ReadyPlanet.com
dot
สำนักงานทนายความ
dot
bulletทนายความฟ้องหย่า
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
dot
พระราชบัญญัติ
dot
bulletพระราชบัญญัติ
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
dot
บทความเฉพาะเรื่อง
dot
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletสัญญายอมความ
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
dot
ลิงค์ต่าง ๆ
dot
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletคำพิพากษาศาลฎีกา
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletอำนาจปกครองบุตร




อำนาจว่าความหรือดำเนินกระบวนพิจารณาของทนายความในศาล

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw   (5)   @leenont1

-Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย  QR CODE

QR CODE 

อำนาจว่าความหรือดำเนินกระบวนพิจารณาของทนายความในศาล

ใบแต่งทนายความซึ่งจำเลยที่ 1 แต่งตั้งนายจงรักษ์ เป็นทนายความนั้นระบุเพียงแต่ให้มีอำนาจคัดสำเนาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่ได้ระบุให้มีอำนาจฎีกา ตามป.วิ.แพ่ง มาตรา 62  บัญญัติว่า “ทนายความซึ่งคู่ความได้ตั้งแต่งนั้นมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนคู่ความได้ตามที่เห็นสมควรเพื่อรักษาผลประโยชน์ของคู่ความนั้น.....แต่ถ้า...ใช้สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกา...ทนายความไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาเช่นว่านี้ได้ โดยมิได้รับอำนาจจากตัวความโดยชัดแจ้ง อำนาจโดยชัดแจ้งเช่นว่านี้ให้ระบุไว้ในใบแต่งทนายสำหรับคดีเรื่องนั้น....” ใบแต่งทนายความมีข้อความว่า จำเลยที่ 1 แต่งตั้งให้นายจงรักษ์เป็นทนายความในคดีเรื่องนี้ และให้มีอำนาจคัดสำเนาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 นายจงรักษ์จึงย่อมมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นซึ่งรวมถึงการยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอขยายระยะเวลาฎีกาเพื่อรักษาผลประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ได้ การยื่นคำร้องยังไม่ใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาที่เป็นการใช้สิทธิฎีกาซึ่งนายจงรักษ์ไม่มีอำนาจเนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่ได้ระบุให้อำนาจไว้โดยชัดแจ้ง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาฎีกาตามคำร้องของนายจงรักษ์จึงชอบแล้ว
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  13119/2553

บริษัทไบโอฟีด (ประเทศไทย) จำกัด                    โจทก์
บริษัทโรงงานอาหารสัตว์ตระกูลคำ จำกัด กับพวก     จำเลย
 
           ใบแต่งทนายความมีข้อความระบุว่า จำเลยที่ 1 แต่งตั้งให้นาย จ. เป็นทนายความของจำเลยที่ 1 ในคดีเรื่องนี้ และให้มีอำนาจคัดสำเนาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 นาย จ. จึงย่อมมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นซึ่งรวมถึงการยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอขยายระยะเวลาฎีกาแทนจำเลยที่ 1 เพื่อรักษาผลประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ได้ การยื่นคำร้องดังกล่าวยังไม่ใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาที่เป็นการใช้สิทธิฎีกาซึ่งนาย จ. ไม่มีอำนาจ
 
          โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน 9,873,882.07 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์
          จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ให้การขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวน 5,516,939.83 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้อง (วันที่ 10 พฤษภาคม 2544) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ กับให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 55,000 บาท เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้แทนตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ให้เป็นพับ

          จำเลยที่ 1 อุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 3,359,589.27 บาท แก่โจทก์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

