ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




เพิกถอนนิติกรรมวิกลจริต, การบอกล้างโมฆียกรรม, นิติกรรมของผู้ป่วยจิตเวช, โมฆียกรรมกลายเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2558/2567, เพิกถอนนิติกรรมวิกลจริต, โมฆียกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 30, วิกลจริตในกฎหมายแพ่ง, การบอกล้างโมฆียกรรม, คำพิพากษาศาลฎีกาเรื่องโอนที่ดิน, สิทธิการบอกล้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 181, โมฆียกรรมกลายเป็นโมฆะมาตรา 176, ข้อพิพาทการโอนที่ดินโดยเสน่หา, การพิจารณานิติกรรมของผู้ป่วยจิตเวช,

เพิ่มเพื่อนไลน์แชทกับทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

ปรึกษากฎหมายทางแชทไลน์

เพิกถอนนิติกรรมวิกลจริต, การบอกล้างโมฆียกรรม, นิติกรรมของผู้ป่วยจิตเวช, โมฆียกรรมกลายเป็นโมฆะ

"ศาลชี้โจทก์อยู่ในสภาพวิกลจริตขณะทำสัญญา โอนที่ดินตกเป็นโมฆียกรรม พร้อมยืนยันสิทธิการบอกล้างตามกฎหมาย"

**โจทก์เป็นน้องคนสุดท้องของครอบครัว มีรายได้จากค่าเช่าตึกบนที่ดินพิพาท ต่อมาได้โอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้จำเลยซึ่งเป็นพี่คนโตโดยเสน่หา ภายหลังโจทก์ฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมโดยอ้างว่าขณะทำการโอนอยู่ในสภาพวิกลจริต และถูกจำเลยชักจูงโดยอ้างเรื่อง "เวรกรรม"

ศาลฎีกาพิจารณาพยานหลักฐานแล้วเห็นว่า โจทก์ป่วยด้วยโรคจิตเวช มีอาการวิตกกังวลและย้ำคิดย้ำทำต่อเนื่องหลายปี เมื่อโอนที่ดิน โจทก์ขาดการรักษาและไม่มีสติสัมปชัญญะเพียงพอ จึงถือว่าเป็นบุคคลวิกลจริต นิติกรรมดังกล่าวตกเป็นโมฆียกรรม และภายหลังโจทก์ได้บอกล้างโมฆียกรรมภายในกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด

ศาลฎีกาเห็นว่านิติกรรมโอนที่ดินตกเป็นโมฆะมาตั้งแต่ต้น จำเลยต้องคืนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ พร้อมเพิกถอนคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ที่ยกฟ้องโจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ***

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2558/2567

แม้โจทก์จะมีความสามารถตามกฎหมาย แต่ไม่มีความสามารถที่จะดูแลตนเองหรือผลประโยชน์ของตนเองได้ในความเป็นจริงอันอาจเป็นเพียงบางช่วงเวลา ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติทางจิตใจหรือความผิดปกติทางร่างกายที่มีผลกระทบต่อจิตใจ โจทก์สามารถประกอบกิจวัตรได้เพียงทางกายภาพบางช่วงเวลาเท่านั้น แต่โจทก์ยังมีภาวะผิดปกติทางจิตที่มีความผิดปกติทางความคิด อารมณ์ พฤติกรรมบางอย่างมากจนไม่อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง หากดูจากภายนอกย่อมไม่อาจทราบได้ว่าแท้จริงแล้วโจทก์เป็นผู้ป่วยทางจิตเวชอยู่ ไม่อาจตัดสินใจเรื่องใดในทางสมเหตุสมผลได้เหมือนคนปกติ และหลายครั้งที่ผู้ป่วยทางจิตเวชต้องทำอัตวินิบาตกรรม เนื่องจากไม่อาจทนทุกข์ทรมานกับโรคที่เป็นอยู่จนไม่อยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไปเพราะมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสารสื่อประสาทไม่สมดุล กรณีของโจทก์แพทย์จึงต้องใช้ยาต้านเศร้าร่วมด้วยนอกเหนือจากยาคลายวิตกกังวลและยานอนหลับเพื่อปรับอารมณ์ของโจทก์ให้เกิดความสมดุลมากขึ้น ขณะที่โจทก์ทำนิติกรรมจดทะเบียนให้ที่ดินพิพาททั้งสามแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่จำเลยนั้น โจทก์ขาดการรักษาและไม่ได้รับประทานยาต่อเนื่องเป็นเวลานานเชื่อว่า โจทก์ยังคงมีความวิตกกังวลสูง ฟุ้งซ่าน คิดในเรื่องไม่สมเหตุสมผล สภาพภายในจิตใจของโจทก์ยังคงทุกข์ทรมานอย่างมากจนไม่อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง เจตนาที่แสดงออกมาจึงวิปริต เมื่อโจทก์ไม่มีความสามารถที่จะดูแลตนเองหรือผลประโยชน์ของตนเองได้ในความเป็นจริง ซึ่งเกิดจากความผิดปกติทางจิตใจ โจทก์จึงเป็นบุคคลวิกลจริตแล้ว ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 175 (4) นั้น บุคคลวิกลจริตผู้กระทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 30 จะบอกล้างนิติกรรมเสียได้ในขณะที่จริตของบุคคลนั้นไม่วิกลแล้ว

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2558/2567, เพิกถอนนิติกรรมวิกลจริต, โมฆียกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 30, วิกลจริตในกฎหมายแพ่ง, การบอกล้างโมฆียกรรม, คำพิพากษาศาลฎีกาเรื่องโอนที่ดิน, สิทธิการบอกล้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 181, โมฆียกรรมกลายเป็นโมฆะมาตรา 176, ข้อพิพาทการโอนที่ดินโดยเ

 

โจทก์มีอาการดีขึ้นและสติสัมปชัญญะเหมือนเช่นคนปกติจนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ดังเดิมอันเป็นเวลาที่โจทก์อาจให้สัตยาบันได้เมื่อปลายเดือนธันวาคม 2561 ต่อมาประมาณต้นปี 2562 โจทก์โทรศัพท์ทวงถามให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาททั้งสามแปลงคืนให้แก่โจทก์ ถือเป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าโจทก์บอกล้างโมฆียกรรมนั้นแล้ว ซึ่งเมื่อนับแต่เวลาที่โจทก์อาจให้สัตยาบันได้ถึงช่วงเวลาดังกล่าวไม่เกินกำหนดเวลาหนึ่งปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 181 เมื่อโจทก์บอกล้างโมฆียกรรมโดยชอบย่อมมีผลทำให้นิติกรรมที่โจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทแก่จำเลยโดยเสน่หาตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง

****โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 15177, 96855 และ 96856 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ระหว่างโจทก์กับจำเลยและให้จำเลยคืนโฉนดที่ดินพิพาททั้งสามแปลงแก่โจทก์

จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีให้เป็นพับ

โจทก์อุทธรณ์ โดยได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกาและได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่คู่ความไม่โต้เถียงกันในชั้นฎีการับฟังยุติว่า โจทก์มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันรวม 8 คน โจทก์เป็นน้องคนสุดท้อง จำเลยเป็นพี่คนโต พี่น้องต่างแยกย้ายไปมีครอบครัวของตนเอง มีการไปมาหาสู่กันบ้างบางคน โจทก์อยู่กินฉันสามีภริยากับนางธัญชนก แต่ไม่มีบุตร เดิมโจทก์มีรายได้จากเงินค่าเช่าตึกแถวบนที่ดินพิพาทสองแปลงเดือนละ 30,000 บาท ภริยาของโจทก์ตั้งแผงขายของอยู่บนห้างสรรพสินค้ามีรายได้น้อย และโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 15177, 96855 และ 96856 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ต่อมาวันที่ 16 ตุลาคม 2560 โจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินพิพาททั้งสามแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่จำเลยโดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทน ภายหลังโจทก์ทวงถามที่ดินคืนจากจำเลย แต่ถูกจำเลยปฏิเสธและจำเลยจะนำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นตึกแถวที่โจทก์เก็บค่าเช่าอยู่ไปขายให้บุคคลภายนอกห้องละ 9,000,000 บาท โจทก์และภริยาของโจทก์ จึงได้ยื่นคำขออายัดที่ดินทั้งสามแปลงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาจตุจักร อ้างว่า โจทก์ทำนิติกรรมยกให้ที่ดินแก่จำเลยขณะที่โจทก์มีอาการเจ็บป่วยทางระบบประสาทและอยู่ในระหว่างการรักษา ขาดสติสัมปชัญญะในการพิจารณาตัดสินใจจนหลงเชื่อและหลงผิดตามคำชวนเชื่อของจำเลย ให้โอนที่ดินเพื่อไปทำกิจกรรมเรื่องที่ไม่สมควร ไม่สมเหตุสมผล ภายหลังจำเลยรับโอนที่ดินพิพาทมา จำเลยก็ไม่เคยดูแลโจทก์ในเรื่องค่ารักษาอาการทางจิตและชีวิตความเป็นอยู่ และนำที่ดินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์เดิมที่ตกลงกันไว้ เจ้าพนักงานที่ดินมีคำสั่งรับคำขออายัดที่ดินพิพาททั้งสามแปลง วันที่ 7 ตุลาคม 2562 จำเลยได้ยื่นฟ้องโจทก์และภริยาเป็นจำเลยร่วมกันต่อศาลแขวงพระนครเหนือในข้อหาร่วมกันแจ้งข้อความเท็จต่อเจ้าพนักงานและแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 และมาตรา 267

คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า ขณะที่โจทก์ทำนิติกรรมจดทะเบียนให้ที่ดินพิพาททั้งสามแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่จำเลยนั้น โจทก์เป็นบุคคลวิกลจริตหรือไม่ เห็นว่า พยานโจทก์มีโจทก์กับภริยาของโจทก์และนางแสงสุนีย์กับนางกัลยา ซึ่งเป็นพี่สาวของโจทก์มาเบิกความสอดคล้องต้องกันว่า แม้พี่น้องของโจทก์ต่างแยกไปมีครอบครัวแต่ก็ยังไปมาหาสู่และติดต่อกัน โจทก์เริ่มป่วยทางจิตมาตั้งแต่ปี 2539 มีอาการเครียด วิตกกังวล นอนไม่หลับ ใจสั่น ความคิดฟุ้งซ่าน โจทก์เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ศ. แพทย์วินิจฉัยว่าโจทก์ป่วยด้วยโรควิตกกังวล ย้ำคิดย้ำทำ โดยมีหลักฐานบัตรประจำตัวผู้ป่วยและประวัติการรักษาที่โรงพยาบาล ศ. ภริยาของโจทก์เบิกความว่า เมื่อเดือนตุลาคม 2560 โจทก์มีอาการหนักขึ้น และต่อมาเห็นอาการของโจทก์หนักขึ้นเรื่อย ๆ จึงได้ถ่ายคลิปวิดีโอตอนที่โจทก์มีอาการทางจิต ซึ่งภาพที่ปรากฏโจทก์ไม่สามารถอยู่นิ่งต้องเดินไปมาและพูดตลอดเวลาว่าทุกข์ทรมานมากเพราะหยุดความคิดตัวเองไม่ได้ เดือนธันวาคม 2560 ภริยาของโจทก์จึงได้พาโจทก์ไปรักษาที่โรงพยาบาล ม. แพทย์ได้วินิจฉัยด้วยเหตุผลเดียวกับแพทย์ที่โรงพยาบาล ศ. วินิจฉัยก่อนหน้านั้นว่าโจทก์ป่วยด้วยโรควิตกกังวลและโรคย้ำคิดย้ำทำ นอกจากนี้โจทก์ยังมีแพทย์หญิงอำไพขนิษฐ์ จิตแพทย์ผู้เคยรักษาอาการของโจทก์ที่โรงพยาบาล ศ. มาเบิกความประกอบประวัติการรักษาของโจทก์ที่โรงพยาบาล ศ. และโรงพยาบาล ม. ว่า โจทก์มีอาการวิตกกังวลต้องทานยาต่อเนื่อง อาการจึงจะสงบลงได้ ซึ่งโรควิตกกังวลนั้น เป็นโรคจิตเวชชนิดหนึ่ง หากผู้ป่วยขาดยาและไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องจะรู้สึกไม่สบาย เช่น หงุดหงิด นอนไม่หลับ ฟุ้งซ่าน คิดในเรื่องที่ไม่สมควรคิดมากขึ้น และรู้สึกทรมานต่ออาการของตัวเอง มีความคิดในเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผลเพิ่มมากขึ้นด้วย เห็นว่า เมื่อตรวจดูบันทึกประวัติการรักษาของโจทก์ แพทย์ได้สั่งยาให้โจทก์รับประทานเพื่อรักษาอาการทางจิตประกอบด้วยยาหลายชนิด เช่น ยาต้านเศร้า ยานอนหลับ ยาคลายกังวล และยาคุมอาการทางจิตอย่างต่อเนื่องมานาน แต่เนื่องจากโจทก์ไม่ได้มารักษาต่อเนื่อง โจทก์จึงขาดยาบ่อยทำให้อาการทางจิตเริ่มกำเริบรุนแรงมากขึ้น ไม่สามารถทำงานได้ บางครั้งถึงขนาดต้องให้ยาฉีดแทนยากิน ดังนี้ แม้โจทก์จะมีความสามารถตามกฎหมายแต่ไม่มีความสามารถที่จะดูแลตนเองหรือผลประโยชน์ของตนเองได้ในความเป็นจริงอันอาจจะเป็นเพียงบางช่วงเวลา ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติทางจิตใจหรือความผิดปกติทางร่างกายที่มีผลกระทบต่อจิตใจจริง ๆ การที่โจทก์สามารถประกอบกิจวัตรได้เป็นเพียงทางกายภาพบางช่วงเวลาเท่านั้น แต่โจทก์ยังมีภาวะผิดปกติทางจิตที่มีความผิดปกติของความคิด อารมณ์ พฤติกรรมบางอย่างมากจนไม่อยู่ในโลกของความเป็นจริง ซึ่งหากดูจากภายนอกย่อมไม่อาจทราบได้ว่าแท้จริงแล้วโจทก์เป็นผู้ป่วยทางจิตเวชอยู่ ไม่อาจตัดสินใจเรื่องใดในทางที่สมเหตุสมผลได้เหมือนคนปกติ และหลายครั้งที่ผู้ป่วยทางจิตเวชต้องกระทำอัตวินิบาตกรรม เนื่องจากไม่อาจทนทุกข์ทรมานกับโรคที่เป็นอยู่จนไม่อยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไปเพราะมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสารสื่อประสาทในสมองไม่สมดุล กรณีของโจทก์แพทย์จึงต้องให้ยาต้านเศร้าร่วมด้วยนอกเหนือจากยาคลายวิตกกังวลและยานอนหลับเพื่อปรับอารมณ์ของโจทก์ให้เกิดความสมดุลมากขึ้น และเมื่อพิจารณาประวัติการเข้าพบแพทย์แต่ละครั้งก็ต้องรับยาทางจิตเวชเพิ่มขนาดขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งแสดงว่าอาการไม่ดีขึ้น แพทย์หญิงอำไพขนิษฐ์เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านจิตแพทย์ที่รักษาโจทก์มานาน ความเห็นของแพทย์หญิงอำไพขนิษฐ์จึงมีน้ำหนักให้รับฟัง ดังนั้น