ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ฟ้องเคลือบคลุม, สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข, วางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว

ฟ้องเคลือบคลุม,  สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข, วางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว

คำให้การจำเลยมิได้บรรยายว่าฟ้องของโจทก์ส่วนใดเคลือบคลุมหรือไม่ชัดแจ้งอย่างไร ถือว่าเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย ซื้อขายรถยนต์ตกลงผ่อนชำระราคาและมีเงื่อนไขว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ให้เมื่อผ่อนชำระราคาครบถ้วนแล้วเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข เมื่อได้ผ่อนชำระแล้วเป็นเงินจำนวนหนึ่งจึงถือว่าได้วางประจำและชำระหนี้บางส่วนแล้ว โจทก์จึงฟ้องร้องบังคับคดีได้
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3335/2548
 
 จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่า คำฟ้องโจทก์ซึ่งกล่าวถึงสภาพข้อหาว่าจำเลยผิด
สัญญาโอนสิทธิเช่าซื้อ แต่คำขอบังคับให้จำเลยคืนเงินให้แก่โจทก์ จำเลยไม่อาจเข้าใจได้ว่าโจทก์ประสงค์สิ่งใดทำให้ไม่อาจสู้คดีได้ถูกต้อง คำให้การจำเลยดังกล่าวมิได้บรรยายให้เห็นว่า ฟ้องของโจทก์ส่วนใดเคลือบคลุมหรือไม่ชัดแจ้งอย่างไร หรือเนื้อหาในคำฟ้องขัดแย้งกันอย่างไร ซึ่งอ่านแล้วไม่อาจเข้าใจได้ ถือว่าเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย

          ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยเป็นการซื้อขายรถยนต์พิพาทโดยจำเลยผู้ขายยอมให้โจทก์ผู้ซื้อผ่อนชำระราคาและมีเงื่อนไขว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ให้เมื่อโจทก์ผ่อนชำระราคาครบถ้วนแล้ว จึงเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 เมื่อเป็นการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงราคากันตั้งแต่ 500 บาท ขึ้นไป(ปัจจุบันสองหมื่นบาท) แม้มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด แต่หากได้มีการวางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้วคู่กรณีก็ย่อมฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ ตามมาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม เมื่อจำเลยตกลงขายรถยนต์พิพาทให้โจทก์ในราคา 200,000 บาท โจทก์ได้ผ่อนชำระแล้วเป็นเงิน 95,000 จึงถือว่าโจทก์ได้วางประจำและชำระหนี้บางส่วนแก่จำเลยแล้ว โจทก์จึงฟ้องร้องบังคับคดีได้

          โจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาทโดยสมัครใจทั้งสองฝ่าย ย่อมทำให้โจทก์และจำเลยกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 เมื่อโจทก์ได้มอบรถยนต์พิพาทคืนแก่จำเลยแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ได้รับมาแก่โจทก์ พร้อมด้วยดอกเบี้ย โดยสิทธิเรียกร้องของโจทก์มีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
 
           โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเช่าซื้อรถยนต์กระบะหมายเลขทะเบียน 8 พ-0660 กรุงเทพมหานคร จากบริษัทสยามกลการ จำกัด ต่อมาโจทก์จำเลยตกลงกันว่าจำเลยจะโอนสิทธิเช่าซื้อรถยนต์คันดังกล่าวให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ต้องจ่ายเงิน 70,000 บาท ให้แก่จำเลยก่อน และโจทก์ต้องใช้รถยนต์คันดังกล่าวขนถ้วยแก้วให้จำเลย โดยจำเลยจะจ่ายค่าจ้างเที่ยวละ 3,000 - 3,500 บาท และจะหักค่าจ้างโจทก์ไว้เที่ยวละ 1,800 บาท พร้อมกับให้โจทก์มอบเงินค่างวดเช่าซื้อเดือนละ 7,000 บาท แก่จำเลย แล้วจำเลยนำไปรวมกับเงินที่หักจากค่าจ้างโจทก์เพื่อจ่ายค่างวดเช่าซื้อแก่ผู้ให้เช่าซื้อ โจทก์ได้จ่ายเงินให้จำเลยโดยฝากเข้าบัญชีของจำเลย 70,000 บาท จำเลยหักค่าเช่าโจทก์เที่ยวละ 1,800 บาท รวม 58 เที่ยว เป็นเงิน 104,400 บาท และโจทก์ส่งเงินค่าเช่าซื้อให้แก่จำเลย 49,000 บาท โจทก์แจ้งให้จำเลยดำเนินการโอนสิทธิเช่าซื้อรถยนต์แก่โจทก์แต่จำเลยผัดผ่อนเรื่อยมา ต่อมาจำเลยยึดรถยนต์คันดังกล่าวไปจากโจทก์ โจทก์จึงขอเงินที่ได้จ่ายให้แก่จำเลย รวมทั้งค่าจ้างที่จำเลยหักจากโจทก์และค่าเช่าซื้อที่โจทก์มอบให้แก่จำเลยเป็นเงิน 223,400 บาท คืน แต่จำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวน 223,400 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

