ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์แล้วคดีอยู่ในอำนาจศาลอุทธรณ์

ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์แล้วคดีอยู่ในอำนาจศาลอุทธรณ์

ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยไว้แล้ว คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เมื่อจำเลยทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นจึงไม่อาจสั่งเองได้ ต้องส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องที่จำเลยทิ้งฟ้องอุทธรณ์ต่อไป ซึ่งแตกต่างกับกรณีที่จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความของศาลอุทธรณ์หลังจากที่ศาลอุทธรณ์จำหน่ายคดีไปแล้ว ไม่เป็นกรณีที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นจึงไม่จำต้องส่งคำร้องดังกล่าวให้ศาลอุทธรณ์สั่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6201/2550

   หลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี จำเลยยื่นอุทธรณ์ ในระหว่างส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยทิ้งฟ้องอุทธรณ์ จึงให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความของศาลอุทธรณ์ คดีเสร็จการพิจารณาจากศาลอุทธรณ์แล้ว จึงไม่มีคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ที่จะให้จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งได้ การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความของศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีเสร็จสิ้นการพิจารณาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แล้ว หากจำเลยประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปก็มีสิทธิยื่นฎีกาได้ตามกฎหมายและให้ยกคำร้องของจำเลยจึงชอบแล้ว

          ป.วิ.พ. มาตรา 18 ให้อำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะตรวจคำคู่ความและมีคำสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความนั้นได้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจที่จะมีคำสั่งคำร้องของจำเลยที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความของศาลอุทธรณ์ โดยไม่จำต้องได้รับมอบหมายจากศาลอุทธรณ์

          ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยไว้แล้ว คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เมื่อจำเลยทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นจึงไม่อาจสั่งเองได้ ต้องส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องที่จำเลยทิ้งฟ้องอุทธรณ์ต่อไป ซึ่งแตกต่างกับกรณีที่จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความของศาลอุทธรณ์หลังจากที่ศาลอุทธรณ์จำหน่ายคดีไปแล้ว ไม่เป็นกรณีที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นจึงไม่จำต้องส่งคำร้องดังกล่าวให้ศาลอุทธรณ์สั่ง

          ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งจำหน่ายคดีของจำเลยออกจากสารบบความของศาลอุทธรณ์ หากจำเลยไม่เห็นพ้องด้วย จำเลยมีสิทธิยื่นเป็นคำฟ้องฎีกาภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 แต่จำเลยหาได้ยื่นฎีกาไม่ กลับโต้แย้งคัดค้านคำสั่งของศาลอุทธรณ์โดยการยื่นคำร้องแทน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยดังกล่าว จึงเป็นคำสั่งที่ชอบแล้ว

          คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์ หากจำเลยทั้งสองไม่ชำระให้ยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 195344, 52035 ตำบลคลองถนน อำเภอบางเขน กรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ หากได้เงินไม่พอให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสองบังคับชำระหนี้แก่โจทก์จนครบ กับให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 4,000 บาท

          จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นรับเป็นอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยทั้งสอง โดยให้จำเลยทั้งสองนำส่งสำเนาให้โจทก์แก้ภายใน 7 วัน หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 15 วัน พนักงานเดินหมายรายงานว่าส่งสำเนาอุทธรณ์และหมายนัดให้แก่โจทก์ไม่ได้ จำเลยทั้งสองเพิกเฉยไม่แถลงว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปอันเป็นการไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ศาลอุทธรณ์เห็นว่าเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ จึงพิพากษาให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความของศาลอุทธรณ์

          จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องว่า จำเลยทั้งสองมิได้เพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ขอศาลอุทธรณ์ทำการไต่สวนหรือมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี

          ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คดีเสร็จสิ้นการพิจารณาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แล้ว หากจำเลยทั้งสองประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปก็มีสิทธิยื่นฎีกาได้ตามกฎหมาย ให้ยกคำร้อง ค่าคำร้องให้เป็นพับ

