ReadyPlanet.com
dot
สำนักงานทนายความ
dot
bulletทนายความฟ้องหย่า
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
dot
พระราชบัญญัติ
dot
bulletพระราชบัญญัติ
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
dot
บทความเฉพาะเรื่อง
dot
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletสัญญายอมความ
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletกรมบังคับคดี
dot
ลิงค์ต่าง ๆ
dot
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletอำนาจปกครองบุตร




คณะบุคคลไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw   (5)   @leenont1

-Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย  QR CODE

QR CODE 

คณะบุคคลไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้

ตามคำฟ้องระบุว่า โจทก์เป็นคณะบุคคล ตามกฎหมายผู้ที่จะเป็นคู่ความในคดีเป็นผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาลได้นั้น จะต้องได้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล สำหรับคณะบุคคลตามฟ้องคดีนี้เป็นเพียงคณะบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่รวมกันเป็นหน่วยภาษี เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการจดทะเบียน โจทก์จึงไม่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย และไม่ปรากฏว่าโจทก์ในคดีนี้ฟ้องคดีในฐานะส่วนตัว ผู้เป็นโจทก์ในคดีนี้จึงมิใช่บุคคลธรรมดา เมื่อโจทก์มิใช่บุคคลธรรมดาและมิใช่นิติบุคคลย่อมไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2095/2543

           คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์เป็นการเพิ่มเติมชื่อโจทก์ที่จะต้องระบุไว้แน่ชัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67 เข้ามาในภายหลัง จึงเป็นการเพิ่มจำนวนผู้เป็นโจทก์เข้ามาในคำฟ้องเดิม มิใช่เป็นเรื่องขอแก้ไขคำฟ้องตามนัยบทกฎหมายดังกล่าว คำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่มีผลแต่อย่างใด เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ระบุว่าโจทก์เป็นคณะบุคคลตามกฎหมายใช้ชื่อว่า "คณะบุคคลกำชัย-มณฑา" ซึ่งเป็นเพียงคณะบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่รวมกันเป็นหน่วยภาษีตามประมวลรัษฎากรเท่านั้น มิใช่นิติบุคคลตามกฎหมาย โจทก์จึงมิใช่บุคคลธรรมดาและมิใช่นิติบุคคลอันอาจเป็นคู่ความในคดีได้

          โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ กับให้จำเลยคืนเงินภาษีเพิ่ม เงินเพิ่มและเบี้ยปรับ ที่โจทก์ชำระไปแล้วจำนวน 328,182 บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่จำเลยได้รับเงินไปจนกว่าจำเลยจะคืนให้แก่โจทก์เสร็จสิ้น

          จำเลยให้การว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิขอคืนเงินค่าภาษีและเงินเพิ่มจากจำเลย ขอให้ยกฟ้อง

          ศาลภาษีอากรกลางพิพากษายกฟ้อง

          โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
          ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรวินิจฉัยว่า "โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องในส่วนของผู้เป็นโจทก์ว่า ในการยื่นฟ้องคดีนี้นายกำชัย สารสาส กระทำการในฐานะผู้จัดการโจทก์ ในฐานะส่วนตัว และในฐานะผู้รับมอบอำนาจของนางสาวมณฑา ไชยะวัฒน ด้วย โดยนางสาวมณฑาได้มอบอำนาจให้นายกำชัยเป็นผู้รับมอบอำนาจดำเนินคดีแทน ซึ่งศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องได้ ศาลฎีกาเห็นว่าการแก้ไขคำฟ้องนั้นพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 และข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ. 2539 มิได้บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะดังนั้น จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา 17 ซึ่งการแก้ไขคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 จะต้องเป็นการแก้ไขข้อหาข้ออ้างที่มีต่อจำเลย อันกล่าวไว้ในคำฟ้องที่เสนอต่อศาลแต่แรก โดยการเพิ่มหรือลดทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทในฟ้องเดิม หรือสละข้อหาในฟ้องเดิมเสียบางข้อหรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ แต่คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นการเพิ่มเติมชื่อโจทก์ที่จะต้องระบุไว้แน่ชัดตามมาตรา 67 เข้ามาในภายหลัง จึงเป็นการเพิ่มจำนวนผู้เป็นโจทก์เข้ามาในคำฟ้องเดิม มิใช่เป็นเรื่องขอแก้ไขคำฟ้องตามนัยบทกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องฉบับดังกล่าวย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายคำสั่งดังกล่าวจึงไม่มีผลแต่อย่างใด และเมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ระบุว่า โจทก์เป็นคณะบุคคลตามกฎหมายใช้ชื่อว่า "คณะบุคคลกำชัย-มณฑา" ประกอบด้วยนายกำชัย สารสาส กับนางสาวมณฑาไชยะวัฒน โดยมีนายกำชัยเป็นผู้จัดการคณะบุคคลมีอำนาจกระทำการแทนคณะบุคคลได้ นายกำชัยในฐานะผู้จัดการคณะบุคคลได้ลงชื่อเป็นผู้แต่งทนายความมอบหมายให้ทนายความยื่นฟ้องจำเลย ขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้นศาลฎีกาเห็นว่า ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 และข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ. 2539 มิได้บัญญัติถึงผู้ที่จะเป็นคู่ความไว้ ดังนั้น จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา 17 ซึ่งผู้ที่จะเป็นคู่ความในคดี กล่าวคือ เป็นผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาลได้นั้น จะต้องเป็นบุคคลดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(11) ว่า "คู่ความ" หมายความว่าบุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาล และคำว่าบุคคลนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล สำหรับคณะบุคคลกำชัย-มณฑานั้น เป็นเพียงคณะบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่รวมกันเป็นหน่วยภาษีตามประมวลรัษฎากรทั้งนี้เพื่อยื่นรายการเงินได้สำหรับจำนวนเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีเสมือนเป็นบุคคลธรรมดาคนเดียว โดยบุคคลในคณะบุคคลแต่ละคนไม่จำต้องยื่นรายการเงินได้สำหรับจำนวนเงินได้พึงประเมินของคณะบุคคลนั้นเพื่อเสียภาษีอีก เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการจดทะเบียนตามบทบัญญัติแห่งลักษณะ 22 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1015 โจทก์จึงไม่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย นอกจากนี้ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่านายกำชัยและนางสาวมณฑาฟ้องคดีในฐานะส่วนตัว ผู้เป็นโจทก์ในคดีนี้จึงมิใช่บุคคลธรรมดาเช่นกัน เมื่อโจทก์มิใช่บุคคลธรรมดาและมิใช่นิติบุคคลย่อมไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกเป็นข้อต่อสู้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 246 และ 142(5) เมื่อ
โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง กรณีจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ในปัญหาอื่นของโจทก์อีกต่อไป ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษายกฟ้อง ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล"

          พิพากษายืน

( โนรี จันทร์ทร - สันติ ทักราล - ทวีวัฒน์ แดงทองดี )

หมายเหตุ 

          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2095/2543 นี้ มีกรณีศึกษา 2 เรื่อง คือ เรื่องการขอแก้ไขคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 โดยการขอเพิ่มชื่อโจทก์เข้ามาในคดีอีกหนึ่งคน โดยเดิมโจทก์ฟ้องคดีในนามของคณะบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 50 และ 56 ซึ่งถือเป็นหน่วยภาษีในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร คือ มีเงินได้และแยกเสียภาษีเงินได้เป็นเอกเทศต่างหากคณะบุคคลของโจทก์ใช้ชื่อว่า "คณะบุคคล ก.-ม. " โดยมี ก. และ ม. รวม 2 คน และ ก. เป็นผู้จัดการ ซึ่งตั้งขึ้นโดยหลักทั่วไปและตามประมวลรัษฎากรมาตรา 56 ซึ่งกำหนดให้มีผู้ทำการแทนคณะบุคคลนั้น เรียกว่า ผู้จัดการ เพื่อยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมิน ในการฟ้องคดีเดิมโจทก์ฟ้องในนามของคณะบุคคลก.-ม. โดย ก. ผู้จัดการของโจทก์ ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง โดยขอเพิ่มตัวโจทก์ขึ้นมาอีกเป็น ก. ในฐานะส่วนตัว และในฐานะผู้รับมอบอำนาจจาก ม. ปัญหาว่า จะขอเพิ่มเช่นนี้ได้หรือไม่ ศาลฎีกาเห็นว่ากรณีนี้เป็นการเพิ่มตัวโจทก์ไม่ใช่เป็นกรณีที่มาตรา 179 ให้กำหนดไว้ เช่น เพิ่มหรือลดทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทในฟ้องเดิม หากแต่เป็นการเพิ่มเติมชื่อโจทก์ซึ่งจะต้องระบุไว้แต่แรกตามมาตรา 67 แล้ว ดังนี้ จึงไม่อาจขอเพิ่มได้ กรณีนี้เป็นเรื่องน่าศึกษาเพราะ "คณะบุคคลก.-ม." ก็คือ ก. กับ ม. นั้นเอง แต่อย่างไรก็ดีก็คงไม่ใช่ใช้วิธีแก้ไขคำฟ้องเข้ามา ข้อที่ควรพิจารณาก็คือว่าจะใช้วิธีร้องสอดเข้ามาได้หรือไม่โดยถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียและขอเข้ามาเป็นโจทก์ร่วม ซึ่งปัญหานี้จะยังไม่กล่าวถึง เพียงแต่ตั้งเป็นปัญหาไว้เพื่อศึกษากันต่อไป และทางแก้สุดท้ายของคดีประเภทนี้ ซึ่งปรากฏชัดในประมวลรัษฎากรซึ่งเป็นข้อพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชน คือ คณะบุคคลทั้งหมดร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องคดีโดยเป็นโจทก์ที่ 1, ที่ 2, ฯลฯ หรือคณะบุคคลในกลุ่มนั้นมอบให้ผู้จัดการของคณะบุคคลฟ้องคดีโดยฟ้องในฐานะคณะบุคคล ในฐานะส่วนตัว และในฐานะผู้รับมอบอำนาจดังนี้ก็น่าจะแก้ปัญหาได้ แต่ก็อาจมีปัญหาว่าการบรรยายฟ้องส่วนนี้จะเคลือบคลุมหรือไม่ จึงเป็นเรื่องฝ่ายเอกชนต้องทำความเข้าใจ ขอทิ้งปัญหานี้ไว้เพียงเท่านี้ก่อน

           กรณีที่น่าศึกษาเป็นพิเศษ คือ เรื่องอำนาจฟ้องของ "คณะบุคคล ก.-ม." ซึ่งเกิดขึ้นได้ตามประมวลรัษฎากร มีเงินได้เป็นของตัวเองได้ และต้องเสียภาษีเงินได้ด้วยถูกตรวจสอบไต่สวนและประเมินให้เสียภาษีได้ด้วย ทั้งยังอุทธรณ์การประเมินภาษีได้เพราะยังไม่มีข้อโต้แย้งจากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ว่าไม่มีอำนาจอุทธรณ์การประเมินเนื่องจากมิใช่คณะบุคคล และยังไม่มีปัญหาพิพาทกรณีดังกล่าวมายังศาลฎีกาทั้งในคดีที่ขึ้นมาสู่ศาลฎีกาในเรื่องของคณะบุคคลเกี่ยวกับการเรียกภาษีเงินได้ของคณะบุคคลนี้ไม่มีกรณีกล่าวถึงอำนาจอุทธรณ์การประเมินของคณะบุคคลเลย

           เพื่อประโยชน์ในการศึกษาทำความเข้าใจกันต่อไป ใคร่ขอนำรายละเอียดคำวินิจฉัยของศาลฎีกาเรื่องนี้พิจารณาประกอบการศึกษาและทำความเข้าใจกันดังนี้ "ผู้ที่จะเป็นคู่ความในคดี กล่าวคือ เป็นผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาลได้นั้น จะต้องเป็นบุคคลดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1(11) ว่า "คู่ความ" หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาลและคำว่าบุคคลนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล สำหรับคณะบุคคลกำชัย-มณฑา นั้น เป็นเพียงคณะบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่รวมกันเป็นหน่วยภาษีตามประมวลรัษฎากร ทั้งนี้เพื่อยื่นรายการเงินได้สำหรับจำนวนเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีเสมือนเป็นบุคคลธรรมดาคนเดียวโดยบุคคลในคณะบุคคลแต่ละคนไม่จำต้องยื่นรายการเงินได้ สำหรับจำนวนเงินได้พึงประเมินของคณะบุคคลนั้นเพื่อเสียภาษีอีก เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการจดทะเบียนตามบทบัญญัติแห่งลักษณะ 22 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1015 โจทก์จึงไม่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย นอกจากนี้ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่านายกำชัยและนางสาวมณฑาฟ้องคดีในฐานะส่วนตัว ผู้เป็นโจทก์ในคดีนี้จึงมิใช่บุคคลธรรมดาเช่นกัน เมื่อโจทก์มิใช่บุคคลธรรมดาและมิใช่นิติบุคคลย่อมไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง"

