ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม

ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมหรือไม่

โจทก์ฟ้องให้จำเลยรื้อถอนบ้านพร้อมขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดิน จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าจำเลยเช่าที่ดินจากเจ้าของเดิมจนเมื่อครบสัญญาเช่าแล้วได้เช่ากันต่อมาโดยไม่มีกำหนดเวลาจำเลยต่อเติมอาคารไปเป็นเงินไม่น้อยกว่า 200,000 บาท จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาขอให้ยกฟ้องและบังคับให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายศาลมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้ง และเห็นว่าฟ้องแย้งของจำเลยเป็นฟ้องที่มีเงื่อนไข ซึ่งถือว่าเป็นฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม

       คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 34/2549

ฟ้องแย้งของจำเลยที่เรียกค่าเสียหายเป็นค่ารื้อถอนอาคารที่จำเลยได้ก่อสร้างบนที่ดินตามฟ้องจากโจทก์เป็นฟ้องแย้งที่ขึ้นอยู่กับข้ออ้างตามฟ้องแย้งของจำเลยที่ให้การต่อสู้ว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยหรือไม่ หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่จำเลยให้การ จำเลยก็ไม่ต้องรื้อถอนอาคารออกไป ค่าเสียหายตามฟ้องแย้งของจำเลยย่อมไม่เกิดขึ้น และศาลชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ หากข้อต่อสู้ตามคำให้การฟังไม่ได้ ศาลก็ต้องพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนอาคารออกไป เมื่อนั้นค่าเสียหายที่จำเลยฟ้องแย้งก็อาจจะเกิดมีขึ้นได้ข้ออ้างตามฟ้องแย้งจึงเป็นเรื่องที่จะต้องฟังผลของคดีเป็นสำคัญมิได้มีข้อโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ระหว่างจำเลยกับโจทก์ในขณะที่จำเลยฟ้องแย้ง เป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ซึ่งถือว่าเป็นฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม

โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2543 โจทก์ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 6271 เนื้อที่ 2 ไร่ 1 งาน 94 ตารางวา จากนางวิภา รังสินธุ์ ปรากฏว่ามีบ้านเลขที่ 742 หมู่ที่ 1 ตำบลท่าถ่าน ของจำเลยปลูกอยู่ในที่ดินดังกล่าวเนื้อที่ประมาณ 41 ตารางวา โจทก์มีความประสงค์จะใช้ประโยชน์ในที่ดินจึงแจ้งจำเลยรื้อถอนบ้านพร้อมทั้งขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยเพิกเฉย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอบังคับให้จำเลยรื้อถอนบ้านดังกล่าวพร้อมทั้งขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินของโจทก์และไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับที่ดินของโจทก์อีกต่อไป กับให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 2,000 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะรื้อถอนบ้านพร้อมทั้งขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินของโจทก์

จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยเป็นเจ้าของบ้านเลขที่ 742 ตามฟ้อง จำเลยเช่าที่ดินโฉนดเลขที่ 6271 ดังกล่าวบางส่วนจากนายสุวรรณ  ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2527 มีกำหนด 3 ปี เมื่อครบกำหนดเวลาเช่า นายสุวรรณให้จำเลยเช่าที่ดินต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา ต่อมาปี 2534 นายสุวรรณจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่นางวิภา  นางวิภาย่อมต้องรับโอนซึ่งสิทธิและหน้าที่ของนายสุวรรณ นางวิภาเก็บค่าเช่าที่ดินจากจำเลยตลอดมา ซึ่งระหว่างนั้นจำเลยได้ปลูกสร้างและปรับปรุงต่อเติมอาคารในลักษณะเป็นการถาวรเป็นเงินไม่น้อยกว่า 200,000 บาท ซึ่งจะต้องตกเป็นส่วนควบของที่ดินตามสัญญาเช่าที่ดินท้ายคำให้การจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา หากโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทก็ต้องรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อจำเลย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะมิได้บอกเลิกสัญญาต่อจำเลย การที่จำเลยต้องรื้อถอนบ้านและอาคารทำให้จำเลยได้รับความเสียหายที่ได้ก่อสร้างไปเป็นเงิน 200,000 บาท ขอให้ยกฟ้องและบังคับให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลย 200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องแย้งจนกว่าจะชำระเสร็จ

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้ง
จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง

ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ให้เป็นพับ
จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ว่าฟ้องแย้งของจำเลยเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไขหรือไม่ เห็นว่า เมื่อคำขอบังคับตามฟ้องแย้งของจำเลยที่เรียกค่าเสียหายเป็นค่ารื้อถอนอาคารที่จำเลยได้ก่อสร้างบนที่ดินตามฟ้องจากโจทก์นั้นขึ้นอยู่กับข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อความตามฟ้องแย้งของจำเลยที่ให้การต่อสู้คำฟ้องของโจทก์ซึ่งอยู่ในประเด็นแห่งคดีว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยหรือไม่ และหากข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่จำเลยให้การต่อสู้คดีจำเลยก็ไม่ต้องรื้อถอนอาคารออกไปจากที่ดินดังกล่าว ค่าเสียหายตามฟ้องแย้งของจำเลยย่อมไม่เกิดขึ้น และศาลชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ ในทางตรงข้ามหากข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยฟังไม่ได้ ศาลก็ต้องพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนอาคารออกไปจากที่ดินตามคำขอบังคับตามฟ้องของโจทก์ เมื่อนั้นค่าเสียหายที่จำเลยฟ้องแย้งก็อาจจะเกิดมีขึ้นได้ ดังนั้น ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามที่จำเลยฟ้องแย้งจึงเป็นเรื่องที่จะต้องฟังผลของคดีนี้เป็นสำคัญหาได้มีข้อโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ระหว่างจำเลยกับโจทก์ในขณะที่จำเลยฟ้องแย้งไม่ เห็นได้ชัดว่าฟ้องแย้งของจำเลยเป็นฟ้องที่มีเงื่อนไข ซึ่งถือว่าเป็นฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษามานั้นชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น"

พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นนี้ให้เป็นพับ.
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 177 เมื่อได้ส่งหมายเรียกและคำฟ้องให้จำเลยแล้ว ให้จำเลย ทำคำให้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายในสิบห้าวัน
ให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยยอมรับหรือปฏิเสธ ข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น
จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้ แต่ถ้าฟ้องแย้งนั้นเป็นเรื่อง อื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมแล้ว ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก
ให้ศาลตรวจดูคำให้การนั้นแล้วสั่งให้รับไว้ หรือให้คืนไป หรือสั่ง ไม่รับตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 18
บทบัญญัติแห่ง มาตรานี้ ให้ใช้บังคับแก่บุคคลภายนอกที่ถูกเรียก เข้ามาเป็นผู้ร้องสอดตาม มาตรา 57 (3) โดยอนุโลม
 

ฟ้องแย้งจำเลยทั้งสองจึงเป็นเรื่องเดียวกับฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาพิพากษารวมกันได้

คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า ฟ้องแย้งจำเลยทั้งสองเกี่ยวกับฟ้องเดิมหรือไม่ เห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้กำจัดจำเลยทั้งสองมิให้รับมรดกที่ดินพิพาทเพราะปิดบังพินัยกรรมห้ามจำเลยทั้งสองยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสองให้การและฟ้องแย้งว่ามิได้ปิดบังพินัยกรรม โจทก์และจำเลยทั้งสองรวมทั้งทายาทอื่นตกลงแบ่งมรดกโดยจำเลยทั้งสองได้ที่ดินพิพาท และจำเลยทั้งสองเข้าครอบครองเป็นส่วนสัดแล้ว โจทก์ไม่มีส่วนในที่ดินพิพาทอีก คดีโจทก์ขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้องและห้ามโจทก์เกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท ดังนี้ หากเป็นจริงโจทก์ก็สิ้นความเป็นทายาทไม่มีสิทธิเรียกร้องเอามรดกที่ดิน ดังนั้นฟ้องแย้งจำเลยทั้งสองก็เพื่อจะได้มรดกที่ดินแต่ฝ่ายเดียวเช่นกันฟ้องแย้งจำเลยทั้งสองจึงเป็นเรื่องเดียวกับฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาพิพากษารวมกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6868/2546

