยทรัพย์ที่ถูกยึดต้องอ้างว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของทรัพย์
เงื่อนเวลาเริ่มต้น-สิ้นสุดให้สันนิษฐานว่าเพื่อประโยชน์แก่ฝ่ายลูกหนี้
นำใบแต่งทนายความซึ่งปลอมลายมือชื่อไปทำสัญญายอม
อำนาจว่าความหรือดำเนินกระบวนพิจารณาของทนายความในศาล
ฟ้องเคลือบคลุม, สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข, วางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ
ค่าเสียหายตามคำพิพากษาและค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทน
ผู้ร้องสอดต้องมีส่วนได้เสียกับคู่ความเดิมถือเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม
แก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยเป็นข้อยกเว้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 180
ยื่นเอกสารฝ่าฝืนต่อกฎหมายไม่อาจรับฟังเป็นพยานได้(ยื่นชั้นอุทธรณ์ฎีกา)
จำเลยฟ้องแย้ง-โจทก์ทิ้งฟ้อง ไม่มีผลให้ฟ้องแย้งตกไป
อำนาจปกครองบุตร-มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลใด?
ดุลพินิจสั่งค่าฤชาธรรมเนียมคำนึงความสุจริตของคู่ความ
พินัยกรรมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่?ไม่มีประเด็นข้อพิพาท
มีเส้นทางอื่นออกไม่ตัดสิทธิขอคุ้มครองประโยชน์
คำขอให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา
คำร้องขอขยายระยะเวลาในการวางเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229
ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์แล้วคดีอยู่ในอำนาจศาลอุทธรณ์
คำสั่งรับหรือไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย
ไม่รับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
การส่งหมายนัดไต่สวน-สำเนาคำร้องไม่ชอบ
คำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้อง
เพิกถอนการขายทอดตลาด
คำฟ้องโจทก์ไม่มีลายมือชื่อของผู้เรียงพิมพ์
คณะบุคคลไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้
มอบอำนาจให้ฟ้องคดีไว้ล่วงหน้าก่อนเกิดสิทธิฟ้อง
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนระบุชื่อศาลผิด
หน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐาน
อำนาจฟ้องที่รัฐเป็นผู้เสียหาย
ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
วินิจฉัยนอกเหนือไปจากคำฟ้องและคำให้การ
เข้าเป็นโจทก์ร่วมต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยด้วย
ใครมีอำนาจอนุญาตให้ฎีกาในข้อเท็จจริงได้
การถอนการบังคับคดี | คำพิพากษาถูกกลับชั้นที่สุด
ยังไม่ผิดสัญญายังไม่มีเหตุขอออกหมายบังคับคดีได้
แจ้งคำสั่งขายทอดตลาดแก่ผู้มีส่วนได้เสีย คู่สมรสไม่มีชื่อในโฉนดที่ดิน
คำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งไม่ชอบ
ขอให้เพิกถอนการพิจารณาคดีของศาล มีพยานหลักฐานใหม่
ผู้เสียหายฐานละเมิดอำนาจศาล