           ขอให้สังเกตว่า การวินิจฉัยเรื่องนี้ ศาลฎีกานำหลักเรื่อง คู่ความ และบุคคลหรือนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาประกอบการวินิจฉัย ซึ่งเคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาดั้งเดิมเคยวินิจฉัยไว้แล้วคือคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 495/2519 ระหว่างกรมสรรพากร โจทก์ คณะบุคคลกรุงเทพฯ กรีฑา จำเลย ว่าผู้ที่จะเป็นคู่ความในคดีได้นั้นจะต้องเป็นบุคคลดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1(11) และคำว่าบุคคลนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล แต่คณะบุคคลกรุงเทพฯ กรีฑา จำเลยที่ 1 เป็นเพียงคณะบุคคลหรือกลุ่มบุคคลมิใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ดังนั้น โจทก์จึงไม่อาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดชำระหนี้ภาษีการค้าได้

           อย่างไรก็ดี มีข้อน่าคิดว่าเมื่อประมวลรัษฎากรซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดเก็บภาษีอากร ถือเป็นกฎหมายปกครองในสาขาของกฎหมายมหาชน จึงเป็นกฎหมายพิเศษ การที่กำหนดให้มีคณะบุคคลเพื่อแยกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่างหากจากตัวบุคคลธรรมดา มีสิทธิหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนได้ตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น การหักค่าลดหย่อนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 47(6) และต้องยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินในชื่อของคณะบุคคล และคณะบุคคลทุกคนอาจต้องร่วมรับผิดในภาษีอากรที่ค้างชำระด้วย ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรมาตรา 56 วรรคสอง ดังนี้

          "ในกรณีห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเกินจำนวนตาม (1) ให้ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินในชื่อของห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลนั้นที่ได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้วภายในกำหนดเวลาและตามแบบเช่นเดียวกับวรรคก่อน การเสียภาษีในกรณีเช่นนี้ ให้ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการรับผิดเสียภาษีในชื่อของห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลนั้นจากยอดเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้นเสมือนเป็นบุคคลคนเดียวไม่มีการแบ่งแยกทั้งนี้ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลแต่ละคนไม่จำต้องยื่นรายการเงินได้สำหรับจำนวนเงินได้พึงประเมินดังกล่าวเพื่อเสียภาษีอีก แต่ถ้าห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลนั้นมีภาษีค้างชำระ ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลทุกคนร่วมรับผิดในเงินภาษีที่ค้างชำระนั้นด้วย"

           ดังนี้ คงเห็นแล้วว่าบุคคลในคณะบุคคลนั้นต้องร่วมรับผิดในภาษีอากรที่คณะบุคคลนั้นค้างชำระแต่เมื่อเห็นว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบกลับฟ้องไม่ได้ทั้งที่ได้อุทธรณ์การประเมินอันเป็นการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประมวลรัษฎากรกำหนดแล้ว โดยอ้างเหตุตามหลักกฎหมายทั่วไปว่าไม่เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลเท่านั้น จึงเป็นข้อน่าพิจารณาว่าประมวลรัษฎากรฯเป็นกฎหมายพิเศษซึ่งอาจมีข้อแตกต่างจากหลักทั่วไปหรือไม่ และถ้าให้คณะบุคคลมีอำนาจฟ้องได้นั้น ก็น่าจะไม่มีผลกระทบต่อแนวคิดในเรื่องของบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลแต่อย่างใด เพราะเรื่องนี้เป็นกรณีที่ประมวลรัษฎากรได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะและน่าจะถือว่ามีผลในทางปฏิบัติและกลับกันเมื่อกรมสรรพากรฟ้องคณะบุคคลให้รับผิดในภาษีอากรที่ค้างชำระก็อาจมีปัญหาได้ดังที่ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยมาก่อนแล้ว

