ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ฟ้องแย้งในคดีแพ่ง, การผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน, การเรียกเงินมัดจำคืนตามสัญญา

 ท นาย อาสา ฟรี

เพิ่มเพื่อนไลน์แชทกับทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

ปรึกษากฎหมายทางแชทไลน์

•  ฟ้องแย้งในคดีแพ่ง

•  ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177

•  การผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน

•  คำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับฟ้องแย้ง

•  การเรียกเงินมัดจำคืนตามสัญญา

•  ข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดิน

•  การบังคับใช้คำรับรองในสัญญาซื้อขาย

•  คดีความการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 450/2567

โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน 7 โฉนด โดยปกปิดข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินแปลงหนึ่งว่ามีการฟ้องร้อง จึงขอให้จำเลยคืนเงินมัดจำและชำระเบี้ยปรับตามสัญญา จำเลยให้การว่าตนได้แจ้งเรื่องข้อพิพาทให้โจทก์ทราบแล้วและไม่ได้ปกปิดข้อมูล โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเรียกเงินคืน จำเลยฟ้องแย้งว่าโจทก์ทำสัญญาซื้อที่ดินพร้อมอาคารสำนักงานและใบอนุญาตเพื่อดำเนินโครงการคอนโดมิเนียม หากโครงการสำเร็จจะมีกำไร 283,160,000 บาท การที่โจทก์ไม่รับโอนที่ดินทำให้จำเลยเสียโอกาส ขอให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหาย

ศาลชั้นต้นรับคำให้การจำเลยแต่ไม่รับฟ้องแย้งเพราะไม่เกี่ยวข้อง ศาลอุทธรณ์แก้คำสั่งให้รับฟ้องแย้งบางข้อและพิจารณาต่อไป

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ฟ้องแย้งข้อ 3.2 ที่จำเลยอ้างค่าเสียโอกาสทางธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม จึงชอบที่จะรับไว้พิจารณา พิพากษาแก้เป็นรับฟ้องแย้งข้อ 3.2 และให้ศาลชั้นต้นพิจารณาต่อไป ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ

*ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม ระบุเกี่ยวกับการรับฟ้องแย้งที่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม โดยหลักการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการพิจารณาคดี ซึ่งหากฟ้องแย้งของฝ่ายหนึ่งมีข้ออ้างที่เกี่ยวพันกับข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมของอีกฝ่ายหนึ่ง ศาลสามารถรับฟ้องแย้งนั้นไว้พิจารณาและชี้ขาดพร้อมกับคดีหลักได้

การพิจารณาว่าฟ้องแย้งเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมหรือไม่ ศาลต้องพิจารณาว่าข้ออ้างในฟ้องแย้งมีความเกี่ยวเนื่องในทางกฎหมายหรือข้อเท็จจริงกับฟ้องเดิมมากน้อยเพียงใด หากฟ้องแย้งมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกัน จะช่วยให้การพิจารณาและตัดสินใจมีประสิทธิภาพและไม่เกิดความล่าช้า

ในกรณีนี้ ศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่าฟ้องแย้งข้อ 3.2 ของจำเลย ซึ่งอ้างค่าเสียโอกาสในทางธุรกิจจากการที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายที่ดิน มีความเกี่ยวพันกับฟ้องเดิมที่โจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องการผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ดังนั้น ฟ้องแย้งนี้จึงควรรับไว้พิจารณาพร้อมกันตามหลักกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 450/2567

โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินรวม 7 โฉนด เนื่องจากจำเลยปกปิดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่ดินตามสัญญาแปลงหนึ่งว่าไม่ได้อยู่ระหว่างการถูกฟ้องร้องดำเนินคดี ทั้งที่จำเลยยังมีคดีพิพาทกับเจ้าของที่ดินเดิมเกี่ยวกับที่ดินแปลงดังกล่าว อันเป็นการผิดคำรับรองที่ระบุไว้ในสัญญาจะซื้อจะขาย ขอให้จำเลยคืนเงินมัดจำและใช้เบี้ยปรับตามสัญญา จำเลยให้การว่า จำเลยแจ้งเรื่องข้อพิพาทระหว่างจำเลยกับเจ้าของที่ดินเดิมให้โจทก์ทราบแล้ว จำเลยไม่ได้ผิดสัญญา โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเรียกเงินมัดจำ ค่าปรับหรือค่าเสียหายจากจำเลย และฟ้องแย้งว่าโจทก์ตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวพร้อมอาคารสำนักงานขายและใบอนุญาตที่จำเลยได้รับอนุญาตให้จัดทำโครงการและก่อสร้างคอนโดมิเนียมจากจำเลย โครงการดังกล่าวจำเลยสร้างเพื่อจำหน่ายให้แก่ลูกค้า หากจำหน่ายหมดจะมีกำไร 283,160,000 บาท การที่โจทก์ผิดสัญญา ไม่ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแล้วไม่ส่งมอบพื้นที่และอาคารสำนักงานขายคืนแก่จำเลยในสภาพเดิมและโอนสิทธิใบอนุญาตกลับคืนให้จำเลย ทำให้จำเลยเสียโอกาสในทางธุรกิจ ขอให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวนดังกล่าว สภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างอันอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามฟ้องแย้ง จึงเป็นเรื่องที่จำเลยอ้างว่าได้รับความเสียหายเป็นค่าเสียโอกาสในการทำธุรกิจที่จะได้กำไรจากการก่อสร้างและจำหน่ายห้องชุดด้วยตนเอง เพราะโจทก์ผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินฉบับเดียวกัน และโจทก์ทราบรายละเอียดโครงการของจำเลยมาตั้งแต่ต้น ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม


****โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 29,250,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

*จำเลยให้การและฟ้องแย้งขอให้ยกฟ้องโจทก์ และให้บังคับโจทก์ชดใช้ค่าก่อสร้างอาคารสำนักงาน 12,030,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี นับแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2564 ถึงวันฟ้องรวมเป็นเงิน 12,329,926 บาท และดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี จากต้นเงิน 12,030,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่จำเลย ชำระค่าขาดประโยชน์จากการสูญเสียโอกาสและขาดรายได้ทางธุรกิจ 283,160,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี นับแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2564 ถึงวันฟ้องรวมเป็นเงิน 285,487,342 บาท และดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี จากต้นเงิน 283,160,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่จำเลย ให้โจทก์ไปดำเนินการจดทะเบียนโอนสิทธิในใบอนุญาตก่อสร้างอาคารเลขที่ 136/2563 คืนแก่จำเลยให้เสร็จสิ้นก่อนวันสิ้นอายุของใบอนุญาตก่อสร้างเพื่อให้จำเลยสามารถขอต่อใบอนุญาตก่อสร้างออกไปได้ หากไม่สามารถคืนได้ให้ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 1,955,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี นับแต่วันที่ 18 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไปจนกว่าชำระเสร็จแก่จำเลย

*ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำให้การจำเลย ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยเห็นว่าไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม จึงไม่รับฟ้องแย้ง คืนค่าขึ้นศาลทั้งหมดให้แก่จำเลย

*จำเลยอุทธรณ์

*ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้รับฟ้องแย้งของจำเลยข้อ 3.1 และข้อ 3.3 ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาต่อไปตามรูปคดี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำสั่งศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ในชั้นนี้ให้เป็นพับ

*จำเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา

*ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยมีว่า ฟ้องแย้งข้อ 3.2 ของจำเลยเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมที่จะรับไว้พิจารณาพิพากษาหรือไม่ เห็นว่า โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนเงินมัดจำและใช้เบี้ยปรับพร้อมทั้งดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ โดยบรรยายฟ้องว่า โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินรวม 7 โฉนด กับจำเลยเพื่อนำที่ดินดังกล่าวไปพัฒนาสร้างเป็นอาคารชุดขายให้แก่ลูกค้าชื่อโครงการ อ. ในวันทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจำเลยปกปิดข้อเท็จจริงเรื่องข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 16812 ซึ่งเป็นที่ดินแปลงหนึ่งที่ตกลงจะซื้อจะขายกันตามสัญญา และจำเลยให้คำรับรองต่อโจทก์ว่าขณะทำสัญญาจะซื้อจะขาย จำเลยไม่ได้มีคดีความใด ๆ ที่อยู่ระหว่างการถูกฟ้องร้องหรือดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลต่อที่ดินที่จะซื้อจะขายจากเจ้าหนี้ของจำเลย หรือผู้เช่า หรือบุคคลอื่นใด อันเป็นข้อพิพาทเกี่ยวเนื่องกับที่ดินที่จะขาย ต่อมาโจทก์ทราบจากนางสาวจุฬาลักษณ์ เจ้าของที่ดินเดิมซึ่งขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่จำเลยว่านางสาวจุฬาลักษณ์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีต่อศาลว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขาย คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์จึงแจ้งขอเลื่อนกำหนดวันโอนกรรมสิทธิ์และให้จำเลยดำเนินการแก้ไขเรื่องดังกล่าวให้ถูกต้องภายในระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากโจทก์ แต่จำเลยมิได้ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาดังกล่าว จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาตามสัญญาข้อ 1.1.3 และข้อ 8.2 โจทก์จึงมีหนังสือบอกเลิกสัญญา ดังนี้ สภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่า จำเลยกระทำผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทโดยฝ่าฝืนต่อคำรับรองที่ให้ไว้ตามสัญญาจะซื้อจะขายและมิได้ดำเนินการแก้ไขเรื่องดังกล่าวให้ถูกต้องภายในเวลา 30 วัน ตามที่กำหนดในสัญญา อันเป็นการประพฤติผิดสัญญาทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และมีคำขอให้จำเลยคืนเงินมัดจำที่ได้รับ 24,250,000 บาท และใช้เบี้ยปรับ 5,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากโจทก์จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น จำเลยให้การว่า จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกับโจทก์โดยแจ้งเรื่องข้อพิพาทระหว่างจำเลยกับนางสาวจุฬาลักษณ์ให้โจทก์ทราบก่อนที่โจทก์จะตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายและจ่ายเงินมัดจำให้แก่จำเลยแล้ว จึงไม่เป็นการปกปิดข้อเท็จจริงเรื่องข้อพิพาทระหว่างจำเลยและนางสาวจุฬาลักษณ์ ทั้งเรื่องดังกล่าวเป็นเหตุส่วนตัวระหว่างจำเลยและนางสาวจุฬาลักษณ์ ไม่มีผลกระทบต่อการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินและไม่มีผลกระทบในการที่โจทก์จะเข้าดำเนินการก่อสร้างหรือประชาสัมพันธ์โครงการของโจทก์ จึงไม่มีเหตุขัดข้องที่จะทำให้จำเลยไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญากับโจทก์และไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่โจทก์จะให้จำเลยแก้ไขหรือระงับข้อพิพาทระหว่างจำเลยกับนางสาวจุฬาลักษณ์ให้เสร็จสิ้นเสียก่อน จำเลยมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา ไม่มีสิทธิเรียกเงินมัดจำคืนจากจำเลย และไม่มีสิทธิเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายจากจำเลยตามฟ้อง คำให้การของจำเลยจึงแสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้น