ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




อำนาจปกครองบุตร-มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลใด?

 ขอให้ศาลถอนอำนาจปกครองบุตร*มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลใด? Mother Revoke Custody from Father

 อำนาจปกครองบุตร-มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลใด?

การที่จำเลย(บิดา)ได้เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ เป็นการได้มาโดยความยินยอมในกรณีหย่า อันเป็นการได้อำนาจปกครองมาโดยข้อสัญญา การที่โจทก์(มารดา)ฟ้องขอให้เพิกถอนอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ โดยอ้างเหตุแห่งการฟ้องร้องว่าจำเลย(บิดา)ปล่อยปละละเลยไม่ทำหน้าที่ของผู้ใช้อำนาจปกครอง ดังนั้น สถานที่ที่ได้มีการจดทะเบียนหย่าเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล 
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  6155/2540
 
  จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์อันเป็นการ ได้มาโดยความยินยอมในกรณีหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1520 และมาตรา 1566(1) เป็นการได้อำนาจปกครองมาโดยข้อสัญญา การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ของจำเลย โดยอ้างเหตุแห่งการฟ้องร้องว่าจำเลยปล่อยปละละเลยไม่ทำหน้าที่ของผู้ใช้อำนาจปกครองจึงเป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยประพฤติผิดสัญญาหรือข้อตกลงในการจดทะเบียนหย่า ดังนั้น สถานที่ที่ได้มีการจดทะเบียนหย่าและทำบันทึกข้อตกลงในเรื่องการใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ของจำเลย จึงถือได้ว่าเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล โจทก์และจำเลยได้จดทะเบียนการหย่าและทำบันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนการหย่าที่สำนักงานเขตดุสิต  กรุงเทพมหานคร จึงต้องถือว่ามูลคดีนี้เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร และเมื่อศาลจังหวัดสระบุรีมิใช่ศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลโจทก์จึงไม่อาจนำคดีมาฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสระบุรีได้คดีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ว่าบุตรผู้เยาว์มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลจังหวัดสระบุรีอันเป็นศาลชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้หรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปได้

 
          โจทก์ฟ้องว่า เดิมจำเลยเป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือเด็กชายพิชิตและเด็กหญิงชุติมา อายุ 13 ปี และ 10 ปี ตามลำดับ ต่อมาวันที่ 28 มกราคม 2536 โจทก์ จำเลยตกลงหย่าขาดจากการเป็นสามีภรรยากัน โดยให้บุตรผู้เยาว์ทั้งสองอยู่ในอำนาจปกครองของจำเลย ค่าเลี้ยงดูและค่าการศึกษาของบุตรทั้งสองจำเลยเป็นผู้ออกทั้งสิ้น หลังจากหย่ากันแล้วจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงโดยปล่อยปละละเลยไม่เลี้ยงดูบุตรทั้งสองปล่อยให้โจทก์เป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาบุตรทั้งสอง ซึ่งต้องสิ้นค่าใช้จ่ายเดือนละประมาณ 5,000 บาท ทั้งบุตรผู้เยาว์ทั้งสองต้องการอยู่ในอำนาจปกครองของโจทก์ปัจจุบันบุตรผู้เยาว์ทั้งสองพักอาศัยอยู่กับโจทก์ ณ บ้านเลขที่ 67/17 ถนนพหลโยธิน ตำบลปากเพรียว อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี ขอให้เพิกถอนอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองของจำเลย โดยให้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองอยู่กับโจทก์

          จำเลยให้การว่า โจทก์จำเลยหย่ากันที่สำนักงานเขตดุสิตกรุงเทพมหานคร มูลคดีจึงเกิดที่กรุงเทพมหานคร ทั้งจำเลยก็มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดปทุมธานี โจทก์จึงเสนอคำฟ้องต่อศาลจังหวัดสระบุรีไม่ได้ ขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ถอนอำนาจปกครองเด็กชายพิชิต และเด็กหญิงชุติมา ของจำเลยทั้งหมด แล้วให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรทั้งสองคน
          จำเลยอุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง
          โจทก์ฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาข้อแรกต้องวินิจฉัยในชั้นนี้ว่าโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลจังหวัดสระบุรีได้หรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) บัญญัติว่า คำฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่ ปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ระบุว่า จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ 51 หมู่ 4ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ซึ่งอยู่ในเขตศาลจังหวัดปทุมธานี โจทก์มิได้ฟ้องคดีต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลจึงต้องพิจารณาต่อไปว่า ศาลจังหวัดสระบุรีเป็นศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลหรือไม่ เห็นว่า การที่จำเลยได้เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองนั้นเป็นการได้มาโดยความยินยอมในกรณีหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1520 และมาตรา 1566(6) อันเป็นการได้อำนาจปกครองมาโดยข้อสัญญา การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองของจำเลยโดยอ้างเหตุแห่งการฟ้องร้องว่าจำเลยปล่อยปละละเลยไม่ทำหน้าที่ของผู้ใช้อำนาจปกครองจึงเป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยประพฤติผิดสัญญาหรือข้อตกลงในการจดทะเบียนหย่า ดังนั้น สถานที่ที่ได้มีการจดทะเบียนหย่าและทำบันทึกข้อตกลงในเรื่องการใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองของจำเลยจึงถือได้ว่าเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล เมื่อได้ความว่าโจทก์และจำเลยได้จดทะเบียนการหย่าและทำบันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนการหย่าที่สำนักงานเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร จึงต้องถือว่ามูลคดีนี้เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานครศาลจังหวัดสระบุรีจึงหาใช่ศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลแต่อย่างใดไม่ โจทก์จึงไม่อาจนำคดีมาฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสระบุรีได้ คดีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ว่าบุตรผู้เยาว์ทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลจังหวัดสระบุรีอันเป็นศาลชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีหรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปได้