           ปัจจุบันมีคำพิพากษาศาลฎีกาวินิจฉัยไว้แนวเดียวกับคำพิพากษาศาลฎีกาหัวข้อหมายเหตุ เช่น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2100/1543 และ 2401/2543โดยมีข้อสังเกตว่า ตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวนั้นถ้าคณะบุคคลนั้นฟ้องในฐานะส่วนตัว เช่น คณะบุคคลนั้นมีอยู่ 5 คน ก็ระบุในฟ้องเป็นจำเลยที่ 1, ที่ 2. และที่ 5 ดังนี้ ถือว่าเป็นการฟ้องในนามของบุคคลธรรมดา จึงจะเป็นคู่ความในคดีและมีอำนาจฟ้องได้ จึงเป็นข้อคิดสำหรับผู้ที่จะเสนอคดีสู่ศาลต่อไป

           พลประสิทธิ์ ฤทธิ์รักษา
 
 
  

ป.วิ.พ. มาตรา 67, 179

มาตรา 69 การยื่นคำคู่ความหรือเอกสารอื่นใดต่อศาลนั้นให้ กระทำได้โดยส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาล หรือยื่นต่อศาล ในระหว่างนั่งพิจารณา

มาตรา 179 โจทก์หรือจำเลยจะแก้ไขข้อหา ข้อต่อสู้ ข้ออ้างหรือข้อเถียง อันกล่าวไว้ในคำฟ้องหรือคำให้การที่เสนอต่อศาลแต่แรก ก็ได้
การแก้ไขนั้น โดยเฉพาะอาจเป็นการแก้ไขในข้อต่อไปนี้
(1) เพิ่ม หรือลด จำนวนทุนทรัพย์ หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาท ในฟ้องเดิม หรือ
(2) สละข้อหาในฟ้องเดิมเสียบางข้อ หรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้ บริบูรณ์โดยวิธีเสนอคำฟ้องเพิ่มเติม หรือเสนอคำฟ้องเพื่อคุ้มครอง สิทธิของตนในระหว่างการพิจารณา หรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษา หรือคำสั่ง หรือ
(3) ยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่เป็นข้อแก้ข้อหาเดิมหรือที่ยื่นภายหลัง หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้ออ้างหรือข้อเถียงเพื่อสนับสนุนข้อหาหรือ เพื่อหักล้างข้อหาของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง

แต่ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายใดเสนอคำฟ้องใดต่อศาล ไม่ว่าโดยวิธี ฟ้องเพิ่มเติมหรือฟ้องแย้ง ภายหลังที่ได้ยื่นคำฟ้องเดิมต่อศาลแล้ว เว้นแต่คำฟ้องเดิมและคำฟ้องภายหลังนี้จะเกี่ยวข้องกันพอที่จะ รวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้

 

พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17, 29
                 
มาตรา 17  กระบวนพิจารณาในศาลภาษีอากรให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ และข้อกำหนดตามมาตรา 20 ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติและข้อกำหนดดังกล่าว ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 29  ให้นำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา มาใช้บังคับแก่การพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีภาษีอากรในศาลฎีกาโดยอนุโลม