          โจทก์และจำเลยที่ 1 ฎีกา
        ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยโจทก์ยื่นคำแก้ฎีกาคัดค้านฎีกาของจำเลยที่ 1 ว่า ใบแต่งทนายความฉบับลงวันที่ 30 มกราคม 2550 ซึ่งจำเลยที่ 1 แต่งตั้งนายจงรักษ์ เป็นทนายความนั้น จำเลยที่ 1 ระบุเพียงแต่ให้มีอำนาจคัดสำเนาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่ได้ระบุให้มีอำนาจฎีกา นายจงรักษ์จึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอขยายระยะเวลาฎีกา เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 62 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ทนายความซึ่งคู่ความได้ตั้งแต่งนั้นมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนคู่ความได้ตามที่เห็นสมควรเพื่อรักษาผลประโยชน์ของคู่ความนั้น.....แต่ถ้า...ใช้สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกา...ทนายความไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาเช่นว่านี้ได้ โดยมิได้รับอำนาจจากตัวความโดยชัดแจ้ง อำนาจโดยชัดแจ้งเช่นว่านี้ให้ระบุไว้ในใบแต่งทนายสำหรับคดีเรื่องนั้น....” เมื่อพิจารณาใบแต่งทนายความฉบับดังกล่าวแล้ว ปรากฏว่าใบแต่งทนายความมีข้อความระบุว่า จำเลยที่ 1 แต่งตั้งให้นายจงรักษ์เป็นทนายความของจำเลยที่ 1 ในคดีเรื่องนี้ และให้มีอำนาจคัดสำเนาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 นายจงรักษ์จึงย่อมมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นซึ่งรวมถึงการยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอขยายระยะเวลาฎีกาแทนจำเลยที่ 1 เพื่อรักษาผลประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ได้ การยื่นคำร้องดังกล่าวยังไม่ใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาที่เป็นการใช้สิทธิฎีกาซึ่งนายจงรักษ์ไม่มีอำนาจเนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่ได้ระบุให้อำนาจไว้โดยชัดแจ้งดังที่บัญญัติไว้ในบทมาตราดังกล่าว ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาฎีกาตามคำร้องของนายจงรักษ์ถึงวันที่ 15 มีนาคม 2550 จึงชอบแล้ว ซึ่งต่อมานายสวัสดิ์ ทนายความจำเลยที่ 1 คนใหม่ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอขยายระยะเวลาฎีกาอีกครั้งหนึ่ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาฎีกาถึงวันที่ 9 เมษายน 2550 จำเลยที่ 1 ยื่นฎีกาโดยทนายความผู้มีอำนาจเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2550 เป็นการยื่นฎีกาภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย ฉะนั้น คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงชอบแล้ว

          พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวน 5,190,939.83 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้อง (วันที่ 10 พฤษภาคม 2544) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ ยกคำร้องของโจทก์ ค่าคำร้องให้เป็นพับ
 
 
( กฤษฎิ์จิรัฐ คุณาจิรภรณ์ - พิษณุ ดำรงเกียรติวัฒนา - ปดารณี ลัดพลี )
 
ศาลจังหวัดระยอง - นายอนุรัตน์ ฤกษ์วิชานันท์
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 - สมชาย พันธุมะโอภาส
 
ป.วิ.พ. มาตรา 62

มาตรา 62  ทนายความซึ่งคู่ความได้ตั้งแต่งนั้นมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนคู่ความได้ตามที่เห็นสมควรเพื่อรักษาผลประโยชน์ของคู่ความนั้น แต่ถ้ากระบวนพิจารณาใดเป็นไปในทางจำหน่ายสิทธิของคู่ความ เช่น การยอมรับตามที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้อง การถอนฟ้อง การประนีประนอมยอมความ การสละสิทธิ หรือใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกา หรือในการขอให้พิจารณาคดีใหม่ ทนายความไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาเช่นว่านี้ได้ โดยมิได้รับอำนาจจากตัวความโดยชัดแจ้ง อำนาจโดยชัดแจ้งเช่นว่านี้จะระบุให้ไว้ในใบแต่งทนายสำหรับคดีเรื่องนั้น หรือทำเป็นใบมอบอำนาจต่างหากในภายหลังใบเดียวหรือหลายใบก็ได้ และในกรณีหลังนี้ให้ใช้บทบัญญัติมาตรา 61 บังคับ
กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตาม ตัวความหรือผู้แทนจะปฏิเสธหรือแก้ไขข้อเท็จจริงที่ทนายความของตนได้กล่าวด้วยวาจาต่อหน้าตนในศาลในขณะนั้นก็ได้ แม้ถึงว่าตัวความหรือผู้แทนนั้นจะมิได้สงวนสิทธิเช่นนั้นไว้ในใบแต่งทนายก็ดี
          