ทั้งยกเหตุที่อ้างว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินฉบับเดียวกันเป็นเหตุในการฟ้องแย้งว่า ในวันนัดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโจทก์ไม่ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยไม่มีเหตุที่จะอ้างได้ตามสัญญา โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเพราะโจทก์ตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวพร้อมอาคารสำนักงานขาย 1 หลัง และใบอนุญาตซึ่งจำเลยได้รับอนุญาตให้จัดทำโครงการและก่อสร้างโครงการคอนโดมิเนียมจากจำเลยเพื่อนำไปพัฒนาต่อในราคา 242,500,000 บาท โดยมีเงื่อนไขตามสัญญาว่านับตั้งแต่วันลงนามในสัญญาจะซื้อจะขาย จำเลยต้องยินยอมให้โจทก์เข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินที่จะซื้อจะขายเพื่อทำการปรับถม ปรับปรุงที่ดิน ติดตั้งป้ายโฆษณา ตกแต่งปรับปรุง รื้อถอน ก่อสร้างเพิ่มเติมอาคารสำนักงานขายเดิมที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ ให้จำเลยส่งมอบใบอนุญาตก่อสร้างอาคารและเอกสารการได้รับอนุญาตให้ดำเนินโครงการบนที่ดินที่จะซื้อจะขาย รวมทั้งโอนสิทธิในใบอนุญาตก่อสร้างให้แก่โจทก์ หากโจทก์ผิดนัดไม่ชำระราคาที่ดินไม่ว่างวดใดงวดหนึ่งหรือผิดสัญญาข้อใดข้อหนึ่งให้ถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดนัดผิดสัญญา ให้จำเลยเลิกสัญญาได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและให้สิทธิจำเลยริบเงินมัดจำที่โจทก์ชำระไว้แล้วได้ แล้วโจทก์จะส่งมอบพื้นที่และอาคารสำนักงานขายของจำเลยกลับคืนให้แก่จำเลยในสภาพเดิมและจะโอนสิทธิในใบอนุญาตต่าง ๆ กลับคืนให้แก่จำเลย และตามฟ้องแย้งข้อ 3.2 จำเลยบรรยายว่า จำเลยมีโครงการปลูกสร้างอาคารคอนโดมิเนียมตามใบอนุญาตก่อสร้างอาคารเลขที่ 136/2563 เพื่อใช้เป็นห้องพักอาศัยบนที่ดินพิพาทรวมจำนวน 666 ห้อง เพื่อนำออกจำหน่ายให้แก่ลูกค้าทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ โครงการก่อสร้างตั้งอยู่ติดกับรถไฟฟ้าและเป็นโครงการปลูกสร้างห้องพักอาศัยพร้อมระบบสาธารณูปโภคในรูปแบบทันสมัยที่มีมาตรฐานสูงกว่าของผู้ประกอบการรายอื่นในท้องตลาด ซึ่งต้องใช้อุปกรณ์การตกแต่งภายในห้องพักและเครื่องอำนวยความสะดวกที่พิเศษและต้องใช้เทคนิคพิเศษในการก่อสร้าง จำเลยตั้งราคาขายในราคาตารางเมตรละ 72,000 บาท พื้นที่ขายรวมทั้งสิ้น 20,757 ตารางเมตร เป็นเงินรวม 1,494,504,000 บาท หากจำเลยจำหน่ายห้องชุดได้หมด จำเลยจะมีกำไรร้อยละ 18.947 ของจำนวนเงินดังกล่าวเป็นเงินทั้งสิ้น 283,160,000 บาท ซึ่งโจทก์ทราบรายละเอียดของโครงการมาตั้งแต่ต้นและรู้ว่าต้องก่อสร้างอาคารคอนโดมิเนียมพร้อมกับงานระบบสาธารณูปโภคให้เสร็จในวันที่ 17 มิถุนายน 2565 ตามกำหนดระยะเวลาในใบอนุญาตก่อสร้างอาคารที่หน่วยงานราชการอนุญาต จำเลยจึงขอให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายเป็นค่าเสียโอกาสในทางธุรกิจของจำเลยเป็นเงินจำนวนดังกล่าว สภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างอันอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามฟ้องแย้งข้อ 3.2 ของจำเลยจึงเป็นเรื่องที่จำเลยอ้างว่าได้รับความเสียหายเป็นค่าเสียโอกาสในทางธุรกิจที่จะได้กำไรจากการก่อสร้างและจำหน่ายห้องชุดด้วยตนเองเพราะโจทก์ไม่ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นการประพฤติผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินฉบับเดียวกัน และโจทก์ทราบรายละเอียดโครงการของจำเลยมาตั้งแต่ต้น ฟ้องแย้งข้อ 3.2 เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม ชอบที่จะรับฟ้องแย้งข้อดังกล่าวไว้พิจารณา ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า การเสียโอกาสในทางธุรกิจของจำเลยเป็นเรื่องที่กล่าวหาว่าโจทก์กระทำละเมิดไม่ได้เกิดจากมูลหนี้ที่พิพาทกันโดยตรง ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของจำเลยฟังขึ้น