  พิพากษายืน
 

 

การที่จำเลย(บิดา)ได้เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ เป็นการได้มาโดยความยินยอมในกรณีหย่า อันเป็นการได้อำนาจปกครองมาโดยข้อสัญญา การที่โจทก์(มารดา)ฟ้องขอให้เพิกถอนอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ โดยอ้างเหตุแห่งการฟ้องร้องว่าจำเลย(บิดา)ปล่อยปละละเลยไม่ทำหน้าที่ของผู้ใช้อำนาจปกครอง ดังนั้น สถานที่ที่ได้มีการจดทะเบียนหย่าเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล

 

 


มาตรา 1520 วรรคหนึ่ง  1.  ในกรณีหย่าโดยความยินยอม  2. ให้สามีภริยาทำความตกลงเป็นหนังสือ ว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรคนใด  3. ถ้ามิได้ตกลงกันหรือตกลงกันไม่ได้ ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด วรรคสอง 1. ในกรณีหย่าโดยคำพิพากษาของศาล  2. ให้ศาลซึ่งพิจารณาคดีฟ้องหย่านั้น ชี้ขาดด้วยว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรคนใด  3. ในการพิจารณาชี้ขาด  3.1 ถ้าศาลเห็นว่ามีเหตุที่จะถอนอำนาจปกครอง ของคู่สมรสนั้นได้ตาม มาตรา 1582  3.2 ศาลจะถอนอำนาจปกครองของคู่สมรส และสั่งให้บุคคลภายนอกเป็นผู้ปกครองก็ได้  3.3 ทั้งนี้ให้ศาลคำนึงถึงความผาสุกและ ประโยชน์ของบุตรนั้นเป็นสำคัญ 

 

 

Divorce by Mutual Consent Section 1520.   In case of divorce by mutual consent,  the spouses shall make an agreement  in writing for the exercise of parental power  over each of the children.  In the absence of such agreement or  an agreement thereon cannot be reached,  the matter shall be decided by the Court. Paragraph 2 In case of divorce by judgment of the Court,  the Court trying the divorce case shall also  order that the parental power over each of  the children belongs to any party. If, in such trial,  it is deemed proper to deprive that spouse of  the parental power under Section 1582,  the Court may give an order depriving that  spouse of the same and appointing a third person  as a guardian, by taking into consideration  the happiness and interest of the child.