ขณะที่โจทก์ทำนิติกรรมให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่จำเลยนั้น โจทก์ขาดการรักษาที่โรงพยาบาล ศ. และไม่ได้รับประทานยาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนเมษายน 2560 จนถึงวันที่ทำนิติกรรมให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยนานประมาณ 6 เดือนแล้ว เชื่อว่าอาการของโจทก์ยังคงมีความวิตกกังวลสูง ฟุ้งซ่าน คิดในเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผล สภาพภายในจิตใจของโจทก์ยังคงทุกข์ทรมานอย่างมากจนไม่อยู่ในโลกของความเป็นจริง เจตนาที่แสดงออกจึงวิปริต ประกอบกับโจทก์กับภริยาไม่ได้มีฐานะร่ำรวย โจทก์มีรายได้จากการให้เช่าตึกแถวบนที่ดินพิพาทเดือนละ 30,000 บาท การที่โจทก์พักอยู่กับจำเลยเพียงหนึ่งสัปดาห์ แล้วโจทก์ก็ไปยกที่ดินให้จำเลยคนเดียวโดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทน หลังจากนั้นจำเลยจะนำที่ดินพิพาทออกขายแก่บุคคลภายนอกและบอกเลิกสัญญาเช่าตึกแถวดังกล่าวแก่ผู้เช่า เป็นเหตุให้โจทก์ขาดรายได้ในการดำรงชีพ ทั้งไม่เพียงแต่จำเลยจะไม่เลี้ยงดูโจทก์ แต่ยังฟ้องโจทก์กับภริยากล่าวหาว่าแจ้งอายัดเท็จต่อเจ้าพนักงานเพื่อให้โจทก์และภริยาได้รับโทษทางอาญาอีกด้วย การที่โจทก์ทำนิติกรรมให้ที่ดินพิพาททั้งสามแปลงแก่จำเลยจึงเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผล และจำเลยไม่ได้นำเจ้าพนักงานที่ดินผู้มีหน้าที่โดยตรงในวันที่สอบสวนโจทก์และจำเลยขณะทำนิติกรรมให้ที่ดินว่าโจทก์มีสติสัมปชัญญะดีพอที่จะทำนิติกรรมให้ที่ดินแก่จำเลยได้หรือไม่ คงมีแต่นางสาวเสาวลักษณ์และนางสาวมาลัยรัตน์ พยานจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินและลูกจ้างของสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาจตุจักร ตามลำดับ มาเบิกความเกี่ยวกับขั้นตอนอื่นที่ไม่เกี่ยวกับการสอบสวนและต่างเบิกความตอบคำถามค้านของทนายโจทก์ว่า พยานทั้งสองไม่ทราบพฤติการณ์ของโจทก์ขณะถูกสอบสวนทำนองว่าไม่รู้เห็นเกี่ยวกับโจทก์ ได้ความจากโจทก์และจำเลยแต่เพียงว่ามีนายเรวัติ บุตรชายจำเลย เป็นผู้เดินเอกสารทั้งหมดจนแล้วเสร็จแล้วเจ้าหน้าที่ของสำนักงานที่ดินนำเอกสารที่ดินมาให้โจทก์ลงลายมือชื่อ แม้เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนให้ที่ดินจะเป็นเอกสารราชการที่แท้จริงแต่ก็ไม่มีพยานคนใดยืนยันว่าขณะจดทะเบียนให้นั้นโจทก์มีอาการจริตวิกลหรือไม่ ทั้งก่อนให้ที่ดินเชื่อว่าพี่น้องของโจทก์ทุกคนรวมทั้งจำเลยยังคงมีการสื่อสารพูดคุยกันอยู่บ้างเนื่องจากมีการตั้งแอพพลิเคชั่นไลน์กลุ่มพี่น้องด้วยกัน ดังนั้น ที่โจทก์ป่วยด้วยโรควิตกกังวลและต้องเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษานานถึง 20 ปี นั้น จำเลยซึ่งเป็นพี่สาวคนโต แม้จะเบิกความว่าไม่ชอบภริยาของโจทก์ แต่ก็เชื่อว่าจำเลยรู้ดีว่าโจทก์ป่วยด้วยโรควิตกกังวลสูงไม่สามารถควบคุมตนเองได้ ปัญหาต่อเนื่องว่า จำเลยได้ขอให้โจทก์ทำนิติกรรมให้ที่ดินพิพาททั้งสามแปลงแก่จำเลยโดยหลอกลวงโจทก์ว่าอาการของโจทก์เป็นเรื่องของเวรกรรมไม่ได้ป่วยด้วยโรคจิตเวชและต้องแก้กรรมจริงหรือไม่ โดยอ้างว่าเมื่อจำเลยได้ที่ดินมาแล้ว จำเลยจะทำเป็นมูลนิธินำที่ดินไปใช้ประโยชน์ในทางกุศลเพื่ออุทิศส่วนบุญให้แก่บิดามารดาที่ล่วงลับไปแล้ว อาการของโจทก์ก็จะหายไปเองนั้น ประเด็นนี้ได้ความจากนางแสงสุนีย์และนางกัลยา พี่สาวโจทก์ว่า เมื่อเดือนสิงหาคม 2560 เห็นโจทก์มีอาการแปลก ๆ เหมือนคนไม่ปกติ พูดคนเดียวตลอดเวลา เดินไปเดินมา พูดแต่เรื่องเวรกรรม จำเลยเบิกความตอบทนายโจทก์ถามค้านว่า โจทก์บอกกับจำเลยว่า โจทก์เครียดเรื่องภริยา อกหัก จิตใจล้มเหลว ช่วงที่โจทก์พักกับจำเลย โจทก์มีอาการชอบเดินไปมาสำรวจบ้าน ไม่ชอบนั่งอยู่นิ่ง ๆ นอกจากนี้นางแสงสุนีย์ยังเบิกความว่า ก่อนทำนิติกรรมหนึ่งวัน นางแสงสุนีย์ไปที่บ้านจำเลย และได้พบกับโจทก์ แล้วโจทก์เล่าให้ฟังว่าเป็นทุกข์ทรมาน เพราะเป็นเวรเป็นกรรม และบิดามารดาคงทุกข์ทรมานจึงส่งผลให้โจทก์ทุกข์ทรมานด้วยตามที่จำเลยบอกแก่โจทก์ จำเลยบอกให้โจทก์โอนที่ดินพร้อมตึกแถวเพื่อส่งบุญให้บิดามารดา แล้วโจทก์จะหายจากอาการที่เป็น นางแสงสุนีย์จึงห้ามโจทก์ แต่จำเลยตอบกลับนางแสงสุนีย์ว่า ต้องตั้งกองทุนทำบุญให้บิดามารดาเพราะบิดามารดาขาดบุญ ข้อนี้ได้ความอีกว่า โจทก์ไม่ได้ไปพบแพทย์ตามนัดหลายครั้งเพราะยังเชื่อว่าเป็นเรื่องของเวรกรรมไม่ใช่เรื่องจิตเวช ดังนั้น จึงเชื่อว่าจำเลยได้มีการพูดคุยกับโจทก์เรื่องเวรกรรมตามที่นางแสงสุนีย์เบิกความเพื่อใช้เรื่องเวรกรรมจูงใจให้โจทก์ทำนิติกรรมให้ที่ดินแก่จำเลยโดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทน ประกอบกับจำเลยก็เบิกความตอบทนายโจทก์ถามค้านว่า จำเลยเป็นคนบอกให้โจทก์ให้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่จำเลย ไม่ใช่โจทก์มีเจตนาแต่แรกจะยกที่ดินให้แก่จำเลย โดยจำเลยอ้างว่าเพื่อไม่ต้องการให้มรดกของโจทก์ตกได้แก่ภริยาของโจทก์ซึ่งเป็นคนนอก และจำเลยไม่ชอบภริยาโจทก์ จึงเป็นข้อสนับสนุนว่าจำเลยต้องการที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากโจทก์ พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาจึงมีน้ำหนักในการรับฟังดีกว่าพยานหลักฐานของจำเลยฟังได้ว่า ขณะที่โจทก์ทำนิติกรรมจดทะเบียนให้ที่ดินพิพาททั้งสามแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่จำเลยนั้น โจทก์ไม่มีความสามารถที่จะดูแลตนเองหรือผลประโยชน์ของตนเองได้ในความเป็นจริง ซึ่งเกิดจากความผิดปกติทางจิตใจ โจทก์จึงเป็นบุคคลวิกลจริตแล้ว ซึ่งตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 175 (4) นั้น บุคคลวิกลจริตผู้กระทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 30 จะบอกล้างนิติกรรมเสียได้ในขณะที่จริตของบุคคลนั้นไม่วิกลแล้ว เมื่อโจทก์ทำนิติกรรมให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่จำเลยในขณะมีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์เนื่องจากเป็นบุคคลวิกลจริตจนต่อมายังคงเป็นบุคคลวิกลจริตไม่อาจบอกล้างโมฆียะกรรมได้ ที่จำเลยแก้ฎีกาว่า โจทก์บอกล้างนิติกรรมการให้เกินกว่าหนึ่งปีนับตั้งแต่วันทำนิติกรรม จึงเป็นการบอกล้างโมฆียกรรมเกินหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้นั้น เมื่อได้วินิจฉัยไปแล้วข้างต้นว่า โจทก์ทำนิติกรรมการให้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทแก่จำเลยในขณะที่โจทก์เป็นบุคคลวิกลจริต ดังนี้ ในวันที่โจทก์ทำนิติกรรมดังกล่าวย่อมไม่อาจถือได้ว่าเป็นเวลาที่อาจให้สัตยาบันได้ ซึ่งได้ความจากคำเบิกความของโจทก์โดยจำเลยมิได้ถามค้านหรือนำสืบให้เห็นเป็นประการอื่นว่า โจทก์มีอาการดีขึ้นและสติสัมปชัญญะเหมือนเช่นคนปกติจนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ดังเดิมอันเป็นเวลาที่โจทก์อาจให้สัตยาบันได้เมื่อปลายเดือนธันวาคม 2561 ต่อมาในช่วงประมาณต้นปี 2562 โจทก์ได้โทรศัพท์ทวงถามให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาททั้งสามแปลงคืนให้แก่โจทก์ ถือเป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าโจทก์บอกล้างโมฆียกรรมนั้นแล้ว ซึ่งเมื่อนับแต่เวลาที่โจทก์อาจให้สัตยาบันได้ถึงช่วงเวลาดังกล่าวไม่เกินกำหนดเวลาหนึ่งปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 181 คำแก้ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงฟังไม่ขึ้น เมื่อโจทก์บอกล้างโมฆียกรรมโดยชอบแล้วมีผลทำให้นิติกรรมที่โจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทแก่จำเลยโดยเสน่หาตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 176 วรรคหนึ่ง เมื่อนิติกรรมดังกล่าวตกเป็นโมฆะแล้ว คู่กรณีย่อมกลับคืนสู่ฐานะเดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 176 วรรคหนึ่ง จึงต้องเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวเสีย ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์มานั้น จึงไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น