*พิพากษาแก้เป็นว่า ให้รับฟ้องแย้งข้อ 3.2 ของจำเลยไว้พิจารณา แล้วให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ


*ฟ้องแย้ง (counterclaim) หมายถึง การที่จำเลยในคดีที่ถูกฟ้องร้องกลับมายื่นฟ้องโจทก์ในคดีเดียวกัน โดยอ้างสิทธิเรียกร้องหรือการเรียกค่าเสียหายที่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทเดิม การฟ้องแย้งช่วยให้ศาลพิจารณาคดีและข้อโต้แย้งของคู่ความในคราวเดียวกัน เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและลดขั้นตอนในการพิจารณาคดี

*หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม ระบุว่า ฟ้องแย้งจะต้องมีข้ออ้างหรือข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม กล่าวคือ การฟ้องแย้งต้องมีการพิจารณาที่อาศัยหลักฐานหรือข้อเท็จจริงเดียวกัน หรือมีการพิจารณาที่เกี่ยวข้องกันอย่างมีนัยสำคัญกับฟ้องเดิม หากฟ้องแย้งไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม ศาลอาจปฏิเสธการรับฟ้องแย้งไว้พิจารณา โดยคืนค่าขึ้นศาลให้แก่จำเลยหรือฝ่ายที่ยื่นฟ้องแย้ง

*การพิจารณาของศาล

ศาลจะพิจารณาว่าฟ้องแย้งเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมหรือไม่ โดยตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่กล่าวอ้างในฟ้องแย้ง ว่ามีความเชื่อมโยงกันในแง่ของมูลเหตุแห่งข้อพิพาท การพิจารณานี้ช่วยให้การดำเนินคดีมีประสิทธิภาพ ศาลสามารถใช้ดุลพินิจได้ว่า การฟ้องแย้งนั้นเชื่อมโยงกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมพิจารณาไว้ในคดีเดียวกันหรือไม่ หากไม่เกี่ยวข้อง ศาลสามารถสั่งไม่รับฟ้องแย้งและแยกดำเนินการเป็นคดีใหม่ได้

*ข้อสังเกตสำคัญ

1.การเชื่อมโยงกับฟ้องเดิม: ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวข้องโดยตรงกับข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายของฟ้องเดิม เช่น การเรียกร้องค่าเสียหายจากการผิดสัญญาที่เกี่ยวข้องกัน

2.การปฏิเสธการรับฟ้องแย้ง: หากฟ้องแย้งไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม ศาลจะปฏิเสธไม่รับฟ้องแย้งและคืนค่าขึ้นศาลให้ฝ่ายที่ยื่นฟ้อง

3.หลักการเกี่ยวกับการฟ้องหย่า: ในคดีหย่าร้าง การฟ้องแย้งอาจเกิดขึ้นในกรณีที่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งต้องการเรียกร้องสิทธิอื่น เช่น การแบ่งทรัพย์สิน การเรียกร้องค่าเลี้ยงดู เป็นต้น ซึ่งต้องมีความเกี่ยวข้องกับเหตุในการหย่าตามที่ฟ้องไว้ เช่น การกล่าวหาว่าอีกฝ่ายเป็นฝ่ายผิดสัญญาในการใช้ชีวิตคู่หรือเหตุหย่าตามที่กำหนดใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 ซึ่งระบุถึงเหตุหย่า เช่น การประพฤติผิด การมีชู้ หรือการทอดทิ้ง

บทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

•ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม: ระบุว่าฟ้องแย้งต้องเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมเพื่อให้ศาลพิจารณาและตัดสินพร้อมกัน

•ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516: เกี่ยวกับเหตุฟ้องหย่า เช่น การละทิ้ง การประพฤติตนไม่เหมาะสม และการผิดสัญญาการสมรส