เกี่ยวกับวิธีพิจารณาความแพ่ง

ให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีต้องชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียม article
สัญญาประนีประนอมยอมความตกลงยุติคดี-ฟ้องซ้ำ
การยื่นอุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนด 1 เดือน
คู่ความจะนำคดีเรื่องที่เคยพิพาทมาฟ้องกันใหม่อีกไม่ได้
ค่าขาดไร้อุปการะเป็นหนี้ที่แบ่งแยกเป็นส่วนแต่ละคน
เจ้าหนี้ผู้รับจำนองขอรับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดที่ดิน
การมีอยู่ขององค์กรสาธารณประโยชน์ที่ได้รับรองแล้ว
กระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษา-ฟ้องซ้ำ
ยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อเป็นคู่ความฝ่ายที่สามในคดีอาญา
อายัดเงินปันผลของหุ้นได้แม้จะพ้นระยะเวลา 10 ปีแล้ว
เจ้าหนี้บุริมสิทธิ มิได้ร้องขอให้บังคับคดีภายในสิบปี
คำสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง นอกฟ้องนอกประเด็น
สิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนของผู้รับจำนอง
ฟ้องซ้ำ คดีถึงที่สุดห้ามมิให้คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีก
เพิกถอนการขายทอดตลาดหากเป็นประวิงให้ชักช้าต้องรับผิดชดค่าสินไหมทดแทน
โจทก์และจำเลยต่างมีสภาพเป็น"เจ้าหนี้" และ "ลูกหนี้" ตามคำพิพากษา
จำเลยไม่ใช่บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะจึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลออกคำบังคับ
ไม่เกินห้าหมื่นบาทห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
การร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยทรัพย์ที่ถูกยึดต้องอ้างว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของทรัพย์
เงื่อนเวลาเริ่มต้น-สิ้นสุดให้สันนิษฐานว่าเพื่อประโยชน์แก่ฝ่ายลูกหนี้
นำใบแต่งทนายความซึ่งปลอมลายมือชื่อไปทำสัญญายอม
ฟ้องเคลือบคลุม, สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข, วางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ
ค่าเสียหายตามคำพิพากษาและค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทน
ผู้ร้องสอดต้องมีส่วนได้เสียกับคู่ความเดิมถือเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม
แก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยเป็นข้อยกเว้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 180
ยื่นเอกสารฝ่าฝืนต่อกฎหมายไม่อาจรับฟังเป็นพยานได้(ยื่นชั้นอุทธรณ์ฎีกา)
จำเลยฟ้องแย้ง-โจทก์ทิ้งฟ้อง ไม่มีผลให้ฟ้องแย้งตกไป
อำนาจปกครองบุตร-มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลใด?
ดุลพินิจสั่งค่าฤชาธรรมเนียมคำนึงความสุจริตของคู่ความ
ฟ้องแย้งของจำเลยแตกต่างกันกับคำฟ้องเดิม
พินัยกรรมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่?ไม่มีประเด็นข้อพิพาท
มีเส้นทางอื่นออกไม่ตัดสิทธิขอคุ้มครองประโยชน์
คำขอให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา
คำร้องขอขยายระยะเวลาในการวางเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229
ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์แล้วคดีอยู่ในอำนาจศาลอุทธรณ์
คำสั่งรับหรือไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย
ไม่รับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ฟ้องขับไล่- แสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลา 8 วัน
การส่งหมายนัดไต่สวน-สำเนาคำร้องไม่ชอบ
คำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้อง
เพิกถอนการขายทอดตลาด
คำฟ้องโจทก์ไม่มีลายมือชื่อของผู้เรียงพิมพ์
คณะบุคคลไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้
มอบอำนาจให้ฟ้องคดีไว้ล่วงหน้าก่อนเกิดสิทธิฟ้อง
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนระบุชื่อศาลผิด
หน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐาน
อำนาจฟ้องที่รัฐเป็นผู้เสียหาย
ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
วินิจฉัยนอกเหนือไปจากคำฟ้องและคำให้การ
เข้าเป็นโจทก์ร่วมต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยด้วย
ใครมีอำนาจอนุญาตให้ฎีกาในข้อเท็จจริงได้
การถอนการบังคับคดี | คำพิพากษาถูกกลับชั้นที่สุด
ยังไม่ผิดสัญญายังไม่มีเหตุขอออกหมายบังคับคดีได้
ผู้สวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้เป็นผู้มีส่วนได้เสีย เพิกถอนการขายทอดตลาด
แจ้งคำสั่งขายทอดตลาดแก่ผู้มีส่วนได้เสีย คู่สมรสไม่มีชื่อในโฉนดที่ดิน
คำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งไม่ชอบ
ขอให้เพิกถอนการพิจารณาคดีของศาล มีพยานหลักฐานใหม่
ผู้เสียหายฐานละเมิดอำนาจศาล
ค่าสินไหมทดแทนที่จำนวนเงินไม่แน่นอนต้องนำสืบพยาน
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
ข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์
ฟ้องปลูกสร้างผิดต่อข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานคร
คดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์มีทุนทรัพย์
รับฟังพยานหลักฐานฝ่าฝืนกฎหมาย
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
หน้าที่ในการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ขาดนัดยื่นคำให้การ-สิทธิถามค้าน
วันนัดชี้สองสถาน
ห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง
การส่งคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดี
สิทธิในฐานะผู้รับจำนอง -ขอรับชำระหนี้ได้ก่อนเจ้าหนี้อื่น
การบรรยายคำฟ้องที่มิได้ระบุวัน เวลาที่แน่ชัดว่าเป็นวันที่เท่าใด ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คำร้องสอด
ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม
ยื่นฟ้องคดีอันไม่มีข้อพิพาทแต่ได้มีบุคคลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องในคดี
ฟ้องขอให้พิพากษาเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้น-ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์
การนำสืบพยานหลักฐาน