          จำเลยทั้งสองอุทธรณ์คำสั่ง
          ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ให้เป็นพับ

          จำเลยทั้งสองฎีกา

   ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 5 มีนาคม 2544 เป็นการยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ เมื่อสำนวนคดีอยู่ที่ศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองจึงต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อส่งให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่ง การที่ศาลชั้นต้นไม่ส่งคำร้องไปให้ศาลอุทธรณ์สั่ง แต่ได้สั่งคำร้องของจำเลยทั้งสองเสียเอง โดยไม่มีเหตุฉุกเฉินหรือได้รับมอบหมายจากศาลอุทธรณ์ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2544 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เห็นว่า คดีนี้หลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองแพ้คดี จำเลยทั้งสองยื่นอุทธรณ์ ในระหว่างส่งสำเนาอุทธรณ์และหมายนัดให้แก่โจทก์นั้น จำเลยทั้งสองเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยทั้งสองทิ้งฟ้องอุทธรณ์ จึงพิพากษาให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความของศาลอุทธรณ์ คดีย่อมเสร็จการพิจารณาจากศาลอุทธรณ์แล้ว จึงไม่มีคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ที่จะให้จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามคำร้องของจำเลยทั้งสองว่า คดีเสร็จสิ้นการพิจารณาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แล้ว หากจำเลยทั้งสองประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปก็มีสิทธิยื่นฎีกาได้ตามกฎหมาย และให้ยกคำร้องของจำเลยทั้งสองนั้นย่อมเป็นการชอบแล้ว และที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องดังกล่าวเสียเองโดยที่มิได้รับมอบหมายจากศาลอุทธรณ์และมิใช่เป็นกรณีเร่งด่วนฉุกเฉิน ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งคำร้องนั้น เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 ให้อำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะตรวจคำคู่ความและมีคำสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความนั้นได้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจที่จะพิจารณาและมีคำสั่งคำร้องของจำเลยทั้งสอง โดยไม่จำต้องได้รับมอบหมายจากศาลอุทธรณ์และไม่ต้องมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนแต่ประการใด ส่วนที่จำเลยทั้งสองฎีกาโต้แย้งว่า ศาลชั้นต้นน่าจะส่งคำร้องของจำเลยทั้งสองไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาสั่งเหมือนเช่นกรณีศาลชั้นต้นส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาสั่งในกรณีมีการทิ้งฟ้องในชั้นอุทธรณ์ เห็นว่า ในกรณีจำเลยทั้งสองทิ้งฟ้องในชั้นอุทธรณ์เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นได้สั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองไว้แล้ว คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ดังนั้นเมื่อจำเลยทั้งสองทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นจึงไม่อาจสั่งเองได้ ต้องส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องที่จำเลยทั้งสองทิ้งฟ้องอุทธรณ์ต่อไป ซึ่งแตกต่างกับกรณีที่จำเลยทั้งสองได้ยื่นคำร้องหลังจากที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาจำหน่ายคดีไปแล้ว ไม่เป็นกรณีคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นจึงไม่จำต้องส่งคำร้องดังกล่าวให้ศาลอุทธรณ์สั่ง ส่วนที่จำเลยทั้งสองฎีกาอ้างเหตุประการสุดท้ายว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาจำหน่ายคดีของจำเลยทั้งสองออกจากสารบบความของศาลอุทธรณ์เนื่องจากจำเลยทั้งสองทิ้งฟ้องอุทธรณ์ จำเลยทั้งสองไม่สามารถยื่นฎีกาได้เนื่องจากศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาท ข้อที่จะฎีกาจึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จำเลยทั้งสองจึงต้องใช้วิธีการยื่นคำร้องแทนนั้น เห็นว่า จำเลยทั้งสองเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีชั้นต้นพิพากษาเสร็จสิ้นแล้ว จึงไม่ใช่กรณีที่จะต้องว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นแต่เป็นกรณีที่เกิดขึ้นในชั้นอุทธรณ์ และเมื่อศาลอุทธรณ์นำเหตุดังกล่าวมาพิพากษาจำหน่ายคดีของจำเลยทั้งสองออกจากสารบบความของศาลอุทธรณ์ถือได้ว่ามีการว่ากล่าวกันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์แล้ว ดังนั้น หากจำเลยทั้งสองไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ จำเลยทั้งสองก็มีสิทธิยื่นเป็นคำฟ้องฎีกาภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 ซึ่งจำเลยทั้งสองมีเวลาถึง 1 เดือนที่จะยื่นฎีกาได้ แต่จำเลยทั้งสองหาได้ยื่นฎีกาไม่ กลับยื่นโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์โดยการยื่นคำร้องแทน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยทั้งสองดังกล่าว จึงเป็นคำสั่งที่ชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยทั้งสองฟังไม่ขึ้น”

          พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ให้เป็นพับ

หมายเหตุ 

          ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น มาตรา 18 ให้ศาลมีอำนาจที่จะตรวจคำคู่ความ คำฟ้องอุทธรณ์เป็นคำคู่ความ จึงเป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะตรวจอุทธรณ์ ทั้งมาตรา 232 ให้อำนาจศาลชั้นต้นตรวจอุทธรณ์ และมีคำสั่งให้ส่งหรือปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์นั้นไปยังศาลอุทธรณ์ เมื่อมาตรา 144 วรรคหนึ่ง ห้ามมิให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว จึงมีข้อยกเว้นบัญญัติอยู่ในมาตรา 144 (3) ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการยื่น การยอมรับหรือไม่ยอมรับซึ่งอุทธรณ์ตามมาตรา 229 ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งรับอุทธรณ์และสั่งให้จำเลยซึ่งเป็นผู้อุทธรณ์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ได้ ส่วนการสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความของศาลอุทธรณ์เพราะจำเลยทิ้งอุทธรณ์ ไม่อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นเลย เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์แล้วจึงต้องด้วยมาตรา 131 ที่ต้องให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้สั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความของศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 131 (2) การที่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความของศาลอุทธรณ์นั้น จำเลยมิได้ประสงค์จะให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าว และมิใช่กรณีตามมาตรา 144 (3) ทั้งคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความของศาลอุทธรณ์เป็นคำสั่งของศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นจึงไม่น่าจะมีอำนาจสั่งคำร้องดังกล่าว ศาลชั้นต้นควรส่งคำร้องไปให้ศาลอุทธรณ์สั่งตามความประสงค์ของจำเลย แม้จะมิใช่อุทธรณ์ตามมาตรา 232 ก็ตาม ถ้าศาลชั้นต้นส่งคำร้องไปให้ศาลอุทธรณ์สั่ง แต่เมื่อไม่มีคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็ไม่มีอำนาจสั่งเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความของศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 131 (1) ศาลอุทธรณ์น่าจะมีคำสั่งยกคำร้องโดยอ้างเหตุผลว่ากรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 131 (1) ที่ศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งตามคำร้องของจำเลยได้

           อนึ่ง คำร้องของจำเลยที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความของศาลอุทธรณ์ มิใช่คำร้องที่ยื่นต่อศาลเพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ จึงไม่ใช่คำคู่ความตามมาตรา 1 (5) ที่จะต้องตรวจและมีคำสั่งตามมาตรา 18                   

           ไพโรจน์ วายุภาพ
 

มาตรา 18 ให้ศาลมีอำนาจที่จะตรวจคำคู่ความที่พนักงาน เจ้าหน้าที่ของศาลได้รับไว้เพื่อยื่นต่อศาล หรือส่งให้แก่คู่ความ หรือบุคคลใด ๆ