*การอธิบายหลักกฎหมาย

หลักการรับฟ้องแย้งเป็นเรื่องที่ช่วยให้การพิจารณาคดีเป็นไปอย่างครบถ้วนและไม่เกิดความล่าช้า ศาลจะใช้ดุลพินิจพิจารณาว่า ฟ้องแย้งมีความเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมเพียงพอหรือไม่ หากเกี่ยวข้อง ศาลจะรับพิจารณาในคดีเดียวกันเพื่อความสะดวกและเป็นธรรมแก่คู่ความ

การนำข้อกฎหมายเหล่านี้มาปรับใช้ในคดี จะช่วยให้คู่ความเข้าใจถึงสิทธิและข้อจำกัดในกระบวนการยุติธรรมมากยิ่งขึ้น




เกี่ยวกับวิธีพิจารณาความแพ่ง

การเข้ารับมรดกความกรณีคดีถึงที่สุดแล้วได้หรือไม่และเป็นการขัดต่อ ป.วิ.แพ่ง มาตรา 42 หรือไม่
ใครบ้างมีคุณสมบัติเป็นบุคคลที่จะเข้าแทนที่คู่ความผู้มรณะได้, ศาลฎีกาวินิจฉัยคู่ความผู้มรณะ
คำสั่งคดีมีมูลเป็นที่สุดห้ามอุทธรณ์, การเพิกถอนกระบวนพิจารณาผิดระเบียบ, สิทธิในการขอพิจารณาใหม่
คดีก่อนคู่ความตกลงท้ากันเป็นข้อแพ้ชนะคดี, ฟ้องซ้ำในคดีแพ่ง, สิทธิขับไล่จากที่ดินกรรมสิทธิ์รวม,
การสละประเด็นข้อพิพาท, อำนาจศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 (3), อัตราดอกเบี้ยตามกฎหมายแพ่งใหม่
สัญญาประนีประนอมยอมความตกลงยุติคดี-ฟ้องซ้ำ
พิพากษาที่เกินคำขอและขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1548 อันเป็นการไม่ชอบ
ฟ้องแย้งของจำเลยแตกต่างกันกับคำฟ้องเดิม
ค่าสินไหมทดแทนที่จำนวนเงินไม่แน่นอนต้องนำสืบพยาน
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
ข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์
ฟ้องปลูกสร้างผิดต่อข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานคร
ศาลอุทธรณ์พิพากษาเกินคำขอ
คดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์มีทุนทรัพย์
รับฟังพยานหลักฐานฝ่าฝืนกฎหมาย
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
หน้าที่ในการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ขาดนัดยื่นคำให้การ-สิทธิถามค้าน การพิจารณาผิดระเบียบ
โจทก์ร่วมไม่จำต้องจัดทำคำให้การใหม่เพื่อแก้คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลย
วันนัดชี้สองสถาน
ห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง
คำร้องสอด
การส่งคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดี
สิทธิในฐานะผู้รับจำนอง -ขอรับชำระหนี้ได้ก่อนเจ้าหนี้อื่น
การบรรยายคำฟ้องที่มิได้ระบุวัน เวลาที่แน่ชัดว่าเป็นวันที่เท่าใด ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม
ยื่นฟ้องคดีอันไม่มีข้อพิพาทแต่ได้มีบุคคลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องในคดี
การยื่นคำร้องในชั้นบังคับคดีไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยไม่ครบหน้าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คู่ความจะนำคดีเรื่องที่เคยพิพาทมาฟ้องกันใหม่อีกไม่ได้
การยื่นอุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนด 1 เดือน
ฟ้องขับไล่- แสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลา 8 วัน
เพิกถอนการขายทอดตลาดหากเป็นประวิงให้ชักช้าต้องรับผิดชดค่าสินไหมทดแทน
ผู้สวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้เป็นผู้มีส่วนได้เสีย เพิกถอนการขายทอดตลาด
ฟ้องขอให้พิพากษาเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้น-ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์
ในคดีเดิมเป็นเพียงคู่ความตกลงยุติคดีไม่ดำเนินการต่อเท่านั้นไม่เป็นฟ้องซ้ำ
การยื่นและการส่งคำคู่ความในคดีฟอกเงิน
ให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีต้องชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียม
ค่าขาดไร้อุปการะเป็นหนี้ที่แบ่งแยกเป็นส่วนแต่ละคน
เจ้าหนี้ผู้รับจำนองขอรับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดที่ดิน
การมีอยู่ขององค์กรสาธารณประโยชน์ที่ได้รับรองแล้ว
กระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษา-ฟ้องซ้ำ
ยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อเป็นคู่ความฝ่ายที่สามในคดีอาญา
อายัดเงินปันผลของหุ้นได้แม้จะพ้นระยะเวลา 10 ปีแล้ว
เจ้าหนี้บุริมสิทธิ มิได้ร้องขอให้บังคับคดีภายในสิบปี
คำสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง นอกฟ้องนอกประเด็น
สิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนของผู้รับจำนอง
ฟ้องซ้ำ คดีถึงที่สุดห้ามมิให้คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีก
โจทก์และจำเลยต่างมีสภาพเป็น"เจ้าหนี้" และ "ลูกหนี้" ตามคำพิพากษา
จำเลยไม่ใช่บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะจึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลออกคำบังคับ
ไม่เกินห้าหมื่นบาทห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
การร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยทรัพย์ที่ถูกยึดต้องอ้างว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของทรัพย์
เงื่อนเวลาเริ่มต้น-สิ้นสุดให้สันนิษฐานว่าเพื่อประโยชน์แก่ฝ่ายลูกหนี้
นำใบแต่งทนายความซึ่งปลอมลายมือชื่อไปทำสัญญายอม
อำนาจว่าความหรือดำเนินกระบวนพิจารณาของทนายความในศาล
ฟ้องเคลือบคลุม, สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข, วางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ
ค่าเสียหายตามคำพิพากษาและค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทน
ผู้ร้องสอดต้องมีส่วนได้เสียกับคู่ความเดิมถือเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม
แก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยเป็นข้อยกเว้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 180
ยื่นเอกสารฝ่าฝืนต่อกฎหมายไม่อาจรับฟังเป็นพยานได้(ยื่นชั้นอุทธรณ์ฎีกา)
จำเลยฟ้องแย้ง-โจทก์ทิ้งฟ้อง ไม่มีผลให้ฟ้องแย้งตกไป
อำนาจปกครองบุตร-มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลใด?
ดุลพินิจสั่งค่าฤชาธรรมเนียมคำนึงความสุจริตของคู่ความ
พินัยกรรมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่?ไม่มีประเด็นข้อพิพาท
มีเส้นทางอื่นออกไม่ตัดสิทธิขอคุ้มครองประโยชน์
คำขอให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา
คำร้องขอขยายระยะเวลาในการวางเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229
ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์แล้วคดีอยู่ในอำนาจศาลอุทธรณ์
คำสั่งรับหรือไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย
ไม่รับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
การส่งหมายนัดไต่สวน-สำเนาคำร้องไม่ชอบ
คำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้อง
เพิกถอนการขายทอดตลาด
คำฟ้องโจทก์ไม่มีลายมือชื่อของผู้เรียงพิมพ์
คณะบุคคลไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้
มอบอำนาจให้ฟ้องคดีไว้ล่วงหน้าก่อนเกิดสิทธิฟ้อง
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนระบุชื่อศาลผิด
หน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐาน
อำนาจฟ้องที่รัฐเป็นผู้เสียหาย
ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
วินิจฉัยนอกเหนือไปจากคำฟ้องและคำให้การ
เข้าเป็นโจทก์ร่วมต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยด้วย
ใครมีอำนาจอนุญาตให้ฎีกาในข้อเท็จจริงได้
การถอนการบังคับคดี | คำพิพากษาถูกกลับชั้นที่สุด
ยังไม่ผิดสัญญายังไม่มีเหตุขอออกหมายบังคับคดีได้
แจ้งคำสั่งขายทอดตลาดแก่ผู้มีส่วนได้เสีย คู่สมรสไม่มีชื่อในโฉนดที่ดิน
คำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งไม่ชอบ
ขอให้เพิกถอนการพิจารณาคดีของศาล มีพยานหลักฐานใหม่
ผู้เสียหายฐานละเมิดอำนาจศาล