โจทก์ฟ้องขอให้กำจัดจำเลยมิให้รับมรดกที่ดินพิพาทเพราะปิดบังพินัยกรรม จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า มิได้ปิดบังพินัยกรรมโจทก์และจำเลยรวมทั้งทายาทอื่นตกลงแบ่งมรดกโดยจำเลยได้ที่ดินพิพาท และจำเลยเข้าครอบครองเป็นส่วนสัดแล้ว โจทก์ไม่มีส่วนในที่ดินพิพาทอีก คดีโจทก์ขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้องและห้ามโจทก์เกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท ดังนี้เป็นเรื่องพิพาทกันเกี่ยวกับการรับมรดกที่ดินพิพาทนั่นเอง คำฟ้องโจทก์ที่ขอให้กำจัดจำเลยมิให้รับมรดก จึงเป็นการฟ้องเรียกร้องเอามรดกที่ดินพิพาทเป็นของตนแต่ฝ่ายเดียว ส่วนฟ้องแย้งจำเลยที่ว่ามีการตกลงแบ่งมรดกและจำเลยเข้าครอบครองมรดกที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัดแล้วทั้งคดีโจทก์ขาดอายุความ หากเป็นจริงโจทก์ก็สิ้นความเป็นทายาทไม่มีสิทธิเรียกร้องเอามรดกที่ดินพิพาท จึงเป็นเรื่องเดียวกับฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาพิพากษารวมกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม

คดีสืบเนื่องจากโจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นบุตรบุญธรรมของนายตา ใจอุด และนางขันแก้ว ใจอุด จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 และนางทองม้วน แก้วกำเนิด เป็นบุตรของนางขันแก้วกับนายอินทร์ แก้วกำเนิด นายตาและนางขันแก้วเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่11365 เนื้อที่ 9 ไร่ 1 งาน 63.8 ตารางวา โดยจดทะเบียนถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ต่อมาวันที่30 ตุลาคม 2532 นางขันแก้ว ถึงแก่กรรม นายตาได้ขายที่ดินแปลงดังกล่าวในส่วนของตนให้แก่บุคคลอื่น หลังจากนั้นนายตาก็ถึงแก่กรรม จึงยังคงเหลือที่ดินมรดกของนางขันแก้วครึ่งหนึ่งเป็นเนื้อที่ 4 ไร่ 2 งาน 81.9 ตารางวา ที่จะตกแก่ทายาทนางขันแก้วครั้นวันที่ 15 กันยายน 2543 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำขอรับมรดกที่ดินแปลงดังกล่าวของนางขันแก้วโดยอ้างว่าจำเลยทั้งสองเป็นทายาทนางขันแก้ว ก่อนถึงแก่กรรมเจ้ามรดกไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ให้แก่ผู้ใดและมีทายาทมีสิทธิที่ได้รับมรดกเพียง 3 คน คือ จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 และนางทองม้วนซึ่งนางทองม้วนขอสละสิทธิไม่รับทรัพย์มรดกและเหลือทายาทเพียง 2 คน คือ จำเลยทั้งสอง เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ให้และได้ดำเนินการปิดประกาศให้ทราบทั่วกัน โจทก์ทราบความดังกล่าวได้ยื่นคำคัดค้านการโอนมรดกโดยแจ้งความจริงว่านางขันแก้วมีทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก 4 คน คือ โจทก์จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 และนางทองม้วน ที่จำเลยทั้งสองให้การต่อเจ้าพนักงานที่ดินจึงเป็นความเท็จ ภายหลังโจทก์ทราบว่านางขันแก้วได้ทำพินัยกรรมเกี่ยวกับที่ดินแปลงดังกล่าวโดยจำเลยทั้งสองเป็นผู้เก็บพินัยกรรมไว้ โจทก์จึงแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินทราบเจ้าพนักงานที่ดินได้เรียกให้จำเลยทั้งสองนำพินัยกรรมมาแสดง การกระทำของจำเลยทั้งสองมีเจตนาปิดบังพินัยกรรมและเจตนาเบียดบังทรัพย์มรดกโดยไม่ชอบ จึงถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ถูกจำกัด (ที่ถูกกำจัด) มิให้รับมรดกของนางขันแก้ว ใจอุด ในที่ดินโฉนดเลขที่11365 ตำบลหนองช้างคืน อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน และไม่ให้จำเลยทั้งสองยุ่งเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว

จำเลยทั้งสองให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์เป็นบุตรบุญธรรมของเจ้ามรดกทั้งสองจริงดังคำฟ้อง โจทก์ฟ้องคดีเกี่ยวกับมรดกเกิน 1 ปีแล้ว คดีจึงขาดอายุความ เจ้ามรดกทั้งสองได้ทำพินัยกรรมเกี่ยวกับที่ดิน 3 แปลง ของเจ้ามรดกทั้งสอง คือ ที่ดินโฉนดเลขที่13514, 14512 และ 11365 กำหนดให้ที่ดิน 2 แปลงแรกเป็นของโจทก์ ส่วนแปลงที่ 3ให้แก่จำเลยทั้งสอง โจทก์และนางทองม้วนซึ่งเป็นมารดาโจทก์ บุคคลทั่วไปและทายาททราบเรื่องดีว่าใครได้ทรัพย์มรดกเท่าใด ในระหว่างเจ้ามรดกทั้งสองยังมีชีวิตอยู่เจ้ามรดกทั้งสองและทายาทตกลงกันว่าให้แบ่งมรดกตามข้อกำหนดในพินัยกรรม โดยมารดาโจทก์และนายตาได้ไปขอรับพินัยกรรมจากผู้ใหญ่บ้าน ทายาททุกคนร่วมกันตกลงแบ่งมรดก โจทก์ได้ขอให้เจ้ามรดกทั้งสองขายที่ดินโฉนดเลขที่ 13514 นำเงินไปชำระหนี้ที่โจทก์เป็นหนี้บุคคลอื่นทายาททุกคนยินยอมกระทำการแบ่งมรดกตามส่วนที่กำหนดในพินัยกรรมด้วยการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินตามพินัยกรรมข้อ 2 โดยโจทก์และมารดาโจทก์ตลอดจนจำเลยทั้งสองได้ดำเนินการแบ่งส่วนที่ดินเท่า ๆ กันต่างเก็บดอกผลเพื่อประโยชน์ของตน จำเลยที่ 1 นำพินัยกรรมมาเก็บรักษาไว้ด้วยความยินยอมของมารดาโจทก์ โจทก์ทราบเรื่องดี ปี 2532 นางขันแก้วถึงแก่กรรม ทายาทต่างครอบครองมรดกเรื่อยมา โจทก์ได้ขอรับมรดกที่ดินโฉนดเลขที่ 14512 โดยให้นายตาดำเนินการโอนใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของ และโจทก์จดทะเบียนจำนองที่ดินนี้กับเจ้าหนี้ต่อมาปี 2537 โจทก์และมารดาโจทก์ขอให้นายตาขายที่ดินโฉนดเลขที่ 11365 เฉพาะส่วนของโจทก์และมารดาโจทก์ตามพินัยกรรม โจทก์และมารดาโจทก์ประสงค์จะนำเงินไปชำระหนี้ ผู้ซื้อได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินของโจทก์และมารดาโจทก์ จำเลยทั้งสองก็ยังคงทำประโยชน์ในที่ดินตามส่วนที่กำหนดในพินัยกรรมเรื่อยมาจำเลยทั้งสองเข้าใจโดยสุจริตว่าโจทก์และมารดาโจทก์ได้รับมรดกส่วนของตนเองไปครบถ้วนแล้ว จึงแจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่ามีทายาทคือจำเลยทั้งสอง โจทก์ทราบเรื่องจึงมาคัดค้าน จำเลยทั้งสองมิได้ปิดบังพินัยกรรม ทั้งการที่ทายาทขอประกาศรับมรดกโดยไม่ระบุว่ามีบุคคลอื่นเป็นทายาทด้วยนั้นไม่เป็นการปิดบังทรัพย์มรดกโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้ยกฟ้องและให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งห้ามโจทก์เข้ายุ่งเกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 11365 ในส่วนที่เป็นมรดกของจำเลยทั้งสอง