เกี่ยวกับวิธีพิจารณาความแพ่ง

ฟ้องแย้งของจำเลยแตกต่างกันกับคำฟ้องเดิม
ค่าสินไหมทดแทนที่จำนวนเงินไม่แน่นอนต้องนำสืบพยาน
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
ข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์
ฟ้องปลูกสร้างผิดต่อข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานคร
ศาลอุทธรณ์พิพากษาเกินคำขอ
คดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์มีทุนทรัพย์
รับฟังพยานหลักฐานฝ่าฝืนกฎหมาย
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
หน้าที่ในการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ขาดนัดยื่นคำให้การ-สิทธิถามค้าน การพิจารณาผิดระเบียบ
โจทก์ร่วมไม่จำต้องจัดทำคำให้การใหม่เพื่อแก้คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลย
วันนัดชี้สองสถาน
ห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง
คำร้องสอด
การส่งคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดี
สิทธิในฐานะผู้รับจำนอง -ขอรับชำระหนี้ได้ก่อนเจ้าหนี้อื่น
การบรรยายคำฟ้องที่มิได้ระบุวัน เวลาที่แน่ชัดว่าเป็นวันที่เท่าใด ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม
ยื่นฟ้องคดีอันไม่มีข้อพิพาทแต่ได้มีบุคคลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องในคดี
การยื่นคำร้องในชั้นบังคับคดีไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยไม่ครบหน้าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คู่ความจะนำคดีเรื่องที่เคยพิพาทมาฟ้องกันใหม่อีกไม่ได้
การยื่นอุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนด 1 เดือน
ฟ้องขับไล่- แสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลา 8 วัน
เพิกถอนการขายทอดตลาดหากเป็นประวิงให้ชักช้าต้องรับผิดชดค่าสินไหมทดแทน
ผู้สวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้เป็นผู้มีส่วนได้เสีย เพิกถอนการขายทอดตลาด
ฟ้องขอให้พิพากษาเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้น-ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์
ในคดีเดิมเป็นเพียงคู่ความตกลงยุติคดีไม่ดำเนินการต่อเท่านั้นไม่เป็นฟ้องซ้ำ
พิพากษาที่เกินคำขอและขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1548 อันเป็นการไม่ชอบ
การยื่นและการส่งคำคู่ความในคดีฟอกเงิน
ให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีต้องชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียม
สัญญาประนีประนอมยอมความตกลงยุติคดี-ฟ้องซ้ำ
ค่าขาดไร้อุปการะเป็นหนี้ที่แบ่งแยกเป็นส่วนแต่ละคน
เจ้าหนี้ผู้รับจำนองขอรับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดที่ดิน
การมีอยู่ขององค์กรสาธารณประโยชน์ที่ได้รับรองแล้ว
กระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษา-ฟ้องซ้ำ
ยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อเป็นคู่ความฝ่ายที่สามในคดีอาญา
อายัดเงินปันผลของหุ้นได้แม้จะพ้นระยะเวลา 10 ปีแล้ว
เจ้าหนี้บุริมสิทธิ มิได้ร้องขอให้บังคับคดีภายในสิบปี
คำสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง นอกฟ้องนอกประเด็น
สิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนของผู้รับจำนอง
ฟ้องซ้ำ คดีถึงที่สุดห้ามมิให้คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีก
โจทก์และจำเลยต่างมีสภาพเป็น"เจ้าหนี้" และ "ลูกหนี้" ตามคำพิพากษา
จำเลยไม่ใช่บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะจึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลออกคำบังคับ
ไม่เกินห้าหมื่นบาทห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
การร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยทรัพย์ที่ถูกยึดต้องอ้างว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของทรัพย์
เงื่อนเวลาเริ่มต้น-สิ้นสุดให้สันนิษฐานว่าเพื่อประโยชน์แก่ฝ่ายลูกหนี้
นำใบแต่งทนายความซึ่งปลอมลายมือชื่อไปทำสัญญายอม
อำนาจว่าความหรือดำเนินกระบวนพิจารณาของทนายความในศาล
ฟ้องเคลือบคลุม, สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข, วางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ
ค่าเสียหายตามคำพิพากษาและค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทน
ผู้ร้องสอดต้องมีส่วนได้เสียกับคู่ความเดิมถือเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม
แก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยเป็นข้อยกเว้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 180
ยื่นเอกสารฝ่าฝืนต่อกฎหมายไม่อาจรับฟังเป็นพยานได้(ยื่นชั้นอุทธรณ์ฎีกา)
จำเลยฟ้องแย้ง-โจทก์ทิ้งฟ้อง ไม่มีผลให้ฟ้องแย้งตกไป
ดุลพินิจสั่งค่าฤชาธรรมเนียมคำนึงความสุจริตของคู่ความ
พินัยกรรมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่?ไม่มีประเด็นข้อพิพาท
มีเส้นทางอื่นออกไม่ตัดสิทธิขอคุ้มครองประโยชน์
คำขอให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา
คำร้องขอขยายระยะเวลาในการวางเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229
ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์แล้วคดีอยู่ในอำนาจศาลอุทธรณ์
คำสั่งรับหรือไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย
ไม่รับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
การส่งหมายนัดไต่สวน-สำเนาคำร้องไม่ชอบ
คำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้อง
เพิกถอนการขายทอดตลาด
คำฟ้องโจทก์ไม่มีลายมือชื่อของผู้เรียงพิมพ์
คณะบุคคลไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้
มอบอำนาจให้ฟ้องคดีไว้ล่วงหน้าก่อนเกิดสิทธิฟ้อง
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนระบุชื่อศาลผิด
หน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐาน
อำนาจฟ้องที่รัฐเป็นผู้เสียหาย
ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
วินิจฉัยนอกเหนือไปจากคำฟ้องและคำให้การ
เข้าเป็นโจทก์ร่วมต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยด้วย
ใครมีอำนาจอนุญาตให้ฎีกาในข้อเท็จจริงได้
การถอนการบังคับคดี | คำพิพากษาถูกกลับชั้นที่สุด
ยังไม่ผิดสัญญายังไม่มีเหตุขอออกหมายบังคับคดีได้
แจ้งคำสั่งขายทอดตลาดแก่ผู้มีส่วนได้เสีย คู่สมรสไม่มีชื่อในโฉนดที่ดิน
คำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งไม่ชอบ
ขอให้เพิกถอนการพิจารณาคดีของศาล มีพยานหลักฐานใหม่
ผู้เสียหายฐานละเมิดอำนาจศาล