ถ้าศาลเห็นว่าคำคู่ความที่ได้ยื่นไว้ดังกล่าวแล้วนั้น อ่านไม่ออก หรืออ่านไม่เข้าใจหรือการเขียนฟุ่มเฟือยเกินไป หรือไม่มีรายการ ไม่มีลายมือชื่อ ไม่แนบเอกสารต่าง ๆ ตามที่กฎหมายต้องการ หรือมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยถูกต้องครบถ้วน ศาลจะมีคำสั่งให้คืนคำคู่ความนั้นไปให้ทำมาใหม่ หรือแก้ไขเพิ่มเติม หรือชำระ หรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วนภายใน ระยะเวลาและกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ตลอดจนเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม ตามที่ศาลเห็นสมควรก็ได้ ถ้ามิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของศาล ในระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ก็ให้มีคำสั่งไม่รับคำคู่ความนั้น

ถ้าศาลเห็นว่าคำคู่ความที่ได้นำมายื่นดั่งกล่าวข้างต้นมิได้เป็นไป ตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายที่บังคับไว้ นอกจากที่กล่าวมาในวรรคก่อน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเห็นว่าสิทธิของคู่ความหรือบุคคล ซึ่งยื่นคำคู่ความนั้นได้ถูกจำกัดห้ามโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เรื่องเขตอำนาจศาล ก็ให้ศาลมีคำสั่งไม่รับหรือคืนคำคู่ความนั้นไป เพื่อยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจ

ถ้าไม่มีข้อขัดดังกล่าวแล้ว ก็ให้ศาลจดแจ้งแสดงการรับคำคู่ความ นั้นไว้บนคำคู่ความนั้นเองหรือในที่อื่น

คำสั่งของศาลที่ไม่รับหรือให้คืนคำคู่ความตาม มาตรานี้ ให้อุทธรณ์ และฎีกาได้ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 227 มาตรา 228 และ มาตรา 247

มาตรา 132 ให้ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้ โดยไม่ต้องมีคำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นเรื่องนั้น และให้กำหนดเงื่อนไข ในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควร
(1) เมื่อโจทก์ทิ้งฟ้อง ถอนฟ้อง หรือไม่มาศาลในวันนัดพิจารณา ดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 174 มาตรา 175 และ มาตรา 193 ทวิ
(2) เมื่อโจทก์ไม่หาประกันมาให้ดั่งที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 253 และ มาตรา 288 หรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่ายขาดนัด ดั่งที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 198 มาตรา 200 และ มาตรา 201
(3) ถ้าความมรณะของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยังให้คดีนั้นไม่มี ประโยชน์ต่อไป หรือถ้าไม่มีผู้ใดเข้ามาแทนที่คู่ความฝ่ายที่มรณะ ดั่งที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 42
(4) เมื่อศาลได้มีคำสั่งให้พิจารณาคดีรวมกันหรือให้แยกกัน ซึ่ง เป็นเหตุให้ต้องโอนคดีไปยังอีกศาลหนึ่งดั่งที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 28 และ มาตรา 29

มาตรา 223 ภายใต้บังคับบทบัญญัติ มาตรา 138 มาตรา 168 มาตรา 188 และ มาตรา 222 และในลักษณะนี้ คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้นให้ ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ เว้นแต่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นจะได้บัญญัติว่าให้เป็นที่สุด

มาตรา 232 เมื่อได้รับอุทธรณ์แล้ว ให้ศาลชั้นต้นตรวจอุทธรณ์ และมีคำสั่งให้ส่งหรือปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์นั้นไปยังศาลอุทธรณ์ตาม บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าศาลปฏิเสธไม่ส่งให้ศาลแสดง เหตุที่ไม่ส่งนั้นไว้ในคำสั่งทุกเรื่องไป ถ้าคู่ความทั้งสองฝ่ายได้ยื่น อุทธรณ์ ศาลจะวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้งสองฉบับนั้นในคำสั่งฉบับเดียวกัน ก็ได้

มาตรา 247 ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งในชั้นอุทธรณ์แล้วนั้น ให้ยื่นฎีกาได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้ อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอุทธรณ์นั้น และภายใต้บังคับบทบัญญัติสี่มาตราต่อไปนี้กับกฎหมายอื่นว่าด้วยการฎีกา ให้นำบทบัญญัติในลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม

          




เกี่ยวกับวิธีพิจารณาความแพ่ง

การเข้ารับมรดกความกรณีคดีถึงที่สุดแล้วได้หรือไม่และเป็นการขัดต่อ ป.วิ.แพ่ง มาตรา 42 หรือไม่
ใครบ้างมีคุณสมบัติเป็นบุคคลที่จะเข้าแทนที่คู่ความผู้มรณะได้, ศาลฎีกาวินิจฉัยคู่ความผู้มรณะ
คำสั่งคดีมีมูลเป็นที่สุดห้ามอุทธรณ์, การเพิกถอนกระบวนพิจารณาผิดระเบียบ, สิทธิในการขอพิจารณาใหม่
คดีก่อนคู่ความตกลงท้ากันเป็นข้อแพ้ชนะคดี, ฟ้องซ้ำในคดีแพ่ง, สิทธิขับไล่จากที่ดินกรรมสิทธิ์รวม,
ฟ้องแย้งในคดีแพ่ง, การผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน, การเรียกเงินมัดจำคืนตามสัญญา
การสละประเด็นข้อพิพาท, อำนาจศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 (3), อัตราดอกเบี้ยตามกฎหมายแพ่งใหม่
สัญญาประนีประนอมยอมความตกลงยุติคดี-ฟ้องซ้ำ
พิพากษาที่เกินคำขอและขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1548 อันเป็นการไม่ชอบ
ฟ้องแย้งของจำเลยแตกต่างกันกับคำฟ้องเดิม
ค่าสินไหมทดแทนที่จำนวนเงินไม่แน่นอนต้องนำสืบพยาน
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
ข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์
ฟ้องปลูกสร้างผิดต่อข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานคร
ศาลอุทธรณ์พิพากษาเกินคำขอ
คดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์มีทุนทรัพย์
รับฟังพยานหลักฐานฝ่าฝืนกฎหมาย
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
หน้าที่ในการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ขาดนัดยื่นคำให้การ-สิทธิถามค้าน การพิจารณาผิดระเบียบ
โจทก์ร่วมไม่จำต้องจัดทำคำให้การใหม่เพื่อแก้คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลย
วันนัดชี้สองสถาน
ห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง
คำร้องสอด
การส่งคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดี
สิทธิในฐานะผู้รับจำนอง -ขอรับชำระหนี้ได้ก่อนเจ้าหนี้อื่น
การบรรยายคำฟ้องที่มิได้ระบุวัน เวลาที่แน่ชัดว่าเป็นวันที่เท่าใด ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม
ยื่นฟ้องคดีอันไม่มีข้อพิพาทแต่ได้มีบุคคลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องในคดี
การยื่นคำร้องในชั้นบังคับคดีไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยไม่ครบหน้าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คู่ความจะนำคดีเรื่องที่เคยพิพาทมาฟ้องกันใหม่อีกไม่ได้
การยื่นอุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนด 1 เดือน
ฟ้องขับไล่- แสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลา 8 วัน
เพิกถอนการขายทอดตลาดหากเป็นประวิงให้ชักช้าต้องรับผิดชดค่าสินไหมทดแทน
ผู้สวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้เป็นผู้มีส่วนได้เสีย เพิกถอนการขายทอดตลาด
ฟ้องขอให้พิพากษาเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้น-ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์
ในคดีเดิมเป็นเพียงคู่ความตกลงยุติคดีไม่ดำเนินการต่อเท่านั้นไม่เป็นฟ้องซ้ำ
การยื่นและการส่งคำคู่ความในคดีฟอกเงิน
ให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีต้องชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียม
ค่าขาดไร้อุปการะเป็นหนี้ที่แบ่งแยกเป็นส่วนแต่ละคน
เจ้าหนี้ผู้รับจำนองขอรับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดที่ดิน
การมีอยู่ขององค์กรสาธารณประโยชน์ที่ได้รับรองแล้ว
กระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษา-ฟ้องซ้ำ
ยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อเป็นคู่ความฝ่ายที่สามในคดีอาญา