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2544 รับคำให้การของจำเลยทั้งสอง ส่วนฟ้องแย้งมีคำสั่งว่า ไม่ปรากฏว่าโจทก์กระทำการอย่างใดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลยทั้งสองที่จะห้ามโจทก์ยุ่งเกี่ยว ทั้งไม่เกี่ยวกับเรื่องขอกำจัดมิให้รับมรดกตามฟ้องเดิมจึงไม่รับฟ้องแย้ง คืนค่าขึ้นศาล

จำเลยทั้งสองอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

จำเลยทั้งสองฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า ฟ้องแย้งจำเลยทั้งสองเกี่ยวกับฟ้องเดิมหรือไม่ เห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้กำจัดจำเลยทั้งสองมิให้รับมรดกที่ดินพิพาทเพราะปิดบังพินัยกรรมห้ามจำเลยทั้งสองยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสองให้การและฟ้องแย้งว่ามิได้ปิดบังพินัยกรรม โจทก์และจำเลยทั้งสองรวมทั้งทายาทอื่นตกลงแบ่งมรดกโดยจำเลยทั้งสองได้ที่ดินพิพาท และจำเลยทั้งสองเข้าครอบครองเป็นส่วนสัดแล้ว โจทก์ไม่มีส่วนในที่ดินพิพาทอีก คดีโจทก์ขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้องและห้ามโจทก์เกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท ดังนี้เห็นได้ว่าเป็นเรื่องพิพาทกันเกี่ยวกับการรับมรดกที่ดินพิพาทนั่นเองคำฟ้องโจทก์ที่ขอให้กำจัดจำเลยทั้งสองมิให้รับมรดกที่ดินพิพาท จึงเป็นการฟ้องเรียกร้องเอามรดกที่ดินพิพาทเป็นของตนแต่ฝ่ายเดียว ส่วนฟ้องแย้งจำเลยทั้งสองที่ว่ามีการตกลงแบ่งมรดกและจำเลยทั้งสองเข้าครอบครองมรดกที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัดแล้วทั้งคดีโจทก์ขาดอายุความ หากเป็นจริงโจทก์ก็สิ้นความเป็นทายาทไม่มีสิทธิเรียกร้องเอามรดกที่ดินพิพาทรวมทั้งไม่มีสิทธิยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาท ดังนี้ฟ้องแย้งจำเลยทั้งสองก็เพื่อจะได้มรดกที่ดินพิพาทแต่ฝ่ายเดียวเช่นกันฟ้องแย้งจำเลยทั้งสองจึงเป็นเรื่องเดียวกับฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาพิพากษารวมกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177วรรคสาม ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฟ้องแย้งไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาจำเลยทั้งสองฟังขึ้น

พิพากษากลับ ให้รับฟ้องแย้งจำเลยทั้งสองไว้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปแล้ววินิจฉัยตามรูปคดี ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์และฎีกาให้ศาลชั้นต้นรวมสั่งเมื่อมีคำพิพากษา"