พิพากษากลับ ให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 15177, 96855, และ 96856 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ระหว่างโจทก์กับจำเลย เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2560 และให้จำเลยคืนโฉนดที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ

1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2558/2567

2.เพิกถอนนิติกรรมวิกลจริต

3.โมฆียกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 30

4.วิกลจริตในกฎหมายแพ่ง

5.การบอกล้างโมฆียกรรม

6.คำพิพากษาศาลฎีกาเรื่องโอนที่ดิน

7.สิทธิการบอกล้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 181

8.โมฆียกรรมกลายเป็นโมฆะมาตรา 176

9.ข้อพิพาทการโอนที่ดินโดยเสน่หา

10.การพิจารณานิติกรรมของผู้ป่วยจิตเวช

**คำพิพากษาศาลฎีกา: คดีเพิกถอนนิติกรรมให้ที่ดิน

โจทก์ยื่นฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่จำเลยโดยเสน่หา อ้างว่าโจทก์อยู่ในสภาพวิกลจริตขณะทำสัญญา ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาพิเคราะห์ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานดังนี้:

ข้อเท็จจริงสำคัญ

สภาพจิตของโจทก์:

โจทก์ป่วยด้วยโรควิตกกังวลและย้ำคิดย้ำทำตั้งแต่ปี 2539 ต้องรับยารักษาต่อเนื่อง

ในปี 2560 โจทก์มีอาการหนักขึ้น หยุดยารักษา และมีอาการไม่สมเหตุสมผล

นิติกรรมที่พิพาท:

วันที่ 16 ตุลาคม 2560 โจทก์โอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง 3 แปลงให้จำเลยโดยเสน่หา

จำเลยนำที่ดินไปขายและบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดินซึ่งเป็นแหล่งรายได้ของโจทก์

พฤติการณ์ของจำเลย:

จำเลยอ้างเรื่อง “เวรกรรม” จูงใจโจทก์ให้โอนที่ดินเพื่ออุทิศบุญให้บิดามารดา

หลังรับโอนที่ดิน จำเลยไม่ดูแลโจทก์ กลับฟ้องร้องโจทก์ในข้อหาแจ้งข้อความเท็จ

ข้อกฎหมาย

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 30: บุคคลวิกลจริตกระทำโมฆียกรรมได้ แต่สามารถบอกล้างได้เมื่อหายจากอาการวิกลจริต

มาตรา 181: การบอกล้างต้องทำภายใน 1 ปีหลังจากสภาพที่บอกล้างได้สิ้นสุด

มาตรา 176: โมฆียกรรมที่บอกล้างโดยชอบกลายเป็นโมฆะ

คำวินิจฉัยของศาลฎีกา

ขณะโอนที่ดิน โจทก์มีสภาพวิกลจริต ไม่สามารถตัดสินใจโดยสมเหตุสมผล

โจทก์เริ่มฟื้นตัวเมื่อปลายปี 2561 และบอกล้างนิติกรรมในต้นปี 2562 ถือว่าอยู่ในกำหนด 1 ปีตามกฎหมาย

นิติกรรมโอนที่ดินตกเป็นโมฆะตั้งแต่ต้น

คำพิพากษา

ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลล่าง ให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างทั้งสามแปลง และให้จำเลยคืนโฉนดแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

หมายเหตุ: บทสรุปนี้ตัดทอนและคงสาระสำคัญตามที่ร้องขอ

***การอธิบายหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบทความ

1. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 30

สาระสำคัญ:

บุคคลวิกลจริตที่กระทำการใด ๆ ย่อมทำให้นิติกรรมนั้นเป็น โมฆียกรรม ซึ่งหมายความว่านิติกรรมนั้นยังมีผลสมบูรณ์ในทางกฎหมาย จนกว่าจะถูกบอกล้างโดยบุคคลผู้มีสิทธิบอกล้าง

การบังคับใช้ในคดีนี้:

โจทก์ขณะทำนิติกรรมโอนที่ดินอยู่ในสภาพวิกลจริต จึงทำให้นิติกรรมดังกล่าวเป็นโมฆียกรรม โจทก์มีสิทธิบอกล้างเมื่ออาการวิกลจริตหมดไป

2. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 175 (4)

สาระสำคัญ:

การที่บุคคลวิกลจริตกระทำการใด ๆ โดยปราศจากความสามารถที่จะเข้าใจและไตร่ตรองผลของการกระทำนั้น ย่อมถือว่าการกระทำดังกล่าว มีข้อบกพร่องในเจตนา อันเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้นิติกรรมนั้นตกอยู่ในสถานะโมฆียกรรม

การบังคับใช้ในคดีนี้:

เมื่อโจทก์อยู่ในสภาพวิกลจริตและไม่สามารถเข้าใจผลของการโอนที่ดินให้จำเลย นิติกรรมดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆียกรรมตั้งแต่เริ่มต้น

3. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 176 วรรคหนึ่ง

สาระสำคัญ:

โมฆียกรรมที่ถูกบอกล้างโดยชอบด้วยกฎหมาย จะกลายเป็น โมฆะมาแต่เริ่มแรก และถือเสมือนว่าไม่เคยมีการกระทำนิติกรรมนั้นมาก่อน

การบังคับใช้ในคดีนี้:

เมื่อโจทก์บอกล้างนิติกรรมโอนที่ดินภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด นิติกรรมดังกล่าวจึงถือว่าเป็นโมฆะมาตั้งแต่เริ่มแรก จำเลยจึงต้องคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์

4. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 181

สาระสำคัญ:

สิทธิในการบอกล้างโมฆียกรรมต้องกระทำ ภายในหนึ่งปี นับตั้งแต่เวลาที่บุคคลนั้นมีความสามารถกลับคืน หรือภายในระยะเวลาที่สามารถแสดงเจตนาบอกล้างได้

การบังคับใช้ในคดีนี้:

โจทก์เริ่มมีสติสัมปชัญญะและสามารถบอกล้างโมฆียกรรมได้ในเดือนธันวาคม 2561 และได้บอกล้างในต้นปี 2562 ซึ่งอยู่ในกรอบเวลา 1 ปี นิติกรรมจึงถูกบอกล้างโดยชอบด้วยกฎหมาย

การเชื่อมโยงสู่บทความ

การอธิบายหลักกฎหมายดังกล่าวช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจว่า:

การกระทำของโจทก์ขณะอยู่ในสภาพวิกลจริตมีผลอย่างไรในทางกฎหมาย

เหตุใดโจทก์จึงสามารถบอกล้างนิติกรรมได้แม้เวลาผ่านไปหลายเดือน

ผลของการบอกล้างโมฆียกรรมส่งผลให้คู่กรณีต้องกลับคืนสู่สถานะเดิม

การเข้าใจกฎหมายเหล่านี้จะช่วยให้ผู้อ่านเห็นภาพชัดเจนว่า คำพิพากษาของศาลฎีกามีเหตุผลสนับสนุนอย่างไรในเชิงกฎหมาย

****คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้องกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 181 

1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2522/2560: บุคคลวิกลจริตที่ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะ สามารถบอกล้างนิติกรรมนั้นได้เมื่อจริตไม่วิกลแล้ว การบอกล้างต้องทำภายในหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้ 

2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1304/2553: การบอกล้างนิติกรรมที่เป็นโมฆียะต้องทำภายในหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้ หรือภายในสิบปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมนั้น 

3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16512/2557: การบอกล้างสัญญาซื้อขายที่ดินอันเป็นโมฆียะต้องทำภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 181 มิฉะนั้นจะไม่สามารถบอกล้างได้ 

4.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6968/2559: นิติกรรมที่เป็นโมฆียะจะบอกล้างมิได้เมื่อพ้นเวลาหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้ หรือเมื่อพ้นเวลาสิบปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมนั้น 

5.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15668/2558: การบอกล้างนิติกรรมอันเป็นโมฆียะต้องทำภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด มิฉะนั้นจะไม่สามารถบอกล้างได้ 

6.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8477/2563: การใช้สิทธิบอกล้างนิติกรรมต้องทำด้วยความสุจริตและภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด 

7.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 784/2486: การทำนิติกรรมโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้ต้องเป็นไปตามกฎหมาย มิฉะนั้นอาจเป็นโมฆียะ 

ศาลฎีกา

8.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 785/2486: การฟ้องร้องเกี่ยวกับนิติกรรมที่เป็นโมฆียะต้องทำภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด มิฉะนั้นจะไม่สามารถบอกล้างได้ 

ศาลฎีกา

9.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1660/2505: การแบ่งทรัพย์มรดกต้องเป็นไปตามคำพิพากษาและกฎหมาย มิฉะนั้นอาจเป็นโมฆียะ 

ศาลฎีกา

10.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4190/2566: การกระทำที่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีอาจทำให้นิติกรรมนั้นเป็นโมฆียะ 

ศาลฎีกา

***คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้องกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 176 วรรคหนึ่ง 

1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6543/2562: ป.พ.พ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้คู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิมโดยไม่ได้บัญญัติให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วย คิดตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้ แตกต่างกับกรณีกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมเนื่องจากการบอกเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วย คิดตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้ ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสองรับเงินของโจทก์ไว้ย่อมเป็นหนี้เงิน ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ให้คิดดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จำเลยทั้งสองจะตกเป็นผู้ผิดนัดและต้องชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ ก็ต่อเมื่อโจทก์ได้บอกกล่าวทวงถาม แล้วจำเลยทั้งสองเพิกเฉยไม่ชำระหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคหนึ่ง 

2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8503/2561: โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 กระทำการโดยไม่สุจริต โดยพนักงานของจำเลยที่ 2 ร่วมรู้เห็นกับจำเลยที่ 1 หลอกลวงโจทก์ในการรับจำนองที่ดินพิพาท โดยโจทก์มิได้กล่าวบรรยายฟ้องไว้คงบรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยที่ 2 รับจำนองที่ดินพิพาทโดยทราบดีว่า เป็นการรับจำนองที่ดินที่สูงกว่าราคาประเมิน และสูงกว่าราคาซื้อขายที่ดินตามสัญญา ฎีกาโจทก์จึงเป็นเรื่องนอกฟ้อง เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย 

3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15577/2558: เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเป็นโมฆียะ และโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญากับจำเลยแล้ว ถือได้ว่าโจทก์บอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจึงตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก โจทก์และจำเลยผู้เป็นคู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง จำเลยต้องคืนเงินมัดจำ 300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้อง 

4.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2522/2560: ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 175 (4) นั้น บุคคลวิกลจริตผู้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 30 จะบอกล้างนิติกรรมเสียได้ในขณะที่จริตของบุคคลนั้นไม่วิกลแล้ว เมื่อ ด. ทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทให้จำเลยถือกรรมสิทธิ์รวมในขณะที่มีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์เนื่องจากเป็นคนวิกลจริต จนต่อมาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง (สาขามีนบุรี) มีคำสั่งให้ ด. เป็นคนไร้ความสามารถและให้อยู่ในความอนุบาลของโจทก์ ด. ยังคงเป็นคนวิกลจริต ไม่อาจบอกล้างโมฆียะกรรมได้ ดังนี้ที่จำเลยต่อสู้ว่า ด. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง จึงต้องเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวเสีย 

5.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10025/2560: การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลย ย่อมเป็นการลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้อง รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆ อันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้องและกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิม แต่คำฟ้องที่โจทก์ได้ถอนฟ้องก็อาจยื่นฟ้องใหม่ได้ภายในอายุความตาม ป.วิ.พ. 

6.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7666/2559: โมฆะกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้ และผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างก็ได้ ถ้าจะต้องคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรม ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้แห่งประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับ 

7.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3685/2562: คดีก่อนที่ ช. ฟ้องโจทก์กับพวกเป็นจำเลยมีประเด็นพิพาทว่าที่ดินพิพาทเป็นของ ช. 