          จำเลยให้การว่า จำเลยไม่ได้เป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์กระบะหมายเลขทะเบียน 8 พ-0660 กรุงเทพมหานคร แต่นางสาวศิริอร สืบตระกูล พี่สาวจำเลยเป็นผู้เช่าซื้อ และจำเลยไม่เคยตกลงจะโอนสิทธิเช่าซื้อรถยนต์คันดังกล่าวให้แก่โจทก์เพราะเป็นการพ้นวิสัยสัญญาดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ
โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะโจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาซื้อขายรถยนต์คันดังกล่าวในราคา 200,000 บาท ตกลงให้โจทก์ผ่อนชำระโดยการหักค่าจ้างที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ขนส่งสินค้าเที่ยวละ 1,800 บาท รวม 110 งวดกับเที่ยวสุดท้ายอีก 2,000 บาท และจำเลยส่งมอบรถยนต์ให้โจทก์เรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นจำเลยหักค่าจ้างโจทก์รวม 55 เที่ยว เป็นเงิน 95,000 บาท แต่จำเลยไม่เคยรับเงิน 70,000 บาท และเงินค่างวดจำนวน 49,000 บาท จากโจทก์ โจทก์ไม่เคยบอกกล่าวให้จำเลยโอนสิทธิในรถยนต์พิพาท โจทก์ชำระค่างวดไม่ครบ จำเลยจึงบอกเลิกสัญญา โจทก์เป็นฝ่ายส่งมอบคืนรถยนต์พิพาทเอง จำเลยจึงยอมเลิกสัญญาและคืนเงินที่รับมาแก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมและขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลย โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท
          โจทก์อุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษากลับเป็นว่า ให้จำเลยใช้เงิน 165,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง (วันที่ 25 มกราคม 2544) เป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์และให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์เพียงเท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี โดยกำหนดค่าทนายความทั้งสองศาลให้ 3,000 บาท และให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์จำนวน 290 บาท แก่โจทก์

          จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “พิเคราะห์แล้ว มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลย โดยเห็นสมควรหยิบยกปัญหาเรื่อง
ฟ้องเคลือบคลุมขึ้นวินิจฉัยก่อน ซึ่งข้อนี้จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่า คำฟ้องโจทก์ซึ่งกล่าวถึงสภาพข้อหาว่าจำเลยผิดสัญญาโอนสิทธิเช่าซื้อ แต่คำขอบังคับให้จำเลยคืนเงินให้แก่โจทก์จำเลยไม่อาจเข้าใจได้ว่าโจทก์ประสงค์สิ่งใดทำให้ไม่อาจสู้คดีได้ถูกต้อง เห็นว่า คำให้การจำเลยดังกล่าวมิได้บรรยายให้เห็นว่า ฟ้องของโจทก์ส่วนใดเคลือบคลุมหรือไม่ชัดแจ้งอย่างใด หรือเนื้อหาในคำฟ้องขัดแย้งกันอย่างไร ซึ่งอ่านแล้วไม่อาจเข้าใจได้ ถือว่าเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ในปัญหาข้อนี้ชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น

