ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




อำนาจฟ้องที่รัฐเป็นผู้เสียหาย

ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ-อำนาจฟ้องที่รัฐเป็นผู้เสียหาย

การที่พนักงานสอบสวนจะดำเนินคดีกับผู้ใดหรือไม่? เป็นเรื่องของข้อเท็จจริง และพยานหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด ที่โจทก์อ้างว่าการที่จำเลยที่ 1 ปล่อยตัวผู้ต้องหาไปทำให้โจทก์ถูกดำเนินคดีนั้น  จะถือว่าโจทก์ถูกดำเนินคดีเพราะการปล่อยตัวผู้ต้องหาไปยังไม่ได้ หากการปล่อยตัวผู้ต้องหาของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ผู้ที่ได้รับความเสียหายก็คือรัฐมิใช่โจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ได้ เนื่องจากเป็นความผิดที่รัฐเป็นผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3042/2537

           โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจหน้าที่ในการสืบสวนคดีอาญาและจับกุมควบคุมตัวผู้ต้องหา ได้ปล่อยตัว ด. กับอ. ซึ่งเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดข้อหาลักทรัพย์ แล้วจำเลยที่ 1 แจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์ร่วมกับผู้ต้องหาทั้งสองดังกล่าวลักทรัพย์ทำให้โจทก์ต้องถูกฟ้องเป็นคดีอาญา เป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ดังนี้ การที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการจะดำเนินคดีแก่โจทก์หรือไม่เป็นเรื่องของข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดของโจทก์เอง ไม่เกี่ยวกับการปล่อยตัวบุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดการที่จำเลยที่ 1 ปล่อยตัว ด.และ อ. ไปและโจทก์ถูกดำเนินคดีจะถือว่าโจทก์ถูกดำเนินคดีเพราะการปล่อยตัวบุคคลทั้งสองไปยังไม่ได้ อีกทั้งหากการปล่อยตัว ด.และ อ. ของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการผู้ที่ได้รับความเสียหาย คือ รัฐไม่ใช่โจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ได้

          โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสามเป็นเจ้าพนักงานมีตำแหน่งเป็นกำนันมีอำนาจหน้าที่ในการสืบสวนคดีอาญาและจับกุมควบคุมตัวผู้ต้องหาเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2533 เวลากลางคืน จำเลยทั้งสามร่วมกันปล่อยตัวนายดอเลาะ มูซอ กับนายมะแอไม่ทราบนามสกุล ผู้ต้องหาซึ่งกระทำความผิดข้อหาลักทรัพย์แล้วแจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์ได้ร่วมกับผู้ต้องหาทั้งสองลักทรัพย์ ทำให้โจทก์ต้องถูกฟ้องเป็นคดีอาญาหมายเลขดำที่ 687/2533 ของศาลชั้นต้นเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต ต่อมาระหว่างวันที่ 21กุมภาพันธ์ 2533 เวลากลางคืนและกลางวันติดต่อกันถึงวันที่ 17กันยายน 2533 เวลากลางวัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยทั้งสามซึ่งรู้อยู่แล้วว่าโจทก์มิได้กระทำความผิดข้อหาลักทรัพย์ แต่จำเลยทั้งสามได้แจ้งต่อร้อยตำรวจเอกพงษ์ศักดิ์ อ่อนปุย พนักงานสอบสวนว่า โจทก์กระทำผิดข้อหาลักทรัพย์อันเป็นความเท็จเพื่อต้องการแกล้งให้โจทก์ต้องได้รับโทษหรือรับโทษหนักขึ้น เป็นการร่วมกันแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ ซึ่งอาจทำให้โจทก์หรือประชาชนเสียหาย และเมื่อวันที่ 21พฤศจิกายน 2533 เวลากลางวัน กับวันที่ 31 มกราคม 2534เวลากลางวัน จำเลยทั้งสามได้เบิกความในคดีอาญาหมายเลขดำที่687/2533 ของศาลชั้นต้นว่า โจทก์เป็นคนร้ายและกระทำความผิดร่วมกับคนร้ายที่หลบหนีไปอีก 2 คน ซึ่งเป็นความเท็จ ความจริงแล้วจำเลยที่ 1ได้ปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้งสองคนให้หลบหนีไปตั้งแต่วันเกิดเหตุ แต่ต้องการปกปิดความผิดของตนเองจึงแกล้งควบคุมตัวโจทก์มาดำเนินคดีแทน ซึ่งความเท็จที่จำเลยทั้งสามเบิกความนั้นเป็นข้อสำคัญในคดีเป็นการร่วมกันเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีอาญา ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,91, 157, 172, 174, 177 และ 184

          ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง
          จำเลยทั้งสามให้การปฏิเสธ

          ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ลงโทษจำคุก 2 ปี ข้อหาอื่นให้ยกและให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3

          จำเลยที่ 1 อุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์

          โจทก์ฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ที่โจทก์ฎีกาเป็นปัญหาข้อกฎหมายว่า โจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำของจำเลยที่ 1 เพราะการที่จำเลยที่ 1 ปล่อยตัวนายดอเลาะและนายมะแอไปโดยรู้อยู่แล้วว่าบุคคลทั้งสองเป็นผู้กระทำความผิดฐานลักทรัพย์ และคุมตัวโจทก์ไว้ย่อมทำให้โจทก์ถูกดำเนินคดี หากจำเลยที่ 1 ไม่ปล่อยตัวบุคคลทั้งสองไปพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการย่อมจะไม่ดำเนินคดีแก่โจทก์เนื่องจากบุคคลทั้งสองจะต้องรับสารภาพและทำให้พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการทราบว่า โจทก์มิใช่ผู้กระทำความผิด จึงถือว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1และเป็นผู้เสียหายในคดีนี้นั้น ศาลฎีกาเห็นว่า การที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการจะดำเนินคดีแก่โจทก์หรือไม่เป็นเรื่องของข้อเท็จจริง และพยานหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดของโจทก์เองไม่เกี่ยวกับการปล่อยตัวบุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด ที่โจทก์อ้างว่าหากจำเลยที่ 1 ไม่ปล่อยตัวนายดอเลาะและนายมะแอไป บุคคลทั้งสองย่อมรับสารภาพอันจะทำให้พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการทราบว่าโจทก์มิใช่ผู้กระทำความผิดและไม่ดำเนินคดีแก่โจทก์นั้นเป็นเพียงการคาดคะเนของโจทก์เอง การที่จำเลยที่ 1ปล่อยตัวบุคคลทั้งสองไปและโจทก์ถูกดำเนินคดีจะถือว่าโจทก์ถูกดำเนินคดีเพราะการปล่อยตัวบุคคลทั้งสองไปยังไม่ได้ หากการปล่อยตัวบุคคลทั้งสองของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ผู้ที่ได้รับความเสียหายก็คือรัฐมิใช่โจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น"

          พิพากษายืน

หมายเหตุ 

          1. การฟ้องคดีอาญาก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้เกี่ยวข้อง เช่นจำเลยเป็นอย่างมาก กฎหมายจึงจำเป็นต้องคุ้มครองผู้เกี่ยวข้องในลักษณะดังกล่าว เพื่อให้กระบวนยุติธรรมดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและสมเหตุผล หลักดังกล่าวทำให้ผู้ที่จะฟ้องคดีอาญาเฉพาะกรณีของราษฎรฟ้องร้องกันเองต้องเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายด้วย

          2. ตามข้อเท็จจริงคดีนี้ ประเด็นที่น่าสนใจคือ โจทก์เป็นบุคคลที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดนั้นหรือไม่ หลักของผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีอาญาในประเด็นนี้อาจแยกพิจารณาตามลักษณะ ของความผิดอาญา กล่าวคือ

           หากเป็นความผิดต่อเอกชน ผู้ที่ถูกกระทำย่อมเป็นผู้เสียหาย

           หากเป็นความผิดต่อเจ้าพนักงานของรัฐ หรือกิจการของรัฐ โดยทั่วไปถือว่ารัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย เอกชนไม่ใช่ผู้เสียหายแต่ถ้าพาดพิงเกี่ยวข้องไปถึงบุคคลใดให้ได้รับความเสียหายโดยตรงแล้วผู้นั้นอาจเป็นผู้เสียหายได้