8.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1267/2565: มาตรา 172 โมฆะกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้ และผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างก็ได้

 

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 175 (4) บัญญัติว่า โมฆียะกรรมนั้น บุคคลต่อไปนี้จะบอกล้างเสียก็ได้ (1)... (4) บุคคลวิกลจริตผู้กระทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะตามมาตรา ๓๐ ในขณะที่จริตของบุคคลนั้นไม่วิกลแล้ว (5)...




นิติกรรม

ผู้อนุบาลและคนไร้ความสามารถ, สติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์เป็นโมฆียะ, การบอกล้างโมฆียะกรรม
ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด, การขยายเวลาชำระหนี้, ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ค้ำประกัน
คดีเลิกสัญญาก่อสร้าง, สิทธิในเบี้ยปรับตามกฎหมาย, เบี้ยปรับในสัญญาก่อสร้าง
ความรับผิดของผู้รับประกันภัย, รถสูญหาย, ถูกเพลิงไหม, การละทิ้งความครอบครองรถยนต์
คดีเกี่ยวกับการบุกรุกป่าสงวน, ข้อกฎหมายเกี่ยวกับที่ดินรัฐ, สิทธิการครอบครองที่ดินชั่วคราว
เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดิน, การปลอมแปลงหนังสือมอบอำนาจโอนที่ดิน, ค่าสินไหมทดแทนจากการละเมิด
กฎหมายกู้ยืมเงิน, หลักฐานการกู้ยืมเงิน, ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์, การกู้ยืมเงินในไลน์และเฟสบุค
นิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์
หลักฐานการกู้ยืมเงิน, การลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืม, การพิสูจน์การชำระหนี้
คดีผู้บริโภค, การใช้สิทธิไม่สุจริต, ความสุจริตในการชำระหนี้, มาตรฐานทางการค้า
สัญญาประนีประนอมยอมความ, การรังวัดที่ดินแนวเขต, อำนาจฟ้อง,
สัญญานายหน้าและค่านายหน้า, กฎหมายลาภมิควรได้, การบอกเลิกสัญญานายหน้าโดยไม่สุจริต
สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นโมฆะ, นิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน
กู้ยืมเงินไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรสละมรดกของบุตรผู้เยาว์ไม่ได้
การทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์
หนังสือสัญญากู้เงินตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์
การซื้อขายที่ดินตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
ผู้รับจำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นโดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมีเจ้าหนี้อื่นมาขอเฉลี่ยหนี้
สัญญาเช่าที่ดินซึ่งเป็นเจ้าของรวม
การโอนที่ดินในระยะเวลาห้ามโอนเป็นโมฆะ
สิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด
คำสั่งงดสืบพยานจำเลย
สัญญาจะซื้อจะขายมีผลอย่างไรกับสัญญาซื้อขาย
หนังสือมอบอำนาจ พิมพ์ลายนิ้วมือ
กฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยฝ่าฝืนเป็นโมฆะ | ดอกเบี้ยผิดนัด
สิทธิของผู้รับจำนองเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้เรียกว่า"บุริมสิทธิ"
ยืนยันข้อเท็จจริงหลายทางไม่อาจเป็นไปได้ในคราวเดียวกัน จึงไม่ขัดแย้งกันเอง
สัญญาที่ทำขึ้นโดยไม่มีเจตนาแท้จริงให้ผูกพันกัน
ความรับผิดในคดีแพ่งต้องอาศัยมูลมาจากการกระทำความผิดในทางอาญา
นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย, ฝ่าฝืนกฎหมาย
อำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการจำหน่ายที่ดินเพื่อชำระเป็นเงินให้คนต่างด้าว
ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมให้สินสมรสเมื่อผู้ให้ตายแล้วไม่ต้องฟ้องผู้จัดการมรดกก็ได้
ขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินสินสมรส
การขายอสังหาริมทรัพย์ของบุตรผู้เยาว์จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน
ผลของการบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม
นิติกรรมอำพรางคู่กรณีต้องแสดงเจตนาทำนิติกรรมขึ้นสองนิติกรรม
องค์ประกอบของนิติกรรม
สัญญารับเหมาก่อสร้างเลิกกัน คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม
สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน
ทำสัญญากู้ยืมเงินในฐานะผู้แทนของสมาคมไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
แม้ดอกเบี้ยเป็นโมฆะแต่ยังต้องรับผิดต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยผิดนัด
ข้อตกลงให้ผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้ชำระค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ขายที่ดินห้ามโอนภายใน 10 ปีเป็นการสละการครอบครอง
สิทธิได้รับค่าตอบแทนก่อนบอกเลิกสัญญาตัวแทนประกันชีวิต
ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประกันชีวิต-อ้างถูกฉ้อฉลให้ทำสัญญา
ผู้รับประกันภัยได้รับประกันวินาศภัยไว้โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ
ลูกหนี้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเกินอัตราเป็นโมฆะต้องนำมาหักเป็นต้นเงิน
สัญญาเช่าบ้านภายหลังการซื้อขาย
ผู้จะขายไม่ได้รับใบอนุญาตให้จัดสรรที่ดินผู้จะซื้อไม่รู้สัญญาไม่เป็นโมฆะ
ผู้แทนโดยชอบธรรมทำสัญญาขายไม้มรดกส่วนของผู้เยาว์-ไม่ต้องขออนุญาตศาลก่อน
คู่สัญญามีอำนาจฟ้องให้โอนทรัพย์สินให้บุตรได้
การฟ้องคดีแพ่งมิใช่เป็นการทำนิติกรรม
การกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในสัญญาถือว่าเป็นเบี้ยปรับ
จดทะเบียนจำนองที่ดินเฉพาะส่วนของตน
สิทธิในการเช่าซื้อเป็นมรดกหรือไม่?