          ปัญหาข้อต่อไปที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยมีว่า จำเลยต้องรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยหรือไม่และคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ โจทก์บรรยายฟ้องในทำนองว่าโจทก์จำเลยตกลงจะโอนสิทธิเช่าซื้อรถยนต์พิพาทกัน โดยมีเงื่อนไขว่าโจทก์จะต้องจ่ายเงินให้จำเลย 70,000 บาท ก่อนแล้วจำเลยจะดำเนินการโอนสิทธิเช่าซื้อให้แก่โจทก์และมอบรถยนต์พิพาทให้โจทก์เป็นผู้ครอบครองและส่งสินค้าให้แก่จำเลย โดยจำเลยจะหักค่าจ้างไว้เที่ยวละ 1,800 บาท และโจทก์ต้องมอบเงินค่าเช่าซื้ออีกเดือนละ 7,000 บาท ให้จำเลยเพื่อจำเลยจะได้นำไปชำระเป็นค่าเช่าซื้อแก่บริษัทสยามกลการ จำกัด แต่ในชั้นพิจารณาโจทก์กลับนำสืบผิดเพี้ยนไปว่า โจทก์ตกลงเช่าซื้อรถยนต์คันพิพาท ซึ่งจำเลยเช่าซื้อมาจากบริษัทสยามกลการ จำกัด จากจำเลยในราคา 200,000 บาท โดยโจทก์ได้วางเงินดาวน์ให้จำเลย 70,000 บาท และจะต้องผ่อนชำระค่างวดรถอีกเดือนละ 7,000 บาท ทั้งจะมีการหักเงินค่าจ้างขนส่งสินค้าเที่ยวละ 1,800 บาทด้วย เพื่อให้จำเลยนำไปชำระแก่บริษัทสยามกลการ จำกัด ส่วนจำเลยให้การว่าไม่เคยตกลงที่จะโอนสิทธิเช่าซื้อรถยนต์คันพิพาทให้โจทก์เพราะจำเลยไม่ได้เป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์คันดังกล่าว แต่โจทก์จำเลยตกลงซื้อขายรถยนต์พิพาทกันในราคา 200,000 บาท โดยมีเงื่อนไขว่าโจทก์ต้องผ่อนชำระโดยการหักค่าจ้างที่จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์ขนสินค้าเที่ยวละ 1,800 บาท รวม 110 งวด และงวดสุดท้ายชำระอีก 2,000 บาทโดยในวันตกลงทำสัญญานั้นจำเลยได้ส่งมอบรถยนต์พิพาทให้โจทก์ครอบครองเรียบร้อยแล้ว และได้ดำเนินการหักค่าจ้างของโจทก์ไว้เที่ยวละ 1,800 บาท รวม 55 งวด รวมเป็นเงิน 95,000 บาท โจทก์จำเลยตกลงซื้อขายกันโดยมีเงื่อนไขว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ต่อเมื่อโจทก์ผ่อนชำระค่างวดให้จำเลยครบถ้วนแล้ว แต่โจทก์ชำระค่างวดไม่ครบตามข้อตกลง โดยในชั้นพิจารณาจำเลยนำสืบไปตามที่กล่าวอ้างในคำให้การดังกล่าว เห็นว่า โจทก์จำเลยมิได้ทำสัญญากันไว้เป็นหนังสือ ทั้งปรากฏหลักฐานตามใบเสร็จรับเงินเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.3 และสำเนาหนังสือบอกกล่าวสอบถามเอกสารหมาย ล.4 ว่านางสาวศิริอร สืบตระกูล เป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์พิพาทจากบริษัทซิตี้คอร์ปลิสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด หาใช่จำเลยเป็นผู้เช่าซื้อไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธินำรถพิพาทมาให้โจทก์เช่าซื้อต่อและไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยเอารถยนต์พิพาทออกให้โจทก์เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายรถยนต์พิพาทหรือให้รถยนต์พิพาทตกเป็นสิทธิแก่โจทก์โดยเงื่อนไขที่โจทก์ได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราวดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยจึงไม่ใช่เป็นการเช่าซื้อรถยนต์พิพาท แต่ตามข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวเห็นได้ว่าเป็นการตกลงซื้อขายรถยนต์พิพาท โดยจำเลยผู้ขายยอมให้โจทก์ผู้ซื้อผ่อนชำระราคาและมีเงื่อนไขว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ให้เมื่อโจทก์ผ่อนชำระราคาครบถ้วนแล้ว ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวจึงเป็น