           นอกจากนี้ยังมีความผิดต่อรัฐ ซึ่งรัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหายเอกชนไม่ใช่ผู้เสียหาย เช่น ความผิดต่อ พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯพระราชบัญญัติจราจรทางบก เป็นต้น

          3. คดีนี้ โจทก์ฟ้องจำเลยตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ รัฐเป็นผู้เสียหายโดยตรงตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ตัวอย่างเช่น

           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 530/2526 การที่จำเลยในฐานะพนักงานสอบสวนไม่ดำเนินคดีแก่ ซ. ในข้อหาแจ้งความเท็จแก่โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานผู้สอบสวน ช. ที่ขอรับเงินสงเคราะห์ผู้ประสบภัย การกระทำของจำเลยตามฟ้องแม้จะเป็นความจริงก็เป็นการกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการของจำเลยอันเป็นผลเสียหายแก่รัฐ มิได้ก่อให้เกิดความเสียหายหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิและหน้าที่ของโจทก์โดยตรงแต่ประการใดโจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย และไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ฐานเจ้าพนักงานขัดขวางมิให้การเป็นไปตาม มาตรา 165และฐานช่วยผู้กระทำความผิดตาม มาตรา 189 ได้

           อนึ่ง แม้เอกชนไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง แต่หลักกฎหมายในเรื่องนี้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ก็เปิดโอกาสให้เอกชนสามารถที่จะกล่าวโทษตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ได้เพื่อให้รัฐดำเนินคดี

          4. คดีนี้ มีแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ใกล้เคียง คือ

           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3035/2523 จำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้านละเว้นการจับกุมผู้บุกรุกที่สาธารณะ มิใช่เป็นการกระทำเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ตามความหมายในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เพราะผลของการไม่จับกุมมิได้เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เลยการที่จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่า โจทก์เป็นผู้กระทำผิดฐานบุกรุกที่สาธารณะเป็นการกระทำอีกกรรมหนึ่งต่างหากจากการกระทำดังกล่าวมา แม้โจทก์จะได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยในข้อหานี้ก็หาทำให้โจทก์เป็นผู้เสียหายในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ไปด้วยไม่โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องในข้อหานี้

           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2294/2517 บุตรโจทก์ถูก ส. ขับรถยนต์ชนชนถึงแก่ความตาย โจทก์จัดการแทนบุตร จำเลยเป็นนายตำรวจผู้สืบสวนสอบสวนคดีนั้น ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ คือ จดคำพยานไม่ตรงกับคำให้การของพยานโดยไม่ชอบเพื่อช่วยเหลือ ส. มิให้ต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลง ถือว่าการกระทำผิดของจำเลยเป็นการกระทำต่อโจทก์ โจทก์เป็นผู้เสียหายโดยตรง มีอำนาจฟ้องจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,200(ฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และฐานพนักงานสอบสวนกระทำการในตำแหน่งอันเป็นการมิชอบ)

           ผู้บันทึกมีข้อสังเกตเกี่ยวกับคำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสองฉบับนี้คือ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3035/2523 การที่จำเลยละเว้นไม่จับกุมผู้กระทำผิดนั้น โจทก์ไม่ได้รับความเสียหายโดยตรง เพราะหากมีผู้กระทำผิดจริง การกระทำความผิดและผู้กระทำความผิดมิได้เปลี่ยนแปลงไป การกระทำของจำเลยเป็นเพียงการละเว้นไม่จับกุมทันทีเท่านั้นซึ่งอาจเกิดจากจำเลยยังไม่แน่ใจหรือมีเหตุผลอื่นที่เหมาะสมก็ได้อย่างไรก็ตามหากมีการละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่จริง รัฐย่อมเป็นผู้เสียหายโดยตรงส่วนในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2294/2517 นั้นโจทก์เป็นผู้เสียหายโดยตรงเพราะว่าการที่จำเลยจดคำให้การพยานให้ผิดไปจากความจริงโดยไม่ชอบ ย่อมเป็นผลให้พยานหลักฐานของการกระทำผิดเปลี่ยนแปลงไปและผลของคดีอาจเปลี่ยนแปลงไปด้วย โจทก์ซึ่งเป็นบิดาผู้ที่ถูกจำเลยขับรถยนต์ชนถึงแก่ความตายย่อมได้รับความเสียหายโดยตรงจากการแก้ไขบิดเบือนพยานหลักฐานของโจทก์

           จุมพลภิญโญสินวัฒน์
                




เกี่ยวกับวิธีพิจารณาความแพ่ง

การเข้ารับมรดกความกรณีคดีถึงที่สุดแล้วได้หรือไม่และเป็นการขัดต่อ ป.วิ.แพ่ง มาตรา 42 หรือไม่
ใครบ้างมีคุณสมบัติเป็นบุคคลที่จะเข้าแทนที่คู่ความผู้มรณะได้, ศาลฎีกาวินิจฉัยคู่ความผู้มรณะ
คำสั่งคดีมีมูลเป็นที่สุดห้ามอุทธรณ์, การเพิกถอนกระบวนพิจารณาผิดระเบียบ, สิทธิในการขอพิจารณาใหม่
คดีก่อนคู่ความตกลงท้ากันเป็นข้อแพ้ชนะคดี, ฟ้องซ้ำในคดีแพ่ง, สิทธิขับไล่จากที่ดินกรรมสิทธิ์รวม,
ฟ้องแย้งในคดีแพ่ง, การผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน, การเรียกเงินมัดจำคืนตามสัญญา
การสละประเด็นข้อพิพาท, อำนาจศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 (3), อัตราดอกเบี้ยตามกฎหมายแพ่งใหม่
สัญญาประนีประนอมยอมความตกลงยุติคดี-ฟ้องซ้ำ
พิพากษาที่เกินคำขอและขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1548 อันเป็นการไม่ชอบ
ฟ้องแย้งของจำเลยแตกต่างกันกับคำฟ้องเดิม
ค่าสินไหมทดแทนที่จำนวนเงินไม่แน่นอนต้องนำสืบพยาน
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
ข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์
ฟ้องปลูกสร้างผิดต่อข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานคร
ศาลอุทธรณ์พิพากษาเกินคำขอ
คดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์มีทุนทรัพย์
รับฟังพยานหลักฐานฝ่าฝืนกฎหมาย
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
หน้าที่ในการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ขาดนัดยื่นคำให้การ-สิทธิถามค้าน การพิจารณาผิดระเบียบ
โจทก์ร่วมไม่จำต้องจัดทำคำให้การใหม่เพื่อแก้คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลย
วันนัดชี้สองสถาน
ห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง
คำร้องสอด
การส่งคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดี
สิทธิในฐานะผู้รับจำนอง -ขอรับชำระหนี้ได้ก่อนเจ้าหนี้อื่น
การบรรยายคำฟ้องที่มิได้ระบุวัน เวลาที่แน่ชัดว่าเป็นวันที่เท่าใด ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม
ยื่นฟ้องคดีอันไม่มีข้อพิพาทแต่ได้มีบุคคลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องในคดี
การยื่นคำร้องในชั้นบังคับคดีไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยไม่ครบหน้าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คู่ความจะนำคดีเรื่องที่เคยพิพาทมาฟ้องกันใหม่อีกไม่ได้
การยื่นอุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนด 1 เดือน
ฟ้องขับไล่- แสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลา 8 วัน
เพิกถอนการขายทอดตลาดหากเป็นประวิงให้ชักช้าต้องรับผิดชดค่าสินไหมทดแทน
ผู้สวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้เป็นผู้มีส่วนได้เสีย เพิกถอนการขายทอดตลาด
ฟ้องขอให้พิพากษาเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้น-ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์
ในคดีเดิมเป็นเพียงคู่ความตกลงยุติคดีไม่ดำเนินการต่อเท่านั้นไม่เป็นฟ้องซ้ำ
การยื่นและการส่งคำคู่ความในคดีฟอกเงิน
ให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีต้องชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียม
ค่าขาดไร้อุปการะเป็นหนี้ที่แบ่งแยกเป็นส่วนแต่ละคน
เจ้าหนี้ผู้รับจำนองขอรับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดที่ดิน
การมีอยู่ขององค์กรสาธารณประโยชน์ที่ได้รับรองแล้ว
กระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษา-ฟ้องซ้ำ
ยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อเป็นคู่ความฝ่ายที่สามในคดีอาญา
อายัดเงินปันผลของหุ้นได้แม้จะพ้นระยะเวลา 10 ปีแล้ว
เจ้าหนี้บุริมสิทธิ มิได้ร้องขอให้บังคับคดีภายในสิบปี
คำสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง นอกฟ้องนอกประเด็น
สิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนของผู้รับจำนอง
ฟ้องซ้ำ คดีถึงที่สุดห้ามมิให้คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีก
โจทก์และจำเลยต่างมีสภาพเป็น"เจ้าหนี้" และ "ลูกหนี้" ตามคำพิพากษา
จำเลยไม่ใช่บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะจึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลออกคำบังคับ
ไม่เกินห้าหมื่นบาทห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
การร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยทรัพย์ที่ถูกยึดต้องอ้างว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของทรัพย์
เงื่อนเวลาเริ่มต้น-สิ้นสุดให้สันนิษฐานว่าเพื่อประโยชน์แก่ฝ่ายลูกหนี้
นำใบแต่งทนายความซึ่งปลอมลายมือชื่อไปทำสัญญายอม
อำนาจว่าความหรือดำเนินกระบวนพิจารณาของทนายความในศาล
ฟ้องเคลือบคลุม, สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข, วางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ
ค่าเสียหายตามคำพิพากษาและค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทน
ผู้ร้องสอดต้องมีส่วนได้เสียกับคู่ความเดิมถือเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม
แก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยเป็นข้อยกเว้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 180
ยื่นเอกสารฝ่าฝืนต่อกฎหมายไม่อาจรับฟังเป็นพยานได้(ยื่นชั้นอุทธรณ์ฎีกา)
จำเลยฟ้องแย้ง-โจทก์ทิ้งฟ้อง ไม่มีผลให้ฟ้องแย้งตกไป
อำนาจปกครองบุตร-มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลใด?
ดุลพินิจสั่งค่าฤชาธรรมเนียมคำนึงความสุจริตของคู่ความ
พินัยกรรมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่?ไม่มีประเด็นข้อพิพาท
มีเส้นทางอื่นออกไม่ตัดสิทธิขอคุ้มครองประโยชน์
คำขอให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา
คำร้องขอขยายระยะเวลาในการวางเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229
ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์แล้วคดีอยู่ในอำนาจศาลอุทธรณ์
คำสั่งรับหรือไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย
ไม่รับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
การส่งหมายนัดไต่สวน-สำเนาคำร้องไม่ชอบ
คำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้อง
เพิกถอนการขายทอดตลาด
คำฟ้องโจทก์ไม่มีลายมือชื่อของผู้เรียงพิมพ์
คณะบุคคลไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้
มอบอำนาจให้ฟ้องคดีไว้ล่วงหน้าก่อนเกิดสิทธิฟ้อง
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนระบุชื่อศาลผิด
หน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐาน
ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
วินิจฉัยนอกเหนือไปจากคำฟ้องและคำให้การ
เข้าเป็นโจทก์ร่วมต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยด้วย
ใครมีอำนาจอนุญาตให้ฎีกาในข้อเท็จจริงได้
การถอนการบังคับคดี | คำพิพากษาถูกกลับชั้นที่สุด
ยังไม่ผิดสัญญายังไม่มีเหตุขอออกหมายบังคับคดีได้
แจ้งคำสั่งขายทอดตลาดแก่ผู้มีส่วนได้เสีย คู่สมรสไม่มีชื่อในโฉนดที่ดิน
คำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งไม่ชอบ
ขอให้เพิกถอนการพิจารณาคดีของศาล มีพยานหลักฐานใหม่
ผู้เสียหายฐานละเมิดอำนาจศาล