อายัดเงินปันผลของหุ้นได้แม้จะพ้นระยะเวลา 10 ปีแล้ว
เจ้าหนี้บุริมสิทธิ มิได้ร้องขอให้บังคับคดีภายในสิบปี
คำสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง นอกฟ้องนอกประเด็น
สิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนของผู้รับจำนอง
ฟ้องซ้ำ คดีถึงที่สุดห้ามมิให้คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีก
โจทก์และจำเลยต่างมีสภาพเป็น"เจ้าหนี้" และ "ลูกหนี้" ตามคำพิพากษา
จำเลยไม่ใช่บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะจึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลออกคำบังคับ
ไม่เกินห้าหมื่นบาทห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
การร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยทรัพย์ที่ถูกยึดต้องอ้างว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของทรัพย์
เงื่อนเวลาเริ่มต้น-สิ้นสุดให้สันนิษฐานว่าเพื่อประโยชน์แก่ฝ่ายลูกหนี้
นำใบแต่งทนายความซึ่งปลอมลายมือชื่อไปทำสัญญายอม
อำนาจว่าความหรือดำเนินกระบวนพิจารณาของทนายความในศาล
ฟ้องเคลือบคลุม, สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข, วางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ
ค่าเสียหายตามคำพิพากษาและค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทน
ผู้ร้องสอดต้องมีส่วนได้เสียกับคู่ความเดิมถือเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม
แก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยเป็นข้อยกเว้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 180
ยื่นเอกสารฝ่าฝืนต่อกฎหมายไม่อาจรับฟังเป็นพยานได้(ยื่นชั้นอุทธรณ์ฎีกา)
จำเลยฟ้องแย้ง-โจทก์ทิ้งฟ้อง ไม่มีผลให้ฟ้องแย้งตกไป
อำนาจปกครองบุตร-มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลใด?
ดุลพินิจสั่งค่าฤชาธรรมเนียมคำนึงความสุจริตของคู่ความ
พินัยกรรมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่?ไม่มีประเด็นข้อพิพาท
มีเส้นทางอื่นออกไม่ตัดสิทธิขอคุ้มครองประโยชน์
คำขอให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา
คำร้องขอขยายระยะเวลาในการวางเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229
ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษา
คำสั่งรับหรือไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย
ไม่รับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
การส่งหมายนัดไต่สวน-สำเนาคำร้องไม่ชอบ
คำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้อง
เพิกถอนการขายทอดตลาด
คำฟ้องโจทก์ไม่มีลายมือชื่อของผู้เรียงพิมพ์
คณะบุคคลไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้
มอบอำนาจให้ฟ้องคดีไว้ล่วงหน้าก่อนเกิดสิทธิฟ้อง
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนระบุชื่อศาลผิด
หน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐาน
อำนาจฟ้องที่รัฐเป็นผู้เสียหาย
ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
วินิจฉัยนอกเหนือไปจากคำฟ้องและคำให้การ
เข้าเป็นโจทก์ร่วมต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยด้วย
ใครมีอำนาจอนุญาตให้ฎีกาในข้อเท็จจริงได้
การถอนการบังคับคดี | คำพิพากษาถูกกลับชั้นที่สุด
ยังไม่ผิดสัญญายังไม่มีเหตุขอออกหมายบังคับคดีได้
แจ้งคำสั่งขายทอดตลาดแก่ผู้มีส่วนได้เสีย คู่สมรสไม่มีชื่อในโฉนดที่ดิน
คำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งไม่ชอบ
ขอให้เพิกถอนการพิจารณาคดีของศาล มีพยานหลักฐานใหม่
ผู้เสียหายฐานละเมิดอำนาจศาล