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 เมื่อเป็นการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงราคากันตั้งแต่ 500 บาท ขึ้นไป แม้มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด แต่หากได้มีการวางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้วคู่กรณีย่อมฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม จำเลยรับว่าได้ตกลงขายรถยนต์พิพาทให้โจทก์ในราคา 200,000 บาท โดยให้โจทก์ผ่อนชำระค่างวดเป็นเงินงวดละ 1,800 บาท และโจทก์ได้ผ่อนชำระแล้ว 55 งวด เป็นเงิน 95,000 บาท จึงถือว่าโจทก์ได้วางประจำและชำระหนี้บางส่วนแก่จำเลยแล้ว โจทก์จึงฟ้องร้องบังคับคดีได้ จำเลยนำสืบได้ความทำนองเดียวกับที่อ้างในคำให้การว่า โจทก์ชำระค่างวดไม่ครบถ้วนตามสัญญา จำเลยจึงบอกเลิกสัญญาและแจ้งให้โจทก์นำรถยนต์พิพาทมาคืน โจทก์ได้ติดต่อกับจำเลยว่าไม่สามารถทำงานที่ตกลงจ้างให้ได้อีกและไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ จำเลยจึงตกลงให้เลิกสัญญากันโดยสมัครใจทั้งสองฝ่าย และในวันเลิกสัญญาโจทก์ก็ได้นำรถยนต์พิพาทมาคืนแก่จำเลยแล้ว โดยจำเลยได้คืนเงินที่รับมาแก่โจทก์ด้วย เห็นว่า การที่โจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญาชื้อขายรถยนต์พิพาทกันโดยสมัครใจทั้งสองฝ่ายเช่นนี้ ย่อมทำให้โจทก์และจำเลยกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้มอบรถยนต์พิพาท คืนแก่จำเลยแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ได้รับมาแก่โจทก์ปรากฏว่าโจทก์มีหลักฐานสำเนาใบนำฝากบัญชีเดินสะพัดเอกสารหมาย จ.1 มาแสดงว่าได้โอนเงินจำนวน 70,000 บาท เข้าบัญชีของจำเลยเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2540 ซึ่งตามใบแจ้งรายการบัญชีเดินสะพัดของจำเลย เอกสารหมาย ล.6 ก็ปรากฏชัดว่าในวันดังกล่าวมีเงินจำนวน 70,000บาท เข้าบัญชีของจำเลยจริง จึงฟังได้ว่าจำเลยได้รับเงินจำนวน 70,000 บาท จากโจทก์ไว้แล้วจริง นอกจากนี้จำเลยยังนำสืบรับว่า โจทก์ได้ผ่อนชำระเงินให้จำเลยแล้ว 55 งวด รวมเป็นเงิน 95,000 บาท ตามสำเนาบันทึกค่ารถคงค้างเอกสารหมาย ล.5 จึงฟังได้ว่าจำเลยได้รับเงินจำนวน 95,000 บาท จากโจทก์อีกจำนวนหนึ่ง ส่วนที่โจทก์อ้างว่าได้ชำระเงินค่างวดสำหรับชำระเป็นค่าเช่าซื้อรถยนต์พิพาทให้จำเลยอีกจำนวนหนึ่งเป็นเงิน 49,000 บาทนั้น โจทก์ไม่มีหลักฐานยืนยันในข้อนี้ และจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้รับ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้รับเงินจำนวนนี้จากโจทก์ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้รับเงินจากโจทก์รวม 165,000 บาท ซึ่งจำเลยมีหน้าที่ต้องคืนให้แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย โดยสิทธิเรียกร้องของโจทก์มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 ดังนั้นคดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษามานั้นศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น”

    พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

มาตรา 193/30  อายุความนั้น  ถ้าประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้มีกำหนดสิบปี

มาตรา 391  เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่ทั้งนี้จะให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่สิทธิของบุคคลภายนอกหาได้ไม่
ส่วนเงินอันจะต้องใช้คืนในกรณีดังกล่าวมาในวรรคต้นนั้น ท่านให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วย คิดตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้
ส่วนที่เป็นการงานอันได้กระทำให้และเป็นการยอมให้ใช้ทรัพย์นั้น การที่จะชดใช้คืน ท่านให้ทำได้ด้วยใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้นๆ หรือถ้าในสัญญามีกำหนดว่าให้ใช้เงินตอบแทน ก็ให้ใช้ตามนั้น
การใช้สิทธิเลิกสัญญานั้นหากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่

มาตรา 456  การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย
สัญญาจะขายหรือจะซื้อ หรือคำมั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ หรือได้วางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ให้ใช้บังคับถึงสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคาสองหมื่นบาท หรือกว่านั้นขึ้นไปด้วย

มาตรา 459  ถ้าสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข หรือเงื่อนเวลาบังคับไว้ท่านว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังไม่โอนไปจนกว่าการจะได้เป็นไปตามเงื่อนไขหรือถึงกำหนดเงื่อนเวลานั้น

มาตรา 177  เมื่อได้ส่งหมายเรียกและคำฟ้องให้จำเลยแล้ว ให้จำเลยทำคำให้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายในสิบห้าวัน
ให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น
จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้ แต่ถ้าฟ้องแย้งนั้นเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมแล้ว ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก
ให้ศาลตรวจดูคำให้การนั้นแล้วสั่งให้รับไว้ หรือให้คืนไปหรือสั่งไม่รับตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18
บทบัญญัติแห่งมาตรานี้ ให้ใช้บังคับแก่บุคคลภายนอกที่ถูกเรียกเข้ามาเป็นผู้ร้องสอดตามมาตรา 57 (3) โดยอนุโลม
 




