สำนักงานพีศิริ ทนายความ ตั้งอยู่เลขที่ 34/159 หมู่ 8 ซอยบางมดแลนด์ แยก 13 ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 ติดต่อทนายความ 085-9604258 สำหรับแผนที่การเดินทาง กรุณาคลิ๊กที่ "ที่ตั้งสำนักงาน" ด้านบนสุด ทนายความ ทนาย สำนักงานกฎหมาย สำนักงานทนายความ ปรึกษากฎหมายกับทนายความลีนนท์ โทรเลย ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ

ค่าขาดไร้อุปการะเป็นหนี้ที่แบ่งแยกเป็นส่วนแต่ละคน
-ปรึกษากฎหมาย ทนายความ (นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ) โทร.085-9604258 -ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line : (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3) @peesirilaw หรือ (4) peesirilaw (5) leenont -Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย QR CODE
ค่าขาดไร้อุปการะเป็นหนี้ที่แบ่งแยกเป็นส่วนแต่ละคน จำเลยฎีกาเฉพาะในส่วนของค่าขาดไร้อุปการะว่าศาลอุทธรณ์ภาคกำหนดให้จำเลยชำระค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ทั้งสองเป็นระยะเวลา 18 ปี นานเกินไปไม่เหมาะสมกับความเสียหาย ค่าขาดไร้อุปการะที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองนั้นสมควรมีระยะเวลาเพียง 14 ปีศาลฎีกาเห็นว่าทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจึงต้องถือตามจำนวนค่าขาดไร้อุปการะที่โจทก์แต่ละคนมีสิทธิทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6381/2562 ค่าขาดไร้อุปการะเป็นหนี้ที่สามารถแบ่งแยกเป็นส่วนของโจทก์แต่ละคน โดยโจทก์ทั้งสองสามารถฟ้องเรียกเฉพาะส่วนของตนโดยลำพังได้ ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจึงต้องถือตามจำนวนค่าขาดไร้อุปการะที่โจทก์แต่ละคนมีสิทธิเรียกร้องจากจำเลย ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาของโจทก์ทั้งสองแต่ละคนไม่เกินสองแสนบาท ย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่โจทก์ทั้งสองยื่นฟ้อง การที่จำเลยฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 3 กำหนดให้จำเลยชำระค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ทั้งสองเป็นระยะเวลา 18 ปี นานเกินไปไม่เหมาะสมกับความเสียหาย ถือว่าเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยมานั้น จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์ทั้งสองฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 469,706 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสอง ชำระเงิน 1,900,000 บาท แก่โจทก์ที่ 1 และชำระเงิน 1,900,000 บาท แก่โจทก์ที่ 2 พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ทั้งสองคนละ 1,373 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 27 สิงหาคม 2558) จนกว่าจะชำระเสร็จ กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสอง โดยกำหนดค่าทนายความให้ 3,000 บาท เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้แทนตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ทั้งสองชนะคดี คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ทั้งสองคนละ 110,093 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 27 สิงหาคม 2558) จนกว่าจะชำระเสร็จ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คืนค่าขึ้นศาลที่เสียเกินมาแก่โจทก์ทั้งสองคนละ 10,000 บาท กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ทั้งสองโดยกำหนดค่าทนายความให้รวม 6,000 บาท เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้แทนตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ทั้งสองชนะคดีในชั้นอุทธรณ์ จำเลยฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีนี้ โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยในมูลละเมิด โดยบรรยายฟ้องในส่วนของค่าเสียหายคือ ค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการจัดการศพ 446,406 บาท ค่าซ่อมรถจักรยานยนต์ 23,300 บาท และค่าขาดไร้อุปการะคนละ 10,000 บาท ต่อเดือนเป็นเวลา 20 ปี ขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 469,706 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ทั้งสอง ชำระเงิน 1,900,000 บาท แก่โจทก์ที่ 1 และชำระเงิน 1,900,000 บาท แก่โจทก์ที่ 2 พร้อมดอกเบี้ย ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ทั้งสองคนละ 1,373 บาท พร้อมดอกเบี้ย ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชำระค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ทั้งสองคนละ 110,093 บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลยฎีกาเฉพาะในส่วนของค่าขาดไร้อุปการะว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 3 กำหนดให้จำเลยชำระค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ทั้งสองเป็นระยะเวลา 18 ปี นานเกินไปไม่เหมาะสมกับความเสียหาย ค่าขาดไร้อุปการะที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองนั้นสมควรมีระยะเวลาเพียง 14 ปี เท่าที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ขอให้พิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 โดยพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เห็นว่า ค่าขาดไร้อุปการะเป็นหนี้ที่สามารถแบ่งแยกเป็นส่วนของโจทก์แต่ละคน โดยโจทก์ทั้งสองสามารถฟ้องเรียกเฉพาะส่วนของตนโดยลำพังได้ ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจึงต้องถือตามจำนวนค่าขาดไร้อุปการะที่โจทก์แต่ละคนมีสิทธิเรียกร้องจากจำเลย ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาของโจทก์ทั้งสองแต่ละคนจึงไม่เกินสองแสนบาท ย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่โจทก์ทั้งสองยื่นฟ้อง การที่จำเลยฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 3 กำหนดให้จำเลยชำระค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ทั้งสองเป็นระยะเวลา 18 ปี นานเกินไปไม่เหมาะสมกับความเสียหาย ถือว่าเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยมานั้น จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย พิพากษายกฎีกาของจำเลย ให้คืนค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาทั้งหมดแก่จำเลย ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกานอกจากที่สั่งคืนให้เป็นพับ ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา ป.วิ.พ. ม. 248 วรรคหนึ่ง (เดิม) แหล่งที่มา กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา ค่าอุปการะเลี้ยงดูตามข้อตกลงที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูแต่ศาลพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้โจทก์ 160,000 บาท ยังค้างชำระอยู่อีก 90,000 บาท ศาลไม่พิพากษาให้ เนื่องจากหนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ ภายหลังจากหนี้ส่วนที่เหลือถึงกำหนดจำเลยไม่ชำระโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ขอให้ชำระเงิน 90,000 บาท แก่โจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ |