

ใครบ้างมีคุณสมบัติเป็นบุคคลที่จะเข้าแทนที่คู่ความผู้มรณะได้, ศาลฎีกาวินิจฉัยคู่ความผู้มรณะ
ปรึกษากฎหมายทางแชทไลน์ ใครบ้างมีคุณสมบัติเป็นบุคคลที่จะเข้าแทนที่คู่ความผู้มรณะได้ *สิทธิของผู้จัดการมรดกสิ้นสุดเมื่อถึงแก่ความตาย ทายาทของผู้จัดการมรดกไม่อาจเข้าแทนในฐานะคู่ความ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 อนุญาตนางสาวสาลีเข้าแทนที่โจทก์ไม่ชอบ * ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกของนายช่วง ซึ่งเป็นสิทธิเฉพาะตัวที่สิ้นสุดเมื่อโจทก์ถึงแก่ความตาย และไม่ตกทอดไปยังทายาท นางสาวสาลีซึ่งเป็นเพียงทายาทของโจทก์ ไม่มีสิทธิครอบครองทรัพย์ที่พิพาทหรือจัดการทรัพย์มรดก จึงไม่อาจเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ได้ ศาลฎีกาเห็นว่าปัญหาการเข้าแทนที่คู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 เป็นเรื่องความสงบเรียบร้อย สามารถหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ที่อนุญาตให้นางสาวสาลีเข้าเป็นคู่ความแทน ยกฎีกาโจทก์ และให้ศาลชั้นต้นดำเนินการตามมาตรา 42 ก่อนส่งสำนวนกลับไปศาลอุทธรณ์ภาค 7 เพื่อมีคำสั่งและคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5153/2546 โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกในฐานะผู้จัดการมรดกของนายช่วง ตามคำสั่งศาลซึ่งเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้จัดการมรดก เมื่อโจทก์ถึงแก่ความตาย สิทธิและหน้าที่ของโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกย่อมสิ้นสุดลง หาได้ตกทอดไปยังทายาทของโจทก์ไม่ นางสาวสาลีซึ่งเป็นเพียงทายาทของโจทก์เท่านั้นไม่ได้เป็นผู้ปกครองที่ดินพิพาทหรือมีอำนาจในการจัดการทรัพย์มรดกจึงไม่อาจเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ได้ ปัญหาว่าบุคคลที่จะเข้าแทนที่คู่ความผู้มรณะเป็นบุคคลตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 บัญญัติหรือไม่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มีฐานะเป็นผู้จัดการมรดกของนายช่วง ตามคำสั่งศาล โจทก์กับจำเลยมีสิทธิครอบครองในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3) เนื้อที่ 5 ไร่ 3 งาน 69 ตารางวา คนละครึ่ง โจทก์มีความประสงค์ต้องการแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวเป็นส่วนสัด และบอกกล่าวให้จำเลยทราบแล้วจำเลยเพิกเฉย จึงขอให้บังคับจำเลยไปดำเนินการจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวจำนวน 2 ไร่ 3 งาน 84.5ตารางวา ตามแผนที่สังเขปท้ายฟ้องให้แก่โจทก์ หากจำเลยไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย และหากแบ่งแยกตกลงกันไม่ได้ ขอให้ศาลมีคำสั่งให้นำที่ดินดังกล่าวออกขายโดยประมูลราคาระหว่างโจทก์กับจำเลยหรือขายทอดตลาดแล้วนำเงินที่ขายได้มาแบ่งกันคนละครึ่ง จำเลยให้การว่า เดิมที่ดินดังกล่าวมีหลักฐานเป็นแบบแจ้งการครอบครองซึ่งมีชื่อนางหมา ชาวเขาดิน เป็นผู้มีสิทธิครอบครองโจทก์เป็นบุตรของนายช่วง กับนางมูลไม่ทราบชื่อสกุล ส่วนจำเลยเป็นบุตรของนางหมากับนายไทย ต่อมานายช่วงกับนางหมาได้อยู่กินฉันสามีภริยา มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือนางบุญสม กับนางสาวสร้อย เมื่อที่ดินพิพาทได้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์นางหมาจึงใส่ชื่อนายช่วงเป็นผู้ถือสิทธิครอบครองร่วมกับนางหมา เมื่อนายช่วงตายนางหมา จำเลยและนางสาวสร้อยร่วมกันครอบครองที่ดินดังกล่าวโดยโจทก์ไม่ได้เข้าเกี่ยวข้อง จากนั้นนางหมาและนางสาวสร้อยก็ตายไป โดยนับตั้งแต่นายช่วงตายโจทก์ไม่เคยเข้ามาเกี่ยวข้องกับที่ดินดังกล่าว และไม่เคยฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดกส่วนของนายช่วงจากจำเลยและนางสาวสร้อย คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ 1 ปี ทรัพย์มรดกของนายช่วงจึงตกได้แก่นางหมา จำเลย และนางสาวสร้อย ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3) ทะเบียนเล่ม 26 หน้า 159 สารบบเลขที่ 295 ตำบลวังยาง อำเภอศรีประจันต์จังหวัดสุพรรณบุรี ให้โจทก์ครึ่งหนึ่ง ส่วนวิธีการแบ่งให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก จำเลยอุทธรณ์ โดยผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 โจทก์ถึงแก่ความตาย นางสาวสาลี ทายาทของโจทก์ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน ศาลอุทธรณ์ภาค 7 อนุญาต ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง โจทก์ฎีกา โดยผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้ *ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "เห็นว่า โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายช่วง ตามคำสั่งศาล ซึ่งเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้จัดการมรดก เมื่อโจทก์ถึงแก่ความตาย สิทธิและหน้าที่ของโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกย่อมสิ้นสุดลง หาได้ตกทอดไปยังทายาทของโจทก์ไม่ นางสาวสาลี เป็นเพียงทายาทของโจทก์เท่านั้นไม่ปรากฏว่านางสาวสาลีเป็นผู้ครอบครองที่พิพาทหรือมีอำนาจในการจัดการทรัพย์มรดกของนายช่วงแต่อย่างใด นางสาวสาลีย่อมไม่อาจเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ได้ ปัญหาว่า บุคคลที่จะเข้าแทนที่คู่ความผู้มรณะเป็นบุคคลตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 อนุญาตให้นางสาวสาลีเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์จึงเป็นการไม่ชอบเมื่อวินิจฉัยดังนี้แล้วปัญหาตามฎีกาโจทก์จึงไม่จำต้องวินิจฉัย พิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ยกคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 7 ที่อนุญาตให้นางสาวสาลี เข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ ยกฎีกาโจทก์ ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 ก่อน แล้วส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีคำสั่งและคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี *ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 กำหนดเกี่ยวกับบุคคลที่มีคุณสมบัติที่จะเข้าเป็นคู่ความแทนที่ในกรณีที่คู่ความเดิมไม่สามารถดำเนินคดีต่อไปได้ เช่น เสียชีวิต หรือสิ้นสภาพความเป็นคู่ความ โดยระบุถึงคุณสมบัติของบุคคลที่สามารถเข้าเป็นคู่ความแทนได้ ดังนี้: หลักเกณฑ์ตามมาตรา 42 1.ผู้รับช่วงสิทธิหรือหน้าที่ oบุคคลที่ได้รับการถ่ายโอนสิทธิหรือหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับคดี เช่น ผู้รับมรดก ผู้รับสิทธิตามสัญญา หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายหน้าที่ตามกฎหมาย oตัวอย่าง: ในกรณีที่คู่ความเสียชีวิตในระหว่างคดี ผู้จัดการมรดกสามารถเข้ามาเป็นคู่ความแทนคู่ความที่เสียชีวิตเพื่อดำเนินคดีต่อไป 2.ผู้จัดการมรดก oในกรณีที่คู่ความเดิมเป็นผู้ตาย และคดีเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินในมรดก ผู้จัดการมรดกสามารถดำเนินคดีต่อไปในฐานะคู่ความแทนผู้ตาย oตัวอย่าง: หากจำเลยเสียชีวิตในคดีที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลย ผู้จัดการมรดกจะเป็นคู่ความแทนจำเลย 3.ผู้รับโอนสิทธิในข้อพิพาท oหากมีการโอนสิทธิในข้อพิพาทในระหว่างการดำเนินคดี บุคคลที่รับโอนสิทธินั้นสามารถเข้าเป็นคู่ความแทนได้ oตัวอย่าง: โจทก์ที่ฟ้องเรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโอนสิทธิให้บุคคลอื่น บุคคลที่รับโอนสิทธินั้นจะเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์เดิม ข้อสังเกตเพิ่มเติม •การเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ต้องอยู่ภายใต้การอนุญาตของศาล หรือเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด •หากศาลเห็นว่าบุคคลดังกล่าวไม่มีคุณสมบัติที่เหมาะสม อาจไม่อนุญาตให้เข้าเป็นคู่ความแทน •สิทธิของบุคคลที่จะเข้าเป็นคู่ความแทนต้องไม่ขัดกับกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน 1.ผู้จัดการมรดกสิ้นสุดหน้าที่ 2.การเข้าแทนที่คู่ความตามมาตรา 42 3.สิทธิของทายาทในคดีมรดก 4.คำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับมรดก 5.ข้อกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 6.คุณสมบัติผู้แทนคู่ความในคดีแพ่ง 7.คดีแบ่งแยกที่ดินมรดก 8.ศาลฎีกาวินิจฉัยคู่ความผู้มรณะ 9.กฎหมายแพ่งเรื่องการจัดการมรดก 10.ความสงบเรียบร้อยในกระบวนพิจารณาคดี |