เกี่ยวกับวิธีพิจารณาความแพ่ง

การเข้ารับมรดกความกรณีคดีถึงที่สุดแล้วได้หรือไม่และเป็นการขัดต่อ ป.วิ.แพ่ง มาตรา 42 หรือไม่
ใครบ้างมีคุณสมบัติเป็นบุคคลที่จะเข้าแทนที่คู่ความผู้มรณะได้, ศาลฎีกาวินิจฉัยคู่ความผู้มรณะ
คำสั่งคดีมีมูลเป็นที่สุดห้ามอุทธรณ์, การเพิกถอนกระบวนพิจารณาผิดระเบียบ, สิทธิในการขอพิจารณาใหม่
คดีก่อนคู่ความตกลงท้ากันเป็นข้อแพ้ชนะคดี, ฟ้องซ้ำในคดีแพ่ง, สิทธิขับไล่จากที่ดินกรรมสิทธิ์รวม,
ฟ้องแย้งในคดีแพ่ง, การผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน, การเรียกเงินมัดจำคืนตามสัญญา
การสละประเด็นข้อพิพาท, อำนาจศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 (3), อัตราดอกเบี้ยตามกฎหมายแพ่งใหม่
สัญญาประนีประนอมยอมความตกลงยุติคดี-ฟ้องซ้ำ
พิพากษาที่เกินคำขอและขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1548 อันเป็นการไม่ชอบ
ฟ้องแย้งของจำเลยแตกต่างกันกับคำฟ้องเดิม
ค่าสินไหมทดแทนที่จำนวนเงินไม่แน่นอนต้องนำสืบพยาน
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
ข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์
ฟ้องปลูกสร้างผิดต่อข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานคร
ศาลอุทธรณ์พิพากษาเกินคำขอ
คดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์มีทุนทรัพย์
รับฟังพยานหลักฐานฝ่าฝืนกฎหมาย
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
หน้าที่ในการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ขาดนัดยื่นคำให้การ-สิทธิถามค้าน การพิจารณาผิดระเบียบ
โจทก์ร่วมไม่จำต้องจัดทำคำให้การใหม่เพื่อแก้คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลย
วันนัดชี้สองสถาน
ห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง
คำร้องสอด
การส่งคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดี
สิทธิในฐานะผู้รับจำนอง -ขอรับชำระหนี้ได้ก่อนเจ้าหนี้อื่น
การบรรยายคำฟ้องที่มิได้ระบุวัน เวลาที่แน่ชัดว่าเป็นวันที่เท่าใด ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม
ยื่นฟ้องคดีอันไม่มีข้อพิพาทแต่ได้มีบุคคลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องในคดี
การยื่นคำร้องในชั้นบังคับคดีไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยไม่ครบหน้าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คู่ความจะนำคดีเรื่องที่เคยพิพาทมาฟ้องกันใหม่อีกไม่ได้
การยื่นอุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนด 1 เดือน
ฟ้องขับไล่- แสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลา 8 วัน
เพิกถอนการขายทอดตลาดหากเป็นประวิงให้ชักช้าต้องรับผิดชดค่าสินไหมทดแทน
ผู้สวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้เป็นผู้มีส่วนได้เสีย เพิกถอนการขายทอดตลาด
ฟ้องขอให้พิพากษาเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้น-ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์
ในคดีเดิมเป็นเพียงคู่ความตกลงยุติคดีไม่ดำเนินการต่อเท่านั้นไม่เป็นฟ้องซ้ำ
การยื่นและการส่งคำคู่ความในคดีฟอกเงิน
ให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีต้องชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียม
ค่าขาดไร้อุปการะเป็นหนี้ที่แบ่งแยกเป็นส่วนแต่ละคน
เจ้าหนี้ผู้รับจำนองขอรับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดที่ดิน
การมีอยู่ขององค์กรสาธารณประโยชน์ที่ได้รับรองแล้ว
กระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษา-ฟ้องซ้ำ
ยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อเป็นคู่ความฝ่ายที่สามในคดีอาญา
อายัดเงินปันผลของหุ้นได้แม้จะพ้นระยะเวลา 10 ปีแล้ว
เจ้าหนี้บุริมสิทธิ มิได้ร้องขอให้บังคับคดีภายในสิบปี
คำสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง นอกฟ้องนอกประเด็น
สิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนของผู้รับจำนอง
ฟ้องซ้ำ คดีถึงที่สุดห้ามมิให้คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีก
โจทก์และจำเลยต่างมีสภาพเป็น"เจ้าหนี้" และ "ลูกหนี้" ตามคำพิพากษา
จำเลยไม่ใช่บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะจึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลออกคำบังคับ
ไม่เกินห้าหมื่นบาทห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
การร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยทรัพย์ที่ถูกยึดต้องอ้างว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของทรัพย์
เงื่อนเวลาเริ่มต้น-สิ้นสุดให้สันนิษฐานว่าเพื่อประโยชน์แก่ฝ่ายลูกหนี้
นำใบแต่งทนายความซึ่งปลอมลายมือชื่อไปทำสัญญายอม
อำนาจว่าความหรือดำเนินกระบวนพิจารณาของทนายความในศาล
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ
ค่าเสียหายตามคำพิพากษาและค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทน
ผู้ร้องสอดต้องมีส่วนได้เสียกับคู่ความเดิมถือเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม
แก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยเป็นข้อยกเว้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 180
ยื่นเอกสารฝ่าฝืนต่อกฎหมายไม่อาจรับฟังเป็นพยานได้(ยื่นชั้นอุทธรณ์ฎีกา)
จำเลยฟ้องแย้ง-โจทก์ทิ้งฟ้อง ไม่มีผลให้ฟ้องแย้งตกไป
อำนาจปกครองบุตร-มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลใด?
ดุลพินิจสั่งค่าฤชาธรรมเนียมคำนึงความสุจริตของคู่ความ
พินัยกรรมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่?ไม่มีประเด็นข้อพิพาท
มีเส้นทางอื่นออกไม่ตัดสิทธิขอคุ้มครองประโยชน์
คำขอให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา
คำร้องขอขยายระยะเวลาในการวางเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229
ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์แล้วคดีอยู่ในอำนาจศาลอุทธรณ์
คำสั่งรับหรือไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย
ไม่รับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
การส่งหมายนัดไต่สวน-สำเนาคำร้องไม่ชอบ
คำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้อง
เพิกถอนการขายทอดตลาด
คำฟ้องโจทก์ไม่มีลายมือชื่อของผู้เรียงพิมพ์
คณะบุคคลไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้
มอบอำนาจให้ฟ้องคดีไว้ล่วงหน้าก่อนเกิดสิทธิฟ้อง
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนระบุชื่อศาลผิด
หน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐาน
อำนาจฟ้องที่รัฐเป็นผู้เสียหาย
ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
วินิจฉัยนอกเหนือไปจากคำฟ้องและคำให้การ
เข้าเป็นโจทก์ร่วมต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยด้วย
ใครมีอำนาจอนุญาตให้ฎีกาในข้อเท็จจริงได้
การถอนการบังคับคดี | คำพิพากษาถูกกลับชั้นที่สุด
ยังไม่ผิดสัญญายังไม่มีเหตุขอออกหมายบังคับคดีได้
แจ้งคำสั่งขายทอดตลาดแก่ผู้มีส่วนได้เสีย คู่สมรสไม่มีชื่อในโฉนดที่ดิน
คำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งไม่ชอบ
ขอให้เพิกถอนการพิจารณาคดีของศาล มีพยานหลักฐานใหม่
ผู้เสียหายฐานละเมิดอำนาจศาล