เกี่ยวกับวิธีพิจารณาความแพ่ง

ค่าขาดไร้อุปการะเป็นหนี้ที่แบ่งแยกเป็นส่วนแต่ละคน
เจ้าหนี้ผู้รับจำนองขอรับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดที่ดิน
การมีอยู่ขององค์กรสาธารณประโยชน์ที่ได้รับรองแล้ว
กระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษา-ฟ้องซ้ำ
ยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อเป็นคู่ความฝ่ายที่สามในคดีอาญา
อายัดเงินปันผลของหุ้นได้แม้จะพ้นระยะเวลา 10 ปีแล้ว
การยื่นอุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนด 1 เดือน
เจ้าหนี้บุริมสิทธิ มิได้ร้องขอให้บังคับคดีภายในสิบปี
คำสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง นอกฟ้องนอกประเด็น
สิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนของผู้รับจำนอง
ฟ้องซ้ำ คดีถึงที่สุดห้ามมิให้คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีก
คู่ความจะนำคดีเรื่องที่เคยพิพาทมาฟ้องกันใหม่อีกไม่ได้
เพิกถอนการขายทอดตลาดหากเป็นประวิงให้ชักช้าต้องรับผิดชดค่าสินไหมทดแทน
โจทก์และจำเลยต่างมีสภาพเป็น"เจ้าหนี้" และ "ลูกหนี้" ตามคำพิพากษา
จำเลยไม่ใช่บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะจึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลออกคำบังคับ
ไม่เกินห้าหมื่นบาทห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
การร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยทรัพย์ที่ถูกยึดต้องอ้างว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของทรัพย์
เงื่อนเวลาเริ่มต้น-สิ้นสุดให้สันนิษฐานว่าเพื่อประโยชน์แก่ฝ่ายลูกหนี้
นำใบแต่งทนายความซึ่งปลอมลายมือชื่อไปทำสัญญายอม
อำนาจว่าความหรือดำเนินกระบวนพิจารณาของทนายความในศาล
ฟ้องเคลือบคลุม, สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข, วางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ
ค่าเสียหายตามคำพิพากษาและค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทน
ผู้ร้องสอดต้องมีส่วนได้เสียกับคู่ความเดิมถือเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม
แก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยเป็นข้อยกเว้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 180
ยื่นเอกสารฝ่าฝืนต่อกฎหมายไม่อาจรับฟังเป็นพยานได้(ยื่นชั้นอุทธรณ์ฎีกา)
จำเลยฟ้องแย้ง-โจทก์ทิ้งฟ้อง ไม่มีผลให้ฟ้องแย้งตกไป
อำนาจปกครองบุตร-มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลใด?
ดุลพินิจสั่งค่าฤชาธรรมเนียมคำนึงความสุจริตของคู่ความ
ฟ้องแย้งของจำเลยแตกต่างกันกับคำฟ้องเดิม
พินัยกรรมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่?ไม่มีประเด็นข้อพิพาท
มีเส้นทางอื่นออกไม่ตัดสิทธิขอคุ้มครองประโยชน์
คำขอให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา
คำร้องขอขยายระยะเวลาในการวางเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229
ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์แล้วคดีอยู่ในอำนาจศาลอุทธรณ์
คำสั่งรับหรือไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย
ไม่รับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ฟ้องขับไล่- แสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลา 8 วัน
การส่งหมายนัดไต่สวน-สำเนาคำร้องไม่ชอบ
คำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้อง
เพิกถอนการขายทอดตลาด
คำฟ้องโจทก์ไม่มีลายมือชื่อของผู้เรียงพิมพ์
มอบอำนาจให้ฟ้องคดีไว้ล่วงหน้าก่อนเกิดสิทธิฟ้อง
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนระบุชื่อศาลผิด
หน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐาน
อำนาจฟ้องที่รัฐเป็นผู้เสียหาย
ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
วินิจฉัยนอกเหนือไปจากคำฟ้องและคำให้การ
เข้าเป็นโจทก์ร่วมต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยด้วย
ใครมีอำนาจอนุญาตให้ฎีกาในข้อเท็จจริงได้
การถอนการบังคับคดี | คำพิพากษาถูกกลับชั้นที่สุด
ยังไม่ผิดสัญญายังไม่มีเหตุขอออกหมายบังคับคดีได้
ผู้สวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้เป็นผู้มีส่วนได้เสีย เพิกถอนการขายทอดตลาด
แจ้งคำสั่งขายทอดตลาดแก่ผู้มีส่วนได้เสีย คู่สมรสไม่มีชื่อในโฉนดที่ดิน
คำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งไม่ชอบ
ขอให้เพิกถอนการพิจารณาคดีของศาล มีพยานหลักฐานใหม่
ผู้เสียหายฐานละเมิดอำนาจศาล
ค่าสินไหมทดแทนที่จำนวนเงินไม่แน่นอนต้องนำสืบพยาน
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
ข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์
ฟ้องปลูกสร้างผิดต่อข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานคร
คดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์มีทุนทรัพย์
รับฟังพยานหลักฐานฝ่าฝืนกฎหมาย
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
หน้าที่ในการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ขาดนัดยื่นคำให้การ-สิทธิถามค้าน
วันนัดชี้สองสถาน
ห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง
การส่งคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดี
สิทธิในฐานะผู้รับจำนอง -ขอรับชำระหนี้ได้ก่อนเจ้าหนี้อื่น
การบรรยายคำฟ้องที่มิได้ระบุวัน เวลาที่แน่ชัดว่าเป็นวันที่เท่าใด ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คำร้องสอด
ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม
ยื่นฟ้องคดีอันไม่มีข้อพิพาทแต่ได้มีบุคคลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องในคดี
ฟ้องขอให้พิพากษาเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้น-ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์
การนำสืบพยานหลักฐาน