ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




สัญญาประนีประนอมยอมความตกลงยุติคดี-ฟ้องซ้ำ

 

เพิ่มเพื่อนไลน์แชทกับทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

 

สัญญาประนีประนอมยอมความตกลงยุติคดี-ฟ้องซ้ำ

โจทก์กับจำเลยเคยฟ้องคดีกันมาก่อนและทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่า จำเลยตกลงไม่ติดใจเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าการศึกษาของบุตรผู้เยาว์ทั้งสอง ส่วนโจทก์ไม่ติดใจจดทะเบียนบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย และศาลมีคำพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุด การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ใหม่จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำหรือไม่ และโจทก์มีอำนาจยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นหรือไม่ เห็นว่า แม้คดีนี้โจทก์จะฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าเด็กหญิง ต. และเด็กหญิง อ. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ ให้ถอนอำนาจปกครองบุตรของจำเลย และให้จำเลยส่งมอบบุตรผู้เยาว์ทั้งสองให้แก่โจทก์อันเป็นคำขอเช่นเดียวกับคำขอในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ พ.474/2560 ของศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ซึ่งมีประเด็นว่าเด็กหญิง ต. และเด็กหญิง อ. เป็นบุตรของโจทก์หรือไม่ และมีเหตุที่จะถอนอำนาจปกครองบุตรของจำเลยกับให้จำเลยส่งมอบบุตรผู้เยาว์ทั้งสองแก่โจทก์หรือไม่ แต่ประเด็นในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ พ.474/2560 ของศาลเยาวชนและครอบครัวกลางที่ว่าเด็กหญิง ต. และเด็กหญิง อ. เป็นบุตรของโจทก์หรือไม่ ศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดเนื่องจากโจทก์ตกลงไม่ติดใจจดทะเบียนบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย และมิได้มีการตกลงยอมรับกันในประเด็นข้ออื่น อันพอจะถือได้ว่าศาลได้มีคำวินิจฉัยในคดีดังกล่าวแล้ว กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยตกลงยุติคดีไม่ดำเนินการต่อในคดีเดิมเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าศาลมีคำวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีในคดีหมายเลขดำที่ พ.474/2560 หมายเลขแดงที่ พ.923/2560 ของศาลเยาวชนและครอบครัวกลางแล้ว ประกอบกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547 ได้บัญญัติถึงเหตุที่ทำให้เด็กอันเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกันว่าจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร รวม 3 กรณีด้วยกัน ถึงแม้ว่าคดีเดิมโจทก์ไม่ติดใจจดทะเบียนเด็กหญิง ต. และเด็กหญิง อ. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ แต่ยังมีกรณีที่เด็กหญิง ต. และเด็กหญิง อ. จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ได้โดยคำพิพากษาของศาล การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เพื่อขอให้ศาลพิพากษาว่าเด็กหญิง ต. และเด็กหญิง อ. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ย่อมเป็นประโยชน์ต่อผู้เยาว์ทั้งสอง มิใช่การรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ประกอบพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 6 ฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ ทั้งคำฟ้องคดีนี้มิใช่คำฟ้องที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีเดิม อันจะต้องยื่นต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 7 (2) ประกอบพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 6 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3772/2565

แม้คดีนี้โจทก์จะฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า ผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ ให้ถอนอำนาจปกครองบุตรของจำเลย และให้จำเลยส่งมอบบุตรผู้เยาว์ทั้งสองให้แก่โจทก์อันเป็นคำขอเช่นเดียวกับคำขอในคดีเดิม ซึ่งมีประเด็นว่าผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรของโจทก์หรือไม่ และมีเหตุที่จะถอนอำนาจปกครองบุตรของจำเลยกับให้จำเลยส่งมอบบุตรผู้เยาว์ทั้งสองแก่โจทก์หรือไม่ แต่ประเด็นในคดีเดิมที่ว่า ผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรของโจทก์หรือไม่ ศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดเนื่องจากโจทก์ตกลงไม่ติดใจจดทะเบียนบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย และมิได้มีการตกลงยอมรับกันในประเด็นข้ออื่น อันพอจะถือได้ว่าศาลได้มีคำวินิจฉัยในคดีดังกล่าวแล้ว กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยตกลงยุติคดีไม่ดำเนินการต่อในคดีเดิมเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าศาลมีคำวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีในคดีเดิมแล้ว ประกอบกับ ป.พ.พ. มาตรา 1547 ได้บัญญัติถึงเหตุที่ทำให้เด็กอันเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกันว่าจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร รวม 3 กรณีด้วยกัน ถึงแม้ว่าคดีเดิมโจทก์ไม่ติดใจจดทะเบียนผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ แต่ยังมีกรณีที่ผู้เยาว์ทั้งสองจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ได้โดยคำพิพากษาของศาล การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เพื่อขอให้ศาลพิพากษาว่า ผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ย่อมเป็นประโยชน์ต่อผู้เยาว์ทั้งสอง มิใช่การรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 6 ฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ ทั้งคำฟ้องคดีนี้มิใช่คำฟ้องที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีเดิม อันจะต้องยื่นต่อศาลเดิมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 7 (2) ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 6 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้น

โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าเด็กหญิง ต. และเด็กหญิง อ. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ ให้ถอนอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองของจำเลย โดยให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองแต่เพียงผู้เดียว และให้จำเลยส่งมอบบุตรผู้เยาว์ทั้งสองให้แก่โจทก์

จำเลยให้การและฟ้องแย้งขอให้ยกฟ้องและขอให้บังคับโจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองคนละ 200,000 บาท ต่อเดือน นับแต่เดือนพฤศจิกายน 2559 จนถึงวันฟ้องแย้ง เป็นเวลา 35 เดือน รวมเป็นเงิน 14,000,000 บาท และให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองคนละ 200,000 บาท ต่อเดือน นับแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 เป็นต้นไปจนกว่าบุตรผู้เยาว์ทั้งสองจะบรรลุนิติภาวะหรือจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี

โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งขอให้ยกฟ้องแย้ง

ระหว่างพิจารณา จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายเบื้องต้นว่า ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งหมายเลขดำที่ พ.474/2560 และ พ.564/2560 หมายเลขแดงที่ พ.923/2560 และ พ.924/2560 ของศาลเยาวชนและครอบครัวกลางหรือไม่ โดยคู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงว่า เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2560 โจทก์เคยฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางเป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ พ.474/2560 เรื่อง รับรองบุตรผู้เยาว์ทั้งสอง ให้ถอนอำนาจปกครองบุตรของจำเลย ให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองแต่เพียงผู้เดียว และให้จำเลยส่งมอบบุตรผู้เยาว์ทั้งสองแก่โจทก์ ส่วนจำเลยฟ้องโจทก์ต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2560 เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ พ.564/2560 เรื่อง เรียกบุตรคืน ต่อมาศาลมีคำสั่งให้รวมการพิจารณาคดีทั้งสองเข้าด้วยกัน และโจทก์กับจำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลมีคำพิพากษาตามยอมเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2560 เป็นคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ พ.923/2560 คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้

โจทก์ยื่นคำคัดค้าน

ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้ว จึงมีคำสั่งงดการสืบพยานโจทก์และพยานจำเลย

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยแล้วมีคำพิพากษาไปตามรูปคดี ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ให้ศาลชั้นต้นรวมสั่งเมื่อมีคำพิพากษาใหม่

จำเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นที่ยุติในเบื้องต้นว่า ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้โจทก์เคยยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ขอให้พิพากษาว่า เด็กหญิง ต. และเด็กหญิง อ. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ ให้ถอนอำนาจปกครองบุตรของจำเลย และให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเพียงผู้เดียว เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ พ.474/2560 และจำเลยฟ้องโจทก์ต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางขอให้โจทก์นำเด็กหญิง ต. คืนให้แก่จำเลย เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ พ.564/2560 ศาลมีคำสั่งรวมการพิจารณาคดีทั้งสองสำนวนโดยต่อมาโจทก์กับจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่า จำเลยตกลงไม่ติดใจเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าการศึกษาของบุตรผู้เยาว์ทั้งสอง ส่วนโจทก์ไม่ติดใจจดทะเบียนบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย และศาลมีคำพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุด

คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำหรือไม่ และโจทก์มีอำนาจยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นหรือไม่ เห็นว่า แม้คดีนี้โจทก์จะฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าเด็กหญิง ต. และเด็กหญิง อ. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ ให้ถอนอำนาจปกครองบุตรของจำเลย และให้จำเลยส่งมอบบุตรผู้เยาว์ทั้งสองให้แก่โจทก์อันเป็นคำขอเช่นเดียวกับคำขอในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ พ.474/2560 ของศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ซึ่งมีประเด็นว่าเด็กหญิง ต. และเด็กหญิง อ. เป็นบุตรของโจทก์หรือไม่ และมีเหตุที่จะถอนอำนาจปกครองบุตรของจำเลยกับให้จำเลยส่งมอบบุตรผู้เยาว์ทั้งสองแก่โจทก์หรือไม่ แต่ประเด็นในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ พ.474/2560 ของศาลเยาวชนและครอบครัวกลางที่ว่าเด็กหญิง ต. และเด็กหญิง อ. เป็นบุตรของโจทก์หรือไม่ ศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดเนื่องจากโจทก์ตกลงไม่ติดใจจดทะเบียนบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย และมิได้มีการตกลงยอมรับกันในประเด็นข้ออื่น อันพอจะถือได้ว่าศาลได้มีคำวินิจฉัยในคดีดังกล่าวแล้ว กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยตกลงยุติคดีไม่ดำเนินการต่อในคดีเดิมเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าศาลมีคำวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีในคดีหมายเลขดำที่ พ.474/2560 หมายเลขแดงที่ พ.923/2560 ของศาลเยาวชนและครอบครัวกลางแล้ว ประกอบกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547 ได้บัญญัติถึงเหตุที่ทำให้เด็กอันเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกันว่าจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร รวม 3 กรณีด้วยกัน ถึงแม้ว่าคดีเดิมโจทก์ไม่ติดใจจดทะเบียนเด็กหญิง ต. และเด็กหญิง อ. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ แต่ยังมีกรณีที่เด็กหญิง ต. และเด็กหญิง อ. จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ได้โดยคำพิพากษาของศาล การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เพื่อขอให้ศาลพิพากษาว่าเด็กหญิง ต. และเด็กหญิง อ. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ย่อมเป็นประโยชน์ต่อผู้เยาว์ทั้งสอง มิใช่การรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ประกอบพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 6 ฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ ทั้งคำฟ้องคดีนี้มิใช่คำฟ้องที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีเดิม อันจะต้องยื่นต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 7 (2) ประกอบพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 6 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ




เกี่ยวกับวิธีพิจารณาความแพ่ง

การเข้ารับมรดกความกรณีคดีถึงที่สุดแล้วได้หรือไม่และเป็นการขัดต่อ ป.วิ.แพ่ง มาตรา 42 หรือไม่
ใครบ้างมีคุณสมบัติเป็นบุคคลที่จะเข้าแทนที่คู่ความผู้มรณะได้, ศาลฎีกาวินิจฉัยคู่ความผู้มรณะ
คำสั่งคดีมีมูลเป็นที่สุดห้ามอุทธรณ์, การเพิกถอนกระบวนพิจารณาผิดระเบียบ, สิทธิในการขอพิจารณาใหม่
คดีก่อนคู่ความตกลงท้ากันเป็นข้อแพ้ชนะคดี, ฟ้องซ้ำในคดีแพ่ง, สิทธิขับไล่จากที่ดินกรรมสิทธิ์รวม,
ฟ้องแย้งในคดีแพ่ง, การผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน, การเรียกเงินมัดจำคืนตามสัญญา
การสละประเด็นข้อพิพาท, อำนาจศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 (3), อัตราดอกเบี้ยตามกฎหมายแพ่งใหม่
พิพากษาที่เกินคำขอและขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1548 อันเป็นการไม่ชอบ
ฟ้องแย้งของจำเลยแตกต่างกันกับคำฟ้องเดิม
ค่าสินไหมทดแทนที่จำนวนเงินไม่แน่นอนต้องนำสืบพยาน
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
ข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์
ฟ้องปลูกสร้างผิดต่อข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานคร
ศาลอุทธรณ์พิพากษาเกินคำขอ
คดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์มีทุนทรัพย์
รับฟังพยานหลักฐานฝ่าฝืนกฎหมาย
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
หน้าที่ในการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ขาดนัดยื่นคำให้การ-สิทธิถามค้าน การพิจารณาผิดระเบียบ
โจทก์ร่วมไม่จำต้องจัดทำคำให้การใหม่เพื่อแก้คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลย
วันนัดชี้สองสถาน
ห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง
คำร้องสอด
การส่งคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดี
สิทธิในฐานะผู้รับจำนอง -ขอรับชำระหนี้ได้ก่อนเจ้าหนี้อื่น
การบรรยายคำฟ้องที่มิได้ระบุวัน เวลาที่แน่ชัดว่าเป็นวันที่เท่าใด ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม
ยื่นฟ้องคดีอันไม่มีข้อพิพาทแต่ได้มีบุคคลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องในคดี
การยื่นคำร้องในชั้นบังคับคดีไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยไม่ครบหน้าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คู่ความจะนำคดีเรื่องที่เคยพิพาทมาฟ้องกันใหม่อีกไม่ได้
การยื่นอุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนด 1 เดือน
ฟ้องขับไล่- แสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลา 8 วัน
เพิกถอนการขายทอดตลาดหากเป็นประวิงให้ชักช้าต้องรับผิดชดค่าสินไหมทดแทน
ผู้สวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้เป็นผู้มีส่วนได้เสีย เพิกถอนการขายทอดตลาด
ฟ้องขอให้พิพากษาเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้น-ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์
ในคดีเดิมเป็นเพียงคู่ความตกลงยุติคดีไม่ดำเนินการต่อเท่านั้นไม่เป็นฟ้องซ้ำ
การยื่นและการส่งคำคู่ความในคดีฟอกเงิน
ให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีต้องชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียม
ค่าขาดไร้อุปการะเป็นหนี้ที่แบ่งแยกเป็นส่วนแต่ละคน
เจ้าหนี้ผู้รับจำนองขอรับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดที่ดิน
การมีอยู่ขององค์กรสาธารณประโยชน์ที่ได้รับรองแล้ว
กระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษา-ฟ้องซ้ำ
ยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อเป็นคู่ความฝ่ายที่สามในคดีอาญา
อายัดเงินปันผลของหุ้นได้แม้จะพ้นระยะเวลา 10 ปีแล้ว
เจ้าหนี้บุริมสิทธิ มิได้ร้องขอให้บังคับคดีภายในสิบปี
คำสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง นอกฟ้องนอกประเด็น
สิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนของผู้รับจำนอง
ฟ้องซ้ำ คดีถึงที่สุดห้ามมิให้คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีก
โจทก์และจำเลยต่างมีสภาพเป็น"เจ้าหนี้" และ "ลูกหนี้" ตามคำพิพากษา
จำเลยไม่ใช่บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะจึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลออกคำบังคับ
ไม่เกินห้าหมื่นบาทห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
การร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยทรัพย์ที่ถูกยึดต้องอ้างว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของทรัพย์
เงื่อนเวลาเริ่มต้น-สิ้นสุดให้สันนิษฐานว่าเพื่อประโยชน์แก่ฝ่ายลูกหนี้
นำใบแต่งทนายความซึ่งปลอมลายมือชื่อไปทำสัญญายอม
อำนาจว่าความหรือดำเนินกระบวนพิจารณาของทนายความในศาล
ฟ้องเคลือบคลุม, สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข, วางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ
ค่าเสียหายตามคำพิพากษาและค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทน
ผู้ร้องสอดต้องมีส่วนได้เสียกับคู่ความเดิมถือเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม
แก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยเป็นข้อยกเว้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 180
ยื่นเอกสารฝ่าฝืนต่อกฎหมายไม่อาจรับฟังเป็นพยานได้(ยื่นชั้นอุทธรณ์ฎีกา)
จำเลยฟ้องแย้ง-โจทก์ทิ้งฟ้อง ไม่มีผลให้ฟ้องแย้งตกไป
อำนาจปกครองบุตร-มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลใด?
ดุลพินิจสั่งค่าฤชาธรรมเนียมคำนึงความสุจริตของคู่ความ
พินัยกรรมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่?ไม่มีประเด็นข้อพิพาท
มีเส้นทางอื่นออกไม่ตัดสิทธิขอคุ้มครองประโยชน์
คำขอให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา
คำร้องขอขยายระยะเวลาในการวางเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229
ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์แล้วคดีอยู่ในอำนาจศาลอุทธรณ์
คำสั่งรับหรือไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย
ไม่รับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
การส่งหมายนัดไต่สวน-สำเนาคำร้องไม่ชอบ
คำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้อง
เพิกถอนการขายทอดตลาด
คำฟ้องโจทก์ไม่มีลายมือชื่อของผู้เรียงพิมพ์
คณะบุคคลไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้
มอบอำนาจให้ฟ้องคดีไว้ล่วงหน้าก่อนเกิดสิทธิฟ้อง
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนระบุชื่อศาลผิด
หน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐาน
อำนาจฟ้องที่รัฐเป็นผู้เสียหาย
ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
วินิจฉัยนอกเหนือไปจากคำฟ้องและคำให้การ
เข้าเป็นโจทก์ร่วมต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยด้วย
ใครมีอำนาจอนุญาตให้ฎีกาในข้อเท็จจริงได้
การถอนการบังคับคดี | คำพิพากษาถูกกลับชั้นที่สุด
ยังไม่ผิดสัญญายังไม่มีเหตุขอออกหมายบังคับคดีได้
แจ้งคำสั่งขายทอดตลาดแก่ผู้มีส่วนได้เสีย คู่สมรสไม่มีชื่อในโฉนดที่ดิน
คำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งไม่ชอบ
ขอให้เพิกถอนการพิจารณาคดีของศาล มีพยานหลักฐานใหม่
ผู้เสียหายฐานละเมิดอำนาจศาล