 




เกี่ยวกับวิธีพิจารณาความแพ่ง

การเข้ารับมรดกความกรณีคดีถึงที่สุดแล้วได้หรือไม่และเป็นการขัดต่อ ป.วิ.แพ่ง มาตรา 42 หรือไม่
ใครบ้างมีคุณสมบัติเป็นบุคคลที่จะเข้าแทนที่คู่ความผู้มรณะได้, ศาลฎีกาวินิจฉัยคู่ความผู้มรณะ
คำสั่งคดีมีมูลเป็นที่สุดห้ามอุทธรณ์, การเพิกถอนกระบวนพิจารณาผิดระเบียบ, สิทธิในการขอพิจารณาใหม่
คดีก่อนคู่ความตกลงท้ากันเป็นข้อแพ้ชนะคดี, ฟ้องซ้ำในคดีแพ่ง, สิทธิขับไล่จากที่ดินกรรมสิทธิ์รวม,
ฟ้องแย้งในคดีแพ่ง, การผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน, การเรียกเงินมัดจำคืนตามสัญญา
การสละประเด็นข้อพิพาท, อำนาจศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 (3), อัตราดอกเบี้ยตามกฎหมายแพ่งใหม่
สัญญาประนีประนอมยอมความตกลงยุติคดี-ฟ้องซ้ำ
พิพากษาที่เกินคำขอและขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1548 อันเป็นการไม่ชอบ
ฟ้องแย้งของจำเลยแตกต่างกันกับคำฟ้องเดิม
ค่าสินไหมทดแทนที่จำนวนเงินไม่แน่นอนต้องนำสืบพยาน
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
ข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์
ฟ้องปลูกสร้างผิดต่อข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานคร
ศาลอุทธรณ์พิพากษาเกินคำขอ
คดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์มีทุนทรัพย์
รับฟังพยานหลักฐานฝ่าฝืนกฎหมาย
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
หน้าที่ในการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ขาดนัดยื่นคำให้การ-สิทธิถามค้าน การพิจารณาผิดระเบียบ
โจทก์ร่วมไม่จำต้องจัดทำคำให้การใหม่เพื่อแก้คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลย
วันนัดชี้สองสถาน
ห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง
คำร้องสอด
การส่งคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดี
สิทธิในฐานะผู้รับจำนอง -ขอรับชำระหนี้ได้ก่อนเจ้าหนี้อื่น
การบรรยายคำฟ้องที่มิได้ระบุวัน เวลาที่แน่ชัดว่าเป็นวันที่เท่าใด ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
ยื่นฟ้องคดีอันไม่มีข้อพิพาทแต่ได้มีบุคคลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องในคดี
การยื่นคำร้องในชั้นบังคับคดีไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยไม่ครบหน้าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คู่ความจะนำคดีเรื่องที่เคยพิพาทมาฟ้องกันใหม่อีกไม่ได้
การยื่นอุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนด 1 เดือน
ฟ้องขับไล่- แสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลา 8 วัน
เพิกถอนการขายทอดตลาดหากเป็นประวิงให้ชักช้าต้องรับผิดชดค่าสินไหมทดแทน
ผู้สวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้เป็นผู้มีส่วนได้เสีย เพิกถอนการขายทอดตลาด
ฟ้องขอให้พิพากษาเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้น-ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์
ในคดีเดิมเป็นเพียงคู่ความตกลงยุติคดีไม่ดำเนินการต่อเท่านั้นไม่เป็นฟ้องซ้ำ
การยื่นและการส่งคำคู่ความในคดีฟอกเงิน
ให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีต้องชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียม
ค่าขาดไร้อุปการะเป็นหนี้ที่แบ่งแยกเป็นส่วนแต่ละคน
เจ้าหนี้ผู้รับจำนองขอรับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดที่ดิน
การมีอยู่ขององค์กรสาธารณประโยชน์ที่ได้รับรองแล้ว
กระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษา-ฟ้องซ้ำ
ยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อเป็นคู่ความฝ่ายที่สามในคดีอาญา
อายัดเงินปันผลของหุ้นได้แม้จะพ้นระยะเวลา 10 ปีแล้ว
เจ้าหนี้บุริมสิทธิ มิได้ร้องขอให้บังคับคดีภายในสิบปี
คำสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง นอกฟ้องนอกประเด็น
สิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนของผู้รับจำนอง
ฟ้องซ้ำ คดีถึงที่สุดห้ามมิให้คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีก
โจทก์และจำเลยต่างมีสภาพเป็น"เจ้าหนี้" และ "ลูกหนี้" ตามคำพิพากษา
จำเลยไม่ใช่บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะจึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลออกคำบังคับ
ไม่เกินห้าหมื่นบาทห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
การร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยทรัพย์ที่ถูกยึดต้องอ้างว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของทรัพย์
เงื่อนเวลาเริ่มต้น-สิ้นสุดให้สันนิษฐานว่าเพื่อประโยชน์แก่ฝ่ายลูกหนี้
นำใบแต่งทนายความซึ่งปลอมลายมือชื่อไปทำสัญญายอม
อำนาจว่าความหรือดำเนินกระบวนพิจารณาของทนายความในศาล
ฟ้องเคลือบคลุม, สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข, วางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ
ค่าเสียหายตามคำพิพากษาและค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทน
ผู้ร้องสอดต้องมีส่วนได้เสียกับคู่ความเดิมถือเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม
แก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยเป็นข้อยกเว้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 180
ยื่นเอกสารฝ่าฝืนต่อกฎหมายไม่อาจรับฟังเป็นพยานได้(ยื่นชั้นอุทธรณ์ฎีกา)
จำเลยฟ้องแย้ง-โจทก์ทิ้งฟ้อง ไม่มีผลให้ฟ้องแย้งตกไป
อำนาจปกครองบุตร-มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลใด?
ดุลพินิจสั่งค่าฤชาธรรมเนียมคำนึงความสุจริตของคู่ความ
พินัยกรรมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่?ไม่มีประเด็นข้อพิพาท
มีเส้นทางอื่นออกไม่ตัดสิทธิขอคุ้มครองประโยชน์
คำขอให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา
คำร้องขอขยายระยะเวลาในการวางเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229
ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์แล้วคดีอยู่ในอำนาจศาลอุทธรณ์
คำสั่งรับหรือไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย
ไม่รับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
การส่งหมายนัดไต่สวน-สำเนาคำร้องไม่ชอบ
คำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้อง
เพิกถอนการขายทอดตลาด
คำฟ้องโจทก์ไม่มีลายมือชื่อของผู้เรียงพิมพ์
คณะบุคคลไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้
มอบอำนาจให้ฟ้องคดีไว้ล่วงหน้าก่อนเกิดสิทธิฟ้อง
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนระบุชื่อศาลผิด
หน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐาน
อำนาจฟ้องที่รัฐเป็นผู้เสียหาย
ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
วินิจฉัยนอกเหนือไปจากคำฟ้องและคำให้การ
เข้าเป็นโจทก์ร่วมต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยด้วย
ใครมีอำนาจอนุญาตให้ฎีกาในข้อเท็จจริงได้
การถอนการบังคับคดี | คำพิพากษาถูกกลับชั้นที่สุด
ยังไม่ผิดสัญญายังไม่มีเหตุขอออกหมายบังคับคดีได้
แจ้งคำสั่งขายทอดตลาดแก่ผู้มีส่วนได้เสีย คู่สมรสไม่มีชื่อในโฉนดที่ดิน
คำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งไม่ชอบ
ขอให้เพิกถอนการพิจารณาคดีของศาล มีพยานหลักฐานใหม่
ผู้เสียหายฐานละเมิดอำนาจศาล